ทุกวันนี้คำว่า “ความยั่งยืน” เริ่มเข้าไปเกี่ยวพันกับทุกภาคส่วน แม้กระทั่งการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ที่เริ่มออกมารณรงค์ให้สร้างพฤติกรรมการท่องเที่ยวแนวใหม่ ใส่ใจสิ่งแวดล้อม และมีความรับผิดชอบต่อสังคม เพื่อนำไปสู่ “การท่องเที่ยวแบบยั่งยืน” โดยจะเน้นการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ ซึ่งควรที่จะเกิดขึ้นทั้งฝั่งเจ้าของสถานที่และนักท่องเที่ยว เพื่อเป้าหมายสูงสุดร่วมกัน คือ รักษาความมั่นคงของระบบนิเวศ ตลอดจนวัฒนธรรมและวิถีชีวิตของชุมชนทั้งในปัจจุบันและอนาคต
เช่นเดียวกับ บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) ที่ให้ความสำคัญต่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนในทุกมิติของการดำเนินงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกิจกรรมด้านสังคม 1 ในนั้น คือ การทำงานร่วมกับภาคีเครือข่ายทั้งภาครัฐและเอกชนในการจัดงาน “Water Festival เทศกาลวิถีน้ำ...วิถีไทย” ซึ่งในปีนี้จัดขึ้นเป็นครั้งที่ 8 ติดต่อกัน ระหว่างวันที่ 13-16 เมษายน 2566 ใน 6 จังหวัด 4 ภาคทั่วไทย ประกอบด้วย กรุงเทพมหานคร เชียงใหม่ ลำพูน ขอนแก่น อุดรธานี และภูเก็ต
สำหรับงาน “Water Festival 2023 เทศกาลวิถีน้ำ...วิถีไทย” ตอกย้ำความยั่งยืนด้วยการนำแนวคิดด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืน (ESG) มาประยุกต์ใช้กับการจัดงาน ได้แก่ E = ด้านสิ่งแวดล้อม (Environment) ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนด้านกาดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมผ่านกิจกรรม อาทิ เก็บกลับ รีไซเคิล และทำความสะอาดบ้าน วัด โรงเรียน S = ด้านสังคม (Social) สืบสานศิลปวัฒนธรรมและประเพณีอันดีงามของไทย ให้ความสำคัญกับชุมชนเป็นหลัก ตลอดจนกระจายรายได้สู่ชุมชนและพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนอย่างยั่งยืน อาทิ เทศกาลแห่พระทางน้ำ (กรุงเทพฯ) สรงน้ำพระ ทำบุญตักบาตร รวมไปถึงการออกร้านอาหารและสินค้าชุมชน G = ด้านธรรมาภิบาล (Governance) ยึดหลัก บวร ยกกำลังสอง โดยผสานความร่วมมือกันระหว่าง “บ้าน วัด โรงเรียน” รวมไปถึงหน่วยงานภาครัฐที่อยู่ภายในพื้นที่ และบริษัทวิสาหกิจเพื่อสังคม (SE) ผ่านกิจกรรมต่างๆ อาทิ เยาวชนเจ้าบ้านสืบสานวัฒนธรรม การแสดงและสันทนาการ เป็นต้น
กลับมามอง “ความยั่งยืน” ในแง่มุมของนักท่องเที่ยวที่จะเดินทางมาร่วมงาน “Water Festival 2023 เทศกาลวิถีน้ำ...วิถีไทย” กันบ้างว่าจะทำอย่างไรให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด ก่อนอื่นเลยต้องรู้ว่าจะเดินทางไปร่วมงานที่จุดใด ศึกษาเส้นทาง ถ้าอยู่ใกล้อาจจะใช้วิธีการเดิน หรือปั่นจักรยาน หากไกลลองใช้ระบบขนส่งสาธารณะ อาทิ รถโดยสารประจำทาง รถสองแถว ในกรุงเทพทางเลือกอาจจะมากหน่อยมีทั้ง รถไฟฟ BTS รถไฟฟ้าใต้ดิน MRT รถโดยสารด่วนพิเศษ BRT หรือแม้กระทั้งเรือด่วนเจ้าพระยาที่ให้บริการฟรีในทุกท่าน้ำที่มีการจัดงาน เรียกได้ว่าเป็นวิธีการสำคัญที่จะช่วยลดประมาณคาร์บอนในอากาศได้เป็นอย่างดี
สำหรับเรือด่วนเจ้าพระยาให้บริการเฉพาะในพื้นที่กรุงเทพฯ 11 ท่าน้ำสำคัญทางประวัติศาสตร์ ประกอบด้วย วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร วัดอรุณราชวราราม ราชวรมหาวิหาร วัดกัลยาณมิตร วรมหาวิหาร วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร วัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร เอเชียทีค เดอะริเวอร์ฟร้อนท์ ท่ามหาราช เดอะล้ง 1919 ริเวอร์ไซด์ เฮอริเทจ เดสติเนชั่น ท่ายอดพิมาน ท่าสุขสยาม ณ ไอคอนสยาม และท่าศาลเจ้ากวนอู คลองสาน
จะเดินทางมาเที่ยวงานทั้งที สัมภาระที่นำติดตัวต้องเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมด้วย ไม่ว่าจะเป็น แก้วน้ำ เพื่อหลักเลี่ยงการใช้พลาสติกที่ใช้ครั้งเดียวทิ้ง รวมไปถึงพกถุงผ้า เพราะแน่นอนว่าคุณต้องเป็นหนึ่งในคนสำคัญที่จะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยการช้อปสินค้าชุมชน
“ขยะในมือท่าน ลงถังเถอะ” ยังเป็นวลีที่ใช้ได้จนทุกวันนี้ แต่ที่พิเศษไปกว่านั้น คือการจัดงานในแต่ละครั้งยังส่งเสริมให้เกิดการบริหารจัดการขยะอย่างยั่งยืน มีถังแยกประเภทขยะอย่างชัดเจน เพื่อคัดแยกและนำเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลที่ถูกต้องต่อไป ดังนั้นการมาเที่ยวต้องเที่ยวอย่างมีความรับผิดชอบ ใส่ใจในการทิ้งขยะให้ถูกที่ ถูกทาง และถูกถัง หลังจากดื่มด่ำกับประเพณีอันดีงาม และช้อปสินค้าชุมชนเสร็จ ก็อย่าลืมส่งต่อประสบการณ์ดีๆ ในการมาร่วมงานครั้งนี้ผ่านช่องทางต่างๆ ให้กับเพื่อนๆ และคนในครอบครัว เพื่อเป็นข้อมูลในการตัดสินใจเข้าร่วมงานในวันถัดไปด้วย
ร่วมสืบสานอัตลักษณ์ความเป็นไทย ใส่ใจความยั่งยืน พร้อมสัมผัสประสบการณ์อันดีงามในงาน “Water Festival 2023 เทศกาลวิถีน้ำ…วิถีไทย” ระหว่างวันที่ 13-16 เมษายน 2566 โดยจะเกิดขึ้นพร้อมกันทั้ง 4 ภาค 6 จังหวัด ใกล้ที่ไหน เที่ยวที่นั่น ไม่ว่าจะเป็น 11 ท่าน้ำร่วมสมัยในกรุงเทพ บ้านโบราณเชียงใหม่ จ.เชียงใหม่, บริเวณถนนอินทยงยศ จ.ลำพูน วัดสระแก้ว และ ลานวัฒนธรรมมรดกโลกบ้านเชียง จ.อุดรธานี วัดไชยศรี จ.ขอนแก่น วัดไม้ขาว และ Phuket Old Town จ.ภูเก็ต ติดตามความเคลื่อนไหวได้ที่ www.waterfestivalthailand.com Facebook: WaterFestivalThailand