xs
xsm
sm
md
lg

เผยภาพจำลองสุดอลังการ! Landmark ใหม่ภาคใต้ “เจ้าแม่กวนอิม องค์ใหญ่ที่สุดในโลก” มุ่งยกระดับการท่องเที่ยว จ.สงขลา

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



MGR Online - เผยโฉมภาพจำลอง “เจ้าแม่กวนอิม องค์ใหญ่ที่สุดในโลก” แลนด์มาร์ค ใหม่ ในจังหวัดพื้นที่ภาคใต้ ที่เสนอโครงการโดย บริษัท ทีพีไอ โพลีน เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) ซึ่งเห็นศักยภาพของภาคใต้ในฐานะของแหล่งท่องเที่ยวหลักของประเทศ ณ ปัจจุบัน

นายภัคพล เลี่ยวไพรัตน์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ทีพีไอ โพลีน เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่าบริษัทฯพร้อมที่จะเดินหน้าเพิ่มศักยภาพการท่องเที่ยวให้กับประเทศ หลังจากที่ธุรกิจท่องเที่ยวของประเทศถูกกระทบ อย่างรุนแรงจากสถานการณ์โรคระบาด โควิด-19 ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา นอกจากนั้นทางบริษัทฯยังเน้นความสำคัญของการพัฒนา การสร้างงาน การสร้างเงิน และการสร้างรายได้ ให้กับพื้นที่ชายแดนใต้ เพื่อนำความเจริญไปหยุดความไม่สงบในพื้นที่ชายแดนใต้ ดังนั้นการสร้างองค์เจ้าแม่กวนอิมที่เป็นแลนด์มาร์ค ในพื้นที่ภาคใต้ จะส่งเสริมการท่องเที่ยวเพราะสามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวจากทั่วโลก พร้อมกับนำความเจริญมาสู่พื้นที่ชายแดนใต้ลดความรุนแรง เป็นการยิงทีเดียวในนกถึงสองตัว

สำหรับความคืบหน้าล่าสุด ทางบริษัท ทีพีไอ ได้ซื้อที่ดินเรียบร้อยแล้วประมาณ 65 ไร่ ใน ต. สะกอม อ.เทพา จ.สงขลา และกำลังออกแบบพื้นที่ใช้สอยภายในพื้นที่ของบริษัทฯ ทางบริษัทฯ เห็นว่าองค์เจ้าแม่กวนอิมนั้น เป็นที่ศรัทธาของนานาประเทศ เช่น ประเทศจีน ประเทศเวียดนาม ประเทศกัมพูชา ประเทศสิงคโปร์ และอีกหลาย ๆ ประเทศ การสร้างองค์เจ้าแม่กวนอิมที่เป็นแลนด์มาร์ค พร้อมกับศักยภาพการเป็นแหล่งท่องเที่ยวของภาคใต้แล้ว จะสามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวได้จากทั่วโลก ซึ่งทั้งหมดจะสามารถแสดงความเป็นพหุวัฒนธรรมของพื้นที่






อนึ่ง ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ได้มีกลุ่มชาวมุสลิมใน อ.เทพา จ.สงขลา ราว 4,000 คน ออกมารวมตัวกันละหมาดฮายัตเพื่อคัดค้านสร้างเจ้าแม่กวนอิมดังกล่าว อย่างไรก็ตาม ก็มีผู้ออกมาโต้แย้งกลุ่มชาวมุสลิมด้วยว่า ในตำบลสะกอม อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา แม้มีชาวมุสลิมเป็นประชากรส่วนใหญ่ คือราว ร้อยละ 65 แต่ก็มีชาวพุทธอยู่จำนวนไม่น้อยถึงร้อยละ 35 เช่นกัน ดังนั้นการการต่อต้านสร้างเทวรูปเจ้าแม่กวนอิมโดยเอกชนนั้นน่าจะเป็นการจำกัดสิทธิของผู้ที่นับถือศาสนาอื่น

นอกจากนี้ ปัจจุบัน ใน ต.สะกอม อ.เทพา สงขลา ก็ยังมีเจดีย์ในพุทธศาสนาอยู่ซึ่งสร้างมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5ซึ่งชาวไทยพุทธและไทยมุสลิมได้อาศัยอยู่ร่วมกันในพื้นที่นี้มาช้านานแล้ว ไม่มีใครถือว่าเป็นเจ้าของพื้นที่โดยตรง

ขณะเดียวกัน การก่อสร้างนี้น่าจะเป็นประโยชน์ต่อการท่องเที่ยว ส่งผลดีต่อเศรษฐกิจของชุมชน และคงไม่ใช่กิจกรรมเผยแพร่ศาสนานอกอิสลามแต่อย่างใด




















กำลังโหลดความคิดเห็น