Facebook :Travel @ Manager

“นครสวรรค์” หรือเมืองที่รู้จักกันดีในนาม “ปากน้ำโพ” เนื่องจากเป็นศูนย์รวมของแม่น้ำทั้ง 4 สายไหลมาบรรจบกัน คือ ปิง วัง ยม และน่าน อันเป็นจุดกำเนิดของแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำสายสำคัญของประเทศ
เมืองสวรรค์แห่งปากน้ำโพ มีสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจอยู่มากมายหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็น วัดวาอาราม โบราณสถาน แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติอันงดงาม รวมถึงมีร้านอาหารให้เลือกลิ้มรสต่างๆ เรียกได้ว่ามีที่เที่ยว ที่กิน อย่างครบครัน


ล่าสุดนี้เมืองนครสวรรค์มีแลนด์มาร์กแห่งใหม่ ที่ดึงดูดใจผู้คนชาวนครสวรรค์และนักท่องเที่ยว ได้ไปสัมผัสบรรยากาศริมแม่น้ำเจ้าพระยา ไปพักผ่อนสูดอากาศบริสุทธิ์ สถานที่ที่จะแนะนำในครั้งนี้ก็คือ “พาสาน” ตั้งอยู่บนเนื้อที่กว่า 3 ไร่ บริเวณจุดบรรจบของแม่น้ำทั้ง 4 สาย ที่ไหลมารวมตัวกันเป็นแม่น้ำเจ้าพระยา


แลนด์มาร์กแห่งใหม่ของเมืองปากน้ำโพ อย่าง “พาสาน” ตั้งอยู่บนเกาะยม ในตัวเมืองนครสวรรค์ ซึ่งเป็นจุดกำเนิดของแม่น้ำสายสำคัญของไทย นั่นก็คือ แม่น้ำเจ้าพระยา ที่เกิดขึ้นมาจากการรวมตัวกันของแม่น้ำ 4 สาย คือ ปิง วัง ยม น่าน ที่ไหลมาผสานกันจาก 4 เป็น 2 และจาก 2 (ปิงและน่าน) มารวมกันเป็นหนึ่งเดียว ซึ่งเปรียบเสมือนเป็นการผสมผสานวัฒนธรรม และวิถีชีวิตที่แตกต่างกันตามริมแม่น้ำตลอดสาย


รูปแบบของอาคารแห่งนี้ ได้มีการออกแบบมาเป็นเส้นสายโค้งมาบรรจบกัน ดูคล้ายกับการรวมตัวกันของสายน้ำทั้ง 4 สายที่ไหลมารวมกันเป็นหนึ่ง นอกจากนี้อาคารพาสานยังทำหน้าที่เป็นสื่อกลางให้ผู้คนได้ชมการผสานกันของแม่น้ำ โดยมุมมองที่สามารถเห็นแม่น้ำทั้งสองฝั่งไปพร้อมกัน จนมาบรรจบกันที่จุดปลาย อีกทั้งคนที่อยู่ริมสองฝั่งแม่น้ำยังสามารถมองลอดผ่านโครงสร้างอาคารที่แตะผิวดินน้อยที่สุด ทำให้ความสัมพันธ์ของคนสองฝั่งยังเชื่อมถึงกัน และยังมองเห็นสีของ 2 สายน้ำที่ไหลมารวมกันด้วย


หากใครที่สนใจเดินทางเข้ามาสถาปัตยกรรมของพาสาน สามารถนั่งเรือรับจ้างที่จอดให้บริการอยู่ทั้งสองริมฝั่งแม่น้ำ โดยมีค่าบริการคนละ 30 บาท ภายในอาคารตกแต่งด้วยไม้ เป็นทางเดินทอดแนวยาวไปอีกด้านของอาคารได้ มีช่องลมพัดผ่านเข้ามาเป็นระยะๆ หรือจะเดินขึ้นไปด้านบนสุดของอาคาร มีลักษณะคล้ายกับชั้นดาดฟ้า มีกระจกแผ่นใสกั้นอยู่ริมทางเดิน หากเดินไปยังสุดทางเดิน จะมองเห็นวิวทิวทัศน์ของริมสองฝั่งแม่น้ำ


ถ้าใครมาชมพาสานในช่วงเย็น ก็จะได้ชมวิวพระอาทิตย์ตก และชมความงดงามของต้นน้ำเจ้าพระยา สัมผัสวิถีชีวิตของคนริมนํ้าแห่งปากนํ้าโพ ของนครสวรรค์แห่งนี้ นอกจากนี้ตรงบริเวณสุดทางเดินด้านล่างของตัวอาคาร จะมีลานประดิษฐานองค์เจ้าแม่กวนอิม หากใครไปเที่ยวที่พาสานแล้วก็สามารถเข้ากราบสักการะท่านกันได้ หรือจะนั่งเรือรับจ้างเพื่อข้ามไปยังศาลเจ้าพ่อเทพารักษ์-เจ้าแม่ทับทิม โดยตัวศาลเจ้านั้นตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ตรงข้ามตลาดปากน้ำโพ

โดยศาลเจ้าแห่งนี้ยังคงโครงสร้างเป็นปูน ตอนกลางเป็นอาคารไม้ดั้งเดิม ภายในนอกจากแท่นบูชาเทพยาฟ้าดินแล้ว ยังมีที่ประดิษฐานองค์เทพเจ้าบ๊นเถ่ากง ด้านขวาเป็นเทพเจ้ากวนอู ด้านซ้ายประดิษฐานเจ้าแม่ทับทิม ที่มีผู้คนเดินทางมากราบไหว้ขอพรบารมีจากเจ้าแม่ให้คุ้มครอง และขอให้มีโชคลาภตลอดทั้งปี โดยเฉพาะในเทศกาลตรุษจีนจะมีการอัญเชิญองค์เทพเจ้าแห่รอบตลาดปากน้ำโพ เพื่อให้ประชาชนสักการะบูชา ซึ่งมีการจัดขบวนแห่อย่างยิ่งใหญ่ในทุกๆ ปี
สอบถามข้อมูลด้านสถานที่ท่องเที่ยวเพิ่มเติมได้ที่ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานนครสวรรค์ (นครสวรรค์ พิจิตร) โทร.0-5622-1811-2
สามารถส่งข้อมูลข่าวสารด้านการท่องเที่ยว-อาหารมาได้ที่ กอง บก.ข่าวท่องเที่ยว แฟกซ์ 0-2629-4467 อีเมล์ travel_astvmgr@hotmail.com หรือติดตามเพิ่มเติมได้ที่ Facebook :Travel @ Manager
“นครสวรรค์” หรือเมืองที่รู้จักกันดีในนาม “ปากน้ำโพ” เนื่องจากเป็นศูนย์รวมของแม่น้ำทั้ง 4 สายไหลมาบรรจบกัน คือ ปิง วัง ยม และน่าน อันเป็นจุดกำเนิดของแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำสายสำคัญของประเทศ
เมืองสวรรค์แห่งปากน้ำโพ มีสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจอยู่มากมายหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็น วัดวาอาราม โบราณสถาน แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติอันงดงาม รวมถึงมีร้านอาหารให้เลือกลิ้มรสต่างๆ เรียกได้ว่ามีที่เที่ยว ที่กิน อย่างครบครัน
ล่าสุดนี้เมืองนครสวรรค์มีแลนด์มาร์กแห่งใหม่ ที่ดึงดูดใจผู้คนชาวนครสวรรค์และนักท่องเที่ยว ได้ไปสัมผัสบรรยากาศริมแม่น้ำเจ้าพระยา ไปพักผ่อนสูดอากาศบริสุทธิ์ สถานที่ที่จะแนะนำในครั้งนี้ก็คือ “พาสาน” ตั้งอยู่บนเนื้อที่กว่า 3 ไร่ บริเวณจุดบรรจบของแม่น้ำทั้ง 4 สาย ที่ไหลมารวมตัวกันเป็นแม่น้ำเจ้าพระยา
แลนด์มาร์กแห่งใหม่ของเมืองปากน้ำโพ อย่าง “พาสาน” ตั้งอยู่บนเกาะยม ในตัวเมืองนครสวรรค์ ซึ่งเป็นจุดกำเนิดของแม่น้ำสายสำคัญของไทย นั่นก็คือ แม่น้ำเจ้าพระยา ที่เกิดขึ้นมาจากการรวมตัวกันของแม่น้ำ 4 สาย คือ ปิง วัง ยม น่าน ที่ไหลมาผสานกันจาก 4 เป็น 2 และจาก 2 (ปิงและน่าน) มารวมกันเป็นหนึ่งเดียว ซึ่งเปรียบเสมือนเป็นการผสมผสานวัฒนธรรม และวิถีชีวิตที่แตกต่างกันตามริมแม่น้ำตลอดสาย
รูปแบบของอาคารแห่งนี้ ได้มีการออกแบบมาเป็นเส้นสายโค้งมาบรรจบกัน ดูคล้ายกับการรวมตัวกันของสายน้ำทั้ง 4 สายที่ไหลมารวมกันเป็นหนึ่ง นอกจากนี้อาคารพาสานยังทำหน้าที่เป็นสื่อกลางให้ผู้คนได้ชมการผสานกันของแม่น้ำ โดยมุมมองที่สามารถเห็นแม่น้ำทั้งสองฝั่งไปพร้อมกัน จนมาบรรจบกันที่จุดปลาย อีกทั้งคนที่อยู่ริมสองฝั่งแม่น้ำยังสามารถมองลอดผ่านโครงสร้างอาคารที่แตะผิวดินน้อยที่สุด ทำให้ความสัมพันธ์ของคนสองฝั่งยังเชื่อมถึงกัน และยังมองเห็นสีของ 2 สายน้ำที่ไหลมารวมกันด้วย
หากใครที่สนใจเดินทางเข้ามาสถาปัตยกรรมของพาสาน สามารถนั่งเรือรับจ้างที่จอดให้บริการอยู่ทั้งสองริมฝั่งแม่น้ำ โดยมีค่าบริการคนละ 30 บาท ภายในอาคารตกแต่งด้วยไม้ เป็นทางเดินทอดแนวยาวไปอีกด้านของอาคารได้ มีช่องลมพัดผ่านเข้ามาเป็นระยะๆ หรือจะเดินขึ้นไปด้านบนสุดของอาคาร มีลักษณะคล้ายกับชั้นดาดฟ้า มีกระจกแผ่นใสกั้นอยู่ริมทางเดิน หากเดินไปยังสุดทางเดิน จะมองเห็นวิวทิวทัศน์ของริมสองฝั่งแม่น้ำ
ถ้าใครมาชมพาสานในช่วงเย็น ก็จะได้ชมวิวพระอาทิตย์ตก และชมความงดงามของต้นน้ำเจ้าพระยา สัมผัสวิถีชีวิตของคนริมนํ้าแห่งปากนํ้าโพ ของนครสวรรค์แห่งนี้ นอกจากนี้ตรงบริเวณสุดทางเดินด้านล่างของตัวอาคาร จะมีลานประดิษฐานองค์เจ้าแม่กวนอิม หากใครไปเที่ยวที่พาสานแล้วก็สามารถเข้ากราบสักการะท่านกันได้ หรือจะนั่งเรือรับจ้างเพื่อข้ามไปยังศาลเจ้าพ่อเทพารักษ์-เจ้าแม่ทับทิม โดยตัวศาลเจ้านั้นตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ตรงข้ามตลาดปากน้ำโพ
โดยศาลเจ้าแห่งนี้ยังคงโครงสร้างเป็นปูน ตอนกลางเป็นอาคารไม้ดั้งเดิม ภายในนอกจากแท่นบูชาเทพยาฟ้าดินแล้ว ยังมีที่ประดิษฐานองค์เทพเจ้าบ๊นเถ่ากง ด้านขวาเป็นเทพเจ้ากวนอู ด้านซ้ายประดิษฐานเจ้าแม่ทับทิม ที่มีผู้คนเดินทางมากราบไหว้ขอพรบารมีจากเจ้าแม่ให้คุ้มครอง และขอให้มีโชคลาภตลอดทั้งปี โดยเฉพาะในเทศกาลตรุษจีนจะมีการอัญเชิญองค์เทพเจ้าแห่รอบตลาดปากน้ำโพ เพื่อให้ประชาชนสักการะบูชา ซึ่งมีการจัดขบวนแห่อย่างยิ่งใหญ่ในทุกๆ ปี
สอบถามข้อมูลด้านสถานที่ท่องเที่ยวเพิ่มเติมได้ที่ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานนครสวรรค์ (นครสวรรค์ พิจิตร) โทร.0-5622-1811-2
สามารถส่งข้อมูลข่าวสารด้านการท่องเที่ยว-อาหารมาได้ที่ กอง บก.ข่าวท่องเที่ยว แฟกซ์ 0-2629-4467 อีเมล์ travel_astvmgr@hotmail.com หรือติดตามเพิ่มเติมได้ที่ Facebook :Travel @ Manager