Facebook :Travel @ Manager

เมื่อเราออกเดินทางไปท่องเที่ยวในสถานที่ต่างแดน นอกจากจะผ่อนคลายไปกับความงดงามของธรรมชาติ และได้เรียนรู้กับสิ่งใหม่ๆ อยู่เสมอ ไม่ว่าจะเป็นวิถีชีวิตความเป็นอยู่ ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี ที่ถือเป็นเอกลักษณ์และมีเสน่ห์ของชุมชนนั้นๆ เหมือนกับครั้งนี้ที่มีโอกาสได้มาเยือน “ชุมชนตะโละหะลอ” อ.รามัน จ.ยะลา อีกหนึ่งแหล่งเรียนรู้ที่มีความน่าสนใจ เพราะจะได้สัมผัสกับวิถีชีวิตของชาวบ้านที่ยังคงสืบทอด “กริชรามันห์” ศิลปะชั้นสูงนี้ไว้จนถึงทุกวันนี้
“ชุมชนตะโละหะลอ” ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ 5 บ้านบึงน้ำใส ต.ตะโละหะลอ อ.รามัน จ.ยะลา เป็นพื้นที่ที่มีช่างทำกริชสืบทอดมาตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน โดยมี “ตีพะลี อะตะบู” เป็นผู้สืบทอดสายเลือดช่างกริชรามันห์ และถือเป็นครูภูมิปัญญาพื้นบ้านที่ชำนาญการเรื่องกริชโบราณ พร้อมถ่ายทอดองค์ความรู้เรื่องราวของกริชให้กลุ่มเยาวชนคนรุ่นใหม่ได้สืบทอดรักษามรดกนี้ไว้

ตีพะลี อะตะบู ครูช่างศิลปหัตถกรรม ประเภทเครื่องโลหะ (กริชรามันห์) เล่าให้ฟังถึง “กริชรามันห์” ที่มีประวัติความเป็นมาที่ยาวนาน มีต้นกำเนิดเมื่อ 200-300 ปีก่อน โดยเจ้าเมืองรามันประสงค์ให้มีกริชเป็นอาวุธคู่บ้านคู่เมือง จึงได้เชิญช่างทำกริชจากอินโดนีเซียมาทำกริชที่เมืองรามัน และสืบทอดภูมิปัญญามาจนปัจจุบัน

กริชรามันห์ของชุมชนตะโละหะลอ เป็นรูปแบบศิลปะปัตตานี หรือที่เรียกกันว่า กริชตายง ซึ่งเป็นกริชที่ทำมาในปัจจุบันนี้ โดยมีบรมจารย์คือ ช่างหลวงของเจ้าเมืองรามัน ถือว่าเป็นที่มาของกริชรามันห์ และจะรู้จักว่า กริชตะกูลบันไดสาระ มีศิลปะในรูปแบบปัตตานี ก็คือกริชตายง หรือกริชหัวนกพังกะ

“กริชรามันห์เป็นกริชในตระกูลของท่านปันไดสาระ ซึ่งได้รับการยอมรับในกลุ่มคนทำกริช หรือกลุ่มผู้นิยมกริชทั่วโลก เพราะเป็นกริชที่มีลักษณะโดดเด่นเป็นพิเศษกว่ากริชชนิดที่อื่น โดยเฉพาะใบกริชและหัวกริช เนื่องจากส่วนใหญ่เป็นศิลปะรูปนกปือกา หรือนกพังกะ เป็นนกในวรรณคดีท้องถิ่น ที่มีความหมายว่า ผู้คุ้มครอง เป็นนกที่มีลำตัวสีเขียว ปากยาวมีสีแดงอมเหลือง คอมีสีขาวสลับสีแดง กริชรามันจึงเป็นรูปนกแทบทั้งสิ้น”

นอกจากนั้นความแข็งแกร่งยังเป็นจุดเด่นอีกประการ ของกริชรามันห์จากตระกูลปันไดสาระอีกด้วย โดยมีเรื่องเล่าขานกันว่า ในการประกวดความแข็งแกร่งของกริช ซึ่งผู้เข้าประกวดจะต้องใช้กริชแทงโอ่งบรรจุน้ำให้แตก มีเพียงกริชจากตระกูลปันไดสาระเท่านั้นที่สามารถแทงโอ่งได้ เนื่องจากเป็นกริชชนิดเดียวที่มีสันตรงกลางใบกริช เพราะมีสูตรการผสมเนื้อเหล็ก ที่เน้นความแข็งแกร่งเป็นพิเศษ

ในอดีตกริชรามันห์มีอิทธิพลด้านศิลปะและความเชื่อจากพราหมณ์ฮินดู โดยมีสัญลักษณ์ของเทพอยู่ในตัวกริช นอกจากนี้กริชยังถูกใช้ในการสถาปนาเจ้าเมืองให้เป็นสมมติเทพ ด้วยที่มีสัญลักษณ์ของเทพเข้าไว้ในพิธีการ เมื่อเข้าพิธีการเสร็จเรียบร้อยแล้ว เจ้าเมืองนั้นจะเป็นเจ้าเมืองที่สมบูรณ์แบบ อีกทั้งกริชได้แบ่งออกเป็น 3 ชนชั้นวรรณะด้วยกัน ในแต่ละชนิดนั้นบอกถึงชนชั้นวรรณะของผู้ใช้คือ 1.กษัตริย์และเจ้าเมือง 2.นักรบและขุนนาง 3.สำหรับบุคคลทั่วไป ขณะเดียวกันกริชถือเป็นศาสตราวุธ เครื่องราชบรรดาศักดิ์ของคนในอดีตอีกด้วย

ในยุคแรกๆ นั้น กริชรามันห์มีลักษณะคือมีด้ามจับกริชที่แกะสลักเป็นรูปยักษ์ ซึ่งเป็นตัวละครตัวหนึ่งของชวา ที่เข้ามามีอิทธิพลในแถบภาคใต้ของไทย ต่อมาได้มีการพัฒนารูปแบบเปลี่ยนการแกะสลักด้ามจับเป็นรุปทรงอื่นๆ อีกหลายแบบ ซึ่งเป็นงานฝีมือที่ใช้มือทำทั้งหมด ในส่วนของตัวใบกริชนั้น จะมีลักษณะโค้งเว้า เหมือนเกรียวคลื่น และแหลมคม ดูสง่างามและพลิ้วไหว ให้ความรู้สึกถึงความน่าเกรงขาม

กริชรามันห์มีลักษณะพิเศษเป็นเอกลักษณ์ เฉพาะตัวที่โดดเด่นงดงาม มีจิตวิญญาณของความเชื่อและ ตำนานไม่แพ้กริชของพื้นที่ใดในแหลม มลายู จึงเป็นสิ่งที่น่าสนใจ และได้รับความนิยมจากบุคคลทั่วไป ทั้งชาวไทยและต่างชาติ ทำให้ยังมีคนนิยมเก็บสะสมกริชรามันเป็นของที่ระลึก นอกจากการสาธิตทำกริชแล้วที่นี่ยังมีการโชว์การแสดงรำกริชรามันห์ให้นักท่องเที่ยวได้ชมอีกด้วย โดยการแสดงนี้ผู้แสดงจะโชว์ลีลาลวดลายการรำกริชอย่างอ่อนช้อยและดุดันเข้มแข็ง สร้างความตื่นตาตื่นใจให้กับผู้ที่ได้เห็นเป็นอย่างมาก

หากใครที่ชื่นชอบความงดงามในด้านงานศิลปะ รวมไปถึงศิลปหัตกรรมที่มีประวัติความเป็นมาที่น่าสนใจแล้วล่ะก็ ขอแนะนำให้ลองมาเที่ยวที่ “ชุมชนตะโละหะลอ” แห่งนี้ดู มาเยี่ยมชมพร้อมฟังเรื่องราวตำนานที่ยังคงมีชีวิตอย่างกริชรามันห์ มาเรียนรู้และสัมผัสกับวิถีชีวิตของชาวบ้าน ที่ยังคงสืบทอดและรักษาศิลปะชั้นสูงนี้ไว้ให้เราได้เห็นจนถึงทุกวันนี้
“ชุมชนตะโละหะลอ” ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ 5 บ้านบึงน้ำใส ต.ตะโละหะลอ อ.รามัน จ.ยะลา สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานนราธิวาส (ดูแลปัตตานี-ยะลา-นราธิวาส) โทร.07-3543-3456
สามารถส่งข้อมูลข่าวสารด้านการท่องเที่ยว-อาหารมาได้ที่ กอง บก.ข่าวท่องเที่ยว แฟกซ์ 0-2629-4467 อีเมล์ travel_astvmgr@hotmail.com หรือติดตามเพิ่มเติมได้ที่ Facebook :Travel @ Manager
เมื่อเราออกเดินทางไปท่องเที่ยวในสถานที่ต่างแดน นอกจากจะผ่อนคลายไปกับความงดงามของธรรมชาติ และได้เรียนรู้กับสิ่งใหม่ๆ อยู่เสมอ ไม่ว่าจะเป็นวิถีชีวิตความเป็นอยู่ ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี ที่ถือเป็นเอกลักษณ์และมีเสน่ห์ของชุมชนนั้นๆ เหมือนกับครั้งนี้ที่มีโอกาสได้มาเยือน “ชุมชนตะโละหะลอ” อ.รามัน จ.ยะลา อีกหนึ่งแหล่งเรียนรู้ที่มีความน่าสนใจ เพราะจะได้สัมผัสกับวิถีชีวิตของชาวบ้านที่ยังคงสืบทอด “กริชรามันห์” ศิลปะชั้นสูงนี้ไว้จนถึงทุกวันนี้
“ชุมชนตะโละหะลอ” ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ 5 บ้านบึงน้ำใส ต.ตะโละหะลอ อ.รามัน จ.ยะลา เป็นพื้นที่ที่มีช่างทำกริชสืบทอดมาตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน โดยมี “ตีพะลี อะตะบู” เป็นผู้สืบทอดสายเลือดช่างกริชรามันห์ และถือเป็นครูภูมิปัญญาพื้นบ้านที่ชำนาญการเรื่องกริชโบราณ พร้อมถ่ายทอดองค์ความรู้เรื่องราวของกริชให้กลุ่มเยาวชนคนรุ่นใหม่ได้สืบทอดรักษามรดกนี้ไว้
ตีพะลี อะตะบู ครูช่างศิลปหัตถกรรม ประเภทเครื่องโลหะ (กริชรามันห์) เล่าให้ฟังถึง “กริชรามันห์” ที่มีประวัติความเป็นมาที่ยาวนาน มีต้นกำเนิดเมื่อ 200-300 ปีก่อน โดยเจ้าเมืองรามันประสงค์ให้มีกริชเป็นอาวุธคู่บ้านคู่เมือง จึงได้เชิญช่างทำกริชจากอินโดนีเซียมาทำกริชที่เมืองรามัน และสืบทอดภูมิปัญญามาจนปัจจุบัน
กริชรามันห์ของชุมชนตะโละหะลอ เป็นรูปแบบศิลปะปัตตานี หรือที่เรียกกันว่า กริชตายง ซึ่งเป็นกริชที่ทำมาในปัจจุบันนี้ โดยมีบรมจารย์คือ ช่างหลวงของเจ้าเมืองรามัน ถือว่าเป็นที่มาของกริชรามันห์ และจะรู้จักว่า กริชตะกูลบันไดสาระ มีศิลปะในรูปแบบปัตตานี ก็คือกริชตายง หรือกริชหัวนกพังกะ
“กริชรามันห์เป็นกริชในตระกูลของท่านปันไดสาระ ซึ่งได้รับการยอมรับในกลุ่มคนทำกริช หรือกลุ่มผู้นิยมกริชทั่วโลก เพราะเป็นกริชที่มีลักษณะโดดเด่นเป็นพิเศษกว่ากริชชนิดที่อื่น โดยเฉพาะใบกริชและหัวกริช เนื่องจากส่วนใหญ่เป็นศิลปะรูปนกปือกา หรือนกพังกะ เป็นนกในวรรณคดีท้องถิ่น ที่มีความหมายว่า ผู้คุ้มครอง เป็นนกที่มีลำตัวสีเขียว ปากยาวมีสีแดงอมเหลือง คอมีสีขาวสลับสีแดง กริชรามันจึงเป็นรูปนกแทบทั้งสิ้น”
นอกจากนั้นความแข็งแกร่งยังเป็นจุดเด่นอีกประการ ของกริชรามันห์จากตระกูลปันไดสาระอีกด้วย โดยมีเรื่องเล่าขานกันว่า ในการประกวดความแข็งแกร่งของกริช ซึ่งผู้เข้าประกวดจะต้องใช้กริชแทงโอ่งบรรจุน้ำให้แตก มีเพียงกริชจากตระกูลปันไดสาระเท่านั้นที่สามารถแทงโอ่งได้ เนื่องจากเป็นกริชชนิดเดียวที่มีสันตรงกลางใบกริช เพราะมีสูตรการผสมเนื้อเหล็ก ที่เน้นความแข็งแกร่งเป็นพิเศษ
ในอดีตกริชรามันห์มีอิทธิพลด้านศิลปะและความเชื่อจากพราหมณ์ฮินดู โดยมีสัญลักษณ์ของเทพอยู่ในตัวกริช นอกจากนี้กริชยังถูกใช้ในการสถาปนาเจ้าเมืองให้เป็นสมมติเทพ ด้วยที่มีสัญลักษณ์ของเทพเข้าไว้ในพิธีการ เมื่อเข้าพิธีการเสร็จเรียบร้อยแล้ว เจ้าเมืองนั้นจะเป็นเจ้าเมืองที่สมบูรณ์แบบ อีกทั้งกริชได้แบ่งออกเป็น 3 ชนชั้นวรรณะด้วยกัน ในแต่ละชนิดนั้นบอกถึงชนชั้นวรรณะของผู้ใช้คือ 1.กษัตริย์และเจ้าเมือง 2.นักรบและขุนนาง 3.สำหรับบุคคลทั่วไป ขณะเดียวกันกริชถือเป็นศาสตราวุธ เครื่องราชบรรดาศักดิ์ของคนในอดีตอีกด้วย
ในยุคแรกๆ นั้น กริชรามันห์มีลักษณะคือมีด้ามจับกริชที่แกะสลักเป็นรูปยักษ์ ซึ่งเป็นตัวละครตัวหนึ่งของชวา ที่เข้ามามีอิทธิพลในแถบภาคใต้ของไทย ต่อมาได้มีการพัฒนารูปแบบเปลี่ยนการแกะสลักด้ามจับเป็นรุปทรงอื่นๆ อีกหลายแบบ ซึ่งเป็นงานฝีมือที่ใช้มือทำทั้งหมด ในส่วนของตัวใบกริชนั้น จะมีลักษณะโค้งเว้า เหมือนเกรียวคลื่น และแหลมคม ดูสง่างามและพลิ้วไหว ให้ความรู้สึกถึงความน่าเกรงขาม
กริชรามันห์มีลักษณะพิเศษเป็นเอกลักษณ์ เฉพาะตัวที่โดดเด่นงดงาม มีจิตวิญญาณของความเชื่อและ ตำนานไม่แพ้กริชของพื้นที่ใดในแหลม มลายู จึงเป็นสิ่งที่น่าสนใจ และได้รับความนิยมจากบุคคลทั่วไป ทั้งชาวไทยและต่างชาติ ทำให้ยังมีคนนิยมเก็บสะสมกริชรามันเป็นของที่ระลึก นอกจากการสาธิตทำกริชแล้วที่นี่ยังมีการโชว์การแสดงรำกริชรามันห์ให้นักท่องเที่ยวได้ชมอีกด้วย โดยการแสดงนี้ผู้แสดงจะโชว์ลีลาลวดลายการรำกริชอย่างอ่อนช้อยและดุดันเข้มแข็ง สร้างความตื่นตาตื่นใจให้กับผู้ที่ได้เห็นเป็นอย่างมาก
หากใครที่ชื่นชอบความงดงามในด้านงานศิลปะ รวมไปถึงศิลปหัตกรรมที่มีประวัติความเป็นมาที่น่าสนใจแล้วล่ะก็ ขอแนะนำให้ลองมาเที่ยวที่ “ชุมชนตะโละหะลอ” แห่งนี้ดู มาเยี่ยมชมพร้อมฟังเรื่องราวตำนานที่ยังคงมีชีวิตอย่างกริชรามันห์ มาเรียนรู้และสัมผัสกับวิถีชีวิตของชาวบ้าน ที่ยังคงสืบทอดและรักษาศิลปะชั้นสูงนี้ไว้ให้เราได้เห็นจนถึงทุกวันนี้
“ชุมชนตะโละหะลอ” ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ 5 บ้านบึงน้ำใส ต.ตะโละหะลอ อ.รามัน จ.ยะลา สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานนราธิวาส (ดูแลปัตตานี-ยะลา-นราธิวาส) โทร.07-3543-3456
สามารถส่งข้อมูลข่าวสารด้านการท่องเที่ยว-อาหารมาได้ที่ กอง บก.ข่าวท่องเที่ยว แฟกซ์ 0-2629-4467 อีเมล์ travel_astvmgr@hotmail.com หรือติดตามเพิ่มเติมได้ที่ Facebook :Travel @ Manager