Facebook :Travel @ Manager
ถือเป็นอีกหนึ่งข่าวเศร้าของเมืองไทย เมื่อ “ช่วงช่วง” หมีแพนด้าเพศผู้ตัวแรกและตัวเดียวในเมืองไทย ได้ลาจากพวกเราไปด้วยวัย 19 ปี สร้างความเสียใจให้กับผู้รักสัตว์ และบรรดาแฟนคลับหมีแพนด้าชาวไทยเป็นอย่างยิ่ง
สำหรับช่วง ช่วง (และหลินฮุ่ย) เป็นหมี “แพนด้ายักษ์” (Giant Panda, Ailuropoda melanoleuca) สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่มีรูปร่างคล้ายหมี และจัดอยู่ในวงศ์ของหมี แต่พฤติกรรมของมันกลับแตกต่างจากหมีโดยสิ้นเชิง
แพนด้ายักษ์เป็นสัตว์กินพืชเป็นอาหาร โดยอาหารของมัน 99% คือ ไผ่ ส่วนที่เหลือบางทีอาจเป็นพวก ไข่ ปลา และแมลงบางชนิดในไม้ไผ่ที่มันกิน
แพนด้ายักษ์มีหัวใหญ่ จมูกสั้น ขนทั้งตัวเป็นสีขาว ส่วนรอบ ๆ ตาทั้งสองข้าง หู ไหล่ รวมทั้ง ขาหน้า ขาหน้าทั้ง 2 ข้างและ 2 ขาหลัง ตลอดจนหัวไหล่จะมีสีดำ เท้าหน้ามี 6 นิ้ว พร้อมที่จะกางกว้างออกเมื่อปะทะกัน หรือปีนป่ายต้นไม้
หมีแพนด้านับเป็นสัตว์อนุรักษ์ที่หายาก ปัจจุบันมีถิ่นอาศัยอยู่ทางตอนใต้ของประเทศจีน ซึ่งจากการประเมินตามหลักวิชาการในปี 2543 คาดว่า โลกนี้มีแพนด้ายักษ์ประมาณ 2 พัน-3 พันตัว ถือเป็นสถานการณ์ของหมีแพนด้าที่ดีขึ้น เนื่องจากมีการเพิ่มจำนวนขึ้น
แพนด้ายักษ์เป็นหนึ่งในสัญลักษณ์ทางการทูตของเมืองจีน โดยทางการจีนได้ส่งแพนด้ายักษ์ไปยังสวนสัตว์บางประเทศ อย่างเช่น สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น เพื่อใช้เป็นเครื่องหมายการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมระหว่างจีนและชาตินั้น ๆ ซึ่งการปฏิบัติเช่นนี้จึงมีการเรียกขานแพนด้าที่ส่งออกจากจีนไปให้ประเทศต่าง ๆ ว่า “ทูตสันถวไมตรี”
อย่างไรก็ดี นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2527 เป็นต้นมา จีนได้ยกเลิกการให้หมีแพนด้าเป็นทูตสันถวไมตรี หากแต่เปลี่ยนมาใช้วิธีการให้ยืมเป็นเวลา 10 ปี พร้อม ๆ กับการจ่ายธรรมเนียมพื้นฐานปีละ 1,000,000 เหรียญสหรัฐ และมีข้อกำหนดว่า “ลูกของแพนด้ายักษ์ใด ๆ ที่เกิดระหว่างการยืมนั้น ถือเป็นทรัพย์สินของสาธารณรัฐประชาชนจีน”
สำหรับช่วง ช่วง และหลินฮุ่ย ถือเป็นคู่หมีแพนด้าที่รัฐบาลไทยได้ดำเนินการขอแพนด้ายักษ์ 1 คู่ จากประเทศจีนไปตั้งแต่ปี 2544 ซึ่งทางการจีนได้ส่งหมีแพนด้ามายังเมืองไทยในปี 2546
และเพื่อเป็นการรำลึกถึงการจากไปของ “ช่วง ช่วง” เราขอนำ 7 เรื่องราวแห่งความทรงจำของคู่แพนด้า ที่นำโดย “ช่วง ช่วง” และ “หลินฮุ่ย” ซึ่งครั้งหนึ่งเคยสร้างปรากฏการณ์แพนด้าฟีเวอร์อันฮอตฮิตถลมทลายไปทั่วฟ้าเมืองไทยมาแล้ว
1.บ้านเกิด-พ่อ,แม่ : ช่วง ช่วง (CHUANG CHUANG) เป็นแพนด้ายักษ์เพศผู้ เกิดเมื่อวันที่ 6 ส.ค. 2543 ที่ ศูนย์วิจัยและอนุรักษ์แพนด้ายักษ์ เขตอนุรักษ์วู่หลง เมืองเฉินตู มณฑลเสฉวน สาธารณรัฐประชาชนจีนแพนด้าวู่หลง ช่วง ช่วง เกิดจากพ่อชื่อ "ซินซิ่ง" และแม่ชื่อ "ไป๋เสวีย"
2. แพนด้าคู่แรกในไทย : ช่วง ช่วง เมื่อเติบโตมีอายุได้ 3 ขวบปี ทางการจีนได้ส่ง ช่วง ช่วง กับ “หลินฮุ่ย” หมีแพนด้าเพศเมีย (เกิดเมื่อ วันที่ 28 ก.ย. 44 ณ สถานที่เดียวกับช่วง ช่วง) ให้เป็นทูตสันถวไมตรีไทย-จีน เพื่อสานสัมพันธ์อันแน่นแฟ้นของทั้งสองประเทศ
ช่วง ช่วง- หลิน ฮุ่ย ถือเป็นแพนด้าคู่แรกในเมืองไทย และเป็นแพนด้าคู่สุดท้ายที่ประเทศจีนอนุมัติให้ออกนอกประเทศโดยก่อนหน้านี้มีแพนด้าอยู่ในประเทศต่าง ๆ เพียง 5 ประเทศเท่านั้น
3.แพนด้าฟีเวอร์ : วันที่ 12 ต.ค. 2546 คู่หมีแพนด้ายักษ์ ช่วง ช่วง และ หลินฮุ่ย เดินทางจากประเทศจีนมาถึงจังหวัดเชียงใหม่ โดยมีพิธีต้อนรับอย่างยิ่งใหญ่ ก่อนที่จะนำแพนด้าทั้งคู่ไปเลี้ยงดูแลที่สวนสัตว์เชียงใหม่ ซึ่งก่อนหน้านั้นได้มีการสร้างสถานที่พักและส่วนจัดแสดงหมีแพนด้าขึ้น(ควบคุมอุณหภูมิ) ในพื้นที่ 4 ไร่ ก่อนจะเปิดให้ประชาชนทั่วไปเข้าชมได้ในวันที่ 20 พ.ย. 2546
หลังจากนั้นได้เกิดปรากฏการณ์กระแสแพนด้าฟีเวอร์ขึ้นในเมืองไทย จนถึงหลายคนอดน้อยใจแทนช้างไทยไม่ได้
4.แพนด้า 3 ชื่อ : ชื่อ ช่วง ช่วง ในภาษาจีน หมายถึง ผู้มีความคิดสร้างสรรค์ เมื่อคู่หมีแพนด้ามาอยู่เมืองไทย ได้มีการตั้งชื่อทางการในภาษาไทยให้ช่วง ช่วง ว่า “เทวัญ” และตั้งชื่อในภาษาล้านนาว่า “คำอ้าย” ส่วนหลินฮุ่ย มีชื่อไทยว่า “เทวี” และมีชื่อล้านนาว่า “คำเอื้อย”
อย่างไรก็ดีทั้งชื่อไทยและชื่อล้านนา ล้วนต่างไม่ได้รับความนิยมสำหรับหมีแพนด้าคู่นี้ โดยคนยังนิยมเรียกขานในชื่อจีนว่า ช่วง ช่วง และ หลินฮุ่ย เฉกเช่นดังเดิม
5.ช่วง ช่วง ถึงดื้อก็น่ารัก : มีข้อมูลจากหนึ่งในทีมผู้ดูแลหมีแพนด้ายักษ์ที่สวนสัตว์เชียงใหม่ ได้เคยกล่าวถึงลักษณะนิสัยของช่วงช่วงว่า
“ช่วง ช่วง เป็นหมีที่ค่อนข้างดื้อ เอาแต่ใจ เช่นถ้าไม่โยนไผ่จนถึงตัวก็จะไม่ลุกมาเอา หรือถ้าจะลุกก็จะเดินหนีไปเลยไม่ยอมกินแล้วก็เกิดอาการ “งอน” แต่ถ้าวันไหนอารมณ์ดีก็น่ารักและถือว่าเป็นหมีที่ค่อนข้างฉลาดคือรู้จักวิธีที่จะได้กินผลไม้ เช่น วิ่งไปวิ่งมาเรียกร้องความสนใจ ให้เราหยุด พร้อมกับเอาผลไม้อย่างแอปเปิ้ลสีแดงซึ่งเป็นของโปรดเขามาล่อ ก็เป็นอันว่าช่วง ช่วง ได้กินผลไม้เรียบร้อยโรงเรียนหมีไป”
6.กำเนิดหลินปิง : เมื่อทูตแพนด้า ช่วง ช่วง- หลินฮุ่ย มาอยู่เมืองไทยนั้นได้ก่อให้เกิดกระแสแพนด้าฟีเวอร์อย่างมากในช่วงแรก สร้างรายได้เม็ดเงินทางการท่องเที่ยวให้กับเชียงใหม่ได้ไม่น้อย
ครั้นเมื่อกระแสซาไป ก็ยังปรากฏข่าวเรื่องราวของช่วง ช่วง และหลินฮุ่ย เป็นระยะ ๆ จนกระทั่งเป็นข่าวฮือฮาอีกครั้งเมื่อช่วงต้นปี 2552 ว่า หลินฮุ่ยท้อง! โดยลูกในท้องของเธอเกิดจากวิธีผสมเทียม จากน้ำเชื้อของช่วง ช่วง ที่อยู่ด้วยกันมากว่า 5 ปี
จากนั้นเมื่อวันที่ 27 พ.ค. 2552 หลินฮุ่ย ได้ให้กำเนิดลูกแพนด้าน้อยเพศเมียจำนวน 1 ตัว ซึ่งต่อมาได้มีการประกวดตั้งชื่อลูกแพนด้าตัวนี้ว่า “หลินปิง”
หลินปิงถือนอกจากจะเป็นแพนด้ายักษ์ตัวประวัติศาสตร์ที่เกิดในประเทศไทยแล้ว ยังเป็นแพนด้ายักษ์ตัวแรกของโลกที่เกิดในประเทศเขตศูนย์สูตร ในเดือนนอกฤดูผสมพันธุ์ของหมีแพนด้าอีกด้วย
อย่างไรก็ดีตามกฎการให้ยืมแพนด้าของจีนเราจึงต้องส่งหลินปิงกลับคืนสู่เมืองจีนที่ศูนย์วิจัยและอนุรักษ์หมีแพนด้า เมืองเฉิงตู เมื่อวันที่ 28 ก.ย. 2556
7.ช่วง ช่วง - หลินฮุ่ย อยู่ต่อ : แม้ตามกฎการยืมแพนด้ายักษ์ ไทยเราจะต้องส่งคู่แพนด้าคืนจีนเมื่อครบกำหนด 10 ปี ในปี 2556 แต่ด้วยความสัมพันธ์อันดีของทั้ง 2 ประเทศทำให้จีน ได้ต่อสัญญาขยายเวลา การยืมช่วง ช่วง-หลินฮุ่ย ให้อยู่ในเมืองไทยต่อไปได้อีก 10 ปี ในช่วงปี 2556-2566 รวมเป็น 20 ปี
นับเป็นเรื่องน่ายินดีที่แพนด้าทั้งคู่ยังคงอยู่ที่บ้านเราต่อไป
แต่...อนิจจา เมื่อค่ำวันที่ 16 ก.ย. 62 มีข่าวเศร้าเกิดขึ้นว่า ช่วง ช่วง ได้เสียชีวิตอำลาจากโลก จากคนไทยไปด้วยวัย 19 ปี
ปิดตำนานแพนด้าเพศผู้ตัวแรกและตัวเดียวในเมืองไทย ซึ่งตลอดเวลาร่วม 16 ปี ช่วง ช่วง (และหลินฮุ่ย) ได้มาสร้างความสุข ให้คนไทยได้ยิ้ม และสนุกเพลิดเพลินไปกับความน่ารักของมัน
วันนี้แม้ช่วง ช่วง จะจากไปแล้ว แต่เรื่องราวของมันยังคงอยู่ในใจของคนไทยส่วนใหญ่ไปอีกนานเท่านาน
....................................................................................................
สามารถส่งข้อมูลข่าวสารด้านการท่องเที่ยว-อาหารมาได้ที่ กอง บก.ข่าวท่องเที่ยว แฟกซ์ 0-2629-4467 อีเมล์ travel_astvmgr@hotmail.com หรือติดตามเพิ่มเติมได้ที่ Facebook :Travel @ Manager
ถือเป็นอีกหนึ่งข่าวเศร้าของเมืองไทย เมื่อ “ช่วงช่วง” หมีแพนด้าเพศผู้ตัวแรกและตัวเดียวในเมืองไทย ได้ลาจากพวกเราไปด้วยวัย 19 ปี สร้างความเสียใจให้กับผู้รักสัตว์ และบรรดาแฟนคลับหมีแพนด้าชาวไทยเป็นอย่างยิ่ง
สำหรับช่วง ช่วง (และหลินฮุ่ย) เป็นหมี “แพนด้ายักษ์” (Giant Panda, Ailuropoda melanoleuca) สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่มีรูปร่างคล้ายหมี และจัดอยู่ในวงศ์ของหมี แต่พฤติกรรมของมันกลับแตกต่างจากหมีโดยสิ้นเชิง
แพนด้ายักษ์เป็นสัตว์กินพืชเป็นอาหาร โดยอาหารของมัน 99% คือ ไผ่ ส่วนที่เหลือบางทีอาจเป็นพวก ไข่ ปลา และแมลงบางชนิดในไม้ไผ่ที่มันกิน
แพนด้ายักษ์มีหัวใหญ่ จมูกสั้น ขนทั้งตัวเป็นสีขาว ส่วนรอบ ๆ ตาทั้งสองข้าง หู ไหล่ รวมทั้ง ขาหน้า ขาหน้าทั้ง 2 ข้างและ 2 ขาหลัง ตลอดจนหัวไหล่จะมีสีดำ เท้าหน้ามี 6 นิ้ว พร้อมที่จะกางกว้างออกเมื่อปะทะกัน หรือปีนป่ายต้นไม้
หมีแพนด้านับเป็นสัตว์อนุรักษ์ที่หายาก ปัจจุบันมีถิ่นอาศัยอยู่ทางตอนใต้ของประเทศจีน ซึ่งจากการประเมินตามหลักวิชาการในปี 2543 คาดว่า โลกนี้มีแพนด้ายักษ์ประมาณ 2 พัน-3 พันตัว ถือเป็นสถานการณ์ของหมีแพนด้าที่ดีขึ้น เนื่องจากมีการเพิ่มจำนวนขึ้น
แพนด้ายักษ์เป็นหนึ่งในสัญลักษณ์ทางการทูตของเมืองจีน โดยทางการจีนได้ส่งแพนด้ายักษ์ไปยังสวนสัตว์บางประเทศ อย่างเช่น สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น เพื่อใช้เป็นเครื่องหมายการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมระหว่างจีนและชาตินั้น ๆ ซึ่งการปฏิบัติเช่นนี้จึงมีการเรียกขานแพนด้าที่ส่งออกจากจีนไปให้ประเทศต่าง ๆ ว่า “ทูตสันถวไมตรี”
อย่างไรก็ดี นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2527 เป็นต้นมา จีนได้ยกเลิกการให้หมีแพนด้าเป็นทูตสันถวไมตรี หากแต่เปลี่ยนมาใช้วิธีการให้ยืมเป็นเวลา 10 ปี พร้อม ๆ กับการจ่ายธรรมเนียมพื้นฐานปีละ 1,000,000 เหรียญสหรัฐ และมีข้อกำหนดว่า “ลูกของแพนด้ายักษ์ใด ๆ ที่เกิดระหว่างการยืมนั้น ถือเป็นทรัพย์สินของสาธารณรัฐประชาชนจีน”
สำหรับช่วง ช่วง และหลินฮุ่ย ถือเป็นคู่หมีแพนด้าที่รัฐบาลไทยได้ดำเนินการขอแพนด้ายักษ์ 1 คู่ จากประเทศจีนไปตั้งแต่ปี 2544 ซึ่งทางการจีนได้ส่งหมีแพนด้ามายังเมืองไทยในปี 2546
และเพื่อเป็นการรำลึกถึงการจากไปของ “ช่วง ช่วง” เราขอนำ 7 เรื่องราวแห่งความทรงจำของคู่แพนด้า ที่นำโดย “ช่วง ช่วง” และ “หลินฮุ่ย” ซึ่งครั้งหนึ่งเคยสร้างปรากฏการณ์แพนด้าฟีเวอร์อันฮอตฮิตถลมทลายไปทั่วฟ้าเมืองไทยมาแล้ว
1.บ้านเกิด-พ่อ,แม่ : ช่วง ช่วง (CHUANG CHUANG) เป็นแพนด้ายักษ์เพศผู้ เกิดเมื่อวันที่ 6 ส.ค. 2543 ที่ ศูนย์วิจัยและอนุรักษ์แพนด้ายักษ์ เขตอนุรักษ์วู่หลง เมืองเฉินตู มณฑลเสฉวน สาธารณรัฐประชาชนจีนแพนด้าวู่หลง ช่วง ช่วง เกิดจากพ่อชื่อ "ซินซิ่ง" และแม่ชื่อ "ไป๋เสวีย"
2. แพนด้าคู่แรกในไทย : ช่วง ช่วง เมื่อเติบโตมีอายุได้ 3 ขวบปี ทางการจีนได้ส่ง ช่วง ช่วง กับ “หลินฮุ่ย” หมีแพนด้าเพศเมีย (เกิดเมื่อ วันที่ 28 ก.ย. 44 ณ สถานที่เดียวกับช่วง ช่วง) ให้เป็นทูตสันถวไมตรีไทย-จีน เพื่อสานสัมพันธ์อันแน่นแฟ้นของทั้งสองประเทศ
ช่วง ช่วง- หลิน ฮุ่ย ถือเป็นแพนด้าคู่แรกในเมืองไทย และเป็นแพนด้าคู่สุดท้ายที่ประเทศจีนอนุมัติให้ออกนอกประเทศโดยก่อนหน้านี้มีแพนด้าอยู่ในประเทศต่าง ๆ เพียง 5 ประเทศเท่านั้น
3.แพนด้าฟีเวอร์ : วันที่ 12 ต.ค. 2546 คู่หมีแพนด้ายักษ์ ช่วง ช่วง และ หลินฮุ่ย เดินทางจากประเทศจีนมาถึงจังหวัดเชียงใหม่ โดยมีพิธีต้อนรับอย่างยิ่งใหญ่ ก่อนที่จะนำแพนด้าทั้งคู่ไปเลี้ยงดูแลที่สวนสัตว์เชียงใหม่ ซึ่งก่อนหน้านั้นได้มีการสร้างสถานที่พักและส่วนจัดแสดงหมีแพนด้าขึ้น(ควบคุมอุณหภูมิ) ในพื้นที่ 4 ไร่ ก่อนจะเปิดให้ประชาชนทั่วไปเข้าชมได้ในวันที่ 20 พ.ย. 2546
หลังจากนั้นได้เกิดปรากฏการณ์กระแสแพนด้าฟีเวอร์ขึ้นในเมืองไทย จนถึงหลายคนอดน้อยใจแทนช้างไทยไม่ได้
4.แพนด้า 3 ชื่อ : ชื่อ ช่วง ช่วง ในภาษาจีน หมายถึง ผู้มีความคิดสร้างสรรค์ เมื่อคู่หมีแพนด้ามาอยู่เมืองไทย ได้มีการตั้งชื่อทางการในภาษาไทยให้ช่วง ช่วง ว่า “เทวัญ” และตั้งชื่อในภาษาล้านนาว่า “คำอ้าย” ส่วนหลินฮุ่ย มีชื่อไทยว่า “เทวี” และมีชื่อล้านนาว่า “คำเอื้อย”
อย่างไรก็ดีทั้งชื่อไทยและชื่อล้านนา ล้วนต่างไม่ได้รับความนิยมสำหรับหมีแพนด้าคู่นี้ โดยคนยังนิยมเรียกขานในชื่อจีนว่า ช่วง ช่วง และ หลินฮุ่ย เฉกเช่นดังเดิม
5.ช่วง ช่วง ถึงดื้อก็น่ารัก : มีข้อมูลจากหนึ่งในทีมผู้ดูแลหมีแพนด้ายักษ์ที่สวนสัตว์เชียงใหม่ ได้เคยกล่าวถึงลักษณะนิสัยของช่วงช่วงว่า
“ช่วง ช่วง เป็นหมีที่ค่อนข้างดื้อ เอาแต่ใจ เช่นถ้าไม่โยนไผ่จนถึงตัวก็จะไม่ลุกมาเอา หรือถ้าจะลุกก็จะเดินหนีไปเลยไม่ยอมกินแล้วก็เกิดอาการ “งอน” แต่ถ้าวันไหนอารมณ์ดีก็น่ารักและถือว่าเป็นหมีที่ค่อนข้างฉลาดคือรู้จักวิธีที่จะได้กินผลไม้ เช่น วิ่งไปวิ่งมาเรียกร้องความสนใจ ให้เราหยุด พร้อมกับเอาผลไม้อย่างแอปเปิ้ลสีแดงซึ่งเป็นของโปรดเขามาล่อ ก็เป็นอันว่าช่วง ช่วง ได้กินผลไม้เรียบร้อยโรงเรียนหมีไป”
6.กำเนิดหลินปิง : เมื่อทูตแพนด้า ช่วง ช่วง- หลินฮุ่ย มาอยู่เมืองไทยนั้นได้ก่อให้เกิดกระแสแพนด้าฟีเวอร์อย่างมากในช่วงแรก สร้างรายได้เม็ดเงินทางการท่องเที่ยวให้กับเชียงใหม่ได้ไม่น้อย
ครั้นเมื่อกระแสซาไป ก็ยังปรากฏข่าวเรื่องราวของช่วง ช่วง และหลินฮุ่ย เป็นระยะ ๆ จนกระทั่งเป็นข่าวฮือฮาอีกครั้งเมื่อช่วงต้นปี 2552 ว่า หลินฮุ่ยท้อง! โดยลูกในท้องของเธอเกิดจากวิธีผสมเทียม จากน้ำเชื้อของช่วง ช่วง ที่อยู่ด้วยกันมากว่า 5 ปี
จากนั้นเมื่อวันที่ 27 พ.ค. 2552 หลินฮุ่ย ได้ให้กำเนิดลูกแพนด้าน้อยเพศเมียจำนวน 1 ตัว ซึ่งต่อมาได้มีการประกวดตั้งชื่อลูกแพนด้าตัวนี้ว่า “หลินปิง”
หลินปิงถือนอกจากจะเป็นแพนด้ายักษ์ตัวประวัติศาสตร์ที่เกิดในประเทศไทยแล้ว ยังเป็นแพนด้ายักษ์ตัวแรกของโลกที่เกิดในประเทศเขตศูนย์สูตร ในเดือนนอกฤดูผสมพันธุ์ของหมีแพนด้าอีกด้วย
อย่างไรก็ดีตามกฎการให้ยืมแพนด้าของจีนเราจึงต้องส่งหลินปิงกลับคืนสู่เมืองจีนที่ศูนย์วิจัยและอนุรักษ์หมีแพนด้า เมืองเฉิงตู เมื่อวันที่ 28 ก.ย. 2556
7.ช่วง ช่วง - หลินฮุ่ย อยู่ต่อ : แม้ตามกฎการยืมแพนด้ายักษ์ ไทยเราจะต้องส่งคู่แพนด้าคืนจีนเมื่อครบกำหนด 10 ปี ในปี 2556 แต่ด้วยความสัมพันธ์อันดีของทั้ง 2 ประเทศทำให้จีน ได้ต่อสัญญาขยายเวลา การยืมช่วง ช่วง-หลินฮุ่ย ให้อยู่ในเมืองไทยต่อไปได้อีก 10 ปี ในช่วงปี 2556-2566 รวมเป็น 20 ปี
นับเป็นเรื่องน่ายินดีที่แพนด้าทั้งคู่ยังคงอยู่ที่บ้านเราต่อไป
แต่...อนิจจา เมื่อค่ำวันที่ 16 ก.ย. 62 มีข่าวเศร้าเกิดขึ้นว่า ช่วง ช่วง ได้เสียชีวิตอำลาจากโลก จากคนไทยไปด้วยวัย 19 ปี
ปิดตำนานแพนด้าเพศผู้ตัวแรกและตัวเดียวในเมืองไทย ซึ่งตลอดเวลาร่วม 16 ปี ช่วง ช่วง (และหลินฮุ่ย) ได้มาสร้างความสุข ให้คนไทยได้ยิ้ม และสนุกเพลิดเพลินไปกับความน่ารักของมัน
วันนี้แม้ช่วง ช่วง จะจากไปแล้ว แต่เรื่องราวของมันยังคงอยู่ในใจของคนไทยส่วนใหญ่ไปอีกนานเท่านาน
....................................................................................................
สามารถส่งข้อมูลข่าวสารด้านการท่องเที่ยว-อาหารมาได้ที่ กอง บก.ข่าวท่องเที่ยว แฟกซ์ 0-2629-4467 อีเมล์ travel_astvmgr@hotmail.com หรือติดตามเพิ่มเติมได้ที่ Facebook :Travel @ Manager