Facebook :Travel @ Manager

เมื่อพูดถึงแห้วหลายคนมักจะนึกถึงพืชหัวสีดำ มีจุกอยู่ตรงกลาง มีลักษณะคล้ายหัวหอมขนาดเล็ก แต่หากถามว่าแหล่งเพาะปลูกที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทยอยู่จังหวัดอะไร ขอตอบเลยว่าอยู่ที่ "สมหวัง@วังยาง" ตำบลวังยาง อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี เพราะนอกจากจะเป็นพื้นที่ในการปลูกแห้วที่ใหญ่ที่สุดแล้ว ที่นี่ยังมีการส่งเสริมและสนับสนุนให้เกษตรกรทำนาแห้วปลอดสารพิษ เพื่อให้ได้ผลผลิตที่ปลอดภัยและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมด้วย
"แห้ว" หรือ สมหวัง ถือเป็นอีกหนึ่งเอกลักษณ์ของสุพรรณบุรี ที่ทำให้ใครที่แวะเวียนหรือผ่านมา ต้องแวะซื้อแห้วติดไม้ติดมือไปเป็นของฝาก จึงจะเรียกได้ว่า มาถึงสุพรรณบุรีอย่างแท้จริง ด้วยเหตุนี้เองจึงทำให้แห้วเป็นอีกหนึ่งสินค้าที่ทำชื่อเสียงให้กับจังหวัดสุพรรณบุรี ไม่ใช่แค่รสชาติหวาน มันกรอบ และกลิ่นหอมชวนกิน แต่แห้วยังมีสรรพคุณอีกนานับประการเลยทีเดียว

รสชาติอันโดดเด่นของแห้วที่ตำบลวังยาง มีอร่อยแตกต่างจากที่อื่นก็เพราะว่า ดินในพื้นที่ของตำบลวังยางเป็นดินมีคุณภาพ มีความเหมาะสมในการปลูกแห้ว เมื่อแห้วโตเต็มวัยหรือแก่เต็มที่ชาวบ้านก็จะมาเก็บเกี่ยวผลผลิตเพื่อนำไปขายสู่ตลาดให้ทุกคนได้ลิ้มรสกัน หากใครได้มาชิมแห้วที่นี่แล้วจะสัมผัสได้ถึงความหวาน กรอบ มัน และที่สำคัญคือกินแล้วปลอดภัยไร้สารใดๆ เจือปน

ก่อนที่เราจะลงนาไปงมแห้วนั้น เราจะต้องเตรียมพร้อมด้วยการใส่รองเท้าบูทยาง และใส่ถุงมือยาง เพื่อป้องกันการเลอะเทอะเปรอะเปื้อน เพราะในนาจะเป็นดินโคลนหากใส่รองเท้าแตะจะทำให้เดินลำบากและอาจลื่นหกล้มได้ง่าย เมื่อใส่อุปกรณ์เสร็จเรียบร้อยแล้ว จากนั้นเดินทางต่อไปด้วยรถอีแต๊ก ใช้เวลาในเดินทางประมาณ 10 นาทีก็มาถึงจุดหมาย


ท้องทุ่งสีเขียวขจีที่มองเผินๆ เหมือนนาข้าว ที่มีน้ำขังกลางคันนา แต่แท้จริงแล้วนั่นคือหาแห้วที่เราจะลงไปงมนั่นเอง ขั้นตอนการเก็บเกี่ยวก็เริ่มจากเดินลุยน้ำลงไปที่กลางนาแห้ว จากนั้นก็ใช้มือจ้วงลงไปในดินเพื่อควานหาหัวแห้วที่ฝังอยู่ในใต้ดิน เมื่อหาเจอแล้วก็โกยขึ้นมาใส่ในตะกร้าที่มีช่องเล็กๆ แล้วนำไปล้างดินโคลนให้หลุดออกจากหัวแห้วให้หมด เมื่อเก็บแห้วจนเต็มตะกร้าแล้วก็ได้เวลากลับไปยังชุมชน


ไหนๆ ก็มาถึงแหล่งนาแห้วแล้ว ต้องไม่พลาดที่จะได้ชิมรสชาติกันสักหน่อย นอกจากการกินแบบต้มสุกที่เราเห็นทั่วไป ที่นี่ยังมีการนำแห้วมาทำเป็นเมนูอาหาร ทั้งคาวหวานให้ได้กินกัน ไม่ว่าจะเป็น น้ำพริก แกงส้ม ต้มจืด ทอดมัน ข้าวเกรียบ และอีกหลายๆ เมนูพื้นบ้าน และครั้งนี้ทางชุมชนได้เตรียมเมนูเพื่อได้ลองทำก็คือ "ทับทิมกรอบ"


การทำเมนู "ทับทิมกรอบ" เมนูของหวานที่ใครๆ ก็สามารถทำได้ เริ่มจากนำแห้วที่เก็บมาสดๆ ล้างให้สะอาดปราศจากดินโคลน จากนั้นนำมาปอกเปลือกสีดำออกให้หมด แล้วนำหั่นเป็นชิ้นสี่เหลี่ยมลูกเต๋า แล้วตักใส่ถ้วยราดด้วยน้ำหวานเฮลซ์บลูบอยสีแดงหรือสีเขียวก็ได้ตามใจชอบ ตักช้อนขึ้นให้เสด็จน้ำมาคลุกเคล้ากับแป้งมันสำปะหลัง จากนั้นร่อนแป้งออกเหลือเพียงที่ติดอยู่กับแห้ว แล้วนำไปต้มจนแป้งสุกได้ที่ และใช้ตะแกรนช้อนขึ้นมาน๊อคน้ำแข็งก่อนใส่ไปใส่ถ้วย จากนั้นราดด้วยน้ำกะทิแล้วโปะด้วยน้ำแข็ง เพียงเท่านี้ก็ได้ขนมหวานชามโปรด จากแห้วที่เก็บด้วยมือของเรา

ตำบลวังยาง ติดอยู่ อยู่ติด ถนนสาย 340 ห่างจากกรุงเทพฯ แค่ 100 กว่ากิโลเมตร มีการเดินทางที่สะดวก และใช้เวลาไม่มาก จึงเป็นอีกแหล่งท่องเที่ยว เชิงเกษตรสร้างสรรค์ ที่จะทำให้ ผู้มาเยือน ได้เรียนรู้และสัมผัส กลิ่นอายท้องทุ่ง เรียนรู้การทำนาแห้ว และสัมผัสวิถีชีวิต ที่เรียบง่าย และงดงาม ของชาววังยาง จังหวัดสุพรรณบุรี
หากสนใจกลุ่มท่องเที่ยวชุมชน สมหวัง@วังยาง สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ เทศบาลตำบลวังยาง ตำบลวังยาง อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี โทร. 06-2678-5777 หรือ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานสุพรรณบุรี (สุพรรณบุรี-อ่างทอง) โทร. 0-3552-5863-4, 0-3552-5867, 0-3552-5880
สามารถส่งข้อมูลข่าวสารด้านการท่องเที่ยว-อาหารมาได้ที่ กอง บก.ข่าวท่องเที่ยว แฟกซ์ 0-2629-4467 อีเมล์ travel_astvmgr@hotmail.com หรือติดตามเพิ่มเติมได้ที่ Facebook :Travel @ Manager
เมื่อพูดถึงแห้วหลายคนมักจะนึกถึงพืชหัวสีดำ มีจุกอยู่ตรงกลาง มีลักษณะคล้ายหัวหอมขนาดเล็ก แต่หากถามว่าแหล่งเพาะปลูกที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทยอยู่จังหวัดอะไร ขอตอบเลยว่าอยู่ที่ "สมหวัง@วังยาง" ตำบลวังยาง อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี เพราะนอกจากจะเป็นพื้นที่ในการปลูกแห้วที่ใหญ่ที่สุดแล้ว ที่นี่ยังมีการส่งเสริมและสนับสนุนให้เกษตรกรทำนาแห้วปลอดสารพิษ เพื่อให้ได้ผลผลิตที่ปลอดภัยและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมด้วย
"แห้ว" หรือ สมหวัง ถือเป็นอีกหนึ่งเอกลักษณ์ของสุพรรณบุรี ที่ทำให้ใครที่แวะเวียนหรือผ่านมา ต้องแวะซื้อแห้วติดไม้ติดมือไปเป็นของฝาก จึงจะเรียกได้ว่า มาถึงสุพรรณบุรีอย่างแท้จริง ด้วยเหตุนี้เองจึงทำให้แห้วเป็นอีกหนึ่งสินค้าที่ทำชื่อเสียงให้กับจังหวัดสุพรรณบุรี ไม่ใช่แค่รสชาติหวาน มันกรอบ และกลิ่นหอมชวนกิน แต่แห้วยังมีสรรพคุณอีกนานับประการเลยทีเดียว
รสชาติอันโดดเด่นของแห้วที่ตำบลวังยาง มีอร่อยแตกต่างจากที่อื่นก็เพราะว่า ดินในพื้นที่ของตำบลวังยางเป็นดินมีคุณภาพ มีความเหมาะสมในการปลูกแห้ว เมื่อแห้วโตเต็มวัยหรือแก่เต็มที่ชาวบ้านก็จะมาเก็บเกี่ยวผลผลิตเพื่อนำไปขายสู่ตลาดให้ทุกคนได้ลิ้มรสกัน หากใครได้มาชิมแห้วที่นี่แล้วจะสัมผัสได้ถึงความหวาน กรอบ มัน และที่สำคัญคือกินแล้วปลอดภัยไร้สารใดๆ เจือปน
ก่อนที่เราจะลงนาไปงมแห้วนั้น เราจะต้องเตรียมพร้อมด้วยการใส่รองเท้าบูทยาง และใส่ถุงมือยาง เพื่อป้องกันการเลอะเทอะเปรอะเปื้อน เพราะในนาจะเป็นดินโคลนหากใส่รองเท้าแตะจะทำให้เดินลำบากและอาจลื่นหกล้มได้ง่าย เมื่อใส่อุปกรณ์เสร็จเรียบร้อยแล้ว จากนั้นเดินทางต่อไปด้วยรถอีแต๊ก ใช้เวลาในเดินทางประมาณ 10 นาทีก็มาถึงจุดหมาย
ท้องทุ่งสีเขียวขจีที่มองเผินๆ เหมือนนาข้าว ที่มีน้ำขังกลางคันนา แต่แท้จริงแล้วนั่นคือหาแห้วที่เราจะลงไปงมนั่นเอง ขั้นตอนการเก็บเกี่ยวก็เริ่มจากเดินลุยน้ำลงไปที่กลางนาแห้ว จากนั้นก็ใช้มือจ้วงลงไปในดินเพื่อควานหาหัวแห้วที่ฝังอยู่ในใต้ดิน เมื่อหาเจอแล้วก็โกยขึ้นมาใส่ในตะกร้าที่มีช่องเล็กๆ แล้วนำไปล้างดินโคลนให้หลุดออกจากหัวแห้วให้หมด เมื่อเก็บแห้วจนเต็มตะกร้าแล้วก็ได้เวลากลับไปยังชุมชน
ไหนๆ ก็มาถึงแหล่งนาแห้วแล้ว ต้องไม่พลาดที่จะได้ชิมรสชาติกันสักหน่อย นอกจากการกินแบบต้มสุกที่เราเห็นทั่วไป ที่นี่ยังมีการนำแห้วมาทำเป็นเมนูอาหาร ทั้งคาวหวานให้ได้กินกัน ไม่ว่าจะเป็น น้ำพริก แกงส้ม ต้มจืด ทอดมัน ข้าวเกรียบ และอีกหลายๆ เมนูพื้นบ้าน และครั้งนี้ทางชุมชนได้เตรียมเมนูเพื่อได้ลองทำก็คือ "ทับทิมกรอบ"
การทำเมนู "ทับทิมกรอบ" เมนูของหวานที่ใครๆ ก็สามารถทำได้ เริ่มจากนำแห้วที่เก็บมาสดๆ ล้างให้สะอาดปราศจากดินโคลน จากนั้นนำมาปอกเปลือกสีดำออกให้หมด แล้วนำหั่นเป็นชิ้นสี่เหลี่ยมลูกเต๋า แล้วตักใส่ถ้วยราดด้วยน้ำหวานเฮลซ์บลูบอยสีแดงหรือสีเขียวก็ได้ตามใจชอบ ตักช้อนขึ้นให้เสด็จน้ำมาคลุกเคล้ากับแป้งมันสำปะหลัง จากนั้นร่อนแป้งออกเหลือเพียงที่ติดอยู่กับแห้ว แล้วนำไปต้มจนแป้งสุกได้ที่ และใช้ตะแกรนช้อนขึ้นมาน๊อคน้ำแข็งก่อนใส่ไปใส่ถ้วย จากนั้นราดด้วยน้ำกะทิแล้วโปะด้วยน้ำแข็ง เพียงเท่านี้ก็ได้ขนมหวานชามโปรด จากแห้วที่เก็บด้วยมือของเรา
ตำบลวังยาง ติดอยู่ อยู่ติด ถนนสาย 340 ห่างจากกรุงเทพฯ แค่ 100 กว่ากิโลเมตร มีการเดินทางที่สะดวก และใช้เวลาไม่มาก จึงเป็นอีกแหล่งท่องเที่ยว เชิงเกษตรสร้างสรรค์ ที่จะทำให้ ผู้มาเยือน ได้เรียนรู้และสัมผัส กลิ่นอายท้องทุ่ง เรียนรู้การทำนาแห้ว และสัมผัสวิถีชีวิต ที่เรียบง่าย และงดงาม ของชาววังยาง จังหวัดสุพรรณบุรี
หากสนใจกลุ่มท่องเที่ยวชุมชน สมหวัง@วังยาง สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ เทศบาลตำบลวังยาง ตำบลวังยาง อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี โทร. 06-2678-5777 หรือ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานสุพรรณบุรี (สุพรรณบุรี-อ่างทอง) โทร. 0-3552-5863-4, 0-3552-5867, 0-3552-5880
สามารถส่งข้อมูลข่าวสารด้านการท่องเที่ยว-อาหารมาได้ที่ กอง บก.ข่าวท่องเที่ยว แฟกซ์ 0-2629-4467 อีเมล์ travel_astvmgr@hotmail.com หรือติดตามเพิ่มเติมได้ที่ Facebook :Travel @ Manager