Facebook :Travel @ Manager

“บ้านทรายขาว” เป็นชุมชนท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม มีพื้นที่ติดกับอุทยานแห่งชาติน้ำตกทรายขาว นักท่องเที่ยวที่มาเยือนจะได้สัมผัสวิถีชุมชน 2 วัฒนธรรม ระหว่างชาวไทยพุทธ และมุสลิม เพลิดเพลินกับบรรยากาศธรรมชาติที่บริสุทธิ์ และสวนผลไม้นานาชนิด
“บ้านทรายขาว” ตั้งอยู่ที่ ต.ทรายขาว อ.โคกโพธิ์ จ.ปัตตานี และชุมชนบ้านทรายขาวแห่งนี้ เป็น 1 ใน 12 ชุมชนต้นแบบ ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่ทางองค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) หรือ อพท. ร่วมกับ มหาวิทยาลัยราชภัฎสงขลา ได้ดำเนินงานวิจัยด้านการพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวของชุมชนต้นแบบ
เมื่อเราเดินทางมาถึงยังชุมชน “บ้านทรายขาว” จากนั้นก็ติดต่อกับประธานชุมชนท่องเที่ยวบ้านทรายขาว เพื่อใช้บริการรถจี๊ปนำเที่ยว ซึ่งเป็นรถจี๊ปโบราณในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 มีอายุประมาณ 80 ปี มาปรับโฉมใหม่เพื่อให้บริการนักท่องเที่ยว พร้อมสัมผัสบรรยากาศอันร่มรื่นและเงียบสงบ ชมวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของคนในชุมชนรวมถึงแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจ

เมื่อล้อรถจี๊ปโบราณหมุนเคลื่อนตัวออกจากชุมชน สถานที่แรกที่พาไปชมก็คือ จุดชมวิวเขารังเกียบ เป็นทางถนนดินคดเคี้ยวสูงชัน(ต้องใช้รถโฟร์วีล หรือรถจี๊บสมรรถนะสูงของชาวบ้านในพื้นที่) บริเวณด้านบนจุดชมวิวเป็นที่ประดิษฐานของ พระพุทธมหามุนินทโลกนาถ เป็นพระพุทธรูปปางยมกปาฏิหาริย์ ซึ่งมีความหมาย พระพุทธเจ้าทรงเป็นจอมผู้รู้ที่ยิ่งใหญ่ ทรงเป็นที่พึ่งของชาวโลก พระพุทธรูปองค์นี้มีขนาดสูง 29.80 เมตร ประดิษฐานบนเทือกเขาสันกาลาคีรี (เขารังเกียบหรือจุดชมวิวเขาหินช้าง อุทยานแหงชาติน้ำตกทรายขาว ) เมื่อมองขึ้นไปจากเบื้องล่างจะเห็นองค์พระพุทธรูปสีเหลืองทองตั้งเด่นอยู่บนยอดเขาดูสวยงามอร่ามตา

บริเวณลานฐานองค์พระพุทธรูปเป็นจุดชมวิวชั้นดี ที่ฝั่งด้านหน้าองค์พระพุทธรูปเมื่อมองลงไปจะเห็นวิวทิวทัศน์ของ อ.โคกโพธิ์ ไล่ยาวไปจนถึงบริเวณอ่าวปัตตานี ส่วนที่บริเวณด้านหลัง(ข้างๆ)องค์พระพุทธรูปเมื่อมองลงไปจะเห็นวิวทิวทัศน์ของ อ.สะบ้าย้อย จ.สงขลา ได้อย่างชัดเจน

ส่วนถัดลงมาจากลานองค์พระพุทธมหามุนินทโลกนาถทางด้านล่างเล็กน้อยจะเป็น “ศาลทวดเขารังเกียบ” อีกหนึ่งสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวบ้านในพื้นที่ให้ความเคารพนับถือ
เมื่อชมวิวด้านบนชมวิวเขารังเกียบแล้ว ขณะที่กำลังลงจากเขาคนขับรถจี๊ปนำเที่ยว ได้จอดรถแวะริมทางเพื่อพาไปชมผาพญางูหรือหินพญางู มีลักษณะเป็นหน้าผารูปร่างประหลาดแปลกตา ดูคล้ายหัวงูขนาดยักษ์ยื่นโผล่ออกมาจากหน้า ซึ่งชาวบ้านในพื้นที่เชื่อว่าเป็นพญางูใจดีที่จะคอยคุ้มครองปกปักรักษาชาวบ้านและนักท่องเที่ยว ให้รอดพ้นจากภยันอันตรายทั้งปวง
ผาพญางู เป็นก้อนหินผาขนาดใหญ่ มีความสูงราวตึก 3-4 ชั้น มีรูปลักษณะคล้ายกับหัวงูขนาดยักษ์ โผล่พ้นออกมาจากหน้าผา ชาวบ้านในพื้นที่ละแวกนั้น มีความเชื่อกันว่านี่คือพญางูใจดีที่จะคอยคุ้มครองปกปักรักษาชาวบ้านและนักท่องเที่ยว ให้แคล้วคลาดพ้นภัยจากภยันอันตรายทั้งปวง

สำหรับ “อุทยานแห่งชาติน้ำตกทรายขาว” เป็นอุทยานแห่งชาติที่ครอบคลุมพื้นที่รอยต่อ 3 จังหวัดภาคใต้ตอนล่าง ทั้ง จ.ปัตตานี ยะลา และ จ.สงขลา มีพื้นที่ประมาณ 68,750 ไร่ และสภาพพื้นที่เป็นป่าดิบชื้น จึงอุดมไปด้วยพันธุ์ไม้นานาชนิด ก่อให้เกิดน้ำตกที่สวยงาม อย่างเช่น น้ำตกทรายขาว

“น้ำตกทรายขาว” เดิมชาวบ้านเรียกว่า น้ำตกตะโกน เป็นน้ำตกที่กระโจนลงจากหน้าผาสูงประมาณ 40 เมตร ก่อนหลากไหลลงไปตามลำธาร ลดหลั่นกันไปเป็นชั้นๆ ทำให้เกิดเป็นแอ่งน้ำขนาดใหญ่ ดูสวยงาม และเป็นที่เล่นน้ำคลายร้อนของนักท่องเที่ยว

จากนั้นมาที่ “มัสยิดบาโงยลางา” ตั้งอยู่ที่ หมู่ 4 ต.ทรายขาว อ.โคกโพธิ์ จ.ปัตตานี เป็นศาสนสถานที่มีการก่อสร้างแบบผสมผสานระหว่างสถาปัตยกรรมแบบไทย และสถาปัตยกรรมของมุสลิม ทำให้สถานที่แห่งนี้มีลักษณะคล้ายกับศาลาการเปรียญของไทย มีอายุราว 300 ปี ซึ่งมีการสันนิษฐานว่าสร้างในปี พ.ศ.2177 ในสมัยของราชินีราตูอูงูบิน สุลต่านมันซูร ซาห์ รัชกาลที่ 8 แห่งราชอาณาจักรปาตานีดารุสสลาม ครองราชย์ระหว่างปี พ.ศ.2167-2178

โดยมัสยิดแห่งนี้มีประวัติความเป็นมาว่า สมัยนั้นได้เกิดสงครามขึ้นระหว่างปาตานีดารุสสลามกับราชอาณาจักรกรุงศรีอยุธยา ในขณะนั้นพระเจ้าปราสาททองได้ส่งกองทัพกรุงศรีอยุธยาเข้าโจมตีปาตานีดารุสสลาม เกิดสงครามยืดเยื้อเป็นเวลาแรมปี สงครามนี้เองจึงเป็นที่มาของวีรกรรมอันกล้าหาญของโต๊ะหยางหญิงแห่งบ้าน บาโงยลางา โดยคำว่า บาโงย เป็นภาษามลายู หมายถึง ควนหรือเนิน ส่วนคำว่า ลางา แปลว่า การปะทะ สถานที่แห่งนี้ คือส่วนหนึ่งของสมรภูมิสงครามในครั้งนั้น
โต๊ะหยางหญิง เป็นผู้เก็บพระมหาคัมภีร์อัลกุรอานในช่วงสงคราม ซึ่งขณะกำลังหนีภัยสงครามนั้นโต๊ะหยางหญิงได้ตกลงไปในหุบเหวเป็นเวลาหลายวัน หลังสงครามสงบโต๊ะหยางหญิงได้รับความช่วยเหลือจากชาวบ้านให้ขึ้นจากเหว ซึ่งทุกคนต่างตะลึงเมื่อเห็นสิ่งที่โต๊ะหยางกอดแน่นอยู่กับอก คือพระมหาคัมภีร์อัลกุรอานเล่มนี้ถูกจารึกด้วยลายมือ ปกทำจากเปลือกต้นมะม่วงหิมพานต์ พระมหาคัมภีร์อัลกุรอานเล่มนี้ได้ประดิษฐานในมัสยิดแห่งนี้มาจนถึงปัจจุบัน

จากนั้นชุมชนบ้านทรายขาวซึ่งตั้งอยู่เชิงเขาใหญ่สันกาลาคีรี ได้ร่วมกันสร้างสุเหร่าขึ้นภายหลังสงครามสงบ โดยขณะนั้นชาวบ้านทั้งมุสลิมและไทยพุทธ ได้ร่วมแรงร่วมใจในการก่อสร้างมัสยิดหลังนี้ โดยไม้ที่นำมาใช้ในการก่อสร้างคือไม้แคและไม้ตะเคียน ซึ่งชาวบ้านตัดมาจากป่าในเทือกเขาสันกาลาคีรี และใช้หวายมัดเป็นเชือกลากลงจากภูเขา ส่วนกระเบื้องที่ใช้มุงหลังคาทำมาจากอิฐแดง ต้นกำเนิดมาจากหมู่บ้านตาระบาตอ ต.กะมิยอ อ.เมือง จ.ปัตตานี
รูปแบบการก่อสร้างเป็นศิลปะการก่อสร้างตามแบบศิลปกรรม ที่สืบทอดมาจากสถาปัตยกรรมลังกาสุกะ ถือเป็นมัสยิดร่วมสมัยกับมัสยิดตะโละมาเนาะ อ.บาเจาะ จ.สราธิวาส และมัสยิดเอาห์ บ้านตันหยง ต.มะนังยง อ.ยะหริ่ง จ.ปัตตานี ศิลปะการก่อสร้างแบบมลายูชวา สร้างโดยชุมชนท้องถิ่น มัสยิดบาโงยลางา ทั้งหลังสร้างขึ้นโดยไม่ใช้ตะปู แต่ใช้ลิ่มไม้ นับเป็นภูมิปัญญาและความสมานสามัคคีของชาวชุมชนท้องถิ่น ที่ร่วมกันสร้างศาสนสถานอันงดงามล้ำค่าทางศิลปะแบบราชอาณาจักรลังกาสุกะ

หลังจากที่ไปชมมัสยิดเก่าแก่แล้ว จากนั้นก็ได้เวลามาเติมพลังให้ร่างกาย ด้วยอาหารมื้อกลางวันจากฝีมือของชาวบ้านชุมชนบ้านทรายขาว โดยแต่ละเมนูนั้นจะเป็นอาหารท้องถิ่นของที่นี่นั่นเอง นอกจากนี้มาล้างปากด้วยผลไม้ต่างๆ หลากหลายชนิด เพราะที่บ้านทรายขาวเป็นแหล่งขึ้นชื่อของผลไม้ที่มีรสชาติอร่อย นักท่องเที่ยวที่มาเยือนจะได้สัมผัสบรรยากาศสวนผลไม้และลิ้มลองรสชาติผลไม้ อาทิ เงาะ มังคุด และทุเรียน เป็นต้น โดยเฉพาะทุเรียนที่บ้านทรายขาวนั้นขึ้นชื่อในเรื่องความอร่อย ใครที่มาเยือนชุมชนนี้ในช่วงหน้าทุเรียน ไม่ควรพลาดด้วยประการทั้งปวง (จะมีเฉพาะฤดูกาล เริ่มตั้งแต่เดือนมิถุนายนไปจนถึงประมาณปลายเดือนสิงหาคม)



เมื่ออิ่มท้องกันแล้ว มาที่กลุ่มทอผ้าตำบลทรายขาว มาชมการทอผ้าลายจวนตานี ลายผ้าทอดั้งเดิมในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย ได้แก่ปัตตานียะลา นราธิวาส ที่มีเอกลักษณ์โดดเด่นของลวดลายอันสวยงาม มีสีสันระหว่างเชิงผ้าตัดกัน ที่สำคัญลายเชิงผ้าและตัวผ้า จะต้องแตกต่างกัน และแบบผ้าแบบดั้งเดิม จะต้องเป็นสีแดงเท่านั้น


จากนั้นปิดท้ายทริปด้วยการนั่งรถจี๊ปเดินทางไปยัง “วัดทรายขาว” เป็นวัดที่อยู่คู่ชุมชน สร้างขึ้นในปี พ.ศ 2300 ภายในวัดมีอุโบสถทรงกลมยอดแหลมประดับตกแต่งอย่างสวยงาม และมีเจดีย์พระครูธรรมกิจโกศล พ่อท่านนอง นอง ธมมภูโต อดีตเจ้าอาวาส ซึ่งเป็นพระเถระ ที่มีจริยวัตร งดงาม เปี่ยมด้วย พรหมวิหารธรรมมากด้วยบารมีและสมถะ


หากใครที่สนใจมาท่องเที่ยวชุมชนบ้านทราบขาว สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ได้ที่ นายชนินทร์ เศียรอินทร์ ประธานชุมชนท่องเที่ยวบ้านทรายขาว โทร.08-9737-9553 หรือเฟซบุค : ชุมชนท่องเที่ยวตำบลทรายขาวปัตตานี
สามารถส่งข้อมูลข่าวสารด้านการท่องเที่ยว-อาหารมาได้ที่ กอง บก.ข่าวท่องเที่ยว แฟกซ์ 0-2629-4467 อีเมล์ travel_astvmgr@hotmail.com หรือติดตามเพิ่มเติมได้ที่ Facebook :Travel @ Manager
“บ้านทรายขาว” เป็นชุมชนท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม มีพื้นที่ติดกับอุทยานแห่งชาติน้ำตกทรายขาว นักท่องเที่ยวที่มาเยือนจะได้สัมผัสวิถีชุมชน 2 วัฒนธรรม ระหว่างชาวไทยพุทธ และมุสลิม เพลิดเพลินกับบรรยากาศธรรมชาติที่บริสุทธิ์ และสวนผลไม้นานาชนิด
“บ้านทรายขาว” ตั้งอยู่ที่ ต.ทรายขาว อ.โคกโพธิ์ จ.ปัตตานี และชุมชนบ้านทรายขาวแห่งนี้ เป็น 1 ใน 12 ชุมชนต้นแบบ ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่ทางองค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) หรือ อพท. ร่วมกับ มหาวิทยาลัยราชภัฎสงขลา ได้ดำเนินงานวิจัยด้านการพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวของชุมชนต้นแบบ
เมื่อเราเดินทางมาถึงยังชุมชน “บ้านทรายขาว” จากนั้นก็ติดต่อกับประธานชุมชนท่องเที่ยวบ้านทรายขาว เพื่อใช้บริการรถจี๊ปนำเที่ยว ซึ่งเป็นรถจี๊ปโบราณในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 มีอายุประมาณ 80 ปี มาปรับโฉมใหม่เพื่อให้บริการนักท่องเที่ยว พร้อมสัมผัสบรรยากาศอันร่มรื่นและเงียบสงบ ชมวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของคนในชุมชนรวมถึงแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจ
เมื่อล้อรถจี๊ปโบราณหมุนเคลื่อนตัวออกจากชุมชน สถานที่แรกที่พาไปชมก็คือ จุดชมวิวเขารังเกียบ เป็นทางถนนดินคดเคี้ยวสูงชัน(ต้องใช้รถโฟร์วีล หรือรถจี๊บสมรรถนะสูงของชาวบ้านในพื้นที่) บริเวณด้านบนจุดชมวิวเป็นที่ประดิษฐานของ พระพุทธมหามุนินทโลกนาถ เป็นพระพุทธรูปปางยมกปาฏิหาริย์ ซึ่งมีความหมาย พระพุทธเจ้าทรงเป็นจอมผู้รู้ที่ยิ่งใหญ่ ทรงเป็นที่พึ่งของชาวโลก พระพุทธรูปองค์นี้มีขนาดสูง 29.80 เมตร ประดิษฐานบนเทือกเขาสันกาลาคีรี (เขารังเกียบหรือจุดชมวิวเขาหินช้าง อุทยานแหงชาติน้ำตกทรายขาว ) เมื่อมองขึ้นไปจากเบื้องล่างจะเห็นองค์พระพุทธรูปสีเหลืองทองตั้งเด่นอยู่บนยอดเขาดูสวยงามอร่ามตา
บริเวณลานฐานองค์พระพุทธรูปเป็นจุดชมวิวชั้นดี ที่ฝั่งด้านหน้าองค์พระพุทธรูปเมื่อมองลงไปจะเห็นวิวทิวทัศน์ของ อ.โคกโพธิ์ ไล่ยาวไปจนถึงบริเวณอ่าวปัตตานี ส่วนที่บริเวณด้านหลัง(ข้างๆ)องค์พระพุทธรูปเมื่อมองลงไปจะเห็นวิวทิวทัศน์ของ อ.สะบ้าย้อย จ.สงขลา ได้อย่างชัดเจน
ส่วนถัดลงมาจากลานองค์พระพุทธมหามุนินทโลกนาถทางด้านล่างเล็กน้อยจะเป็น “ศาลทวดเขารังเกียบ” อีกหนึ่งสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวบ้านในพื้นที่ให้ความเคารพนับถือ
เมื่อชมวิวด้านบนชมวิวเขารังเกียบแล้ว ขณะที่กำลังลงจากเขาคนขับรถจี๊ปนำเที่ยว ได้จอดรถแวะริมทางเพื่อพาไปชมผาพญางูหรือหินพญางู มีลักษณะเป็นหน้าผารูปร่างประหลาดแปลกตา ดูคล้ายหัวงูขนาดยักษ์ยื่นโผล่ออกมาจากหน้า ซึ่งชาวบ้านในพื้นที่เชื่อว่าเป็นพญางูใจดีที่จะคอยคุ้มครองปกปักรักษาชาวบ้านและนักท่องเที่ยว ให้รอดพ้นจากภยันอันตรายทั้งปวง
ผาพญางู เป็นก้อนหินผาขนาดใหญ่ มีความสูงราวตึก 3-4 ชั้น มีรูปลักษณะคล้ายกับหัวงูขนาดยักษ์ โผล่พ้นออกมาจากหน้าผา ชาวบ้านในพื้นที่ละแวกนั้น มีความเชื่อกันว่านี่คือพญางูใจดีที่จะคอยคุ้มครองปกปักรักษาชาวบ้านและนักท่องเที่ยว ให้แคล้วคลาดพ้นภัยจากภยันอันตรายทั้งปวง
สำหรับ “อุทยานแห่งชาติน้ำตกทรายขาว” เป็นอุทยานแห่งชาติที่ครอบคลุมพื้นที่รอยต่อ 3 จังหวัดภาคใต้ตอนล่าง ทั้ง จ.ปัตตานี ยะลา และ จ.สงขลา มีพื้นที่ประมาณ 68,750 ไร่ และสภาพพื้นที่เป็นป่าดิบชื้น จึงอุดมไปด้วยพันธุ์ไม้นานาชนิด ก่อให้เกิดน้ำตกที่สวยงาม อย่างเช่น น้ำตกทรายขาว
“น้ำตกทรายขาว” เดิมชาวบ้านเรียกว่า น้ำตกตะโกน เป็นน้ำตกที่กระโจนลงจากหน้าผาสูงประมาณ 40 เมตร ก่อนหลากไหลลงไปตามลำธาร ลดหลั่นกันไปเป็นชั้นๆ ทำให้เกิดเป็นแอ่งน้ำขนาดใหญ่ ดูสวยงาม และเป็นที่เล่นน้ำคลายร้อนของนักท่องเที่ยว
จากนั้นมาที่ “มัสยิดบาโงยลางา” ตั้งอยู่ที่ หมู่ 4 ต.ทรายขาว อ.โคกโพธิ์ จ.ปัตตานี เป็นศาสนสถานที่มีการก่อสร้างแบบผสมผสานระหว่างสถาปัตยกรรมแบบไทย และสถาปัตยกรรมของมุสลิม ทำให้สถานที่แห่งนี้มีลักษณะคล้ายกับศาลาการเปรียญของไทย มีอายุราว 300 ปี ซึ่งมีการสันนิษฐานว่าสร้างในปี พ.ศ.2177 ในสมัยของราชินีราตูอูงูบิน สุลต่านมันซูร ซาห์ รัชกาลที่ 8 แห่งราชอาณาจักรปาตานีดารุสสลาม ครองราชย์ระหว่างปี พ.ศ.2167-2178
โดยมัสยิดแห่งนี้มีประวัติความเป็นมาว่า สมัยนั้นได้เกิดสงครามขึ้นระหว่างปาตานีดารุสสลามกับราชอาณาจักรกรุงศรีอยุธยา ในขณะนั้นพระเจ้าปราสาททองได้ส่งกองทัพกรุงศรีอยุธยาเข้าโจมตีปาตานีดารุสสลาม เกิดสงครามยืดเยื้อเป็นเวลาแรมปี สงครามนี้เองจึงเป็นที่มาของวีรกรรมอันกล้าหาญของโต๊ะหยางหญิงแห่งบ้าน บาโงยลางา โดยคำว่า บาโงย เป็นภาษามลายู หมายถึง ควนหรือเนิน ส่วนคำว่า ลางา แปลว่า การปะทะ สถานที่แห่งนี้ คือส่วนหนึ่งของสมรภูมิสงครามในครั้งนั้น
โต๊ะหยางหญิง เป็นผู้เก็บพระมหาคัมภีร์อัลกุรอานในช่วงสงคราม ซึ่งขณะกำลังหนีภัยสงครามนั้นโต๊ะหยางหญิงได้ตกลงไปในหุบเหวเป็นเวลาหลายวัน หลังสงครามสงบโต๊ะหยางหญิงได้รับความช่วยเหลือจากชาวบ้านให้ขึ้นจากเหว ซึ่งทุกคนต่างตะลึงเมื่อเห็นสิ่งที่โต๊ะหยางกอดแน่นอยู่กับอก คือพระมหาคัมภีร์อัลกุรอานเล่มนี้ถูกจารึกด้วยลายมือ ปกทำจากเปลือกต้นมะม่วงหิมพานต์ พระมหาคัมภีร์อัลกุรอานเล่มนี้ได้ประดิษฐานในมัสยิดแห่งนี้มาจนถึงปัจจุบัน
จากนั้นชุมชนบ้านทรายขาวซึ่งตั้งอยู่เชิงเขาใหญ่สันกาลาคีรี ได้ร่วมกันสร้างสุเหร่าขึ้นภายหลังสงครามสงบ โดยขณะนั้นชาวบ้านทั้งมุสลิมและไทยพุทธ ได้ร่วมแรงร่วมใจในการก่อสร้างมัสยิดหลังนี้ โดยไม้ที่นำมาใช้ในการก่อสร้างคือไม้แคและไม้ตะเคียน ซึ่งชาวบ้านตัดมาจากป่าในเทือกเขาสันกาลาคีรี และใช้หวายมัดเป็นเชือกลากลงจากภูเขา ส่วนกระเบื้องที่ใช้มุงหลังคาทำมาจากอิฐแดง ต้นกำเนิดมาจากหมู่บ้านตาระบาตอ ต.กะมิยอ อ.เมือง จ.ปัตตานี
รูปแบบการก่อสร้างเป็นศิลปะการก่อสร้างตามแบบศิลปกรรม ที่สืบทอดมาจากสถาปัตยกรรมลังกาสุกะ ถือเป็นมัสยิดร่วมสมัยกับมัสยิดตะโละมาเนาะ อ.บาเจาะ จ.สราธิวาส และมัสยิดเอาห์ บ้านตันหยง ต.มะนังยง อ.ยะหริ่ง จ.ปัตตานี ศิลปะการก่อสร้างแบบมลายูชวา สร้างโดยชุมชนท้องถิ่น มัสยิดบาโงยลางา ทั้งหลังสร้างขึ้นโดยไม่ใช้ตะปู แต่ใช้ลิ่มไม้ นับเป็นภูมิปัญญาและความสมานสามัคคีของชาวชุมชนท้องถิ่น ที่ร่วมกันสร้างศาสนสถานอันงดงามล้ำค่าทางศิลปะแบบราชอาณาจักรลังกาสุกะ
หลังจากที่ไปชมมัสยิดเก่าแก่แล้ว จากนั้นก็ได้เวลามาเติมพลังให้ร่างกาย ด้วยอาหารมื้อกลางวันจากฝีมือของชาวบ้านชุมชนบ้านทรายขาว โดยแต่ละเมนูนั้นจะเป็นอาหารท้องถิ่นของที่นี่นั่นเอง นอกจากนี้มาล้างปากด้วยผลไม้ต่างๆ หลากหลายชนิด เพราะที่บ้านทรายขาวเป็นแหล่งขึ้นชื่อของผลไม้ที่มีรสชาติอร่อย นักท่องเที่ยวที่มาเยือนจะได้สัมผัสบรรยากาศสวนผลไม้และลิ้มลองรสชาติผลไม้ อาทิ เงาะ มังคุด และทุเรียน เป็นต้น โดยเฉพาะทุเรียนที่บ้านทรายขาวนั้นขึ้นชื่อในเรื่องความอร่อย ใครที่มาเยือนชุมชนนี้ในช่วงหน้าทุเรียน ไม่ควรพลาดด้วยประการทั้งปวง (จะมีเฉพาะฤดูกาล เริ่มตั้งแต่เดือนมิถุนายนไปจนถึงประมาณปลายเดือนสิงหาคม)
เมื่ออิ่มท้องกันแล้ว มาที่กลุ่มทอผ้าตำบลทรายขาว มาชมการทอผ้าลายจวนตานี ลายผ้าทอดั้งเดิมในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย ได้แก่ปัตตานียะลา นราธิวาส ที่มีเอกลักษณ์โดดเด่นของลวดลายอันสวยงาม มีสีสันระหว่างเชิงผ้าตัดกัน ที่สำคัญลายเชิงผ้าและตัวผ้า จะต้องแตกต่างกัน และแบบผ้าแบบดั้งเดิม จะต้องเป็นสีแดงเท่านั้น
จากนั้นปิดท้ายทริปด้วยการนั่งรถจี๊ปเดินทางไปยัง “วัดทรายขาว” เป็นวัดที่อยู่คู่ชุมชน สร้างขึ้นในปี พ.ศ 2300 ภายในวัดมีอุโบสถทรงกลมยอดแหลมประดับตกแต่งอย่างสวยงาม และมีเจดีย์พระครูธรรมกิจโกศล พ่อท่านนอง นอง ธมมภูโต อดีตเจ้าอาวาส ซึ่งเป็นพระเถระ ที่มีจริยวัตร งดงาม เปี่ยมด้วย พรหมวิหารธรรมมากด้วยบารมีและสมถะ
หากใครที่สนใจมาท่องเที่ยวชุมชนบ้านทราบขาว สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ได้ที่ นายชนินทร์ เศียรอินทร์ ประธานชุมชนท่องเที่ยวบ้านทรายขาว โทร.08-9737-9553 หรือเฟซบุค : ชุมชนท่องเที่ยวตำบลทรายขาวปัตตานี
สามารถส่งข้อมูลข่าวสารด้านการท่องเที่ยว-อาหารมาได้ที่ กอง บก.ข่าวท่องเที่ยว แฟกซ์ 0-2629-4467 อีเมล์ travel_astvmgr@hotmail.com หรือติดตามเพิ่มเติมได้ที่ Facebook :Travel @ Manager