xs
xsm
sm
md
lg

ไทยพบบึ้งชนิดใหม่! “บึ้งประกายสายฟ้า” บึ้งที่ได้ชื่อว่าสวยที่สุดในโลกที่ จ.พังงา

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์


ภาพ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ถือเป็นข่าวดีเมื่อทีมวิจัยไทยพบทารันทูลาหรือบึ้งสายพันธุ์ใหม่ในประเทศไทย ที่ จ.พังงา มีสีสันน้ำเงิน-ม่วงสวยงาม ได้รับชื่อสุดเท่ว่า “บึ้งประกายสายฟ้า” ถือเป็นบึ้งที่มีความงดงามระดับต้น ๆ ของโลก

ภาพ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
เฟซบุ๊กเพจอุทยานแห่งชาติเขาหลัก-ลํารู่ khaolak-lamru national park ได้โพสต์ภาพความสวยงามของ "บึ้งประกายสายฟ้า" บึ้งชนิดใหม่ที่พบที่ จ.พังงาน ประเทศไทย พร้อมให้ข้อมูลว่า

ภาพ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เปิดเผยว่า ทีมวิจัย นำโดย ดร.นรินทร์ ชมภูพวง อาจารย์ประจำสาขากีฏวิทยาและโรคพืชวิทยา คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ร่วมกับ โจโฉ ยูทูบเบอร์ชื่อดัง และทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยขอนแก่น ประกอบด้วย นายชวลิต ส่งแสงโชติ นายปฏิภาณ ศรีรานันท์ และนายปวีณ ปิยะตระกูลชัย ได้ลงพื้นที่สำรวจและศึกษาวิจัย นำมาสู่การค้นพบบึ้งที่สวยงามชนิดใหม่ของโลก

ภาพ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
โดยบึ้งชนิดใหม่นี้ที่ค้นพบนี้มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า “ชิโลบราคิส นาทานิชารัม” (Chilobrachys natanicharum) หรือชื่อสามัญเป็นภาษาไทยเท่ๆว่า “บึ้งประกายสายฟ้า” (Electric-blue Tarantula)

บึ้งประกายสายฟ้าถือได้ว่าเป็นบึ้งที่มีความงดงามระดับต้น ๆ ของโลก โดยชื่อวิทยาศาสตร์ของบึ้งชนิดนี้ได้ตั้งชื่อเพื่อเป็นเกียรติให้กับ คุณณฐกร แจ้งเร็ว และคุณนิชดา แจ้งเร็ว ผู้บริหารกลุ่มบริษัทนิชดาธานี ซึ่งเป็นผู้ประมูลชื่อเพื่อนำรายได้ทั้งหมดโดยไม่หักค่าใช้จ่ายในการสมทบทุนบริจาคช่วยเหลือเด็กที่ขาดแคลนทางการศึกษาบนดอยในโรงเรียนบ้านมูเซอและผู้ป่วยด้วยโรคมะเร็งที่ยากไร้

ภาพ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
จากการศึกษาและสำรวจ ทีมวิจัยพบแหล่งที่อยู่อาศัยของบึ้งประกายสายฟ้าที่จังหวัดพังงา ในพื้นที่ป่าชายเลนไปจนถึงป่าไม่ผลัดใบในพื้นที่เนินเขา ซึ่งบึ้งประกายสายฟ้าถือได้ว่าเป็นบึ้งชนิดแรกของไทยที่พบในบริเวณที่เป็นป่าชายเลน

ภาพ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
บึ้งประกายสายฟ้าจัดอยู่ในสกุล ชิโลบราคคิส หรือบึ้งเอเชีย ลักษณะพิเศษของมันคือ เมื่อสะท้อนกับแสงไฟแล้ว จะมีประกายสีน้ำเงินคล้ายกับสีของสายฟ้าสีน้ำเงิน ไม่เพียงเท่านั้นบึ้งชนิดนี้ยังปรากฏสีน้ำเงิน-ม่วงด้วย

ภาพ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
นอกจากสีน้ำเงินแล้ว บึ้งประกายสายฟ้ายังปรากฏสีม่วงในบางส่วนของร่างกายอีกด้วย นับเป็นสีที่พบได้ยากที่สุดในสิ่งมีชีวิต

บึ้งในสกุลชิโลบราคัสนี้ ที่ผ่านมามีรายงานการพบในประเทศไทยเพียง 2 ชนิดเท่านั้น บึ้งประกายสายฟ้าถือได้ว่าเป็นชนิดที่ 3 แต่ชนิดที่พบในอดีตไม่ปรากฏความแวววาวของสีที่เป็นประกายเหมือนกับบึ้งประกายสายฟ้า

ภาพ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
สามารถส่งข้อมูลข่าวสารด้านการท่องเที่ยว-อาหารมาได้ที่ อีเมล์ travel_astvmgr@hotmail.com หรือ ชมคลิปต่าง ๆ ได้ที่ Youtube :Travel MGR และ Instagram : @travelfoodonline และ TikTok : @travelfoodonline


กำลังโหลดความคิดเห็น