xs
xsm
sm
md
lg

“8 เมืองที่ยั่งยืนที่สุดในโลก” สำรวจเมืองยุคใหม่ตามเทรนด์โลก

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์


โคเปนเฮเกน, เดนมาร์ก
หลังผ่านยุคสมัยที่ต่างก็พยายามพัฒนาเมืองให้ทันสมัย เข้ามาสู่ยุคของการแสวงหาความยั่งยืนให้แก่ผู้คนและโลกใบนี้ การพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืนคือการพัฒนาด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และด้านอื่นๆ อย่างสมดุลกัน

หลายฝ่ายให้ความสนใจด้านความยิ่งยืนมากขึ้นเรื่อยๆ แม้กระทั่งการท่องเที่ยวก็ยังหันมาให้ความสำคัญกับการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน

เว็บไซต์ท่องเที่ยวชื่อดัง Lonely Planet จึงพาไปสำรวจ “8 เมืองที่ยั่งยืนที่สุดในโลก”

โคเปนเฮเกน, เดนมาร์ก
โคเปนเฮเกน, เดนมาร์ก
โคเปนเฮเกนตั้งเป้าหมายที่จะเป็นเมืองหลวงที่เป็นหลางด้านคาร์บอนแห่งแรกของโลกภายในปี ค.ศ. 2025 ซึ่งอยู่ในระหว่างการดำเนินการที่ก้าวหน้าไปด้วยดี ขยะจากเมืองน้อยกว่า 2% ถูกนำไปฝังกลบ ส่วนที่เหลือถูกนำไปรีไซเคิล หรือเปลี่ยนเป็นพลังงานในโรงไฟฟ้าพลังงานขยะ ซึ่งเป็นแหล่งพลังงานแห่งใหม่ของเมือง

การเดินทางภายในโคเปนเฮเกนเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมด้วยเรือพลังงานแสงอาทิตย์ รถประจำทางไฟฟ้า มีเครือข่ายเส้นทางจักรยาน และมีถนนที่เป็นมิตรกับคนเดินเท้า นอกจากนี้ยังมีการดำเนินกิจกรรมอื่นๆ ที่ไม่สร้างขยะเพิ่มขึ้น อาทิ ซื้อของที่ตลาดโดยไม่รับถุง หรือเศษอาหารและของเหลือจากร้านอาหารถูกเปลี่ยนเป็นปุ๋ยสำหรับการปลูกผักออร์แกนิกของร้าน

พอร์ตแลนด์ รัฐโอเรกอน สหรัฐอเมริกา

พอร์ตแลนด์ รัฐโอเรกอน สหรัฐอเมริกา
พอร์ตแลนด์ รัฐโอเรกอน สหรัฐอเมริกา
พอร์ตแลนด์เป็นเมืองสำหรับผู้ที่ชื่นชอบกิจกรรมกลางแจ้ง มีการวางผังเมืองอย่างดี สวนสาธารณะและป่าไม้ในเมืองที่ได้รับการดูแลอย่างดี เป็นเมืองที่เป็นมิตรกับคนเดินเท้า และมีอัตราการขี่จักรยานไปทำงานมากกว่าเมืองอื่นๆ ในสหรัฐอเมริกา

ที่พอร์ตแลนด์ ความยั่งยืนเป็นเรื่องของชุมชน มีตู้กำจัดขยะ มีร้านอาหารมังสวิรัติ การจัดเวิร์กชอปซ่อมบำรุงต่างๆ และคนในพื้นที่เน้นลดการสร้างขยะ ใช้ซ้ำ และการนำกลับมารีไซเคิล

สิงคโปร์

สิงคโปร์
สิงคโปร์
ด้วยจำนวนประชากรที่หนาแน่นและเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ขยะของสิงคโปร์จึงเพิ่มจำนวนตามไปด้วย สถานที่ฝังกลบขยะแห่งเดียวในสิงคโปร์จึงถูกคาดว่าจะเต็มในปี ค.ศ.2035 สิงคโปร์จึงมีความพยายามที่จะเสาะหานวัตกรรมที่ช่วยในการจัดการสังคม สิ่งแวดล้อม และเศรษฐกิจให้มีความยั่งยืน จึงทำให้สิงคโปร์กลายเป็นเมืองที่มีความยั่งยืนที่สุกในเอเชียในปี 2018

สถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียง เช่น Garden by the Bay, Jewel Changi และ Marina One จึงได้รับการออกแบบให้คำนึงถึงความยั่งยืนในอนาคต และภายในปี 2030 สถาปัตยกรรมในเมืองราว 80% จะเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม มีความพยายามเปลี่ยนวิธีการซื้อสินค้าของชาวสิงคโปร์โดยเน้นการไม่สร้างขยะ รวมไปถึงการจัดการระบบแฟชั่นอย่างยั่งยืน มีการแลกเปลี่ยนเสื้อผ้าระหว่างสมาชิก (แต่ก็ยังสามารถซื้อได้ด้วยเงินสด)

ลิสบอน, โปรตุเกส

ลิสบอน, โปรตุเกส
ลิสบอน, โปรตุเกส
ลิสบอนเป็นเมืองหลวงสีเขียวของคณะกรรมาธิการสหภาพยุโรปในปี 2020 มีการเพิ่มพื้นที่สวนสาธารณะอีก 300 เอเคอร์ให้กับเมือง ซึ่งหมายถึง 85% ของคนในเมืองลิสบอนนั้นมีพื้นที่สีเขียวอยู่ใกล้ที่อยู่อาศัยไม่เกิน 300 เมตร มีความพยายามสนับสนุนให้ใช้ยานพาหนะพลังงานไฟฟ้า โดยเพิ่มจุดชาร์ตรถยนต์ จักรยาน จักรยานยนต์ และสกู๊ตเตอร์ไฟฟ้า มีรถประจำทางไฟฟ้าขบวนใหม่ และแม้แต่รถตุ๊กตุ๊กสำหรับนักท่องเที่ยวก็ยังใช้ไฟฟ้ามาตั้งแต่ปี 2017

เบงกาลูรู, อินเดีย

เบงกาลูรู, อินเดีย
เบงกาลูรู, อินเดีย
เป็นเมืองที่บริษัททางเทคโนโลยีมีส่วนร่วมในการสัญจรอย่างมาก เช่น การเปิดให้เช่าสกู๊ตเตอร์ไฟฟ้า หรือกิจกรรมคาร์พูลเพื่อลดความแออัดของการจราจรในเมือง

นอกจากนี้ เทรนด์การใส่ใจสิ่งแวดล้อมก็กำลังเติบโตด้วยเช่นกัน สามารถเลือกซื้อของที่ปราศจากบรรจุภัณฑ์ มีผลิตภัณฑ์ความงามที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เข้าพักโฮสเทลที่คำนึงภึงสิ่งแวดล้อม มีบริการจักรยานให้เช่า ตกแต่งสวนบนระเบียงด้วยวัสดุรีไซเคิล

แวนคูเวอร์, แคนาดา

แวนคูเวอร์, แคนาดา
แวนคูเวอร์, แคนาดา
ที่แวนคูเวอร์ มีการปลูกต้นไม้กว่า 122,000 ต้น ตั้งแต่ปี 2010 (มีการตั้งเป้าหมายไว้ที่ 150,000 ต้น) มีการปลดปล่อยมลพิษต่ำที่สุดในอเมริกาเหนือ และตั้งเป้าที่จะลดขยะให้หมดภายในปี 2040 ซึ่งสะท้อนให้เห็นจากการขายของในร้านค้าและร้านกาแฟต่างๆ

มีการริเริ่มโครงการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมหลายอย่าง เช่น การร่วมมือกันทำความสะอาดพื้นที่ส่วนกลางของชุมชน มีห้องสมุดสาธารณะที่มีหลังคาสีเขียว ช่วยเรื่องการควบคุมอุณหภูมิในอาคาร บนดาดฟ้าอาคารมีแผงโซลาร์เซล และการจัดสวนพืชพื้นเมืองทนแล้ง มีทางเดินริมน้ำที่ยาวที่สุดในโลก ราว 28 กิโลเมตร เชื่อมต่อพื้นที่สวนสาธารณะหลายแห่งของเมือง

ลูบลิยานา, สโลวีเนีย

ลูบลิยานา, สโลวีเนีย
ลูบลิยานา, สโลวีเนีย
สโลวีเนียเป็นที่รู้จักกันดีในเรื่องของชนบทที่บริสุทธิ์ แม้แต่ในเมืองหลวงก็ยังมีอากาศบริสุทธิ์ให้นักท่องเที่ยวได้สัมผัส ลูบลิยานามีความสะอาดและความเขียวขจี ใจกลางเมืองเป็นทางเท้า มีระบบการจัดการขยะที่ทันสมัย ทำให้เมืองนี้มีขยะที่ต้องถูกฝังกลบน้องกว่าในปี 2008 ถึง 80% และมีเป้าหมายที่จะลดขยะให้เหลือเพียง 60 กิโลกรัม/คน/ปี ภายในปี 2025

ลูบลิยานาเป็นเมืองแรกในยุโรปที่มีเป้าหมายขยะเป็นศูนย์ บริษัทกำจัดขยะของเมืองดำเนินการเครื่องหยอดเหรียญที่ไม่มีขยะ ซึ่งจำหน่ายผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด แชมพู น้ำมันออร์แกนิก สำหรับลูกค้าที่นำบรรจุภัณฑ์เก่ามาเติม

ซานฟรานซิสโก รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา

ซานฟรานซิสโก รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา
ซานฟรานซิสโก รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา
ซานฟรานซิสโก เป็นเมืองแรกในสหรัฐอเมริกาที่ห้ามใช้ถุงพลาสติกและหลอด และเครื่องใช้พลาสติกเป็นสิ่งผิดกฎหมายตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2019 เมืองนี้ส่งขยะไปฝังกลบน้อยกว่าที่อื่นๆ ในประเทศ โดย 80% ของขยะที่นี่ถูกนำไปรีไซเคิล ทำปุ๋ยหมัก หรือนำกลับมาใช้ใหม่

ที่ซานฟรานซิสโกจะได้พบกับร้านอาหารที่ทำจากพืชมากมาย และถนนหนทางในเมืองยังน่าเดินเล่น จนติดอันดับเมืองที่น่าเดินเล่นที่สุดเป็นอันดับสองในสหรัฐอเมริกา

สามารถส่งข้อมูลข่าวสารด้านการท่องเที่ยว-อาหารมาได้ที่ อีเมล์ travel_astvmgr@hotmail.com หรือ ชมคลิปต่าง ๆ ได้ที่Youtube :Travel MGR




กำลังโหลดความคิดเห็น