Facebook :Travel @ Manager
"เกิดวังหลัง โตวังหลวง ตายวังหน้า"
คือคำบรรยายสั้นๆ เกี่ยวกับชีวิตของท่านสุนทรภู่ กวีเอกของไทย ประโยคดังกล่าวหมายถึงว่า ท่านเกิดในย่านวังหลัง (บริเวณโรงพยาบาลศิริราชปัจจุบัน) เมื่อโตขึ้นได้ทำงานรับราชการเป็นนักปราชญ์ประจำราชสำนักที่วังหลวง อีกทั้งยังได้บวชเรียนที่วัดหลวง (วัดเทพธิดาราม) จากนั้นในบั้นปลายของชีวิตได้ทำงานรับใช้อยู่กับเจ้าฟ้ามงกุฎ (วังหน้าในรัชกาลที่ ๓)
วันนี้เราได้มาตามรอยนิราศของสุนทรภู่กับเคทีซี หรือบริษัทบัตรกรุงไทย ที่จัดกิจกรรม "เยือนบางกอก ยลอารามนนทบุรี เลียบชลนทีตามรอยมหากวีเอก" พาไปชมวัดงามตามรอยท่านสุนทรภู่ในเส้นทางที่ลัดเลาะไปตามคลองบางกอกน้อย และไปสิ้นสุดที่คลองแม่น้ำอ้อม หรือคลองอ้อมนนท์ โดยมีอาจารย์ธานัท ภุมรัช นักประชาสัมพันธ์ กลุ่มงานพัฒนาการท่องเที่ยว สำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว กรุงเทพมหานคร มาเป็นผู้ให้ความรู้ตลอดเส้นทาง
นิราศต่างๆ ที่สุนทรภู่แต่งนอกจากจะบอกเล่าถึงเส้นทางที่ดำเนินไปแล้ว ก็ยังบรรยายถึงสภาพแวดล้อมของสถานที่ที่ท่านผ่าน ซึ่งทำให้คนรุ่นหลังได้รู้ถึงชื่อบ้านนามเมืองและทำให้เราเห็นถึงบรรยากาศเมื่อครั้งอดีตอีกด้วย
1.
“…ถึงอารามนามวัดประโคนปัก ไม่เห็นหลักลือเล่าว่าเสาหิน เป็นสำคัญปันแดนในแผ่นดิน มิรู้สิ้นสุดชื่อที่ลือชา…” นิราศภูเขาทอง
สำหรับวัดแห่งแรกที่เรามาเยือนคือ “วัดดุสิดารามวรวิหาร” หรือเรียกสั้นๆ ว่าวัดดุสิต ตั้งอยู่บริเวณเชิงสะพานปิ่นเกล้าฝั่งธนบุรี สุนทรภู่เคยกล่าวถึงวัดดุสิตในนิราศภูเขาทอง แต่บางคนอาจไม่ทราบเพราะท่านเรียกชื่อเดิมของวัดดุสิตว่า “วัดเสาประโคน” โดยเสาประโคนนั้นเป็นเสาที่ปักเพื่อกำหนดเขตของเมือง และที่วัดแห่งนี้ในสมัยต้นรัตนโกสินทร์ก็ถือว่าอยู่ในเขตเมือง โดยมีเสาประโคนอยู่ใกล้กับพระอุโบสถ
ที่วัดดุสิตเราได้เข้าไปเยี่ยมชมภายในพระอุโบสถที่งดงามนัก ภายนอกเป็นอาคารก่ออิฐถือปูน มีระเบียงทั้งด้านหน้าและด้านหลัง ทั้งยังมีระเบียงคดซึ่งประดิษฐานพระพุทธรูปยืนไว้โดยรอบ ส่วนด้านในนั้นประดิษฐานพระประธานปางมารวิชัย และมีจิตรกรรมฝาผนังที่ได้รับการบูรณะซ่อมแซมแล้วอย่างงดงาม เป็นภาพเทพชุมนุม ทศชาติชาดกและพุทธประวัติ โดยภาพจิตรกรรมเบื้องหน้าพระประธานซึ่งเป็นพุทธประวัติตอนมารผจญนั้นได้รับยกย่องว่างดงามประณีต โดยเฉพาะภาพของพระแม่ธรณีที่กำลังบีบมวยผมนั้นงดงามไม่แพ้ที่ใด เชื่อว่าเป็นฝีมือของช่างวาดที่มีชื่อเสียงในสมัยรัชกาลที่ ๓
2.
“…ยลย่านบ้านบุตั้งตีขัน ขุกคิดเคยชมจันทร์แจ่มฟ้า…” นิราศสุพรรณ
จากวัดดุสิต เราลัดเลาะริมคลองบางกอกน้อยมาที่ “ชุมชนบ้านบุ” ชุมชนเล็กๆ ริมคลองใกล้กับสถานีรถไฟธนบุรี ที่สุนทรภู่ระบุว่า “ยลย่านบ้านบุตั้งตีขัน” เพราะที่นี่เป็นแหล่งทำ "ขันลงหิน” อันโด่งดังโดยปรากฏหลักฐานในเอกสารสมัยรัชกาลที่ ๓ ว่าบรรพบุรุษของชาวบ้านเป็นชาวกรุงศรีอยุธยาที่ได้อพยพมาตั้งหมู่บ้านในราชธานีใหม่ภายหลังจากเสียกรุง และได้ประกอบอาชีพเดิมคือเป็นช่างบุทำเครื่องทองลงหินหรือเครื่องทองสัมฤทธิ์ และสืบเชื้อสายถ่ายทอดวิชาช่างบุต่อเนื่องกันมาจนปัจจุบัน
สำหรับขันลงหินนั้นเป็นภาชนะที่ใช้กันแพร่หลายในสังคมไทยสมัยก่อน บางบ้านใช้เป็นขันใส่น้ำดื่มเพราะช่วยให้น้ำเย็นชื่นใจ บ้างใช้เป็นขันข้าวใส่บาตรเพราะทำให้ข้าวมีกลิ่นหอม แต่ปัจจุบันความนิยมนี้ลดน้อยลงไป รวมถึงขั้นตอนวิธีการทำที่มีหลายขั้นและต้องอยู่หน้าเตาไฟที่ร้อนจัด ทุกวันนี้จึงหาผู้สืบทอดได้ยากเพราะไม่ใช่งานที่สบายนัก
เราได้เจอกับ เมตตา เสลานนท์ ผู้สืบทอดวิชาช่างทำขันลงหิน และเจ้าของโรงงาน “เจียม แสงสัจจา” ที่เล่าให้เราฟังว่าทุกวันนี้เหลือช่างที่ทำงานในโรงงานเพียง 8 คน ทำงานตามออร์เดอร์ที่ได้รับเท่านั้นเนื่องจากไม่มีแรงงานมากพอ แต่ทางโรงงานก็ยินดีให้นักท่องเที่ยวหรือผู้ที่สนใจเข้าเยี่ยมชมเพราะที่นี่ถือเป็นโรงงานทำขันลงหินที่เหลืออยู่เพียงแห่งเดียวในไทย ซึ่งผู้ที่อยากซื้อหาและสนับสนุนผลงานชิ้นงามๆ ของขันลงหินบ้านบุก็สามารถมาเยือนกันได้
3.
“วัดปะขาวคราวรุ่นรู้ เรียนเขียน ทำสูตรสอนเสมียน สมุดน้อย เดินระวางระวังเวียน หว่างวัดปะขาวเอย เคยชื่นกลืนกลิ่นสร้อย สวาทห้องกลางสวน” นิราศสุพรรณ
“วัดชีปะขาว” หรือ “วัดศรีสุดาราม” เป็นอีกหนึ่งวัดที่มีความเกี่ยวพันกับท่านสุนทรภู่ดังในนิราศสุพรรณกล่าวว่า ...วัดปะขาวคราวรุ่นรู้ เรียนเขียน... นั่นเพราะวัดแห่งนี้เป็นสถานที่เล่าเรียนของท่านนั่นเอง และทางวัดก็ได้สร้างอนุสาวรีย์สุนทรภู่เมื่อครั้งยังเป็นเด็กไว้ให้คนทั่วไปได้รับรู้ โดยอนุสาวรีย์ดังกล่าวอยู่ริมคลองบางกอกน้อย
สำหรับประวัติของวัดศรีสุดารามนั้น เดิมชื่อวัชีปะขาว เป็นวัดเก่าแก่สร้างขึ้นตั้งแต่สมัยอยุธยา ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ ๑ สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระศรีสุดารักษ์ พระพี่นางเธอของรัชกาลที่ ๑ ได้ทรงเข้ามาบูรณะปฏิสังขรณ์ จากนั้นเมื่อถึงรัชกาลที่ ๔ น้ำได้เซาะตลิ่งพังเข้ามาจนถึงหน้าพระอุโบสถ พระบามสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระอุโบสถขึ้นใหม่ และพระราชทานนามวัดใหม่ว่า วัดศรีสุดาราม
สิ่งที่น่าสนใจอีกอย่างของวัดศรีสุดารามก็คือที่นี่เป็นที่ประดิษฐานหลวงพ่อโตองค์ใหญ่ ซึ่งเป็นรูปจำลองเท่าขนาดจริงเพื่อเป็นต้นแบบในการหล่อโลหะสร้างรูปหล่อสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) สำหรับนำไปประดิษฐานที่วัดโนนกุ่ม อ.สีคิ้ว จ.นครราชสีมา โดยมีขนาดหน้าตักกว้างถึง 8.1 เมตร และสูง 13 เมตร เลยทีเดียว
4.
“…บางอ้อยช้างโอ้ช้างที่ร้างโขลง มาอยู่โรงรักป่าน้ำตาไหล พี่คลาดแคล้วแก้วตาให้อาลัย เหมือนนอกไอยราร้างฝูงนางพังฯ...” นิราศพระประธม
ข้ามจังหวัดมายังอำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี แต่ยังคงอยู่ในคลองบางกอกน้อยเช่นเดิม มาต่อกันที่ “วัดบางอ้อยช้าง” วัดเก่าแก่สมัยอยุธยาตอนปลาย แม้จะอยู่ไกลจากเมือง (ในสมัยอดีต) แต่วัดแห่งนี้ก็มีความสำคัญ โดยรัชกาลที่ ๕ เคยเสด็จมาหลายครั้ง
ที่นี่เราได้พบกับ ธีรวัฒน์ กลีบผึ้ง ผู้ดูแลพิพิธภัณฑ์วัดบางอ้อยช้างที่พ่วงตำแหน่งผู้ใหญ่บ้านมาเป็นผู้เล่าเรื่องราวที่น่าสนใจของวัดแห่งนี้ให้เราได้ฟังกัน ตั้งแต่ชื่อของวัดซึ่งมีที่มาจาก “ต้นอ้อยช้าง” ที่ไม่ใช่ต้นอ้อยแต่อย่างใด แต่เป็นต้นไม้ยืนต้นที่มีสรรพคุณทางยามากมาย เชื่อกันว่าช้างก็ชอบมากินทั้งใบ ดอก และเปลือกของต้นอ้อยช้างเพื่อเป็นยา จนเป็นที่มาของชื่อต้นอ้อยช้างนั่นเอง
ถ้าอยากเห็นหน้าตาของต้นอ้อยช้างซึ่งถือว่าเป็นต้นไม้หายากก็สามารถมาชมได้ที่บริเวณด้านหน้าพิพิธภัณฑ์ของวัดที่ปลูกไว้เป็นสิบต้น
และต้องไม่พลาดชมพิพิธภัณฑ์วัดบางอ้อยช้าง (ต้องติดต่อล่วงหน้าก่อนเข้าชม) ที่มีของดีให้ดูเพียบ ตั้งแต่ข้าวของเครื่องใช้ในสมัยอดีตของผู้คนในแถบนี้ เครื่องใช้เก่าแก่ของอดีตท่านเจ้าอาวาส ตะลุ่มหรือพานแว่นฟ้า เป็นศิลปหัตถกรรมชั้นสูงของไทยโบราณ อยู่ในกลุ่มช่างรักงานประดับมุกซึ่งโดยปกติแล้วชาวบ้านจะไม่ค่อยมีใช้กัน ส่วนใหญ่จะมีในรั้วในวังเท่านั้น
5.
“วัดชลอใครหนอชลอฉลาด เอาอาวาสมาไว้อาศัยสงฆ์ ช่วยชลอวรรักษาว่าพี่รักทรง ให้มาลงเรือร่วมพรมที่นอน” นิราศพระประธม
ปิดท้ายกันที่วัดงามริมคลองบางกอกน้อยแห่งบางกรวย จ.นนทบุรี ที่ “วัดชลอ" วัดเก่าแก่ตั้งแต่สมัยอยุธยา ตัวอุโบสถเก่ามีขนาดเล็ก ฐานแอ่นโค้งท้องสำเภาตามแบบอยุธยา
วัดชลอตั้งอยู่ริมคลองบางกอกน้อยตอนเหนือที่เชื่อมต่อกับคลองอ้อมนนท์และคลองบางกรวย (แม่น้ำเจ้าพระยาสายเดิม) เป็นโค้งน้ำที่น้ำไหลเชี่ยวจึงมักมีอุบัติเหตุอยู่เสมอ ภายหลังจึงมีการสร้างวัดขึ้นเพื่อเป็นจุดสังเกตให้คนเรือใช้ความระมัดระวังมากยิ่งขึ้น
ปัจจุบันวัดชลอมีความโดดเด่นเห็นได้แต่ไกลเพราะมีเรือสุพรรณหงส์ลำใหญ่ลอยสง่างามอยู่ภายในวัด เรือสุพรรณหงส์นั้นเป็นอุโบสถหลังใหม่ที่ดำเนินการสร้างมานานกว่า 40 ปี จากดำริของท่านอดีตเจ้าอาวาส ท่านพระครูนนทปัญญาวิมลได้นิมิตเห็นเรือหงส์ลอยมาหน้าโบสถ์ จากนั้นท่านจึงมีความคิดอยากจะสร้างเรือหงส์และออกแบบให้มีอุโบสถกลางลำเรือ
การก่อสร้างเริ่มในราว พ.ศ.2526 แต่ช่วงวิกฤติเศรษฐกิจการก่อสร้างจึงหยุดชะงักไป จนบัดนี้ตัวโบสถ์แล้วเสร็จไปกว่า 80% แต่เห็นความงดงามของเรือสุพรรณหงส์ที่โดดเด่น ถ้าใครมาเยือนวัดชลอก็สามารถทำบุญบริจาคค่าก่อสร้างให้อุโบสถเสร็จสมบูรณ์โดยเร็ว
และอีกหนึ่งเรื่องเล่าขานของวัดชลอคือ "เจ้าแม่บัวลอย" ที่เล่ากันว่ามีผู้หญิงท้องแก่ชื่อแม่บัวลอยพายเรือขายขนมในคลองบางกอกน้อย แต่เกิดอุบัติเหตุเรือคว่ำเสียชีวิต ร่ำลือกันว่าวิญญาณของแม่บัวลอยเฮี้ยนมากจนไม่มีใครกล้าพายเรือกลางค่ำกลางคืน จนต่อมาอดีตเจ้าอาวาสวัดชลอได้นำโครงกระดูกของแม่บัวลอยมาไว้ที่วัด และภายหลังมีการสร้างศาลให้คนได้บูชา เล่ากันว่าแม่บัวลอยให้หวยแม่นจนเจ้ามือส่งคนมาขโมยโครงกระดูกไปเสีย
เรื่องราวของแม่บัวลอยโด่งดังจนเป็นที่มาของเพลง "บางกอกน้อย" โดยครูเพลงชัยชนะ บุญนะโชติ ยังคงความไพเราะจนปัจจุบัน
ทั้งหมดนี้ก็คือเส้นทางตามรอยนิราศสุนทรภู่ลัดเลาะริมคลองบางกอกน้อย ถ้าใครอยากมาตามรอยบ้างก็นับเป็นอีกหนึ่งเส้นทางน่าเที่ยวไม่น้อย
สามารถส่งข้อมูลข่าวสารด้านการท่องเที่ยว-อาหารมาได้ที่ กอง บก.ข่าวท่องเที่ยว แฟกซ์ 0-2629-4467 อีเมล์ travel_astvmgr@hotmail.com หรือติดตามเพิ่มเติมได้ที่ Facebook :Travel @ Manager
"เกิดวังหลัง โตวังหลวง ตายวังหน้า"
คือคำบรรยายสั้นๆ เกี่ยวกับชีวิตของท่านสุนทรภู่ กวีเอกของไทย ประโยคดังกล่าวหมายถึงว่า ท่านเกิดในย่านวังหลัง (บริเวณโรงพยาบาลศิริราชปัจจุบัน) เมื่อโตขึ้นได้ทำงานรับราชการเป็นนักปราชญ์ประจำราชสำนักที่วังหลวง อีกทั้งยังได้บวชเรียนที่วัดหลวง (วัดเทพธิดาราม) จากนั้นในบั้นปลายของชีวิตได้ทำงานรับใช้อยู่กับเจ้าฟ้ามงกุฎ (วังหน้าในรัชกาลที่ ๓)
วันนี้เราได้มาตามรอยนิราศของสุนทรภู่กับเคทีซี หรือบริษัทบัตรกรุงไทย ที่จัดกิจกรรม "เยือนบางกอก ยลอารามนนทบุรี เลียบชลนทีตามรอยมหากวีเอก" พาไปชมวัดงามตามรอยท่านสุนทรภู่ในเส้นทางที่ลัดเลาะไปตามคลองบางกอกน้อย และไปสิ้นสุดที่คลองแม่น้ำอ้อม หรือคลองอ้อมนนท์ โดยมีอาจารย์ธานัท ภุมรัช นักประชาสัมพันธ์ กลุ่มงานพัฒนาการท่องเที่ยว สำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว กรุงเทพมหานคร มาเป็นผู้ให้ความรู้ตลอดเส้นทาง
นิราศต่างๆ ที่สุนทรภู่แต่งนอกจากจะบอกเล่าถึงเส้นทางที่ดำเนินไปแล้ว ก็ยังบรรยายถึงสภาพแวดล้อมของสถานที่ที่ท่านผ่าน ซึ่งทำให้คนรุ่นหลังได้รู้ถึงชื่อบ้านนามเมืองและทำให้เราเห็นถึงบรรยากาศเมื่อครั้งอดีตอีกด้วย
1.
“…ถึงอารามนามวัดประโคนปัก ไม่เห็นหลักลือเล่าว่าเสาหิน เป็นสำคัญปันแดนในแผ่นดิน มิรู้สิ้นสุดชื่อที่ลือชา…” นิราศภูเขาทอง
สำหรับวัดแห่งแรกที่เรามาเยือนคือ “วัดดุสิดารามวรวิหาร” หรือเรียกสั้นๆ ว่าวัดดุสิต ตั้งอยู่บริเวณเชิงสะพานปิ่นเกล้าฝั่งธนบุรี สุนทรภู่เคยกล่าวถึงวัดดุสิตในนิราศภูเขาทอง แต่บางคนอาจไม่ทราบเพราะท่านเรียกชื่อเดิมของวัดดุสิตว่า “วัดเสาประโคน” โดยเสาประโคนนั้นเป็นเสาที่ปักเพื่อกำหนดเขตของเมือง และที่วัดแห่งนี้ในสมัยต้นรัตนโกสินทร์ก็ถือว่าอยู่ในเขตเมือง โดยมีเสาประโคนอยู่ใกล้กับพระอุโบสถ
ที่วัดดุสิตเราได้เข้าไปเยี่ยมชมภายในพระอุโบสถที่งดงามนัก ภายนอกเป็นอาคารก่ออิฐถือปูน มีระเบียงทั้งด้านหน้าและด้านหลัง ทั้งยังมีระเบียงคดซึ่งประดิษฐานพระพุทธรูปยืนไว้โดยรอบ ส่วนด้านในนั้นประดิษฐานพระประธานปางมารวิชัย และมีจิตรกรรมฝาผนังที่ได้รับการบูรณะซ่อมแซมแล้วอย่างงดงาม เป็นภาพเทพชุมนุม ทศชาติชาดกและพุทธประวัติ โดยภาพจิตรกรรมเบื้องหน้าพระประธานซึ่งเป็นพุทธประวัติตอนมารผจญนั้นได้รับยกย่องว่างดงามประณีต โดยเฉพาะภาพของพระแม่ธรณีที่กำลังบีบมวยผมนั้นงดงามไม่แพ้ที่ใด เชื่อว่าเป็นฝีมือของช่างวาดที่มีชื่อเสียงในสมัยรัชกาลที่ ๓
2.
“…ยลย่านบ้านบุตั้งตีขัน ขุกคิดเคยชมจันทร์แจ่มฟ้า…” นิราศสุพรรณ
จากวัดดุสิต เราลัดเลาะริมคลองบางกอกน้อยมาที่ “ชุมชนบ้านบุ” ชุมชนเล็กๆ ริมคลองใกล้กับสถานีรถไฟธนบุรี ที่สุนทรภู่ระบุว่า “ยลย่านบ้านบุตั้งตีขัน” เพราะที่นี่เป็นแหล่งทำ "ขันลงหิน” อันโด่งดังโดยปรากฏหลักฐานในเอกสารสมัยรัชกาลที่ ๓ ว่าบรรพบุรุษของชาวบ้านเป็นชาวกรุงศรีอยุธยาที่ได้อพยพมาตั้งหมู่บ้านในราชธานีใหม่ภายหลังจากเสียกรุง และได้ประกอบอาชีพเดิมคือเป็นช่างบุทำเครื่องทองลงหินหรือเครื่องทองสัมฤทธิ์ และสืบเชื้อสายถ่ายทอดวิชาช่างบุต่อเนื่องกันมาจนปัจจุบัน
สำหรับขันลงหินนั้นเป็นภาชนะที่ใช้กันแพร่หลายในสังคมไทยสมัยก่อน บางบ้านใช้เป็นขันใส่น้ำดื่มเพราะช่วยให้น้ำเย็นชื่นใจ บ้างใช้เป็นขันข้าวใส่บาตรเพราะทำให้ข้าวมีกลิ่นหอม แต่ปัจจุบันความนิยมนี้ลดน้อยลงไป รวมถึงขั้นตอนวิธีการทำที่มีหลายขั้นและต้องอยู่หน้าเตาไฟที่ร้อนจัด ทุกวันนี้จึงหาผู้สืบทอดได้ยากเพราะไม่ใช่งานที่สบายนัก
เราได้เจอกับ เมตตา เสลานนท์ ผู้สืบทอดวิชาช่างทำขันลงหิน และเจ้าของโรงงาน “เจียม แสงสัจจา” ที่เล่าให้เราฟังว่าทุกวันนี้เหลือช่างที่ทำงานในโรงงานเพียง 8 คน ทำงานตามออร์เดอร์ที่ได้รับเท่านั้นเนื่องจากไม่มีแรงงานมากพอ แต่ทางโรงงานก็ยินดีให้นักท่องเที่ยวหรือผู้ที่สนใจเข้าเยี่ยมชมเพราะที่นี่ถือเป็นโรงงานทำขันลงหินที่เหลืออยู่เพียงแห่งเดียวในไทย ซึ่งผู้ที่อยากซื้อหาและสนับสนุนผลงานชิ้นงามๆ ของขันลงหินบ้านบุก็สามารถมาเยือนกันได้
3.
“วัดปะขาวคราวรุ่นรู้ เรียนเขียน ทำสูตรสอนเสมียน สมุดน้อย เดินระวางระวังเวียน หว่างวัดปะขาวเอย เคยชื่นกลืนกลิ่นสร้อย สวาทห้องกลางสวน” นิราศสุพรรณ
“วัดชีปะขาว” หรือ “วัดศรีสุดาราม” เป็นอีกหนึ่งวัดที่มีความเกี่ยวพันกับท่านสุนทรภู่ดังในนิราศสุพรรณกล่าวว่า ...วัดปะขาวคราวรุ่นรู้ เรียนเขียน... นั่นเพราะวัดแห่งนี้เป็นสถานที่เล่าเรียนของท่านนั่นเอง และทางวัดก็ได้สร้างอนุสาวรีย์สุนทรภู่เมื่อครั้งยังเป็นเด็กไว้ให้คนทั่วไปได้รับรู้ โดยอนุสาวรีย์ดังกล่าวอยู่ริมคลองบางกอกน้อย
สำหรับประวัติของวัดศรีสุดารามนั้น เดิมชื่อวัชีปะขาว เป็นวัดเก่าแก่สร้างขึ้นตั้งแต่สมัยอยุธยา ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ ๑ สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระศรีสุดารักษ์ พระพี่นางเธอของรัชกาลที่ ๑ ได้ทรงเข้ามาบูรณะปฏิสังขรณ์ จากนั้นเมื่อถึงรัชกาลที่ ๔ น้ำได้เซาะตลิ่งพังเข้ามาจนถึงหน้าพระอุโบสถ พระบามสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระอุโบสถขึ้นใหม่ และพระราชทานนามวัดใหม่ว่า วัดศรีสุดาราม
สิ่งที่น่าสนใจอีกอย่างของวัดศรีสุดารามก็คือที่นี่เป็นที่ประดิษฐานหลวงพ่อโตองค์ใหญ่ ซึ่งเป็นรูปจำลองเท่าขนาดจริงเพื่อเป็นต้นแบบในการหล่อโลหะสร้างรูปหล่อสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) สำหรับนำไปประดิษฐานที่วัดโนนกุ่ม อ.สีคิ้ว จ.นครราชสีมา โดยมีขนาดหน้าตักกว้างถึง 8.1 เมตร และสูง 13 เมตร เลยทีเดียว
4.
“…บางอ้อยช้างโอ้ช้างที่ร้างโขลง มาอยู่โรงรักป่าน้ำตาไหล พี่คลาดแคล้วแก้วตาให้อาลัย เหมือนนอกไอยราร้างฝูงนางพังฯ...” นิราศพระประธม
ข้ามจังหวัดมายังอำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี แต่ยังคงอยู่ในคลองบางกอกน้อยเช่นเดิม มาต่อกันที่ “วัดบางอ้อยช้าง” วัดเก่าแก่สมัยอยุธยาตอนปลาย แม้จะอยู่ไกลจากเมือง (ในสมัยอดีต) แต่วัดแห่งนี้ก็มีความสำคัญ โดยรัชกาลที่ ๕ เคยเสด็จมาหลายครั้ง
ที่นี่เราได้พบกับ ธีรวัฒน์ กลีบผึ้ง ผู้ดูแลพิพิธภัณฑ์วัดบางอ้อยช้างที่พ่วงตำแหน่งผู้ใหญ่บ้านมาเป็นผู้เล่าเรื่องราวที่น่าสนใจของวัดแห่งนี้ให้เราได้ฟังกัน ตั้งแต่ชื่อของวัดซึ่งมีที่มาจาก “ต้นอ้อยช้าง” ที่ไม่ใช่ต้นอ้อยแต่อย่างใด แต่เป็นต้นไม้ยืนต้นที่มีสรรพคุณทางยามากมาย เชื่อกันว่าช้างก็ชอบมากินทั้งใบ ดอก และเปลือกของต้นอ้อยช้างเพื่อเป็นยา จนเป็นที่มาของชื่อต้นอ้อยช้างนั่นเอง
ถ้าอยากเห็นหน้าตาของต้นอ้อยช้างซึ่งถือว่าเป็นต้นไม้หายากก็สามารถมาชมได้ที่บริเวณด้านหน้าพิพิธภัณฑ์ของวัดที่ปลูกไว้เป็นสิบต้น
และต้องไม่พลาดชมพิพิธภัณฑ์วัดบางอ้อยช้าง (ต้องติดต่อล่วงหน้าก่อนเข้าชม) ที่มีของดีให้ดูเพียบ ตั้งแต่ข้าวของเครื่องใช้ในสมัยอดีตของผู้คนในแถบนี้ เครื่องใช้เก่าแก่ของอดีตท่านเจ้าอาวาส ตะลุ่มหรือพานแว่นฟ้า เป็นศิลปหัตถกรรมชั้นสูงของไทยโบราณ อยู่ในกลุ่มช่างรักงานประดับมุกซึ่งโดยปกติแล้วชาวบ้านจะไม่ค่อยมีใช้กัน ส่วนใหญ่จะมีในรั้วในวังเท่านั้น
รวมไปถึงของล้ำค่าอย่างตู้พระธรรมลายรดน้ำก็เป็นสิ่งสำคัญที่ทางพิพิธภัณฑ์ได้จัดแสดงไว้ โดยเป็นศิลปะซึ่งอยู่ในสมัยรัตนโกสินทร์ราวรัชกาลที่ ๓-๕ ที่มีลวดลายงดงามล้ำค่ายิ่งนัก
5.
“วัดชลอใครหนอชลอฉลาด เอาอาวาสมาไว้อาศัยสงฆ์ ช่วยชลอวรรักษาว่าพี่รักทรง ให้มาลงเรือร่วมพรมที่นอน” นิราศพระประธม
ปิดท้ายกันที่วัดงามริมคลองบางกอกน้อยแห่งบางกรวย จ.นนทบุรี ที่ “วัดชลอ" วัดเก่าแก่ตั้งแต่สมัยอยุธยา ตัวอุโบสถเก่ามีขนาดเล็ก ฐานแอ่นโค้งท้องสำเภาตามแบบอยุธยา
วัดชลอตั้งอยู่ริมคลองบางกอกน้อยตอนเหนือที่เชื่อมต่อกับคลองอ้อมนนท์และคลองบางกรวย (แม่น้ำเจ้าพระยาสายเดิม) เป็นโค้งน้ำที่น้ำไหลเชี่ยวจึงมักมีอุบัติเหตุอยู่เสมอ ภายหลังจึงมีการสร้างวัดขึ้นเพื่อเป็นจุดสังเกตให้คนเรือใช้ความระมัดระวังมากยิ่งขึ้น
ปัจจุบันวัดชลอมีความโดดเด่นเห็นได้แต่ไกลเพราะมีเรือสุพรรณหงส์ลำใหญ่ลอยสง่างามอยู่ภายในวัด เรือสุพรรณหงส์นั้นเป็นอุโบสถหลังใหม่ที่ดำเนินการสร้างมานานกว่า 40 ปี จากดำริของท่านอดีตเจ้าอาวาส ท่านพระครูนนทปัญญาวิมลได้นิมิตเห็นเรือหงส์ลอยมาหน้าโบสถ์ จากนั้นท่านจึงมีความคิดอยากจะสร้างเรือหงส์และออกแบบให้มีอุโบสถกลางลำเรือ
การก่อสร้างเริ่มในราว พ.ศ.2526 แต่ช่วงวิกฤติเศรษฐกิจการก่อสร้างจึงหยุดชะงักไป จนบัดนี้ตัวโบสถ์แล้วเสร็จไปกว่า 80% แต่เห็นความงดงามของเรือสุพรรณหงส์ที่โดดเด่น ถ้าใครมาเยือนวัดชลอก็สามารถทำบุญบริจาคค่าก่อสร้างให้อุโบสถเสร็จสมบูรณ์โดยเร็ว
และอีกหนึ่งเรื่องเล่าขานของวัดชลอคือ "เจ้าแม่บัวลอย" ที่เล่ากันว่ามีผู้หญิงท้องแก่ชื่อแม่บัวลอยพายเรือขายขนมในคลองบางกอกน้อย แต่เกิดอุบัติเหตุเรือคว่ำเสียชีวิต ร่ำลือกันว่าวิญญาณของแม่บัวลอยเฮี้ยนมากจนไม่มีใครกล้าพายเรือกลางค่ำกลางคืน จนต่อมาอดีตเจ้าอาวาสวัดชลอได้นำโครงกระดูกของแม่บัวลอยมาไว้ที่วัด และภายหลังมีการสร้างศาลให้คนได้บูชา เล่ากันว่าแม่บัวลอยให้หวยแม่นจนเจ้ามือส่งคนมาขโมยโครงกระดูกไปเสีย
เรื่องราวของแม่บัวลอยโด่งดังจนเป็นที่มาของเพลง "บางกอกน้อย" โดยครูเพลงชัยชนะ บุญนะโชติ ยังคงความไพเราะจนปัจจุบัน
ทั้งหมดนี้ก็คือเส้นทางตามรอยนิราศสุนทรภู่ลัดเลาะริมคลองบางกอกน้อย ถ้าใครอยากมาตามรอยบ้างก็นับเป็นอีกหนึ่งเส้นทางน่าเที่ยวไม่น้อย
สามารถส่งข้อมูลข่าวสารด้านการท่องเที่ยว-อาหารมาได้ที่ กอง บก.ข่าวท่องเที่ยว แฟกซ์ 0-2629-4467 อีเมล์ travel_astvmgr@hotmail.com หรือติดตามเพิ่มเติมได้ที่ Facebook :Travel @ Manager