xs
xsm
sm
md
lg

นักตกปลาเจอ “ปลาดุกกินกุ้ง” ในแม่น้ำเจ้าพระยา วอนอย่าปล่อยมาทำลายระบบนิเวศ

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์


ภาพ: ไพทูรย์ พุทธลา - ชมรมคนตกกุ้งเจ้าพระยา และแม่น้ำสายอื่นๆทั่วไทย
ชมรมนักตกปลาห่วง ออกไปตกปลาดุกในแม่น้ำเจ้าพระเยา ผ่าท้องเจอกุ้งข้างใน หวั่นหากปล่อยไว้ระบบนิเวศพัง ด้านนักวิชาการเคยเตือนมานานแล้ว ไม่ต่างจากปล่อยซอมบี้เข้าหมู่บ้าน


ภาพ: ไพทูรย์ พุทธลา - ชมรมคนตกกุ้งเจ้าพระยา และแม่น้ำสายอื่นๆทั่วไทย
แม่น้ำเจ้าพระยา สายน้ำหลักอันงดงามของพื้นที่ภาคกลาง รวมถึงกรุงเทพมหานคร ที่เต็มไปด้วยระบบนิเวศหลากหลาย ใช้ประโยชน์ได้ทั้งเรื่องท่องเที่ยวสันทนาการ แต่ระบบนิเวศของแม่น้ำสายนี้ กำลังถูกทำลายด้วยการขาดความรู้ของคนบางกลุ่มที่นิยมปล่อยปลาเอเลียนสปีชีส์ลงไปในแม่น้ำ

ประเด็นนี้กำลังเป็นประเด็นร้อนในโซเชียลมีเดียที่มีคนแชร์กันไปนับพัน เมื่อผู้ใช้เฟซบุ๊คบัญชีชื่อ “ไพทูรย์ พุทธลา” ได้โพสต์รูปกับข้อความลงไปในกลุ่มสาธารณะ “ชมรมคนตกกุ้งเจ้าพระยา และแม่น้ำสายอื่นๆทั่วไทย” โดยระบุว่า

ภาพ: ไพทูรย์ พุทธลา - ชมรมคนตกกุ้งเจ้าพระยา และแม่น้ำสายอื่นๆทั่วไทย
เมื่อหลายวันก่อนผมไปตกปลาแม่น้ำเจ้าพระยาตรงข้ามสภาใหม่
ได้ปลาดุกไซส์ 5 อัป มาตัวนึง ให้ลูกน้องทำปลา เขาบอกมีกุ้ง2ตัวในท้องปลา
เห็นแล้วก็อดคิดไม่ได้ คนปล่อยปลาทุกวันนี้ 90% ปล่อยปลาดุก
เขาไม่รู้หรอกว่า เขาได้ปล่อยเอเลียนสปีซีส์
อีกไม่นานสัตว์น้ำท้องถิ่นคงไม่มีเหลือครับแบบนี้

ภาพ: ไพทูรย์ พุทธลา - ชมรมคนตกกุ้งเจ้าพระยา และแม่น้ำสายอื่นๆทั่วไทย
ทั้งนี้ เอเลี่ยนสปีชีส์ (Alien Species) หมายถึง สัตว์สายพันธุ์ต่างถิ่นที่นเข้ามาแพร่ระบาดรุกรานจนสร้างความเสียหายต่อระบบนิเวศ บางสายพันธุ์มีความแข็งแรงจนสามารถยึดครองพื้นที่ ทำให้สัตว์สายพันธุ์เดิมสูญพันธุ์ ตลอดจนส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ ตลอดจนสุขอนามัยของมนุษย์

สำหรับองค์ความรู้เรื่องการไม่ปล่อยปลาเอเลียนสปีซีส์ โดยเฉพาะปลาดุกลงในแหล่งน้ำ มีนักวิชาการออกมาเตือนกันบ่อยครั้ง เช่น ผศ.ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ นักวิทยาศาสตร์ทางทะเล และอาจารย์ประจำภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะประมง มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ เคยให้ข้อมูลไว้ว่า

ปลาดุกที่นิยมปล่อยกันส่วนใหญ่เป็น "ปลาดุกบิ๊กอุย" ซึ่งเป็นพันธุ์ผสมระหว่าง "ปลาดุกอุย" ของไทยกับ "ปลาดุกรัสเซีย" เพื่อให้ได้ปลาดุกที่ตัวใหญ่ มีการเลี้ยงกันมา 20 ปีแล้ว แต่ปัจจุบันมีปลาดุกอื่นมาผสมอีก


จนตอนนี้ปลาดุกพันธุ์ผสมอีกหลากหลาย ประกอบกับปลาดุก เดิมทีเป็นปลาที่มีลักษณะกินไม่เลือกตั้งแต่เริ่ม เมื่อไปผสมพันธุ์ใหม่ จึงยิ่งมีขนาดใหญ่ขึ้น กินจุขึ้น โตไว จึงนิยมเลี้ยงไว้เพื่อขาย และเมื่อมีคนนำปลาดุกเหล่านี้ ไปปล่อยลงในแม่น้ำ จึงทำให้เกิดปัญหาต่อระบบนิเวศ ซึ่งระบบนิเวศตามธรรมชาตินั้น ปลาตัวใหญ่จะกิน ปลาตัวเล็ก เมื่อไม่มีปลาในแม่น้ำที่ตัวเล็กกว่าปลาดุกพันธุ์ผสมนี้ จึงทำให้ปลาดุกเป็นฝ่ายกินปลาท้องถิ่นต่าง ๆ แทนเพื่อความอยู่รอด


ยิ่งเวลาปล่อยปลาทำบุญกันครั้งละหลักพันตัว หมื่นตัว จึงเปรียบเหมือนคนเราอยู่ในหมู่บ้าน อยู่ดี ๆ ก็มีตัวประหลาด มีซอมบี้บุกเข้ามาเป็นพันตัว หมื่นตัว ซึ่งเราไม่สามารถสู้ได้

ภาพ: มูลนิธิสืบนาคะเสถียร
สำหรับคนที่อยากทำบุญปล่อยสัตว์น้ำ ผศ.ดร.ธรณ์ แนะนำว่า การลดถุงพลาสติกก็เป็นอีกวิธีหนึ่งในการช่วยสัตว์น้ำให้รอดตาย ไม่ต้องปล่อยสัตว์น้ำ แต่เลือกที่จะไม่ฆ่าเขาแทน

แต่หากต้องการปล่อยสัตว์น้ำจริงๆ ต้องคำถึง 4 ข้อคือ 1.ปลาเล็ก 2.ปลากินพืช 3.ปล่อยครั้งละน้อยๆ และ 4.เลือกปล่อยปลาท้องถิ่น หากทำได้ตามนี้ก็จะไม่มีปัญหาตามมา

สามารถส่งข้อมูลข่าวสารด้านการท่องเที่ยว-อาหารมาได้ที่ อีเมล์ travel_astvmgr@hotmail.com หรือ ชมคลิปต่าง ๆ ได้ที่ Youtube :Travel MGR และ Instagram : @travelfoodonline และ TikTok : @travelfoodonline


กำลังโหลดความคิดเห็น