Facebook :Travel @ Manager
“เชียงคาน” เป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดเลย ตั้งอยู่ติดริมน้ำโขงไหลผ่าน มีทัศนียภาพและบรรยากาศอันทรงเสน่ห์ ความโดดเด่นของที่เมืองเชียงคานนี้คือชุมชนเรือนไม้เก่าแก่สุดคลาสสิก ที่เป็นเอกลักษณ์สร้างอยู่ริมแม่น้ำโขง ความงดงามนี้เองจึงชวนให้หลายคนหลงใหลและอยากไปสัมผัส
นอกจากความงดงามของธรรมชาติของริมฝั่งโขงแล้ว ที่เมืองเชียงคานยังมีชุมชนทอผ้าพื้นเมืองที่โดดเด่น และยังได้ถูกคัดเลือกให้เป็นหนึ่งในสถานที่เปิดตัวแคมเปญ “นุ่งสยามสามฤดู” จัดขึ้นโดยการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ร่วมกับผู้เชี่ยวชาญด้านแฟชั่นผ้าไทย เพื่อมาสร้างแรงบันดาลใจในการเดินทาง โดยพาผู้โชคดีที่ร่วมกิจกรรมไปร่วมแต่งผ้าไทย ซื้อผ้าไทย และโพสต์ท่าถ่ายภาพเก๋ๆ ริมแม่น้ำโขง โดยช่างภาพชื่อดัง เพื่อเรียนรู้วัฒนธรรมของภาคอีสาน
นางจิราณี พูนนายม ผู้อำนวยการกองตลาดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) กล่าวว่า ททท.ได้จัดกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวตลาดผู้หญิง ด้วยการเปิดตัวแคมเปญ “นุ่งสยามสามฤดู” ภายใต้แนวคิด “ซื้อผ้าไทย ใส่ผ้าไทย เที่ยวเมืองไทย” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างการรับรู้เกี่ยวกับผ้าไทยในมุมมองใหม่ในรูปแบบที่ทันสมัย นำเสนอการท่องเที่ยวแบบลึกซึ้งถึงประสบการณ์ท้องถิ่น เน้นให้นักท่องเที่ยวเดินทางเรียนรู้สัมผัสวัฒนธรรมท้องถิ่น วิถีชุมชน ภูมิปัญญาท้องถิ่น
สำหรับแคมเปญ “นุ่งสยามสามฤดู” ททท.มุ่งเน้นในการสร้างการรับรู้ในการแต่งผ้าไทยในแบบประยุกต์ ปลุกกระแสด้วยการใช้อินฟฺลูเอนเซอร์ และไมโครอินฟฺลูเอนเซอร์ นำเสนอไปยังกลุ่มเป้าหมายจำนวน 1 ล้านคน เริ่มแคมเปญด้วยการจับมือกับ “แพรี่พาย” ในการเป็นผู้นำเทรนในการแต่งผ้าไทย เที่ยวเมืองไทยเดินทางท่องเที่ยวในพื้นที่ต่างๆในรูปแบบที่ประยุกต์ให้ทันสมัยได้ทุกฤดูกาล ด้วยการจัดทำ VLOG จำนวน 5 Clip 5 ภูมิภาค ซึ่งล่าสุดได้มีการเผยแพร่ในส่วนของภาคเหนือภาคอีสานเป็นที่เรียบร้อยแล้วและได้รับความสนใจและการตอบรับอย่างมาก
นอกจากนี้ได้จัดทำ “Look Book-นุ่งสยามสามฤดู” จำนวน 3,000 เล่มด้วยการจับมือกับ “ตุ้ม-กรรณิการ์ แสงจันทร์” สไตล์ลิสต์จาก Made By Hotcake ผู้หลงใหลในผ้าไทยและงานฝีมือจากท้องถิ่นและสนับสนุนชุมชนอย่างเต็มหัวใจมาร่วมออกแบบและ มิกซ์แอนด์แมตช์ผ้าไทยให้ดูทันสมัยและเหมาะสมในการใส่ทุกโอกาส สร้างแรงบันดาลการแต่งผ้าไทย และนำเสนอเรื่องราวของการเดินทางท่องเที่ยวผสมผสานกับแฟชั่นผ้าไทย
สถานที่แรกของทริปนี้อยู่ที่ “กลุ่มทอผ้าพื้นเมืองบ้านนาป่าหนาด” ตั้งอยู่ที่ หมู่ 12 ต.เขาแก้ว อ.เชียงคาน กลุ่มทอผ้าแห่งนี้เกิดจากการรวมตัวของชุมชน ร่วมกันทำผ้าแบบโบราณ โดยใช้สีจากธรรมชาติ
นางโสภา คุ้มคำ ประธานกลุ่มทอผ้าพื้นเมืองบ้านนาป่าหนาด เล่าให้ฟังว่า ชนกลุ่มคนไทดำมีภูมิปัญญาเรื่องนี้อยู่แล้ว จึงจัดตั้งกลุ่มทอผ้าฝ้ายพื้นเมืองบ้านนาป่าหนาดขึ้น และรวมกลุ่มสร้างอาชีพ จึงรวมกลุ่มกันทำผ้าทอมือแบบโบราณ โดยช่วงแรก ๆ ทอใช้กันเองในครอบครัวในชุมชนก่อน และเป็นกลุ่มแรกที่ใช้ฝ้ายจากเส้นใยฝ้ายปั่นมือ ซึ่งฝ้ายพื้นเมืองปัจจุบันใกล้จะหมดไป แต่ทางกลุ่มอนุรักษ์ปลูกฝ้ายพื้นเมืองขึ้น
โดยการทอผ้าของกลุ่มจะใช้ย้อมสีธรรมชาติ เน้นใช้วัสดุในท้องถิ่น หลีกเลี่ยงแหล่งสีธรรมชาติที่เป็นแหล่งอาหารหรือพืชหายาก เช่น เปลือกไม้ตามฤดูกาล และขี้เลื่อย พอเปลี่ยนมาย้อมสีธรรมชาติ คุณภาพสินค้าก็ดีขึ้น ราคาก็สูงขึ้น ทำส่งลูกค้าทั้งในประเทศและต่างประเทศ นอกจากนี้เป้าหมายหลักของกลุ่มเราก็เพื่อถ่ายทอด และสืบทอดกระบวนการทอผ้าแบบโบราณดั้งเดิมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมต่อไปให้กับคนรุ่นหลัง
จากนั้นเดินทางไปยัง “หมู่บ้านวัฒนธรรมไทดำ” ชาวบ้านที่นี่เป็นกลุ่มชาวไทกลุ่มหนึ่งที่เคยตั้งรกรากอยู่ในเมืองไทดำ บริเวณลุ่มแม่น้ำดำและแม่น้ำแดงในเขตเวียดนามเหนือ เมื่อปี พ.ศ.2425 สมัยสงครามฮ่อ และหลังจากสงครามยุติลง ไทดำส่วนหนึ่งจึงได้อพยพผ่านเข้ามาสู่ประเทศไทย กลุ่มหนึ่งที่เรารู้จักกันดีก็คือ “ไทดำ” หรือ “ลาวโซ่ง” ที่อยู่ในเขตจังหวัดเพชรบุรี ส่วนหนึ่งจะอาศัยอยู่ทางภาคกลาง ส่วนกลุ่มสุดท้ายก็อาศัยอยู่ที่บ้านนาป่าหนาด จังหวัดเลย นอกจากนี้ ไทดำที่อพยพเข้ามายังบ้านนาป่าหนาดแห่งนี้
นอกจากการเยี่ยมชมวิถีชีวิตและสภาพบ้านเรือนของชาวไทดำ จุดที่นักท่องเที่ยวนิยมแวะกันก็คือ “หมู่บ้านวัฒนธรรมไทดำ” ซึ่งตั้งอยู่บริเวณ บ้านนาป่าหนาด หมู่ที่ 4 ที่นี่เราจะพบกับบ้านจำลองที่สร้างขึ้นตามรูปแบบของชาวไทดำในอดีต โดยตัวบ้านจะสร้างแบบเรือนเครื่องผูก หลังคามุงด้วยหญ้าคาหรือแฝก ใต้ถุนสูง
บริเวณใต้ถุนบ้านที่ศูนย์วัฒนธรรมแห่งนี้ ยังมีกลุ่มสตรีสหกรณ์ชาวไทดำนั่งรวมตัวกันทำผ้าทอมือแบบโบราณ หลังว่างเว้นจากการทำนา เพาะปลูก ให้ได้ชมกัน ซึ่งขอบอกว่าพลาดไม่ได้เลย เพราะผ้าทอมือหรือที่ชาวไทดำเรียกว่า “ซิ่นนางหาญ” มรดกตกทอดที่ทำสืบต่อกันมากว่า 100 ปีนั้น มีลวดลายที่สวยงามและเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวอย่างมาก
ความเป็นมาของคำว่า “ซิ่นนางหาญ” นี้ มีตำนานที่เล่าสืบต่อกันมาว่า มีหญิงไทดำ 3 พี่น้องตั้งใจที่จะทอผ้าซิ่นขึ้นมาผืนหนึ่ง โดยหญิงคนแรกเป็นผู้คิดค้นการมัดลายและทำการทอ แต่ทอยังไม่ทันแล้วเสร็จก็ได้เสียชีวิตลง หญิงคนที่สองจึงได้ทอต่อ และในระหว่างทอก็เสียชีวิตตามกันไปเป็นคนที่สอง หญิงคนที่สามจึงได้บอกกล่าวผีเรือนว่า หากทอซิ่นผืนนี้สำเร็จ ก็จะทำพิธีเซ่นไหว้ผีเรือนให้ จากนั้นหญิงคนที่สามทอซิ่นผืนดังกล่าวได้สำเร็จ ตั้งแต่นั้นมาชาวไทดำจึงนิยมใช้ซิ่นนางหาญในการประกอบพิธีเสนเรือนเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน
อีกหนึ่งเอกลักษณ์อันโดดเด่น เมื่อเรามาถึงเชียงคานแล้วจะต้องแวะมาที่ “ร้านนิยมไทย” เป็นร้านขายผ้านวมที่ทำสืบทอกันมานาน มีทั้งผ้าห่ม ผ้านวม หมอนข้าง หมองอิง ที่ผลิตมาจากฝ้ายธรรมชาติ ถือเป็นร้านที่ขายสินค้าพื้นเมืองและเลื่องชื่อของเชียงคาน รูปแบบร้านสไตล์ดั่งเดิมแบบพื้นบ้านคงไว้ อุปกรณ์และวิธีการทำก็ดั่งเดิม คลาสสิคและอบอุ่น และที่แปลกแตกต่างจากที่อื่นก็คือ ผ้าห่มร้านนี้ขายเป็นกิโลกรัม ไม่ว่าจะเป็นผืนเล็กหรือผืนใหญ่ก็ขึ้นอยู่กับน้ำหนักของผ้าห่มผืนนั้น
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สำนักงานเลย โทร. 0-4281-2812/0-4281-1405
สามารถส่งข้อมูลข่าวสารด้านการท่องเที่ยว-อาหารมาได้ที่ กอง บก.ข่าวท่องเที่ยว แฟกซ์ 0-2629-4467 อีเมล์ travel_astvmgr@hotmail.com หรือติดตามเพิ่มเติมได้ที่ Facebook :Travel @ Manager
“เชียงคาน” เป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดเลย ตั้งอยู่ติดริมน้ำโขงไหลผ่าน มีทัศนียภาพและบรรยากาศอันทรงเสน่ห์ ความโดดเด่นของที่เมืองเชียงคานนี้คือชุมชนเรือนไม้เก่าแก่สุดคลาสสิก ที่เป็นเอกลักษณ์สร้างอยู่ริมแม่น้ำโขง ความงดงามนี้เองจึงชวนให้หลายคนหลงใหลและอยากไปสัมผัส
นอกจากความงดงามของธรรมชาติของริมฝั่งโขงแล้ว ที่เมืองเชียงคานยังมีชุมชนทอผ้าพื้นเมืองที่โดดเด่น และยังได้ถูกคัดเลือกให้เป็นหนึ่งในสถานที่เปิดตัวแคมเปญ “นุ่งสยามสามฤดู” จัดขึ้นโดยการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ร่วมกับผู้เชี่ยวชาญด้านแฟชั่นผ้าไทย เพื่อมาสร้างแรงบันดาลใจในการเดินทาง โดยพาผู้โชคดีที่ร่วมกิจกรรมไปร่วมแต่งผ้าไทย ซื้อผ้าไทย และโพสต์ท่าถ่ายภาพเก๋ๆ ริมแม่น้ำโขง โดยช่างภาพชื่อดัง เพื่อเรียนรู้วัฒนธรรมของภาคอีสาน
นางจิราณี พูนนายม ผู้อำนวยการกองตลาดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) กล่าวว่า ททท.ได้จัดกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวตลาดผู้หญิง ด้วยการเปิดตัวแคมเปญ “นุ่งสยามสามฤดู” ภายใต้แนวคิด “ซื้อผ้าไทย ใส่ผ้าไทย เที่ยวเมืองไทย” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างการรับรู้เกี่ยวกับผ้าไทยในมุมมองใหม่ในรูปแบบที่ทันสมัย นำเสนอการท่องเที่ยวแบบลึกซึ้งถึงประสบการณ์ท้องถิ่น เน้นให้นักท่องเที่ยวเดินทางเรียนรู้สัมผัสวัฒนธรรมท้องถิ่น วิถีชุมชน ภูมิปัญญาท้องถิ่น
สำหรับแคมเปญ “นุ่งสยามสามฤดู” ททท.มุ่งเน้นในการสร้างการรับรู้ในการแต่งผ้าไทยในแบบประยุกต์ ปลุกกระแสด้วยการใช้อินฟฺลูเอนเซอร์ และไมโครอินฟฺลูเอนเซอร์ นำเสนอไปยังกลุ่มเป้าหมายจำนวน 1 ล้านคน เริ่มแคมเปญด้วยการจับมือกับ “แพรี่พาย” ในการเป็นผู้นำเทรนในการแต่งผ้าไทย เที่ยวเมืองไทยเดินทางท่องเที่ยวในพื้นที่ต่างๆในรูปแบบที่ประยุกต์ให้ทันสมัยได้ทุกฤดูกาล ด้วยการจัดทำ VLOG จำนวน 5 Clip 5 ภูมิภาค ซึ่งล่าสุดได้มีการเผยแพร่ในส่วนของภาคเหนือภาคอีสานเป็นที่เรียบร้อยแล้วและได้รับความสนใจและการตอบรับอย่างมาก
นอกจากนี้ได้จัดทำ “Look Book-นุ่งสยามสามฤดู” จำนวน 3,000 เล่มด้วยการจับมือกับ “ตุ้ม-กรรณิการ์ แสงจันทร์” สไตล์ลิสต์จาก Made By Hotcake ผู้หลงใหลในผ้าไทยและงานฝีมือจากท้องถิ่นและสนับสนุนชุมชนอย่างเต็มหัวใจมาร่วมออกแบบและ มิกซ์แอนด์แมตช์ผ้าไทยให้ดูทันสมัยและเหมาะสมในการใส่ทุกโอกาส สร้างแรงบันดาลการแต่งผ้าไทย และนำเสนอเรื่องราวของการเดินทางท่องเที่ยวผสมผสานกับแฟชั่นผ้าไทย
สถานที่แรกของทริปนี้อยู่ที่ “กลุ่มทอผ้าพื้นเมืองบ้านนาป่าหนาด” ตั้งอยู่ที่ หมู่ 12 ต.เขาแก้ว อ.เชียงคาน กลุ่มทอผ้าแห่งนี้เกิดจากการรวมตัวของชุมชน ร่วมกันทำผ้าแบบโบราณ โดยใช้สีจากธรรมชาติ
นางโสภา คุ้มคำ ประธานกลุ่มทอผ้าพื้นเมืองบ้านนาป่าหนาด เล่าให้ฟังว่า ชนกลุ่มคนไทดำมีภูมิปัญญาเรื่องนี้อยู่แล้ว จึงจัดตั้งกลุ่มทอผ้าฝ้ายพื้นเมืองบ้านนาป่าหนาดขึ้น และรวมกลุ่มสร้างอาชีพ จึงรวมกลุ่มกันทำผ้าทอมือแบบโบราณ โดยช่วงแรก ๆ ทอใช้กันเองในครอบครัวในชุมชนก่อน และเป็นกลุ่มแรกที่ใช้ฝ้ายจากเส้นใยฝ้ายปั่นมือ ซึ่งฝ้ายพื้นเมืองปัจจุบันใกล้จะหมดไป แต่ทางกลุ่มอนุรักษ์ปลูกฝ้ายพื้นเมืองขึ้น
โดยการทอผ้าของกลุ่มจะใช้ย้อมสีธรรมชาติ เน้นใช้วัสดุในท้องถิ่น หลีกเลี่ยงแหล่งสีธรรมชาติที่เป็นแหล่งอาหารหรือพืชหายาก เช่น เปลือกไม้ตามฤดูกาล และขี้เลื่อย พอเปลี่ยนมาย้อมสีธรรมชาติ คุณภาพสินค้าก็ดีขึ้น ราคาก็สูงขึ้น ทำส่งลูกค้าทั้งในประเทศและต่างประเทศ นอกจากนี้เป้าหมายหลักของกลุ่มเราก็เพื่อถ่ายทอด และสืบทอดกระบวนการทอผ้าแบบโบราณดั้งเดิมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมต่อไปให้กับคนรุ่นหลัง
จากนั้นเดินทางไปยัง “หมู่บ้านวัฒนธรรมไทดำ” ชาวบ้านที่นี่เป็นกลุ่มชาวไทกลุ่มหนึ่งที่เคยตั้งรกรากอยู่ในเมืองไทดำ บริเวณลุ่มแม่น้ำดำและแม่น้ำแดงในเขตเวียดนามเหนือ เมื่อปี พ.ศ.2425 สมัยสงครามฮ่อ และหลังจากสงครามยุติลง ไทดำส่วนหนึ่งจึงได้อพยพผ่านเข้ามาสู่ประเทศไทย กลุ่มหนึ่งที่เรารู้จักกันดีก็คือ “ไทดำ” หรือ “ลาวโซ่ง” ที่อยู่ในเขตจังหวัดเพชรบุรี ส่วนหนึ่งจะอาศัยอยู่ทางภาคกลาง ส่วนกลุ่มสุดท้ายก็อาศัยอยู่ที่บ้านนาป่าหนาด จังหวัดเลย นอกจากนี้ ไทดำที่อพยพเข้ามายังบ้านนาป่าหนาดแห่งนี้
นอกจากการเยี่ยมชมวิถีชีวิตและสภาพบ้านเรือนของชาวไทดำ จุดที่นักท่องเที่ยวนิยมแวะกันก็คือ “หมู่บ้านวัฒนธรรมไทดำ” ซึ่งตั้งอยู่บริเวณ บ้านนาป่าหนาด หมู่ที่ 4 ที่นี่เราจะพบกับบ้านจำลองที่สร้างขึ้นตามรูปแบบของชาวไทดำในอดีต โดยตัวบ้านจะสร้างแบบเรือนเครื่องผูก หลังคามุงด้วยหญ้าคาหรือแฝก ใต้ถุนสูง
บริเวณใต้ถุนบ้านที่ศูนย์วัฒนธรรมแห่งนี้ ยังมีกลุ่มสตรีสหกรณ์ชาวไทดำนั่งรวมตัวกันทำผ้าทอมือแบบโบราณ หลังว่างเว้นจากการทำนา เพาะปลูก ให้ได้ชมกัน ซึ่งขอบอกว่าพลาดไม่ได้เลย เพราะผ้าทอมือหรือที่ชาวไทดำเรียกว่า “ซิ่นนางหาญ” มรดกตกทอดที่ทำสืบต่อกันมากว่า 100 ปีนั้น มีลวดลายที่สวยงามและเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวอย่างมาก
ความเป็นมาของคำว่า “ซิ่นนางหาญ” นี้ มีตำนานที่เล่าสืบต่อกันมาว่า มีหญิงไทดำ 3 พี่น้องตั้งใจที่จะทอผ้าซิ่นขึ้นมาผืนหนึ่ง โดยหญิงคนแรกเป็นผู้คิดค้นการมัดลายและทำการทอ แต่ทอยังไม่ทันแล้วเสร็จก็ได้เสียชีวิตลง หญิงคนที่สองจึงได้ทอต่อ และในระหว่างทอก็เสียชีวิตตามกันไปเป็นคนที่สอง หญิงคนที่สามจึงได้บอกกล่าวผีเรือนว่า หากทอซิ่นผืนนี้สำเร็จ ก็จะทำพิธีเซ่นไหว้ผีเรือนให้ จากนั้นหญิงคนที่สามทอซิ่นผืนดังกล่าวได้สำเร็จ ตั้งแต่นั้นมาชาวไทดำจึงนิยมใช้ซิ่นนางหาญในการประกอบพิธีเสนเรือนเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน
อีกหนึ่งเอกลักษณ์อันโดดเด่น เมื่อเรามาถึงเชียงคานแล้วจะต้องแวะมาที่ “ร้านนิยมไทย” เป็นร้านขายผ้านวมที่ทำสืบทอกันมานาน มีทั้งผ้าห่ม ผ้านวม หมอนข้าง หมองอิง ที่ผลิตมาจากฝ้ายธรรมชาติ ถือเป็นร้านที่ขายสินค้าพื้นเมืองและเลื่องชื่อของเชียงคาน รูปแบบร้านสไตล์ดั่งเดิมแบบพื้นบ้านคงไว้ อุปกรณ์และวิธีการทำก็ดั่งเดิม คลาสสิคและอบอุ่น และที่แปลกแตกต่างจากที่อื่นก็คือ ผ้าห่มร้านนี้ขายเป็นกิโลกรัม ไม่ว่าจะเป็นผืนเล็กหรือผืนใหญ่ก็ขึ้นอยู่กับน้ำหนักของผ้าห่มผืนนั้น
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สำนักงานเลย โทร. 0-4281-2812/0-4281-1405
สามารถส่งข้อมูลข่าวสารด้านการท่องเที่ยว-อาหารมาได้ที่ กอง บก.ข่าวท่องเที่ยว แฟกซ์ 0-2629-4467 อีเมล์ travel_astvmgr@hotmail.com หรือติดตามเพิ่มเติมได้ที่ Facebook :Travel @ Manager