Facebook :Travel @ Manager

ช่วงปลายฝนต้นหนาวแบบนี้ ถือว่าเป็นอีกช่วงของปีที่เหมาะกับการท่องเที่ยวในภาคเหนือ ความชุ่มฉ่ำจากสายฝนที่เริ่มทิ้งช่วงห่าง ทำให้เที่ยวสะดวกมากกว่าช่วงก่อนหน้านี้ แล้วก็เริ่มมีลมเย็นๆ ในช่วงเช้าของแต่ละวันพัดโชยมาพอให้ชื่นใจ แถมด้วยความเขียวขจีรอบๆ ตัว ที่มองไปทางไหนก็รู้สึกสบายตา
ทั้งหมดนี้จึงเป็นเหตุผลที่เราเลือกเดินทางมาที่ “แม่ฮ่องสอน” ในยามปลายฝนต้นหนาวแบบนี้
ตั้งต้นกันทางตอนใต้ของแม่ฮ่องสอน ที่ “อ.แม่สะเรียง” อำเภอเล็กๆ อันสงบงาม เป็นทางผ่านและจุดพักระหว่างทางที่นักท่องเที่ยวนิยมเดินทางมาพักผ่อน สัมผัสกับบรรยากาศชิลๆ ปล่อยอารมณ์ใช้ชีวิตสโลว์ไลฟ์ที่นี่


แม่สะเรียงได้ชื่อว่าเป็นดินแดนแห่ง “พระธาตุ 4 จอม” เนื่องจากมีการสร้างพระธาตุคู่บ้านคู่เมืองไว้ ทั้ง 4 ทิศ 4 มุมเมือง ได้แก่ “พระธาตุจอมกิตติ”, “พระธาตุจอมทอง”, “พระธาตุจอมแจ้ง” และ “พระธาตุจอมมอญ” ตามตำนานที่ว่า มีพระฤาษี 4 ตน เป็นพี่น้องกันได้มาศึกษากับครูพระฤาษีที่เก่งกาจทรงมหาอิทธิฤทธิ์ เหนือเมืองยวม (ปัจจุบันคือเมืองแม่สะเรียง) พระฤาษี 4 ตนพี่น้องศึกษาวิทยาจากท่านพระฤาษีจนจบวิชาที่ร่ำเรียน ท่านครูพระฤาษีจึงบอกให้พระฤาษีลูกศิษย์ทั้ง 4 พี่น้อง ไปบำเพ็ญเพียรและไปโปรดชาวเมืองยวม โดยให้ไปอยู่ ณ ดอยสี่มุมเมือง


ในทริปนี้เราได้ไปเยือนกัน 2 แห่ง เริ่มจาก “พระธาตุจอมกิตติ” ที่เล่ากันว่า ฤาษีผู้พี่ซึ่งเก่งในทางรักษาโรค สามารถปรุงยาชุบชีวิตคนตายให้ฟื้นคืนชีพได้ ได้มาตั้งสำนักอยู่ ณ ดอยจอมกิตติ ด้วยเหตุนี้พระธาตุจอมกิตติจึงเป็นพระธาตุพี่ใหญ่และเป็นที่เคารพสักการะมาจนปัจจุบัน ลักษณะพระธาตุเป็นสถูปแบบล้านนา ภายในบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ บริเวณด้านบนนั้นสามารถชมวิวเมืองแม่สะเรียงในมุมสูงได้อย่างกว้างไกล ยิ่งในช่วงปลายฝนต้นหนาวแบบนี้ก็จะเห็นถึงความเขียวชอุ่มสดชื่น
อีกจุดคือ “พระธาตุจอมมอญ” พระธาตุเก่าแก่อีกแห่งหนึ่ง สามารถเดินขึ้นบันได 339 ขั้น ขึ้นไปสักการะพระธาตุที่อยู่ด้านบน หรือถ้าเดินไม่ไหว ก็มีถนนให้รถขับขึ้นไปด้านบนได้ ซึ่งด้านบนพระธาตุนั้นยังมี รอยเท้าอรหันต์ 7 ขวบ และ พระพุทธรูปหลวงพ่อโต รวมถึงสามารถชมวิวรอบๆ เมืองแม่สะเรียงได้ด้วยเช่นกัน

จากตัวอำเภอเล็กๆ ที่แม่สะเรียง ไปเที่ยวกันต่อในหมู่บ้านเล็กๆ แต่น่ารัก ที่ “บ้านละอูบ” ในเขต อ.แม่ลาน้อย ที่นี่เป็นชุมชนชาติพันธุ์ละเวือะ (ละว้า/ลัวะ) ทำเลที่ตั้งอยู่บนเทือกเขาสูงชัน พื้นที่ยังมีความอุดมสมบูรณ์ของป่าเขา ทำให้มีอุณหภูมิเย็นสบายตลอดทั้งปี มีอากาศบริสุทธิ์เหมาะแก่การมาพักผ่อน


ซึ่งที่บ้านละอูบก็เพิ่งเปิดชุมชนให้นักท่องเที่ยวเข้ามาสัมผัสวิถีชุมชนได้ไม่นาน โดยมีวิวสวยๆ และฐานการเรียนรู้ให้แวะเข้าไปศึกษาวิถีชาวละเวือะได้ โดยเฉพาะงานฝีมือที่ขึ้นชื่อของชาวละเวือะอย่าง เครื่องเงิน และ ผ้าทอ
สำหรับเครื่องเงินของบ้านละอูบนั้นมีการทำมากว่า 20 ปีแล้ว โดยได้เข้าไปเรียนรู้การทำเครื่องเงินมาจากในวัง จากนั้นก็นำกลับมาทำในชุมชน แล้วค่อยๆ ขยายเพิ่มขึ้นทีละครอบครัว เครื่องเงินที่ขึ้นชื่อของที่นี่ก็จะเน้นการทำเครื่องประดับของผู้หญิง โดยมีลวดลายเฉพาะของละเวือะคือ ลายพดด้วง นอกจากนี้ก็ยังมีการมีดสำหรับผู้ชายชาวละเวือะด้วย


ขั้นตอนการทำเครื่องเงินเริ่มจากนำเม็ดเงินแท้มาหลอมให้เป็นแท่ง (การทำเครื่องเงินแบบดั้งเดิมจะใช้เตาไฟจากถ่าน ปัจจุบันมีการเปลี่ยนมาใช้แก๊สบ้างแล้ว) จากนั้นนำมาตัดเป็นท่อนเล็กๆ ก่อนจะนำไปตีเป็นลวดลายตามที่ต้องการ แล้วค่อยประกอบเป็นเครื่องประดับ ซึ่งปัจจุบันหญิงชาวละเวือะก็ยังใช้เครื่องประดับเงินกันอยู่ หากใครที่สนใจอยากชมเครื่องเงินชาวละเวือะ ก็มีจุดจำหน่ายอยู่ในหมู่บ้าน รวมถึงการไปออกบูธตามงานต่างๆ ด้วย
อีกจุดเป็นกลุ่มทอผ้า โดยเสื้อผ้าของชาวละเวือะโดดเด่นทั้งเรื่องสีสันและลวดลาย เป็นผ้าทอจากฝ้าย ย้อมสี และทอเป็นลวดลายเฉพาะ โดยในวัฒนธรรมชาวละเวือะนั้น ตั้งแต่เกิดจนตายจะมีความผูกพันกับผ้า


ส่วนมุมชมวิวสวยๆ ของบ้านละอูบก็มีอยู่หลายจุด อย่างบริเวณสถานีอนามัย จะสามารถชมทิวทัศน์ของบ้านละอูบ จะเห็นบ้านเรือนที่สร้างลดหลั่นกันไปตามความสูงของไหล่เขา เรียงสลับซับซ้อนกันดูสวยแปลกตา และยังมีจุดชมวิวทิวเขาเขียวขจี ชมความอุดมสมบูรณ์ของป่าเขา หากว่ามาในช่วงเช้า (และโชคดี) ก็จะเห็นสายหมอกสวยๆ ชวนให้ถ่ายรูปเช็คอิน และบนจุดชมวิวนี้ก็ยังมี “พระพุทธนิโรคันตรายนริศรจตุรทิศประชานารถ” เป็นพระพุทธรูปกลางแจ้งองค์ใหญ่ ให้ขึ้นมาสักการะเพื่อความเป็นสิริมงคล
ใครติดใจบรรยากาศสงบแสนสบายที่บ้านละอูบ ที่นี่ก็เปิดบ้านให้พักเป็นแบบโฮมสเตย์ และมีพื้นที่กางเตนท์พักแรมด้วย สามารถติดต่อได้ที่เฟสบุคแฟนเพจ “บ้านละอูบ”


จากแม่สะเรียง มุ่งหน้าขึ้นทางเหนือ มาที่ตัวเมืองแม่ฮ่องสอน มาชมความเขียวขจีของทุ่งนาที่มีสะพานไม้ไผ่ทอดผ่าน หลายๆ คนเห็นภาพแล้วก็ต้องนึกออกว่าที่นี่ “สะพานซูตองเป้” สะพานไม้อันโด่งดัง ตั้งอยู่ที่บ้านกุงไม้สัก ต.ปางหมู อ.เมือง จ.แม่ฮ่องสอน ห่างจากตัวเมืองไปประมาณ 8 กิโลเมตร
ซูตองเป้ เป็นภาษาไทใหญ่ แปลว่า อธิษฐานสำเร็จสัมฤทธิผล เป็นสะพานไม้ไผ่กว้างประมาณ 2 เมตร ยาวประมาณ 500 เมตร สร้างทอดข้ามผ่านทุ่งนาจากบ้านกุงไม้สัก ข้ามผ่านแม่น้ำสะงา เชื่อมต่อไปสู่ “สวนธรรมภูสมะ” สถานปฏิบัติธรรมอันสงบ ปลีกวิเวก



สะพานซูตองเป้ เกิดจากแรงศรัทธาของชาวบ้าน ซึ่งเจ้าของที่นาได้ถวายผืนนาที่สะพานสร้างทอดผ่าน ส่วนคณะศรัทธาอื่นๆ ก็ได้บริจาคเสาไม้ บริจาคไม้ไผ่ แรงงาน และปัจจัยอื่นๆ ในการสร้างสะพานแห่งนี้
หลังสะพานแห่งนี้สร้างแล้วเสร็จ นอกจากประโยชน์ด้านการสัญจรไป-มาแล้ว ด้วยมนต์เสน่ห์ความสวยงามคลาสสิกเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว ประกอบกับทำเลที่ตั้งท่ามกลางวิวทิวทัศน์อันสวยงามของท้องทุ่งนา รวมถึงวิถีปฏิบัติของพระ-เณรแห่งสวนธรรมภูสมะนั้นก็เปี่ยมศรัทธาน่าเลื่อมใส ส่งผลให้วันนี้สะพานซูตองเป้กลายเป็นหนึ่งในสถานที่ท่องเที่ยวขึ้นชื่อของแม่ฮ่องสอน ที่มีนักท่องเที่ยวเดินทางมาสัมผัสความงามกันไม่ได้ขาด

เพลิดเพลินกับการหามุมส่วนตัวถ่ายรูปบนสะพานเรียบร้อยแล้ว ก็ขึ้นไปชมความงามของสะพานซูตองเป้ในมุมสูงกันที่สวนธรรมภูสมะ พร้อมเข้าไปกราบสักการะ “หลวงพ่อซูตองเป้” พระพุทธรูปทรงเครื่องแบบพม่าสีทองอร่ามที่ประดิษฐานอยู่ในวิหารโถงไม่มีผนัง

ติดกันกับสวนธรรมภูสมะ เป็นจุดแวะพักแวะเช็คอินแห่งใหม่ ชื่อว่า “กุงคุณลุง” เป็นทั้งแหล่งท่องเที่ยว มีมุมของอร่อย จุดถ่ายรูปสวยๆ และยังเป็นแหล่งพัฒนาผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นของแม่ฮ่องสอนด้วย
เริ่มจากมุมอาหาร ที่มีทั้งเครื่องดื่ม ไอศกรีม ของว่าง ของหวาน รวมไปถึงอาหารคาวให้กินอิ่มท้องในบรรยากาศนั่งสบาย ทั้งอาหาร ของหวาน และเครื่องดื่ม เป็นสูตรเฉพาะของที่นี่ บางเมนูก็เลือกใช้ผลิตภัณฑ์ในแม่ฮ่องสอน โดยเฉพาะ “ถั่วลายเสือ” ที่นำมาแปรรูปได้หลายแบบ หลายเมนู



ใครที่อยากเห็นต้นถั่วลายเสือ หากมาถูกจังหวะก็จะมีให้เห็นในแปลงปลูกใกล้ๆ กับร้านอาหาร ซึ่งในบริเวณนั้นก็มีสะพานไม้ให้เดินเล่น แวะถ่ายรูปมุมสวยๆ และมีศาลานั่งพักผ่อนสบายๆ อีกด้านมีระเบียงชิมวิวมุมสูงด้านบน ส่วนมุมที่ติดริมน้ำนั้นสามารถเดินหรือปั่นจักรยานไปนั่งชิลล์ๆ รับลมเย็นๆ ได้ด้วย


มาเที่ยวแม่ฮ่องสอนแล้ว ขอปิดท้ายทริปที่ “อ.ปาย” อีกมุมสวยๆ ของแม่ฮ่องสอนในยามปลายฝนต้นหนาวแบบนี้
ปาย เป็นเมืองเที่ยวยอดฮิตมาหลายปี ทั้งกับชาวไทยและชาวต่างชาติ มีความโดดเด่นเรื่องของธรรมชาติและวิถีชีวิต แม้ว่าในระยะหลังจะเปลี่ยนมาเป็นที่เที่ยวสำหรับแวะเช็คอิน ถ่ายรูปสวยๆ จิบกาแฟในคาเฟ่ หรือที่เที่ยวสไตล์อินดี้ แต่ก็ยังมีหลายๆ คนอยากมาเยือนอยู่ดี


นอกจากที่เที่ยวเดิมๆ อย่างจุดชมทะเลหมอก สะพานประวัติศาสตร์ท่าปาย หมู่บ้านสันติชล ฯลฯ ก็ยังมีแหล่งท่องเที่ยวใหม่ๆ ที่เพิ่งเป็นที่รู้จักกัน นั่นก็คือ "สะพานโขกู้โส่" สะพานบุญแห่งเมืองปาย
"โขกู้โส่" มีความหมายว่า "สะพานบุญ" เป็นสะพานไม้ที่ทำมาจากไม้ไผ่ที่นำมาสานกันเป็นระยะทางประมาณ 800 เมตร และมีความกว้างประมาณ 1.80 เมตร สร้างทอดยาวผ่านกลางท้องนาของชาวบ้านที่นำมาถวายวัด เพื่อเป็นเส้นทางเชื่อมต่อกับพุทธอุทยานห้วยคายคีรี โดยใช้ระยะเวลาก่อสร้างประมาณ 3 เดือน จึงแล้วเสร็จเกิดเป็นสะพานบุญโขกู้โส่อันงดงาม โดยในวันงานบุญใหญ่ หรือ วันสำคัญๆ เช่น วันแม่ จะมีการทำบุญตักบาตรช่วงเช้าประมาณ 7.00 น.

บริเวณทางเข้าจะมีจุดให้บริจาค (ตามกำลังศรัทธา) เพื่อเป็นทุนในการซ่อมแซมสะพาน เนื่องจากเป็นสะพานไม้ไผ่ที่มีอายุการใช้งานไม่ยาวนัก ต้องมีการซ่อมแซมอยู่ตลอดเวลา เดินตามสะพานเข้ามาเล็กน้อยก็มีมุมให้ถ่ายรูปสวยๆ แล้ว หรือใครเริ่มเหนื่อยเริ่มร้อน ก็มีร้านกาแฟเล็กๆ ให้นั่งจิบเครื่องดื่มชมวิวทุ่งนาเขียวขจีได้
ตัวสะพานไม้ทอดยาวผ่านทุ่งนาไปเรื่อยๆ มีมุมให้ถ่ายรูปสวยๆ กันหลายจุด มีศาลาให้แวะนั่งพักผ่อน หากเดินไปจนสุดทางก็สามารถแวะเข้าไปไหว้พระที่พุทธอุทยานห้วยคายคีรีได้ด้วย

ถึงแม้ว่าเส้นทางท่องเที่ยวใน จ.แม่ฮ่องสอน อาจจะต้องนั่งรถผ่านเส้นทางถนนคดเคี้ยวเป็นเวลานาน ผ่านมาหลายโค้ง แต่พอได้ชมวิวสวยๆ ทุ่งนาสีเขียว ทิวเขาสลับซับซ้อนเขียวชอุ่มในช่วงปลายในต้นหนาวแบบนี้ ความเหนื่อยจากการนั่งรถก็กลายเป็นความชุ่มชื่นใจ ยิ่งได้สูดอากาศบริสุทธิ์แบบไม่มี PM 2.5 ก็ยิ่งสดชื่น หายเหนื่อยเป็นปลิดทิ้ง

* * * * * * * * * * * * * * * * *
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมการท่องเที่ยวใน จ.แม่ฮ่องสอน ได้ที่ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สำนักงานแม่ฮ่องสอน โทร. 0-5361-2982 Facebook : TAT Maehongson
สามารถส่งข้อมูลข่าวสารด้านการท่องเที่ยว-อาหารมาได้ที่ กอง บก.ข่าวท่องเที่ยว แฟกซ์ 0-2629-4467 อีเมล์ travel_astvmgr@hotmail.com หรือติดตามเพิ่มเติมได้ที่ Facebook :Travel @ Manager
ช่วงปลายฝนต้นหนาวแบบนี้ ถือว่าเป็นอีกช่วงของปีที่เหมาะกับการท่องเที่ยวในภาคเหนือ ความชุ่มฉ่ำจากสายฝนที่เริ่มทิ้งช่วงห่าง ทำให้เที่ยวสะดวกมากกว่าช่วงก่อนหน้านี้ แล้วก็เริ่มมีลมเย็นๆ ในช่วงเช้าของแต่ละวันพัดโชยมาพอให้ชื่นใจ แถมด้วยความเขียวขจีรอบๆ ตัว ที่มองไปทางไหนก็รู้สึกสบายตา
ทั้งหมดนี้จึงเป็นเหตุผลที่เราเลือกเดินทางมาที่ “แม่ฮ่องสอน” ในยามปลายฝนต้นหนาวแบบนี้
ตั้งต้นกันทางตอนใต้ของแม่ฮ่องสอน ที่ “อ.แม่สะเรียง” อำเภอเล็กๆ อันสงบงาม เป็นทางผ่านและจุดพักระหว่างทางที่นักท่องเที่ยวนิยมเดินทางมาพักผ่อน สัมผัสกับบรรยากาศชิลๆ ปล่อยอารมณ์ใช้ชีวิตสโลว์ไลฟ์ที่นี่
แม่สะเรียงได้ชื่อว่าเป็นดินแดนแห่ง “พระธาตุ 4 จอม” เนื่องจากมีการสร้างพระธาตุคู่บ้านคู่เมืองไว้ ทั้ง 4 ทิศ 4 มุมเมือง ได้แก่ “พระธาตุจอมกิตติ”, “พระธาตุจอมทอง”, “พระธาตุจอมแจ้ง” และ “พระธาตุจอมมอญ” ตามตำนานที่ว่า มีพระฤาษี 4 ตน เป็นพี่น้องกันได้มาศึกษากับครูพระฤาษีที่เก่งกาจทรงมหาอิทธิฤทธิ์ เหนือเมืองยวม (ปัจจุบันคือเมืองแม่สะเรียง) พระฤาษี 4 ตนพี่น้องศึกษาวิทยาจากท่านพระฤาษีจนจบวิชาที่ร่ำเรียน ท่านครูพระฤาษีจึงบอกให้พระฤาษีลูกศิษย์ทั้ง 4 พี่น้อง ไปบำเพ็ญเพียรและไปโปรดชาวเมืองยวม โดยให้ไปอยู่ ณ ดอยสี่มุมเมือง
ในทริปนี้เราได้ไปเยือนกัน 2 แห่ง เริ่มจาก “พระธาตุจอมกิตติ” ที่เล่ากันว่า ฤาษีผู้พี่ซึ่งเก่งในทางรักษาโรค สามารถปรุงยาชุบชีวิตคนตายให้ฟื้นคืนชีพได้ ได้มาตั้งสำนักอยู่ ณ ดอยจอมกิตติ ด้วยเหตุนี้พระธาตุจอมกิตติจึงเป็นพระธาตุพี่ใหญ่และเป็นที่เคารพสักการะมาจนปัจจุบัน ลักษณะพระธาตุเป็นสถูปแบบล้านนา ภายในบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ บริเวณด้านบนนั้นสามารถชมวิวเมืองแม่สะเรียงในมุมสูงได้อย่างกว้างไกล ยิ่งในช่วงปลายฝนต้นหนาวแบบนี้ก็จะเห็นถึงความเขียวชอุ่มสดชื่น
อีกจุดคือ “พระธาตุจอมมอญ” พระธาตุเก่าแก่อีกแห่งหนึ่ง สามารถเดินขึ้นบันได 339 ขั้น ขึ้นไปสักการะพระธาตุที่อยู่ด้านบน หรือถ้าเดินไม่ไหว ก็มีถนนให้รถขับขึ้นไปด้านบนได้ ซึ่งด้านบนพระธาตุนั้นยังมี รอยเท้าอรหันต์ 7 ขวบ และ พระพุทธรูปหลวงพ่อโต รวมถึงสามารถชมวิวรอบๆ เมืองแม่สะเรียงได้ด้วยเช่นกัน
จากตัวอำเภอเล็กๆ ที่แม่สะเรียง ไปเที่ยวกันต่อในหมู่บ้านเล็กๆ แต่น่ารัก ที่ “บ้านละอูบ” ในเขต อ.แม่ลาน้อย ที่นี่เป็นชุมชนชาติพันธุ์ละเวือะ (ละว้า/ลัวะ) ทำเลที่ตั้งอยู่บนเทือกเขาสูงชัน พื้นที่ยังมีความอุดมสมบูรณ์ของป่าเขา ทำให้มีอุณหภูมิเย็นสบายตลอดทั้งปี มีอากาศบริสุทธิ์เหมาะแก่การมาพักผ่อน
ซึ่งที่บ้านละอูบก็เพิ่งเปิดชุมชนให้นักท่องเที่ยวเข้ามาสัมผัสวิถีชุมชนได้ไม่นาน โดยมีวิวสวยๆ และฐานการเรียนรู้ให้แวะเข้าไปศึกษาวิถีชาวละเวือะได้ โดยเฉพาะงานฝีมือที่ขึ้นชื่อของชาวละเวือะอย่าง เครื่องเงิน และ ผ้าทอ
สำหรับเครื่องเงินของบ้านละอูบนั้นมีการทำมากว่า 20 ปีแล้ว โดยได้เข้าไปเรียนรู้การทำเครื่องเงินมาจากในวัง จากนั้นก็นำกลับมาทำในชุมชน แล้วค่อยๆ ขยายเพิ่มขึ้นทีละครอบครัว เครื่องเงินที่ขึ้นชื่อของที่นี่ก็จะเน้นการทำเครื่องประดับของผู้หญิง โดยมีลวดลายเฉพาะของละเวือะคือ ลายพดด้วง นอกจากนี้ก็ยังมีการมีดสำหรับผู้ชายชาวละเวือะด้วย
ขั้นตอนการทำเครื่องเงินเริ่มจากนำเม็ดเงินแท้มาหลอมให้เป็นแท่ง (การทำเครื่องเงินแบบดั้งเดิมจะใช้เตาไฟจากถ่าน ปัจจุบันมีการเปลี่ยนมาใช้แก๊สบ้างแล้ว) จากนั้นนำมาตัดเป็นท่อนเล็กๆ ก่อนจะนำไปตีเป็นลวดลายตามที่ต้องการ แล้วค่อยประกอบเป็นเครื่องประดับ ซึ่งปัจจุบันหญิงชาวละเวือะก็ยังใช้เครื่องประดับเงินกันอยู่ หากใครที่สนใจอยากชมเครื่องเงินชาวละเวือะ ก็มีจุดจำหน่ายอยู่ในหมู่บ้าน รวมถึงการไปออกบูธตามงานต่างๆ ด้วย
อีกจุดเป็นกลุ่มทอผ้า โดยเสื้อผ้าของชาวละเวือะโดดเด่นทั้งเรื่องสีสันและลวดลาย เป็นผ้าทอจากฝ้าย ย้อมสี และทอเป็นลวดลายเฉพาะ โดยในวัฒนธรรมชาวละเวือะนั้น ตั้งแต่เกิดจนตายจะมีความผูกพันกับผ้า
ส่วนมุมชมวิวสวยๆ ของบ้านละอูบก็มีอยู่หลายจุด อย่างบริเวณสถานีอนามัย จะสามารถชมทิวทัศน์ของบ้านละอูบ จะเห็นบ้านเรือนที่สร้างลดหลั่นกันไปตามความสูงของไหล่เขา เรียงสลับซับซ้อนกันดูสวยแปลกตา และยังมีจุดชมวิวทิวเขาเขียวขจี ชมความอุดมสมบูรณ์ของป่าเขา หากว่ามาในช่วงเช้า (และโชคดี) ก็จะเห็นสายหมอกสวยๆ ชวนให้ถ่ายรูปเช็คอิน และบนจุดชมวิวนี้ก็ยังมี “พระพุทธนิโรคันตรายนริศรจตุรทิศประชานารถ” เป็นพระพุทธรูปกลางแจ้งองค์ใหญ่ ให้ขึ้นมาสักการะเพื่อความเป็นสิริมงคล
ใครติดใจบรรยากาศสงบแสนสบายที่บ้านละอูบ ที่นี่ก็เปิดบ้านให้พักเป็นแบบโฮมสเตย์ และมีพื้นที่กางเตนท์พักแรมด้วย สามารถติดต่อได้ที่เฟสบุคแฟนเพจ “บ้านละอูบ”
จากแม่สะเรียง มุ่งหน้าขึ้นทางเหนือ มาที่ตัวเมืองแม่ฮ่องสอน มาชมความเขียวขจีของทุ่งนาที่มีสะพานไม้ไผ่ทอดผ่าน หลายๆ คนเห็นภาพแล้วก็ต้องนึกออกว่าที่นี่ “สะพานซูตองเป้” สะพานไม้อันโด่งดัง ตั้งอยู่ที่บ้านกุงไม้สัก ต.ปางหมู อ.เมือง จ.แม่ฮ่องสอน ห่างจากตัวเมืองไปประมาณ 8 กิโลเมตร
ซูตองเป้ เป็นภาษาไทใหญ่ แปลว่า อธิษฐานสำเร็จสัมฤทธิผล เป็นสะพานไม้ไผ่กว้างประมาณ 2 เมตร ยาวประมาณ 500 เมตร สร้างทอดข้ามผ่านทุ่งนาจากบ้านกุงไม้สัก ข้ามผ่านแม่น้ำสะงา เชื่อมต่อไปสู่ “สวนธรรมภูสมะ” สถานปฏิบัติธรรมอันสงบ ปลีกวิเวก
สะพานซูตองเป้ เกิดจากแรงศรัทธาของชาวบ้าน ซึ่งเจ้าของที่นาได้ถวายผืนนาที่สะพานสร้างทอดผ่าน ส่วนคณะศรัทธาอื่นๆ ก็ได้บริจาคเสาไม้ บริจาคไม้ไผ่ แรงงาน และปัจจัยอื่นๆ ในการสร้างสะพานแห่งนี้
หลังสะพานแห่งนี้สร้างแล้วเสร็จ นอกจากประโยชน์ด้านการสัญจรไป-มาแล้ว ด้วยมนต์เสน่ห์ความสวยงามคลาสสิกเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว ประกอบกับทำเลที่ตั้งท่ามกลางวิวทิวทัศน์อันสวยงามของท้องทุ่งนา รวมถึงวิถีปฏิบัติของพระ-เณรแห่งสวนธรรมภูสมะนั้นก็เปี่ยมศรัทธาน่าเลื่อมใส ส่งผลให้วันนี้สะพานซูตองเป้กลายเป็นหนึ่งในสถานที่ท่องเที่ยวขึ้นชื่อของแม่ฮ่องสอน ที่มีนักท่องเที่ยวเดินทางมาสัมผัสความงามกันไม่ได้ขาด
เพลิดเพลินกับการหามุมส่วนตัวถ่ายรูปบนสะพานเรียบร้อยแล้ว ก็ขึ้นไปชมความงามของสะพานซูตองเป้ในมุมสูงกันที่สวนธรรมภูสมะ พร้อมเข้าไปกราบสักการะ “หลวงพ่อซูตองเป้” พระพุทธรูปทรงเครื่องแบบพม่าสีทองอร่ามที่ประดิษฐานอยู่ในวิหารโถงไม่มีผนัง
ติดกันกับสวนธรรมภูสมะ เป็นจุดแวะพักแวะเช็คอินแห่งใหม่ ชื่อว่า “กุงคุณลุง” เป็นทั้งแหล่งท่องเที่ยว มีมุมของอร่อย จุดถ่ายรูปสวยๆ และยังเป็นแหล่งพัฒนาผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นของแม่ฮ่องสอนด้วย
เริ่มจากมุมอาหาร ที่มีทั้งเครื่องดื่ม ไอศกรีม ของว่าง ของหวาน รวมไปถึงอาหารคาวให้กินอิ่มท้องในบรรยากาศนั่งสบาย ทั้งอาหาร ของหวาน และเครื่องดื่ม เป็นสูตรเฉพาะของที่นี่ บางเมนูก็เลือกใช้ผลิตภัณฑ์ในแม่ฮ่องสอน โดยเฉพาะ “ถั่วลายเสือ” ที่นำมาแปรรูปได้หลายแบบ หลายเมนู
ใครที่อยากเห็นต้นถั่วลายเสือ หากมาถูกจังหวะก็จะมีให้เห็นในแปลงปลูกใกล้ๆ กับร้านอาหาร ซึ่งในบริเวณนั้นก็มีสะพานไม้ให้เดินเล่น แวะถ่ายรูปมุมสวยๆ และมีศาลานั่งพักผ่อนสบายๆ อีกด้านมีระเบียงชิมวิวมุมสูงด้านบน ส่วนมุมที่ติดริมน้ำนั้นสามารถเดินหรือปั่นจักรยานไปนั่งชิลล์ๆ รับลมเย็นๆ ได้ด้วย
มาเที่ยวแม่ฮ่องสอนแล้ว ขอปิดท้ายทริปที่ “อ.ปาย” อีกมุมสวยๆ ของแม่ฮ่องสอนในยามปลายฝนต้นหนาวแบบนี้
ปาย เป็นเมืองเที่ยวยอดฮิตมาหลายปี ทั้งกับชาวไทยและชาวต่างชาติ มีความโดดเด่นเรื่องของธรรมชาติและวิถีชีวิต แม้ว่าในระยะหลังจะเปลี่ยนมาเป็นที่เที่ยวสำหรับแวะเช็คอิน ถ่ายรูปสวยๆ จิบกาแฟในคาเฟ่ หรือที่เที่ยวสไตล์อินดี้ แต่ก็ยังมีหลายๆ คนอยากมาเยือนอยู่ดี
นอกจากที่เที่ยวเดิมๆ อย่างจุดชมทะเลหมอก สะพานประวัติศาสตร์ท่าปาย หมู่บ้านสันติชล ฯลฯ ก็ยังมีแหล่งท่องเที่ยวใหม่ๆ ที่เพิ่งเป็นที่รู้จักกัน นั่นก็คือ "สะพานโขกู้โส่" สะพานบุญแห่งเมืองปาย
"โขกู้โส่" มีความหมายว่า "สะพานบุญ" เป็นสะพานไม้ที่ทำมาจากไม้ไผ่ที่นำมาสานกันเป็นระยะทางประมาณ 800 เมตร และมีความกว้างประมาณ 1.80 เมตร สร้างทอดยาวผ่านกลางท้องนาของชาวบ้านที่นำมาถวายวัด เพื่อเป็นเส้นทางเชื่อมต่อกับพุทธอุทยานห้วยคายคีรี โดยใช้ระยะเวลาก่อสร้างประมาณ 3 เดือน จึงแล้วเสร็จเกิดเป็นสะพานบุญโขกู้โส่อันงดงาม โดยในวันงานบุญใหญ่ หรือ วันสำคัญๆ เช่น วันแม่ จะมีการทำบุญตักบาตรช่วงเช้าประมาณ 7.00 น.
บริเวณทางเข้าจะมีจุดให้บริจาค (ตามกำลังศรัทธา) เพื่อเป็นทุนในการซ่อมแซมสะพาน เนื่องจากเป็นสะพานไม้ไผ่ที่มีอายุการใช้งานไม่ยาวนัก ต้องมีการซ่อมแซมอยู่ตลอดเวลา เดินตามสะพานเข้ามาเล็กน้อยก็มีมุมให้ถ่ายรูปสวยๆ แล้ว หรือใครเริ่มเหนื่อยเริ่มร้อน ก็มีร้านกาแฟเล็กๆ ให้นั่งจิบเครื่องดื่มชมวิวทุ่งนาเขียวขจีได้
ตัวสะพานไม้ทอดยาวผ่านทุ่งนาไปเรื่อยๆ มีมุมให้ถ่ายรูปสวยๆ กันหลายจุด มีศาลาให้แวะนั่งพักผ่อน หากเดินไปจนสุดทางก็สามารถแวะเข้าไปไหว้พระที่พุทธอุทยานห้วยคายคีรีได้ด้วย
ถึงแม้ว่าเส้นทางท่องเที่ยวใน จ.แม่ฮ่องสอน อาจจะต้องนั่งรถผ่านเส้นทางถนนคดเคี้ยวเป็นเวลานาน ผ่านมาหลายโค้ง แต่พอได้ชมวิวสวยๆ ทุ่งนาสีเขียว ทิวเขาสลับซับซ้อนเขียวชอุ่มในช่วงปลายในต้นหนาวแบบนี้ ความเหนื่อยจากการนั่งรถก็กลายเป็นความชุ่มชื่นใจ ยิ่งได้สูดอากาศบริสุทธิ์แบบไม่มี PM 2.5 ก็ยิ่งสดชื่น หายเหนื่อยเป็นปลิดทิ้ง
* * * * * * * * * * * * * * * * *
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมการท่องเที่ยวใน จ.แม่ฮ่องสอน ได้ที่ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สำนักงานแม่ฮ่องสอน โทร. 0-5361-2982 Facebook : TAT Maehongson
สามารถส่งข้อมูลข่าวสารด้านการท่องเที่ยว-อาหารมาได้ที่ กอง บก.ข่าวท่องเที่ยว แฟกซ์ 0-2629-4467 อีเมล์ travel_astvmgr@hotmail.com หรือติดตามเพิ่มเติมได้ที่ Facebook :Travel @ Manager