Facebook :Travel @ Manager
ในช่วงนี้หลายคนกำลังให้ความสนใจกับ “5 สถานีรถไฟฟ้า” เปิดใหม่ ที่มีการตกแต่งอย่างสวยงามมีเอกลักษณ์หลากสไตล์ตามสภาพแวดล้อมในแต่ละสถานี ซึ่งนอกจากแต่ละสถานีจะมีความสวยงามแล้ว โดยรอบยังมีสถานที่ท่องเที่ยวมากมาย ทั้งแหล่งรวมของอร่อยที่ล้วนแล้วแต่เป็นแลนด์มาร์กสำคัญทั้งสิ้น และในตอนนี้ยังอยู่ในช่วงเปิดให้ทดลองนั่งฟรีอีกด้วย สายกินเที่ยวช้อปห้ามพลาดเด็ดขาด
แรกเริ่มขอแนะนำให้รู้จักกับ “รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน” สายเฉลิมรัชมงคล ส่วนต่อขยายหัวลำโพง-บางแค โครงการนี้เป็นสถานีในระบบใต้ดินที่อยู่ใจกลางพื้นที่อนุรักษ์เกาะกรุงรัตนโกสินทร์ เป็นส่วนต่อขยายของเส้นทางรถไฟฟ้าใต้ดินจากสถานีหัวลำโพง มาผ่านพื้นที่เมืองเก่าที่สถานีวัดมังกร สถานีสามยอด สถานีสนามไชย ก่อนลอดใต้แม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณปากคลองตลาด ไปยังฝั่งธนบุรีที่สถานีอิสรภาพ และยกระดับลอยฟ้าขึ้นสู่สถานีท่าพระนั่นเอง
ครั้งนี้ขอพามาตะลุยทั้ง 5 สถานีใหม่ และสิ่งน่าสนใจรอบๆ สถานี เริ่มที่
1. สถานีวัดมังกร
สถานีแรกที่เป็นส่วนต่อขยายมาจากสถานีหัวลำโพงก็คือ “สถานีวัดมังกร” ตั้งอยู่บริเวณ ถ.เจริญกรุง ตัดกับ ถ.พลับพลาไชย และ ถ.แปลงนามที่แยกแปลงนาม ภายในสถานีมีการตกแต่งให้มีความกลมกลืนกับสภาพแวดล้อมโดยรอบสถานีที่สะท้อนถึงชุมชนชาวจีนในย่านเยาวราช
สถานีนี้มีทั้งหมด 4 ชั้นด้วยกัน เริ่มจากชั้นระดับถนน ซึ่งมีทั้งหมด 3 ทางออกคือ ทางออก 1 ถนนแปลงนาม ทางออก 2 ซอยเจริญกรุง 16 (อิสรานุภาพ) และทางออก 3 วัดมังกรกมลาวาส ต่อที่ชั้นออกบัตรโดยสาร ชั้นชานชาลาบนที่ไปเตาปูน และชั้นชานชาลาล่างที่ไปหลักสอง โดยในแต่ละชั้นจะตกแต่งเน้นที่สีแดงเป็นหลัก และมีลวดลายจีน อย่างมังกร ตุ๊กตาจีน ตกแต่งอยู่ตามผนังและเสา
สำหรับแหล่งท่องเที่ยวที่ถือเป็นแลนด์มาร์กของสถานีวัดมังกรก็ต้องเป็น “วัดมังกรกมลาวาส” (วัดเล่งเน่ยยี่) สามารถเดินออกได้ที่ทางออก 3 หรือจะมาเดินออกที่ทางออก 1 เพื่อมาที่ “ถนนเยาวราช” แหล่งรวมของอร่อยทั้งในช่วงกลางวันและกลางคืน อย่างที่ร้าน “หลงโถว” คาเฟ่ชวนนั่งที่มีการตกแต่งที่มีเอกลักษณ์นั่นเอง
2. สถานีสามยอด
สถานีต่อมาคือ “สถานีสามยอด” ตั้งอยู่บริเวณ ถ.เจริญกรุงตัดกับ ถ.มหาไชยที่แยกสามยอด จนถึง ถ.เจริญกรุง ตัดกับ ถ.อุณากรรณและ ถ.บูรพา สถานีนี้ออกแบบเรียบง่ายแต่มีสไตล์ โดยภายในสถานีได้รับการตกแต่งสถาปัตยกรรมแบบย้อนยุคในสมัยรัชกาลที่ ๖ เพื่อให้กลมกลืนกับอาคารบ้านเรือนโดยรอบที่มีความเก่าคลาสิก
สถานีนี้มีทั้งหมด 3 ชั้นด้วยกัน เริ่มที่ชั้นระดับถนนและชั้นออกบัตรโดยสาร จะมีทั้งหมด 3 ทางออก คือ ทางออก 1 ถนนมหาไชย ทางออก 2 ถนนเจริญกรุง และทางออก 3 ถนนอุณากรรณ ชั้นต่อมาคือชั้นชานชาลาบนที่ไปเตาปูน และชั้นชานชาลาล่างที่ไปหลักสอง
ส่วนเมื่อมาลงที่สถานีสามารถออกมาเที่ยวชมสถาปัตยกรรมสวยๆ ย่านเมืองเก่าอย่าง “ศาลาเฉลิมกรุง” โรงมหรสพหลวงที่ปัจจุบันยังเปิดให้บริการอยู่ ข้างๆ กันนั้น ยังมีร้าน “ออน ล๊อก หยุ่น" ร้านมื้อเช้าสุดฮิตของวัยรุ่นสมัยก่อน หรือจะมาเดินดับร้อนที่ “ดิโอลด์สยาม พลาซ่า” ก็ได้เช่นกัน โดยใช้ทางออกที่ 2 และทางออกที่ 3
3. สถานีสนามไชย
อีกหนึ่งสถานีที่ขึ้นชื่อว่าสวยงามที่สุดของประเทศไทย ก็คือ “สถานีสนามไชย” ตั้งอยู่บริเวณ ถ.สนามไชยตัดกับ ถ.พระพิพิธจนถึง ถ.สนามไชยตัดกับ ถ.ราชินีบริเวณคลองคูเมืองเดิม ภายในสถานีตกแต่งด้วยสถาปัตยกรรมสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ออกแบบโดย รศ.ดร.ภิญโญ สุวรรณคีรี ศิลปินแห่งชาติผู้ชำนาญเรื่องสถาปัตยกรรมไทย บรรยากาศภายในเหมือนท้องพระโรงในสมัยรัตนโกสินทร์ พื้นและผนังจำลองมาจากกำแพงเมือง
สถานีนี้มีทั้งหมด 5 ทางออก ได้แก่ ทางออก 1 มิวเซียมสยาม ซึ่งมีความพิเศษอยู่ที่ทางขึ้นบันไดเลื่อนเป็นแบบ Outdoor (ไม่มีหลังคาคลุมด้านบน) ออกแบบด้วยวัสดุอย่างดีทนแดดทนฝน อยู่ภายในเขตของมิวเซียมสยาม ทางออก 2 โรงเรียนวัดราชบพิธ ทางออก 3 สถานีตำรวจนครบาล พระราชวัง ทางออก 4 ปากคลองตลาด และทางออก 5 ท่าเรือราชินี
แต่ละทางออกจะเชื่อมโยงแหล่งท่องเที่ยวที่เป็นแลนด์มาร์กสำคัญไว้มากมาย อย่างที่ทางออก 1 สามารถเดินทางต่อไปที่ “มิวเซียมสยาม” พิพิธภัณฑ์แหล่งการเรียนรู้ของกรุงเทพมหานคร นอกจากนั้นยังสามารถไปสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ “วัดพระศรีรัตนศาสดาราม” หรือที่เรียกกันคุ้นปากว่า “วัดพระแก้ว” และ “วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม” หรือ “วัดโพธิ์” ได้อีกด้วย
4. สถานีอิสรภาพ
ต่อที่ “สถานีอิสรภาพ” ตั้งอยู่บริเวณซอยอิสรภาพ 23 จนถึงซอยอิสรภาพ 34 เป็นสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินแห่งแรกของฝั่งธนบุรี ออกแบบโดยใช้ “หงส์” ซึ่งเป็นสัตว์ที่มีความเป็นสิริมงคล และเป็นตัวแทนเชิงสัญลักษณ์ในพื้นที่ คือ “วัดหงส์รัตนารามราชวรวิหาร” นั่นเอง
สถานีนี้มีทั้งหมด 2 ทางออก ได้แก่ ทางออก 1 ซอยอิสรภาพ 34 ซึ่งสามารถเดินทางไปที่ “วัดหงส์รัตนารามฯ” หรือจะเชื่อมการเดินทางไปที่สี่แยกบ้านแขกก็ได้ และทางออก 2 ซอยอิสรภาพ 23 ทางออกนี้จะสามารถเดินไปที่โรงพยาบาลศิริราชได้ หรือจะไปเดินเล่นที่ “ท่าน้ำวังหลัง” แหล่งกินช้อปของอร่อยย่านฝั่งธนฯ และเดินต่อไปอีกนิดก็จะถึง “วัดระฆังโฆษิตาวรวิหาร” วัดเก่าแก่ที่มีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา
5. สถานีท่าพระ
ปิดท้ายกันที่สถานีก็คือ “สถานีท่าพระ” เป็นสถานีที่ต่อมาจากสถานีอิสรภาพ โดยมีความพิเศษอยู่ที่รถไฟฟ้าใต้ดินที่วิ่งมาจากสถานีอิสรภาพ จะวิ่งตามรางยกระดับขึ้นสู่สถานีท่าพระต่อไปจนถึงสถานีหลักสอง พูดง่ายๆ ก็คือจากใต้ดิน (MRT) วิ่งทะยานขึ้นสู่ฟ้า (BTS) นั่นเอง
โดยสถานีท่าพระจะตั้งอยู่บริเวณแยกท่าพระ บริเวณจุดตัดระหว่าง ถ.จรัญสนิทวงศ์ ถ.เพชรเกษม และ ถ.รัชดาภิเษกฝั่งใต้ ซึ่งหากลงที่สถานีท่าพระนี้ก็จะสามารถเชื่อมต่อไปยังวงเวียนใหญ่ ตลาดพลู ห้างสรรพสินค้าเดอะมอลล์ท่าพระ ตลาดท่าพระ และที่ทางออก 3 ยังมีรถ Shuttle Bus รับส่งไปที่ห้างสรรพสินค้าซีคอนบางแค ในช่วงเวลา 10.00-16.00 น. อีกด้วย
หากใครสนใจไปเก็บภาพสวยๆ ภายในสถานี หรืออยากไปลองทดลองใช้บริการในเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินที่เปิดใหม่นี้ สามารถไปใช้บริการได้ฟรีในช่วงสถานีวัดมังกร-สถานีท่าพระ ตั้งแต่วันนี้ไปจนถึงวันที่ 28 ก.ย. 62 ทุกวัน เวลา 07.00-21.00 น. และในวันที่ 24 ส.ค. 62 เป็นต้นไป จะเปิดให้ทดลองใช้บริการฟรีตั้งแต่สถานีวัดมังกร-สถานีบางหว้า ทุกวัน เวลา 07.00-21.00 น. สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์บริการข้อมูลรถไฟฟ้าใต้ดิน 0-2624-5200
สามารถส่งข้อมูลข่าวสารด้านการท่องเที่ยว-อาหารมาได้ที่ กอง บก.ข่าวท่องเที่ยว แฟกซ์ 0-2629-4467 อีเมล์ travel_astvmgr@hotmail.com หรือติดตามเพิ่มเติมได้ที่ Facebook :Travel @ Manager
ในช่วงนี้หลายคนกำลังให้ความสนใจกับ “5 สถานีรถไฟฟ้า” เปิดใหม่ ที่มีการตกแต่งอย่างสวยงามมีเอกลักษณ์หลากสไตล์ตามสภาพแวดล้อมในแต่ละสถานี ซึ่งนอกจากแต่ละสถานีจะมีความสวยงามแล้ว โดยรอบยังมีสถานที่ท่องเที่ยวมากมาย ทั้งแหล่งรวมของอร่อยที่ล้วนแล้วแต่เป็นแลนด์มาร์กสำคัญทั้งสิ้น และในตอนนี้ยังอยู่ในช่วงเปิดให้ทดลองนั่งฟรีอีกด้วย สายกินเที่ยวช้อปห้ามพลาดเด็ดขาด
แรกเริ่มขอแนะนำให้รู้จักกับ “รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน” สายเฉลิมรัชมงคล ส่วนต่อขยายหัวลำโพง-บางแค โครงการนี้เป็นสถานีในระบบใต้ดินที่อยู่ใจกลางพื้นที่อนุรักษ์เกาะกรุงรัตนโกสินทร์ เป็นส่วนต่อขยายของเส้นทางรถไฟฟ้าใต้ดินจากสถานีหัวลำโพง มาผ่านพื้นที่เมืองเก่าที่สถานีวัดมังกร สถานีสามยอด สถานีสนามไชย ก่อนลอดใต้แม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณปากคลองตลาด ไปยังฝั่งธนบุรีที่สถานีอิสรภาพ และยกระดับลอยฟ้าขึ้นสู่สถานีท่าพระนั่นเอง
ครั้งนี้ขอพามาตะลุยทั้ง 5 สถานีใหม่ และสิ่งน่าสนใจรอบๆ สถานี เริ่มที่
1. สถานีวัดมังกร
สถานีแรกที่เป็นส่วนต่อขยายมาจากสถานีหัวลำโพงก็คือ “สถานีวัดมังกร” ตั้งอยู่บริเวณ ถ.เจริญกรุง ตัดกับ ถ.พลับพลาไชย และ ถ.แปลงนามที่แยกแปลงนาม ภายในสถานีมีการตกแต่งให้มีความกลมกลืนกับสภาพแวดล้อมโดยรอบสถานีที่สะท้อนถึงชุมชนชาวจีนในย่านเยาวราช
สถานีนี้มีทั้งหมด 4 ชั้นด้วยกัน เริ่มจากชั้นระดับถนน ซึ่งมีทั้งหมด 3 ทางออกคือ ทางออก 1 ถนนแปลงนาม ทางออก 2 ซอยเจริญกรุง 16 (อิสรานุภาพ) และทางออก 3 วัดมังกรกมลาวาส ต่อที่ชั้นออกบัตรโดยสาร ชั้นชานชาลาบนที่ไปเตาปูน และชั้นชานชาลาล่างที่ไปหลักสอง โดยในแต่ละชั้นจะตกแต่งเน้นที่สีแดงเป็นหลัก และมีลวดลายจีน อย่างมังกร ตุ๊กตาจีน ตกแต่งอยู่ตามผนังและเสา
สำหรับแหล่งท่องเที่ยวที่ถือเป็นแลนด์มาร์กของสถานีวัดมังกรก็ต้องเป็น “วัดมังกรกมลาวาส” (วัดเล่งเน่ยยี่) สามารถเดินออกได้ที่ทางออก 3 หรือจะมาเดินออกที่ทางออก 1 เพื่อมาที่ “ถนนเยาวราช” แหล่งรวมของอร่อยทั้งในช่วงกลางวันและกลางคืน อย่างที่ร้าน “หลงโถว” คาเฟ่ชวนนั่งที่มีการตกแต่งที่มีเอกลักษณ์นั่นเอง
2. สถานีสามยอด
สถานีต่อมาคือ “สถานีสามยอด” ตั้งอยู่บริเวณ ถ.เจริญกรุงตัดกับ ถ.มหาไชยที่แยกสามยอด จนถึง ถ.เจริญกรุง ตัดกับ ถ.อุณากรรณและ ถ.บูรพา สถานีนี้ออกแบบเรียบง่ายแต่มีสไตล์ โดยภายในสถานีได้รับการตกแต่งสถาปัตยกรรมแบบย้อนยุคในสมัยรัชกาลที่ ๖ เพื่อให้กลมกลืนกับอาคารบ้านเรือนโดยรอบที่มีความเก่าคลาสิก
สถานีนี้มีทั้งหมด 3 ชั้นด้วยกัน เริ่มที่ชั้นระดับถนนและชั้นออกบัตรโดยสาร จะมีทั้งหมด 3 ทางออก คือ ทางออก 1 ถนนมหาไชย ทางออก 2 ถนนเจริญกรุง และทางออก 3 ถนนอุณากรรณ ชั้นต่อมาคือชั้นชานชาลาบนที่ไปเตาปูน และชั้นชานชาลาล่างที่ไปหลักสอง
ส่วนเมื่อมาลงที่สถานีสามารถออกมาเที่ยวชมสถาปัตยกรรมสวยๆ ย่านเมืองเก่าอย่าง “ศาลาเฉลิมกรุง” โรงมหรสพหลวงที่ปัจจุบันยังเปิดให้บริการอยู่ ข้างๆ กันนั้น ยังมีร้าน “ออน ล๊อก หยุ่น" ร้านมื้อเช้าสุดฮิตของวัยรุ่นสมัยก่อน หรือจะมาเดินดับร้อนที่ “ดิโอลด์สยาม พลาซ่า” ก็ได้เช่นกัน โดยใช้ทางออกที่ 2 และทางออกที่ 3
3. สถานีสนามไชย
อีกหนึ่งสถานีที่ขึ้นชื่อว่าสวยงามที่สุดของประเทศไทย ก็คือ “สถานีสนามไชย” ตั้งอยู่บริเวณ ถ.สนามไชยตัดกับ ถ.พระพิพิธจนถึง ถ.สนามไชยตัดกับ ถ.ราชินีบริเวณคลองคูเมืองเดิม ภายในสถานีตกแต่งด้วยสถาปัตยกรรมสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ออกแบบโดย รศ.ดร.ภิญโญ สุวรรณคีรี ศิลปินแห่งชาติผู้ชำนาญเรื่องสถาปัตยกรรมไทย บรรยากาศภายในเหมือนท้องพระโรงในสมัยรัตนโกสินทร์ พื้นและผนังจำลองมาจากกำแพงเมือง
สถานีนี้มีทั้งหมด 5 ทางออก ได้แก่ ทางออก 1 มิวเซียมสยาม ซึ่งมีความพิเศษอยู่ที่ทางขึ้นบันไดเลื่อนเป็นแบบ Outdoor (ไม่มีหลังคาคลุมด้านบน) ออกแบบด้วยวัสดุอย่างดีทนแดดทนฝน อยู่ภายในเขตของมิวเซียมสยาม ทางออก 2 โรงเรียนวัดราชบพิธ ทางออก 3 สถานีตำรวจนครบาล พระราชวัง ทางออก 4 ปากคลองตลาด และทางออก 5 ท่าเรือราชินี
แต่ละทางออกจะเชื่อมโยงแหล่งท่องเที่ยวที่เป็นแลนด์มาร์กสำคัญไว้มากมาย อย่างที่ทางออก 1 สามารถเดินทางต่อไปที่ “มิวเซียมสยาม” พิพิธภัณฑ์แหล่งการเรียนรู้ของกรุงเทพมหานคร นอกจากนั้นยังสามารถไปสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ “วัดพระศรีรัตนศาสดาราม” หรือที่เรียกกันคุ้นปากว่า “วัดพระแก้ว” และ “วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม” หรือ “วัดโพธิ์” ได้อีกด้วย
4. สถานีอิสรภาพ
ต่อที่ “สถานีอิสรภาพ” ตั้งอยู่บริเวณซอยอิสรภาพ 23 จนถึงซอยอิสรภาพ 34 เป็นสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินแห่งแรกของฝั่งธนบุรี ออกแบบโดยใช้ “หงส์” ซึ่งเป็นสัตว์ที่มีความเป็นสิริมงคล และเป็นตัวแทนเชิงสัญลักษณ์ในพื้นที่ คือ “วัดหงส์รัตนารามราชวรวิหาร” นั่นเอง
สถานีนี้มีทั้งหมด 2 ทางออก ได้แก่ ทางออก 1 ซอยอิสรภาพ 34 ซึ่งสามารถเดินทางไปที่ “วัดหงส์รัตนารามฯ” หรือจะเชื่อมการเดินทางไปที่สี่แยกบ้านแขกก็ได้ และทางออก 2 ซอยอิสรภาพ 23 ทางออกนี้จะสามารถเดินไปที่โรงพยาบาลศิริราชได้ หรือจะไปเดินเล่นที่ “ท่าน้ำวังหลัง” แหล่งกินช้อปของอร่อยย่านฝั่งธนฯ และเดินต่อไปอีกนิดก็จะถึง “วัดระฆังโฆษิตาวรวิหาร” วัดเก่าแก่ที่มีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา
5. สถานีท่าพระ
ปิดท้ายกันที่สถานีก็คือ “สถานีท่าพระ” เป็นสถานีที่ต่อมาจากสถานีอิสรภาพ โดยมีความพิเศษอยู่ที่รถไฟฟ้าใต้ดินที่วิ่งมาจากสถานีอิสรภาพ จะวิ่งตามรางยกระดับขึ้นสู่สถานีท่าพระต่อไปจนถึงสถานีหลักสอง พูดง่ายๆ ก็คือจากใต้ดิน (MRT) วิ่งทะยานขึ้นสู่ฟ้า (BTS) นั่นเอง
โดยสถานีท่าพระจะตั้งอยู่บริเวณแยกท่าพระ บริเวณจุดตัดระหว่าง ถ.จรัญสนิทวงศ์ ถ.เพชรเกษม และ ถ.รัชดาภิเษกฝั่งใต้ ซึ่งหากลงที่สถานีท่าพระนี้ก็จะสามารถเชื่อมต่อไปยังวงเวียนใหญ่ ตลาดพลู ห้างสรรพสินค้าเดอะมอลล์ท่าพระ ตลาดท่าพระ และที่ทางออก 3 ยังมีรถ Shuttle Bus รับส่งไปที่ห้างสรรพสินค้าซีคอนบางแค ในช่วงเวลา 10.00-16.00 น. อีกด้วย
หากใครสนใจไปเก็บภาพสวยๆ ภายในสถานี หรืออยากไปลองทดลองใช้บริการในเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินที่เปิดใหม่นี้ สามารถไปใช้บริการได้ฟรีในช่วงสถานีวัดมังกร-สถานีท่าพระ ตั้งแต่วันนี้ไปจนถึงวันที่ 28 ก.ย. 62 ทุกวัน เวลา 07.00-21.00 น. และในวันที่ 24 ส.ค. 62 เป็นต้นไป จะเปิดให้ทดลองใช้บริการฟรีตั้งแต่สถานีวัดมังกร-สถานีบางหว้า ทุกวัน เวลา 07.00-21.00 น. สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์บริการข้อมูลรถไฟฟ้าใต้ดิน 0-2624-5200
สามารถส่งข้อมูลข่าวสารด้านการท่องเที่ยว-อาหารมาได้ที่ กอง บก.ข่าวท่องเที่ยว แฟกซ์ 0-2629-4467 อีเมล์ travel_astvmgr@hotmail.com หรือติดตามเพิ่มเติมได้ที่ Facebook :Travel @ Manager