Facebook :Travel @ Manager

หลายครั้งที่การวางแผนท่องเที่ยว เลือกที่จะมุ่งหน้าตรงไปยังจังหวัดที่ท่องเที่ยวเท่านั้น แต่บางคนก็เลือกที่จะขับรถเที่ยวรายทางไปเรื่อยๆ หรือเลือกที่จะแวะเที่ยวกันต่อในจังหวัดที่อยู่ใกล้ๆ กัน อย่างอีกหนึ่งเส้นทางเที่ยว “ลพบุรี-เพชรบูรณ์” ที่มีพื้นที่ต่อเนื่องกัน สามารถเที่ยวเชื่อมต่อกันได้อย่างสะดวกสบาย

จากกรุงเทพฯ มาเริ่มต้นที่จังหวัดใกล้กว่าอย่าง “ลพบุรี” แน่นอนว่าเมื่อมาถึงลพบุรี เมืองที่ขึ้นชื่อเรื่องลิง ก็ต้องแวะมาที่ “ศาลพระกาฬ” ที่นี่เป็นเหมืองวงเวียนกลางเมือง เดินเข้าไปใกล้ๆ ก็จะได้เจอกับฝูงลิงเจ้าถิ่นที่กระจายตัวอยู่รอบๆ ใครมาที่ลพบุรีก็ต้องแวะมาสักการะเจ้าพ่อพระกาฬ สันนิษฐานว่าเป็นเทวรูปพระนารายณ์ทำด้วยศิลา มี 2 องค์ คือ องคเล็กเป็นแบบเทวรูปเก่าในประเทศไทย และองค์ใหญ่เป็นประติมากรรมแบบลพบุรี บริเวณทับหลังที่สร้างด้วยศิลาทรายสลักเป็นรูปพระนารายณ์บรรทมสินธุ์วางติดกับผนังวิหารหลังเล็กชั้นบน


จากศาลพระกาฬ ข้ามถนนมาก็จะเป็น “พระปรางค์สามยอด” ลักษณะเป็นพระปรางค์เรียงต่อกันสามองค์ มีฉนวนทางเดินเชื่อมต่อกัน โดยองค์พระปรางค์นี้เป็นศิลปะเขมรแบบบายน สร้างขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ 18 สร้างด้วยศิลาแลงและตกแต่งลวดลายปูนปั้นสวยงาม เดิมนั้นน่าจะสร้างขึ้นเพื่อเป็นเทวสถานของขอมในพุทธศาสนาลัทธิมหายาน ต่อมาดัดแปลงเป็นเทวสถาน โดยมีฐานศิวลึงค์ปรากฏอยู่ด้านในองค์พระปรางค์
จนมาถึงสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช จึงได้มีการบูรณะให้เป็นวัดในพระพุทธศาสนา แล้วสร้างพระวิหารก่อด้วยอิฐ ลักษณะสถาปัตยกรรมแบบอยุธยาผสมแบบยุโรปในส่วนของประตูและหน้าต่าง ภายในวิหารประดิษฐานพุทธรูปหินทรายปางมารวิชัย ศิลปะอยุธยาตอนต้น ปัจจุบันยังคงประดิษฐานอยู่กลางแจ้ง

หากมาเดินชมบริเวณพระปรางค์สามยอด ก็จะเห็นฝูงลิงกระจายตัวอยู่รอบๆ ตามบ่อน้ำบ้าง ตามพื้นหญ้าบ้าง ตามองค์พระปรางค์บ้าง ลิงที่อาศัยอยู่ที่นี่ส่วนใหญ่จะเชื่อง คุ้นเคยกับผู้คน เลยมีนักท่องเที่ยวนิยมให้อาหารลิงจ๋อเหล่านี้ ทั้งบริเวณที่ศาลพระกาฬ และบริเวณพระปรางค์สามยอด

ใครยังพอมีเวลาเที่ยวอยู่ ในตัวเมืองลพบุรีก็ยังมีที่เที่ยวอีกหลายๆ จุดที่น่าแวะไป อาทิ “พระนารายณ์ราชนิเวศ” พระราชวังที่สร้างขึ้นเมื่อสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ปัจจุบันถูกใช้เป็นพิพิธภัณฑ์ โดยยังมีพระที่นั่ง และสิ่งก่อสร้างที่สร้างขึ้นตั้งแต่สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชหลงเหลือให้ชมอยู่ “บ้านหลวงรับราชทูต” หรือที่รู้จักกันในชื่อ “บ้านวิชาเยนทร์” ที่สร้างขึ้นในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เมื่อคราวรับราชทูตฝรั่งเศส โดยระหว่างที่ไม่มีคณะทูต ก็ได้โปรดให้ออกญาวิชาเยนทร์ (คอนสแตนติน ฟอลคอน) เป็นผู้ดูแลหมู่ตึกนี้ “วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ” วัดหลวงขนาดใหญ่และเป็นศูนย์กลางความศักดิ์สิทธิ์ของเมือง

ก่อนออกจากเมืองลพบุรี ต้องแวะไปจับจ่ายใช้สอยกันสักหน่อย ที่ “บ้านท่ากระยาง” ที่นี่เป็นแหล่งทำทองเหลืองแหล่งใหญ่ของไทย มีประวัติการทำมายาวนานร่วมร้อยปี มีการก่อตั้งเป็นชมรมช่างหล่อทองเหลืองบ้านท่ากระยาง โดย โรงหล่อทองเหลืองบ้านท่ากระยาง มีการผลิตทั้งพระและรูปปั้น รูปเหมือน อนุเสาวรีย์ ไปจนถึงข้าวของเครื่องใช้ต่างๆ

ใครที่สนใจอยากชมกระบวนการผลิต ก็ยังมีให้เห็นที่โรงหล่อ เริ่มตั้นแต่การออกแบบ การทำแม่พิมพ์ ไปจนถึงการเททองเหลืองและการขัดแต่ง ซึ่งในตอนนี้กำลังมีการพัฒนาให้เป็นศูนย์การเรียนรู้แบบครบวงจร มีพื้นที่ให้ร่วมทำกิจกรรม มีนิทรรศการให้ความรู้เรื่องการทำทองเหลือง โดยคาดว่าจะแล้วเสร็จราวต้นปี 2563
แต่ถ้าอยากเลือกซื้อผลิตภัณฑ์จากทองเหลืองก็จะมีให้เลือกตามร้านต่างๆ รวมถึงที่ชมรมช่างหล่อทองเหลือง มีสินค้าให้เลือกซื้อแบบละลานตา เดินเลือกกันได้แบบสบายใจ


จากลพบุรี เราขับรถมาเที่ยวกันต่อที่เพชรบูรณ์ แวะมาชมความงามของประติมากรรมพญานาคกันที่ “วัดธรรมยาน” (อ.หนองไผ่ จ.เพชรบูรณ์) ซึ่งที่วัดแห่งนี้โดดเด่นด้วยพระอุโบสถที่งดงาม ด้านหน้ามีพญานาคพ่นน้ำ หันหน้าเข้าหากัน คนที่เดินผ่านบริเวณนี้ก่อนเข้าไปในพระอุโบสถ ก็จะได้รับละอองน้ำที่เย็นชุ่มชื่น เหมือนได้รับน้ำมนต์ให้สบายใจ และพญานาค 2 องค์นี้ ยังได้รับการขนานนามว่าเป็นพญานาคพ่นทรัพย์ เนื่องจากมีผู้คนไปขอพรแล้วได้รับโชคลาภกลับไป

พระอุโบสถของวัดมีศิลปะสวยงาม ด้านหลังเป็นวิวภูเขา รอบข้างตกแต่งงดงาม รอบพระอุโบสถมีระเบียงคด 3 ด้าน ส่วนด้านในพระอุโบสถมีพระพุทธรูปประดิษฐานเป็นพระประธาน องค์ใหญ่คือสมเด็จองค์ปฐม องค์รองลงมาคือสมเด็จองค์ปัจจุบัน พระสมณโคดม สามารถเข้ามาสักการะเพื่อความเป็นสิริมงคลกันได้

และหากพูดถึงงานฝีมือที่เป็นเอกลักษณ์ของชาวเพชรบูรณ์ ที่แสดงให้เห็นถึงภูมิปัญญาของบรรพบุรุษที่สืบทอดต่อเนื่องกันมาจนถึงปัจจุบัน หนึ่งในนั้นก็คือ “ซิ่นหัวแดงตีนก่าน” ซึ่งเป็นผ้าไหมมัดหมี่ไทหล่มตามแบบภูมิปัญญาพื้นถิ่น ใครที่อยากเห็นการทอผ้าลายแบบดั้งเดิม ต้องมาที่ “กลุ่มทอผ้าไทหล่มบ้านหวาย” อ.หล่มสัก เพราะที่นี่ยังมีการอนุรักษ์การทอผ้าซิ่นหัวแดงตีนก่านเอาไว้

แต่นอกจากผ้าสวยๆ ที่มีให้ชมกันแล้ว ที่ “บ้านห้วยโปร่ง” (ต.บ้านหวาย อ.หล่มสัก) ที่นี่ยังเป็นชุมชนท่องเที่ยวน้องใหม่ที่น่าสนใจเป็นอย่างมาก ตั้งแต่การเป็นที่พื้นที่ทางประวัติศาสตร์ ที่สันนิษฐานกันว่าเป็นพื้นที่ตั้งของเมืองราด ที่มีเจ้าเมืองคือพ่อขุนผาเมือง โดยมีสถานที่ที่เกี่ยวข้องกับพ่อขุนผาเมืองหลายแห่ง อาทิ อนุสรณ์สถานเมืองราด เจดีย์พ่อขุนผาเมือง เจดีย์พระนางสิงขรเทวี ศาลาข้าวสารดำ เป็นต้น


แล้วก็ยังมีวัดสำคัญคือ วัดโพนชัย ที่เป็นวัดเก่าแก่ในชุมชน และยังเป็นที่ตั้งของศูนย์เรียนรู้แหล่งวัฒนธรรมบ้านห้วยโปร่ง ที่นี่มีจุดเรียนรู้การทอผ้าซิ่นหัวแดงตีนก่าน และ การทำกลองเส็ง โดยมีผู้รู้ให้คำแนะนำในขั้นตอนต่างๆ อย่างละเอียด
หากว่าอยากมาสัมผัสชุมชนอย่างใกล้ชิด ที่นี่ก็มีโฮมสเตย์ให้พัก พร้อมกับมีฐานกิจกรรมสนุกๆ ให้ทำ มาลองลิ้มชิมอาหารถิ่นแสนอร่อย เดินเที่ยวรอบๆ หมู่บ้านโดยมีมัคคุเทศก์น้อยคอยนำทาง พร้อมเล่าเรื่องสนุกๆ ให้ฟัง และถ้ามาพักในช่วงวันเสาร์ ยังสามารถไปเดินเล่นยามเย็นที่ถนนคนเดินไทหล่ม ในตัวอำเภอหล่มสักได้อีกด้วย

สำหรับใครที่ชื่นชอบด้านประวัติศาสตร์ ต้องห้ามพลาดการมาเยือนที่ “อุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ” อ.ศรีเทพ ซึ่งจุดเริ่มต้นของการมาชมอุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ ก็ต้องเริ่มที่ “ศูนย์บริการข้อมูลนักท่องเที่ยว”เพราะที่นี่จะมีนิทรรศการให้ความรู้พื้นฐานของเมืองโบราณศรีเทพ โบราณสถานสำคัญต่างๆ และยังมีศิลปะวัตถุจัดแสดงไว้ด้วย
พื้นที่ของอุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพนั้นจะแบ่งออกเป็นเมืองใน และ เมืองนอก ในส่วนของ “เมืองใน” นั้นมีโบราณสถานขนาดใหญ่หลงเหลือให้ชมอยู่หลายแห่ง ได้แก่ “ปรางค์ศรีเทพ” ที่มีลักษณะสถาปัตยกรรมแบบศิลปะเขมร สันนิษฐานว่าโบราณสถานแห่งนี้สร้างขึ้นเพื่อเป็นเทวาลัยในศาสนาฮินดู ราวพุทธศตวรรษ 16-17 และได้รับการซ่อมแซมให้เป็นพุทธสถานแบบมหายานในราวต้นพุทธศตวรรษ 18 แต่ไม่แล้วเสร็จ “เขาคลังใน” ศาสนสถานในพุทธศาสนา ซึ่งชื่อของเขาคลังในมีมาจากความเชื่อของคนท้องถิ่นที่เชื่อกันว่า เป็นคลังเก็บของที่มีค่าหรือคลังอาวุธสมัยโบราณ ที่น่าสนใจคือบริเวณฐาน จะมีรูปปั้นนูนต่ำเป็นรูปคนแคระกำลังแบกเขาคลังในอยู่ โดยคนแคระนั้นจะมีศีรษะเป็นทั้งคนและสัตว์ต่างๆ

“ปรางค์สองพี่น้อง” ปราสาทประธานก่อด้วยอิฐแบบศิลปะเขมร มีปราสาทขนาดเล็กตั้งอยู่ทางทิศใต้ซึ่งสร้างขึ้นเพิ่มเติมอยู่บนฐานเดียวกัน จึงเป็นที่มาของชื่อปรางค์สองพี่น้อง โดยที่ปรางค์องค์น้องนี้ จะมีทับหลังรูปพระอิศวรอุ้มนางปารวตีประทับนั่งอยู่เหนือโคนนทิ ส่วนในปรางค์องค์พี่นั้นพบแท่นสำหรับตั้งศิวลึงค์ตั้งอยู่
นอกจากนี้ภายในเมืองในยังพบโบราณสถานขนาดเล็กอีกหลายแห่ง รวมถึงสระน้ำและหนองน้ำที่กระจายอยู่ในพื้นที่เมืองใน ส่วนที่ “เมืองนอก” ก็มีโบราณสถานสำคัญคือ เขาคลังนอก ปรางค์ฤาษี และ ถ้ำเขาถมอรัตน์
ทั้งหมดนี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งของเส้นทางการท่องเที่ยวในจังหวัดลพบุรีและเพชรบูรณ์ มาทริปเดียวเที่ยวได้ถึงสองจังหวัด ได้สัมผัสทั้งโบราณสถาน เที่ยวชุมชน ชิมของอร่อย แล้วยังได้ไหว้พระให้สบายใจกันอีกด้วย หากใครมีเวลาพัก ลองบรรจุเส้นทางเที่ยวนี้ไว้ในแพลน ออกมาหาประสบการณ์สนุกๆ กันได้

* * * * * * * * * * * * * * * * *
สอบถามรายละเอียดการท่องเที่ยวในจังหวัดลพบุรีได้ที่ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สำนักงานลพบุรี โทร. 0-3677-0096-7 www.facebook.com/TATLopburiOffice
สอบถามรายละเอียดการท่องเที่ยวในจังหวัดเพชรบูรณ์ได้ที่ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สำนักงานพิษณุโลก (ดูแลพื้นที่พิษณุโลก, เพชรบูรณ์) โทร. 0-5525-2742-3, 0-5525-9907 www.facebook.com/TAT.Phitsanulok
สามารถส่งข้อมูลข่าวสารด้านการท่องเที่ยว-อาหารมาได้ที่ กอง บก.ข่าวท่องเที่ยว แฟกซ์ 0-2629-4467 อีเมล์ travel_astvmgr@hotmail.com หรือติดตามเพิ่มเติมได้ที่ Facebook :Travel @ Manager
หลายครั้งที่การวางแผนท่องเที่ยว เลือกที่จะมุ่งหน้าตรงไปยังจังหวัดที่ท่องเที่ยวเท่านั้น แต่บางคนก็เลือกที่จะขับรถเที่ยวรายทางไปเรื่อยๆ หรือเลือกที่จะแวะเที่ยวกันต่อในจังหวัดที่อยู่ใกล้ๆ กัน อย่างอีกหนึ่งเส้นทางเที่ยว “ลพบุรี-เพชรบูรณ์” ที่มีพื้นที่ต่อเนื่องกัน สามารถเที่ยวเชื่อมต่อกันได้อย่างสะดวกสบาย
จากกรุงเทพฯ มาเริ่มต้นที่จังหวัดใกล้กว่าอย่าง “ลพบุรี” แน่นอนว่าเมื่อมาถึงลพบุรี เมืองที่ขึ้นชื่อเรื่องลิง ก็ต้องแวะมาที่ “ศาลพระกาฬ” ที่นี่เป็นเหมืองวงเวียนกลางเมือง เดินเข้าไปใกล้ๆ ก็จะได้เจอกับฝูงลิงเจ้าถิ่นที่กระจายตัวอยู่รอบๆ ใครมาที่ลพบุรีก็ต้องแวะมาสักการะเจ้าพ่อพระกาฬ สันนิษฐานว่าเป็นเทวรูปพระนารายณ์ทำด้วยศิลา มี 2 องค์ คือ องคเล็กเป็นแบบเทวรูปเก่าในประเทศไทย และองค์ใหญ่เป็นประติมากรรมแบบลพบุรี บริเวณทับหลังที่สร้างด้วยศิลาทรายสลักเป็นรูปพระนารายณ์บรรทมสินธุ์วางติดกับผนังวิหารหลังเล็กชั้นบน
จากศาลพระกาฬ ข้ามถนนมาก็จะเป็น “พระปรางค์สามยอด” ลักษณะเป็นพระปรางค์เรียงต่อกันสามองค์ มีฉนวนทางเดินเชื่อมต่อกัน โดยองค์พระปรางค์นี้เป็นศิลปะเขมรแบบบายน สร้างขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ 18 สร้างด้วยศิลาแลงและตกแต่งลวดลายปูนปั้นสวยงาม เดิมนั้นน่าจะสร้างขึ้นเพื่อเป็นเทวสถานของขอมในพุทธศาสนาลัทธิมหายาน ต่อมาดัดแปลงเป็นเทวสถาน โดยมีฐานศิวลึงค์ปรากฏอยู่ด้านในองค์พระปรางค์
จนมาถึงสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช จึงได้มีการบูรณะให้เป็นวัดในพระพุทธศาสนา แล้วสร้างพระวิหารก่อด้วยอิฐ ลักษณะสถาปัตยกรรมแบบอยุธยาผสมแบบยุโรปในส่วนของประตูและหน้าต่าง ภายในวิหารประดิษฐานพุทธรูปหินทรายปางมารวิชัย ศิลปะอยุธยาตอนต้น ปัจจุบันยังคงประดิษฐานอยู่กลางแจ้ง
หากมาเดินชมบริเวณพระปรางค์สามยอด ก็จะเห็นฝูงลิงกระจายตัวอยู่รอบๆ ตามบ่อน้ำบ้าง ตามพื้นหญ้าบ้าง ตามองค์พระปรางค์บ้าง ลิงที่อาศัยอยู่ที่นี่ส่วนใหญ่จะเชื่อง คุ้นเคยกับผู้คน เลยมีนักท่องเที่ยวนิยมให้อาหารลิงจ๋อเหล่านี้ ทั้งบริเวณที่ศาลพระกาฬ และบริเวณพระปรางค์สามยอด
ใครยังพอมีเวลาเที่ยวอยู่ ในตัวเมืองลพบุรีก็ยังมีที่เที่ยวอีกหลายๆ จุดที่น่าแวะไป อาทิ “พระนารายณ์ราชนิเวศ” พระราชวังที่สร้างขึ้นเมื่อสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ปัจจุบันถูกใช้เป็นพิพิธภัณฑ์ โดยยังมีพระที่นั่ง และสิ่งก่อสร้างที่สร้างขึ้นตั้งแต่สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชหลงเหลือให้ชมอยู่ “บ้านหลวงรับราชทูต” หรือที่รู้จักกันในชื่อ “บ้านวิชาเยนทร์” ที่สร้างขึ้นในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เมื่อคราวรับราชทูตฝรั่งเศส โดยระหว่างที่ไม่มีคณะทูต ก็ได้โปรดให้ออกญาวิชาเยนทร์ (คอนสแตนติน ฟอลคอน) เป็นผู้ดูแลหมู่ตึกนี้ “วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ” วัดหลวงขนาดใหญ่และเป็นศูนย์กลางความศักดิ์สิทธิ์ของเมือง
ก่อนออกจากเมืองลพบุรี ต้องแวะไปจับจ่ายใช้สอยกันสักหน่อย ที่ “บ้านท่ากระยาง” ที่นี่เป็นแหล่งทำทองเหลืองแหล่งใหญ่ของไทย มีประวัติการทำมายาวนานร่วมร้อยปี มีการก่อตั้งเป็นชมรมช่างหล่อทองเหลืองบ้านท่ากระยาง โดย โรงหล่อทองเหลืองบ้านท่ากระยาง มีการผลิตทั้งพระและรูปปั้น รูปเหมือน อนุเสาวรีย์ ไปจนถึงข้าวของเครื่องใช้ต่างๆ
ใครที่สนใจอยากชมกระบวนการผลิต ก็ยังมีให้เห็นที่โรงหล่อ เริ่มตั้นแต่การออกแบบ การทำแม่พิมพ์ ไปจนถึงการเททองเหลืองและการขัดแต่ง ซึ่งในตอนนี้กำลังมีการพัฒนาให้เป็นศูนย์การเรียนรู้แบบครบวงจร มีพื้นที่ให้ร่วมทำกิจกรรม มีนิทรรศการให้ความรู้เรื่องการทำทองเหลือง โดยคาดว่าจะแล้วเสร็จราวต้นปี 2563
แต่ถ้าอยากเลือกซื้อผลิตภัณฑ์จากทองเหลืองก็จะมีให้เลือกตามร้านต่างๆ รวมถึงที่ชมรมช่างหล่อทองเหลือง มีสินค้าให้เลือกซื้อแบบละลานตา เดินเลือกกันได้แบบสบายใจ
จากลพบุรี เราขับรถมาเที่ยวกันต่อที่เพชรบูรณ์ แวะมาชมความงามของประติมากรรมพญานาคกันที่ “วัดธรรมยาน” (อ.หนองไผ่ จ.เพชรบูรณ์) ซึ่งที่วัดแห่งนี้โดดเด่นด้วยพระอุโบสถที่งดงาม ด้านหน้ามีพญานาคพ่นน้ำ หันหน้าเข้าหากัน คนที่เดินผ่านบริเวณนี้ก่อนเข้าไปในพระอุโบสถ ก็จะได้รับละอองน้ำที่เย็นชุ่มชื่น เหมือนได้รับน้ำมนต์ให้สบายใจ และพญานาค 2 องค์นี้ ยังได้รับการขนานนามว่าเป็นพญานาคพ่นทรัพย์ เนื่องจากมีผู้คนไปขอพรแล้วได้รับโชคลาภกลับไป
พระอุโบสถของวัดมีศิลปะสวยงาม ด้านหลังเป็นวิวภูเขา รอบข้างตกแต่งงดงาม รอบพระอุโบสถมีระเบียงคด 3 ด้าน ส่วนด้านในพระอุโบสถมีพระพุทธรูปประดิษฐานเป็นพระประธาน องค์ใหญ่คือสมเด็จองค์ปฐม องค์รองลงมาคือสมเด็จองค์ปัจจุบัน พระสมณโคดม สามารถเข้ามาสักการะเพื่อความเป็นสิริมงคลกันได้
และหากพูดถึงงานฝีมือที่เป็นเอกลักษณ์ของชาวเพชรบูรณ์ ที่แสดงให้เห็นถึงภูมิปัญญาของบรรพบุรุษที่สืบทอดต่อเนื่องกันมาจนถึงปัจจุบัน หนึ่งในนั้นก็คือ “ซิ่นหัวแดงตีนก่าน” ซึ่งเป็นผ้าไหมมัดหมี่ไทหล่มตามแบบภูมิปัญญาพื้นถิ่น ใครที่อยากเห็นการทอผ้าลายแบบดั้งเดิม ต้องมาที่ “กลุ่มทอผ้าไทหล่มบ้านหวาย” อ.หล่มสัก เพราะที่นี่ยังมีการอนุรักษ์การทอผ้าซิ่นหัวแดงตีนก่านเอาไว้
แต่นอกจากผ้าสวยๆ ที่มีให้ชมกันแล้ว ที่ “บ้านห้วยโปร่ง” (ต.บ้านหวาย อ.หล่มสัก) ที่นี่ยังเป็นชุมชนท่องเที่ยวน้องใหม่ที่น่าสนใจเป็นอย่างมาก ตั้งแต่การเป็นที่พื้นที่ทางประวัติศาสตร์ ที่สันนิษฐานกันว่าเป็นพื้นที่ตั้งของเมืองราด ที่มีเจ้าเมืองคือพ่อขุนผาเมือง โดยมีสถานที่ที่เกี่ยวข้องกับพ่อขุนผาเมืองหลายแห่ง อาทิ อนุสรณ์สถานเมืองราด เจดีย์พ่อขุนผาเมือง เจดีย์พระนางสิงขรเทวี ศาลาข้าวสารดำ เป็นต้น
แล้วก็ยังมีวัดสำคัญคือ วัดโพนชัย ที่เป็นวัดเก่าแก่ในชุมชน และยังเป็นที่ตั้งของศูนย์เรียนรู้แหล่งวัฒนธรรมบ้านห้วยโปร่ง ที่นี่มีจุดเรียนรู้การทอผ้าซิ่นหัวแดงตีนก่าน และ การทำกลองเส็ง โดยมีผู้รู้ให้คำแนะนำในขั้นตอนต่างๆ อย่างละเอียด
หากว่าอยากมาสัมผัสชุมชนอย่างใกล้ชิด ที่นี่ก็มีโฮมสเตย์ให้พัก พร้อมกับมีฐานกิจกรรมสนุกๆ ให้ทำ มาลองลิ้มชิมอาหารถิ่นแสนอร่อย เดินเที่ยวรอบๆ หมู่บ้านโดยมีมัคคุเทศก์น้อยคอยนำทาง พร้อมเล่าเรื่องสนุกๆ ให้ฟัง และถ้ามาพักในช่วงวันเสาร์ ยังสามารถไปเดินเล่นยามเย็นที่ถนนคนเดินไทหล่ม ในตัวอำเภอหล่มสักได้อีกด้วย
สำหรับใครที่ชื่นชอบด้านประวัติศาสตร์ ต้องห้ามพลาดการมาเยือนที่ “อุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ” อ.ศรีเทพ ซึ่งจุดเริ่มต้นของการมาชมอุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ ก็ต้องเริ่มที่ “ศูนย์บริการข้อมูลนักท่องเที่ยว”เพราะที่นี่จะมีนิทรรศการให้ความรู้พื้นฐานของเมืองโบราณศรีเทพ โบราณสถานสำคัญต่างๆ และยังมีศิลปะวัตถุจัดแสดงไว้ด้วย
พื้นที่ของอุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพนั้นจะแบ่งออกเป็นเมืองใน และ เมืองนอก ในส่วนของ “เมืองใน” นั้นมีโบราณสถานขนาดใหญ่หลงเหลือให้ชมอยู่หลายแห่ง ได้แก่ “ปรางค์ศรีเทพ” ที่มีลักษณะสถาปัตยกรรมแบบศิลปะเขมร สันนิษฐานว่าโบราณสถานแห่งนี้สร้างขึ้นเพื่อเป็นเทวาลัยในศาสนาฮินดู ราวพุทธศตวรรษ 16-17 และได้รับการซ่อมแซมให้เป็นพุทธสถานแบบมหายานในราวต้นพุทธศตวรรษ 18 แต่ไม่แล้วเสร็จ “เขาคลังใน” ศาสนสถานในพุทธศาสนา ซึ่งชื่อของเขาคลังในมีมาจากความเชื่อของคนท้องถิ่นที่เชื่อกันว่า เป็นคลังเก็บของที่มีค่าหรือคลังอาวุธสมัยโบราณ ที่น่าสนใจคือบริเวณฐาน จะมีรูปปั้นนูนต่ำเป็นรูปคนแคระกำลังแบกเขาคลังในอยู่ โดยคนแคระนั้นจะมีศีรษะเป็นทั้งคนและสัตว์ต่างๆ
“ปรางค์สองพี่น้อง” ปราสาทประธานก่อด้วยอิฐแบบศิลปะเขมร มีปราสาทขนาดเล็กตั้งอยู่ทางทิศใต้ซึ่งสร้างขึ้นเพิ่มเติมอยู่บนฐานเดียวกัน จึงเป็นที่มาของชื่อปรางค์สองพี่น้อง โดยที่ปรางค์องค์น้องนี้ จะมีทับหลังรูปพระอิศวรอุ้มนางปารวตีประทับนั่งอยู่เหนือโคนนทิ ส่วนในปรางค์องค์พี่นั้นพบแท่นสำหรับตั้งศิวลึงค์ตั้งอยู่
นอกจากนี้ภายในเมืองในยังพบโบราณสถานขนาดเล็กอีกหลายแห่ง รวมถึงสระน้ำและหนองน้ำที่กระจายอยู่ในพื้นที่เมืองใน ส่วนที่ “เมืองนอก” ก็มีโบราณสถานสำคัญคือ เขาคลังนอก ปรางค์ฤาษี และ ถ้ำเขาถมอรัตน์
ทั้งหมดนี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งของเส้นทางการท่องเที่ยวในจังหวัดลพบุรีและเพชรบูรณ์ มาทริปเดียวเที่ยวได้ถึงสองจังหวัด ได้สัมผัสทั้งโบราณสถาน เที่ยวชุมชน ชิมของอร่อย แล้วยังได้ไหว้พระให้สบายใจกันอีกด้วย หากใครมีเวลาพัก ลองบรรจุเส้นทางเที่ยวนี้ไว้ในแพลน ออกมาหาประสบการณ์สนุกๆ กันได้
* * * * * * * * * * * * * * * * *
สอบถามรายละเอียดการท่องเที่ยวในจังหวัดลพบุรีได้ที่ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สำนักงานลพบุรี โทร. 0-3677-0096-7 www.facebook.com/TATLopburiOffice
สอบถามรายละเอียดการท่องเที่ยวในจังหวัดเพชรบูรณ์ได้ที่ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สำนักงานพิษณุโลก (ดูแลพื้นที่พิษณุโลก, เพชรบูรณ์) โทร. 0-5525-2742-3, 0-5525-9907 www.facebook.com/TAT.Phitsanulok
สามารถส่งข้อมูลข่าวสารด้านการท่องเที่ยว-อาหารมาได้ที่ กอง บก.ข่าวท่องเที่ยว แฟกซ์ 0-2629-4467 อีเมล์ travel_astvmgr@hotmail.com หรือติดตามเพิ่มเติมได้ที่ Facebook :Travel @ Manager