Facebook :Travel @ Manager

"กรีนซีซัน" (Green Season) เป็นช่วงฤดูกาลท่องเที่ยวในหน้าฝน ที่หลายๆ คนไม่คิดอยากเที่ยวเพราะกลัวเปียก กลัวเที่ยวไม่สนุก กลัวไม่เจอวิวสวยๆ ช่วงนี้ก็เลยกลายเป็นฤดูกาลท่องเที่ยวที่ค่อนข้างจะซบเซาหน่อย
แต่สำหรับ "น่าน" แล้ว ในช่วงฤดูฝนหรือกรีนซีซันนี้ถือเป็นช่วงที่สวยมีเสน่ห์ที่สุดก็ว่าได้ แม้ฝนจะตกพรำๆ จนเปียกไปทั้งเมือง แต่ความเขียวขจีของต้นไม้ในฤดูฝน รวมไปถึงความสดชื่นของทุ่งนาและต้นข้าวที่ดูเริงร่ากว่าปกติ ทำให้ "น่านหน้าฝน" สวยงามจน "ตะลอนเที่ยว" ต้องขอมาเยือนให้ได้ในวันนี้
และหากมาเยือนน่านหน้าฝน ก็ไม่ควรพลาดที่จะมาเยือน “อำเภอปัว” ซึ่งได้ชื่อว่ามีวิวทุ่งนาสวยที่สุดแห่งหนึ่งของจังหวัดน่าน เมืองปัวได้ชื่อว่าเป็นดินแดนโรแมนติกท่ามกลางแวดล้อมแห่งขุนเขา ในช่วงฤดูทำนาที่นี่จะงดงามไปด้วยทุ่งนาเขียวขจีไปจนถึงเหลืองทองอร่าม (ตามช่วงเดือน) อีกทั้งยังมีทุ่งนาขั้นบันไดอันสวยงามให้ได้สัมผัสในมนต์เสน่ห์กัน
หากอยากชมวิวทุ่งนาสวยๆ ของเมืองปัว ขอแนะนำให้มาที่ “วัดภูเก็ต” (ต.วรนคร) เพื่อกราบพระและมาชมจุดชมวิวทุ่งนางามๆ ในเมืองปัว ตัววัดตั้งอยู่บนเนินเขาของหมู่บ้านเก็ต จึงเป็นที่มาของชื่อวัดภูเก็ต ตัวอุโบสถงดงามตั้งอยู่กลางลานวัดกว้าง เมื่อเข้าไปไหว้พระด้านในแล้วจึงออกมาชมวิวบริเวณลานวัดที่ทางวัดทำเป็นจุดชมวิว


ณ จุดชมวิวนี้เมื่อมองลงไปจะเห็นทุ่งนากว้างเขียวขจีสบายตา มีฉากหลังเป็นดอยภูคาสูงใหญ่มีหมอกฝนปกคลุมจนมองไม่เห็นยอดเขา ที่เบื้องล่างกลางทุ่งนายังมองเห็นกระท่อมและศาลามุงจากสร้างเป็นกลุ่มอยู่กลางทุ่ง หรือ “ฮักนาไทลื้อ” ซึ่งเป็นร้านกาแฟและร้านขายของที่ระลึกของเอกชนที่ให้บริการนักท่องเที่ยวที่มาไหว้พระและมาชมทิวทัศน์บริเวณนี้ให้มาเดินเล่นถ่ายรูปกัน



เราเดินลงจากวัดภูเก็ตทางบันไดนาคเพื่อไปเดินลุยชมทุ่งนากันแบบใกล้ๆ สัมผัสกับความเขียวของต้นข้าวแบบใกล้ชิด กลิ่นหอมอ่อนๆ ของต้นข้าวและลมเย็นๆ ที่พัดมายิ่งทำให้สดชื่น และไม่ใช่แค่เราเท่านั้นที่ลงมาเดินลุยทุ่ง เพราะนกปากห่างขายาวก็เดินดุ่มๆ หาหอยหาปลากินกลางนาเช่นกัน เป็นภาพธรรมชาติที่ตากล้องเดินถ่ายภาพกันได้แบบไม่รู้เบื่อ


ในละแวกนี้ยังมีวัดงามน่าชมอีกหลายแห่ง ไม่ว่าจะเป็น “วัดต้นแหลง” (ต.ไทยวัฒนา) ที่มีอายุเก่าแก่กว่า 600 ปี ตัววิหารศิลปะแบบไทลื้อหลังคาลดหลั่นสามชั้นสวยงามคลาสสิกจนได้รับรางวัลอาคารอนุรักษ์สถาปัตยกรรมไทยล้านนา ประจำปี 2552 จากสมาคมสถาปนิกสยาม ภายในวิหารประดิษฐานพระพุทธรูปประธานนามว่าหลวงพ่อมหานิโคตรฤกษ์ ทั้งยังมีธรรมาสน์เก่าแก่คู่วัดที่ปัจจุบันยังคงใช้งานอยู่

อีกทั้งภายในวัดยังมีพระพุทธรูปสำคัญคือ “หลวงพ่อเพชร” เป็นพระพุทธรูปองค์เล็กที่ทางวัดจะอัญเชิญออกมาให้ประชาชนกราบไหว้เพียงปีละ 3 ครั้งเท่านั้นคือวันปีใหม่เมือง (สงกรานต์) วันเข้าพรรษา และวันออกพรรษา โดยขณะนี้ทางวัดต้นแหลงก็กำลังสร้างวิหารเพื่อประดิษฐานหลวงพ่อเพชรอย่างถาวรไว้เพื่อให้ประชาชนได้กราบไหว้กันด้วย

อีกหนึ่งวัดงามที่เราได้แวะชมและไหว้พระก็คือ “วัดร้องแง” (ต.วรนคร) ที่มีวิหารศิลปะไทลื้อที่งดงามน่าชม โดยชื่อของวัดร้องแงมาจากคำว่า “ร่อง” ที่หมายถึงร่องน้ำ และ “แง” หรือต้นมะแง ต้นไม้ที่มีลักษณะคล้ายต้นส้ม และเมื่อเข้าไปด้านในวิหารนอกจากจะมีบรรยากาศอันขรึมขลังเปี่ยมศรัทธาจากองค์พระประธานแล้วก็ยังมีข้าวของเก่าแก่โดยเฉพาะกับธรรมมาสน์และสัตตภัณฑ์ (ที่วางเทียน) ล้านนาโบราณอันประณีตสวยงาม

ที่วัดร้องแงยังมี "ประเพณีถวายดอกไม้พันดวง" ในช่วงเทศกาลลอยกระทง ซึ่งเป็นประเพณีของชาวไทลื้อที่หลงเหลืออยู่เพียงแห่งเดียวที่ชุมชนนี้ โดยชาวบ้านจะนำไม้ไผ่มาสานเป็นรูปทรงคล้ายตะแกรงสี่เหลี่ยม แล้วนำดอกไม้นานาชนิดที่หาได้มาบรรจุไว้ด้านในจนเต็ม เรียกว่า "ดอกไม้พันดวง" หรือ "ดอกไม้ปันดวง" มีขนาดเล็กใหญ่ตามศรัทธา และจะนำไปถวายวัดและแขวนไว้ในวิหารในวันก่อนวันลอยกระทง เพื่อบูชาพระคาถาพัน หรือเทศมหาชาตินั่นเอง และจะแขวนไว้อย่างนั้นตลอดปีจนกลายเป็นดอกไม้แห้ง ซึ่งวันที่เราไปก็ยังคงเห็นดอกไม้พันดวงแขวนไว้ภายในวิหารวัดร้องแง
นอกจากจะได้ไหว้พระแล้ว ระหว่างทางและในบริเวณชุมชนรอบๆ วัดเหล่านี้ก็มีทุ่งนาเขียวๆ ให้เราได้แวะถ่ายรูปกันอย่างชุ่มฉ่ำใจ

ชมวิวดอยภูคาจากฝั่งอำเภอปัวมาหลายจุดแล้ว คราวนี้เราจะขับรถข้ามดอยไปยังอีกฝั่งหนึ่งซึ่งเป็นที่ตั้งของ "อำเภอบ่อเกลือ" กันบ้าง รถวิ่งไปตามถนนสายปัว-บ่อเกลือ (ทางหลวงสาย 1256) ที่เรียกว่าเป็นถนนลอยฟ้า เพราะตัดผ่านสันเขาสูงที่สองข้างทางเป็นหุบเขา ทิวทัศน์สองข้างทางงดงามยิ่งนัก
ระหว่างทางสายนี้เป็นที่ตั้งของที่ทำการอุทยานแห่งชาติดอยภูคา ซึ่งมีทั้งจุดกางเต็นท์ จุดชมวิว 1715 ซึ่งเป็นจุดชมทะเลหมอกที่งดงาม จุดชมต้นชมพูภูคาที่จะออกดอกเป็นพวงสวยในช่วงเดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม หากใครอยากจะแวะชมวิวหรือแวะตั้งแคมป์ค้างคืนก็สามารถทำได้

แต่วันนี้เราขอมุ่งหน้ามาที่ “อำเภอบ่อเกลือ” กันต่อ เพื่อชมความน่าทึ่งของบ่อเกลือภูเขาหรือเกลือสินเธาว์อายุเก่าแก่กว่า 800 ปี ที่ทุกวันนี้ชาวบ้านยังคงสืบทอดภูมิปัญญาการทำเกลือโบราณเอาไว้ โดยใช้วิธีตักน้ำจากบ่อเกลือขึ้นมาต้มในกระทะขนาดใหญ่ เคี่ยวด้วยฟืนไม้นาน 4-5 ช.ม. จนน้ำระเหยและเกล็ดเกลืองวดขึ้น จากนั้นจึงช้อนเกล็ดเกลือขึ้นมาใส่ในตะกร้าแขวนไว้เหนือกระทะ จากนั้นก็จะนำมาบรรจุถุงวางขาย เราจะได้เห็นกระบวนการทำเกลือแบบโบราณที่ชาวบ้านยังคงรักษาวิธีการรวมถึงขนบธรรมเนียม ความเชื่อและข้อปฏิบัติต่างๆเกี่ยวกับการทำเกลือ ที่เป็นปัจจัยสำคัญให้การเกลือโบราณที่นี่ยังดำรงคงอยู่มาจนถึงทุกวันนี้

แต่ในช่วงนี้ที่เป็นช่วงเข้าพรรษา การทำเกลือที่บ่อเกลือจะเว้นช่วงไปเป็นเวลา 3 เดือน แต่กระนั้นเราก็สามารถที่จะเดินเล่นชมบ่อเกลือโบราณริมแม่น้ำมางภายในหมู่บ้านได้ และยังสามารถเลือกซื้อเกลือภูเขาที่ผลิตจากแหล่งกันแบบสดใหม่ โดยเกลือเหล่านี้ได้เติมไอโอดีนแล้วเรียบร้อย


หลังจากเดินเล่นชมบ่อเกลือในตัวอำเภอแล้ว เราเดินทางออกจากตัวเมืองมาราว 10 ก.ม. เพื่อมาเที่ยวชมบรรยากาศของหมู่บ้านสะปัน (ต.ดงพญา อ.บ่อเกลือ) หมู่บ้านแห่งนี้เป็นหมู่บ้านเล็กๆ ริมน้ำมางอันเงียบสงบ และยังเป็นที่ตั้งของ “น้ำตกสะปัน” น้ำตกขนาดกลางที่อยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติขุนน่าน ในช่วงหน้าฝนน้ำตกแห่งนี้มีน้ำใสไหลแรง ตลอดสองข้างทางมีต้นไม้และมอสเฟินตะไคร่เขียวขจี สัมผัสบรรยากาศสดชื่นไปตลอดทาง


ทางเดินชมน้ำตกสปันเป็นทางบันไดเดินได้สะดวก ระยะทางประมาณ 800 เมตร เดินเข้าไปไม่ทันเหนื่อยก็ได้ชมวิวน้ำตกสะปันสวยๆ แล้ว

ใช้เวลาชมน้ำตกเสร็จแล้วก็ออกมาเดินเล่นในหมู่บ้านกันบ้าง ที่บ้านสะปันนี้มีรีสอร์ทให้บริการหลายแห่ง ไม่ว่าจะเป็นอุ่นไอมาง รีสอร์ทชื่อดังของบ่อเกลือที่อยู่ริมแม่น้ำมาง นอกจากนั้นก็ยังมีรีสอร์ทอีกหลายที่ บ้างก็เป็นวิวทุ่งนา วิวภูเขา เลือกพักตามใจชอบ โดยในหมู่บ้านสะปันก็มีทุ่งนาสวยๆ หลายจุดที่มีฉากหลังเป็นภูเขาน้อยใหญ่ของดอยภูคาเป็นฉากหลัง เช่นในโรงเรียนบ้านสะปันที่ด้านหลังมีวิวทุ่งนาสวยงามจับใจ หรือที่บริเวณสะพานคอนกรีตข้ามแม่น้ำมางก็มีวิวเขาสูงใหญ่ให้ชมกันด้วยเช่นกัน
มาน่านครั้งนี้สูดอากาศสดชื่นจนเต็มปอดและเก็บความเขียวสบายตาไว้เต็มความทรงจำ น่านหน้าฝนมีเสน่ห์จนอยากให้ทุกคนได้มาเที่ยวมาเห็นด้วยกัน และหากใครอยากสอบถามรายละเอียดเกี่ยวกับที่เที่ยว ที่กิน ที่พักในจังหวัดน่าน ก็สามารถโทรสอบถามรายละเอียดต่างๆ ได้กับทางการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สำนักงานน่าน โทร.0 5471 1217, 0 5471 1218
สามารถส่งข้อมูลข่าวสารด้านการท่องเที่ยว-อาหารมาได้ที่ กอง บก.ข่าวท่องเที่ยว แฟกซ์ 0-2629-4467 อีเมล์ travel_astvmgr@hotmail.com หรือติดตามเพิ่มเติมได้ที่ Facebook :Travel @ Manager
"กรีนซีซัน" (Green Season) เป็นช่วงฤดูกาลท่องเที่ยวในหน้าฝน ที่หลายๆ คนไม่คิดอยากเที่ยวเพราะกลัวเปียก กลัวเที่ยวไม่สนุก กลัวไม่เจอวิวสวยๆ ช่วงนี้ก็เลยกลายเป็นฤดูกาลท่องเที่ยวที่ค่อนข้างจะซบเซาหน่อย
แต่สำหรับ "น่าน" แล้ว ในช่วงฤดูฝนหรือกรีนซีซันนี้ถือเป็นช่วงที่สวยมีเสน่ห์ที่สุดก็ว่าได้ แม้ฝนจะตกพรำๆ จนเปียกไปทั้งเมือง แต่ความเขียวขจีของต้นไม้ในฤดูฝน รวมไปถึงความสดชื่นของทุ่งนาและต้นข้าวที่ดูเริงร่ากว่าปกติ ทำให้ "น่านหน้าฝน" สวยงามจน "ตะลอนเที่ยว" ต้องขอมาเยือนให้ได้ในวันนี้
และหากมาเยือนน่านหน้าฝน ก็ไม่ควรพลาดที่จะมาเยือน “อำเภอปัว” ซึ่งได้ชื่อว่ามีวิวทุ่งนาสวยที่สุดแห่งหนึ่งของจังหวัดน่าน เมืองปัวได้ชื่อว่าเป็นดินแดนโรแมนติกท่ามกลางแวดล้อมแห่งขุนเขา ในช่วงฤดูทำนาที่นี่จะงดงามไปด้วยทุ่งนาเขียวขจีไปจนถึงเหลืองทองอร่าม (ตามช่วงเดือน) อีกทั้งยังมีทุ่งนาขั้นบันไดอันสวยงามให้ได้สัมผัสในมนต์เสน่ห์กัน
หากอยากชมวิวทุ่งนาสวยๆ ของเมืองปัว ขอแนะนำให้มาที่ “วัดภูเก็ต” (ต.วรนคร) เพื่อกราบพระและมาชมจุดชมวิวทุ่งนางามๆ ในเมืองปัว ตัววัดตั้งอยู่บนเนินเขาของหมู่บ้านเก็ต จึงเป็นที่มาของชื่อวัดภูเก็ต ตัวอุโบสถงดงามตั้งอยู่กลางลานวัดกว้าง เมื่อเข้าไปไหว้พระด้านในแล้วจึงออกมาชมวิวบริเวณลานวัดที่ทางวัดทำเป็นจุดชมวิว
ณ จุดชมวิวนี้เมื่อมองลงไปจะเห็นทุ่งนากว้างเขียวขจีสบายตา มีฉากหลังเป็นดอยภูคาสูงใหญ่มีหมอกฝนปกคลุมจนมองไม่เห็นยอดเขา ที่เบื้องล่างกลางทุ่งนายังมองเห็นกระท่อมและศาลามุงจากสร้างเป็นกลุ่มอยู่กลางทุ่ง หรือ “ฮักนาไทลื้อ” ซึ่งเป็นร้านกาแฟและร้านขายของที่ระลึกของเอกชนที่ให้บริการนักท่องเที่ยวที่มาไหว้พระและมาชมทิวทัศน์บริเวณนี้ให้มาเดินเล่นถ่ายรูปกัน
เราเดินลงจากวัดภูเก็ตทางบันไดนาคเพื่อไปเดินลุยชมทุ่งนากันแบบใกล้ๆ สัมผัสกับความเขียวของต้นข้าวแบบใกล้ชิด กลิ่นหอมอ่อนๆ ของต้นข้าวและลมเย็นๆ ที่พัดมายิ่งทำให้สดชื่น และไม่ใช่แค่เราเท่านั้นที่ลงมาเดินลุยทุ่ง เพราะนกปากห่างขายาวก็เดินดุ่มๆ หาหอยหาปลากินกลางนาเช่นกัน เป็นภาพธรรมชาติที่ตากล้องเดินถ่ายภาพกันได้แบบไม่รู้เบื่อ
ในละแวกนี้ยังมีวัดงามน่าชมอีกหลายแห่ง ไม่ว่าจะเป็น “วัดต้นแหลง” (ต.ไทยวัฒนา) ที่มีอายุเก่าแก่กว่า 600 ปี ตัววิหารศิลปะแบบไทลื้อหลังคาลดหลั่นสามชั้นสวยงามคลาสสิกจนได้รับรางวัลอาคารอนุรักษ์สถาปัตยกรรมไทยล้านนา ประจำปี 2552 จากสมาคมสถาปนิกสยาม ภายในวิหารประดิษฐานพระพุทธรูปประธานนามว่าหลวงพ่อมหานิโคตรฤกษ์ ทั้งยังมีธรรมาสน์เก่าแก่คู่วัดที่ปัจจุบันยังคงใช้งานอยู่
อีกทั้งภายในวัดยังมีพระพุทธรูปสำคัญคือ “หลวงพ่อเพชร” เป็นพระพุทธรูปองค์เล็กที่ทางวัดจะอัญเชิญออกมาให้ประชาชนกราบไหว้เพียงปีละ 3 ครั้งเท่านั้นคือวันปีใหม่เมือง (สงกรานต์) วันเข้าพรรษา และวันออกพรรษา โดยขณะนี้ทางวัดต้นแหลงก็กำลังสร้างวิหารเพื่อประดิษฐานหลวงพ่อเพชรอย่างถาวรไว้เพื่อให้ประชาชนได้กราบไหว้กันด้วย
อีกหนึ่งวัดงามที่เราได้แวะชมและไหว้พระก็คือ “วัดร้องแง” (ต.วรนคร) ที่มีวิหารศิลปะไทลื้อที่งดงามน่าชม โดยชื่อของวัดร้องแงมาจากคำว่า “ร่อง” ที่หมายถึงร่องน้ำ และ “แง” หรือต้นมะแง ต้นไม้ที่มีลักษณะคล้ายต้นส้ม และเมื่อเข้าไปด้านในวิหารนอกจากจะมีบรรยากาศอันขรึมขลังเปี่ยมศรัทธาจากองค์พระประธานแล้วก็ยังมีข้าวของเก่าแก่โดยเฉพาะกับธรรมมาสน์และสัตตภัณฑ์ (ที่วางเทียน) ล้านนาโบราณอันประณีตสวยงาม
ที่วัดร้องแงยังมี "ประเพณีถวายดอกไม้พันดวง" ในช่วงเทศกาลลอยกระทง ซึ่งเป็นประเพณีของชาวไทลื้อที่หลงเหลืออยู่เพียงแห่งเดียวที่ชุมชนนี้ โดยชาวบ้านจะนำไม้ไผ่มาสานเป็นรูปทรงคล้ายตะแกรงสี่เหลี่ยม แล้วนำดอกไม้นานาชนิดที่หาได้มาบรรจุไว้ด้านในจนเต็ม เรียกว่า "ดอกไม้พันดวง" หรือ "ดอกไม้ปันดวง" มีขนาดเล็กใหญ่ตามศรัทธา และจะนำไปถวายวัดและแขวนไว้ในวิหารในวันก่อนวันลอยกระทง เพื่อบูชาพระคาถาพัน หรือเทศมหาชาตินั่นเอง และจะแขวนไว้อย่างนั้นตลอดปีจนกลายเป็นดอกไม้แห้ง ซึ่งวันที่เราไปก็ยังคงเห็นดอกไม้พันดวงแขวนไว้ภายในวิหารวัดร้องแง
นอกจากจะได้ไหว้พระแล้ว ระหว่างทางและในบริเวณชุมชนรอบๆ วัดเหล่านี้ก็มีทุ่งนาเขียวๆ ให้เราได้แวะถ่ายรูปกันอย่างชุ่มฉ่ำใจ
ชมวิวดอยภูคาจากฝั่งอำเภอปัวมาหลายจุดแล้ว คราวนี้เราจะขับรถข้ามดอยไปยังอีกฝั่งหนึ่งซึ่งเป็นที่ตั้งของ "อำเภอบ่อเกลือ" กันบ้าง รถวิ่งไปตามถนนสายปัว-บ่อเกลือ (ทางหลวงสาย 1256) ที่เรียกว่าเป็นถนนลอยฟ้า เพราะตัดผ่านสันเขาสูงที่สองข้างทางเป็นหุบเขา ทิวทัศน์สองข้างทางงดงามยิ่งนัก
ระหว่างทางสายนี้เป็นที่ตั้งของที่ทำการอุทยานแห่งชาติดอยภูคา ซึ่งมีทั้งจุดกางเต็นท์ จุดชมวิว 1715 ซึ่งเป็นจุดชมทะเลหมอกที่งดงาม จุดชมต้นชมพูภูคาที่จะออกดอกเป็นพวงสวยในช่วงเดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม หากใครอยากจะแวะชมวิวหรือแวะตั้งแคมป์ค้างคืนก็สามารถทำได้
แต่วันนี้เราขอมุ่งหน้ามาที่ “อำเภอบ่อเกลือ” กันต่อ เพื่อชมความน่าทึ่งของบ่อเกลือภูเขาหรือเกลือสินเธาว์อายุเก่าแก่กว่า 800 ปี ที่ทุกวันนี้ชาวบ้านยังคงสืบทอดภูมิปัญญาการทำเกลือโบราณเอาไว้ โดยใช้วิธีตักน้ำจากบ่อเกลือขึ้นมาต้มในกระทะขนาดใหญ่ เคี่ยวด้วยฟืนไม้นาน 4-5 ช.ม. จนน้ำระเหยและเกล็ดเกลืองวดขึ้น จากนั้นจึงช้อนเกล็ดเกลือขึ้นมาใส่ในตะกร้าแขวนไว้เหนือกระทะ จากนั้นก็จะนำมาบรรจุถุงวางขาย เราจะได้เห็นกระบวนการทำเกลือแบบโบราณที่ชาวบ้านยังคงรักษาวิธีการรวมถึงขนบธรรมเนียม ความเชื่อและข้อปฏิบัติต่างๆเกี่ยวกับการทำเกลือ ที่เป็นปัจจัยสำคัญให้การเกลือโบราณที่นี่ยังดำรงคงอยู่มาจนถึงทุกวันนี้
แต่ในช่วงนี้ที่เป็นช่วงเข้าพรรษา การทำเกลือที่บ่อเกลือจะเว้นช่วงไปเป็นเวลา 3 เดือน แต่กระนั้นเราก็สามารถที่จะเดินเล่นชมบ่อเกลือโบราณริมแม่น้ำมางภายในหมู่บ้านได้ และยังสามารถเลือกซื้อเกลือภูเขาที่ผลิตจากแหล่งกันแบบสดใหม่ โดยเกลือเหล่านี้ได้เติมไอโอดีนแล้วเรียบร้อย
หลังจากเดินเล่นชมบ่อเกลือในตัวอำเภอแล้ว เราเดินทางออกจากตัวเมืองมาราว 10 ก.ม. เพื่อมาเที่ยวชมบรรยากาศของหมู่บ้านสะปัน (ต.ดงพญา อ.บ่อเกลือ) หมู่บ้านแห่งนี้เป็นหมู่บ้านเล็กๆ ริมน้ำมางอันเงียบสงบ และยังเป็นที่ตั้งของ “น้ำตกสะปัน” น้ำตกขนาดกลางที่อยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติขุนน่าน ในช่วงหน้าฝนน้ำตกแห่งนี้มีน้ำใสไหลแรง ตลอดสองข้างทางมีต้นไม้และมอสเฟินตะไคร่เขียวขจี สัมผัสบรรยากาศสดชื่นไปตลอดทาง
ทางเดินชมน้ำตกสปันเป็นทางบันไดเดินได้สะดวก ระยะทางประมาณ 800 เมตร เดินเข้าไปไม่ทันเหนื่อยก็ได้ชมวิวน้ำตกสะปันสวยๆ แล้ว
ใช้เวลาชมน้ำตกเสร็จแล้วก็ออกมาเดินเล่นในหมู่บ้านกันบ้าง ที่บ้านสะปันนี้มีรีสอร์ทให้บริการหลายแห่ง ไม่ว่าจะเป็นอุ่นไอมาง รีสอร์ทชื่อดังของบ่อเกลือที่อยู่ริมแม่น้ำมาง นอกจากนั้นก็ยังมีรีสอร์ทอีกหลายที่ บ้างก็เป็นวิวทุ่งนา วิวภูเขา เลือกพักตามใจชอบ โดยในหมู่บ้านสะปันก็มีทุ่งนาสวยๆ หลายจุดที่มีฉากหลังเป็นภูเขาน้อยใหญ่ของดอยภูคาเป็นฉากหลัง เช่นในโรงเรียนบ้านสะปันที่ด้านหลังมีวิวทุ่งนาสวยงามจับใจ หรือที่บริเวณสะพานคอนกรีตข้ามแม่น้ำมางก็มีวิวเขาสูงใหญ่ให้ชมกันด้วยเช่นกัน
มาน่านครั้งนี้สูดอากาศสดชื่นจนเต็มปอดและเก็บความเขียวสบายตาไว้เต็มความทรงจำ น่านหน้าฝนมีเสน่ห์จนอยากให้ทุกคนได้มาเที่ยวมาเห็นด้วยกัน และหากใครอยากสอบถามรายละเอียดเกี่ยวกับที่เที่ยว ที่กิน ที่พักในจังหวัดน่าน ก็สามารถโทรสอบถามรายละเอียดต่างๆ ได้กับทางการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สำนักงานน่าน โทร.0 5471 1217, 0 5471 1218
สามารถส่งข้อมูลข่าวสารด้านการท่องเที่ยว-อาหารมาได้ที่ กอง บก.ข่าวท่องเที่ยว แฟกซ์ 0-2629-4467 อีเมล์ travel_astvmgr@hotmail.com หรือติดตามเพิ่มเติมได้ที่ Facebook :Travel @ Manager