Facebook :Travel @ Manager

เชื่อว่าหลายคนต้องเคยได้ยินชื่อเสียงความกล้าหาญของเหล่าวีรชนคนกล้าบางระจัน ที่ร่วมกันต่อสู้กับข้าศึกในช่วงก่อนการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง ด้วยวีรกรรมกล้าหาญนี้ก็มีการสร้างอนุสาวรีย์ขึ้นเพื่อรำลึก ณ อ.ค่ายบางระจัน จ.สิงห์บุรี
และอีกจุดหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ในครั้งนั้นก็คือที่ “วัดโพธิ์เก้าต้น” อ.ค่ายบางระจัน จ.สิงห์บุรี ซึ่งที่นี่เดิมเคยเป็นที่ตั้งของบ้านบางระจัน และเป็นฐานที่มั่นของค่ายบางระจันในการต่อสู้กับกองทัพพม่าที่ยกมาตีกรุงศรีอยุธยา เมื่อ พ.ศ.2308

ปัจจุบัน หากมาถึงที่วัดก็จะเห็นเป็นกำแพงที่สร้างจำลองมาจากกำแพงค่ายบางระจันเมื่อยุคปลายกรุงศรีอยุธยา ภายในวัดมีวิหารพระอาจารย์ธรรมโชติ ประดิษฐานรูปปฏิมากรรมของพระอาจารย์ธรรมโชติอยู่ โดยพระอาจารย์ธรรมโชติ เป็นที่เคารพของชาวสิงห์บุรีมาอย่างช้านาน เนื่องจากท่านเป็นมิ่งขวัญและกำลังใจแก่เหล่าวีรชนชาวบ้านบางระจันในการต่อสู้กับข้าศึก
ใกล้ๆ กับวิหารพระอาจารย์ธรรมโชติ จะเห็นว่ามีบ่อน้ำอยู่ โดยบ่อน้ำแห่งนี้ถือว่าเป็นบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ เนื่องจากในช่วงที่ชาวบ้านบางระจันต่อสู้กับกองทัพพม่า ต้องการขวัญและกำลังใจอย่างมาก พระอาจารย์ธรรมโชติจึงทำน้ำมนต์ใส่สระขนาดใหญ่เพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการของชาวบ้าน เลยถือกันว่าน้ำในบ่อเป็นน้ำศักดิ์สิทธิ์ ปัจจุบัน หากใครที่มาบนบานศาลกล่าว หรือขอพรที่นี่แล้วได้สิ่งที่ต้องการ ก็จะมาแก้บนด้วยการหาบน้ำมาเทลงในบ่อศักดิ์สิทธิ์ตามจำนวนหาบที่บนไว้


ทำบุญที่วัดกันแล้ว ต้องไม่พลาดที่จะไปจับจ่ายใช้สอยกันต่อที่ “ตลาดไทยย้อนยุคบ้านระจัน” (เปิดทุกวันเสาร์-อาทิตย์ เวลา 08.30-17.00 น.) ที่ตั้งอยู่ภายในวัดนั่นเอง ตลาดย้อนยุคแห่งนี้เกิดขึ้นจากการที่ พระครูวิชิต วุฒิคุณ เจ้าอาวาสวัดโพธิ์เก้าต้น อยากช่วยเหลือชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบจากสภาวะผลผลิตทางการเกษตรตกต่ำ โดยเริ่มจากการให้ชาวบ้านนำผลผลิตทางการเกษตรมาขายอยู่ในพื้นที่วัดอยู่หลายปีโดยไม่คิดค่าเช่าพื้นที่ และมาในช่วงงานลอยกระทง พ.ศ.2559 ชาวบ้านย้ายไปจัดตลาดและงานลอยกระทงที่บริเวณท่าน้ำหลังวัด และใช้พื้นที่บริเวณนี้จัดเป็นตลาดย้อนยุคตั้งแต่ตอนนั้นเป็นต้นมา

เริ่มเดินเข้ามาในตลาดก็จะได้ยินเสียงพ่อค้าแม่ค้าเรียกซื้อของแบบภาษาโบราณ เป็นต้นว่า “รับน้ำดื่มเย็นๆ สักแก้วไหมเจ้าคะ” “ผัดไทยผัดกันร้อนๆ เลยนะขอรับ” แถมยังแต่งชุดไทย นุ่งโจง ห่มสไบ ใส่ผ้าแถบ ช่วยสร้างบรรยากาศย้อนยุคให้แบบสุดๆ
และพูดถึงบางระจัน ก็ต้องนึกถึงเหล่านักรบบางระจัน ที่ตลาดก็มีเดินขวักไขว่อยู่หลายคน โดยเฉพาะบริเวณปากประตูค่าย สามารถเดินเข้าไปขอถ่ายภาพได้เลย โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย (แต่จะมีกล่องรับบริจาคเพื่อเป็นทุนสำหรับดูแลตลาด) บางทีก็จะเห็นเหล่านักรบวิ่งถือดาบมา หรือเดินเล่นอยู่ในตลาด

ส่วนของร้านค้าต่างๆ นั้น เน้นหนักไปในด้านของกิน โดยเฉพาะของอร่อยขึ้นชื่อของจังหวัดสิงห์บุรี มีทั้งของคาว ของหวาน อาทิ ผัดไทย กุนเชียงหมู/กุนเชียงปลา ปลาเห็ด (ทอดมัน) ปลาร้าสับ ขนมไทยโบราณ ผักผลไม้สดๆ จากสวน ก๋วยเตี๋ยว กวยจั๊บ ขนมจีน ฯลฯ
บรรยากาศในตลาดก็ถือว่าร่มรื่นน่าเดิน ได้ทั้งความร่มจากเงาไม้ใหญ่ และหลังคามุงจากกับวัสดุธรรมชาติที่ช่วยกันแสงแดด เดินชอปอยู่แล้วเริ่มเมื่อย ก็จะมีแคร่ให้นั่งพักขาเป็นระยะ หรือถ้าหากอยากได้ที่นั่งแบบชิลๆ แนะนำให้เดินมาบริเวณริมน้ำ ทางตลาดจัดเก้าอี้ไว้ให้มานั่งพักผ่อนกัน หรือจะซื้อของกินมานั่งกินบริเวณนี้ก็ได้ จะได้รับลมเย็นๆ จากคลอง แล้วก็มีร่มเงาจากต้นไม้ต้นใหญ่ให้พักพิง

และหากว่ามาถึงที่สิงห์บุรีแล้ว ก็อย่าลืมแวะไปสักการะพระพุทธไสยาสน์ที่มีความยาวติดอันดับต้นๆ ของประเทศไทย ที่ “วัดพระนอนจักรสีห์วรวิหาร” ใน อ.เมือง จ.สิงห์บุรี

ไม่ปรากฏหลักฐานว่าใครเป็นผู้สร้างวัด และสร้างขึ้นตั้งแต่เมื่อไร แต่มีตำนานหนึ่งเล่าว่า สิงหพาหุซึ่งมีบิดาเป็นราชสีห์ มารดาเป็นธิดาของเศรษฐี เมื่อสิงหพาหุโตขึ้นเกิดความรู้สึกรังเกียจที่มีบิดาเป็นสัตว์เดียรัจฉาน จึงได้กระทำปิตุฆาต แต่ภายหลังสำนึกบาปจึงได้สร้างวัดพระนอนขึ้นเพื่อเป็นการชำระล้างบาป ซึ่งหากพิจารณาลักษณะทางศิลปกรรมของสิ่งก่อสร้าง ทั้งพระวิหารและพระอุโบสถแล้ว พบว่ามีการบูรณปฏิสังขรณ์หลายหนจนไม่อาจระบุสมัยได้อย่างชัดเจน แต่สันนิษฐานว่าน่าจะสร้างขึ้นก่อนสมัยอยุธยาตอนปลาย

ภายในวัดพระนอนจักรสีห์ มีพระวิหารเป็นสถานที่ประดิษฐาน “พระนอนจักรสีห์” พระพุทธรูปไสยาสน์ (พระนอน) ปางโปรดอสุรินทราหู เป็นพระพุทธรูปปูนปั้น องค์พระมีความยาว 1 เส้น 3 วา 2 ศอก 1 คืบ 7 นิ้ว ที่พระรัศมีมีเสากลมยอดบัวรองรับ หันพระพักตร์ไปทางทิศเหนือ พระเศียรหันไปทางทิศตะวันออก ปัจจุบันเป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองสิงห์บุรี ใครที่ผ่านไปผ่านมาก็มักจะแวะมาสักการะเพื่อความเป็นสิริมงคลกับตัวเอง โดยด้านหน้าพระวิหารจะมีพระนอนองค์จำลองให้ได้มาปิดทองกันด้วย
และนอกจากนั้นภายในพระวิหารยังประดิษฐานพระพุทธรูปองค์สำคัญคือ “พระแก้ว-พระกาฬ” ซึ่งเป็นพระพุทธรูปที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานไว้เพื่อให้เป็นพระคู่บารมีพระพุทธไสยาสน์ เมื่อครั้งที่พระองค์มาประทับ ณ วัดพระนอนจักรสีห์ในระหว่างบูรณปฏิสังขรณ์พระวิหาร แล้วก็ยังมีการจัดแสดงข้าวของเครื่องใช้ในสมัยก่อนให้ได้เดินชมกันด้วย

อีกวัดหนึ่งมีชื่อเสียงไม่น้อยของสิงห์บุรีก็คือ “วัดพิกุลทอง” (อ.ท่าช้าง จ.สิงห์บุรี) หรือที่หลายคนรู้จักกันในชื่อ “วัดหลวงพ่อแพ” เนื่องจากความเลื่อมใสศรัทธาในหลวงพ่อแพ (พระเทพสิงหบุราจารย์ เจ้าคณะจังหวัดสิงห์บุรี) อดีตเจ้าอาวาสของวัดแห่งนี้ซึ่งเป็นพระนักพัฒนารูปหนึ่งที่ทำประโยชน์ต่อพุทธศาสนามากมาย ทั้งยังมีส่วนทำให้วัดพิกุลทองแห่งนี้สวยงามอยู่ตลอดเวลา

ภายในวัดมีจุดเด่นอยู่ที่ “หลวงพ่อใหญ่” หรือ “พระพุทธสุวรรณมงคลมหามุนี” ซึ่งเป็นพระพุทธรูปปางประทานพรองค์ใหญ่ที่สุดองค์หนึ่งในประเทศไทย มีขนาดหน้าตักกว้าง 11 วา 2 ศอก สูง 21 วา 1 คืบ 3 นิ้ว ภายในเป็นคอนกรีตเสริมเหล็กประดับด้วยโมเสกทองคำธรรมชาติชนิด 24 สามารถมองเห็นองค์พระสีเหลืองทองได้แต่ไกล

ใกล้ๆ กับองค์หลวงพ่อใหญ่เป็นวิหารที่ประดิษฐานรูปเหมือนหลวงพ่อแพ ที่ก่อสร้างด้วยทองเหลืองลงรักปิดทอง หน้าตักกว้าง 6 เมตร ภายในวัดยังมีสิ่งศักดิ์สิทธิ์ให้สักการะอีกหลายจุด แล้วอย่าลืมแวะเข้าไปที่ “พิพิธภัณฑ์หลวงพ่อแพ” ซึ่งเป็นที่ตั้งศพของหลวงพ่อแพ และรูปเหมือนหุ่นขึ้นผึ้งขนาดเท่าจริงของหลวงพ่อแพ
ทำบุญในวัดเสร็จแล้ว ก็ยังตลาดเล็กๆ ให้แวะชอปจับจ่ายซื้อหาของฝากกลับบ้านกันไปแบบอิ่มใจและอิ่มท้องกันด้วย
สามารถส่งข้อมูลข่าวสารด้านการท่องเที่ยว-อาหารมาได้ที่ กอง บก.ข่าวท่องเที่ยว แฟกซ์ 0-2629-4467 อีเมล์ travel_astvmgr@hotmail.com หรือติดตามเพิ่มเติมได้ที่ Facebook :Travel @ Manager
เชื่อว่าหลายคนต้องเคยได้ยินชื่อเสียงความกล้าหาญของเหล่าวีรชนคนกล้าบางระจัน ที่ร่วมกันต่อสู้กับข้าศึกในช่วงก่อนการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง ด้วยวีรกรรมกล้าหาญนี้ก็มีการสร้างอนุสาวรีย์ขึ้นเพื่อรำลึก ณ อ.ค่ายบางระจัน จ.สิงห์บุรี
และอีกจุดหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ในครั้งนั้นก็คือที่ “วัดโพธิ์เก้าต้น” อ.ค่ายบางระจัน จ.สิงห์บุรี ซึ่งที่นี่เดิมเคยเป็นที่ตั้งของบ้านบางระจัน และเป็นฐานที่มั่นของค่ายบางระจันในการต่อสู้กับกองทัพพม่าที่ยกมาตีกรุงศรีอยุธยา เมื่อ พ.ศ.2308
ปัจจุบัน หากมาถึงที่วัดก็จะเห็นเป็นกำแพงที่สร้างจำลองมาจากกำแพงค่ายบางระจันเมื่อยุคปลายกรุงศรีอยุธยา ภายในวัดมีวิหารพระอาจารย์ธรรมโชติ ประดิษฐานรูปปฏิมากรรมของพระอาจารย์ธรรมโชติอยู่ โดยพระอาจารย์ธรรมโชติ เป็นที่เคารพของชาวสิงห์บุรีมาอย่างช้านาน เนื่องจากท่านเป็นมิ่งขวัญและกำลังใจแก่เหล่าวีรชนชาวบ้านบางระจันในการต่อสู้กับข้าศึก
ใกล้ๆ กับวิหารพระอาจารย์ธรรมโชติ จะเห็นว่ามีบ่อน้ำอยู่ โดยบ่อน้ำแห่งนี้ถือว่าเป็นบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ เนื่องจากในช่วงที่ชาวบ้านบางระจันต่อสู้กับกองทัพพม่า ต้องการขวัญและกำลังใจอย่างมาก พระอาจารย์ธรรมโชติจึงทำน้ำมนต์ใส่สระขนาดใหญ่เพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการของชาวบ้าน เลยถือกันว่าน้ำในบ่อเป็นน้ำศักดิ์สิทธิ์ ปัจจุบัน หากใครที่มาบนบานศาลกล่าว หรือขอพรที่นี่แล้วได้สิ่งที่ต้องการ ก็จะมาแก้บนด้วยการหาบน้ำมาเทลงในบ่อศักดิ์สิทธิ์ตามจำนวนหาบที่บนไว้
ทำบุญที่วัดกันแล้ว ต้องไม่พลาดที่จะไปจับจ่ายใช้สอยกันต่อที่ “ตลาดไทยย้อนยุคบ้านระจัน” (เปิดทุกวันเสาร์-อาทิตย์ เวลา 08.30-17.00 น.) ที่ตั้งอยู่ภายในวัดนั่นเอง ตลาดย้อนยุคแห่งนี้เกิดขึ้นจากการที่ พระครูวิชิต วุฒิคุณ เจ้าอาวาสวัดโพธิ์เก้าต้น อยากช่วยเหลือชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบจากสภาวะผลผลิตทางการเกษตรตกต่ำ โดยเริ่มจากการให้ชาวบ้านนำผลผลิตทางการเกษตรมาขายอยู่ในพื้นที่วัดอยู่หลายปีโดยไม่คิดค่าเช่าพื้นที่ และมาในช่วงงานลอยกระทง พ.ศ.2559 ชาวบ้านย้ายไปจัดตลาดและงานลอยกระทงที่บริเวณท่าน้ำหลังวัด และใช้พื้นที่บริเวณนี้จัดเป็นตลาดย้อนยุคตั้งแต่ตอนนั้นเป็นต้นมา
เริ่มเดินเข้ามาในตลาดก็จะได้ยินเสียงพ่อค้าแม่ค้าเรียกซื้อของแบบภาษาโบราณ เป็นต้นว่า “รับน้ำดื่มเย็นๆ สักแก้วไหมเจ้าคะ” “ผัดไทยผัดกันร้อนๆ เลยนะขอรับ” แถมยังแต่งชุดไทย นุ่งโจง ห่มสไบ ใส่ผ้าแถบ ช่วยสร้างบรรยากาศย้อนยุคให้แบบสุดๆ
และพูดถึงบางระจัน ก็ต้องนึกถึงเหล่านักรบบางระจัน ที่ตลาดก็มีเดินขวักไขว่อยู่หลายคน โดยเฉพาะบริเวณปากประตูค่าย สามารถเดินเข้าไปขอถ่ายภาพได้เลย โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย (แต่จะมีกล่องรับบริจาคเพื่อเป็นทุนสำหรับดูแลตลาด) บางทีก็จะเห็นเหล่านักรบวิ่งถือดาบมา หรือเดินเล่นอยู่ในตลาด
ส่วนของร้านค้าต่างๆ นั้น เน้นหนักไปในด้านของกิน โดยเฉพาะของอร่อยขึ้นชื่อของจังหวัดสิงห์บุรี มีทั้งของคาว ของหวาน อาทิ ผัดไทย กุนเชียงหมู/กุนเชียงปลา ปลาเห็ด (ทอดมัน) ปลาร้าสับ ขนมไทยโบราณ ผักผลไม้สดๆ จากสวน ก๋วยเตี๋ยว กวยจั๊บ ขนมจีน ฯลฯ
บรรยากาศในตลาดก็ถือว่าร่มรื่นน่าเดิน ได้ทั้งความร่มจากเงาไม้ใหญ่ และหลังคามุงจากกับวัสดุธรรมชาติที่ช่วยกันแสงแดด เดินชอปอยู่แล้วเริ่มเมื่อย ก็จะมีแคร่ให้นั่งพักขาเป็นระยะ หรือถ้าหากอยากได้ที่นั่งแบบชิลๆ แนะนำให้เดินมาบริเวณริมน้ำ ทางตลาดจัดเก้าอี้ไว้ให้มานั่งพักผ่อนกัน หรือจะซื้อของกินมานั่งกินบริเวณนี้ก็ได้ จะได้รับลมเย็นๆ จากคลอง แล้วก็มีร่มเงาจากต้นไม้ต้นใหญ่ให้พักพิง
และหากว่ามาถึงที่สิงห์บุรีแล้ว ก็อย่าลืมแวะไปสักการะพระพุทธไสยาสน์ที่มีความยาวติดอันดับต้นๆ ของประเทศไทย ที่ “วัดพระนอนจักรสีห์วรวิหาร” ใน อ.เมือง จ.สิงห์บุรี
ไม่ปรากฏหลักฐานว่าใครเป็นผู้สร้างวัด และสร้างขึ้นตั้งแต่เมื่อไร แต่มีตำนานหนึ่งเล่าว่า สิงหพาหุซึ่งมีบิดาเป็นราชสีห์ มารดาเป็นธิดาของเศรษฐี เมื่อสิงหพาหุโตขึ้นเกิดความรู้สึกรังเกียจที่มีบิดาเป็นสัตว์เดียรัจฉาน จึงได้กระทำปิตุฆาต แต่ภายหลังสำนึกบาปจึงได้สร้างวัดพระนอนขึ้นเพื่อเป็นการชำระล้างบาป ซึ่งหากพิจารณาลักษณะทางศิลปกรรมของสิ่งก่อสร้าง ทั้งพระวิหารและพระอุโบสถแล้ว พบว่ามีการบูรณปฏิสังขรณ์หลายหนจนไม่อาจระบุสมัยได้อย่างชัดเจน แต่สันนิษฐานว่าน่าจะสร้างขึ้นก่อนสมัยอยุธยาตอนปลาย
ภายในวัดพระนอนจักรสีห์ มีพระวิหารเป็นสถานที่ประดิษฐาน “พระนอนจักรสีห์” พระพุทธรูปไสยาสน์ (พระนอน) ปางโปรดอสุรินทราหู เป็นพระพุทธรูปปูนปั้น องค์พระมีความยาว 1 เส้น 3 วา 2 ศอก 1 คืบ 7 นิ้ว ที่พระรัศมีมีเสากลมยอดบัวรองรับ หันพระพักตร์ไปทางทิศเหนือ พระเศียรหันไปทางทิศตะวันออก ปัจจุบันเป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองสิงห์บุรี ใครที่ผ่านไปผ่านมาก็มักจะแวะมาสักการะเพื่อความเป็นสิริมงคลกับตัวเอง โดยด้านหน้าพระวิหารจะมีพระนอนองค์จำลองให้ได้มาปิดทองกันด้วย
และนอกจากนั้นภายในพระวิหารยังประดิษฐานพระพุทธรูปองค์สำคัญคือ “พระแก้ว-พระกาฬ” ซึ่งเป็นพระพุทธรูปที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานไว้เพื่อให้เป็นพระคู่บารมีพระพุทธไสยาสน์ เมื่อครั้งที่พระองค์มาประทับ ณ วัดพระนอนจักรสีห์ในระหว่างบูรณปฏิสังขรณ์พระวิหาร แล้วก็ยังมีการจัดแสดงข้าวของเครื่องใช้ในสมัยก่อนให้ได้เดินชมกันด้วย
อีกวัดหนึ่งมีชื่อเสียงไม่น้อยของสิงห์บุรีก็คือ “วัดพิกุลทอง” (อ.ท่าช้าง จ.สิงห์บุรี) หรือที่หลายคนรู้จักกันในชื่อ “วัดหลวงพ่อแพ” เนื่องจากความเลื่อมใสศรัทธาในหลวงพ่อแพ (พระเทพสิงหบุราจารย์ เจ้าคณะจังหวัดสิงห์บุรี) อดีตเจ้าอาวาสของวัดแห่งนี้ซึ่งเป็นพระนักพัฒนารูปหนึ่งที่ทำประโยชน์ต่อพุทธศาสนามากมาย ทั้งยังมีส่วนทำให้วัดพิกุลทองแห่งนี้สวยงามอยู่ตลอดเวลา
ภายในวัดมีจุดเด่นอยู่ที่ “หลวงพ่อใหญ่” หรือ “พระพุทธสุวรรณมงคลมหามุนี” ซึ่งเป็นพระพุทธรูปปางประทานพรองค์ใหญ่ที่สุดองค์หนึ่งในประเทศไทย มีขนาดหน้าตักกว้าง 11 วา 2 ศอก สูง 21 วา 1 คืบ 3 นิ้ว ภายในเป็นคอนกรีตเสริมเหล็กประดับด้วยโมเสกทองคำธรรมชาติชนิด 24 สามารถมองเห็นองค์พระสีเหลืองทองได้แต่ไกล
ใกล้ๆ กับองค์หลวงพ่อใหญ่เป็นวิหารที่ประดิษฐานรูปเหมือนหลวงพ่อแพ ที่ก่อสร้างด้วยทองเหลืองลงรักปิดทอง หน้าตักกว้าง 6 เมตร ภายในวัดยังมีสิ่งศักดิ์สิทธิ์ให้สักการะอีกหลายจุด แล้วอย่าลืมแวะเข้าไปที่ “พิพิธภัณฑ์หลวงพ่อแพ” ซึ่งเป็นที่ตั้งศพของหลวงพ่อแพ และรูปเหมือนหุ่นขึ้นผึ้งขนาดเท่าจริงของหลวงพ่อแพ
ทำบุญในวัดเสร็จแล้ว ก็ยังตลาดเล็กๆ ให้แวะชอปจับจ่ายซื้อหาของฝากกลับบ้านกันไปแบบอิ่มใจและอิ่มท้องกันด้วย
สามารถส่งข้อมูลข่าวสารด้านการท่องเที่ยว-อาหารมาได้ที่ กอง บก.ข่าวท่องเที่ยว แฟกซ์ 0-2629-4467 อีเมล์ travel_astvmgr@hotmail.com หรือติดตามเพิ่มเติมได้ที่ Facebook :Travel @ Manager