Facebook :Travel @ Manager
หลังจากมีข่าวว่าอุทยานแห่งชาติถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอน (เตรียมการ) จะเปิดให้นักท่องเที่ยวเข้าชมถ้ำหลวงในวันที่ 1 พ.ย.นี้ หลายๆ คนก็เตรียมตัวอยากจะไปสัมผัสบรรยากาศของถ้ำอันโด่งดังแห่งจังหวัดเชียงราย พร้อมกับท่องเที่ยวในสถานที่อื่นๆ ของเชียงรายในฤดูหนาวนี้
ก่อนหน้านี้หลังจากเกิดเหตุการณ์ “13 หมูป่าติดถ้ำ” ทางถ้ำหลวงได้ปิดตัวเพื่อเคลียร์พื้นที่และอุปกรณ์ รวมไปถึงปรับทัศนียภาพให้พร้อมสำหรับท่องเที่ยวอยู่เป็นเวลานาน และได้เปิดให้นักท่องเที่ยวเข้าชมบางส่วนเมื่อราวเดือน พ.ย.2561 ที่ผ่านมา โดยขณะนั้นยังมีการกั้นรั้วให้ผู้ที่มาเยือนได้ชมปากถ้ำได้ไกลๆ เท่านั้น
ส่วนในวันที่ 1 พ.ย. 2562 ที่จะถึงนี้ ทางอุทยานฯ จะเปิดให้นักท่องเที่ยวได้เข้าชมบริเวณปากถ้ำกันแล้ว โดยเมื่อวันที่ 27 ต.ค. ที่ผ่านมาก็ได้มีการทดลองเปิดให้ประชาชนเข้าชมไปบางส่วน ส่วนใครที่กำลังรออยากจะไปชมในวันเปิดนี้ ทางอุทยานฯ ได้จัดระเบียบการเข้าชมไว้ดังนี้
- การเข้าชมถ้ำหลวงในแต่ละวัน สามารถรับนักท่องเที่ยวได้ประมาณ 2,000 คน/วัน โดยถือหลักใครมาก่อนได้เข้าก่อน
- ในวันที่ 1 พ.ย. 62 จะเปิดให้เริ่มเข้าชมได้ในเวลา 10.00 น. แต่สำหรับวันต่อๆ ไปจะเปิดในเวลา 08.30-16.30 น.
- การเข้าชมจะแบ่งเป็นรอบ รอบละ 30 คน
- ผู้เข้าชมแต่ละรอบจะมี 3 จุดพัก เริ่มจากจุดที่ 1 คือการไปสักการะศาลเจ้าแม่นางนอนบริเวณหน้าถ้ำ จุดที่ 2 คือการชมถ้ำหลวง โดยสามารถเข้าชมได้เฉพาะบริเวณปากถ้ำ (จุดที่ 13 หมูป่าจอดจักรยานทิ้งไว้) และจุดที่ 3 คือจุดทางออก โดยการชมในจุดที่ 1 และ 2 ใช้เวลากลุ่มละประมาณ 5 นาที โดยมีเจ้าหน้าที่คอยดูแล
- สำหรับจุดเที่ยวชมอื่นๆ บริเวณถ้ำหลวง อาทิ อนุสาวรีย์จ่าแซม ถ้ำพระ รวมถึงสระขุนน้ำนางนอนหรือสระขุนน้ำมรกต ที่อยู่ห่างออกไป 2 ก.ม. นักท่องเที่ยวสามารถเข้าชมได้ตามปกติ
- นักท่องเที่ยวที่มาชมถ้ำหลวงต้องจอดรถไว้บริเวณที่จอดรถด้านหน้าถนนใหญ่ โดยจะมีรถรางคอยให้บริการนำผู้โดยสารมาส่งด้านในอุทยานฯ (ระยะทางจากถนนมาถึงด้านในประมาณ 500 เมตร)
ระเบียบ กฎ กติกา การเข้าชมถ้ำหลวง
1.กำหนดเวลาเข้าชมถ้ำ 8.30-16.30 น.
2.หากมีความประสงค์เข้าชมถ้ำให้ติดต่อเจ้าหน้าที่ทุกครั้ง โดยได้กำหนดจุดเข้าชม 3 จุดจุดละ 20 ท่าน และกรุณารับบัตรก่อนเข้าและคืนบัตรทุกครั้งเมื่อออกจากถ้ำ
3.กรุณารักษาเวลาในการชมถ้ำ เพื่อให้นักท่องเที่ยวผู้อื่นได้มีโอกาสเข้าชมความสวยงามของถ้ำ และร่วมย้อนรอยประวัติศาสตร์การค้นหาและกู้ภัย 13 ชีวิต
4.ขอความร่วมมือนักท่องเที่ยวทุกท่านให้อยู่ในขอบเขตที่อุทยานแห่งชาติกำหนดไว้อย่างเคร่งครัด หากเกิดอุบัติเหตุหรือพลัดหลงระหว่างเข้าชม ทางอุทยานจะไม่รับผิดชอบใดๆทั้งสิ้น
5.เนื่องด้วยพื้นที่นี้เป็นพื้นที่บอบบางต่อระบบนิเวศ ขอความร่วมมือห้ามนำอาหารเครื่องดื่มสัตว์เลี้ยง หรือสิ่งแปลกปลอมเข้าไปในถ้ำ แล้วโปรดช่วยกันรักษาความสะอาดในพื้นที่แห่งนี้ด้วย
“อุทยานแห่งชาติถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอน” (เตรียมการ) ตั้งอยู่ที่อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย แต่เดิมคือ “วนอุทยานถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอน” แต่ถูกยกฐานะขึ้นเป็นอุทยานแห่งชาติหลังจากที่โด่งดังเป็นที่รู้จักของคนไทยและนานาชาติมากยิ่งขึ้นจากเหตุการณ์ “13 หมูป่าติดถ้ำ” หรือทีมนักฟุตบอลเยาวชนและผู้ฝึกสอนทีมฟุตบอลหมูป่าอะคาเดมีแม่สาย 13 ชีวิต ต้องติดอยู่ภายในถ้ำหลวง โดยการช่วยเหลือเป็นไปอย่างยากลำบากเนื่องจากสภาพภูมิประเทศของถ้ำและภูมิอากาศช่วงมรสุมที่มีฝนตกตลอดจนทำให้ระดับน้ำในถ้ำสูงขึ้น จนทำให้เกิดการระดมสรรพกำลังในหลายๆ ส่วนของไทยทั้งภาครัฐและเอกชน รวมไปถึงความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญในแขนงต่างๆ จากอีกหลากหลายประเทศ จนเรียกได้ว่าทั้งโลกต่างก็ร่วมลุ้นและเอาใจช่วยให้หมูป่าทั้ง 13 ชีวิตรอดปลอดภัยออกมาจากถ้ำ
นอกจากถ้ำหลวงแล้ว บริเวณนั้นยังมีจุดท่องเที่ยวอีกหลายจุด ได้แก่ “อนุสาวรีย์จ่าแซม” หรือนาวาตรีสมาน กุนัน ฮีโร่ถ้ำหลวง ผู้เสียชีวิตในขณะทำภารกิจช่วยเหลือ 13 หมูป่า รูปหล่อของจ่าแซมนี้หล่อด้วยโลหะบรอนซ์ มีความสูง 3.2 เมตร ฐานกว้าง 2.5 เมตร โดยผู้ริเริ่มและออกแบบแนวความคิดการสร้างรูปหล่อจ่าแซมก็คือ อ.เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ และได้ อ.สราวุฒิ คำมูลชัย เป็นหัวหน้าทีมช่างปั้นสร้างสรรค์ผลงานออกมาได้อย่างยอดเยี่ยม
ด้านหลังอนุสาวรีย์จ่าแซมเป็นอาคารไม้ที่สร้างขึ้นเป็นศาลาอนุสรณ์สถาน ภายในศาลามีรูปวาด “The Heroes ภาพประวัติศาสตร์เพื่อให้โลกได้จดจำ มิตรภาพและความร่วมมือที่ไร้พรมแดน” ที่ศิลปินขัวศิลปะเชียงรายร่วมกันสร้างสรรค์ขึ้นเพื่อเป็นการบันทึกประวัติศาสตร์ครั้งสำคัญนี้ไม่ให้เลือนหายไปตามกาลเวลา
นอกจากนั้นก็ยังมี “ถ้ำพระ” ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากอนุสาวรีย์จ่าแซม โดยถ้ำพระนี้มีความลึกเพียง 40 เมตร สามารถไปเยี่ยมชมและกราบพระกันได้
ส่วน “ขุนน้ำนางนอน” หรือสระขุนน้ำมรกตที่อยู่ห่างจากถ้ำหลวงไปประมาณ 2 กิโลเมตร มีพื้นที่ประมาณ 8 ไร่ เป็นบึงน้ำสีเขียวใส มีป้ายตัวหนังสือ “สระขุนน้ำมรกต” เป็นจุดถ่ายภาพ บรรยากาศโดยรอบเป็นภูเขาและต้นไม้สูงสะท้อนน้ำในสระดูนิ่งสงบงดงาม บริเวณริมสระมีป้ายห้ามลงเล่นน้ำเนื่องจากหลังจากการขุดเจาะเพื่อระบายน้ำแล้วทำให้สระจะมีความลึกมากขึ้นกว่าเดิม หากลงเล่นอาจเป็นอันตรายได้
สามารถส่งข้อมูลข่าวสารด้านการท่องเที่ยว-อาหารมาได้ที่ กอง บก.ข่าวท่องเที่ยว แฟกซ์ 0-2629-4467 อีเมล์ travel_astvmgr@hotmail.com หรือติดตามเพิ่มเติมได้ที่ Facebook :Travel @ Manager
หลังจากมีข่าวว่าอุทยานแห่งชาติถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอน (เตรียมการ) จะเปิดให้นักท่องเที่ยวเข้าชมถ้ำหลวงในวันที่ 1 พ.ย.นี้ หลายๆ คนก็เตรียมตัวอยากจะไปสัมผัสบรรยากาศของถ้ำอันโด่งดังแห่งจังหวัดเชียงราย พร้อมกับท่องเที่ยวในสถานที่อื่นๆ ของเชียงรายในฤดูหนาวนี้
ก่อนหน้านี้หลังจากเกิดเหตุการณ์ “13 หมูป่าติดถ้ำ” ทางถ้ำหลวงได้ปิดตัวเพื่อเคลียร์พื้นที่และอุปกรณ์ รวมไปถึงปรับทัศนียภาพให้พร้อมสำหรับท่องเที่ยวอยู่เป็นเวลานาน และได้เปิดให้นักท่องเที่ยวเข้าชมบางส่วนเมื่อราวเดือน พ.ย.2561 ที่ผ่านมา โดยขณะนั้นยังมีการกั้นรั้วให้ผู้ที่มาเยือนได้ชมปากถ้ำได้ไกลๆ เท่านั้น
ส่วนในวันที่ 1 พ.ย. 2562 ที่จะถึงนี้ ทางอุทยานฯ จะเปิดให้นักท่องเที่ยวได้เข้าชมบริเวณปากถ้ำกันแล้ว โดยเมื่อวันที่ 27 ต.ค. ที่ผ่านมาก็ได้มีการทดลองเปิดให้ประชาชนเข้าชมไปบางส่วน ส่วนใครที่กำลังรออยากจะไปชมในวันเปิดนี้ ทางอุทยานฯ ได้จัดระเบียบการเข้าชมไว้ดังนี้
- การเข้าชมถ้ำหลวงในแต่ละวัน สามารถรับนักท่องเที่ยวได้ประมาณ 2,000 คน/วัน โดยถือหลักใครมาก่อนได้เข้าก่อน
- ในวันที่ 1 พ.ย. 62 จะเปิดให้เริ่มเข้าชมได้ในเวลา 10.00 น. แต่สำหรับวันต่อๆ ไปจะเปิดในเวลา 08.30-16.30 น.
- การเข้าชมจะแบ่งเป็นรอบ รอบละ 30 คน
- ผู้เข้าชมแต่ละรอบจะมี 3 จุดพัก เริ่มจากจุดที่ 1 คือการไปสักการะศาลเจ้าแม่นางนอนบริเวณหน้าถ้ำ จุดที่ 2 คือการชมถ้ำหลวง โดยสามารถเข้าชมได้เฉพาะบริเวณปากถ้ำ (จุดที่ 13 หมูป่าจอดจักรยานทิ้งไว้) และจุดที่ 3 คือจุดทางออก โดยการชมในจุดที่ 1 และ 2 ใช้เวลากลุ่มละประมาณ 5 นาที โดยมีเจ้าหน้าที่คอยดูแล
- สำหรับจุดเที่ยวชมอื่นๆ บริเวณถ้ำหลวง อาทิ อนุสาวรีย์จ่าแซม ถ้ำพระ รวมถึงสระขุนน้ำนางนอนหรือสระขุนน้ำมรกต ที่อยู่ห่างออกไป 2 ก.ม. นักท่องเที่ยวสามารถเข้าชมได้ตามปกติ
- นักท่องเที่ยวที่มาชมถ้ำหลวงต้องจอดรถไว้บริเวณที่จอดรถด้านหน้าถนนใหญ่ โดยจะมีรถรางคอยให้บริการนำผู้โดยสารมาส่งด้านในอุทยานฯ (ระยะทางจากถนนมาถึงด้านในประมาณ 500 เมตร)
ระเบียบ กฎ กติกา การเข้าชมถ้ำหลวง
1.กำหนดเวลาเข้าชมถ้ำ 8.30-16.30 น.
2.หากมีความประสงค์เข้าชมถ้ำให้ติดต่อเจ้าหน้าที่ทุกครั้ง โดยได้กำหนดจุดเข้าชม 3 จุดจุดละ 20 ท่าน และกรุณารับบัตรก่อนเข้าและคืนบัตรทุกครั้งเมื่อออกจากถ้ำ
3.กรุณารักษาเวลาในการชมถ้ำ เพื่อให้นักท่องเที่ยวผู้อื่นได้มีโอกาสเข้าชมความสวยงามของถ้ำ และร่วมย้อนรอยประวัติศาสตร์การค้นหาและกู้ภัย 13 ชีวิต
4.ขอความร่วมมือนักท่องเที่ยวทุกท่านให้อยู่ในขอบเขตที่อุทยานแห่งชาติกำหนดไว้อย่างเคร่งครัด หากเกิดอุบัติเหตุหรือพลัดหลงระหว่างเข้าชม ทางอุทยานจะไม่รับผิดชอบใดๆทั้งสิ้น
5.เนื่องด้วยพื้นที่นี้เป็นพื้นที่บอบบางต่อระบบนิเวศ ขอความร่วมมือห้ามนำอาหารเครื่องดื่มสัตว์เลี้ยง หรือสิ่งแปลกปลอมเข้าไปในถ้ำ แล้วโปรดช่วยกันรักษาความสะอาดในพื้นที่แห่งนี้ด้วย
“อุทยานแห่งชาติถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอน” (เตรียมการ) ตั้งอยู่ที่อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย แต่เดิมคือ “วนอุทยานถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอน” แต่ถูกยกฐานะขึ้นเป็นอุทยานแห่งชาติหลังจากที่โด่งดังเป็นที่รู้จักของคนไทยและนานาชาติมากยิ่งขึ้นจากเหตุการณ์ “13 หมูป่าติดถ้ำ” หรือทีมนักฟุตบอลเยาวชนและผู้ฝึกสอนทีมฟุตบอลหมูป่าอะคาเดมีแม่สาย 13 ชีวิต ต้องติดอยู่ภายในถ้ำหลวง โดยการช่วยเหลือเป็นไปอย่างยากลำบากเนื่องจากสภาพภูมิประเทศของถ้ำและภูมิอากาศช่วงมรสุมที่มีฝนตกตลอดจนทำให้ระดับน้ำในถ้ำสูงขึ้น จนทำให้เกิดการระดมสรรพกำลังในหลายๆ ส่วนของไทยทั้งภาครัฐและเอกชน รวมไปถึงความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญในแขนงต่างๆ จากอีกหลากหลายประเทศ จนเรียกได้ว่าทั้งโลกต่างก็ร่วมลุ้นและเอาใจช่วยให้หมูป่าทั้ง 13 ชีวิตรอดปลอดภัยออกมาจากถ้ำ
นอกจากถ้ำหลวงแล้ว บริเวณนั้นยังมีจุดท่องเที่ยวอีกหลายจุด ได้แก่ “อนุสาวรีย์จ่าแซม” หรือนาวาตรีสมาน กุนัน ฮีโร่ถ้ำหลวง ผู้เสียชีวิตในขณะทำภารกิจช่วยเหลือ 13 หมูป่า รูปหล่อของจ่าแซมนี้หล่อด้วยโลหะบรอนซ์ มีความสูง 3.2 เมตร ฐานกว้าง 2.5 เมตร โดยผู้ริเริ่มและออกแบบแนวความคิดการสร้างรูปหล่อจ่าแซมก็คือ อ.เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ และได้ อ.สราวุฒิ คำมูลชัย เป็นหัวหน้าทีมช่างปั้นสร้างสรรค์ผลงานออกมาได้อย่างยอดเยี่ยม
ด้านหลังอนุสาวรีย์จ่าแซมเป็นอาคารไม้ที่สร้างขึ้นเป็นศาลาอนุสรณ์สถาน ภายในศาลามีรูปวาด “The Heroes ภาพประวัติศาสตร์เพื่อให้โลกได้จดจำ มิตรภาพและความร่วมมือที่ไร้พรมแดน” ที่ศิลปินขัวศิลปะเชียงรายร่วมกันสร้างสรรค์ขึ้นเพื่อเป็นการบันทึกประวัติศาสตร์ครั้งสำคัญนี้ไม่ให้เลือนหายไปตามกาลเวลา
นอกจากนั้นก็ยังมี “ถ้ำพระ” ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากอนุสาวรีย์จ่าแซม โดยถ้ำพระนี้มีความลึกเพียง 40 เมตร สามารถไปเยี่ยมชมและกราบพระกันได้
ส่วน “ขุนน้ำนางนอน” หรือสระขุนน้ำมรกตที่อยู่ห่างจากถ้ำหลวงไปประมาณ 2 กิโลเมตร มีพื้นที่ประมาณ 8 ไร่ เป็นบึงน้ำสีเขียวใส มีป้ายตัวหนังสือ “สระขุนน้ำมรกต” เป็นจุดถ่ายภาพ บรรยากาศโดยรอบเป็นภูเขาและต้นไม้สูงสะท้อนน้ำในสระดูนิ่งสงบงดงาม บริเวณริมสระมีป้ายห้ามลงเล่นน้ำเนื่องจากหลังจากการขุดเจาะเพื่อระบายน้ำแล้วทำให้สระจะมีความลึกมากขึ้นกว่าเดิม หากลงเล่นอาจเป็นอันตรายได้
สามารถส่งข้อมูลข่าวสารด้านการท่องเที่ยว-อาหารมาได้ที่ กอง บก.ข่าวท่องเที่ยว แฟกซ์ 0-2629-4467 อีเมล์ travel_astvmgr@hotmail.com หรือติดตามเพิ่มเติมได้ที่ Facebook :Travel @ Manager