Facebook :Travel @ Manager
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หรือ ภาคอีสาน นั้นถือว่าเป็นอู่อารยธรรมที่สำคัญของไทย บอกเล่าเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ที่ยาวนาน โดยเฉพาะที่ “แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง” ใน อ.หนองหาน จ.อุดรธานี ที่มีร่องรอยทางประวัติศาสตร์ แสดงให้เห็นถึงการเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ย้อนหลังไปหลายพันปี
ร่องรอยหลักฐานที่ค้นพบที่บ้านเชียง แสดงให้เห็นขั้นตอนสำคัญของวิวัฒนาการทางสังคมและวัฒนธรรม รวมทั้งแสดงหลักฐานของการทำเกษตรกรรม แหล่งผลิตและการใช้โลหะในภูมิภาค ทำให้รับรู้ถึงการดำรงชีวิตในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ในยุคกว่า 5,000 ปีที่แล้ว ซึ่งความสำคัญนี้เอง จึงทำให้แหล่งโบราณคดีบ้านเชียงได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก เมื่อปี พ.ศ.2535
หากอยากศึกษาทั้งความเป็นมา หลักฐานทางประวัติศาสตร์ต่างๆ เพื่อให้เห็นภาพบ้านเชียงในยุคหลายพันปีก่อนมากขึ้น ต้องมาที่ “พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ บ้านเชียง” ที่เล่าเรื่องราวตั้งแต่เริ่มต้น แบ่งเป็นห้องต่างๆ ที่ให้ความรู้ บอกเล่าเรื่องราวจากข้าวของเครื่องใช้ในสมัยก่อน และหลักฐานทางประวัติศาสตร์อื่นๆ การดำเนินงานทางโบราณคดีที่บ้านเชียง รวมถึงการจำลองภาพบ้านเชียงในยุคก่อนประวัติศาสตร์ไว้ให้ชม
ภายในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ บ้านเชียง มีวัตถุโบราณที่สำคัญหลากหลายชิ้น ที่แสดงถึงเอกลักษณ์ของแหล่งโบราณคดีบ้านเชียง และไฮไลต์ที่พลาดไม่ได้ก็คือ “7 มหัศจรรย์ไทยที่บ้านเชียง” ซึ่งเป็นวัตถุโบราณที่ขุดค้นพบในแหล่งโบราณคดีบ้านเชียง ถูกคัดเลือกจากคณะกรรมการของกรมศิลปากร รวมกับวัตถุโบราณจากแหล่งอื่นๆ ผ่านการประเมินความสำคัญที่ต้องเป็นของหายาก มีชิ้นเดียวในไทย และมีเอกลักษณ์เฉพาะ โดยที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ บ้านเชียง มีจำนวน 7 ชิ้น ได้แก่
“กระบวยสำริด” เป็นชิ้นเดียวที่พบในไทย มีความสมบูรณ์ที่สุด มีลวดลายปรากฏอยู่ เป็นลายคล้ายๆ ก้นหอย ที่แสดงออกถึงความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของบ้านเชียง หากย้อนหลับไปเมื่อ 1,000-2,000 ปีก่อน ช่างที่ทำจะต้องมีความรู้และความสามารถด้านการหล่อโลหะค่อนข้างสูง จึงสามารถหล่อกระบวยออกมาเป็นรูปทรงที่สวยงามได้
“ใบหอก” แสดงให้เห็นถึงวิวัฒนาการของการใช้โลหะของแหล่งโบราณคดีบ้านเชียง หากสังเกตใกล้ๆ จะเห็นว่าใบหอกจะมีความขรุขระเนื่องจากสนิมเหล็ก แต่ส่วนที่เป็นด้ามหอกจะไม่ขรุขระแต่เป็นสีเขียว ซึ่งเกิดจากสนิมสำริด แสดงว่าเป็นโลหะสองชนิดที่เชื่อมเข้าด้วยกันคือ เหล็กกับสำริด โดยยุคของสำริดมาก่อนยุคเหล็ก เมื่อคนนิยมใช้เหล็กมากขึ้น สำริดก็ได้รับความนิยมน้อยลง เนื่องจากเหล็กมีความแข็งแรงมากกว่า ฉะนั้นการเจอโลหะสองชนิดเชื่อมเข้าด้วยกันแสดงว่ามีการเชื่อมต่อของวัฒนธรรมในการใช้เหล็กกับสำริด
“เครื่องมือเกษตรกรรม” เป็นเครื่องมือที่ทำจากเหล็ก สำหรับชิ้นนี้พบหลักฐานทางเกษตรกรรมที่สำคัญมาก นั่นคือ เปลือกข้าว ที่ฝังอยู่ในเนื้อของสนิมโลหะชิ้นนี้ การที่แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง ได้รับการประกาศให้เป็นมรดกโลกเนื่องจากมีหลักฐานการอยู่อาศัยของมนุษย์ มีอารยธรรมและวัฒนธรรม โดยเฉพาะเรื่องการเพาะปลูก การที่พบเครื่องมือเหล็กซึ่งอาจจะใช้ในการเกษตรกรรม และพบเปลือกข้าวที่ติดอยู่ แสดงให้เห็นถึงหลักฐานที่ชัดเจนว่าเรามีการทำเกษตรกรรมตั้งแต่ยุคหลายพันปีที่แล้ว
“ภาชนะดินเผา” เอกลักษณ์ที่สำคัญของบ้านเชียงคือภาชนะดินเผา แต่ละชิ้นก็มีความสำคัญที่แตกต่างกันไป สำหรับชิ้นนี้มีความพิเศษอยู่ที่มีความสมบูรณ์เกือบ 100% มีลวดลายวิจิตรพิศดาร ลายที่เห็นอยู่บนเนื้อดินเผาเรียกว่าลายก้านขด ที่สำคัญกว่านั้นมีลายคล้ายๆ ผู้หญิงแต่งกายใส่กระโปรง มีหมวก เป็นลายอยู่บริเวณขอบ คาดว่าเป็นการแต่งกายในพิธีกรรม ฉะนั้นเมื่อมีการแต่งกายก็จะมีเรื่องของวัฒนธรรมการทอผ้า และเป็นลักษณะของวัฒนธรรมที่เจริญแล้ว อายุของวัตถุโบราณชิ้นนี้อยู่ที่ประมาณ 2,300-1,800 ปี
“ภาชนะดินเผา” ความสำคัญของชิ้นนี้อยู่ที่ลวดลายของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม คาดว่าเป็นลูกวัว มีความสำคัญเพราะการที่พบวัวเป็นความสอดคล้องถึงอารยธรรมของบ้านเชียงก็คือการเกษตรกรรม นอกจากนี้ การขุดค้นในแหล่งโบราณคดีบานเชียงก็พบกระดูกของสัตว์ใช้แรงงานด้วย แสดงว่ามีการใช้สัตว์เหล่านี้แทนแรงงานคน รวมถึงมีการเลี้ยงสัตว์ ที่แสดงถึงความเจริญของวัฒนธรรม
“ภาชนะดินเผา” ลวดลายเป็นสัตว์เลื้อยคลานประเภทหนึ่ง จะเป็นชนิดไหนก็ขึ้นอยู่กับจินตนาการของแต่ละคน แสดงถึงการมีศิลปะและเป็นศิลปินของคนในยุคก่อน มองเห็นอะไรรอบตัวก็นำมาทำเป็นลวดลาย สะท้อนให้เห็นความนิยมที่เอาสิ่งแวดล้อมรอบข้างมาบอกเล่าเรื่องราว และลวดลายนี้ก็ไม่พบในแหล่งอื่น จึงถูกคัดเลือกให้เป็นสิ่งมหัศจรรย์
“ภาชนะดินเผา” เป็นชิ้นที่ไม่มีที่อื่น ลวดลายที่เห็นเป็นลวดลายสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ที่ต้องตีความด้วยจินตนาการผสมกับความเชื่อ ลวดลายชิ้นนี้เขียนเกี่ยวกับความอุดมสมบูรณ์ เรื่องเกี่ยวกับเพศ ซึ่งต้องใช้จินตนาการของผู้ชม ส่วนคณะกรรมการได้ตัดสินออกมาว่าเป็นลวดลายที่แสดงสัญลักษณ์ของเพศชาย
นอกจากวัตถุโบราณ 7 ชิ้นนี้แล้ว ภายในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ บ้านเชียง ยังมีสิ่งสำคัญชวนชมอีกหลายอย่าง อาทิ เครื่องปั้นดินเผาสมัยโบราณที่แสดงออกถึงความเป็นเอกลักษณ์ของบ้านเชียง ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ยุค โดยมีรูปทรงและลวดลายที่แตกต่างกัน อีกชิ้นสำคัญคือ “โครงกระดูกสุนัข” อายุราว 2,300-1,800 ปี ที่นับว่าเป็นโครงกระดูกสุนัขที่มีสภาพสมบูรณ์และมีอายุเก่าแก่ที่สุดที่เคยพบจากการขุดค้นทางโบราณคดีในประเทศไทย ได้รับนามพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ว่า “คุณทองโบราณ” และถูกดัดแปลงให้เป็นมาสคอตประจำจังหวัดอุดรธานี เพื่อใช้เป็นสัญลักษณ์ของการท่องเที่ยวอุดรธานี
* * * * * * * * * * * * * * * * *
“พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ บ้านเชียง” ตั้งอยู่ที่ ถนนสุทธิพงษ์ ต.บ้านเชียง อ.หนองหาน จ.อุดรธานี เปิดให้เข้าชมวันพุธ-อาทิตย์ (หยุดวันจันทร์-อังคาร) เวลา 09.00-16.00 น. ค่าเข้าชม ชาวไทย 30 บาท ต่างชาติ 150 บาท
สามารถส่งข้อมูลข่าวสารด้านการท่องเที่ยว-อาหารมาได้ที่ กอง บก.ข่าวท่องเที่ยว แฟกซ์ 0-2629-4467 อีเมล์ travel_astvmgr@hotmail.com หรือติดตามเพิ่มเติมได้ที่ Facebook :Travel @ Manager
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หรือ ภาคอีสาน นั้นถือว่าเป็นอู่อารยธรรมที่สำคัญของไทย บอกเล่าเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ที่ยาวนาน โดยเฉพาะที่ “แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง” ใน อ.หนองหาน จ.อุดรธานี ที่มีร่องรอยทางประวัติศาสตร์ แสดงให้เห็นถึงการเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ย้อนหลังไปหลายพันปี
ร่องรอยหลักฐานที่ค้นพบที่บ้านเชียง แสดงให้เห็นขั้นตอนสำคัญของวิวัฒนาการทางสังคมและวัฒนธรรม รวมทั้งแสดงหลักฐานของการทำเกษตรกรรม แหล่งผลิตและการใช้โลหะในภูมิภาค ทำให้รับรู้ถึงการดำรงชีวิตในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ในยุคกว่า 5,000 ปีที่แล้ว ซึ่งความสำคัญนี้เอง จึงทำให้แหล่งโบราณคดีบ้านเชียงได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก เมื่อปี พ.ศ.2535
หากอยากศึกษาทั้งความเป็นมา หลักฐานทางประวัติศาสตร์ต่างๆ เพื่อให้เห็นภาพบ้านเชียงในยุคหลายพันปีก่อนมากขึ้น ต้องมาที่ “พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ บ้านเชียง” ที่เล่าเรื่องราวตั้งแต่เริ่มต้น แบ่งเป็นห้องต่างๆ ที่ให้ความรู้ บอกเล่าเรื่องราวจากข้าวของเครื่องใช้ในสมัยก่อน และหลักฐานทางประวัติศาสตร์อื่นๆ การดำเนินงานทางโบราณคดีที่บ้านเชียง รวมถึงการจำลองภาพบ้านเชียงในยุคก่อนประวัติศาสตร์ไว้ให้ชม
ภายในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ บ้านเชียง มีวัตถุโบราณที่สำคัญหลากหลายชิ้น ที่แสดงถึงเอกลักษณ์ของแหล่งโบราณคดีบ้านเชียง และไฮไลต์ที่พลาดไม่ได้ก็คือ “7 มหัศจรรย์ไทยที่บ้านเชียง” ซึ่งเป็นวัตถุโบราณที่ขุดค้นพบในแหล่งโบราณคดีบ้านเชียง ถูกคัดเลือกจากคณะกรรมการของกรมศิลปากร รวมกับวัตถุโบราณจากแหล่งอื่นๆ ผ่านการประเมินความสำคัญที่ต้องเป็นของหายาก มีชิ้นเดียวในไทย และมีเอกลักษณ์เฉพาะ โดยที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ บ้านเชียง มีจำนวน 7 ชิ้น ได้แก่
“กระบวยสำริด” เป็นชิ้นเดียวที่พบในไทย มีความสมบูรณ์ที่สุด มีลวดลายปรากฏอยู่ เป็นลายคล้ายๆ ก้นหอย ที่แสดงออกถึงความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของบ้านเชียง หากย้อนหลับไปเมื่อ 1,000-2,000 ปีก่อน ช่างที่ทำจะต้องมีความรู้และความสามารถด้านการหล่อโลหะค่อนข้างสูง จึงสามารถหล่อกระบวยออกมาเป็นรูปทรงที่สวยงามได้
“ใบหอก” แสดงให้เห็นถึงวิวัฒนาการของการใช้โลหะของแหล่งโบราณคดีบ้านเชียง หากสังเกตใกล้ๆ จะเห็นว่าใบหอกจะมีความขรุขระเนื่องจากสนิมเหล็ก แต่ส่วนที่เป็นด้ามหอกจะไม่ขรุขระแต่เป็นสีเขียว ซึ่งเกิดจากสนิมสำริด แสดงว่าเป็นโลหะสองชนิดที่เชื่อมเข้าด้วยกันคือ เหล็กกับสำริด โดยยุคของสำริดมาก่อนยุคเหล็ก เมื่อคนนิยมใช้เหล็กมากขึ้น สำริดก็ได้รับความนิยมน้อยลง เนื่องจากเหล็กมีความแข็งแรงมากกว่า ฉะนั้นการเจอโลหะสองชนิดเชื่อมเข้าด้วยกันแสดงว่ามีการเชื่อมต่อของวัฒนธรรมในการใช้เหล็กกับสำริด
“เครื่องมือเกษตรกรรม” เป็นเครื่องมือที่ทำจากเหล็ก สำหรับชิ้นนี้พบหลักฐานทางเกษตรกรรมที่สำคัญมาก นั่นคือ เปลือกข้าว ที่ฝังอยู่ในเนื้อของสนิมโลหะชิ้นนี้ การที่แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง ได้รับการประกาศให้เป็นมรดกโลกเนื่องจากมีหลักฐานการอยู่อาศัยของมนุษย์ มีอารยธรรมและวัฒนธรรม โดยเฉพาะเรื่องการเพาะปลูก การที่พบเครื่องมือเหล็กซึ่งอาจจะใช้ในการเกษตรกรรม และพบเปลือกข้าวที่ติดอยู่ แสดงให้เห็นถึงหลักฐานที่ชัดเจนว่าเรามีการทำเกษตรกรรมตั้งแต่ยุคหลายพันปีที่แล้ว
“ภาชนะดินเผา” เอกลักษณ์ที่สำคัญของบ้านเชียงคือภาชนะดินเผา แต่ละชิ้นก็มีความสำคัญที่แตกต่างกันไป สำหรับชิ้นนี้มีความพิเศษอยู่ที่มีความสมบูรณ์เกือบ 100% มีลวดลายวิจิตรพิศดาร ลายที่เห็นอยู่บนเนื้อดินเผาเรียกว่าลายก้านขด ที่สำคัญกว่านั้นมีลายคล้ายๆ ผู้หญิงแต่งกายใส่กระโปรง มีหมวก เป็นลายอยู่บริเวณขอบ คาดว่าเป็นการแต่งกายในพิธีกรรม ฉะนั้นเมื่อมีการแต่งกายก็จะมีเรื่องของวัฒนธรรมการทอผ้า และเป็นลักษณะของวัฒนธรรมที่เจริญแล้ว อายุของวัตถุโบราณชิ้นนี้อยู่ที่ประมาณ 2,300-1,800 ปี
“ภาชนะดินเผา” ความสำคัญของชิ้นนี้อยู่ที่ลวดลายของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม คาดว่าเป็นลูกวัว มีความสำคัญเพราะการที่พบวัวเป็นความสอดคล้องถึงอารยธรรมของบ้านเชียงก็คือการเกษตรกรรม นอกจากนี้ การขุดค้นในแหล่งโบราณคดีบานเชียงก็พบกระดูกของสัตว์ใช้แรงงานด้วย แสดงว่ามีการใช้สัตว์เหล่านี้แทนแรงงานคน รวมถึงมีการเลี้ยงสัตว์ ที่แสดงถึงความเจริญของวัฒนธรรม
“ภาชนะดินเผา” ลวดลายเป็นสัตว์เลื้อยคลานประเภทหนึ่ง จะเป็นชนิดไหนก็ขึ้นอยู่กับจินตนาการของแต่ละคน แสดงถึงการมีศิลปะและเป็นศิลปินของคนในยุคก่อน มองเห็นอะไรรอบตัวก็นำมาทำเป็นลวดลาย สะท้อนให้เห็นความนิยมที่เอาสิ่งแวดล้อมรอบข้างมาบอกเล่าเรื่องราว และลวดลายนี้ก็ไม่พบในแหล่งอื่น จึงถูกคัดเลือกให้เป็นสิ่งมหัศจรรย์
“ภาชนะดินเผา” เป็นชิ้นที่ไม่มีที่อื่น ลวดลายที่เห็นเป็นลวดลายสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ที่ต้องตีความด้วยจินตนาการผสมกับความเชื่อ ลวดลายชิ้นนี้เขียนเกี่ยวกับความอุดมสมบูรณ์ เรื่องเกี่ยวกับเพศ ซึ่งต้องใช้จินตนาการของผู้ชม ส่วนคณะกรรมการได้ตัดสินออกมาว่าเป็นลวดลายที่แสดงสัญลักษณ์ของเพศชาย
นอกจากวัตถุโบราณ 7 ชิ้นนี้แล้ว ภายในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ บ้านเชียง ยังมีสิ่งสำคัญชวนชมอีกหลายอย่าง อาทิ เครื่องปั้นดินเผาสมัยโบราณที่แสดงออกถึงความเป็นเอกลักษณ์ของบ้านเชียง ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ยุค โดยมีรูปทรงและลวดลายที่แตกต่างกัน อีกชิ้นสำคัญคือ “โครงกระดูกสุนัข” อายุราว 2,300-1,800 ปี ที่นับว่าเป็นโครงกระดูกสุนัขที่มีสภาพสมบูรณ์และมีอายุเก่าแก่ที่สุดที่เคยพบจากการขุดค้นทางโบราณคดีในประเทศไทย ได้รับนามพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ว่า “คุณทองโบราณ” และถูกดัดแปลงให้เป็นมาสคอตประจำจังหวัดอุดรธานี เพื่อใช้เป็นสัญลักษณ์ของการท่องเที่ยวอุดรธานี
* * * * * * * * * * * * * * * * *
“พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ บ้านเชียง” ตั้งอยู่ที่ ถนนสุทธิพงษ์ ต.บ้านเชียง อ.หนองหาน จ.อุดรธานี เปิดให้เข้าชมวันพุธ-อาทิตย์ (หยุดวันจันทร์-อังคาร) เวลา 09.00-16.00 น. ค่าเข้าชม ชาวไทย 30 บาท ต่างชาติ 150 บาท
สามารถส่งข้อมูลข่าวสารด้านการท่องเที่ยว-อาหารมาได้ที่ กอง บก.ข่าวท่องเที่ยว แฟกซ์ 0-2629-4467 อีเมล์ travel_astvmgr@hotmail.com หรือติดตามเพิ่มเติมได้ที่ Facebook :Travel @ Manager