Facebook :Travel @ Manager

หากพูดถึงศูนย์ประชุมหรือสถานที่จัดงานแสดงสินค้ารายใหญ่ ที่ติดอันดับต้นๆ ของประเทศไทย หนึ่งในนั้นจะต้องมี “ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์” อย่างแน่นอน เพราะศูนย์ประชุมแห่งนี้มีการจัดงานยิ่งใหญ่มากมาย ทั้งระดับประเทศและระดับนานาชาติ ถือว่ามีบทบาทสำคัญในการเป็นผู้นำด้านธุรกิจไมซ์ในประเทศไทยตลอดมา
จากที่มีข่าวออกมาว่า “ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์” จะปิดการให้บริการเพื่อปรับปรุงศูนย์ประชุมอย่างเป็นทางการในเดือนเมษายนนี้ โดยคาดว่าจะใช้เวลาปรับปรุงนานถึง 3 ปี เพื่อเพิ่มพื้นที่การจัดงาน และเพิ่มศักยภาพในการรองรับงานแสดงสินค้าและอีเวนต์ต่าง ๆ วันนี้จึงขอพาไปย้อนวันวานผ่านความทรงจำที่ยาวนานกว่าสองทศวรรษของศูนย์ประชุมแห่งแรกของไทยกัน
จุดเริ่มต้นของศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ เกิดขึ้นจากที่ประเทศไทยได้รับเกียรติให้เป็นเจ้าภาพ ในการจัดประชุมประจำปีของธนาคารโลกและกองทุนการเงินระหว่างประเทศครั้งที่ 46 ณ กรุงเทพมหานคร ทางรัฐบาลไทยจึงมีมติให้ก่อสร้างสถานที่จัดงานประชุมแห่งชาติที่ได้มาตรฐานสากลขึ้นในช่วงปลายปี พ.ศ. 2532 เพื่อเป็นสถานที่ในการรองรับการประชุมครั้งสำคัญดังกล่าว โดยในการสร้างศูนย์ประชุมแห่งนี้ ได้มีการกำหนดรูปทรงทางสถาปัตยกรรมที่แสดงถึงเอกลักษณ์ความเป็นไทย

เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2533 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จพระราชดำเนินวางศิลาฤกษ์ก่อสร้างอาคารบนพื้นที่ 20 เอเคอร์ ซึ่งอยู่ติดกับโรงงานยาสูบ จากนั้นบรรดานักออกแบบและคนงานก่อสร้างรวมกว่า 1,100 คน ต่างทุ่มเททำงานทั้งกลางวัน และกลางคืนเพื่อให้การก่อสร้างแล้วเสร็จในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2534 จากความมุ่งมั่น และพยายามของทุกฝ่าย ทำให้การก่อสร้างตัวอาคารแล้วเสร็จภายในเวลาเพียง 16 เดือน จากเดิมที่กำหนดไว้ 40 เดือน ด้วยงบประมาณน้อยกว่าที่กำหนด ส่วนการตกแต่งภายในอาคารนั้นแล้วเสร็จในต้นเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2534

ต่อมาในวันที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2534 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ ๙ ได้เสด็จพระราชดำเนินเปิดศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ โดยได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ พระราชทานพระราชานุญาตให้ใช้พระนามเป็นชื่อของศูนย์การประชุม เนื่องในวโรกาสที่พระองค์ทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ 5 รอบ ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2535

นับตั้งแต่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์เริ่มให้บริการอย่างเป็นทางการ และได้รองรับผู้เข้าร่วมประชุมประจำปีของธนาคารโลกและกองทุนการเงินระหว่างประเทศครั้งที่ 46 กว่า 10,000 คน จาก 154 ประเทศ ในเดือนตุลาคม 2534 ทำให้ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ได้มีบทบาทสำคัญในการเป็นผู้นำทางด้านธุรกิจการประชุมและจัดแสดงสินค้านับตั้งแต่ขณะนั้นเป็นต้นมา

ปัจจุบันศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของกรมธนารักษ์ กระทรวงการคลัง ซึ่งบริหารงานโดยบริษัท เอ็น.ซี.ซี. แมนเนจเม้นท์ แอนด์ ดิเวลลอปเม้นท์ จำกัด ภายในมีสิ่งอำนวยความสะดวกที่ได้มาตรฐานสากล ด้วยพื้นที่ 65,000 ตารางเมตร สามารถรองรับผู้เข้าร่วมงานได้มากถึง 5,000 คน และคูหาแสดงสินค้าถึง 900 คูหา ครบครันด้วยเทคโนโลยี การบริการด้านต่างๆ ที่ได้มาตรฐาน ตลอดจนประสบการณ์อันยาวนานที่ได้รองรับ การจัดงานประชุมระดับนานาชาติ

การออกแบบทั้งสถาปัตยกรรมและการตกแต่งภายในศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ได้สะท้อนถึงเอกลักษณ์ความเป็นไทย เพื่อให้ลูกค้าและผู้เข้าร่วมงานชาวต่างประเทศได้สัมผัสถึงความงดงามของศิลปะไทย โดยได้รับการออกแบบในสไตล์ “Thai Hi-Tech” ที่สะท้อนศิลปวัฒนธรรมไทยผ่านทางรูปทรงทางสถาปัตยกรรม และการตกแต่งภายใน อาทิ การใช้สีเหลืองและสีขาวนวลกับหลังคาลาดเอียง หรือหน้าจั่ว 3 ชั้นที่ทำจากกระจก บริเวณทางเข้าก็ได้รับแรงบันดาลใจจากวัดทางภาคเหนือของประเทศไทย สำหรับบริเวณด้านหน้าศูนย์การประชุมมีโลกุตระ ประติมากรรมคล้ายกริยา “การไหว้” ของคนไทย อันเป็นสัญลักษณ์ของศูนย์การประชุมที่ได้รับเกียรติออกแบบโดยศิลปินแห่งชาติ ศาสตราจารย์ชลูด นิ่มเสมอ

ภายในศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ยังมีการประดับตกแต่งไปด้วยผลงานศิลปะไทยกว่า 1,500 ชิ้น และมีผลงานที่น่าสนใจหลายชิ้น อาทิ พระบรมสาทิสลักษณ์ของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ ๙ เป็นผลงานของศิลปินแห่งชาติ อาจารย์สนิท ดิษฐพันธุ์ และจำหลักไม้พระราชพิธีอินทราภิเษก

ด้วยทำเลที่ตั้งอยู่ใจกลางกรุงเทพมหานคร ทำให้การเดินทางมายังศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์จึงสะดวกสบาย ด้วยทางรถยนต์หรือระบบขนส่งมวลชน อาทิ รถไฟฟ้าใต้ดิน รถแท็กซี่ รถโดยสารประจำทาง มายังศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ได้อย่างง่ายดาย

ผ่านมากว่า 20 ปีที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ได้รองรับการจัดงานสำคัญมากมายทั้งในประเทศและต่างประเทศ เชื่อว่ามีหลายคนที่ได้มีโอกาสมาเยี่ยมเยือน เพราะที่นี่ได้มีการจัดงานอย่างหลากหลาย ไม่ว่าจะเกี่ยวข้องกับเด็กหรือผู้ใหญ่ มีการจัดงานประกวดนางงามจักรวาล, การจัดประกวดนาวสาวไทย, งานคอมมาร์ท ไทยแลนด์, งานมหกรรมมือถือ Thailand Mobile Expo, จัดคอนเสิร์ต, งานแสดงสินค้าด้านการท่องเที่ยว, งานแสดงสินค้าแม่และเด็ก รวมถึงงานรับปริญญาของสถาบันอุดมศึกษา


และก่อนที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์จะปิดปรับปรุงลงในเร็วๆ นี้ ยังมีพอมีเวลาไปเยี่ยมเยือน เก็บความทรงจำ ความประทับใจกันได้ในงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ครั้งที่ 47 และงานสัปดาห์หนังสือนานาชาติ ครั้งที่ 17 ที่จัดขึ้นระหว่างวันที่ 28 มีนาคม - 7 เมษายน พ.ศ. 2562 ซึ่งถือว่าเป็นการอำลาครั้งสุดท้าย ก่อนจะพบกันใหม่อีกครั้งในอีก 3 ปีข้างหน้า
สามารถส่งข้อมูลข่าวสารด้านการท่องเที่ยว-อาหารมาได้ที่ กอง บก.ข่าวท่องเที่ยว แฟกซ์ 0-2629-4467 อีเมล์ travel_astvmgr@hotmail.com หรือติดตามเพิ่มเติมได้ที่ Facebook :Travel @ Manager
หากพูดถึงศูนย์ประชุมหรือสถานที่จัดงานแสดงสินค้ารายใหญ่ ที่ติดอันดับต้นๆ ของประเทศไทย หนึ่งในนั้นจะต้องมี “ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์” อย่างแน่นอน เพราะศูนย์ประชุมแห่งนี้มีการจัดงานยิ่งใหญ่มากมาย ทั้งระดับประเทศและระดับนานาชาติ ถือว่ามีบทบาทสำคัญในการเป็นผู้นำด้านธุรกิจไมซ์ในประเทศไทยตลอดมา
จากที่มีข่าวออกมาว่า “ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์” จะปิดการให้บริการเพื่อปรับปรุงศูนย์ประชุมอย่างเป็นทางการในเดือนเมษายนนี้ โดยคาดว่าจะใช้เวลาปรับปรุงนานถึง 3 ปี เพื่อเพิ่มพื้นที่การจัดงาน และเพิ่มศักยภาพในการรองรับงานแสดงสินค้าและอีเวนต์ต่าง ๆ วันนี้จึงขอพาไปย้อนวันวานผ่านความทรงจำที่ยาวนานกว่าสองทศวรรษของศูนย์ประชุมแห่งแรกของไทยกัน
จุดเริ่มต้นของศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ เกิดขึ้นจากที่ประเทศไทยได้รับเกียรติให้เป็นเจ้าภาพ ในการจัดประชุมประจำปีของธนาคารโลกและกองทุนการเงินระหว่างประเทศครั้งที่ 46 ณ กรุงเทพมหานคร ทางรัฐบาลไทยจึงมีมติให้ก่อสร้างสถานที่จัดงานประชุมแห่งชาติที่ได้มาตรฐานสากลขึ้นในช่วงปลายปี พ.ศ. 2532 เพื่อเป็นสถานที่ในการรองรับการประชุมครั้งสำคัญดังกล่าว โดยในการสร้างศูนย์ประชุมแห่งนี้ ได้มีการกำหนดรูปทรงทางสถาปัตยกรรมที่แสดงถึงเอกลักษณ์ความเป็นไทย
เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2533 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จพระราชดำเนินวางศิลาฤกษ์ก่อสร้างอาคารบนพื้นที่ 20 เอเคอร์ ซึ่งอยู่ติดกับโรงงานยาสูบ จากนั้นบรรดานักออกแบบและคนงานก่อสร้างรวมกว่า 1,100 คน ต่างทุ่มเททำงานทั้งกลางวัน และกลางคืนเพื่อให้การก่อสร้างแล้วเสร็จในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2534 จากความมุ่งมั่น และพยายามของทุกฝ่าย ทำให้การก่อสร้างตัวอาคารแล้วเสร็จภายในเวลาเพียง 16 เดือน จากเดิมที่กำหนดไว้ 40 เดือน ด้วยงบประมาณน้อยกว่าที่กำหนด ส่วนการตกแต่งภายในอาคารนั้นแล้วเสร็จในต้นเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2534
ต่อมาในวันที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2534 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ ๙ ได้เสด็จพระราชดำเนินเปิดศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ โดยได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ พระราชทานพระราชานุญาตให้ใช้พระนามเป็นชื่อของศูนย์การประชุม เนื่องในวโรกาสที่พระองค์ทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ 5 รอบ ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2535
นับตั้งแต่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์เริ่มให้บริการอย่างเป็นทางการ และได้รองรับผู้เข้าร่วมประชุมประจำปีของธนาคารโลกและกองทุนการเงินระหว่างประเทศครั้งที่ 46 กว่า 10,000 คน จาก 154 ประเทศ ในเดือนตุลาคม 2534 ทำให้ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ได้มีบทบาทสำคัญในการเป็นผู้นำทางด้านธุรกิจการประชุมและจัดแสดงสินค้านับตั้งแต่ขณะนั้นเป็นต้นมา
ปัจจุบันศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของกรมธนารักษ์ กระทรวงการคลัง ซึ่งบริหารงานโดยบริษัท เอ็น.ซี.ซี. แมนเนจเม้นท์ แอนด์ ดิเวลลอปเม้นท์ จำกัด ภายในมีสิ่งอำนวยความสะดวกที่ได้มาตรฐานสากล ด้วยพื้นที่ 65,000 ตารางเมตร สามารถรองรับผู้เข้าร่วมงานได้มากถึง 5,000 คน และคูหาแสดงสินค้าถึง 900 คูหา ครบครันด้วยเทคโนโลยี การบริการด้านต่างๆ ที่ได้มาตรฐาน ตลอดจนประสบการณ์อันยาวนานที่ได้รองรับ การจัดงานประชุมระดับนานาชาติ
การออกแบบทั้งสถาปัตยกรรมและการตกแต่งภายในศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ได้สะท้อนถึงเอกลักษณ์ความเป็นไทย เพื่อให้ลูกค้าและผู้เข้าร่วมงานชาวต่างประเทศได้สัมผัสถึงความงดงามของศิลปะไทย โดยได้รับการออกแบบในสไตล์ “Thai Hi-Tech” ที่สะท้อนศิลปวัฒนธรรมไทยผ่านทางรูปทรงทางสถาปัตยกรรม และการตกแต่งภายใน อาทิ การใช้สีเหลืองและสีขาวนวลกับหลังคาลาดเอียง หรือหน้าจั่ว 3 ชั้นที่ทำจากกระจก บริเวณทางเข้าก็ได้รับแรงบันดาลใจจากวัดทางภาคเหนือของประเทศไทย สำหรับบริเวณด้านหน้าศูนย์การประชุมมีโลกุตระ ประติมากรรมคล้ายกริยา “การไหว้” ของคนไทย อันเป็นสัญลักษณ์ของศูนย์การประชุมที่ได้รับเกียรติออกแบบโดยศิลปินแห่งชาติ ศาสตราจารย์ชลูด นิ่มเสมอ
ภายในศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ยังมีการประดับตกแต่งไปด้วยผลงานศิลปะไทยกว่า 1,500 ชิ้น และมีผลงานที่น่าสนใจหลายชิ้น อาทิ พระบรมสาทิสลักษณ์ของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ ๙ เป็นผลงานของศิลปินแห่งชาติ อาจารย์สนิท ดิษฐพันธุ์ และจำหลักไม้พระราชพิธีอินทราภิเษก
ด้วยทำเลที่ตั้งอยู่ใจกลางกรุงเทพมหานคร ทำให้การเดินทางมายังศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์จึงสะดวกสบาย ด้วยทางรถยนต์หรือระบบขนส่งมวลชน อาทิ รถไฟฟ้าใต้ดิน รถแท็กซี่ รถโดยสารประจำทาง มายังศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ได้อย่างง่ายดาย
ผ่านมากว่า 20 ปีที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ได้รองรับการจัดงานสำคัญมากมายทั้งในประเทศและต่างประเทศ เชื่อว่ามีหลายคนที่ได้มีโอกาสมาเยี่ยมเยือน เพราะที่นี่ได้มีการจัดงานอย่างหลากหลาย ไม่ว่าจะเกี่ยวข้องกับเด็กหรือผู้ใหญ่ มีการจัดงานประกวดนางงามจักรวาล, การจัดประกวดนาวสาวไทย, งานคอมมาร์ท ไทยแลนด์, งานมหกรรมมือถือ Thailand Mobile Expo, จัดคอนเสิร์ต, งานแสดงสินค้าด้านการท่องเที่ยว, งานแสดงสินค้าแม่และเด็ก รวมถึงงานรับปริญญาของสถาบันอุดมศึกษา
และก่อนที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์จะปิดปรับปรุงลงในเร็วๆ นี้ ยังมีพอมีเวลาไปเยี่ยมเยือน เก็บความทรงจำ ความประทับใจกันได้ในงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ครั้งที่ 47 และงานสัปดาห์หนังสือนานาชาติ ครั้งที่ 17 ที่จัดขึ้นระหว่างวันที่ 28 มีนาคม - 7 เมษายน พ.ศ. 2562 ซึ่งถือว่าเป็นการอำลาครั้งสุดท้าย ก่อนจะพบกันใหม่อีกครั้งในอีก 3 ปีข้างหน้า
สามารถส่งข้อมูลข่าวสารด้านการท่องเที่ยว-อาหารมาได้ที่ กอง บก.ข่าวท่องเที่ยว แฟกซ์ 0-2629-4467 อีเมล์ travel_astvmgr@hotmail.com หรือติดตามเพิ่มเติมได้ที่ Facebook :Travel @ Manager