โดย : ปิ่น บุตรี (pinn109@hotmail.com)
Facebook Travel Unlimited / เที่ยวถึงไหนถึงกัน

“See Angkor and Die”
ประโยคอมตะของ “อาร์โนลด์ เจ. ทอยน์บี” (Arnold Joseph Toynbee: 1889-1973) นักประวัติศาสตร์-นักโบราณคดีนามอุโฆษชาวอังกฤษที่กล่าวไว้หลังมาเยือนนครวัด แล้วถึงกับตื่นตะลึงในความยิ่งใหญ่อลังการของมหาปราสาทแห่งนี้
คำกล่าวนี้มีส่วนสำคัญในการดึงดูดให้นักเดินทางจากทั่วทุกมุมโลกเดินทางมาสัมผัสกับความมหัศจรรย์ของนครวัด นครธม และรอยอดีตอันรุ่งโรจน์ของอาณาจักรพระนคร ที่ปัจจุบันอยู่ในจังหวัดเสียมราฐ ประเทศกัมพูชา

พระนคร
อาณาจักรพระนครหรือเมืองพระนคร (Angkor) หรือที่หลายคนนิยมเรียกว่ายุค “นครวัด-นครธม” ก่อตั้งขึ้นในพุทธศตวรรษที่ 14 โดยพระเจ้าชัยวรมันที่ 2 ได้รวบรวมอาณาจักรเจนละบกและเจนละน้ำที่เคยแตกแยกในยุคก่อนเมืองพระนคร เข้าไว้ด้วยกันในปี พ.ศ. 1345
อาณาจักรพระนครถือเป็นเฟื่องฟูของดินแดนเขมรโบราณ มีการจัดการระบบชลประทานด้วยการขุดบาราย (แหล่งเก็บน้ำขุด) โดยมีบารายตะวันออกและบารายตะวันตกเป็นแหล่งกักเก็บน้ำรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าที่มีขนาดใหญ่มาก

ที่สำคัญคือตลอดระยะเวลากว่า 600 ปีอาณาจักรพระนครดำรงความเจริญรุ่งเรืองอยู่นั้น มีการสร้างศาสนสถานในรูปแบบของปราสาทอยู่เป็นจำนวนมาก นำโดยปราสาทนครวัด เมืองนครธม ปราสาทบายน (นครธม) ปราสาทตาพรหม ปราสาทบันทายศรี เป็นต้น
สิ่งก่อสร้างโบราณสถานเหล่านี้ ถือเป็นมรดกแห่งศิลปะวิทยาการสำคัญที่ตกทอดมาสู่อนุชนคนรุ่นหลัง ส่งผลให้เมืองพระนครที่ปัจจุบันอยู่ในเขตจังหวัดเสียมราฐ ประเทศกัมพูชา ได้รับการประกาศจากยูเนสโกให้เป็น“มรดกโลก”แห่งแรกของดินแดนอินโดจีนเมื่อปี พ.ศ. 2535
ปัจจุบันเมืองเสียมราฐ (คนเขมรเรียกเสียมเรียบ) ถือเป็นเมืองท่องเที่ยวอันดับ 1 ของประเทศกัมพูชา ที่นักเดินทางจากทั่วโลก ล้วนต่างมุ่งหน้ามาชมความน่าทึ่งในรอยอดีตอันรุ่งโรจน์ของอาณาจักรเขมรโบราณแห่งนี้

สำหรับผมแม้นี่จะไม่ใช่การมาเยือนเมืองเสียมราฐเป็นครั้งแรก แต่การมาเยือนเสียมราฐในครั้งนี้มีความสนุกแตกต่างจากครั้งก่อน ๆ ตรงที่ เราเลือกเที่ยวด้วยการ “ปั่นจักรยาน” ซึ่งเป็นกิจกรรมที่ทางบริษัท Octo Cycling ได้นำคณะนักปั่นจากเมืองไทย มาปั่น 2 ล้อ ตะลุยท่องเมืองมรดกโลก เที่ยวนครธม ชมนครวัด กันในระยะเวลา 3 วัน 2 คืน
พูดถึงกิจกรรมการปั่นจักรยานเที่ยวเมืองเสียมราฐแล้ว วันนี้กำลังเป็นที่นิยมในหมู่นักท่องเที่ยวต่างชาติ ชาวตะวันตก ญี่ปุ่น จีน เกาหลี (แต่อาจยังไม่เป็นที่นิยมสำหรับท่องเที่ยวชาวไทยสักเท่าไหร่)

เนื่องจากในเมืองเสียมราฐมีเส้นทางท่องเที่ยวที่ไม่ซับซ้อน ไม่ต้องปั่นขึ้นเขาสูงชันลดเลี้ยวเคี้ยวโค้ง สามารถปั่นเที่ยวชมเมือง ชมปราสาทโบราณสถานกันได้อย่างสะดวกสบาย โดยมีจักรยาน 2 แบบให้เลือกเช่าปั่นกัน คือ จักรยานแม่บ้านที่เหมาะสำหรับปั่นชิล และจักรยานเสือภูเขาที่เหมาะสำหรับขาลุย ปั่นในระยะทางไกล ๆ ปั่นลุยถนนลูกรัง ขึ้นเขา ลุยป่าละเมาะ เป็นต้น
ดังนั้นการมาเที่ยวเสียมราฐของผมในทริปนี้ ถือเป็นอีกหนึ่งการเปิดมุมมองใหม่ ๆ ในการสัมผัสกับรอยอดีตแห่งเมืองพระนครที่ให้บรรยากาศและความรู้สึกแตกต่างจากที่ผ่าน ๆ มาไม่น้อยเลย
พระเจ้าเจตน์-พระเจ้าจอม

หลังเดินทางจากเมืองไทยข้ามประเทศมาที่จังหวัดเสียมราฐ “สุธี” ไกด์เขมรอารมณ์ดีมาเจอกับทีมคณะนักปั่นจากชาวไทย โดยสุธีจะเป็นคนนำปั่นควบคู่ไปกับการเป็นไกด์ให้ข้อมูล บรรยาย อธิบายถึงสถานที่ท่องเที่ยวต่าง ๆ และเรื่องราวต่าง ๆ ในเสียมราฐไปตลอดทั้งทริป
เมื่อทำความรู้จักแนะนำตัวกันแล้ว สุธีพาพวกเราไปยัง “Angkor Enterprise” เพื่อซื้อตั๋วสำหรับเข้าเที่ยวชมนครวัด นครธม และโบราณสถานต่าง ๆ ในเมืองพระนคร (ตั๋วของวันพรุ่งนี้)
สำหรับตั๋วเข้านครวัด นครธม และโบราณสถานต่าง ๆ ในเมืองมรดกโลกพระนคร มีอยู่ 3 แบบ 3 ราคา คือ 1 วัน/37 US, 3 วัน/62 US และ 7 วัน 72 Us

อ้อ! ตั๋วนี้ต้องเก็บเอาไว้ให้ดี เพราะเขามีเจ้าหน้าที่คอยตรวจตั๋วอยู่ในหลายจุด (หลายครั้งด้วยกัน) หากใครทำหายก็ต้องเสียเงินซื้อตั๋วใหม่ หรือไม่อย่างนั้นก็ต้องอดเที่ยวชมไปโดยปริยาย
หลังได้ตั๋วกันครบทุกคนแล้ว สุธีพาเราไปสักการะ “พระเจ้าเจตน์-พระเจ้าจอม” (พระองค์เจ๊ะ-พระองค์จอม,เปรี๊ยะอองเจ๊ะ-เปรี๊ยะอองจอม) พระพุทธรูปสองพี่น้องคู่บ้านคู่เมืองเสียมราฐ เพื่อความเป็นสิริมงคล

พระเจ้าเจตน์-พระเจ้าจอม หรือ พระองค์เจ๊ะ-พระองค์จอม (เปรี๊ยะอองเจ๊ะ-เปรี๊ยะอองจรอม ในภาษาเขมร) แปลว่าพระองค์สูง พระองค์เตี้ย ประดิษฐานอยู่ในศาลบริเวณสวนสาธารณะบังกะโลใจกลางเมือง ท่ามกลางต้นไม้ใหญ่อันร่มรื่น
ภายในศาลดูคึกคักไปด้วยทั้งชาวเขมรและนักท่องเที่ยวต่างชาติ (คนไทยก็มาเยอะ) ที่เดินทางมากราบไหว้องค์พระพุทธรูป 2 พี่น้องคู่นี้ โดยมีดนตรีเขมรที่เหมือนกับดนตรีไทย เล่นให้ฟังกันที่บริเวณโถงด้านหน้าศาล

สำหรับพระเจ้าเจตน์-พระเจ้าจอม เดิมประดิษฐานอยู่ที่ระเบียงปราสาทนครวัด สันนิษฐานว่าพระธิดาของพระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 (ผู้สร้างนครวัด) เป็นผู้สร้างขึ้นเพื่อสักการบูชาพระพุทธรูปทั้ง 2 องค์นี้ เนื่องจากท่านนับถือศาสนาพุทธ
ชาวเขมรเชื่อกันว่าพระเจ้าเจตน์-พระเจ้าจอมนั้นมีความศักดิ์สิทธิ์นัก สามารถขอพรท่านได้ทุกเรื่อง อ้อ! แต่มีข้อแม้ว่าในการขอแต่ละครั้งสามารถขอเพียงได้ข้อเดียวเท่านั้น
ริมโตนเลสาบ

ต่อจากนั้นในช่วงเย็น สุธีนำพวกเราปั่นจักรยานจากที่พัก “โรงแรมหลับดี เสียมเรียบ” (Lub d Siem Reap) มุ่งหน้าสู่เขาพนมกรอม เพื่อไปชมปราสาทพนมกรอมยามเย็นและเฝ้ารอชมดวงตะวันลับฟ้าเหนือน่านน้ำโตนเลสาบบนยอดเขาแห่งนี้
หลังปั่นออกจากย่านแหล่งท่องเที่ยวในเขตเมืองออกมาได้ไม่นาน สภาพบรรยากาศของบ้านเมืองดูเปลี่ยนไป จากชุมชนเมืองที่เต็มไปด้วยแสงสีในย่านท่องเที่ยว เปลี่ยนเป็นภาพบรรยากาศบ้านเรือนชาวบ้านกับวิถีแบบชนบท มีหมู่บ้านน่ารัก ๆ บ้านเรือนหลายหลังเป็นเรือนไม้พื้นบ้านสไตล์เขมรที่ดูเรียบง่ายแต่ทรงเสน่ห์ ชาวบ้านดำรงวิธีเกษตร ทำนา ทำไร่ ทำสวน เลี้ยงสัตว์ ส่วนผู้คนก็น่ารักส่งยิ้ม ตะโกนทักทายคณะนักปั่นจากเมืองไทยกันเป็นระยะ ๆ

ขณะที่ถนนหนทางบางช่วงนั้นก็เป็นถนนกรวด ถนนลูกรัง ให้พวกเราได้ออกแรงปั่นลุยกันพอหอมปากหอมคอ
ภาพเหล่านี้แสดงให้เห็นถึงความเป็นไปของเมืองเสียมราฐที่ความเจริญไปกระจุกตัวอยู่ในตัวเมืองและย่านแหล่งท่องเที่ยว ขณะที่เมื่อออกนอกเมืองมาได้ไม่กี่ กม. ก็เป็นภาพวิถีชนบทเขมร ที่คล้ายบรรยากาศย้อนยุคของชนบทเมืองไทยเมื่อประมาณ 30-40 ปีที่แล้ว

ต่อจากนั้นพวกเราปั่นเข้าเขตที่ราบของโตนเลสาบ ซึ่งนอกจากจะได้พบภาพของท้องทุ่งนาขนาดใหญ่แล้ว ยังมีภาพของการทำ“นาบัว” ซึ่งหลายแห่งเปิดเป็นซุ้มร้านอาหารให้ผู้สนใจมาแวะนั่งดื่มกิน ชมวิวสบายตาของนาบัวกันแบบเพลินๆ
จากเขตทำนาบัวเราปั่นต่อไปอีกสักพักก็จะมองเห็นเขาพนมกรอมตั้งตระหง่าน ส่วนบริเวณรอบ ๆ ภูเขาเป็นภาพของบ้านเรือนในที่ราบของโตนเลสาบ ซึ่งยามหน้าแล้งน้ำลด ชาวบ้านที่นี่ก็จะปักดำทำนากันมองเห็นเป็นทุ่งนาเขียวขจีกว้างไกล

ส่วนเมื่อถึงฤดูน้ำหลาก น้ำท่วมบริเวณทุ่งนาหมด ชาวบ้านจะหันมาสัญจรทางเรือ และหันมาทำประมงจับปลา เลี้ยงปลา จับสัตว์น้ำในโตนเลสาบ สลับกันไป-มา เป็นวิถีของชาวบ้านที่นี่มาช้านาน
ในอดีตโตนเลสาบนั้นขึ้นชื่อว่าอุดมสมบูรณ์นัก ทะเลสาบแห่งนี้มีปลาให้จับกันไม่หวาดไม่ไหว จนปลาที่จับเหลือต้องไปทำปลาแห้ง ปลากรอบ ขายเป็นสินค้าของฝากขึ้นชื่อของเมืองเสียมราฐ

แต่มาวันนี้เมื่อความต้องการบริโภคของคนมากขึ้น เสียมราฐมีนักท่องเที่ยวมากขึ้น ทำให้ปลาที่โตนเลสาบถูกจับเพิ่มมากขึ้นแบบเท่าทวีคูณ จนสุธีบอกกับผมว่า ปลาที่โตนเลสาบวันนี้ “โตไม่ทันปาก (คน) ” เสียแล้ว
พนมกรอม
เย็นวันนั้นก่อนขึ้นยอดเขาพนมกรอม สุธีพาพวกเราไปปั่นเที่ยวชมวิถีชีวิตชาวบ้านในโตนเลสาบรอบเขาพนมกรอมหนึ่งรอบ ก่อนจะพาปั่นขึ้นเขาพนมกรอมที่ถือเป็นหนึ่งในจุดหมายหลักเป็นไฮไลท์ในการปั่นเที่ยวของวันแรกนี้ (ระยะทางปั่นวันแรกประมาณ 15 กม.)

“พนมกรอม” แปลว่าภูเขาด้านล่าง เป็นภูเขาลูกเล็ก ๆ ที่ตั้งอยู่ในโตนเลสาบ ห่างตัวเมืองเสียมราฐไปทางตอนใต้ประมาณ 15 กม. มียอดสูง 147 เมตรจากระดับน้ำทะเล
ระหว่างทางมีจุดชมวิวหมู่บ้านจงคะเนียที่ตั้งอยู่ในโตนเลสาบ บนนี้สามารถมองเห็นวิวทิวทัศน์ของบ้านเรือนในที่ราบ (น้ำท่วมถึง) แห่งโตนเลสาบได้อย่างทรงเสน่ห์มีชีวิตชีวา

จากจุดชมวิวเราปั่นขึ้นเขาที่ชันเอาเรื่องไปอีกประมาณ 750 เมตร ซึ่งก็เหนื่อยเอาเรื่องกว่าจะถึงยังยอดเขาพนมกรอม ขุนเขาที่เป็น 1 ใน 3 ภูเขาสำคัญที่พระเจ้ายโศวรมันที่ 1 ทรงสร้างปราสาทไว้ข้างบนยอดเขา นั่นก็คือ “ปราสาทพนมกรอม” (ส่วนอีก 2 ปราสาทบนยอดเขา คือ ปราสาทพนมบาแค็ง และปราสาทพนมบก)

ปราสาทพนมกรอมเป็นปราสาทขนาดย่อม สร้างขึ้นในพุทธศตวรรษที่ 15 ในสมัยพระเจ้ายโศวรมันที่ 1 เป็นงานศิลปะแบบบาแค็ง (พ.ศ. 1436-1468) สร้างขึ้นพร้อมกับการสถาปนาเมืองยโศธรปุระ เพื่อบูชาแด่ตรีมูรติ หรือเทพทั้ง 3 ในศาสนาฮินดู คือ พระศิวะ พระวิษณุ และพระพรหม
ตัวปราสาทเป็นปรางค์ 3 หลัง บนฐานเดียวกัน แม้ว่าปัจจุบันจะหักพังลงไปมา แต่ก็ยังพอมีลวดลายสลักหินรูปหงส์บนทับหลังของปราสาททางทิศใต้ให้ชมกัน ซึ่งหงส์นั้นเป็นพาหนะของพระพรหม

จากตัวปราสาทพนมกรอม เมื่อเดินทะลุไปทางด้านหลังจะเป็นแนวสันยอดเขา บริเวณนี้เป็นจุดชมพระอาทิตย์ตกยามเย็น และจุดวิวทิวทัศน์เหนือโตนเลสาบ โดยสามารถมองเห็นได้ไกลถึงตัวเมืองเสียมราฐ รวมถึงบาราบทางฝั่งตะวันตกอีกด้วย

ในเย็นวันนั้น พระอาทิตย์ดวงโตกลมสุกดังไข่แดงค่อย ๆ ลาลับหายไปในม่านเมฆ เหนือน่านน้ำโตนเลสาบ และท้องทุ่งนาแห่งที่ราบโตนเลสาบ ซึ่งภาพความงามเบื้องล่างนั้นจะผันเปลี่ยนไปตามฤดูกาล
หลังตะวันตกดิน พวกเราเดินทางด้วยรถตู้ กลับที่ที่พักโรงแรมหลับดีฯ เพื่อเข้านอนหลับฝันดี ก่อนจะตื่นขึ้นมาตั้งแต่เช้ามืด เพื่อปั่นไปชมพระอาทิตย์ขึ้นเหนือปรางค์ 5 ยอดของปราสาทนครวัด แล้วต่อด้วยการปั่นเที่ยวในนครธม ชมยิ้มบายน ซึ่งเป็นกิจกรรมไฮไลท์สำหรับผู้มาเที่ยวเสียงราฐที่ไม่ควรพลาดด้วยประการทั้งปวง...(อ่านต่อตอนหน้า)

....................................................................................................
Octo Cycling เป็นบริษัทที่มุ่งเชิญชวนผู้ชื่นชอบการปั่นจักรยานออกไปผจญโลกกว้างด้วยการปั่นจักรยานท่องเที่ยวสัมผัสกับสถานที่ต่างๆ ทั้งใน กทม. ในเมืองไทย อาเซียน ไต้หวัน ญี่ปุ่น เอเชีย และยุโรป เป็นต้น ผู้สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 0-2181-2088 หรือที่ www. Octocycling.com หรือ www.facebook.com/octocycling
....................................................................................................
สามารถส่งข้อมูลข่าวสารด้านการท่องเที่ยว-อาหารมาได้ที่ กอง บก.ข่าวท่องเที่ยว แฟกซ์ 0-2629-4467 อีเมล์ travel_astvmgr@hotmail.com หรือติดตามเพิ่มเติมได้ที่ Facebook :Travel @ Manager
Facebook Travel Unlimited / เที่ยวถึงไหนถึงกัน
“See Angkor and Die”
ประโยคอมตะของ “อาร์โนลด์ เจ. ทอยน์บี” (Arnold Joseph Toynbee: 1889-1973) นักประวัติศาสตร์-นักโบราณคดีนามอุโฆษชาวอังกฤษที่กล่าวไว้หลังมาเยือนนครวัด แล้วถึงกับตื่นตะลึงในความยิ่งใหญ่อลังการของมหาปราสาทแห่งนี้
คำกล่าวนี้มีส่วนสำคัญในการดึงดูดให้นักเดินทางจากทั่วทุกมุมโลกเดินทางมาสัมผัสกับความมหัศจรรย์ของนครวัด นครธม และรอยอดีตอันรุ่งโรจน์ของอาณาจักรพระนคร ที่ปัจจุบันอยู่ในจังหวัดเสียมราฐ ประเทศกัมพูชา
พระนคร
อาณาจักรพระนครหรือเมืองพระนคร (Angkor) หรือที่หลายคนนิยมเรียกว่ายุค “นครวัด-นครธม” ก่อตั้งขึ้นในพุทธศตวรรษที่ 14 โดยพระเจ้าชัยวรมันที่ 2 ได้รวบรวมอาณาจักรเจนละบกและเจนละน้ำที่เคยแตกแยกในยุคก่อนเมืองพระนคร เข้าไว้ด้วยกันในปี พ.ศ. 1345
อาณาจักรพระนครถือเป็นเฟื่องฟูของดินแดนเขมรโบราณ มีการจัดการระบบชลประทานด้วยการขุดบาราย (แหล่งเก็บน้ำขุด) โดยมีบารายตะวันออกและบารายตะวันตกเป็นแหล่งกักเก็บน้ำรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าที่มีขนาดใหญ่มาก
ที่สำคัญคือตลอดระยะเวลากว่า 600 ปีอาณาจักรพระนครดำรงความเจริญรุ่งเรืองอยู่นั้น มีการสร้างศาสนสถานในรูปแบบของปราสาทอยู่เป็นจำนวนมาก นำโดยปราสาทนครวัด เมืองนครธม ปราสาทบายน (นครธม) ปราสาทตาพรหม ปราสาทบันทายศรี เป็นต้น
สิ่งก่อสร้างโบราณสถานเหล่านี้ ถือเป็นมรดกแห่งศิลปะวิทยาการสำคัญที่ตกทอดมาสู่อนุชนคนรุ่นหลัง ส่งผลให้เมืองพระนครที่ปัจจุบันอยู่ในเขตจังหวัดเสียมราฐ ประเทศกัมพูชา ได้รับการประกาศจากยูเนสโกให้เป็น“มรดกโลก”แห่งแรกของดินแดนอินโดจีนเมื่อปี พ.ศ. 2535
ปัจจุบันเมืองเสียมราฐ (คนเขมรเรียกเสียมเรียบ) ถือเป็นเมืองท่องเที่ยวอันดับ 1 ของประเทศกัมพูชา ที่นักเดินทางจากทั่วโลก ล้วนต่างมุ่งหน้ามาชมความน่าทึ่งในรอยอดีตอันรุ่งโรจน์ของอาณาจักรเขมรโบราณแห่งนี้
สำหรับผมแม้นี่จะไม่ใช่การมาเยือนเมืองเสียมราฐเป็นครั้งแรก แต่การมาเยือนเสียมราฐในครั้งนี้มีความสนุกแตกต่างจากครั้งก่อน ๆ ตรงที่ เราเลือกเที่ยวด้วยการ “ปั่นจักรยาน” ซึ่งเป็นกิจกรรมที่ทางบริษัท Octo Cycling ได้นำคณะนักปั่นจากเมืองไทย มาปั่น 2 ล้อ ตะลุยท่องเมืองมรดกโลก เที่ยวนครธม ชมนครวัด กันในระยะเวลา 3 วัน 2 คืน
พูดถึงกิจกรรมการปั่นจักรยานเที่ยวเมืองเสียมราฐแล้ว วันนี้กำลังเป็นที่นิยมในหมู่นักท่องเที่ยวต่างชาติ ชาวตะวันตก ญี่ปุ่น จีน เกาหลี (แต่อาจยังไม่เป็นที่นิยมสำหรับท่องเที่ยวชาวไทยสักเท่าไหร่)
เนื่องจากในเมืองเสียมราฐมีเส้นทางท่องเที่ยวที่ไม่ซับซ้อน ไม่ต้องปั่นขึ้นเขาสูงชันลดเลี้ยวเคี้ยวโค้ง สามารถปั่นเที่ยวชมเมือง ชมปราสาทโบราณสถานกันได้อย่างสะดวกสบาย โดยมีจักรยาน 2 แบบให้เลือกเช่าปั่นกัน คือ จักรยานแม่บ้านที่เหมาะสำหรับปั่นชิล และจักรยานเสือภูเขาที่เหมาะสำหรับขาลุย ปั่นในระยะทางไกล ๆ ปั่นลุยถนนลูกรัง ขึ้นเขา ลุยป่าละเมาะ เป็นต้น
ดังนั้นการมาเที่ยวเสียมราฐของผมในทริปนี้ ถือเป็นอีกหนึ่งการเปิดมุมมองใหม่ ๆ ในการสัมผัสกับรอยอดีตแห่งเมืองพระนครที่ให้บรรยากาศและความรู้สึกแตกต่างจากที่ผ่าน ๆ มาไม่น้อยเลย
พระเจ้าเจตน์-พระเจ้าจอม
หลังเดินทางจากเมืองไทยข้ามประเทศมาที่จังหวัดเสียมราฐ “สุธี” ไกด์เขมรอารมณ์ดีมาเจอกับทีมคณะนักปั่นจากชาวไทย โดยสุธีจะเป็นคนนำปั่นควบคู่ไปกับการเป็นไกด์ให้ข้อมูล บรรยาย อธิบายถึงสถานที่ท่องเที่ยวต่าง ๆ และเรื่องราวต่าง ๆ ในเสียมราฐไปตลอดทั้งทริป
เมื่อทำความรู้จักแนะนำตัวกันแล้ว สุธีพาพวกเราไปยัง “Angkor Enterprise” เพื่อซื้อตั๋วสำหรับเข้าเที่ยวชมนครวัด นครธม และโบราณสถานต่าง ๆ ในเมืองพระนคร (ตั๋วของวันพรุ่งนี้)
สำหรับตั๋วเข้านครวัด นครธม และโบราณสถานต่าง ๆ ในเมืองมรดกโลกพระนคร มีอยู่ 3 แบบ 3 ราคา คือ 1 วัน/37 US, 3 วัน/62 US และ 7 วัน 72 Us
อ้อ! ตั๋วนี้ต้องเก็บเอาไว้ให้ดี เพราะเขามีเจ้าหน้าที่คอยตรวจตั๋วอยู่ในหลายจุด (หลายครั้งด้วยกัน) หากใครทำหายก็ต้องเสียเงินซื้อตั๋วใหม่ หรือไม่อย่างนั้นก็ต้องอดเที่ยวชมไปโดยปริยาย
หลังได้ตั๋วกันครบทุกคนแล้ว สุธีพาเราไปสักการะ “พระเจ้าเจตน์-พระเจ้าจอม” (พระองค์เจ๊ะ-พระองค์จอม,เปรี๊ยะอองเจ๊ะ-เปรี๊ยะอองจอม) พระพุทธรูปสองพี่น้องคู่บ้านคู่เมืองเสียมราฐ เพื่อความเป็นสิริมงคล
พระเจ้าเจตน์-พระเจ้าจอม หรือ พระองค์เจ๊ะ-พระองค์จอม (เปรี๊ยะอองเจ๊ะ-เปรี๊ยะอองจรอม ในภาษาเขมร) แปลว่าพระองค์สูง พระองค์เตี้ย ประดิษฐานอยู่ในศาลบริเวณสวนสาธารณะบังกะโลใจกลางเมือง ท่ามกลางต้นไม้ใหญ่อันร่มรื่น
ภายในศาลดูคึกคักไปด้วยทั้งชาวเขมรและนักท่องเที่ยวต่างชาติ (คนไทยก็มาเยอะ) ที่เดินทางมากราบไหว้องค์พระพุทธรูป 2 พี่น้องคู่นี้ โดยมีดนตรีเขมรที่เหมือนกับดนตรีไทย เล่นให้ฟังกันที่บริเวณโถงด้านหน้าศาล
สำหรับพระเจ้าเจตน์-พระเจ้าจอม เดิมประดิษฐานอยู่ที่ระเบียงปราสาทนครวัด สันนิษฐานว่าพระธิดาของพระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 (ผู้สร้างนครวัด) เป็นผู้สร้างขึ้นเพื่อสักการบูชาพระพุทธรูปทั้ง 2 องค์นี้ เนื่องจากท่านนับถือศาสนาพุทธ
ชาวเขมรเชื่อกันว่าพระเจ้าเจตน์-พระเจ้าจอมนั้นมีความศักดิ์สิทธิ์นัก สามารถขอพรท่านได้ทุกเรื่อง อ้อ! แต่มีข้อแม้ว่าในการขอแต่ละครั้งสามารถขอเพียงได้ข้อเดียวเท่านั้น
ริมโตนเลสาบ
ต่อจากนั้นในช่วงเย็น สุธีนำพวกเราปั่นจักรยานจากที่พัก “โรงแรมหลับดี เสียมเรียบ” (Lub d Siem Reap) มุ่งหน้าสู่เขาพนมกรอม เพื่อไปชมปราสาทพนมกรอมยามเย็นและเฝ้ารอชมดวงตะวันลับฟ้าเหนือน่านน้ำโตนเลสาบบนยอดเขาแห่งนี้
หลังปั่นออกจากย่านแหล่งท่องเที่ยวในเขตเมืองออกมาได้ไม่นาน สภาพบรรยากาศของบ้านเมืองดูเปลี่ยนไป จากชุมชนเมืองที่เต็มไปด้วยแสงสีในย่านท่องเที่ยว เปลี่ยนเป็นภาพบรรยากาศบ้านเรือนชาวบ้านกับวิถีแบบชนบท มีหมู่บ้านน่ารัก ๆ บ้านเรือนหลายหลังเป็นเรือนไม้พื้นบ้านสไตล์เขมรที่ดูเรียบง่ายแต่ทรงเสน่ห์ ชาวบ้านดำรงวิธีเกษตร ทำนา ทำไร่ ทำสวน เลี้ยงสัตว์ ส่วนผู้คนก็น่ารักส่งยิ้ม ตะโกนทักทายคณะนักปั่นจากเมืองไทยกันเป็นระยะ ๆ
ขณะที่ถนนหนทางบางช่วงนั้นก็เป็นถนนกรวด ถนนลูกรัง ให้พวกเราได้ออกแรงปั่นลุยกันพอหอมปากหอมคอ
ภาพเหล่านี้แสดงให้เห็นถึงความเป็นไปของเมืองเสียมราฐที่ความเจริญไปกระจุกตัวอยู่ในตัวเมืองและย่านแหล่งท่องเที่ยว ขณะที่เมื่อออกนอกเมืองมาได้ไม่กี่ กม. ก็เป็นภาพวิถีชนบทเขมร ที่คล้ายบรรยากาศย้อนยุคของชนบทเมืองไทยเมื่อประมาณ 30-40 ปีที่แล้ว
ต่อจากนั้นพวกเราปั่นเข้าเขตที่ราบของโตนเลสาบ ซึ่งนอกจากจะได้พบภาพของท้องทุ่งนาขนาดใหญ่แล้ว ยังมีภาพของการทำ“นาบัว” ซึ่งหลายแห่งเปิดเป็นซุ้มร้านอาหารให้ผู้สนใจมาแวะนั่งดื่มกิน ชมวิวสบายตาของนาบัวกันแบบเพลินๆ
จากเขตทำนาบัวเราปั่นต่อไปอีกสักพักก็จะมองเห็นเขาพนมกรอมตั้งตระหง่าน ส่วนบริเวณรอบ ๆ ภูเขาเป็นภาพของบ้านเรือนในที่ราบของโตนเลสาบ ซึ่งยามหน้าแล้งน้ำลด ชาวบ้านที่นี่ก็จะปักดำทำนากันมองเห็นเป็นทุ่งนาเขียวขจีกว้างไกล
ส่วนเมื่อถึงฤดูน้ำหลาก น้ำท่วมบริเวณทุ่งนาหมด ชาวบ้านจะหันมาสัญจรทางเรือ และหันมาทำประมงจับปลา เลี้ยงปลา จับสัตว์น้ำในโตนเลสาบ สลับกันไป-มา เป็นวิถีของชาวบ้านที่นี่มาช้านาน
ในอดีตโตนเลสาบนั้นขึ้นชื่อว่าอุดมสมบูรณ์นัก ทะเลสาบแห่งนี้มีปลาให้จับกันไม่หวาดไม่ไหว จนปลาที่จับเหลือต้องไปทำปลาแห้ง ปลากรอบ ขายเป็นสินค้าของฝากขึ้นชื่อของเมืองเสียมราฐ
แต่มาวันนี้เมื่อความต้องการบริโภคของคนมากขึ้น เสียมราฐมีนักท่องเที่ยวมากขึ้น ทำให้ปลาที่โตนเลสาบถูกจับเพิ่มมากขึ้นแบบเท่าทวีคูณ จนสุธีบอกกับผมว่า ปลาที่โตนเลสาบวันนี้ “โตไม่ทันปาก (คน) ” เสียแล้ว
พนมกรอม
เย็นวันนั้นก่อนขึ้นยอดเขาพนมกรอม สุธีพาพวกเราไปปั่นเที่ยวชมวิถีชีวิตชาวบ้านในโตนเลสาบรอบเขาพนมกรอมหนึ่งรอบ ก่อนจะพาปั่นขึ้นเขาพนมกรอมที่ถือเป็นหนึ่งในจุดหมายหลักเป็นไฮไลท์ในการปั่นเที่ยวของวันแรกนี้ (ระยะทางปั่นวันแรกประมาณ 15 กม.)
“พนมกรอม” แปลว่าภูเขาด้านล่าง เป็นภูเขาลูกเล็ก ๆ ที่ตั้งอยู่ในโตนเลสาบ ห่างตัวเมืองเสียมราฐไปทางตอนใต้ประมาณ 15 กม. มียอดสูง 147 เมตรจากระดับน้ำทะเล
ระหว่างทางมีจุดชมวิวหมู่บ้านจงคะเนียที่ตั้งอยู่ในโตนเลสาบ บนนี้สามารถมองเห็นวิวทิวทัศน์ของบ้านเรือนในที่ราบ (น้ำท่วมถึง) แห่งโตนเลสาบได้อย่างทรงเสน่ห์มีชีวิตชีวา
จากจุดชมวิวเราปั่นขึ้นเขาที่ชันเอาเรื่องไปอีกประมาณ 750 เมตร ซึ่งก็เหนื่อยเอาเรื่องกว่าจะถึงยังยอดเขาพนมกรอม ขุนเขาที่เป็น 1 ใน 3 ภูเขาสำคัญที่พระเจ้ายโศวรมันที่ 1 ทรงสร้างปราสาทไว้ข้างบนยอดเขา นั่นก็คือ “ปราสาทพนมกรอม” (ส่วนอีก 2 ปราสาทบนยอดเขา คือ ปราสาทพนมบาแค็ง และปราสาทพนมบก)
ปราสาทพนมกรอมเป็นปราสาทขนาดย่อม สร้างขึ้นในพุทธศตวรรษที่ 15 ในสมัยพระเจ้ายโศวรมันที่ 1 เป็นงานศิลปะแบบบาแค็ง (พ.ศ. 1436-1468) สร้างขึ้นพร้อมกับการสถาปนาเมืองยโศธรปุระ เพื่อบูชาแด่ตรีมูรติ หรือเทพทั้ง 3 ในศาสนาฮินดู คือ พระศิวะ พระวิษณุ และพระพรหม
ตัวปราสาทเป็นปรางค์ 3 หลัง บนฐานเดียวกัน แม้ว่าปัจจุบันจะหักพังลงไปมา แต่ก็ยังพอมีลวดลายสลักหินรูปหงส์บนทับหลังของปราสาททางทิศใต้ให้ชมกัน ซึ่งหงส์นั้นเป็นพาหนะของพระพรหม
จากตัวปราสาทพนมกรอม เมื่อเดินทะลุไปทางด้านหลังจะเป็นแนวสันยอดเขา บริเวณนี้เป็นจุดชมพระอาทิตย์ตกยามเย็น และจุดวิวทิวทัศน์เหนือโตนเลสาบ โดยสามารถมองเห็นได้ไกลถึงตัวเมืองเสียมราฐ รวมถึงบาราบทางฝั่งตะวันตกอีกด้วย
ในเย็นวันนั้น พระอาทิตย์ดวงโตกลมสุกดังไข่แดงค่อย ๆ ลาลับหายไปในม่านเมฆ เหนือน่านน้ำโตนเลสาบ และท้องทุ่งนาแห่งที่ราบโตนเลสาบ ซึ่งภาพความงามเบื้องล่างนั้นจะผันเปลี่ยนไปตามฤดูกาล
หลังตะวันตกดิน พวกเราเดินทางด้วยรถตู้ กลับที่ที่พักโรงแรมหลับดีฯ เพื่อเข้านอนหลับฝันดี ก่อนจะตื่นขึ้นมาตั้งแต่เช้ามืด เพื่อปั่นไปชมพระอาทิตย์ขึ้นเหนือปรางค์ 5 ยอดของปราสาทนครวัด แล้วต่อด้วยการปั่นเที่ยวในนครธม ชมยิ้มบายน ซึ่งเป็นกิจกรรมไฮไลท์สำหรับผู้มาเที่ยวเสียงราฐที่ไม่ควรพลาดด้วยประการทั้งปวง...(อ่านต่อตอนหน้า)
....................................................................................................
Octo Cycling เป็นบริษัทที่มุ่งเชิญชวนผู้ชื่นชอบการปั่นจักรยานออกไปผจญโลกกว้างด้วยการปั่นจักรยานท่องเที่ยวสัมผัสกับสถานที่ต่างๆ ทั้งใน กทม. ในเมืองไทย อาเซียน ไต้หวัน ญี่ปุ่น เอเชีย และยุโรป เป็นต้น ผู้สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 0-2181-2088 หรือที่ www. Octocycling.com หรือ www.facebook.com/octocycling
....................................................................................................
สามารถส่งข้อมูลข่าวสารด้านการท่องเที่ยว-อาหารมาได้ที่ กอง บก.ข่าวท่องเที่ยว แฟกซ์ 0-2629-4467 อีเมล์ travel_astvmgr@hotmail.com หรือติดตามเพิ่มเติมได้ที่ Facebook :Travel @ Manager