xs
xsm
sm
md
lg

หาชมยาก! "กวางป่า" ใช้เทคนิคปกป้องลูกน้อย จนหมาในต้องวิ่งหนี

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์


ภาพจากในคลิปของ อช.แก่งกระจาน
อช.แก่งกระจาน เผยคลิปวิธีเอาตัวรอดของกวางป่าจากหมาใน ซึ่งวงจรของผู้ล่าเหยื่อกับสัตว์ที่เป็นเหยื่อ ถือเป็นวงจรการใช้ชีวิตตามธรรมชาติในระบบนิเวศของสัตว์ป่า ซึ่งในบางครั้งเหยื่อก็จะมีวิธีการเอาตัวรอดจากผู้ล่าเช่นกัน

ภาพจากในคลิปของ อช.แก่งกระจาน
เฟซบุ๊กเพจอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน - Kaeng Krachan National Park เผยคลิปจากกล้องดักถ่ายสัตว์ป่าที่ถ่ายได้จังหวะที่ “กวางป่า” กำลังพยายามเอาตัวรอดจาก “หมาใน” ที่จ้องจะล่ามันอยู่ โดยในคลิปกวางป่าอยู่ในน้ำ ได้พยายามใช้อุ้งเท้ากระทืบที่น้ำให้เกิดเสียงดัง เพื่อที่จะขับไล่หมาในให้ไปไกลตัว ซึ่งจากในคลิปเจ้ากวางป่าทำสำเร็จ เพราะหมาในได้ตกใจเสียง และเดินเลี่ยงออกไป

ภาพจากในคลิปของ อช.แก่งกระจาน
โดยทาง อช. แก่งกระจาน ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับกวางป่าและหมาในไว้ว่า กวางป่า กับ การเอาตัวรอดจากหมาใน ซึ่งเป็นวงจรการใช้ชีวิตตามธรรมชาติในระบบนิเวศของสัตว์ป่า ที่มีทั้งสัตว์ผู้ล่าเหยื่อ และสัตว์ที่เป็นเหยื่อ

กวางป่า (เหยื่อของหมาใน) เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง หมายถึง สัตว์ป่าที่ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย ห้ามล่าหรือมีไว้ซากครอบครอง เว้นแต่เพื่อศึกษา ทางวิชาการโดยต้องขออนุญาตจากกรมอุทยานแห่งชาติก่อน

ภาพจากในคลิปของ อช.แก่งกระจาน
หมาใน (Cuon alpinus) เป็นสัตว์กินเนื้อขนาดกลาง มีพฤติกรรมการอยู่ร่วมกันเป็นฝูงจึงทําให้สามารถล่าเหยื่อที่มี ขนาดใหญ่กว่าตัวหลายเท่าได้จากพฤติกรรมดังกล่าวหมาในจึงมีความสําคัญในการควบคุมประชากรและคัดเลือก สายพันธุ์โดยธรรมชาติของชนิดสัตว์ที่เป็นเหยื่อ โดยเหยื่อหลักที่สําคัญ ได้แก่ สัตว์กินพืชขนาดกลาง ถึงขนาดใหญ่ เช่น กวางป่า เก้ง หมูป่า กระจง วัวแดง กระทิง ทําให้ระบบนิเวศอยู่ในภาวะสมดุล โดยเฉพาะ ในพื้นที่ที่สัตว์ผู้ล่าขนาดใหญ่ เช่น เสือโคร่งและเสือดาว ได้ลดจํานวนหรือสูญหายไป หมาในซึ่งเป็นสัตว์ผู้ล่าขนาดกลางที่มีศักยภาพใกล้เคียงกับสัตว์ผู้ล่าขนาดใหญ่จึงมีบทบาทสําคัญในการสร้างความสมดุลให้กับระบบนิเวศ

ในพื้นที่หนึ่งๆ หากหมาในหรือสัตว์ผู้ล่าขนาดใหญ่หายไปจากระบบนิเวศแล้ว จะไม่มีตัวควบคุม จํานวนประชากรสัตว์กินพืช ส่งผลให้สัตว์กินพืชมีจํานวนประชากรมากเกินความสามารถในการรองรับได้ ของพื้นที่ เช่น ในประเทศภูฏาน มีการล่าหมาในออกจากพื้นที่ ส่งผลให้มีการเพิ่มจํานวนของประชากรสัตว์กีบ จนล้นพื้นที่และออกไปบุกรุกพื้นที่เกษตรกรรม ทําให้เกิดความเสียหายทั้งทางระบบนิเวศและเศรษฐกิจ จึงต้อง มีการจัดการสัตว์ป่าในพื้นที่โดยการนําหมาในกลับคืนมาในพื้นที่อีกครั้งหนึ่งเพื่อทําหน้าที่ควบคุมประชากร สัตว์กีบเหล่านั้น

ภาพจากในคลิปของ อช.แก่งกระจาน
จากจํานวนประชากรของหมาในที่มีน้อยทั่วโลกจึงจัดสถานภาพของหมาในอยู่ในภาวะใกล้สูญพันธุ์ (Endangered) (IUCN Red List 2015) ขณะที่ในประเทศไทยหมาในถูกจัดอยู่ในภาวะเสี่ยงต่อการสูญพันธ์ (Vulnerable) (Thailand Red List 2005) และเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครอง สัตว์ป่า พ.ศ. 2535 (ราชกิจจานุเบกษา ฉบับกฤษฎีกา เล่ม 109 ตอนที่ 15 วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2535)



#########################################

สามารถส่งข้อมูลข่าวสารด้านการท่องเที่ยว-อาหารมาได้ที่ อีเมล์ travel_astvmgr@hotmail.com หรือ ชมคลิปต่าง ๆ ได้ที่ Youtube :Travel MGR และ Instagram : @travelfoodonline และ TikTok : @travelfoodonline


กำลังโหลดความคิดเห็น