xs
xsm
sm
md
lg

ฮือฮา! พบฟอสซิลสุสาน “แอมโมนอยด์” อายุกว่า 240 ล้านปี หนาแน่นมากที่สุดในไทย ที่ลำปาง

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์


กรมทรัพยากรธรณี พบสุสานแอมโมนอยด์ อายุกว่า 240 ล้านปี มีจำนวนหนาแน่นที่สุดในไทย ที่ จ.ลำปาง (ภาพ : เพจกรมทรัพยากรธรณี)
กรมทรัพยากรธรณี เผย พบฟอสซิล สุสานแอมโมนอยด์ สัตว์ทะเลดึกดำบรรพ์ อายุกว่า มีจำนวนซากดึกดำบรรพ์หนาแน่นมากอย่างที่ไม่เคยพบมาก่อนในประเทศไทย ที่จังหวัดลำปางลำปาง

เพจ กรมทรัพยากรธรณี รายงานกรค้นพบ ว่า พบฟอสซิลหรือซากดึกดำบรรพ์ สุสานแอมโมนอยด์ จำนวนมากที่จังหวัดลำปางว่า

กรมทรัพยากรธรณี พบสุสานแอมโมนอยด์ อายุกว่า 240 ล้านปี มีจำนวนหนาแน่นที่สุดในไทย ที่ จ.ลำปาง (ภาพ : เพจกรมทรัพยากรธรณี)
กรมทรัพยากรธรณี โดยสำนักงานทรัพยากรธรณี เขต 1 เข้าตรวจสอบพื้นที่พบสิ่งอันควรเชื่อได้ว่าเป็นซากดึกดำบรรพ์ เมื่อวันที่ 26 มิถุนายนที่ผ่านมา บริเวณบ้านไผ่งาม ตำบลเมืองมาย อำเภอแจ้ห่ม จังหวัดลำปาง ผลการตรวจสอบพบซากดึกดำบรรพ์ที่พบเป็นรอยพิมพ์ของแอมโมไนต์ที่สมบูรณ์จำนวนมาก มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1.5-14 ชม. กระจายตัวอยู่หนาแน่นบนผิวหน้าของชั้นหินทรายจำนวนทั้งหมดประมาณ 5 ขั้นซึ่งไม่เคยปรากฏให้เห็นชัดเจนและจำนวนมากในประเทศไทยมาก่อน จุดที่พบเป็นชั้นหินหินทราย แทรกสลับกับหินดินดานและหินทรายแป้งที่จะมองเห็นในช่วงที่ไม่มีน้ำหลากจากลำห้วย ความหนาประมาณ 1.0-13 ซม. จัดอยู่ในหมวดหินฮ่องหอย กลุ่มหินลำปาง อายุไทรแอสสิก (ประมาณ 240 ล้านปี)

“ซากดึกดำบรรพ์แอมโมไนต์สามารถเจอได้ทั่วไป แต่ที่แห่งนี้ถือว่ามีจำนวนซากดึกดำบรรพ์หนาแน่นมากอย่างที่ไม่เคยพบมาก่อนในประเทศในพื้นที่ประมาณ 3 ตารางเมตร จากสายตาคาดว่าอยู่ในหลักร้อยตัวและมีหลากหลายขนาดซึ่งบอกถึงความแตกต่างช่วงอายุ จึงเป็นจุดที่จะนำไปศึกษาต่อว่าเพราะเหตุใดถึงตายลงในเวลาเดียวกับในที่แห่งนี้” กมลลักษณ์ วงษ์โก นักธรณีวิทยาชำนาญการพิเศษและผู้อำนวยการพิพิธภัณฑ์ซากดึกดำบรรพ์ ธรณีวิทยา และธรรมชาติวิทยา จังหวัดลำปาง อธิบาย

กรมทรัพยากรธรณี พบสุสานแอมโมนอยด์ อายุกว่า 240 ล้านปี มีจำนวนหนาแน่นที่สุดในไทย ที่ จ.ลำปาง (ภาพ : เพจกรมทรัพยากรธรณี)
แอมโมนอยด์ เป็นสัตว์ทะเลโบราณน้ำลึกกลุ่มเดียวกับหมึกทะเลปัจจุบัน มีเปลือกหนาขดเป็นวง ส่วนใหญ่จะลอยตัวอยู่บนผิวน้ำ ดำรงเผ่ามาตั้งแต่ยุคดีโวเนียนตอนต้นหรือประมาณ 410 ล้านปี มีวิวัฒนาการอย่างช้า ๆ จนกระทั่งเพิ่มความหลากหลายและจำนวนในยุคต่อมา และและสูญพันธุ์ไปในยุคครีเทียสหรือประมาณ 66 ล้านปีพร้อมกับไดโนเสาร์ ปัจจุบันมีญาติใกล้ชิดที่ยังหลงเหลืออยู่ปัจจุบันในกลุ่มนอติลอยด์ (Nautiloid) ซึ่งรู้จักกันในชื่อหอยงวงช้าง ตามข้อมูลซากดึกดำบรรพ์ที่ขึ้นทะเบียนของประเทศไทย เคยพบชิ้นส่วนซากดึกดำบรรพ์แอมโมนอยด์ในภาพเหนือ ที่อำเภอเมืองลำปาง อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง จังหวัดตาก จังหวัดเพชรบูรณ์

การเข้าตรวจสอบสิ่งที่สงสัยว่าเป็นซากดึกดำบรรพ์ในครั้งนี้ กรมทรัพยากรธรณีได้รับแจ้งจากนายกองค์การบริหารส่วนตำบลเมืองมาย ร่วมกับนายชาญ จูดคง นายอำเภอแจ้ห่ม นายติ๊บ บุญสืบ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลเมืองมาย และนายประทุม เกิดผล ผู้ใหญ่บ้านไผ่งาม โดยพระสงฆ์ในพื้นที่สังเกตเห็นและสงสัยว่าอาจเป็นซากดึกดำบรรพ์จึงแนะนำให้แจ้งทางกรมทรัพยากรธรณีเพื่อเข้ามาตรวจสอบ

กรมทรัพยากรธรณี พบสุสานแอมโมนอยด์ อายุกว่า 240 ล้านปี มีจำนวนหนาแน่นที่สุดในไทย ที่ จ.ลำปาง (ภาพ : เพจกรมทรัพยากรธรณี)
ผู้อำนวยการพิพิธภัณฑ์ซากดึกดำบรรพ์ ธรณีวิทยา และธรรมชาติวิทยา จังหวัดลำปาง ยังกล่าวอีกว่า ครั้งที่เป็นเพียงการตรวจสอบขั้นต้น ต่อจากนี้ควรจะมีการเข้าสำรวจเพิ่มเติมในบริเวณใกล้เคียงเนื่องจากเป็นหมวดหินเดียวกัน จึงมีโอกาสที่จะพบซากดึกดำบรรพ์เพิ่มเติมได้ และเสนอแนะให้ทำการกันพื้นที่เพื่อสำรวจศึกษาในรายละเอียด และดำเนินการตาม พ.ร.บ. ซากดึกดำบรรพ์ พ.ศ. 2551 นำไปสู่การอนุรักษ์และพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว หรือแหล่งเรียนรู้ทางบรรพชีวินวิทยาที่มีคุณค่าความสำคัญในการศึกษาวิวัฒนาการของโลกต่อไป

กรมทรัพยากรธรณี พบสุสานแอมโมนอยด์ อายุกว่า 240 ล้านปี มีจำนวนหนาแน่นที่สุดในไทย ที่ จ.ลำปาง (ภาพ : เพจกรมทรัพยากรธรณี)

กรมทรัพยากรธรณี พบสุสานแอมโมนอยด์ อายุกว่า 240 ล้านปี มีจำนวนหนาแน่นที่สุดในไทย ที่ จ.ลำปาง (ภาพ : เพจกรมทรัพยากรธรณี)

กรมทรัพยากรธรณี พบสุสานแอมโมนอยด์ อายุกว่า 240 ล้านปี มีจำนวนหนาแน่นที่สุดในไทย ที่ จ.ลำปาง (ภาพ : เพจกรมทรัพยากรธรณี)




กำลังโหลดความคิดเห็น