Facebook :Travel @ Manager

จังหวัดสุรินทร์ เป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไปของนักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างประเทศในนาม “สุรินทร์ เมืองช้าง” สืบเนื่องมาจากสุรินทร์มีกลุ่มผู้เลี้ยงช้างที่เรียกตัวเองว่า “ชาวกูย” หรือ “กวย” ซึ่งมีความชำนาญในการจับช้างมาตั้งแต่บรรพบุรุษสืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งก็คือที่ “หมู่บ้านช้างบ้านตากลาง” หรือ “ศูนย์คชศึกษา” ต.กระโพ อ.ท่าตูม จ.สุรินทร์ ตั้งอยู่ใกล้ที่ราบริมฝั่งแม่น้ำมูลและแม่น้ำชี

ที่ศูนย์คชศึกษา หรือ หมู่บ้านช้างบ้านตากลาง เป็นศูนย์รวมของสมาชิกช้างทั้งในบ้านกะโพ ตากลาง และจากหมูบ้านอื่น ๆ ในจังหวัดสุรินทร์มากกว่า 200 ตัว โดยความเป็นอยู่ของคนกับช้างที่นี่จะอยู่กันอย่างใกล้ชิดเหมือนเป็นเพื่อนกัน นอนร่วมชายคาเรือนเดียวกัน ซึ่งช้างทุกเชือกของที่นี่จะน่ารักแสนรู้ เข้ากับคนง่าย และไม่ดุร้าย

ที่นี่มีกิจกรรมมากมายให้นักท่องเที่ยวได้สนุกและเรียนรู้มากมาย ซึ่งไฮไลต์ก็คือกิจกรรม “สนามแสดงช้างแสนรู้” ซึ่งจะเป็นการแสดงความสามารถอันเฉลียวฉลาดและน่ารักของช้างในศูนย์ฯ อาทิ ช้างเต้นรำ ช้างวาดรูป ช้างปาลูกโป่ง ช้างเตะฟุตบอล ฯลฯ โดยจะเปิดการแสดงทุกวัน วันละ 2 รอบ คือ 10.00 น. และ 14.00 น.
และยังมี “อาคารพิพิธภัณฑ์” ที่จัดแสดงเรื่องราวต่างๆ ที่เกี่ยวกับช้าง อาทิ วิวัฒนาการของช้าง ช้างในยุคต่างๆ โครงกระดูกช้าง เครื่องมือในการคล้องช้าง วิถีความผูกพันระหว่างคนกับช้าง พิธีการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับช้าง เป็นต้น

นอกจากนั้นยังสามารถเดินเล่นชมวิถีชีวิตของคนกับช้างภายในหมู่บ้านได้อีกด้วย ซึ่งระหว่างทางเดินในหมู่บ้านก็จะมีฐานการเรียนรู้จำนวน 5 ฐานให้ได้เดินชมกัน เริ่มที่ “ฐานตะขอช้าง” เป็นการสอนทำตะขอหรือ “คชกุศ” ขอบังคับช้าง ตั้งแต่การตีเหล็ก การเลือกด้ามไม้ และยังมีตะขอช้างขนาดต่างๆ ให้เลือกซื้อกันด้วย




ต่อมาคือ “ฐานผลิตภัณฑ์จากช้าง” ในฐานนี้จะมีเป็นการนำ “ขนหางช้าง” ซึ่งมีความเชื่อว่าเป็นของ “ทนสิทธิ์” หมายถึง ของที่มีฤทธิ์โดยไม่ต้องปลุกเสก มาทำเป็นเครื่องประดับมากมาย เช่น แหวนขนหางช้าง แหวนกระดูกช้างพันขนหางช้าง กำไลขนหางช้าง ตะกุดขนหางช้าง และพวงกุญแจขนหางช้าง

ฐานที่ 3 คือ “โครงการผลิตกระดาษจากมูลช้าง” ซึ่งกระดาษที่ได้ก็คือ “กระดาษสา” นั่นเอง โดยจะใช้มูลช้างใหม่ๆ มาล้างทำความสะอาด จากนั้นนำไปต้มกับโซดาไฟเพื่อให้เปื่อยประมาณ 4-6 ชม. แล้วจึงล้างออกและนำไปปั่นกับน้ำ ปอสา และใส่คลอรีนเพิ่มความขาว ทิ้งไว้อีก 1 คืน จึงสามารถนำมาร่อนใส่เฟรมทิ้งไว้อีก 1 วัน ก็จะได้กระดาษสาจากมูลช้างนำไปต่อยอดเพิ่มมูลค่าได้




ฐานที่ 4 คือ “ฐานการเรียนรู้วิถีชุมชนผ่านภาพวาด” โดยจะจัดแสดงภาพวาดสีน้ำ สีน้ำมัน มากมายที่คนในหมู่บ้านวาดขึ้นเพื่อสื่อถึงความสายใยสัมพันธ์ระหว่างคนกับช้างของที่นี่ อย่างภาพวาด “ประเพณีบวชนาคช้าง” ซึ่งเป็นเอกลักษณ์อีกอย่างของที่นี่ ในภาพจะเล่าถึงบรรยากาศของขบวนแห่ ซึ่งการบวชนาคช้างนั้นไม่ได้เป็นการนำช้างมาบวช แต่เป็นการบวชของผู้ชายในหมู่บ้าน

อีกทั้งยังมีขั้นตอนในการดำเนินพิธีที่แตกต่าง นั่นคือจะให้นาค (คนที่บวช) แต่งกายสวยงามตามประเพณี นั่งอยู่บนหลังช้างที่มีการทาสีสวยงามเช่นกัน แล้วช้างจะเดินแห่ไปรอบหมู่บ้านจนไปสุดที่วังทะลุ (จุดที่แม่น้ำมูลไหล และลำน้ำชี มาบรรจบกัน ก่อนไหลลงสู่แม่น้ำโขง) อยู่ห่างจากหมู่บ้านไปประมาณ 3 กม. แล้วจึงทำพิธีบวชพระจนลุล่วง โดยประเพณีบวชนาคช้างจะถูกจัดขึ้นในช่วงวันขึ้น 13-15 ค่ำเดือน 6 ของทุกๆ ปี ซึ่งในปี 2562 นี้ ตรงกับวันที่ 16-18 พ.ค. ที่ผ่านมา

นอกจากนั้นยังมีสุสานช้าง การแต่งงานบนหลังช้าง ศาลปะกำ (เทวาลัยศักดิ์สิทธิ์ของหมู่บ้าน) แท็กซี่ช้าง (นั่งบนหลังช้าง) ฯลฯ ให้นักท่องเที่ยวได้ร่วมสัมผัสสายใยอันผูกพันของวิถีคนกับช้าง และความน่ารักแสนรู้ของช้างกว่า 200 ตัว ที่หมู่บ้านช้างบ้านตากลาง
“หมู่บ้านช้างบ้านตากลาง” (ศูนย์คชศึกษา) ตั้งอยู่ที่ ต.กระโพ อ.ท่าตูม จ.สุรินทร์ เปิดให้บริการทุกวัน โดยมีค่าเข้าชม ผู้ใหญ่ คนละ 50 บาท เด็กโต คนละ 20 บาท เด็กเล็ก คนละ 10 บาท ชาวต่างชาติ คนละ 100 บาท สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 06-3057-9334
จังหวัดสุรินทร์ เป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไปของนักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างประเทศในนาม “สุรินทร์ เมืองช้าง” สืบเนื่องมาจากสุรินทร์มีกลุ่มผู้เลี้ยงช้างที่เรียกตัวเองว่า “ชาวกูย” หรือ “กวย” ซึ่งมีความชำนาญในการจับช้างมาตั้งแต่บรรพบุรุษสืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งก็คือที่ “หมู่บ้านช้างบ้านตากลาง” หรือ “ศูนย์คชศึกษา” ต.กระโพ อ.ท่าตูม จ.สุรินทร์ ตั้งอยู่ใกล้ที่ราบริมฝั่งแม่น้ำมูลและแม่น้ำชี
ที่ศูนย์คชศึกษา หรือ หมู่บ้านช้างบ้านตากลาง เป็นศูนย์รวมของสมาชิกช้างทั้งในบ้านกะโพ ตากลาง และจากหมูบ้านอื่น ๆ ในจังหวัดสุรินทร์มากกว่า 200 ตัว โดยความเป็นอยู่ของคนกับช้างที่นี่จะอยู่กันอย่างใกล้ชิดเหมือนเป็นเพื่อนกัน นอนร่วมชายคาเรือนเดียวกัน ซึ่งช้างทุกเชือกของที่นี่จะน่ารักแสนรู้ เข้ากับคนง่าย และไม่ดุร้าย
ที่นี่มีกิจกรรมมากมายให้นักท่องเที่ยวได้สนุกและเรียนรู้มากมาย ซึ่งไฮไลต์ก็คือกิจกรรม “สนามแสดงช้างแสนรู้” ซึ่งจะเป็นการแสดงความสามารถอันเฉลียวฉลาดและน่ารักของช้างในศูนย์ฯ อาทิ ช้างเต้นรำ ช้างวาดรูป ช้างปาลูกโป่ง ช้างเตะฟุตบอล ฯลฯ โดยจะเปิดการแสดงทุกวัน วันละ 2 รอบ คือ 10.00 น. และ 14.00 น.
และยังมี “อาคารพิพิธภัณฑ์” ที่จัดแสดงเรื่องราวต่างๆ ที่เกี่ยวกับช้าง อาทิ วิวัฒนาการของช้าง ช้างในยุคต่างๆ โครงกระดูกช้าง เครื่องมือในการคล้องช้าง วิถีความผูกพันระหว่างคนกับช้าง พิธีการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับช้าง เป็นต้น
นอกจากนั้นยังสามารถเดินเล่นชมวิถีชีวิตของคนกับช้างภายในหมู่บ้านได้อีกด้วย ซึ่งระหว่างทางเดินในหมู่บ้านก็จะมีฐานการเรียนรู้จำนวน 5 ฐานให้ได้เดินชมกัน เริ่มที่ “ฐานตะขอช้าง” เป็นการสอนทำตะขอหรือ “คชกุศ” ขอบังคับช้าง ตั้งแต่การตีเหล็ก การเลือกด้ามไม้ และยังมีตะขอช้างขนาดต่างๆ ให้เลือกซื้อกันด้วย
ต่อมาคือ “ฐานผลิตภัณฑ์จากช้าง” ในฐานนี้จะมีเป็นการนำ “ขนหางช้าง” ซึ่งมีความเชื่อว่าเป็นของ “ทนสิทธิ์” หมายถึง ของที่มีฤทธิ์โดยไม่ต้องปลุกเสก มาทำเป็นเครื่องประดับมากมาย เช่น แหวนขนหางช้าง แหวนกระดูกช้างพันขนหางช้าง กำไลขนหางช้าง ตะกุดขนหางช้าง และพวงกุญแจขนหางช้าง
ฐานที่ 3 คือ “โครงการผลิตกระดาษจากมูลช้าง” ซึ่งกระดาษที่ได้ก็คือ “กระดาษสา” นั่นเอง โดยจะใช้มูลช้างใหม่ๆ มาล้างทำความสะอาด จากนั้นนำไปต้มกับโซดาไฟเพื่อให้เปื่อยประมาณ 4-6 ชม. แล้วจึงล้างออกและนำไปปั่นกับน้ำ ปอสา และใส่คลอรีนเพิ่มความขาว ทิ้งไว้อีก 1 คืน จึงสามารถนำมาร่อนใส่เฟรมทิ้งไว้อีก 1 วัน ก็จะได้กระดาษสาจากมูลช้างนำไปต่อยอดเพิ่มมูลค่าได้
ฐานที่ 4 คือ “ฐานการเรียนรู้วิถีชุมชนผ่านภาพวาด” โดยจะจัดแสดงภาพวาดสีน้ำ สีน้ำมัน มากมายที่คนในหมู่บ้านวาดขึ้นเพื่อสื่อถึงความสายใยสัมพันธ์ระหว่างคนกับช้างของที่นี่ อย่างภาพวาด “ประเพณีบวชนาคช้าง” ซึ่งเป็นเอกลักษณ์อีกอย่างของที่นี่ ในภาพจะเล่าถึงบรรยากาศของขบวนแห่ ซึ่งการบวชนาคช้างนั้นไม่ได้เป็นการนำช้างมาบวช แต่เป็นการบวชของผู้ชายในหมู่บ้าน
อีกทั้งยังมีขั้นตอนในการดำเนินพิธีที่แตกต่าง นั่นคือจะให้นาค (คนที่บวช) แต่งกายสวยงามตามประเพณี นั่งอยู่บนหลังช้างที่มีการทาสีสวยงามเช่นกัน แล้วช้างจะเดินแห่ไปรอบหมู่บ้านจนไปสุดที่วังทะลุ (จุดที่แม่น้ำมูลไหล และลำน้ำชี มาบรรจบกัน ก่อนไหลลงสู่แม่น้ำโขง) อยู่ห่างจากหมู่บ้านไปประมาณ 3 กม. แล้วจึงทำพิธีบวชพระจนลุล่วง โดยประเพณีบวชนาคช้างจะถูกจัดขึ้นในช่วงวันขึ้น 13-15 ค่ำเดือน 6 ของทุกๆ ปี ซึ่งในปี 2562 นี้ ตรงกับวันที่ 16-18 พ.ค. ที่ผ่านมา
นอกจากนั้นยังมีสุสานช้าง การแต่งงานบนหลังช้าง ศาลปะกำ (เทวาลัยศักดิ์สิทธิ์ของหมู่บ้าน) แท็กซี่ช้าง (นั่งบนหลังช้าง) ฯลฯ ให้นักท่องเที่ยวได้ร่วมสัมผัสสายใยอันผูกพันของวิถีคนกับช้าง และความน่ารักแสนรู้ของช้างกว่า 200 ตัว ที่หมู่บ้านช้างบ้านตากลาง
“หมู่บ้านช้างบ้านตากลาง” (ศูนย์คชศึกษา) ตั้งอยู่ที่ ต.กระโพ อ.ท่าตูม จ.สุรินทร์ เปิดให้บริการทุกวัน โดยมีค่าเข้าชม ผู้ใหญ่ คนละ 50 บาท เด็กโต คนละ 20 บาท เด็กเล็ก คนละ 10 บาท ชาวต่างชาติ คนละ 100 บาท สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 06-3057-9334