โดย : ปิ่น บุตรี (pinn109@hotmail.com)
Facebook Travel Unlimited / เที่ยวถึงไหนถึงกัน
“อันซีนไทยแลนด์” (Unseen Thailand)
แคมเปญท่องเที่ยวชื่อดังของ “การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.)” ที่มีออกมาตั้งแต่เมื่อปี พ.ศ. 2546 (อันซีน 1) และ 2547 (อันซีน 2) ซึ่งยังคงได้รับการกล่าวขวัญถึงมาจนทุกวันนี้
อันซีนไทยแลนด์ นอกจากจะเป็นโครงการที่ประสบความสำเร็จอย่างสูงแล้ว ยังสามารถแจ้งเกิดแหล่งท่องเที่ยวหน้าใหม่ และแหล่งท่องเที่ยวหน้าเก่าที่ถูกคนมองข้าม ให้เป็นที่รู้จักฮอตฮิตโด่งดังปังขึ้นมาได้หลายต่อหลายแห่งด้วยกัน
หนึ่งในนั้นก็คือ“หุบป่าตาด”แห่งจังหวัดอุทัยธานี ที่เป็นการเปิดโลกของ“ป่าดึกดำบรรพ์” ที่ซ่อนเร้นให้โลกภายนอกได้รู้จัก จนกลายเป็นหนึ่งในสถานที่ท่องเที่ยวไม่ควรพลาดของเมืองอุทัยฯมาจนทุกวันนี้
รู้จักหุบป่าตาด
หุบป่าตาด ตั้งอยู่ในเขตห้ามล่าสัตว์ป่าถ้ำประทุน อ.ลานสัก จ.อุทัยธานี บริเวณนี้เป็นเทือกเขาหินปูนลูกโดด ๆ ที่ตั้งโดดเด่นอยู่ท่ามกลางพื้นที่ราบและพื้นที่เกษตรกรรมเรือกสวนไร่นาของชาวบ้าน
เทือกเขาหินปูนลูกนี้ประกอบไปด้วยภูเขาหินปูนย่อย 5 ลูก ได้แก่ เขาปลาร้า เขาฆ้องชัย เขาน้อย เขาน้ำโจน และเขาห้วยโศกอันเป็นที่ตั้งของหุบป่าตาด
เขาหินปูนที่นี่เป็นหินปูนในยุคเพอร์เมียน* มีอายุเก่าแก่ประมาณ 245-286 ล้านปี ภูเขาหินปูนลูกนี้ เมื่อถูกสายฝนตกลงมาชั่วนาตาปี น้ำฝนที่มีฤทธิ์เป็นกรดอ่อน ๆ ซึ่งสามารถละลายหินปูนได้ก็ค่อย ๆ ไหลกัดเซาะทะลุทะลวงไปตามรอยแตกภายในของเขาหินปูนลูกนี้ (เขาห้วยโศก) จนเกิดเป็นโพรงถ้ำขนาดใหญ่อยู่ภายในขุนเขา (ใช้เวลานับแสนนับหมื่นปี)
ถ้ำแห่งนี้เป็นถ้ำปิดในภูเขาที่มนุษย์ไม่สามารถเข้าไปได้ ขณะที่ด้านบนเทือกเขาที่เป็นหลังคาถ้ำนั้นก็เป็นผืนป่า (โบราณ) ตามพืชพันธุ์ธรรมชาติในยุคดึกดำบรรพ์
กระทั่งเกิดการเปลี่ยนแปลงของเปลือกโลกอย่างเฉียบพลัน ทำให้เพดานถ้ำหรือหลังคาถ้ำพังถล่มลงมา เกิดเป็นหลุมยุบ หุบ ปล่อง หรือบ่อขนาดใหญ่ในภูเขา (ห้วยโศก) ซึ่งมีความสูงของขอบบ่อประมาณ 150-200 เมตร
ส่วนหลังคาถ้ำที่เป็นผืนป่าเมื่อพังหล่นลงมาก็นำพืชพันธ์ไม้โบราณเหล่านั้นหล่นตามลงมาด้วย และด้วยความชุ่มชื้นอุดมสมบูรณ์ทำให้ป่าโบราณเหล่านี้ยังคงเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่องในระบบนิเวศของหุบเขาที่ปิดล้อม แต่มีแสงแดดสาดส่องถึง
ครั้นเมื่อวันเวลาผันผ่านไป ผืนป่ารอบข้างของเทือกเขาลูกนี้ได้เปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย อีกทั้งยังถูกมนุษย์ทำลายจนไม่เหลือซาก แต่ผืนป่าโบราณภายในหุบเขาห้วยโศกกลับนั้นเกิดการเปลี่ยนแปลงน้อยมาก จะมีความเปลี่ยนแปลงบ้างก็จากพวกสัตว์ที่นำเมล็ดของพืชพันธุ์ต่าง ๆ ในยุคหลังเข้ามาผสม
อย่างไรก็ดีได้มีอีกข้อมูลสันนิษฐานว่า ป่าโบราณที่นี่น่าจะเกิดขึ้นหลังจากหลังคาถ้ำพังทลายลงมา โดยมีพวกสัตว์ต่าง ๆ เป็นตัวนำผลของตาด (และพืชพันธุ์อื่น ๆ ) มากินแล้วทิ้งลงหรือทำร่วงหล่นในปล่องหุบเขา แล้วผลตาดก็ขยายพันธุ์เติบโตขึ้นมาจนถึงปัจจุบัน
อันซีน หุบป่าตาด
หุบป่าตาดดำรงความเป็นผืนป่าโบราณมายาวนาน ท่ามกลางวิถีแห่งโลกที่เปลี่ยนผ่านพัฒนามาจนถึงยุคปัจจุบัน แต่กระนั้นก็ยังไม่มีใครรู้ว่า เบื้องหลังของภูเขาหินปูนที่สูงชันลูกนี้จะมีผืนป่าดึกดำบรรพ์อันน่าทึ่งซ่อนตัวอยู่
กระทั่งเมื่อปี พ.ศ. 2522 พระครูสันติธรรมโกศล (หลวงพ่อทองหยด) เจ้าอาวาสวัดถ้ำทอง ท่านมาธุดงค์นั่งวิปัสสนากรรมฐานที่บริเวณเขาห้วยโศก แล้วมีเหตุบังเอิญต้องปีนลงไปในหุบเขานี้ (สมัยนั้นยังไม่ได้ระเบิดภูเขาทำเป็นถ้ำทางเข้า) ท่านพระครูถึงกับตะลึงในความสวยงามน่าทึ่งของผืนป่าโบราณที่เต็มไปด้วยต้นตาดเหล่านี้
เมื่อรู้ว่ามีของดีซ่อนกายอยู่ภายในหุบเขาห้วยโศก ก็ได้มีการประกาศเป็นพื้นที่อนุรักษ์ในปี พ.ศ. 2527 เพื่อพัฒนาหุบป่าตาดเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ พร้อมทั้งมีการระเบิดเจาะภูเขาเป็นประตูอุโมงค์ถ้ำเพื่อให้นักท่องเที่ยวเข้าถึงหุบป่าตาดได้สะดวกสบายขึ้น
หลังจากนั้นหุบป่าตาดก็เริ่มเป็นที่รู้จักมากขึ้นเรื่อย ๆ จนกระทั่ง ททท. คัดสรรให้เป็นหนึ่งใน “อันซีนไทยแลนด์” (อันซีน 2) ที่เป็นดังตัวผลักดันสำคัญ ทำให้หุบป่าตาดมีชื่อเสียงโด่งดังเพียงชั่วข้ามคืน อันเนื่องมาจากความสวยงามแปลกตาของผืนป่าที่มีลักษณะเฉพาะตัว จนได้รับฉายาว่าเป็น “ป่าโบราณ” หรือ “ป่าดึกดำบรรพ์” อันเลื่องชื่อ
ท่องป่าตาด ป่าดึกดำบรรพ์
สำหรับเส้นทางผจญภัยในหุบป่าตาดนั้น ปัจจุบันทางเขตห้ามล่าสัตว์ป่าถ้ำประทุนได้มีการพัฒนาพื้นที่ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ที่ดูดีทีเดียว มีการจัดทำลานจอดรถอย่างดี มีส่วนจัดแสดงนิทรรศการกลางแจ้งให้ข้อมูลเกี่ยวกับหุบป่าตาด และสถานที่ท่องเที่ยวในละแวกใกล้เคียง มีการปรับปรุงเส้นทางเดินชมศึกษาธรรมชาติให้ดูกลมกลืนกับธรรมชาติและดูน่าสนใจมากยิ่งขึ้น (กว่าในอดีต)
นอกจากนี้ก็ยังมีเจ้าหน้าที่พิเศษและมัคคุเทศก์น้อยจากโรงเรียนแถบนั้นมาคอยนำชม สำหรับผู้สนใจ (ในช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์)
จากบริเวณลานจอดรถและศูนย์บริการนักท่องเที่ยว จะมีเส้นทางศึกษาธรรมชาติ เป็นบันไดเดินขึ้นเขาชันเล็กน้อยก่อนนำเข้าสู่อุโมงค์หุบป่าตาด ซึ่งทางเขตห้ามล่าฯ ตั้งชื่อให้อย่างกิ๊บเก๋ว่าเป็น “อุโมงค์แห่งกาลเวลา” เนื่องจากมันเป็นเส้นทางที่จะนำเราผ่านเข้าสู่ผืนป่าดึกดำบรรพ์ อันซีนไทยแลนด์อันน่าทึ่งแห่งนี้
อุโมงค์แห่งกาลเวลา เป็นเส้นทางระเบิดเจาะภูเขาเชื่อมหุบป่าตาดกับโลกภายนอก มีระยะทางสั้น ๆ ประมาณ 40 เมตร เป็นทางเดินมืด ๆ เห็นแสงสว่างรำไรอยู่เบื้องหน้า ข้างบนมีค้างคาวเกาะอยู่เป็นจำนวนมาก กลิ่นขี้ค้างคาวเหม็นฉุนกึก
เมื่อเดินพ้นอุโมงค์ปากหุบไป จะพบกับหุบเขาหินปูนขนาดใหญ่ เนื้อที่ประมาณ 2 ไร่ ภายในมี 2 ห้องโถงโล่งใหญ่ ๆ ให้เดินศึกษาระบบนิเวศของหุบป่าตาด พืชพันธุ์ สัตว์ป่า และเรื่องราวทางธรณีกันอย่างจุใจ
แน่นอนว่าพระเอกของผืนป่าโบราณแห่งนี้จะเป็นใครไปไม่ได้นอกจาก “ต้นตาด” ที่มีขึ้นปกคลุมร่มรื่นเขียวครึ้มอยู่ไปทั่วบริเวณจนเป็นที่มาของชื่อ “หุบป่าตาด” ที่ดูแล้วให้อารมณ์บรรยากาศของผืนป่าโบราณอันน่าทึ่ง ซึ่งสามารถใช้เป็นฉากถ่ายหนังเรื่องแนวไดโนเสาร์ได้อย่างสบาย ๆ
“ต้นตาด” (Areaga penata) หรือที่ชาวบ้านในบางพื้นจะเรียกขานกันว่า “ต้นตาว” หรือ “ต้นต๋าว” เป็นพืชตระกูลปาล์ม มีใบเป็นแฉกแผ่กว้างสยาย ลักษณะคล้ายต้นสละหรือระกำ ใบตาดสามารถนำไปทำไม้กวาดได้
ต้นตาดมีลูก (ผล) ออกมาเป็นทะลายกลม ๆ เล็ก ๆ คล้ายลูกจากหรือลูกชิด ลูกตาดกินได้ ชาวบ้านนิยมนำเนื้อในมาทำเป็นขนมหวานแบบเดียวกับลูกจากหรือลูกชิด ยอดอ่อนผลอ่อนของตาดนำไปต้มจิ้มน้ำพริก ซึ่งชาวบ้านในพื้นที่บอกว่าอร่อยเด็ดนักแล
นอกจากตาดแล้วในป่าแห่งนี้ยังมีพันธุ์ไม้เด่นๆ อาทิ เต่าร้าง เปล้า คัดค้าวเล็ก กะพง ยมหิน และปอหูช้างต้นหนึ่ง ซึ่งขึ้นเติบโตอยู่บนก้อนหินตั้งต้นตรงเด่นดูแปลกตาน่ายลไม่น้อย
โลกของถ้ำ
ในพื้นที่หุบป่าตาดยังมีเรื่องราวของถ้ำให้ศึกษาและชื่นชมความงามกันเป็นอีกหนึ่งไฮไลท์ของที่นี่ อย่างที่เล่ามาข้างต้นว่าหุบป่าตาดเคยเป็นถ้ำมาก่อน เมื่อเดินเข้ามาในหุบป่าตาดจึงมีโลกทางธรณีวิทยาของถ้ำปรากฏให้ชมอยู่ทั่วไป นำโดยไฮไลท์คือโถงถ้ำที่อยู่ตรงกลางซึ่งเป็นดังประตูเชื่อมระหว่างผืนป่าตาดในหุบด้านหน้าและหุบด้านใน
โถงถ้ำกลางหุบเขาช่วงนี้ ถือเป็นอีกหนึ่งไฮไลท์ของหุบป่าตาดที่หินงอกหินย้อยอันสวยงามปรากฏอยู่ทั่วไป แม้หินส่วนใหญ่จะเป็นหินตาย แต่ก็ยังคงมีหินเป็นบางส่วนที่กำลังเกิดเติบโตขึ้นมา เป็นหินปูนสีขาวกำลังหยดย้อยลงมาดูน่ายลไม่น้อย
โถงถ้ำกลางหุบป่าตาด นอกจากจะมีหินงอกหินย้อยรูปร่างแปลกตาทั้งจากเพดานถ้ำ ผนังถ้ำ และตามพื้นถ้ำให้ชมกันแล้ว บริเวณนี้ยังถือเป็นมุมถ่ายรูปชั้นดีของหุบป่าตาด ที่หากมองย้อนกลับออกไปยังบริเวณผืนป่าตาดก็จะเห็นฉากของโถงถ้ำเป็นกรอบภาพผืนใหญ่ และบรรดาต้นตาดและพันธุ์ไม้หลากหลายชนิดเป็นจุดสนใจของภาพ นับเป็นหนึ่งในภาพจำของหุบป่าตาดที่ปรากฏผ่านสื่ออยู่ทั่วไป
ส่วนอีกสิ่งน่าทึ่งในบริเวณโถงถ้ำส่วนกลางหุบก็คือ บนเพดานบางจุดปรากฏว่ามี “หินย้อยตามแสง” ขนาดใหญ่เป็นอันซีนให้ชมกัน
หินย้อยตามแสง มีความต่างจากหินย้อยทั่วไปตรงที่ ปกติหินย้อยจะเป็นปรากฏการณ์น้ำฝนที่ซึมละลายหินปูนไหลย้อยลงมาเป็นแท่งตรงในแนวดิ่งตามการไหลของหยดน้ำ
แต่หินย้อยตามแสงนั้นมันมีความเอนเอียงแหงนขึ้นไปหาแสงแดด ซึ่งส่วนใหญ่จะอยู่บริเวณปากถ้ำ เนื่องจากว่าเดิมนั้นมันก็เป็นหินย้อยปกติทั่ว ๆไปนี่แหละ แต่พอหยดน้ำหินย้อยจากหินปูนเริ่มก่อตัว มันเกิดมีพวกตะไคร่น้ำหรือพืชชั้นต่ำมาเกาะตรงส่วนปลาย เจ้าพืชพวกนี้ก็ต้องดิ้นรนหาแสงเพื่อดำรงชีวิตอยู่ มันเลยค่อย ๆ ดึงน้ำหยดหินย้อยปกติให้เอนเอียงขึ้นไปรับแสงเกิดเป็น “หินย้อยตามแสง” ขึ้นมา
นอกจากนี้ที่บริเวณโถงถ้ำกลางหุบป่าตาดยังมี “หินงอกเอน” เป็นอีกหนึ่งของแปลกให้ชมกัน (ย้ำว่าชมเฉย ๆ ไม่ควรไปแตะต้องมัน)
หินงอกเอน เดิมมันก็เกิดเหมือนหินงอกทั่วไป ที่หยดน้ำผ่านหินปูนจากหินย้อยค่อย ๆ หยดลงมาก่อตัวเป็นหินงอก ซึ่งตามปกติมันจะงอกตั้งตรงขึ้นมาตามการหยดของน้ำผ่านหินปูน แต่เนื่องจากว่าที่รอยแตกบนเพดานถ้ำที่น้ำหินปูนหยดลงมาเกิดการอุดตัน แต่มันยังมีรอยแตกที่อยู่ในแนวต่อเนื่องกันซึ่งยังคงมีน้ำหินปูนหยดลงมา นั่นจึงทำให้หยดน้ำหินงอกมันจึงค่อย ๆ ไหลเอนเลื่อนไปตามลักษณะของหยดน้ำหินย้อยที่เปลี่ยนแนวหยดไปเรื่อย ๆ เกิดเป็นเสา “หินงอกเอน” ขนาดสูงกว่าตัวคนขึ้นมาในหุบป่าตาดแห่งนี้ที่ดูน่าทึ่งไม่น้อย
กิ้งกือมังกรสีชมพู หนึ่งเดียวในโลก
ในผืนป่าดึกดำบรรพ์ของหุบป่าตาดยังมีอีกหนึ่งความน่าทึ่งหนึ่งเดียวในโลกให้สอดส่ายสายตาค้นหากัน แต่ต้องเป็นเฉพาะในช่วงหน้าฝนเท่านั้นกับ “กิ้งกือมังกรสีชมพู” เจ้าสัตว์ประหลาดหนึ่งเดียวในโลกที่พบแห่งแรกที่หุบป่าตาดแห่งนี้
“กิ้งกือมังกรสีชมพู” (Shocking pink millipede) ถูกค้นพบโดยสมาชิกในชมรมคนรักกิ้งกือ เมื่อเดือนพฤษภาคม 2550 พบครั้งแรกที่หุบป่าตาด เขตห้ามล่าสัตว์ป่าถ้ำประทุน จังหวัดอุทัยธานี
เดิมกิ้งกือมังกรสีชมพูพบในประเทศไทยเพียงแห่งเดียวในโลกที่หุบป่าตาดแห่งนี้ แต่ล่าสุดมีรายงานว่าพบเจ้ากิ้งกือมังกรสีชมพูที่ผืนป่าในจังหวัดกำแพงเพชรด้วย
หลังการค้นพบ ดร.สมศักดิ์ ปัญหา ได้นำมาศึกษาภายใต้โครงการวิจัยกิ้งกือและไส้เดือนดิน และร่วมกับ ศ.เฮนริค อิงฮอฟ ผู้เชี่ยวชาญด้านกิ้งกือชนิดใหม่ของโลก และให้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Desmoxytes purpurosea และได้ตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารนานาชาติ ซูแทกซา (Zootaxa) ตั้งแต่ปี 2550
กระทั่งเมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2551 สถาบันไอไอเอสอี (International Institute for Species Exploration : IISE) มหาวิทยาลัยรัฐแอริโซนา สหรัฐอเมริกา ประกาศให้กิ้งกือมังกรสีชมพู เป็นสุดยอดการค้นพบสิ่งมีชีวิตชนิดใหม่เป็นอันดับ 3 ของโลก รองจากการค้นพบปลากระเบนไฟฟ้าในแอฟริกา และการค้นพบฟอสซิลไดโนเสาร์ปากเป็ดอายุ 75 ล้านปี ในสหรัฐอเมริกา
นับเป็นอีกหนึ่งการค้นพบในแวดวงธรรมชาติวิทยาของบ้านเราที่สำคัญยิ่งของบ้านเรา
ส่วนเหตุที่เจ้าสัตว์ชนิดนี้ได้ชื่อว่า “กิ้งกือมังกรสีชมพู” นั้นก็เพราะว่ามันอยู่ในวงกิ้งกือมังกร หรือ พาราดอก โซโซมาติดี โดยตัวของมันมีสีชมพูสดใสแบบช็อกกิ้งพิงค์ และมีลักษณะโดดเด่นด้วยลวดลายและปุ่มหนามคล้ายมังกร
กิ้งกือมังกรสีชมพู พบได้ในป่าที่มีความชุ่มชื้นสูงและอุดมสมบูรณ์ เมื่อโตเต็มวัยจะมีลำตัวยาวประมาณ 7 เช็นติเมตร มีจำนวนปล้องราว 20-40 ปล้อง และสามารถปล่อยสารประเภทไซยาไนต์ออกมาจากต่อมขับสารพิษข้างลำตัวเพื่อป้องกันตัวเองจากศัตรูธรรมชาติจำพวกสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็ก เช่น หนู เป็นต้น
ใครที่อยากจะเห็นตัวจริงของกิ้งกือมังกรสีชมพู สามารถมาชมได้ที่หุบป่าตาดแห่งนี้ ระหว่างทางเดินลองสังเกตดูข้างทาง ตามพื้น หรือใต้ต้นไม้ อาจจะมองเห็นกิ้งกือสีชมพูตัวเล็กๆ อยู่ด้วย หรือตามแอ่งน้ำข้างทางเดิน อาจจะเห็นก้อนสีชมพูเล็กๆ ลอยตัวอยู่บนผิวน้ำ นั่นก็คือตัวอ่อนของกิ้งกือมังกรสีชมพู โดยกิ้งกือมังกรสีชมพูนั้นจะสามารถเห็นได้ในช่วงหน้าฝนราวเดือน กรกฎาคมถึงพฤศจิกายน ของทุกปี
นอกจากกิ้งกือมังกรสีชมพูแล้ว หุบป่าตาดยังมีสัตว์ประจำถิ่นเด่น ๆ อย่าง ลิง ไก่ฟ้าพญาลอ พิราบป่า นกต่าง ๆ และ “เลียงผา” ที่หากใครโชคดี (มาก) อาจจะได้พบมันมาปรากฏกายให้ชม ส่วนผมนั้นเท่าที่เคยมาเยือนหุบป่าตาดไม่เคยเจอเลียงผาตัวเป็น ๆ เคยเจอก็แต่ขี้เลียงผาเป็นกองเม็ดเล็ก ๆ อยู่ตามพื้นให้ดูต่างหน้า
และนี่ก็คือเรื่องราวความน่าทึ่งของธรรมชาติแห่งหุบป่าตาด ซึ่งสำหรับผมแล้ว แม้นี่ไม่ใช่การมาเยือนหุบป่าตาดครั้งแรก แต่การมาเยือนหุบป่าตาดในทุกครั้ง ผมยังคงพบว่าผืนป่าแห่งนี้ยังคงเปี่ยมไปด้วยเสน่ห์มนต์ขลัง ให้เราได้ตื่นตาตื่นใจกันอยู่เหมือนเดิม
เพราะธรรมชาติของหุบป่าตาดนั้นเปรียบดังโลกยุคดึกดำบรรพ์ ที่ซ่อนเร้นอยู่ในโลกร่วมสมัยของยุคปัจจุบันได้อย่างผสมกลมกลืน ในระบบนิเวศที่มีลักษณะเฉพาะตัว
เป็นโลก 2 ใบในอุทัยธานีที่น่าเที่ยวและน่าทึ่งไม่น้อย
....................................................................................................
หุบป่าตาด อ.ลานสัก จ.อุทัยธานี อยู่ภายใต้การดูแลของเขตห้ามล่าสัตว์ป่าถ้ำประทุน อยู่ก่อนถึงเขาปลาร้าประมาณ 1 กม. ถูกค้นพบในปี พ.ศ. 2522 สามารถไปตามทางสายหนองฉาง-ลานสักประมาณ 21 กม. ก็จะถึงปากทาเข้าเขตห้ามล่าสัตว์ป่าเขาปลาร้า จากนั้นแยกไปตามถนนคอนกรีตอีกประมาณ 6 กม. การเที่ยวป่าตาดหากอยากให้ได้อรรถรสมากขึ้น ควรเตรียมไฟฉายติดตัวไปด้วย
นอกจากหุบป่าตาดแล้ว ที่ อ.ลานสัก ก็ยังมีสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจอีกอย่างเช่น เขาปลาร้า ซึ่งที่นี่มีภาพเขียนสีก่อนประวัติศาสตร์ ที่มีอายุกว่า 3,000 ปี ถ้ำเขาฆ้องชัย เป็นถ้ำเขาหินปูนที่มีความงดงามถ้ำหนึ่ง เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง มรดกโลกทางธรรมชาติของไทย ส่วนใครที่สนใจสถานที่ท่องเที่ยวใน อ.ลานสัก หรือ ใน จ.อุทัยธานี สามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ ททท.อุทัยธานี โทร. 0 5651 4651-2
....................................................................................................
สามารถส่งข้อมูลข่าวสารด้านการท่องเที่ยว-อาหารมาได้ที่ กอง บก.ข่าวท่องเที่ยว แฟกซ์ 0-2629-4467 อีเมล์ travel_astvmgr@hotmail.com หรือติดตามเพิ่มเติมได้ที่ Facebook :Travel @ Manager
Facebook Travel Unlimited / เที่ยวถึงไหนถึงกัน
“อันซีนไทยแลนด์” (Unseen Thailand)
แคมเปญท่องเที่ยวชื่อดังของ “การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.)” ที่มีออกมาตั้งแต่เมื่อปี พ.ศ. 2546 (อันซีน 1) และ 2547 (อันซีน 2) ซึ่งยังคงได้รับการกล่าวขวัญถึงมาจนทุกวันนี้
อันซีนไทยแลนด์ นอกจากจะเป็นโครงการที่ประสบความสำเร็จอย่างสูงแล้ว ยังสามารถแจ้งเกิดแหล่งท่องเที่ยวหน้าใหม่ และแหล่งท่องเที่ยวหน้าเก่าที่ถูกคนมองข้าม ให้เป็นที่รู้จักฮอตฮิตโด่งดังปังขึ้นมาได้หลายต่อหลายแห่งด้วยกัน
หนึ่งในนั้นก็คือ“หุบป่าตาด”แห่งจังหวัดอุทัยธานี ที่เป็นการเปิดโลกของ“ป่าดึกดำบรรพ์” ที่ซ่อนเร้นให้โลกภายนอกได้รู้จัก จนกลายเป็นหนึ่งในสถานที่ท่องเที่ยวไม่ควรพลาดของเมืองอุทัยฯมาจนทุกวันนี้
รู้จักหุบป่าตาด
หุบป่าตาด ตั้งอยู่ในเขตห้ามล่าสัตว์ป่าถ้ำประทุน อ.ลานสัก จ.อุทัยธานี บริเวณนี้เป็นเทือกเขาหินปูนลูกโดด ๆ ที่ตั้งโดดเด่นอยู่ท่ามกลางพื้นที่ราบและพื้นที่เกษตรกรรมเรือกสวนไร่นาของชาวบ้าน
เทือกเขาหินปูนลูกนี้ประกอบไปด้วยภูเขาหินปูนย่อย 5 ลูก ได้แก่ เขาปลาร้า เขาฆ้องชัย เขาน้อย เขาน้ำโจน และเขาห้วยโศกอันเป็นที่ตั้งของหุบป่าตาด
เขาหินปูนที่นี่เป็นหินปูนในยุคเพอร์เมียน* มีอายุเก่าแก่ประมาณ 245-286 ล้านปี ภูเขาหินปูนลูกนี้ เมื่อถูกสายฝนตกลงมาชั่วนาตาปี น้ำฝนที่มีฤทธิ์เป็นกรดอ่อน ๆ ซึ่งสามารถละลายหินปูนได้ก็ค่อย ๆ ไหลกัดเซาะทะลุทะลวงไปตามรอยแตกภายในของเขาหินปูนลูกนี้ (เขาห้วยโศก) จนเกิดเป็นโพรงถ้ำขนาดใหญ่อยู่ภายในขุนเขา (ใช้เวลานับแสนนับหมื่นปี)
ถ้ำแห่งนี้เป็นถ้ำปิดในภูเขาที่มนุษย์ไม่สามารถเข้าไปได้ ขณะที่ด้านบนเทือกเขาที่เป็นหลังคาถ้ำนั้นก็เป็นผืนป่า (โบราณ) ตามพืชพันธุ์ธรรมชาติในยุคดึกดำบรรพ์
กระทั่งเกิดการเปลี่ยนแปลงของเปลือกโลกอย่างเฉียบพลัน ทำให้เพดานถ้ำหรือหลังคาถ้ำพังถล่มลงมา เกิดเป็นหลุมยุบ หุบ ปล่อง หรือบ่อขนาดใหญ่ในภูเขา (ห้วยโศก) ซึ่งมีความสูงของขอบบ่อประมาณ 150-200 เมตร
ส่วนหลังคาถ้ำที่เป็นผืนป่าเมื่อพังหล่นลงมาก็นำพืชพันธ์ไม้โบราณเหล่านั้นหล่นตามลงมาด้วย และด้วยความชุ่มชื้นอุดมสมบูรณ์ทำให้ป่าโบราณเหล่านี้ยังคงเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่องในระบบนิเวศของหุบเขาที่ปิดล้อม แต่มีแสงแดดสาดส่องถึง
ครั้นเมื่อวันเวลาผันผ่านไป ผืนป่ารอบข้างของเทือกเขาลูกนี้ได้เปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย อีกทั้งยังถูกมนุษย์ทำลายจนไม่เหลือซาก แต่ผืนป่าโบราณภายในหุบเขาห้วยโศกกลับนั้นเกิดการเปลี่ยนแปลงน้อยมาก จะมีความเปลี่ยนแปลงบ้างก็จากพวกสัตว์ที่นำเมล็ดของพืชพันธุ์ต่าง ๆ ในยุคหลังเข้ามาผสม
อย่างไรก็ดีได้มีอีกข้อมูลสันนิษฐานว่า ป่าโบราณที่นี่น่าจะเกิดขึ้นหลังจากหลังคาถ้ำพังทลายลงมา โดยมีพวกสัตว์ต่าง ๆ เป็นตัวนำผลของตาด (และพืชพันธุ์อื่น ๆ ) มากินแล้วทิ้งลงหรือทำร่วงหล่นในปล่องหุบเขา แล้วผลตาดก็ขยายพันธุ์เติบโตขึ้นมาจนถึงปัจจุบัน
อันซีน หุบป่าตาด
หุบป่าตาดดำรงความเป็นผืนป่าโบราณมายาวนาน ท่ามกลางวิถีแห่งโลกที่เปลี่ยนผ่านพัฒนามาจนถึงยุคปัจจุบัน แต่กระนั้นก็ยังไม่มีใครรู้ว่า เบื้องหลังของภูเขาหินปูนที่สูงชันลูกนี้จะมีผืนป่าดึกดำบรรพ์อันน่าทึ่งซ่อนตัวอยู่
กระทั่งเมื่อปี พ.ศ. 2522 พระครูสันติธรรมโกศล (หลวงพ่อทองหยด) เจ้าอาวาสวัดถ้ำทอง ท่านมาธุดงค์นั่งวิปัสสนากรรมฐานที่บริเวณเขาห้วยโศก แล้วมีเหตุบังเอิญต้องปีนลงไปในหุบเขานี้ (สมัยนั้นยังไม่ได้ระเบิดภูเขาทำเป็นถ้ำทางเข้า) ท่านพระครูถึงกับตะลึงในความสวยงามน่าทึ่งของผืนป่าโบราณที่เต็มไปด้วยต้นตาดเหล่านี้
เมื่อรู้ว่ามีของดีซ่อนกายอยู่ภายในหุบเขาห้วยโศก ก็ได้มีการประกาศเป็นพื้นที่อนุรักษ์ในปี พ.ศ. 2527 เพื่อพัฒนาหุบป่าตาดเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ พร้อมทั้งมีการระเบิดเจาะภูเขาเป็นประตูอุโมงค์ถ้ำเพื่อให้นักท่องเที่ยวเข้าถึงหุบป่าตาดได้สะดวกสบายขึ้น
หลังจากนั้นหุบป่าตาดก็เริ่มเป็นที่รู้จักมากขึ้นเรื่อย ๆ จนกระทั่ง ททท. คัดสรรให้เป็นหนึ่งใน “อันซีนไทยแลนด์” (อันซีน 2) ที่เป็นดังตัวผลักดันสำคัญ ทำให้หุบป่าตาดมีชื่อเสียงโด่งดังเพียงชั่วข้ามคืน อันเนื่องมาจากความสวยงามแปลกตาของผืนป่าที่มีลักษณะเฉพาะตัว จนได้รับฉายาว่าเป็น “ป่าโบราณ” หรือ “ป่าดึกดำบรรพ์” อันเลื่องชื่อ
ท่องป่าตาด ป่าดึกดำบรรพ์
สำหรับเส้นทางผจญภัยในหุบป่าตาดนั้น ปัจจุบันทางเขตห้ามล่าสัตว์ป่าถ้ำประทุนได้มีการพัฒนาพื้นที่ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ที่ดูดีทีเดียว มีการจัดทำลานจอดรถอย่างดี มีส่วนจัดแสดงนิทรรศการกลางแจ้งให้ข้อมูลเกี่ยวกับหุบป่าตาด และสถานที่ท่องเที่ยวในละแวกใกล้เคียง มีการปรับปรุงเส้นทางเดินชมศึกษาธรรมชาติให้ดูกลมกลืนกับธรรมชาติและดูน่าสนใจมากยิ่งขึ้น (กว่าในอดีต)
นอกจากนี้ก็ยังมีเจ้าหน้าที่พิเศษและมัคคุเทศก์น้อยจากโรงเรียนแถบนั้นมาคอยนำชม สำหรับผู้สนใจ (ในช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์)
จากบริเวณลานจอดรถและศูนย์บริการนักท่องเที่ยว จะมีเส้นทางศึกษาธรรมชาติ เป็นบันไดเดินขึ้นเขาชันเล็กน้อยก่อนนำเข้าสู่อุโมงค์หุบป่าตาด ซึ่งทางเขตห้ามล่าฯ ตั้งชื่อให้อย่างกิ๊บเก๋ว่าเป็น “อุโมงค์แห่งกาลเวลา” เนื่องจากมันเป็นเส้นทางที่จะนำเราผ่านเข้าสู่ผืนป่าดึกดำบรรพ์ อันซีนไทยแลนด์อันน่าทึ่งแห่งนี้
อุโมงค์แห่งกาลเวลา เป็นเส้นทางระเบิดเจาะภูเขาเชื่อมหุบป่าตาดกับโลกภายนอก มีระยะทางสั้น ๆ ประมาณ 40 เมตร เป็นทางเดินมืด ๆ เห็นแสงสว่างรำไรอยู่เบื้องหน้า ข้างบนมีค้างคาวเกาะอยู่เป็นจำนวนมาก กลิ่นขี้ค้างคาวเหม็นฉุนกึก
เมื่อเดินพ้นอุโมงค์ปากหุบไป จะพบกับหุบเขาหินปูนขนาดใหญ่ เนื้อที่ประมาณ 2 ไร่ ภายในมี 2 ห้องโถงโล่งใหญ่ ๆ ให้เดินศึกษาระบบนิเวศของหุบป่าตาด พืชพันธุ์ สัตว์ป่า และเรื่องราวทางธรณีกันอย่างจุใจ
แน่นอนว่าพระเอกของผืนป่าโบราณแห่งนี้จะเป็นใครไปไม่ได้นอกจาก “ต้นตาด” ที่มีขึ้นปกคลุมร่มรื่นเขียวครึ้มอยู่ไปทั่วบริเวณจนเป็นที่มาของชื่อ “หุบป่าตาด” ที่ดูแล้วให้อารมณ์บรรยากาศของผืนป่าโบราณอันน่าทึ่ง ซึ่งสามารถใช้เป็นฉากถ่ายหนังเรื่องแนวไดโนเสาร์ได้อย่างสบาย ๆ
“ต้นตาด” (Areaga penata) หรือที่ชาวบ้านในบางพื้นจะเรียกขานกันว่า “ต้นตาว” หรือ “ต้นต๋าว” เป็นพืชตระกูลปาล์ม มีใบเป็นแฉกแผ่กว้างสยาย ลักษณะคล้ายต้นสละหรือระกำ ใบตาดสามารถนำไปทำไม้กวาดได้
ต้นตาดมีลูก (ผล) ออกมาเป็นทะลายกลม ๆ เล็ก ๆ คล้ายลูกจากหรือลูกชิด ลูกตาดกินได้ ชาวบ้านนิยมนำเนื้อในมาทำเป็นขนมหวานแบบเดียวกับลูกจากหรือลูกชิด ยอดอ่อนผลอ่อนของตาดนำไปต้มจิ้มน้ำพริก ซึ่งชาวบ้านในพื้นที่บอกว่าอร่อยเด็ดนักแล
นอกจากตาดแล้วในป่าแห่งนี้ยังมีพันธุ์ไม้เด่นๆ อาทิ เต่าร้าง เปล้า คัดค้าวเล็ก กะพง ยมหิน และปอหูช้างต้นหนึ่ง ซึ่งขึ้นเติบโตอยู่บนก้อนหินตั้งต้นตรงเด่นดูแปลกตาน่ายลไม่น้อย
โลกของถ้ำ
ในพื้นที่หุบป่าตาดยังมีเรื่องราวของถ้ำให้ศึกษาและชื่นชมความงามกันเป็นอีกหนึ่งไฮไลท์ของที่นี่ อย่างที่เล่ามาข้างต้นว่าหุบป่าตาดเคยเป็นถ้ำมาก่อน เมื่อเดินเข้ามาในหุบป่าตาดจึงมีโลกทางธรณีวิทยาของถ้ำปรากฏให้ชมอยู่ทั่วไป นำโดยไฮไลท์คือโถงถ้ำที่อยู่ตรงกลางซึ่งเป็นดังประตูเชื่อมระหว่างผืนป่าตาดในหุบด้านหน้าและหุบด้านใน
โถงถ้ำกลางหุบเขาช่วงนี้ ถือเป็นอีกหนึ่งไฮไลท์ของหุบป่าตาดที่หินงอกหินย้อยอันสวยงามปรากฏอยู่ทั่วไป แม้หินส่วนใหญ่จะเป็นหินตาย แต่ก็ยังคงมีหินเป็นบางส่วนที่กำลังเกิดเติบโตขึ้นมา เป็นหินปูนสีขาวกำลังหยดย้อยลงมาดูน่ายลไม่น้อย
โถงถ้ำกลางหุบป่าตาด นอกจากจะมีหินงอกหินย้อยรูปร่างแปลกตาทั้งจากเพดานถ้ำ ผนังถ้ำ และตามพื้นถ้ำให้ชมกันแล้ว บริเวณนี้ยังถือเป็นมุมถ่ายรูปชั้นดีของหุบป่าตาด ที่หากมองย้อนกลับออกไปยังบริเวณผืนป่าตาดก็จะเห็นฉากของโถงถ้ำเป็นกรอบภาพผืนใหญ่ และบรรดาต้นตาดและพันธุ์ไม้หลากหลายชนิดเป็นจุดสนใจของภาพ นับเป็นหนึ่งในภาพจำของหุบป่าตาดที่ปรากฏผ่านสื่ออยู่ทั่วไป
ส่วนอีกสิ่งน่าทึ่งในบริเวณโถงถ้ำส่วนกลางหุบก็คือ บนเพดานบางจุดปรากฏว่ามี “หินย้อยตามแสง” ขนาดใหญ่เป็นอันซีนให้ชมกัน
หินย้อยตามแสง มีความต่างจากหินย้อยทั่วไปตรงที่ ปกติหินย้อยจะเป็นปรากฏการณ์น้ำฝนที่ซึมละลายหินปูนไหลย้อยลงมาเป็นแท่งตรงในแนวดิ่งตามการไหลของหยดน้ำ
แต่หินย้อยตามแสงนั้นมันมีความเอนเอียงแหงนขึ้นไปหาแสงแดด ซึ่งส่วนใหญ่จะอยู่บริเวณปากถ้ำ เนื่องจากว่าเดิมนั้นมันก็เป็นหินย้อยปกติทั่ว ๆไปนี่แหละ แต่พอหยดน้ำหินย้อยจากหินปูนเริ่มก่อตัว มันเกิดมีพวกตะไคร่น้ำหรือพืชชั้นต่ำมาเกาะตรงส่วนปลาย เจ้าพืชพวกนี้ก็ต้องดิ้นรนหาแสงเพื่อดำรงชีวิตอยู่ มันเลยค่อย ๆ ดึงน้ำหยดหินย้อยปกติให้เอนเอียงขึ้นไปรับแสงเกิดเป็น “หินย้อยตามแสง” ขึ้นมา
นอกจากนี้ที่บริเวณโถงถ้ำกลางหุบป่าตาดยังมี “หินงอกเอน” เป็นอีกหนึ่งของแปลกให้ชมกัน (ย้ำว่าชมเฉย ๆ ไม่ควรไปแตะต้องมัน)
หินงอกเอน เดิมมันก็เกิดเหมือนหินงอกทั่วไป ที่หยดน้ำผ่านหินปูนจากหินย้อยค่อย ๆ หยดลงมาก่อตัวเป็นหินงอก ซึ่งตามปกติมันจะงอกตั้งตรงขึ้นมาตามการหยดของน้ำผ่านหินปูน แต่เนื่องจากว่าที่รอยแตกบนเพดานถ้ำที่น้ำหินปูนหยดลงมาเกิดการอุดตัน แต่มันยังมีรอยแตกที่อยู่ในแนวต่อเนื่องกันซึ่งยังคงมีน้ำหินปูนหยดลงมา นั่นจึงทำให้หยดน้ำหินงอกมันจึงค่อย ๆ ไหลเอนเลื่อนไปตามลักษณะของหยดน้ำหินย้อยที่เปลี่ยนแนวหยดไปเรื่อย ๆ เกิดเป็นเสา “หินงอกเอน” ขนาดสูงกว่าตัวคนขึ้นมาในหุบป่าตาดแห่งนี้ที่ดูน่าทึ่งไม่น้อย
กิ้งกือมังกรสีชมพู หนึ่งเดียวในโลก
ในผืนป่าดึกดำบรรพ์ของหุบป่าตาดยังมีอีกหนึ่งความน่าทึ่งหนึ่งเดียวในโลกให้สอดส่ายสายตาค้นหากัน แต่ต้องเป็นเฉพาะในช่วงหน้าฝนเท่านั้นกับ “กิ้งกือมังกรสีชมพู” เจ้าสัตว์ประหลาดหนึ่งเดียวในโลกที่พบแห่งแรกที่หุบป่าตาดแห่งนี้
“กิ้งกือมังกรสีชมพู” (Shocking pink millipede) ถูกค้นพบโดยสมาชิกในชมรมคนรักกิ้งกือ เมื่อเดือนพฤษภาคม 2550 พบครั้งแรกที่หุบป่าตาด เขตห้ามล่าสัตว์ป่าถ้ำประทุน จังหวัดอุทัยธานี
เดิมกิ้งกือมังกรสีชมพูพบในประเทศไทยเพียงแห่งเดียวในโลกที่หุบป่าตาดแห่งนี้ แต่ล่าสุดมีรายงานว่าพบเจ้ากิ้งกือมังกรสีชมพูที่ผืนป่าในจังหวัดกำแพงเพชรด้วย
หลังการค้นพบ ดร.สมศักดิ์ ปัญหา ได้นำมาศึกษาภายใต้โครงการวิจัยกิ้งกือและไส้เดือนดิน และร่วมกับ ศ.เฮนริค อิงฮอฟ ผู้เชี่ยวชาญด้านกิ้งกือชนิดใหม่ของโลก และให้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Desmoxytes purpurosea และได้ตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารนานาชาติ ซูแทกซา (Zootaxa) ตั้งแต่ปี 2550
กระทั่งเมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2551 สถาบันไอไอเอสอี (International Institute for Species Exploration : IISE) มหาวิทยาลัยรัฐแอริโซนา สหรัฐอเมริกา ประกาศให้กิ้งกือมังกรสีชมพู เป็นสุดยอดการค้นพบสิ่งมีชีวิตชนิดใหม่เป็นอันดับ 3 ของโลก รองจากการค้นพบปลากระเบนไฟฟ้าในแอฟริกา และการค้นพบฟอสซิลไดโนเสาร์ปากเป็ดอายุ 75 ล้านปี ในสหรัฐอเมริกา
นับเป็นอีกหนึ่งการค้นพบในแวดวงธรรมชาติวิทยาของบ้านเราที่สำคัญยิ่งของบ้านเรา
ส่วนเหตุที่เจ้าสัตว์ชนิดนี้ได้ชื่อว่า “กิ้งกือมังกรสีชมพู” นั้นก็เพราะว่ามันอยู่ในวงกิ้งกือมังกร หรือ พาราดอก โซโซมาติดี โดยตัวของมันมีสีชมพูสดใสแบบช็อกกิ้งพิงค์ และมีลักษณะโดดเด่นด้วยลวดลายและปุ่มหนามคล้ายมังกร
กิ้งกือมังกรสีชมพู พบได้ในป่าที่มีความชุ่มชื้นสูงและอุดมสมบูรณ์ เมื่อโตเต็มวัยจะมีลำตัวยาวประมาณ 7 เช็นติเมตร มีจำนวนปล้องราว 20-40 ปล้อง และสามารถปล่อยสารประเภทไซยาไนต์ออกมาจากต่อมขับสารพิษข้างลำตัวเพื่อป้องกันตัวเองจากศัตรูธรรมชาติจำพวกสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็ก เช่น หนู เป็นต้น
ใครที่อยากจะเห็นตัวจริงของกิ้งกือมังกรสีชมพู สามารถมาชมได้ที่หุบป่าตาดแห่งนี้ ระหว่างทางเดินลองสังเกตดูข้างทาง ตามพื้น หรือใต้ต้นไม้ อาจจะมองเห็นกิ้งกือสีชมพูตัวเล็กๆ อยู่ด้วย หรือตามแอ่งน้ำข้างทางเดิน อาจจะเห็นก้อนสีชมพูเล็กๆ ลอยตัวอยู่บนผิวน้ำ นั่นก็คือตัวอ่อนของกิ้งกือมังกรสีชมพู โดยกิ้งกือมังกรสีชมพูนั้นจะสามารถเห็นได้ในช่วงหน้าฝนราวเดือน กรกฎาคมถึงพฤศจิกายน ของทุกปี
นอกจากกิ้งกือมังกรสีชมพูแล้ว หุบป่าตาดยังมีสัตว์ประจำถิ่นเด่น ๆ อย่าง ลิง ไก่ฟ้าพญาลอ พิราบป่า นกต่าง ๆ และ “เลียงผา” ที่หากใครโชคดี (มาก) อาจจะได้พบมันมาปรากฏกายให้ชม ส่วนผมนั้นเท่าที่เคยมาเยือนหุบป่าตาดไม่เคยเจอเลียงผาตัวเป็น ๆ เคยเจอก็แต่ขี้เลียงผาเป็นกองเม็ดเล็ก ๆ อยู่ตามพื้นให้ดูต่างหน้า
และนี่ก็คือเรื่องราวความน่าทึ่งของธรรมชาติแห่งหุบป่าตาด ซึ่งสำหรับผมแล้ว แม้นี่ไม่ใช่การมาเยือนหุบป่าตาดครั้งแรก แต่การมาเยือนหุบป่าตาดในทุกครั้ง ผมยังคงพบว่าผืนป่าแห่งนี้ยังคงเปี่ยมไปด้วยเสน่ห์มนต์ขลัง ให้เราได้ตื่นตาตื่นใจกันอยู่เหมือนเดิม
เพราะธรรมชาติของหุบป่าตาดนั้นเปรียบดังโลกยุคดึกดำบรรพ์ ที่ซ่อนเร้นอยู่ในโลกร่วมสมัยของยุคปัจจุบันได้อย่างผสมกลมกลืน ในระบบนิเวศที่มีลักษณะเฉพาะตัว
เป็นโลก 2 ใบในอุทัยธานีที่น่าเที่ยวและน่าทึ่งไม่น้อย
....................................................................................................
หุบป่าตาด อ.ลานสัก จ.อุทัยธานี อยู่ภายใต้การดูแลของเขตห้ามล่าสัตว์ป่าถ้ำประทุน อยู่ก่อนถึงเขาปลาร้าประมาณ 1 กม. ถูกค้นพบในปี พ.ศ. 2522 สามารถไปตามทางสายหนองฉาง-ลานสักประมาณ 21 กม. ก็จะถึงปากทาเข้าเขตห้ามล่าสัตว์ป่าเขาปลาร้า จากนั้นแยกไปตามถนนคอนกรีตอีกประมาณ 6 กม. การเที่ยวป่าตาดหากอยากให้ได้อรรถรสมากขึ้น ควรเตรียมไฟฉายติดตัวไปด้วย
นอกจากหุบป่าตาดแล้ว ที่ อ.ลานสัก ก็ยังมีสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจอีกอย่างเช่น เขาปลาร้า ซึ่งที่นี่มีภาพเขียนสีก่อนประวัติศาสตร์ ที่มีอายุกว่า 3,000 ปี ถ้ำเขาฆ้องชัย เป็นถ้ำเขาหินปูนที่มีความงดงามถ้ำหนึ่ง เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง มรดกโลกทางธรรมชาติของไทย ส่วนใครที่สนใจสถานที่ท่องเที่ยวใน อ.ลานสัก หรือ ใน จ.อุทัยธานี สามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ ททท.อุทัยธานี โทร. 0 5651 4651-2
....................................................................................................
สามารถส่งข้อมูลข่าวสารด้านการท่องเที่ยว-อาหารมาได้ที่ กอง บก.ข่าวท่องเที่ยว แฟกซ์ 0-2629-4467 อีเมล์ travel_astvmgr@hotmail.com หรือติดตามเพิ่มเติมได้ที่ Facebook :Travel @ Manager