Facebook :Travel @ Manager
“นกเงือก” เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองของไทย ปัจจุบันในประเทศไทยพบทั้งหมด 13 สายพันธุ์ จากทั้งหมดกว่า 55 สายพันธุ์ทั่วโลก นิสัยที่เป็นจุดเด่นของนกเงือกก็คือ เป็นนกผัวเดียวเมียเดียว จะอยู่กับคู่ของตัวเองไปจนกว่าจะตายจากกัน
นอกจากนี้ นกเงือกยังถือเป็นดัชนีชี้วัดความอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติได้ด้วย เพราะนกเงือกอาศัยอยู่ในป่าหรือพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์เท่านั้น เนื่องจากนกเงือกเป็นนกขนาดใหญ่ถึงใหญ่มาก กินทั้งผลไม้และสัตว์เป็นอาหาร อีกทั้งธรรมชาติในการหากินต้องอาศัยพื้นที่ป่าที่กว้าง และยังเป็นตัวแพร่กระจายพันธุ์พืชชนิดต่างๆ ในป่าได้อย่างดี เนื่องจากเป็นนกที่กินผลไม้หลากหลาย และทิ้งเมล็ดไว้ตามที่ต่างๆ นั่นเอง
และด้วยธรรมชาติที่ยังอุดมสมบูรณ์ของ “เกาะยาวน้อย” อ.เกาะยาว จ.พังงา ก็ทำให้เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของนกเงือก โดยนกเงือกที่อาศัยอยู่บนเกาะคือ “นกแก๊ก” (หรือ นกแกง) เป็นนกที่มีขนาดเล็กที่สุดในตระกูลนกเงือก และถือว่าเป็นเพียงเกาะเดียวที่มีนกเงือกอาศัยอยู่ร่วมกับคนในชุมชน ซึ่งชาวบ้านบนเกาะก็นับว่านกเงือกนั้นเป็นสมาชิกส่วนหนึ่งของชุมชน จึงเป็นเรื่องปกติที่จะเห็นว่านกเงือกออกมากินผลไม้ในบ้านของชาวบ้าน
ภราดร บุตรละคร กลุ่มชุมชนคนรักนกเงือกเกาะยาวน้อย เพจเรารักษ์เกาะยาว กล่าวว่า บนเกาะยาวยังมีนกเงือกฝูงสุดท้ายอาศัยอยู่ จากเดิมที่เกาะใกล้เคียงกันก็มีนกเงือกอยู่บ้าง แต่ปัจจุบันนี้เหลือเพียงที่เกาะยาวเท่านั้น จึงมีความเป็นห่วงว่านกเงือกบนเกาะจะหายไป เนื่องจากสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไป มีคนเข้ามาอาศัยอยู่มากขึ้น มีรีสอร์ท ที่พัก และนักท่องเที่ยวเพิ่มมากขึ้น เกรงว่าจะเกิดผลกระทบกับนกเงือก
จากข้อกังวลในจุดนี้จึงได้เชิญอาจารย์จากคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เข้ามาสำรวจและวิจัย พบว่า ถิ่นที่อยู่ของนกเงือกยังอุดมสมบูรณ์ดีอยู่ มีอาหารเพียงพอ มีผลไม้หลากหลาย แต่ปัญหาที่ที่น่าตกใจคือ การขโมยลูกนกเงือกไปขาย ลูกนกเงือกตัวหนึ่งขายในราคาประมาณ 4,000-5,000 บาท โดยจะล้วงเอาลูกนกเงือกตัวเล็กๆ ออกจากโพรงไปเลย อีกปัญหาคือนกเงือกขาดโพรงรังสำหรับการแพร่พันธุ์ เนื่องจากนกเงือกเป็นสัตว์ที่เจาะโพรงเองไม่เป็น ต้องอาศัยโพรงที่มีอยู่ตามธรรมชาติ โพรงนั้นต้องเป็นโพรงขนาดใหญ่เพราะนกเงือกตัวใหญ่ ต้นไม้ที่มีโพรงใหญ่ก็มีน้อยมาก บางครั้งนกเงือกต้องมาอาศัยไหเล็กๆ เข้าไปอยู่หรือบางครั้งต้องอาศัยโพรงหิน บางครั้งก็ไม่ได้ขยายพันธุ์ไปเลย
“ปัญหาสองอย่างนี้ก็ได้รับการแก้ไข ปัญหาเรื่องขโมยเราก็ได้ใช้สมาชิกในชุมชนทั้งหมด โดยเฉพาะอาสาสมัครช่วยเป็นหูเป็นตาดูแลว่ามีการขโมยลูกนกหรือไม่ เวลาถูกขโมยลูกนกจะร้องเสียงดังมากๆ คนที่เฝ้าระวังอยู่ก็จะรู้ ปัญหาขโมยลูกนกก็แก้ไขได้ภายในปีเดียว อย่างปีนี้ปัญหาการขโมยลูกนกไม่มีแล้ว”
“ส่วนปัญหาโพรงรังเทียมก็มีการวิจัยว่าเราจะทำยังไง ไปดูที่เขาใหญ่เขาจะใช้ถังไวน์ใหญ่ๆ ซึ่งหนักมากและลูกใหญ่ ทาง ม.มหิดล จึงออกแบบเป็นโพรงรังเทียมขึ้นมา ขนาด 50x50x100 ซม. จากการลองผิดลองถูกมาหลายครั้ง ต้องทำให้เป็นแบบมาตรฐาน เพื่อให้นกสามารถใช้งานได้จริง ต้องทำรูเข้าขนาดพอเหมาะ ใส่ดินเข้าไปด้านใน จนเสมอปากโพรงด้านล่าง ดินตัวนี้ช่วยรักษาอุณหภูมิด้านใน และแม่นกก็จะเอาดินนี้มาผสมกับน้ำลายแล้วเอามาปิดปากโพรงได้ด้วย และต้องมีที่ให้พ่อนกเกาะด้านข้างสำหรับเวลามาป้อนอาหารด้วย”
โดยโครงการสร้างโพรงรังเทียมให้นกเงือกที่นี่ทำมาเป็นปีที่ 3 แล้ว จากความร่วมมือของกลุ่มชุมชนคนรักนกเงือกเกาะยาวน้อย คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ชาวบ้านในพื้นที่ รวมถึงที่ โรงแรมเคป กูดู เกาะยาวน้อย ที่ร่วมจัดกิจกรรมสร้างบ้านให้นกเงือก โดยสร้างโพรงรังเทียมตลอดทั้งปีเพื่อเตรียมไว้สำหรับฤดูกาลผสมพันธุ์ซึ่งจะเริ่มในช่วงเดือนมกราคมของทุกปี
สำหรับวงจรชีวิตของนกเงือก เริ่มจากประมาณเดือนกุมภาพันธ์ แม่นกจะเข้าไปอยู่ในโพรงพร้อมกับลูก ตัวผู้จะออกไปหาอาหารข้างนอกมาป้อน แม่นกจะปลดปีกและหางเพื่อเข้าไปอยู่ด้านในกับลูก พอลูกนกอายุได้ราวๆ 2 เดือน แม่นกก็จะเริ่มฝึกให้บินอยู่ในโพรง จนถึงเดือนพฤษภาคม ลูกนกก็จะออกจากโพรง ช่วงเดือนพฤษภาคม-สิงหาคม แม่นกจะพาลูกนกไปหลบอยู่ในป่า เพื่อที่จะสอนบินและฝึกให้แข็งแรง ราวเดือนสิงหาคม-ตุลาคม พ่อ แม่ และลูกนกก็จะออกมาหากินตามปกติ จะสามารถเห็นนกเงือกอยู่ทั่วไป ประมาณพฤศจิกายน-มกราคม นกเงือกจะเริ่มจับคู่ ถ้าใครอยากมาเห็นความสวยงามของนกเงือกต้องมาช่วงเดือนนี้ เพราะจะมีการช่วยไซร้ขนกัน ป้อนอาหารให้กัน จะจับกันเป็นคู่ ราวเดือนกุมภาพันธ์ แม่นกพร้อมลูกนกรุ่นใหม่ก็จะเข้าไปอยู่ในโพรง ซึ่งในแต่ละปี แม่นกจะออกลูกประมาณ 2-3 ตัว ขึ้นอยู่กับความอุดมสมบูรณ์ของอาหารในแต่ละปี ส่วนอาหารที่พ่อนกหามาให้จะมีทั้งผลไม้และสัตว์ขนาดเล็ก
ส่วนการอนุรักษ์นกเงือกบนเกาะยาวน้อย ภราดร เล่าว่า ในเกาะยาวตอนนี้ทุกคนตื่นตัวกันมากที่จะรักษานกเงือก ทางกลุ่มได้ชี้ให้เห็นว่าถ้าสักวันนกเงือกหายไปก็จะเสียดาย ตอนนี้พยายามใช้สถานที่เกาะยาวช่วยกันสร้างโพรงรังเทียม และช่วยเป็นหูเป็นตา ไม่ว่าจะเรื่องขโมยลูกนก หรือลูกนกตกจากโพรง ชาวบ้านก็จะแจ้งมาทางกลุ่ม นกเงือกบาดเจ็บก็จะแจ้งมา ช่วยกันเป็นหูเป็นตา
“ตอนนี้กำลังนำประเด็นนกเงือกให้เป็นประเด็นท่องเที่ยว ช่วยสร้างรายได้ นกเงือกเป็นสัตว์คุ้มครองไม่สามารถครอบครองหรือเลี้ยงได้ แต่ตอนนี้ก็พยายามจะสร้างรายได้จากตรงนี้ การอนุรักษ์ก็คือการเก็บรักษาไว้ ใช้อย่างฉลาดและยั่งยืน อย่างแรกที่ทำคืออบรมชาวบ้าน สถานประกอบการ และนักเรียน ให้รู้ว่านกเงือกเป็นยังไง แล้วพอถึงช่วง ก.พ.-พ.ค. ก็จะมีกิจกรรมพานักท่องเที่ยวไปดูนก เฝ้าดูตัวผู้มาป้อนอาหารให้ตัวเมียที่โพรง สอนวิธีทำซุ้มนั่งดูนก เวลาไปเฝ้าดูนกจะได้ไม่ตกใจ สอนมารยาทในการดูนก อีกอย่างที่ทำคือให้ชาวบ้านช่วยกันเพาะต้นไม้ที่เป็นอาหารของนกเงือก เพาะใส่ถุงไว้ ให้ขายกับนักท่องเที่ยวที่มาดู ให้ช่วยปลูกต้นไม้ให้นกเงือก ซึ่งตอนนี้ทำการสำรวจประชากรนกเงือก พบว่ามีอยู่ประมาณ 200 คู่ และคาดว่าจะเพิ่มขึ้น”
กิจกรรมการสร้างโพรงรังให้เป็นบ้านของนกเงือกบนเกาะยาวน้อย เป็นเพียงส่วนหนึ่งที่ช่วยอนุรักษ์ให้นกเงือก ยังมีอีกหลายอย่างที่เรายีงสามารถทำได้ในฐานะที่เป็นมนุษย์คนหนึ่งที่อาศัยธรรมชาติร่วมกัน ด้วยการทำความเข้าใจธรรมชาติของนกเงือก ไม่ทำลายป่า ไม่รบกวนวิถีชีวิตของนกเงือก เพื่อช่วยกันรักษาสัตว์ป่าคุ้มครองชนิดนี้ให้ยังอยู่คู่กับเราต่อไปได้อีกนานๆ
สามารถส่งข้อมูลข่าวสารด้านการท่องเที่ยว-อาหารมาได้ที่ กอง บก.ข่าวท่องเที่ยว แฟกซ์ 0-2629-4467 อีเมล์ travel_astvmgr@hotmail.com หรือติดตามเพิ่มเติมได้ที่ Facebook :Travel @ Manager
“นกเงือก” เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองของไทย ปัจจุบันในประเทศไทยพบทั้งหมด 13 สายพันธุ์ จากทั้งหมดกว่า 55 สายพันธุ์ทั่วโลก นิสัยที่เป็นจุดเด่นของนกเงือกก็คือ เป็นนกผัวเดียวเมียเดียว จะอยู่กับคู่ของตัวเองไปจนกว่าจะตายจากกัน
นอกจากนี้ นกเงือกยังถือเป็นดัชนีชี้วัดความอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติได้ด้วย เพราะนกเงือกอาศัยอยู่ในป่าหรือพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์เท่านั้น เนื่องจากนกเงือกเป็นนกขนาดใหญ่ถึงใหญ่มาก กินทั้งผลไม้และสัตว์เป็นอาหาร อีกทั้งธรรมชาติในการหากินต้องอาศัยพื้นที่ป่าที่กว้าง และยังเป็นตัวแพร่กระจายพันธุ์พืชชนิดต่างๆ ในป่าได้อย่างดี เนื่องจากเป็นนกที่กินผลไม้หลากหลาย และทิ้งเมล็ดไว้ตามที่ต่างๆ นั่นเอง
และด้วยธรรมชาติที่ยังอุดมสมบูรณ์ของ “เกาะยาวน้อย” อ.เกาะยาว จ.พังงา ก็ทำให้เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของนกเงือก โดยนกเงือกที่อาศัยอยู่บนเกาะคือ “นกแก๊ก” (หรือ นกแกง) เป็นนกที่มีขนาดเล็กที่สุดในตระกูลนกเงือก และถือว่าเป็นเพียงเกาะเดียวที่มีนกเงือกอาศัยอยู่ร่วมกับคนในชุมชน ซึ่งชาวบ้านบนเกาะก็นับว่านกเงือกนั้นเป็นสมาชิกส่วนหนึ่งของชุมชน จึงเป็นเรื่องปกติที่จะเห็นว่านกเงือกออกมากินผลไม้ในบ้านของชาวบ้าน
ภราดร บุตรละคร กลุ่มชุมชนคนรักนกเงือกเกาะยาวน้อย เพจเรารักษ์เกาะยาว กล่าวว่า บนเกาะยาวยังมีนกเงือกฝูงสุดท้ายอาศัยอยู่ จากเดิมที่เกาะใกล้เคียงกันก็มีนกเงือกอยู่บ้าง แต่ปัจจุบันนี้เหลือเพียงที่เกาะยาวเท่านั้น จึงมีความเป็นห่วงว่านกเงือกบนเกาะจะหายไป เนื่องจากสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไป มีคนเข้ามาอาศัยอยู่มากขึ้น มีรีสอร์ท ที่พัก และนักท่องเที่ยวเพิ่มมากขึ้น เกรงว่าจะเกิดผลกระทบกับนกเงือก
จากข้อกังวลในจุดนี้จึงได้เชิญอาจารย์จากคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เข้ามาสำรวจและวิจัย พบว่า ถิ่นที่อยู่ของนกเงือกยังอุดมสมบูรณ์ดีอยู่ มีอาหารเพียงพอ มีผลไม้หลากหลาย แต่ปัญหาที่ที่น่าตกใจคือ การขโมยลูกนกเงือกไปขาย ลูกนกเงือกตัวหนึ่งขายในราคาประมาณ 4,000-5,000 บาท โดยจะล้วงเอาลูกนกเงือกตัวเล็กๆ ออกจากโพรงไปเลย อีกปัญหาคือนกเงือกขาดโพรงรังสำหรับการแพร่พันธุ์ เนื่องจากนกเงือกเป็นสัตว์ที่เจาะโพรงเองไม่เป็น ต้องอาศัยโพรงที่มีอยู่ตามธรรมชาติ โพรงนั้นต้องเป็นโพรงขนาดใหญ่เพราะนกเงือกตัวใหญ่ ต้นไม้ที่มีโพรงใหญ่ก็มีน้อยมาก บางครั้งนกเงือกต้องมาอาศัยไหเล็กๆ เข้าไปอยู่หรือบางครั้งต้องอาศัยโพรงหิน บางครั้งก็ไม่ได้ขยายพันธุ์ไปเลย
“ปัญหาสองอย่างนี้ก็ได้รับการแก้ไข ปัญหาเรื่องขโมยเราก็ได้ใช้สมาชิกในชุมชนทั้งหมด โดยเฉพาะอาสาสมัครช่วยเป็นหูเป็นตาดูแลว่ามีการขโมยลูกนกหรือไม่ เวลาถูกขโมยลูกนกจะร้องเสียงดังมากๆ คนที่เฝ้าระวังอยู่ก็จะรู้ ปัญหาขโมยลูกนกก็แก้ไขได้ภายในปีเดียว อย่างปีนี้ปัญหาการขโมยลูกนกไม่มีแล้ว”
“ส่วนปัญหาโพรงรังเทียมก็มีการวิจัยว่าเราจะทำยังไง ไปดูที่เขาใหญ่เขาจะใช้ถังไวน์ใหญ่ๆ ซึ่งหนักมากและลูกใหญ่ ทาง ม.มหิดล จึงออกแบบเป็นโพรงรังเทียมขึ้นมา ขนาด 50x50x100 ซม. จากการลองผิดลองถูกมาหลายครั้ง ต้องทำให้เป็นแบบมาตรฐาน เพื่อให้นกสามารถใช้งานได้จริง ต้องทำรูเข้าขนาดพอเหมาะ ใส่ดินเข้าไปด้านใน จนเสมอปากโพรงด้านล่าง ดินตัวนี้ช่วยรักษาอุณหภูมิด้านใน และแม่นกก็จะเอาดินนี้มาผสมกับน้ำลายแล้วเอามาปิดปากโพรงได้ด้วย และต้องมีที่ให้พ่อนกเกาะด้านข้างสำหรับเวลามาป้อนอาหารด้วย”
โดยโครงการสร้างโพรงรังเทียมให้นกเงือกที่นี่ทำมาเป็นปีที่ 3 แล้ว จากความร่วมมือของกลุ่มชุมชนคนรักนกเงือกเกาะยาวน้อย คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ชาวบ้านในพื้นที่ รวมถึงที่ โรงแรมเคป กูดู เกาะยาวน้อย ที่ร่วมจัดกิจกรรมสร้างบ้านให้นกเงือก โดยสร้างโพรงรังเทียมตลอดทั้งปีเพื่อเตรียมไว้สำหรับฤดูกาลผสมพันธุ์ซึ่งจะเริ่มในช่วงเดือนมกราคมของทุกปี
สำหรับวงจรชีวิตของนกเงือก เริ่มจากประมาณเดือนกุมภาพันธ์ แม่นกจะเข้าไปอยู่ในโพรงพร้อมกับลูก ตัวผู้จะออกไปหาอาหารข้างนอกมาป้อน แม่นกจะปลดปีกและหางเพื่อเข้าไปอยู่ด้านในกับลูก พอลูกนกอายุได้ราวๆ 2 เดือน แม่นกก็จะเริ่มฝึกให้บินอยู่ในโพรง จนถึงเดือนพฤษภาคม ลูกนกก็จะออกจากโพรง ช่วงเดือนพฤษภาคม-สิงหาคม แม่นกจะพาลูกนกไปหลบอยู่ในป่า เพื่อที่จะสอนบินและฝึกให้แข็งแรง ราวเดือนสิงหาคม-ตุลาคม พ่อ แม่ และลูกนกก็จะออกมาหากินตามปกติ จะสามารถเห็นนกเงือกอยู่ทั่วไป ประมาณพฤศจิกายน-มกราคม นกเงือกจะเริ่มจับคู่ ถ้าใครอยากมาเห็นความสวยงามของนกเงือกต้องมาช่วงเดือนนี้ เพราะจะมีการช่วยไซร้ขนกัน ป้อนอาหารให้กัน จะจับกันเป็นคู่ ราวเดือนกุมภาพันธ์ แม่นกพร้อมลูกนกรุ่นใหม่ก็จะเข้าไปอยู่ในโพรง ซึ่งในแต่ละปี แม่นกจะออกลูกประมาณ 2-3 ตัว ขึ้นอยู่กับความอุดมสมบูรณ์ของอาหารในแต่ละปี ส่วนอาหารที่พ่อนกหามาให้จะมีทั้งผลไม้และสัตว์ขนาดเล็ก
ส่วนการอนุรักษ์นกเงือกบนเกาะยาวน้อย ภราดร เล่าว่า ในเกาะยาวตอนนี้ทุกคนตื่นตัวกันมากที่จะรักษานกเงือก ทางกลุ่มได้ชี้ให้เห็นว่าถ้าสักวันนกเงือกหายไปก็จะเสียดาย ตอนนี้พยายามใช้สถานที่เกาะยาวช่วยกันสร้างโพรงรังเทียม และช่วยเป็นหูเป็นตา ไม่ว่าจะเรื่องขโมยลูกนก หรือลูกนกตกจากโพรง ชาวบ้านก็จะแจ้งมาทางกลุ่ม นกเงือกบาดเจ็บก็จะแจ้งมา ช่วยกันเป็นหูเป็นตา
“ตอนนี้กำลังนำประเด็นนกเงือกให้เป็นประเด็นท่องเที่ยว ช่วยสร้างรายได้ นกเงือกเป็นสัตว์คุ้มครองไม่สามารถครอบครองหรือเลี้ยงได้ แต่ตอนนี้ก็พยายามจะสร้างรายได้จากตรงนี้ การอนุรักษ์ก็คือการเก็บรักษาไว้ ใช้อย่างฉลาดและยั่งยืน อย่างแรกที่ทำคืออบรมชาวบ้าน สถานประกอบการ และนักเรียน ให้รู้ว่านกเงือกเป็นยังไง แล้วพอถึงช่วง ก.พ.-พ.ค. ก็จะมีกิจกรรมพานักท่องเที่ยวไปดูนก เฝ้าดูตัวผู้มาป้อนอาหารให้ตัวเมียที่โพรง สอนวิธีทำซุ้มนั่งดูนก เวลาไปเฝ้าดูนกจะได้ไม่ตกใจ สอนมารยาทในการดูนก อีกอย่างที่ทำคือให้ชาวบ้านช่วยกันเพาะต้นไม้ที่เป็นอาหารของนกเงือก เพาะใส่ถุงไว้ ให้ขายกับนักท่องเที่ยวที่มาดู ให้ช่วยปลูกต้นไม้ให้นกเงือก ซึ่งตอนนี้ทำการสำรวจประชากรนกเงือก พบว่ามีอยู่ประมาณ 200 คู่ และคาดว่าจะเพิ่มขึ้น”
กิจกรรมการสร้างโพรงรังให้เป็นบ้านของนกเงือกบนเกาะยาวน้อย เป็นเพียงส่วนหนึ่งที่ช่วยอนุรักษ์ให้นกเงือก ยังมีอีกหลายอย่างที่เรายีงสามารถทำได้ในฐานะที่เป็นมนุษย์คนหนึ่งที่อาศัยธรรมชาติร่วมกัน ด้วยการทำความเข้าใจธรรมชาติของนกเงือก ไม่ทำลายป่า ไม่รบกวนวิถีชีวิตของนกเงือก เพื่อช่วยกันรักษาสัตว์ป่าคุ้มครองชนิดนี้ให้ยังอยู่คู่กับเราต่อไปได้อีกนานๆ
สามารถส่งข้อมูลข่าวสารด้านการท่องเที่ยว-อาหารมาได้ที่ กอง บก.ข่าวท่องเที่ยว แฟกซ์ 0-2629-4467 อีเมล์ travel_astvmgr@hotmail.com หรือติดตามเพิ่มเติมได้ที่ Facebook :Travel @ Manager