Facebook :Travel @ Manager
![มุมถ่ายรูปมหาชนที่ตลาดน้ำอัมพวา](https://mpics.mgronline.com/pics/Images/562000005831501.JPEG)
“สมุทรสงคราม” เป็นจังหวัดที่เล็กที่สุดในประเทศไทย ทั้งจังหวัดมีเพียง 3 อำเภอ เท่านั้น คืออำเภอเมือง อำเภออัมพวา และอำเภอบางคนที แม้จะเป็นจังหวัดเล็กๆ แต่ก็มีความน่าสนใจไม่น้อย อย่างใน “อำเภออัมพวา” ซึ่งเป็นอำเภอที่นักท่องเที่ยวนิยมมาเยือนเป็นอย่างมาก ที่นี่มีสถานที่ท่องเที่ยวมากมายที่มีประวัติศาสตร์มาอย่างยาวนาน ทั้งตลาดน้ำ วัดวาอาราม ของกินชวนลอง วิถีชาวบ้านชวนสัมผัส ในครั้งนี้จึงได้รวบรวม “10 สิ่งคู่อัมพวา” มาให้ได้รู้จักกัน
![อุทยาน ร.๒](https://mpics.mgronline.com/pics/Images/562000005831502.JPEG)
1. อุทยาน ร.๒
สิ่งแรกที่จะไม่พูดถึงไม่ได้ก็คือ “อุทยานพระบรมราชานุสรณ์ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย” หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า “อุทยาน ร.๒” (ต.อัมพวา) แหล่งท่องเที่ยวสำคัญของอำเภออัมพวา สถานที่แห่งนี้สร้างขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (รัชกาลที่ ๒) ณ ตำบลอันเป็นที่พระราชสมภพของพระองค์
![ประชาชนเข้ามาวิ่งออกกำลังกายในอุทยานฯ](https://mpics.mgronline.com/pics/Images/562000005831503.JPEG)
อุทยาน ร.2 พื้นที่กว่า 11 ไร่ ภายในเป็นแหล่งรวมวิทยาการและศูนย์กลางการศึกษาศิลปวัฒนธรรมไทยในรัชสมัย ร.๒ และมีอาคารทรงไทยที่จัดเป็นพิพิธภัณฑ์และห้องสมุด นอกจากนั้นยังมีต้นไม้นานาพันธุ์ ทำให้มีความร่มรื่นเขียวชอุ่ม ในยามเย็นจึงเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจหรือออกกำลังกายของประชาชนในละแวกใกล้เคียงอีกด้วย
![ตลาดน้ำยามเย็นอัมพวา](https://mpics.mgronline.com/pics/Images/562000005831504.JPEG)
2. ตลาดน้ำอัมพวา
แน่นอนว่าเมื่อมาถึงเมืองสายน้ำแล้วก็ต้องมาเช็คอินที่ “ตลาดน้ำอัมพวา” (ต.อัมพวา) ตลาดน้ำยามเย็นในบรรยากาศน่ารักที่เต็มไปด้วยของกินหลากหลายและสินค้ามากมายให้เลือกซื้อ ที่นี่ยังคงมีเรือขายของมาเทียบท่าให้ได้เลือกซื้อของกินกันอยู่ โดยตลาดน้ำอัมพวานี้จะเปิดในช่วงวันศุกร์-อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์ โดยจะคึกคักเป็นพิเศษในช่วงแดดร่มลมตกเป็นต้นไปจนถึงประมาณ 21.00 น.
![ตลาดน้ำท่าคา](https://mpics.mgronline.com/pics/Images/562000005831505.JPEG)
3. ตลาดน้ำท่าคา
นอกจากตลาดน้ำยามเย็นแล้ว ก็ยังมีตลาดน้ำยามเช้า “ตลาดน้ำท่าคา” (ต.ท่าคา) ที่เป็นตลาดน้ำแบบวิถีชาวบ้านที่มีทุกเช้าวันเสาร์-อาทิตย์และวันข้างขึ้น-แรม 2 ค่ำ 7 ค่ำ และ 12 ค่ำ มีของอร่อยมากมายให้เลือกชิม บรรยากาศของตลาดน้ำท่าคาจะมีความเรียบง่ายไม่หวือหวาเท่ากับตลาดน้ำอัมพวา โดยจะได้เห็นวิถีชาวบ้านที่พายเรือขายของยามเช้าจนไปถึงช่วง 15.00 น. เรียกได้ว่าเที่ยวตลาดน้ำท่าคาเสร็จก็สามารถเปลี่ยนบรรยากาศไปเที่ยวตลาดน้ำอัมพวาต่อได้เลย
![เรือที่ใช้ไปชมหิ่งห้อย](https://mpics.mgronline.com/pics/Images/562000005831506.JPEG)
4. หิ่งห้อย
อีกหนึ่งกิจกรรมที่อยู่คู่กับตลาดน้ำในอัมพวาก็คือ “การนั่งเรือชมหิ่งห้อย” ซึ่งหิ่งห้อยนั้นถือเป็นอีกหนึ่งสัญลักษณ์ของที่นี่เลยก็ว่าได้ โดยหิ่งห้อยส่วนใหญ่ในอัมพวาจะอาศัยอยู่ที่ต้นลำพู เพราะต้นลำพูจะมีใบที่โปร่งและง่ายต่อการยึดเกาะ การจะไปชมหิ่งห้อยนั้นสามารถขึ้นเรือจากที่ตลาดน้ำยามเย็นอัมพวาได้เลย ส่วนหิ่งห้อยอาจจะไม่เยอะเท่าเมื่อก่อน แต่ก็ยังพอมีให้เห็นอยู่บ้างโดยเฉพาะในช่วงปลายปีที่มีอากาศเย็น
![วิถีชีวิตยามเช้าที่อัมพวา](https://mpics.mgronline.com/pics/Images/562000005831507.JPEG)
5. โฮมสเตย์ริมน้ำและวิถีชาวบ้าน
ส่วนเสน่ห์ที่หลายคนประทับใจของที่อัมพวานั้นก็คือ การได้มาพักผ่อนหลีกหนีความวุ่ยวายกันที่ “โฮมสเตย์ริมน้ำ” และตื่นตอนเช้ามาสัมผัสกับวิถีชาวบ้านอย่างการตักบาตรพระพายเรือกันที่ริมน้ำของที่พัก ซึ่งในปัจจุบันนี้มีหลากหลายบ้านพักโฮมสเตย์ที่เปิดให้บริการทั้งแบบติดริมน้ำและอยู่ในสวน
![ภายในอุโบสถวัดอัมพวันฯ](https://mpics.mgronline.com/pics/Images/562000005831508.JPEG)
6. วัดอัมพวันเจติยาราม
ส่วนวัดงามที่ไม่ควรพลาดมาเยือนก็คือ “วัดอัมพวันเจติยาราม” (ต.อัมพวา) ที่ตั้งอยู่ติดกับอุทยาน ร.๒ วัดนี้มีความน่าสนใจตรงที่ภายในอุโบสถมีจิตรกรรมฝาผนังที่สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี โปรดเกล้าฯ ให้เขียนขึ้น เพื่อแสดงเรื่องราวพระราชประวัติและพระราชกรณียกิจของ ร.๒ และเรื่องราวในวรรณคดีที่ท่านทรงพระราชนิพนธ์ขึ้น ซึ่งสมเด็จพระเทพฯ ก็ได้ทรงลงมือวาดด้วยพระองค์เองด้วย
![กุฏิหลวงปู่เนื่อง](https://mpics.mgronline.com/pics/Images/562000005831509.JPEG)
7. วัดจุฬามณี
อีกหนึ่งวัดศักดิ์สิทธิ์ของอัมพวาก็คือ “วัดจุฬามณี” (ต.บางช้าง) วัดนี้มีวิหารทรงจัตุรมุข พื้นปูด้วยหินอ่อนสีเขียวจากประเทศปากีสถาน ให้ความรู้สึกที่เย็นสบายมากเลยทีเดียว และนอกจากวิหารแล้วภายในวัดจุฬามณียังมีกุฏิหลวงปู่เนื่องพระเกจิอาจารย์ที่มรณภาพไปแล้วแต่สังขารของท่านกลับไม่เน่าเปื่อย ประดิษฐานอยู่ในโลงแก้วให้ผู้ศรัทธาได้กราบไหว้
![น้ำตาลมะพร้าว](https://mpics.mgronline.com/pics/Images/562000005831510.JPEG)
8. น้ำตาลมะพร้าว
ระหว่างสองข้างทางในอำเภออัมพวานั้นจะมีป้าย “เตาตาล” ให้เห็นอยู่บ้าง เพราะที่นี่ยังมีการทำ “น้ำตาลมะพร้าว” อีกหนึ่งของดีซึ่งเป็นภูมิปัญญาชาวบ้านของที่นี่ทำกันมาหลายชั่วอายุคนของคน โดยจะมีทั้งแบบน้ำตาลมะพร้าวแท้และแบบน้ำตาลมะพร้าวผสม ซึ่งจะมีรสชาติ ความหอม และราคาที่ต่างกัน ขึ้นอยู่กับความชอบของผู้ซื้อ
![ลิ้นจี่ค่อม](https://mpics.mgronline.com/pics/Images/562000005831511.JPEG)
9. ลิ้นจี่พันธุ์ค่อม
อัมพวายังมีอีกชื่อเรียกคือ “ถนนสายผลไม้” เพราะที่นี่มีผลไม้ขึ้นชื่อที่อย่าง “ลิ้นจี่พันธุ์ค่อม” ที่ในแต่ละปีจะต้องรอลุ้นกันว่าจะได้ลิ้มรสความอร่อยหรือไม่ โดยจะออกผมเมื่ออากาศเย็นสบาย สำหรับการเลือกซื้อลิ้นจี่พันธุ์ค่อมของแท้รสชาติอร่อยนั้น มีวิธีดูคือให้ดูที่ลักษณะผลจะต้องสีแดงจัด ตัวลูกจะไม่เป็นทรงกลมนักจะเหมือนมีบ่าสองข้าง และด้านในจะเป็นร่องชาด (ในภาษาของชาวสวนคือ ผิวเปลือกด้านในเป็นสีชมพูออกแดง) ส่วนหนามที่เปลือกจะต้องไม่คมมากนัก และหนามจะไม่ถี่มาก เมื่อสุกจัดแล้วจะมีรสหวานไม่ติดฝาด
![ดอกของต้นอัมพวา](https://mpics.mgronline.com/pics/Images/562000005831512.JPEG)
10. ลูกอัมพวา
สุดท้ายคือต้นไม้ประจำถิ่นของอัมพวานั่นคือ “ต้นอัมพวา” หรือที่ทางภาคใต้เรียกกันว่า “ต้นมะเปรียง” ต้นอัมพวานี้อยู่คู่กับที่นี่มากว่าร้อยปีแล้ว (มีต้นกำเนิดมาจากประเทศมาเลเซีย) มีดอกเล็กๆ ขึ้นเป็นช่อสีขาวฟรือสีครีม เมื่อกลายเป็นผลจะเรียกว่า “ลูกอัมพวา” (ลูกคางคก) มีลักษณะผิวสีเทาปนเขียวและขรุขระ สามารถนำมากินได้ โดยเมื่อสุกแล้วจะมีรสหวานอมเปรี้ยว ช่วยให้ชุ่มคอ ปัจจุบันอาจจะหาดูยากแต่ก็ยังพอมีให้เห็นอยู่บ้าง
![ลูกอัมพวา](https://mpics.mgronline.com/pics/Images/562000005831513.JPEG)
และนี่คือ “10 สิ่งคู่อัมพวา” ที่ได้รวบรวมมาให้ได้รู้จักกัน หากมาที่อำเภออัมพวาแล้วต้องไม่พลาดไปชมด้วยประการทั้งปวง
สามารถส่งข้อมูลข่าวสารด้านการท่องเที่ยว-อาหารมาได้ที่ กอง บก.ข่าวท่องเที่ยว แฟกซ์ 0-2629-4467 อีเมล์ travel_astvmgr@hotmail.com หรือติดตามเพิ่มเติมได้ที่ Facebook :Travel @ Manager
“สมุทรสงคราม” เป็นจังหวัดที่เล็กที่สุดในประเทศไทย ทั้งจังหวัดมีเพียง 3 อำเภอ เท่านั้น คืออำเภอเมือง อำเภออัมพวา และอำเภอบางคนที แม้จะเป็นจังหวัดเล็กๆ แต่ก็มีความน่าสนใจไม่น้อย อย่างใน “อำเภออัมพวา” ซึ่งเป็นอำเภอที่นักท่องเที่ยวนิยมมาเยือนเป็นอย่างมาก ที่นี่มีสถานที่ท่องเที่ยวมากมายที่มีประวัติศาสตร์มาอย่างยาวนาน ทั้งตลาดน้ำ วัดวาอาราม ของกินชวนลอง วิถีชาวบ้านชวนสัมผัส ในครั้งนี้จึงได้รวบรวม “10 สิ่งคู่อัมพวา” มาให้ได้รู้จักกัน
1. อุทยาน ร.๒
สิ่งแรกที่จะไม่พูดถึงไม่ได้ก็คือ “อุทยานพระบรมราชานุสรณ์ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย” หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า “อุทยาน ร.๒” (ต.อัมพวา) แหล่งท่องเที่ยวสำคัญของอำเภออัมพวา สถานที่แห่งนี้สร้างขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (รัชกาลที่ ๒) ณ ตำบลอันเป็นที่พระราชสมภพของพระองค์
อุทยาน ร.2 พื้นที่กว่า 11 ไร่ ภายในเป็นแหล่งรวมวิทยาการและศูนย์กลางการศึกษาศิลปวัฒนธรรมไทยในรัชสมัย ร.๒ และมีอาคารทรงไทยที่จัดเป็นพิพิธภัณฑ์และห้องสมุด นอกจากนั้นยังมีต้นไม้นานาพันธุ์ ทำให้มีความร่มรื่นเขียวชอุ่ม ในยามเย็นจึงเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจหรือออกกำลังกายของประชาชนในละแวกใกล้เคียงอีกด้วย
2. ตลาดน้ำอัมพวา
แน่นอนว่าเมื่อมาถึงเมืองสายน้ำแล้วก็ต้องมาเช็คอินที่ “ตลาดน้ำอัมพวา” (ต.อัมพวา) ตลาดน้ำยามเย็นในบรรยากาศน่ารักที่เต็มไปด้วยของกินหลากหลายและสินค้ามากมายให้เลือกซื้อ ที่นี่ยังคงมีเรือขายของมาเทียบท่าให้ได้เลือกซื้อของกินกันอยู่ โดยตลาดน้ำอัมพวานี้จะเปิดในช่วงวันศุกร์-อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์ โดยจะคึกคักเป็นพิเศษในช่วงแดดร่มลมตกเป็นต้นไปจนถึงประมาณ 21.00 น.
3. ตลาดน้ำท่าคา
นอกจากตลาดน้ำยามเย็นแล้ว ก็ยังมีตลาดน้ำยามเช้า “ตลาดน้ำท่าคา” (ต.ท่าคา) ที่เป็นตลาดน้ำแบบวิถีชาวบ้านที่มีทุกเช้าวันเสาร์-อาทิตย์และวันข้างขึ้น-แรม 2 ค่ำ 7 ค่ำ และ 12 ค่ำ มีของอร่อยมากมายให้เลือกชิม บรรยากาศของตลาดน้ำท่าคาจะมีความเรียบง่ายไม่หวือหวาเท่ากับตลาดน้ำอัมพวา โดยจะได้เห็นวิถีชาวบ้านที่พายเรือขายของยามเช้าจนไปถึงช่วง 15.00 น. เรียกได้ว่าเที่ยวตลาดน้ำท่าคาเสร็จก็สามารถเปลี่ยนบรรยากาศไปเที่ยวตลาดน้ำอัมพวาต่อได้เลย
4. หิ่งห้อย
อีกหนึ่งกิจกรรมที่อยู่คู่กับตลาดน้ำในอัมพวาก็คือ “การนั่งเรือชมหิ่งห้อย” ซึ่งหิ่งห้อยนั้นถือเป็นอีกหนึ่งสัญลักษณ์ของที่นี่เลยก็ว่าได้ โดยหิ่งห้อยส่วนใหญ่ในอัมพวาจะอาศัยอยู่ที่ต้นลำพู เพราะต้นลำพูจะมีใบที่โปร่งและง่ายต่อการยึดเกาะ การจะไปชมหิ่งห้อยนั้นสามารถขึ้นเรือจากที่ตลาดน้ำยามเย็นอัมพวาได้เลย ส่วนหิ่งห้อยอาจจะไม่เยอะเท่าเมื่อก่อน แต่ก็ยังพอมีให้เห็นอยู่บ้างโดยเฉพาะในช่วงปลายปีที่มีอากาศเย็น
5. โฮมสเตย์ริมน้ำและวิถีชาวบ้าน
ส่วนเสน่ห์ที่หลายคนประทับใจของที่อัมพวานั้นก็คือ การได้มาพักผ่อนหลีกหนีความวุ่ยวายกันที่ “โฮมสเตย์ริมน้ำ” และตื่นตอนเช้ามาสัมผัสกับวิถีชาวบ้านอย่างการตักบาตรพระพายเรือกันที่ริมน้ำของที่พัก ซึ่งในปัจจุบันนี้มีหลากหลายบ้านพักโฮมสเตย์ที่เปิดให้บริการทั้งแบบติดริมน้ำและอยู่ในสวน
6. วัดอัมพวันเจติยาราม
ส่วนวัดงามที่ไม่ควรพลาดมาเยือนก็คือ “วัดอัมพวันเจติยาราม” (ต.อัมพวา) ที่ตั้งอยู่ติดกับอุทยาน ร.๒ วัดนี้มีความน่าสนใจตรงที่ภายในอุโบสถมีจิตรกรรมฝาผนังที่สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี โปรดเกล้าฯ ให้เขียนขึ้น เพื่อแสดงเรื่องราวพระราชประวัติและพระราชกรณียกิจของ ร.๒ และเรื่องราวในวรรณคดีที่ท่านทรงพระราชนิพนธ์ขึ้น ซึ่งสมเด็จพระเทพฯ ก็ได้ทรงลงมือวาดด้วยพระองค์เองด้วย
7. วัดจุฬามณี
อีกหนึ่งวัดศักดิ์สิทธิ์ของอัมพวาก็คือ “วัดจุฬามณี” (ต.บางช้าง) วัดนี้มีวิหารทรงจัตุรมุข พื้นปูด้วยหินอ่อนสีเขียวจากประเทศปากีสถาน ให้ความรู้สึกที่เย็นสบายมากเลยทีเดียว และนอกจากวิหารแล้วภายในวัดจุฬามณียังมีกุฏิหลวงปู่เนื่องพระเกจิอาจารย์ที่มรณภาพไปแล้วแต่สังขารของท่านกลับไม่เน่าเปื่อย ประดิษฐานอยู่ในโลงแก้วให้ผู้ศรัทธาได้กราบไหว้
8. น้ำตาลมะพร้าว
ระหว่างสองข้างทางในอำเภออัมพวานั้นจะมีป้าย “เตาตาล” ให้เห็นอยู่บ้าง เพราะที่นี่ยังมีการทำ “น้ำตาลมะพร้าว” อีกหนึ่งของดีซึ่งเป็นภูมิปัญญาชาวบ้านของที่นี่ทำกันมาหลายชั่วอายุคนของคน โดยจะมีทั้งแบบน้ำตาลมะพร้าวแท้และแบบน้ำตาลมะพร้าวผสม ซึ่งจะมีรสชาติ ความหอม และราคาที่ต่างกัน ขึ้นอยู่กับความชอบของผู้ซื้อ
9. ลิ้นจี่พันธุ์ค่อม
อัมพวายังมีอีกชื่อเรียกคือ “ถนนสายผลไม้” เพราะที่นี่มีผลไม้ขึ้นชื่อที่อย่าง “ลิ้นจี่พันธุ์ค่อม” ที่ในแต่ละปีจะต้องรอลุ้นกันว่าจะได้ลิ้มรสความอร่อยหรือไม่ โดยจะออกผมเมื่ออากาศเย็นสบาย สำหรับการเลือกซื้อลิ้นจี่พันธุ์ค่อมของแท้รสชาติอร่อยนั้น มีวิธีดูคือให้ดูที่ลักษณะผลจะต้องสีแดงจัด ตัวลูกจะไม่เป็นทรงกลมนักจะเหมือนมีบ่าสองข้าง และด้านในจะเป็นร่องชาด (ในภาษาของชาวสวนคือ ผิวเปลือกด้านในเป็นสีชมพูออกแดง) ส่วนหนามที่เปลือกจะต้องไม่คมมากนัก และหนามจะไม่ถี่มาก เมื่อสุกจัดแล้วจะมีรสหวานไม่ติดฝาด
10. ลูกอัมพวา
สุดท้ายคือต้นไม้ประจำถิ่นของอัมพวานั่นคือ “ต้นอัมพวา” หรือที่ทางภาคใต้เรียกกันว่า “ต้นมะเปรียง” ต้นอัมพวานี้อยู่คู่กับที่นี่มากว่าร้อยปีแล้ว (มีต้นกำเนิดมาจากประเทศมาเลเซีย) มีดอกเล็กๆ ขึ้นเป็นช่อสีขาวฟรือสีครีม เมื่อกลายเป็นผลจะเรียกว่า “ลูกอัมพวา” (ลูกคางคก) มีลักษณะผิวสีเทาปนเขียวและขรุขระ สามารถนำมากินได้ โดยเมื่อสุกแล้วจะมีรสหวานอมเปรี้ยว ช่วยให้ชุ่มคอ ปัจจุบันอาจจะหาดูยากแต่ก็ยังพอมีให้เห็นอยู่บ้าง
และนี่คือ “10 สิ่งคู่อัมพวา” ที่ได้รวบรวมมาให้ได้รู้จักกัน หากมาที่อำเภออัมพวาแล้วต้องไม่พลาดไปชมด้วยประการทั้งปวง
สามารถส่งข้อมูลข่าวสารด้านการท่องเที่ยว-อาหารมาได้ที่ กอง บก.ข่าวท่องเที่ยว แฟกซ์ 0-2629-4467 อีเมล์ travel_astvmgr@hotmail.com หรือติดตามเพิ่มเติมได้ที่ Facebook :Travel @ Manager