Facebook :Travel @ Manager

“สุคิริน” เป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัด“นราธิวาส” ที่มีพื้นที่ส่วนหนึ่งเป็นชายแดนติดกับประเทศเพื่อนบ้านคือมาเลเซีย ซึ่งที่นี่มีชุมชนท่องเที่ยวที่มีเอกลักษณ์และน่าสนใจไม่น้อย นั่นก็คือที่ ตำบล “ภูเขาทอง”
ตำบลภูเขาทองมีประวัติความเป็นมาบันทึกเอาไว้ว่า ในอดีต(จนถึงปัจจุบัน)ดินแดนแห่งนี้มีแร่ทองคำมาก ช่วงก่อนปี พ.ศ. 2474 ชาวฝรั่งเศสได้เข้ามารับสัมปทานทำเหมืองแร่ทองคำบริเวณภูเขาโต๊ะโมะในปัจจุบัน (เดิมเรียกภูเขาลีซอ) จึงมีราษฎรจากพื้นที่ต่างๆอพยพเข้ามาทำเหมืองเป็นจำนวนมาก ทางการจึงได้จัดตั้งกิ่งอำเภอปาโจขึ้นในปี พ.ศ. 2474 ที่บริเวณบ้านโต๊ะโมะในปัจจุบัน

ต่อมาได้เกิดสงครามเอเชียมหาบูรพาขึ้น ชาวฝรั่งเศสจึงอพยพสงครามกลับประเทศ รัฐบาลจึงได้ดำเนินการทำเหมืองต่ออีกประมาณปีกว่าๆก็เกิดเหตุการณ์ ฉ้อราษฎร์บังหลวง ปล้นสะดมทองคำ และเหตุการณ์ความไม่สงบ ทางการจึงได้ล้มเลิกกิจการเหมืองทองคำ ราษฎรที่อพยพมาจึงได้อพยพกลับถิ่นฐานเดิม ภายหลังจึงได้ยุบกิ่งอำเภอปาโจลง ในปี พ.ศ. 2484 จากนั้นในปี พ.ศ. 2506 รัฐบาลได้จัดตั้ง นิคมสร้างตนเองพัฒนาภาคใต้จังหวัดนราธิวาสขึ้น เพื่ออพยพราษฎรที่มีฐานะยากจน ไม่มีที่ดินทำกินจากถิ่นต่างๆ เข้ามาอยู่อาศัย
เดิมพื้นที่ตำบลภูเขาทอง(ในปัจจุบัน) ขึ้นอยู่กับตำบลมาโมง อำเภอแว้ง แต่เมื่อมีการจัดตั้งตำบลมาโมงเป็นกิ่งอำเภอสุคิริน ก็ได้จัดตั้งตำบลภูเขาทองขึ้นในปี พ.ศ. 2523
ปัจจุบันตำบลภูเขาทอง (มี 8 หมู่บ้าน) เป็นตำบลหนึ่งในอำเภอสุคิริน ประชากรชาวตำบลภูเขาทอง นอกจากชาวนราธิวาส ชาวใต้แล้ว ก็ยังมีราษฎรที่อพยพมาจากที่อื่นๆ โดยเฉพาะจากภาคอีสาน ซึ่งได้นำประเพณีวัฒนธรรมติดตัวมาด้วยโดยเฉพาะประเพณีบุญบั้งไฟที่มีการจัดขึ้นเพียงหนึ่งเดียวในภาคใต้ที่ อ.สุคิริน จ.นราธิวาส (จัดขึ้นประมาณวันเสาร์ที่ 2 ของเดือนมิถุนายน ของทุกปี)

สำหรับในปัจจุบันนี้ ตำบลภูเขาทองเปิดให้เป็นชุมชนท่องเที่ยว โดยมีชาวบ้านในชุมชนเป็นผู้นำเที่ยว มีกิจกรรมมากมายให้ทำ ไม่ว่าจะเป็นการทดลองร่อนทอง ล่องแก่งต้นน้ำสายบุรี ชมต้นกะพงยักษ์ ชิมเมนูอาหารท้องถิ่น แล้วก็ยังมีที่พักแบบโฮมสเตย์ไว้ให้บริการด้วย
ตำบลภูเขาทองได้ขึ้นชื่อว่าเป็นถิ่นของทองคำ อย่างที่มาของชื่อหมู่บ้านภูเขาทองก็มาจากตอนที่ชาวบ้านได้มาขุดหลุมวางเสาที่พักชั่วคราว แล้วเจอทองคำจึงได้ตั้งเป็นชื่อหมู่บ้านภูเขาทอง ซึ่งครั้งหนึ่งชาวฝรั่งเศสได้เข้ามาสัมปทานทำเหมืองแร่ทองคำตามที่กล่าวมาข้างต้น


ปัจจุบันบ้านภูเขาทองแม้จะยกเลิกสัมปทานไปแต่ความอุดมสมบูรณ์ของแร่ทองคำยังคงอยู่ ทุกวันนี้ชาวบ้านส่วนหนึ่งของที่นี่ยังคงไว้ซึ่งการร่อนแร่ทองคำในลำน้ำตามวิถีแห่งภูมิปัญญาพื้นบ้าน
การ “ร่อนทอง” ที่บ้านภูเขาทอง หลักๆ ก็จะเหมือนกับที่อื่นๆ คือจะมีการนำอุปกรณ์ร่อนทองที่ชาวบ้านที่นี่เรียกกันว่า “ชะเลียง” หรือ “เลียง” อุปกรณ์ร่อนทองรูปร่างคล้ายกระทะทำจากไม้หลุมพอ ไปยืนในตำแหน่งน้ำไหลที่น่าจะมีแร่ทองคำลงไปร่อนแร่ แล้วร่อนไปเป็นรอบๆ ไม่นานก็ได้ทองคำขึ้นมาให้รวบรวมนำไปขายได้แล้ว
สำหรับทองคำที่นี่เป็นทองคำบริสุทธิ์ เป็นหนึ่งในวิถีชีวิตที่ทำเป็นอาชีพเสริม โดยเมื่อเสร็จจากอาชีพหลักก็จะลงไปร่อนแร่หาทองคำกันในลำคลอง สนนราคาขายกันกรัมละพันกว่าบาท บางคนหาขายทองได้หลักร้อย หลักหลายร้อยต่อวัน บางคนโชคดีก็ขายได้วันละเป็นพัน นับเป็นรายได้เสริมที่รายได้ดีทีเดียว


ส่วนร่องรอยเหมืองทองที่ยังคงอยู่ที่ภูเขาทอง ก็ยังหลงเหลืออยู่ให้ชม โดยมี “เหมืองทองคำโต๊ะโมะ” ที่ยังคงสภาพใกล้เคียงของเดิม (ปัจจุบันไม่ได้เปิดให้เข้าชม) และ “อุโมงค์ลำเลียง” ที่เป็นอุโมงค์ใต้ภูเขา ใช้สำหรับขนส่งแร่และเครื่องมือต่างๆ เมื่อสมัยยังเปิดเหมืองทองคำ
อีกกิจกรรมที่น่าสนใจไม่น้อยก็คือ “ล่องแก่งภูเขาทอง” ซึ่งจะเป็นการล่องแก่งด้วยเรือคายักไปตามต้นน้ำสายบุรี ที่แวดล้อมไปด้วยภาพของวิถีชีวิตและธรรมชาติอันอุดมสมบูรณ์

กิจกรรมล่องแก่งภูเขาทองมีระยะทางประมาณ 7 กม. ใช้เวลาล่องแกงที่มีความแรงของสายน้ำในระดับ 1-2 ประมาณ 2 ชั่วโมง หรือหากใครมีเวลาน้อยกว่านี้ ก็สามารถแจ้งล่วงหน้า ให้เลือกเส้นทางที่สั้นกว่านี้ได้ โดยฤดูกาลที่เหมาะกับการล่องแก่งก็คือช่วงเดือนกันยายน-มกราคม
เมื่อล่องแก่งมาขึ้นบนฝั่งยังจุดหมายแล้ว ต่อจากนั้นก็จะให้นักท่องเที่ยวได้ไปดูวิถีการร่อนทองของชาวบ้าน ที่ในเส้นทางช่วงท้ายๆ ของการล่องแก่งจะเป็นแหล่งร่อนแร่หาทองของชาวบ้าน ซึ่งนักท่องเที่ยวสามารถไปร่วมทดลองร่อนหาทองกับชาวบ้านได้

อีกไฮไลต์ของตำบลภูเขาทองก็คือ “เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าฮาลา-บาลา” ผืนป่าอันอุดมสมบูรณ์ของภาคใต้ ที่ถือเป็นแหล่งนกเงือกที่สำคัญที่สุดของเมืองไทย โดยพบนกเงือกที่นี่ถึง 10 ชนิด จากจำนวน 13 ชนิดที่สำรวจพบในเมืองไทย
สำหรับผืนป่าบาลา-ฮาลา ใน ต.ภูเขาทอง อ.สุคิริน จ.นราธิวาส นอกจากจะมีความอุดมสมบูรณ์แล้ว ยังมีไฮไลท์สำคัญคือ “ต้นกะพงษ์ยักษ์” หรือ “ต้นสมพง” ขนาดใหญ่มาก อายุนับร้อยปี ที่มีขนาดลำต้นช่วงพูพอนใหญ่ถึงประมาณ 29-30 คนโอบ ตั้งอยู่ท่ามกลางธรรมชาติของผืนป่าใหญ่อันอุดมสมบูรณ์

หากมาเที่ยวที่ตำบลภูเขาทองแล้วอยากเข้าไปสัมผัสผืนป่าฮาลา-บาลา อย่างใกล้ชิด ก็มีการจัดเส้นทางเดินป่า 2 วัน 1 คืน และ 2 วัน 3 คืน โดยให้แจ้งทางชุมชนล่วงหน้า ทางชุมชนจะประสานงานเจ้าหน้าที่ และนำทางให้
จุดท่องเที่ยวในตำบลภูเขาทองยังไม่ได้หมดแค่เพียงเท่านี้ ยังมีอีกหลายแห่งที่ไม่ควรพลาดเป็นอย่างยิ่ง ได้แก่ ศาลเจ้าแม่โต๊ะโมะ สำนักสงฆ์พระธาตุภูเขาทอง จุดแสนไลค์ วัดโต๊ะโม และจุดชมวิวทะเลหมอก


ถ้าจะเที่ยวให้เข้าถึงชุมชนอย่างลึกซึ้ง แนะนำให้มาพักโฮมสเตย์ของที่นี่ โดยหนึ่งคืนสามารถรองรับนักท่องเที่ยวได้ประมาณ 120 คน มีบ้านหลายหลังกระจายตัวกันอยู่ในชุมชน มานอกนพักในบรรยากาศธรรมชาติที่สดชื่น ชิมเมนูพื้นถิ่นอร่อยๆ ที่ได้วัตถุดิบสดๆ จากในพื้นที่มาปรุงเป็นเมนูอร่อย และหากใครมาเที่ยวในช่วงเดือนสิงหาคม ซึ่งเป็นช่วงฤดูกาลผลไม้ ต้องได้ชิมผลไม้อร่อยๆ สดๆ จากต้น โดยเฉพาะทุเรียนบ้าน ที่ออกผลผลิตมาพร้อมๆ กัน คอทุเรียนห้ามพลาด

* * * * * * * * * * * * * * * * *
ติดต่อ ศูนย์ประสานการท่องเที่ยวตำบลภูเขาทอง โทร. 0-7370-9726 Facebook : ชุมชน ท่องเที่ยวภูเขาทอง
สอบถามข้อมูลการท่องเที่ยวในจังหวัดนราธิวาสได้ที่ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สำนักงานนราธิวาส (ดูแลพื้นที่ นราธิวาส ยะลา และ ปัตตานี) โทร. 0-7354-2345, 0-7354-2346 Facebook : TAT Narathiwat ททท.สำนักงานนราธิวาส
สามารถส่งข้อมูลข่าวสารด้านการท่องเที่ยว-อาหารมาได้ที่ กอง บก.ข่าวท่องเที่ยว แฟกซ์ 0-2629-4467 อีเมล์ travel_astvmgr@hotmail.com หรือติดตามเพิ่มเติมได้ที่ Facebook :Travel @ Manager
“สุคิริน” เป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัด“นราธิวาส” ที่มีพื้นที่ส่วนหนึ่งเป็นชายแดนติดกับประเทศเพื่อนบ้านคือมาเลเซีย ซึ่งที่นี่มีชุมชนท่องเที่ยวที่มีเอกลักษณ์และน่าสนใจไม่น้อย นั่นก็คือที่ ตำบล “ภูเขาทอง”
ตำบลภูเขาทองมีประวัติความเป็นมาบันทึกเอาไว้ว่า ในอดีต(จนถึงปัจจุบัน)ดินแดนแห่งนี้มีแร่ทองคำมาก ช่วงก่อนปี พ.ศ. 2474 ชาวฝรั่งเศสได้เข้ามารับสัมปทานทำเหมืองแร่ทองคำบริเวณภูเขาโต๊ะโมะในปัจจุบัน (เดิมเรียกภูเขาลีซอ) จึงมีราษฎรจากพื้นที่ต่างๆอพยพเข้ามาทำเหมืองเป็นจำนวนมาก ทางการจึงได้จัดตั้งกิ่งอำเภอปาโจขึ้นในปี พ.ศ. 2474 ที่บริเวณบ้านโต๊ะโมะในปัจจุบัน
ต่อมาได้เกิดสงครามเอเชียมหาบูรพาขึ้น ชาวฝรั่งเศสจึงอพยพสงครามกลับประเทศ รัฐบาลจึงได้ดำเนินการทำเหมืองต่ออีกประมาณปีกว่าๆก็เกิดเหตุการณ์ ฉ้อราษฎร์บังหลวง ปล้นสะดมทองคำ และเหตุการณ์ความไม่สงบ ทางการจึงได้ล้มเลิกกิจการเหมืองทองคำ ราษฎรที่อพยพมาจึงได้อพยพกลับถิ่นฐานเดิม ภายหลังจึงได้ยุบกิ่งอำเภอปาโจลง ในปี พ.ศ. 2484 จากนั้นในปี พ.ศ. 2506 รัฐบาลได้จัดตั้ง นิคมสร้างตนเองพัฒนาภาคใต้จังหวัดนราธิวาสขึ้น เพื่ออพยพราษฎรที่มีฐานะยากจน ไม่มีที่ดินทำกินจากถิ่นต่างๆ เข้ามาอยู่อาศัย
เดิมพื้นที่ตำบลภูเขาทอง(ในปัจจุบัน) ขึ้นอยู่กับตำบลมาโมง อำเภอแว้ง แต่เมื่อมีการจัดตั้งตำบลมาโมงเป็นกิ่งอำเภอสุคิริน ก็ได้จัดตั้งตำบลภูเขาทองขึ้นในปี พ.ศ. 2523
ปัจจุบันตำบลภูเขาทอง (มี 8 หมู่บ้าน) เป็นตำบลหนึ่งในอำเภอสุคิริน ประชากรชาวตำบลภูเขาทอง นอกจากชาวนราธิวาส ชาวใต้แล้ว ก็ยังมีราษฎรที่อพยพมาจากที่อื่นๆ โดยเฉพาะจากภาคอีสาน ซึ่งได้นำประเพณีวัฒนธรรมติดตัวมาด้วยโดยเฉพาะประเพณีบุญบั้งไฟที่มีการจัดขึ้นเพียงหนึ่งเดียวในภาคใต้ที่ อ.สุคิริน จ.นราธิวาส (จัดขึ้นประมาณวันเสาร์ที่ 2 ของเดือนมิถุนายน ของทุกปี)
สำหรับในปัจจุบันนี้ ตำบลภูเขาทองเปิดให้เป็นชุมชนท่องเที่ยว โดยมีชาวบ้านในชุมชนเป็นผู้นำเที่ยว มีกิจกรรมมากมายให้ทำ ไม่ว่าจะเป็นการทดลองร่อนทอง ล่องแก่งต้นน้ำสายบุรี ชมต้นกะพงยักษ์ ชิมเมนูอาหารท้องถิ่น แล้วก็ยังมีที่พักแบบโฮมสเตย์ไว้ให้บริการด้วย
ตำบลภูเขาทองได้ขึ้นชื่อว่าเป็นถิ่นของทองคำ อย่างที่มาของชื่อหมู่บ้านภูเขาทองก็มาจากตอนที่ชาวบ้านได้มาขุดหลุมวางเสาที่พักชั่วคราว แล้วเจอทองคำจึงได้ตั้งเป็นชื่อหมู่บ้านภูเขาทอง ซึ่งครั้งหนึ่งชาวฝรั่งเศสได้เข้ามาสัมปทานทำเหมืองแร่ทองคำตามที่กล่าวมาข้างต้น
ปัจจุบันบ้านภูเขาทองแม้จะยกเลิกสัมปทานไปแต่ความอุดมสมบูรณ์ของแร่ทองคำยังคงอยู่ ทุกวันนี้ชาวบ้านส่วนหนึ่งของที่นี่ยังคงไว้ซึ่งการร่อนแร่ทองคำในลำน้ำตามวิถีแห่งภูมิปัญญาพื้นบ้าน
การ “ร่อนทอง” ที่บ้านภูเขาทอง หลักๆ ก็จะเหมือนกับที่อื่นๆ คือจะมีการนำอุปกรณ์ร่อนทองที่ชาวบ้านที่นี่เรียกกันว่า “ชะเลียง” หรือ “เลียง” อุปกรณ์ร่อนทองรูปร่างคล้ายกระทะทำจากไม้หลุมพอ ไปยืนในตำแหน่งน้ำไหลที่น่าจะมีแร่ทองคำลงไปร่อนแร่ แล้วร่อนไปเป็นรอบๆ ไม่นานก็ได้ทองคำขึ้นมาให้รวบรวมนำไปขายได้แล้ว
สำหรับทองคำที่นี่เป็นทองคำบริสุทธิ์ เป็นหนึ่งในวิถีชีวิตที่ทำเป็นอาชีพเสริม โดยเมื่อเสร็จจากอาชีพหลักก็จะลงไปร่อนแร่หาทองคำกันในลำคลอง สนนราคาขายกันกรัมละพันกว่าบาท บางคนหาขายทองได้หลักร้อย หลักหลายร้อยต่อวัน บางคนโชคดีก็ขายได้วันละเป็นพัน นับเป็นรายได้เสริมที่รายได้ดีทีเดียว
ส่วนร่องรอยเหมืองทองที่ยังคงอยู่ที่ภูเขาทอง ก็ยังหลงเหลืออยู่ให้ชม โดยมี “เหมืองทองคำโต๊ะโมะ” ที่ยังคงสภาพใกล้เคียงของเดิม (ปัจจุบันไม่ได้เปิดให้เข้าชม) และ “อุโมงค์ลำเลียง” ที่เป็นอุโมงค์ใต้ภูเขา ใช้สำหรับขนส่งแร่และเครื่องมือต่างๆ เมื่อสมัยยังเปิดเหมืองทองคำ
อีกกิจกรรมที่น่าสนใจไม่น้อยก็คือ “ล่องแก่งภูเขาทอง” ซึ่งจะเป็นการล่องแก่งด้วยเรือคายักไปตามต้นน้ำสายบุรี ที่แวดล้อมไปด้วยภาพของวิถีชีวิตและธรรมชาติอันอุดมสมบูรณ์
กิจกรรมล่องแก่งภูเขาทองมีระยะทางประมาณ 7 กม. ใช้เวลาล่องแกงที่มีความแรงของสายน้ำในระดับ 1-2 ประมาณ 2 ชั่วโมง หรือหากใครมีเวลาน้อยกว่านี้ ก็สามารถแจ้งล่วงหน้า ให้เลือกเส้นทางที่สั้นกว่านี้ได้ โดยฤดูกาลที่เหมาะกับการล่องแก่งก็คือช่วงเดือนกันยายน-มกราคม
เมื่อล่องแก่งมาขึ้นบนฝั่งยังจุดหมายแล้ว ต่อจากนั้นก็จะให้นักท่องเที่ยวได้ไปดูวิถีการร่อนทองของชาวบ้าน ที่ในเส้นทางช่วงท้ายๆ ของการล่องแก่งจะเป็นแหล่งร่อนแร่หาทองของชาวบ้าน ซึ่งนักท่องเที่ยวสามารถไปร่วมทดลองร่อนหาทองกับชาวบ้านได้
อีกไฮไลต์ของตำบลภูเขาทองก็คือ “เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าฮาลา-บาลา” ผืนป่าอันอุดมสมบูรณ์ของภาคใต้ ที่ถือเป็นแหล่งนกเงือกที่สำคัญที่สุดของเมืองไทย โดยพบนกเงือกที่นี่ถึง 10 ชนิด จากจำนวน 13 ชนิดที่สำรวจพบในเมืองไทย
สำหรับผืนป่าบาลา-ฮาลา ใน ต.ภูเขาทอง อ.สุคิริน จ.นราธิวาส นอกจากจะมีความอุดมสมบูรณ์แล้ว ยังมีไฮไลท์สำคัญคือ “ต้นกะพงษ์ยักษ์” หรือ “ต้นสมพง” ขนาดใหญ่มาก อายุนับร้อยปี ที่มีขนาดลำต้นช่วงพูพอนใหญ่ถึงประมาณ 29-30 คนโอบ ตั้งอยู่ท่ามกลางธรรมชาติของผืนป่าใหญ่อันอุดมสมบูรณ์
หากมาเที่ยวที่ตำบลภูเขาทองแล้วอยากเข้าไปสัมผัสผืนป่าฮาลา-บาลา อย่างใกล้ชิด ก็มีการจัดเส้นทางเดินป่า 2 วัน 1 คืน และ 2 วัน 3 คืน โดยให้แจ้งทางชุมชนล่วงหน้า ทางชุมชนจะประสานงานเจ้าหน้าที่ และนำทางให้
จุดท่องเที่ยวในตำบลภูเขาทองยังไม่ได้หมดแค่เพียงเท่านี้ ยังมีอีกหลายแห่งที่ไม่ควรพลาดเป็นอย่างยิ่ง ได้แก่ ศาลเจ้าแม่โต๊ะโมะ สำนักสงฆ์พระธาตุภูเขาทอง จุดแสนไลค์ วัดโต๊ะโม และจุดชมวิวทะเลหมอก
ถ้าจะเที่ยวให้เข้าถึงชุมชนอย่างลึกซึ้ง แนะนำให้มาพักโฮมสเตย์ของที่นี่ โดยหนึ่งคืนสามารถรองรับนักท่องเที่ยวได้ประมาณ 120 คน มีบ้านหลายหลังกระจายตัวกันอยู่ในชุมชน มานอกนพักในบรรยากาศธรรมชาติที่สดชื่น ชิมเมนูพื้นถิ่นอร่อยๆ ที่ได้วัตถุดิบสดๆ จากในพื้นที่มาปรุงเป็นเมนูอร่อย และหากใครมาเที่ยวในช่วงเดือนสิงหาคม ซึ่งเป็นช่วงฤดูกาลผลไม้ ต้องได้ชิมผลไม้อร่อยๆ สดๆ จากต้น โดยเฉพาะทุเรียนบ้าน ที่ออกผลผลิตมาพร้อมๆ กัน คอทุเรียนห้ามพลาด
* * * * * * * * * * * * * * * * *
ติดต่อ ศูนย์ประสานการท่องเที่ยวตำบลภูเขาทอง โทร. 0-7370-9726 Facebook : ชุมชน ท่องเที่ยวภูเขาทอง
สอบถามข้อมูลการท่องเที่ยวในจังหวัดนราธิวาสได้ที่ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สำนักงานนราธิวาส (ดูแลพื้นที่ นราธิวาส ยะลา และ ปัตตานี) โทร. 0-7354-2345, 0-7354-2346 Facebook : TAT Narathiwat ททท.สำนักงานนราธิวาส
สามารถส่งข้อมูลข่าวสารด้านการท่องเที่ยว-อาหารมาได้ที่ กอง บก.ข่าวท่องเที่ยว แฟกซ์ 0-2629-4467 อีเมล์ travel_astvmgr@hotmail.com หรือติดตามเพิ่มเติมได้ที่ Facebook :Travel @ Manager