โดย : ปิ่น บุตรี (pinn109@hotmail.com)
Facebook Travel Unlimited / เที่ยวถึงไหนถึงกัน

บรรยากาศของ “สถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าห้วยขาแข้ง” ในช่วงปลายฤดูฝนที่อวลไปด้วยความชุ่มฉ่ำเขียวขจีต้นไม้ใบหญ้าดูเขียวสดสบายตา พื้นดินฉ่ำแฉะไปด้วยน้ำฝนที่ยังคงตกลงมาอยู่เรื่อยๆ
หลังวสันตฤดูผ่านพ้นไป เข้าสู่ฤดูแล้ง ป่าเต็งรังในพื้นที่แห่งนี้ก็จะเริ่มผลัดใบ อากาศจะร้อนรุ่มขึ้น และมีกลิ่นควันไฟป่าเจือมาในอากาศ จากนั้นก็กลับเข้าฤดูฝนอีกครั้ง ธรรมชาติของที่นี่วนเวียนไปแบบนี้ตลอด
ภายในกรงสัตว์ใหญ่ของสถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าห้วยขาแข้ง ที่ปกติไม่เปิดให้คนภายนอกเข้าหากไม่ได้รับอนุญาต ที่นี่มีสิ่งชวนสะดุดตาจากรูปต่างตัวตน และสิ่งชวนสะดุดใจจากเรื่องราวการถือกำเนิด และเส้นทางชีวิตของมัน ซึ่งเป็นเรื่องจริงไม่อิงนิยายกับ “คลองค้อ” เสือกำพร้าผู้น่ารักแห่งห้วยขาแข้ง

กำเนิดคลองค้อ
คลองค้อ เป็นเสือโคร่งเพศผู้ที่เริ่มเข้าสู่วัยหนุ่ม มีอายุ 4 ปี ซึ่งเสือก็จะเหมือนแมว คือเสือธรรมชาติมีอายุราว 10-15 ปี ส่วนเสือเลี้ยงอาจมีอายุมากถึง 20 ปีเลยทีเดียว
คลองค้อเกิดในผืนป่าห้วยขาแข้งเมื่อเดือนมิถุนายน 2558 แม่ของมันชื่อ “รุ้งนภา” หลังคลองค้อเกิดได้ไม่กี่วัน แม่รุ้งนภาก็ละทิ้งมันไป ทิ้งให้มันต้องเผชิญโลกกลางผืนป่าห้วยขาแข้ง

เหตุที่แม่รุ้งนภาต้องทิ้งคลองค้อไปมีข้อมูลจากนักวิจัยที่ติดตามเรื่องนี้ระบุว่า ช่วงที่ทำการติดตามพฤติกรรมของเสือสาวรุ้งนภา (โดยการติดจีพีเอสเเซตเทิลไลท์คอลลาร์) พบว่าช่วงที่แม่รุ้งนภาท้อง ได้ไปใช้พื้นที่เดิมนานหลายวัน จึงมีติดตามเฝ้าดูอยู่ห่างๆ
กระทั่งเมื่อรุ้งนภาคลอดลูก หลังจากนั้นราวสิบวันมันก็ไม่ได้เข้าพิกัดโพรงรังของมันอีกเลย สิ่งนี้ทำให้นักวิจัยแปลกใจไม่น้อย แถมประกอบกับคอลลาร์ของแม่รุ้งนภาที่ติดไว้นั้นแบตเตอรี่หมดพอดี นักวิจัยจึงตัดสินใจเข้าไปตรวจสอบ พบว่าในโพรงรังมีลูกเสือของรุ้งนภาอยู่ 3 ตัวด้วยกัน

เสือตัวหนึ่งนั้นตายคาโพรง ส่วนอีก 2 ตัวอาการร่อแร่จากการขาดน้ำ ขาดอาหาร พวกเขาจึงรีบช่วยเหลือด้วยการนำลงมาส่งให้ที่สถานีเพาะเลี้ยงห้วยขาแข้งดูแลต่อ
แต่อนิจจา...ด้วยความที่ลูกเสืออีกตัวมีอาการหนักมาก ทำให้ไม่สามารถช่วยไว้ได้ทัน เหลือแต่เพียงคลองคอตัวเดียวโดด ๆ ที่รอดชีวิตมาได้อย่างหวุดหวิด
คลองค้อกับชีวิตใหม่
กรณีของแม่เสือรุ้งนภาถือว่าเลี้ยงลูกไม่ประสบความสำเร็จ ซึ่งอาจจะมีปัจจัยหลายอย่างที่ทำให้มันจำเป็นต้องทิ้งลูก เช่น มีเสือตัวเมียตัวอื่นมาแย่งอาณาเขตเเม่ หรือมีเสือตัวผู้มาแย่งอาณาเขตพ่อ ที่จะต้องฆ่าลูกของพ่อตัวเก่า เพื่อให้แม่เป็นสัด แล้วผสมพันธุ์กับพ่อใหม่

แต่ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใด คลองค้อก็เป็นเสือกำพร้าที่ถูกแม่ทิ้งตั้งแต่เยาว์วัย
อย่างไรก็ดี การนำคลองค้อมาเลี้ยงไว้ภายใต้การดูแลของสถานีเพาะเลี้ยงห้วยขาแข้งนั้น ถือเป็นการเริ่มชีวิตใหม่ของลูกเสือกำพร้าตัวนี้
เมื่อคลองค้อเจริญเติบโตขึ้นตามวัย มีสุขภาพแข็งแรง แม้มันจะแสดงพฤติกรรมตามสัญชาตญาณเสือโคร่งออกมาหลายอย่างด้วยกัน แต่กระนั้นคลองค้อ หรือที่เจ้าหน้าที่ที่สถานีเพาะเลี้ยงห้วยขาแข้งนิยมเรียกมันว่า “พี่ค้อ” ก็มีพฤติกรรมบางอย่างที่แตกต่างจากเสือป่าในธรรมชาติทั่วไป

สำหรับที่โดดเด่นที่สุดก็เห็นจะเป็นพฤติกรรมความคุ้นเคยและผูกพันกับคน โดยเฉพาะกับนาย “ตรศักดิ์ นิภานันท์” หัวหน้าสถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าห้วยขาแข้ง ที่เป็นคนคอยดูแลป้อนนม ป้อนน้ำ ป้อนอาหารคลองค้อมาตั้งแต่ยังเล็ก จนคลองค้อสนิทสนม เชื่อใจ และไว้ใจกับชายผู้นี้ที่เป็นดังพ่อบุญธรรมของมัน
นั่นจึงทำให้ภาพความผูกพันต่างสายพันธุ์ระหว่างคลองค้อกับนายตรศักดิ์ ไม่ว่าจะเป็นความเป็นเสือขี้เล่น ภาพการหยอกล้อ การแหย่ การกระโจนเข้ามาเล่นกับนายตรศักดิ์ หรือที่เรียกว่าคลองค้อบินได้ ถือเป็นภาพี่สร้างความประทับใจแก่ผู้พบเห็นหรือผู้ที่รับรู้ในเรื่องราวได้เป็นอย่างดี
นอกจากนี้ ภาพของคลองค้อเล่นสงกรานต์ด้วยการลงแช่น้ำในบ่อซีเมนต์คลายร้อนเมื่อช่วงสงกรานต์ปีที่แล้ว (2561) ถือเป็นอีกหนึ่งภาพจำอันน่ารักน่าเอ็นดูของพี่ค้อเสือหนุ่มแห่งห้วยขาแข้งตัวนี้

ด้วยความที่คลองค้อคุ้นเคยกับมนุษย์มาตั้งแต่เล็ก ทำให้เจ้าหน้าที่ที่ดูและและผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหลาย มีความเห็นว่า คลองค้อแม้จะมีสัญชาตญาณของเสือโคร่ง แต่ไม่มีสัญชาตญาณของสัตว์ป่าเพียงพอต่อการดำรงชีวิตในผืนป่าใหญ่
เนื่องเพราะเสือที่ถูกมนุษย์เลี้ยง โดยเฉพาะเสือที่ถูกแม่ทิ้งตั้งแต่คลอดออกมาไม่กี่วัน ชนิดที่แม่ของมันยังไม่ทันจะได้สอนทักษะอะไรอย่างคลองค้อ หากถูกนำหลับคืนสู่ผืนป่า นอกจากมันจะจับสัตว์หาอาหารเองไม่ได้แล้ว ยังอาจจะถูกเสือหนุ่มตัวอื่น ๆ ทำร้ายเอาได้ ดังนั้นความคิดที่จะปล่อยคลองค้อกลับคืนสู่ป่าจึงไม่มี

เรื่องนี้สอดรับกับเสือหลายตัวของที่สถานีเพาะเลี้ยงต่างๆ อย่างเช่น จากวัดหลวงตามหาบัว ที่ถูกนำไปเลี้ยงที่สถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าเขาประทับช้าง ก็จะถูกเลี้ยงไปจนสิ้นอายุขัย ไม่มีการปล่อยคืนเข้าป่าเพื่อให้ไปตายในป่าแต่อย่างใด
สำหรับคลองค้อ เสือกำพร้าผู้น่ารักแห่งห้วยขาแข้ง หรือเสือตัวอื่นๆ ที่อยู่ในความดูแลของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช การเลี้ยงดูพวกมันตามหลักวิชาการนั้นถือว่ามีค่าใช้จ่ายที่สูงมาก เพราะพวกมันเป็นสัตว์กินเนื้อ ทางกรมอุทยานแห่งชาติฯ ที่มีงบประมาณจำกัด จึงเปิดให้ผู้สนใจร่วมบริจาคเป็น “พ่อ-แม่อุปถัมภ์”ของคลองค้อหรือเสือตัวอื่นๆ (รวมถึงสัตว์อื่นๆ) ซึ่งนี่ถือเป็นอีกหนึ่งช่องทางในการช่วยเหลือเพื่อนร่วมโลก ที่แม้เราจะต่างสายพันธุ์กัน
...แต่เราล้วนต่างอยู่บนโลกใบเดียวกัน

....................................................................................................
ผู้สนใจอยากเป็นพ่อ-แม่อุปถัมภ์ หรืออยากช่วยเหลือสัตว์ที่สถานีเพาะเลี้ยงต่างๆ สามารถร่วมบริจาคได้ที่ โครงการพ่อแม่อุปถัมภ์สัตว์ป่า กรุงไทย 980-2-16537-9
สำหรับใครที่ต้องการสนับสนุนที่ไหน ก็ให้ส่งหลักฐานแจ้งไปยังสถานีที่เราต้องการ ทางเจ้าหน้าที่ก็จะนำหลักฐานนี้ไปเบิก อย่างเช่น ถ้าจะเป็นพ่อแม่อุปถัมภ์เสือคลองค้อ ก็ส่งหลักฐานการโอนมาทางข้อความ เพจสถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าห้วยขาแข้ง หรือส่งหลักฐานโอนไปยังกลุ่มงานเพาะเลี้ยงสัตว์ป่า แฟกซ์ 0-2579-9630 ระบุว่าบริจาคให้สถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าห้วยขาแข้ง เป็นต้น
....................................................................................................
หมายเหตุ : ภาพประกอบจากสถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าห้วยขาแข้ง/โครงการ Thailand Tiger Project)
....................................................................................................
สามารถส่งข้อมูลข่าวสารด้านการท่องเที่ยว-อาหารมาได้ที่ กอง บก.ข่าวท่องเที่ยว แฟกซ์ 0-2629-4467 อีเมล travel_astvmgr@hotmail.com หรือติดตามเพิ่มเติมได้ที่ Facebook :Travel @ Manager
Facebook Travel Unlimited / เที่ยวถึงไหนถึงกัน
บรรยากาศของ “สถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าห้วยขาแข้ง” ในช่วงปลายฤดูฝนที่อวลไปด้วยความชุ่มฉ่ำเขียวขจีต้นไม้ใบหญ้าดูเขียวสดสบายตา พื้นดินฉ่ำแฉะไปด้วยน้ำฝนที่ยังคงตกลงมาอยู่เรื่อยๆ
หลังวสันตฤดูผ่านพ้นไป เข้าสู่ฤดูแล้ง ป่าเต็งรังในพื้นที่แห่งนี้ก็จะเริ่มผลัดใบ อากาศจะร้อนรุ่มขึ้น และมีกลิ่นควันไฟป่าเจือมาในอากาศ จากนั้นก็กลับเข้าฤดูฝนอีกครั้ง ธรรมชาติของที่นี่วนเวียนไปแบบนี้ตลอด
ภายในกรงสัตว์ใหญ่ของสถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าห้วยขาแข้ง ที่ปกติไม่เปิดให้คนภายนอกเข้าหากไม่ได้รับอนุญาต ที่นี่มีสิ่งชวนสะดุดตาจากรูปต่างตัวตน และสิ่งชวนสะดุดใจจากเรื่องราวการถือกำเนิด และเส้นทางชีวิตของมัน ซึ่งเป็นเรื่องจริงไม่อิงนิยายกับ “คลองค้อ” เสือกำพร้าผู้น่ารักแห่งห้วยขาแข้ง
กำเนิดคลองค้อ
คลองค้อ เป็นเสือโคร่งเพศผู้ที่เริ่มเข้าสู่วัยหนุ่ม มีอายุ 4 ปี ซึ่งเสือก็จะเหมือนแมว คือเสือธรรมชาติมีอายุราว 10-15 ปี ส่วนเสือเลี้ยงอาจมีอายุมากถึง 20 ปีเลยทีเดียว
คลองค้อเกิดในผืนป่าห้วยขาแข้งเมื่อเดือนมิถุนายน 2558 แม่ของมันชื่อ “รุ้งนภา” หลังคลองค้อเกิดได้ไม่กี่วัน แม่รุ้งนภาก็ละทิ้งมันไป ทิ้งให้มันต้องเผชิญโลกกลางผืนป่าห้วยขาแข้ง
เหตุที่แม่รุ้งนภาต้องทิ้งคลองค้อไปมีข้อมูลจากนักวิจัยที่ติดตามเรื่องนี้ระบุว่า ช่วงที่ทำการติดตามพฤติกรรมของเสือสาวรุ้งนภา (โดยการติดจีพีเอสเเซตเทิลไลท์คอลลาร์) พบว่าช่วงที่แม่รุ้งนภาท้อง ได้ไปใช้พื้นที่เดิมนานหลายวัน จึงมีติดตามเฝ้าดูอยู่ห่างๆ
กระทั่งเมื่อรุ้งนภาคลอดลูก หลังจากนั้นราวสิบวันมันก็ไม่ได้เข้าพิกัดโพรงรังของมันอีกเลย สิ่งนี้ทำให้นักวิจัยแปลกใจไม่น้อย แถมประกอบกับคอลลาร์ของแม่รุ้งนภาที่ติดไว้นั้นแบตเตอรี่หมดพอดี นักวิจัยจึงตัดสินใจเข้าไปตรวจสอบ พบว่าในโพรงรังมีลูกเสือของรุ้งนภาอยู่ 3 ตัวด้วยกัน
เสือตัวหนึ่งนั้นตายคาโพรง ส่วนอีก 2 ตัวอาการร่อแร่จากการขาดน้ำ ขาดอาหาร พวกเขาจึงรีบช่วยเหลือด้วยการนำลงมาส่งให้ที่สถานีเพาะเลี้ยงห้วยขาแข้งดูแลต่อ
แต่อนิจจา...ด้วยความที่ลูกเสืออีกตัวมีอาการหนักมาก ทำให้ไม่สามารถช่วยไว้ได้ทัน เหลือแต่เพียงคลองคอตัวเดียวโดด ๆ ที่รอดชีวิตมาได้อย่างหวุดหวิด
คลองค้อกับชีวิตใหม่
กรณีของแม่เสือรุ้งนภาถือว่าเลี้ยงลูกไม่ประสบความสำเร็จ ซึ่งอาจจะมีปัจจัยหลายอย่างที่ทำให้มันจำเป็นต้องทิ้งลูก เช่น มีเสือตัวเมียตัวอื่นมาแย่งอาณาเขตเเม่ หรือมีเสือตัวผู้มาแย่งอาณาเขตพ่อ ที่จะต้องฆ่าลูกของพ่อตัวเก่า เพื่อให้แม่เป็นสัด แล้วผสมพันธุ์กับพ่อใหม่
แต่ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใด คลองค้อก็เป็นเสือกำพร้าที่ถูกแม่ทิ้งตั้งแต่เยาว์วัย
อย่างไรก็ดี การนำคลองค้อมาเลี้ยงไว้ภายใต้การดูแลของสถานีเพาะเลี้ยงห้วยขาแข้งนั้น ถือเป็นการเริ่มชีวิตใหม่ของลูกเสือกำพร้าตัวนี้
เมื่อคลองค้อเจริญเติบโตขึ้นตามวัย มีสุขภาพแข็งแรง แม้มันจะแสดงพฤติกรรมตามสัญชาตญาณเสือโคร่งออกมาหลายอย่างด้วยกัน แต่กระนั้นคลองค้อ หรือที่เจ้าหน้าที่ที่สถานีเพาะเลี้ยงห้วยขาแข้งนิยมเรียกมันว่า “พี่ค้อ” ก็มีพฤติกรรมบางอย่างที่แตกต่างจากเสือป่าในธรรมชาติทั่วไป
สำหรับที่โดดเด่นที่สุดก็เห็นจะเป็นพฤติกรรมความคุ้นเคยและผูกพันกับคน โดยเฉพาะกับนาย “ตรศักดิ์ นิภานันท์” หัวหน้าสถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าห้วยขาแข้ง ที่เป็นคนคอยดูแลป้อนนม ป้อนน้ำ ป้อนอาหารคลองค้อมาตั้งแต่ยังเล็ก จนคลองค้อสนิทสนม เชื่อใจ และไว้ใจกับชายผู้นี้ที่เป็นดังพ่อบุญธรรมของมัน
นั่นจึงทำให้ภาพความผูกพันต่างสายพันธุ์ระหว่างคลองค้อกับนายตรศักดิ์ ไม่ว่าจะเป็นความเป็นเสือขี้เล่น ภาพการหยอกล้อ การแหย่ การกระโจนเข้ามาเล่นกับนายตรศักดิ์ หรือที่เรียกว่าคลองค้อบินได้ ถือเป็นภาพี่สร้างความประทับใจแก่ผู้พบเห็นหรือผู้ที่รับรู้ในเรื่องราวได้เป็นอย่างดี
นอกจากนี้ ภาพของคลองค้อเล่นสงกรานต์ด้วยการลงแช่น้ำในบ่อซีเมนต์คลายร้อนเมื่อช่วงสงกรานต์ปีที่แล้ว (2561) ถือเป็นอีกหนึ่งภาพจำอันน่ารักน่าเอ็นดูของพี่ค้อเสือหนุ่มแห่งห้วยขาแข้งตัวนี้
ด้วยความที่คลองค้อคุ้นเคยกับมนุษย์มาตั้งแต่เล็ก ทำให้เจ้าหน้าที่ที่ดูและและผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหลาย มีความเห็นว่า คลองค้อแม้จะมีสัญชาตญาณของเสือโคร่ง แต่ไม่มีสัญชาตญาณของสัตว์ป่าเพียงพอต่อการดำรงชีวิตในผืนป่าใหญ่
เนื่องเพราะเสือที่ถูกมนุษย์เลี้ยง โดยเฉพาะเสือที่ถูกแม่ทิ้งตั้งแต่คลอดออกมาไม่กี่วัน ชนิดที่แม่ของมันยังไม่ทันจะได้สอนทักษะอะไรอย่างคลองค้อ หากถูกนำหลับคืนสู่ผืนป่า นอกจากมันจะจับสัตว์หาอาหารเองไม่ได้แล้ว ยังอาจจะถูกเสือหนุ่มตัวอื่น ๆ ทำร้ายเอาได้ ดังนั้นความคิดที่จะปล่อยคลองค้อกลับคืนสู่ป่าจึงไม่มี
เรื่องนี้สอดรับกับเสือหลายตัวของที่สถานีเพาะเลี้ยงต่างๆ อย่างเช่น จากวัดหลวงตามหาบัว ที่ถูกนำไปเลี้ยงที่สถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าเขาประทับช้าง ก็จะถูกเลี้ยงไปจนสิ้นอายุขัย ไม่มีการปล่อยคืนเข้าป่าเพื่อให้ไปตายในป่าแต่อย่างใด
สำหรับคลองค้อ เสือกำพร้าผู้น่ารักแห่งห้วยขาแข้ง หรือเสือตัวอื่นๆ ที่อยู่ในความดูแลของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช การเลี้ยงดูพวกมันตามหลักวิชาการนั้นถือว่ามีค่าใช้จ่ายที่สูงมาก เพราะพวกมันเป็นสัตว์กินเนื้อ ทางกรมอุทยานแห่งชาติฯ ที่มีงบประมาณจำกัด จึงเปิดให้ผู้สนใจร่วมบริจาคเป็น “พ่อ-แม่อุปถัมภ์”ของคลองค้อหรือเสือตัวอื่นๆ (รวมถึงสัตว์อื่นๆ) ซึ่งนี่ถือเป็นอีกหนึ่งช่องทางในการช่วยเหลือเพื่อนร่วมโลก ที่แม้เราจะต่างสายพันธุ์กัน
...แต่เราล้วนต่างอยู่บนโลกใบเดียวกัน
....................................................................................................
ผู้สนใจอยากเป็นพ่อ-แม่อุปถัมภ์ หรืออยากช่วยเหลือสัตว์ที่สถานีเพาะเลี้ยงต่างๆ สามารถร่วมบริจาคได้ที่ โครงการพ่อแม่อุปถัมภ์สัตว์ป่า กรุงไทย 980-2-16537-9
สำหรับใครที่ต้องการสนับสนุนที่ไหน ก็ให้ส่งหลักฐานแจ้งไปยังสถานีที่เราต้องการ ทางเจ้าหน้าที่ก็จะนำหลักฐานนี้ไปเบิก อย่างเช่น ถ้าจะเป็นพ่อแม่อุปถัมภ์เสือคลองค้อ ก็ส่งหลักฐานการโอนมาทางข้อความ เพจสถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าห้วยขาแข้ง หรือส่งหลักฐานโอนไปยังกลุ่มงานเพาะเลี้ยงสัตว์ป่า แฟกซ์ 0-2579-9630 ระบุว่าบริจาคให้สถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าห้วยขาแข้ง เป็นต้น
....................................................................................................
หมายเหตุ : ภาพประกอบจากสถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าห้วยขาแข้ง/โครงการ Thailand Tiger Project)
....................................................................................................
สามารถส่งข้อมูลข่าวสารด้านการท่องเที่ยว-อาหารมาได้ที่ กอง บก.ข่าวท่องเที่ยว แฟกซ์ 0-2629-4467 อีเมล travel_astvmgr@hotmail.com หรือติดตามเพิ่มเติมได้ที่ Facebook :Travel @ Manager