แพนด้า จัดเป็นสัตว์โลกที่น่าทึ่งอีกประเภทหนึ่ง เพราะแพนด้าเป็นสัตว์ที่มีระบบย่อยอาหารลักษณะเดียวกันกับ “สัตว์กินเนื้อ” แต่พวกมันกลับกินไผ่เป็นอาหารหลัก
เรื่องราวของแพนด้ากลับมาเป็นกระแสโด่งดังอีกครั้ง แต่ไม่ใช่ แพนด้ายักษ์ แพนด้าแดง หากแต่เป็นแพนด้าสีชมพูที่วันนี้กำลังเผชิญวิบากกรรมหนัก
สำหรับแพนด้าที่คนทั่วโลกคุ้นเคยนั้น จริง ๆ คือ “แพนด้ายักษ์” (Giant Panda, Ailuropoda melanoleuca) สัตว์อนุรักษ์หายาก ที่ปัจจุบันพบเจอตามธรรมชาติเฉพาะในประเทศจีนเท่านั้น
แพนด้ายักษ์เป็นหนึ่งในสัญลักษณ์ทางการทูตของเมืองจีน โดยทางการจีนได้ส่งแพนด้ายักษ์ไปยังสวนสัตว์บางประเทศ อย่างเช่น สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น รวมถึงไทย เพื่อใช้เป็นเครื่องหมายการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมระหว่างจีนและชาตินั้น ๆ ซึ่งการปฏิบัติเช่นนี้จึงมีการเรียกขานแพนด้าที่ส่งออกจากจีนไปให้ประเทศต่าง ๆ ว่า “ทูตสันถวไมตรี”
ในบ้านเราจีนได้ส่งแพนด้ายักษ์มาให้ 1 คู่ ในปี 2546 คือ “ช่วง ช่วง” (เพศผู้-ปัจจุบันเสียชีวิตไปแล้ว) และหลินฮุ่ย (เพศเมีย) ซึ่งได้ลูกมาคือ “หลินปิง” (เพศเมีย)
สำหรับอาหารของแพนด้า ส่วนใหญ่ (ประมาณร้อยละ 99) คือ “ไผ่” นอกจากนี้ก็ยังมีพวก ไข่ ปลา และแมลงบางชนิดในไม้ไผ่ที่มันกิน
โดยหมีแพนด้าสามารถกินได้ถึงประมาณ 40% ของน้ำหนักตัวมันเอง ซึ่งมันจะมีทั้งกินอาหารที่พื้น หรือปีนขึ้นไปกินบนต้นไม้
อย่างไรก็ดีสำหรับเรื่องอาหารการกินของหมีแพนด้านั้น รวมถึงการดำรงชีวิตของพวกมัน จัดว่าเป็นสัตว์โลกที่น่าทึ่งอีกประเภทหนึ่ง เพราะแพนด้าเป็นสัตว์ที่ มีระบบย่อยอาหาร ลักษณะเดียวกันกับ “สัตว์กินเนื้อ” แต่พวกมันกลับกินไผ่ พืชเป็นอาหารหลัก
โดยภายในตัวของแพนด้ายักษ์ไม่มีจุลินทรีย์ในการช่วยย่อยไผ่ แต่กลับมีเขี้ยวสำหรับใช้กัดและเอนไซน์ในการย่อยเนื้อแทน
ขณะที่การดำรงชีวิตของแพนด้านั้น พวกมันแม้เป็นสัตว์ที่อยู่ในวงศ์ของหมี แต่กลับมีพฤติกรรมที่ผิดแผกแตกต่างจากหมีโดยสิ้นเชิง
ด้วยเหตุนี้แพนด้า หรือ แพนด้ายักษ์ หรือ หมีแพนด้า จึงเป็นหนึ่งในสัตว์น่ารักขวัญใจของคนทั่วโลกที่มนุษย์เราต้องอนุรักษ์ไว้ให้คงอยู่คู่โลกให้มากที่สุด