Facebook :Travel @ Manager
ละครเรื่อง "กรงกรรม" ทางโทรทัศน์ช่อง 3 เรื่องราวกำลังเข้มข้น ใครที่เป็นแฟนละครก็คงติดตามกันอยู่แบบไม่ให้พลาดสักตอน จะเห็นได้ว่าเรื่องราวหลักๆ ในละครในเรื่องนี้เกิดขึ้นที่ "อำเภอชุมแสง" จังหวัดนครสวรรค์ ซึ่งเป็นบ้านของ "นางย้อย" ตัวละครหลักซึ่งเป็นแม่ผัวจอมโหดกับลูกชายทั้งสี่
ในวันนี้จึงอยากพาไปเที่ยวที่ "ชุมแสง" ไปดูสถานที่จริง ไปย้อนดูความรุ่งเรืองของอำเภอชุมแสงที่แต่เดิมเป็นทั้งท่าข้าวและชุมชนค้าขายอันคึกคัก ปัจจุบันความรุ่งเรืองในอดีตได้จางหายไป ชุมแสงวันนี้จึงเป็นอำเภอเล็กๆ เงียบสงบ แต่ยังคงเสน่ห์แบบสโลว์ไลฟ์ให้ได้ไปเที่ยวชมกัน
อำเภอชุมแสงอยู่ทางตอนเหนือของปากน้ำโพ เป็นจุดที่แม่น้ำยมกับแม่น้ำน่านไหลมาบรรจบกันเป็นแม่น้ำน่าน ก่อนจะไหลไปรวมกับแม่น้ำปิงที่ปากน้ำโพเกิดเป็นต้นแม่น้ำเจ้าพระยา ชื่อ “ชุมแสง” มีที่มาจากข้อสันนิษฐาน 2 ข้อด้วยกัน ข้อแรก มาจาก “ต้นชุมแสง” ต้นไม้สัญลักษณ์ประจำถิ่น
ส่วนข้อที่สองมาจากเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ที่มีบันทึกว่า สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช หลังทำสงครามกู้ชาติรบชนะพม่าแล้ว ได้ทำการรวบรวมชาติไทยที่แบ่งเป็นก๊กต่างๆ ให้เป็นปึกแผ่นเป็นหนึ่งเดียว โดยลำดับแรกได้ยกพลขึ้นเหนือมาตั้งค่ายเพื่อปราบก๊กเจ้าเมืองพิษณุโลก ซึ่งพระองค์ท่านได้ใช้ที่นี่เป็นแหล่งสะสมอาวุธยุทโธปกรณ์ หรือ “คลังแสง” ชื่อของอำเภอแห่งนี้จึงมาจากคลังแสงก่อนที่จะเพี้ยนเป็น “ชุมแสง” ดังในปัจจุบัน
ชุมแสงในอดีตย้อนไปตั้งแต่ราวห้าสิบถึงเกือบร้อยปีที่แล้ว ถือเป็นชุมชนริมน้ำน่านที่มีความคึกคักเป็นยิ่ง ที่นี่ถือเป็นทั้งท่าข้าวและเป็นชุมชนค้าขายริมน้ำอันสำคัญของนครสวรรค์ เนื่องจากมีการคมนาคมขนส่งไป-มาสะดวก ทั้งทางน้ำ ทางบก(เกวียน) และทางรถไฟ(สถานีชุมแสง)
ชุมแสงในยุคนั้นมากไปด้วยพ่อค้าวาณิช มีผู้คนเดินทางสัญจรเข้า-ออกอย่างต่อเนื่อง มีโรงสี ธนาคาร และโรงแรมอยู่หลายแห่งด้วยกัน ที่สำคัญคือมี “ตลาดชุมแสง” อันคึกคักและขึ้นชื่อ ที่วันนี้มีอายุกว่า 100 ปีแล้ว
แต่ชุมแสงก็เป็นเหมือนชุมชนทางน้ำอีกหลายๆ แห่ง คือเมื่อบ้านเมืองเจริญขึ้นมีถนนตัดเข้ามา ทำให้การสัญจรทางน้ำและทางรถไฟลดความสำคัญลง ส่งผลให้ปัจจุบันวิถีริมน้ำ ชุมชนการค้า และตลาดชุมแสงค่อยๆ ลดความคึกคักลง แต่ว่าก็ไม่ถึงกับเงียบเหงาซบเซาเสียทีเดียว เพราะเมื่อเราได้เดินเที่ยวในตลาดชุมแสงก็ยังพบกับบรรยากาศการค้าขายที่ยังคงดูมีชีวิตชีวา มีความเคลื่อนไหว ชวนให้เราเที่ยวซอกแซกเข้าตามตรอกออกตามซอย ทั้งเดิน ทั้งปั่นจักรยานเพื่อไปสัมผัสกับมนต์เสน่ห์ของชุมชนแห่งนี้
ย่านการค้าชุมแสงวันนี้ มีทั้งส่วนอาคารตลาดเก่าที่แม้จะถูกทิ้งร้างทรุดโทรมแต่ว่าก็ยังคงเสน่ห์ของความเก่าแก่คลาสสิกไว้ลายให้เห็นกัน โดยเฉพาะในตรอกซอยตลาดเก่าที่มีคุณป้า คุณย่า คุณยาย นั่งขายปลาสด ผักสด ผักดอง กะปิ ปลาร้า ปลาเค็ม ปูเค็ม ปลาแห้ง และของกินอีกสารพัดในซอกมุมเล็กๆ กับวิถีของคนเล็กๆ ที่เน้นการค้าขายแบบเรียบง่ายพอเพียง ซึ่งคนที่ถวิลหาอดีตเห็นแล้วเป็นต้องอดหลงรักไม่ได้
ขณะที่ในส่วนของชุมชนค้าขายตลาดปัจจุบันนั้นก็อวลไปด้วยเสน่ห์ของบรรยากาศย้อนยุค ไม่ว่าจะเป็นบ้านเรือนไม้ ที่หลายๆ หลังมีประตูแบบโบราณ ชนิดที่คนเมืองหรือคนรุ่นใหม่ที่เกิดไม่ทันเห็นแล้วเป็นต้องอึ้ง หรือตามร้าน ตามบ้าน ที่ขายวางสินค้าอันหลากหลายประเภทที่เป็นดังโชว์ห่วยมีชีวิตซึ่งนับวันๆภาพเหล่านี้ยิ่งหดหายไปจากเมืองไทยลงทุกที
เช่นเดียวกันกับ “สถานีรถไฟชุมแสง” ที่อยู่ไม่ไกลจากตลาดนั้นก็เป็นอีกหนึ่งมุมย้อนยุคในชุมแสง ที่ยังคงดูดีมีชีวิตชีวามากความเคลื่อนไหว
หันมาดูในส่วนของสถานที่สำคัญชวนเที่ยวชมในชุมแสงกันบ้าง ชาวชุมแสงมีศูนย์รวมจิตใจอยู่ที่ “ศาลเจ้าพ่อ-เจ้าแม่ชุมแสง” ซึ่งเป็นศาลเก่าแก่คู่ชุมชน รูปเคารพองค์เจ้าพ่อแกะสลักจากขอนไม้ลอยน้ำ ที่มีเรื่องเล่าขานกันว่าเจ้าพ่อได้มาเข้าฝันชาวบ้านให้นำขอนไม้ลอยนี้มาแกะสลักเป็นรูปเคารพของท่าน
นอกจากนี้ยังมีตำนานเล่าขานอันชวนทึ่งว่า เดิมที่นี่มีเจ้าพ่ออยู่องค์เดียว แต่ต่อมาท่านได้ไปประทับทรงให้ชาวบ้านแห่เรือขันหมากไปสู่ขอเจ้าแม่เกยไชย มาประทับอยู่ด้วยกันและกลายเป็นศาลเจ้าพ่อเจ้าแม่ชุมแสงมาจนทุกวันนี้
ทุกๆปีชาวชุมแสงจะจัดงานสมโภช เจ้าพ่อ-เจ้าแม่ชุมแสงขึ้น ปีละ 2 ครั้ง ครั้งแรก ราวเดือนกุมภาพันธ์ จัดงานวันคล้ายวันเกิดเจ้าพ่อ-เจ้าแม่ชุมแสง ครั้งที่สอง ราวเดือนธันวาคม จัดงานประจำปี โดยมีการอัญเชิญเจ้าพ่อ-เจ้าแม่ แห่ไปรอบตลาดชุมแสง พร้อมด้วยการจัดมหรสพอย่างสนุกสนานครึกครื้น ซึ่งปัจจุบันงานนี้จัดมากว่า 80 ปีแล้ว
ในชุมแสงยังมีวัดสำคัญคู่บ้านคู่เมืองคือ “วัดเกยไชยเหนือ” (วัดบรมธาตุ) วัดเก่าแก่ที่ภายในวัดมีเจดีย์บรรจุพระบรมธาตุฐานแปดเหลี่ยมซึ่งสันนิษฐานว่า สร้างขึ้นในสมัยสมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 8 หรือพระเจ้าเสือแห่งกรุงศรีอยุธยา
ขณะที่ “พระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช” ที่ตั้งโดดเด่นอยู่ริมน้ำน่านไม่ไกลจากตลาดเท่าใดนั้น ถือเป็นอีกหนึ่งสถานที่สำคัญคู่ชุมชนและเป็นหนึ่งในศูนย์รวมจิตใจของชาวชุมแสง ซึ่งบริเวณรอบๆ พระบรมราชานุสาวรีย์ฯ มีการนำรูปปั้นไก่มาถวายแก้บนกันเป็นจำนวนมาก
ส่วน “สะพานหิรัญนฤมิต” ที่ตั้งอยู่ใกล้ๆ กับอนุสาวรีย์พระเจ้าตากสินฯนั้น ถือเป็นอีกหนึ่งไฮไลต์คู่ชุมชนที่น่าสนใจ ที่วันนี้ได้กลายเป็นหนึ่งในสัญลักษณ์ของเมืองชุมแสงไปแล้ว
สะพานหิรัญนฤมิต สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2552 เพื่อให้ผู้คนจากสองฟากฝั่งน้ำสัญจรข้ามไป-มา โดยห้ามรถยนต์ 4 ล้อวิ่งผ่าน แม้จะเป็นสะพานเล็กๆ ที่สร้างขึ้นใหม่ แต่ด้วยลักษณะอันโดดเด่นเป็นสะพานแขวนที่ทั้งรูปแบบ รูปทรง สีสัน และองค์ประกอบต่างๆ ดูสวยงามคลาสสิกลงตัว สะพานหิรัญนฤมิตจึงถือเป็นจุดเด่นแห่งใหม่ในอำเภอชุมแสง ที่ผู้ผ่านไป-มามักนิยมมาเซลฟี่ถ่ายรูปคู่กับสะพานแห่งนี้เป็นจำนวนมาก
ด้านใครที่เป็นผู้พิสมัยในการกิน ชุมแสงถือว่ามากไปด้วยอาหารการกินอร่อยๆ มากหลาย ไม่ว่าจะเป็น “ราดหน้านายโก๊ะ” กับราดหน้าอร่อยระดับรับแขกบ้านแขกเมือง ”ร้านยายแกลบ” กับเมนูปลาและอาหารไทยรสจัดจ้าน “ขนมเปี๊ยะคุณยาย” ขนมเปี๊ยะแป้งนุ่มบาง ไส้เยอะหวานหอมกลมกล่อม ขณะที่อาหารการกินเด่นๆ อื่นๆ นั้นก็มี ไอศกรีมโบราณข้างสถานีรถไฟ ก๋วยเตี๋ยวเนื้อตุ๋น เย็นตาโฟเจ๊วรรณ กวยจั๊บโบราณเจ๊ฮุง ลูกชิ้นปลากรายเจ๊เตียง รวมไปถึงผลิตภัณฑ์ต่างๆจากตาลโตนด ทั้งน้ำตลาดสด น้ำตาลปึก และลอนตาล เป็นต้น
ที่นี่เหมาะสำหรับคนชอบปั่นจักรยานที่สามารถปั่นในเส้นทางเลาะริมน้ำเที่ยวชมบ้านเรือนเก่า สะพานหิรัญนฤมิต อนุสาวรีย์พระเจ้าตากสินฯ ศาลเจ้าพ่อ-เจ้าแม่ ชมบรรยากาศยามเย็นริมฝั่งแม่น้ำน่านที่วันนี้ยังมีปั๊มน้ำมันลอยน้ำเก่าแก่ (เลิกใช้แล้ว) ตั้งเด่นอยู่ริมน้ำชวนให้รำลึกถึงอดีตอันรุ่งโรจน์ หรือใครจะปั่นชิลชิลออกกำลังกายไปในตัว ซอกแซกไปในตลาด ย่านการค้า สัมผัสวิถีชาวบ้าน พูดคุยกับชาวชุมชน แวะกินโน่นกินนี่ ช่วยกระจายรายได้ก็นับว่าเก๋ไก๋ดีทีเดียว
หลังจากละครเรื่องกรงกรรมออกฉาย ก็เชื่อแน่ว่า "ชุมแสง" จะกลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้งเพราะมีผู้คนไปเยี่ยมเยือนมากขึ้น ซึ่งหากใครได้ไปเยือนก็เชื่อว่าจะได้สัมผัสวิถีชุมชน บ้านเรือนเก่า และสถานที่สำคัญต่างๆ อีกทั้งจะได้พบรอยยิ้มและมิตรไมตรีของชาวชุมแสงนับเป็นสิ่งสำคัญที่สร้างความประทับใจ ช่วยเพิ่มเสน่ห์ให้ชุมชนแห่งนี้น่าสัมผัสเที่ยวชมมากขึ้น
คลิกอ่าน “ขนมเปี๊ยะคุณยาย” ของดีเมืองชุมแสง แป้งบาง-ไส้เนียน กินเพลิน ได้ที่นี่
สามารถส่งข้อมูลข่าวสารด้านการท่องเที่ยว-อาหารมาได้ที่ กอง บก.ข่าวท่องเที่ยว อีเมล์ travel_astvmgr@hotmail.com หรือติดตามเพิ่มเติมได้ที่ Facebook :Travel @ Manager
ละครเรื่อง "กรงกรรม" ทางโทรทัศน์ช่อง 3 เรื่องราวกำลังเข้มข้น ใครที่เป็นแฟนละครก็คงติดตามกันอยู่แบบไม่ให้พลาดสักตอน จะเห็นได้ว่าเรื่องราวหลักๆ ในละครในเรื่องนี้เกิดขึ้นที่ "อำเภอชุมแสง" จังหวัดนครสวรรค์ ซึ่งเป็นบ้านของ "นางย้อย" ตัวละครหลักซึ่งเป็นแม่ผัวจอมโหดกับลูกชายทั้งสี่
ในวันนี้จึงอยากพาไปเที่ยวที่ "ชุมแสง" ไปดูสถานที่จริง ไปย้อนดูความรุ่งเรืองของอำเภอชุมแสงที่แต่เดิมเป็นทั้งท่าข้าวและชุมชนค้าขายอันคึกคัก ปัจจุบันความรุ่งเรืองในอดีตได้จางหายไป ชุมแสงวันนี้จึงเป็นอำเภอเล็กๆ เงียบสงบ แต่ยังคงเสน่ห์แบบสโลว์ไลฟ์ให้ได้ไปเที่ยวชมกัน
อำเภอชุมแสงอยู่ทางตอนเหนือของปากน้ำโพ เป็นจุดที่แม่น้ำยมกับแม่น้ำน่านไหลมาบรรจบกันเป็นแม่น้ำน่าน ก่อนจะไหลไปรวมกับแม่น้ำปิงที่ปากน้ำโพเกิดเป็นต้นแม่น้ำเจ้าพระยา ชื่อ “ชุมแสง” มีที่มาจากข้อสันนิษฐาน 2 ข้อด้วยกัน ข้อแรก มาจาก “ต้นชุมแสง” ต้นไม้สัญลักษณ์ประจำถิ่น
ส่วนข้อที่สองมาจากเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ที่มีบันทึกว่า สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช หลังทำสงครามกู้ชาติรบชนะพม่าแล้ว ได้ทำการรวบรวมชาติไทยที่แบ่งเป็นก๊กต่างๆ ให้เป็นปึกแผ่นเป็นหนึ่งเดียว โดยลำดับแรกได้ยกพลขึ้นเหนือมาตั้งค่ายเพื่อปราบก๊กเจ้าเมืองพิษณุโลก ซึ่งพระองค์ท่านได้ใช้ที่นี่เป็นแหล่งสะสมอาวุธยุทโธปกรณ์ หรือ “คลังแสง” ชื่อของอำเภอแห่งนี้จึงมาจากคลังแสงก่อนที่จะเพี้ยนเป็น “ชุมแสง” ดังในปัจจุบัน
ชุมแสงในอดีตย้อนไปตั้งแต่ราวห้าสิบถึงเกือบร้อยปีที่แล้ว ถือเป็นชุมชนริมน้ำน่านที่มีความคึกคักเป็นยิ่ง ที่นี่ถือเป็นทั้งท่าข้าวและเป็นชุมชนค้าขายริมน้ำอันสำคัญของนครสวรรค์ เนื่องจากมีการคมนาคมขนส่งไป-มาสะดวก ทั้งทางน้ำ ทางบก(เกวียน) และทางรถไฟ(สถานีชุมแสง)
ชุมแสงในยุคนั้นมากไปด้วยพ่อค้าวาณิช มีผู้คนเดินทางสัญจรเข้า-ออกอย่างต่อเนื่อง มีโรงสี ธนาคาร และโรงแรมอยู่หลายแห่งด้วยกัน ที่สำคัญคือมี “ตลาดชุมแสง” อันคึกคักและขึ้นชื่อ ที่วันนี้มีอายุกว่า 100 ปีแล้ว
แต่ชุมแสงก็เป็นเหมือนชุมชนทางน้ำอีกหลายๆ แห่ง คือเมื่อบ้านเมืองเจริญขึ้นมีถนนตัดเข้ามา ทำให้การสัญจรทางน้ำและทางรถไฟลดความสำคัญลง ส่งผลให้ปัจจุบันวิถีริมน้ำ ชุมชนการค้า และตลาดชุมแสงค่อยๆ ลดความคึกคักลง แต่ว่าก็ไม่ถึงกับเงียบเหงาซบเซาเสียทีเดียว เพราะเมื่อเราได้เดินเที่ยวในตลาดชุมแสงก็ยังพบกับบรรยากาศการค้าขายที่ยังคงดูมีชีวิตชีวา มีความเคลื่อนไหว ชวนให้เราเที่ยวซอกแซกเข้าตามตรอกออกตามซอย ทั้งเดิน ทั้งปั่นจักรยานเพื่อไปสัมผัสกับมนต์เสน่ห์ของชุมชนแห่งนี้
ย่านการค้าชุมแสงวันนี้ มีทั้งส่วนอาคารตลาดเก่าที่แม้จะถูกทิ้งร้างทรุดโทรมแต่ว่าก็ยังคงเสน่ห์ของความเก่าแก่คลาสสิกไว้ลายให้เห็นกัน โดยเฉพาะในตรอกซอยตลาดเก่าที่มีคุณป้า คุณย่า คุณยาย นั่งขายปลาสด ผักสด ผักดอง กะปิ ปลาร้า ปลาเค็ม ปูเค็ม ปลาแห้ง และของกินอีกสารพัดในซอกมุมเล็กๆ กับวิถีของคนเล็กๆ ที่เน้นการค้าขายแบบเรียบง่ายพอเพียง ซึ่งคนที่ถวิลหาอดีตเห็นแล้วเป็นต้องอดหลงรักไม่ได้
ขณะที่ในส่วนของชุมชนค้าขายตลาดปัจจุบันนั้นก็อวลไปด้วยเสน่ห์ของบรรยากาศย้อนยุค ไม่ว่าจะเป็นบ้านเรือนไม้ ที่หลายๆ หลังมีประตูแบบโบราณ ชนิดที่คนเมืองหรือคนรุ่นใหม่ที่เกิดไม่ทันเห็นแล้วเป็นต้องอึ้ง หรือตามร้าน ตามบ้าน ที่ขายวางสินค้าอันหลากหลายประเภทที่เป็นดังโชว์ห่วยมีชีวิตซึ่งนับวันๆภาพเหล่านี้ยิ่งหดหายไปจากเมืองไทยลงทุกที
เช่นเดียวกันกับ “สถานีรถไฟชุมแสง” ที่อยู่ไม่ไกลจากตลาดนั้นก็เป็นอีกหนึ่งมุมย้อนยุคในชุมแสง ที่ยังคงดูดีมีชีวิตชีวามากความเคลื่อนไหว
หันมาดูในส่วนของสถานที่สำคัญชวนเที่ยวชมในชุมแสงกันบ้าง ชาวชุมแสงมีศูนย์รวมจิตใจอยู่ที่ “ศาลเจ้าพ่อ-เจ้าแม่ชุมแสง” ซึ่งเป็นศาลเก่าแก่คู่ชุมชน รูปเคารพองค์เจ้าพ่อแกะสลักจากขอนไม้ลอยน้ำ ที่มีเรื่องเล่าขานกันว่าเจ้าพ่อได้มาเข้าฝันชาวบ้านให้นำขอนไม้ลอยนี้มาแกะสลักเป็นรูปเคารพของท่าน
นอกจากนี้ยังมีตำนานเล่าขานอันชวนทึ่งว่า เดิมที่นี่มีเจ้าพ่ออยู่องค์เดียว แต่ต่อมาท่านได้ไปประทับทรงให้ชาวบ้านแห่เรือขันหมากไปสู่ขอเจ้าแม่เกยไชย มาประทับอยู่ด้วยกันและกลายเป็นศาลเจ้าพ่อเจ้าแม่ชุมแสงมาจนทุกวันนี้
ทุกๆปีชาวชุมแสงจะจัดงานสมโภช เจ้าพ่อ-เจ้าแม่ชุมแสงขึ้น ปีละ 2 ครั้ง ครั้งแรก ราวเดือนกุมภาพันธ์ จัดงานวันคล้ายวันเกิดเจ้าพ่อ-เจ้าแม่ชุมแสง ครั้งที่สอง ราวเดือนธันวาคม จัดงานประจำปี โดยมีการอัญเชิญเจ้าพ่อ-เจ้าแม่ แห่ไปรอบตลาดชุมแสง พร้อมด้วยการจัดมหรสพอย่างสนุกสนานครึกครื้น ซึ่งปัจจุบันงานนี้จัดมากว่า 80 ปีแล้ว
ในชุมแสงยังมีวัดสำคัญคู่บ้านคู่เมืองคือ “วัดเกยไชยเหนือ” (วัดบรมธาตุ) วัดเก่าแก่ที่ภายในวัดมีเจดีย์บรรจุพระบรมธาตุฐานแปดเหลี่ยมซึ่งสันนิษฐานว่า สร้างขึ้นในสมัยสมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 8 หรือพระเจ้าเสือแห่งกรุงศรีอยุธยา
ขณะที่ “พระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช” ที่ตั้งโดดเด่นอยู่ริมน้ำน่านไม่ไกลจากตลาดเท่าใดนั้น ถือเป็นอีกหนึ่งสถานที่สำคัญคู่ชุมชนและเป็นหนึ่งในศูนย์รวมจิตใจของชาวชุมแสง ซึ่งบริเวณรอบๆ พระบรมราชานุสาวรีย์ฯ มีการนำรูปปั้นไก่มาถวายแก้บนกันเป็นจำนวนมาก
ส่วน “สะพานหิรัญนฤมิต” ที่ตั้งอยู่ใกล้ๆ กับอนุสาวรีย์พระเจ้าตากสินฯนั้น ถือเป็นอีกหนึ่งไฮไลต์คู่ชุมชนที่น่าสนใจ ที่วันนี้ได้กลายเป็นหนึ่งในสัญลักษณ์ของเมืองชุมแสงไปแล้ว
สะพานหิรัญนฤมิต สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2552 เพื่อให้ผู้คนจากสองฟากฝั่งน้ำสัญจรข้ามไป-มา โดยห้ามรถยนต์ 4 ล้อวิ่งผ่าน แม้จะเป็นสะพานเล็กๆ ที่สร้างขึ้นใหม่ แต่ด้วยลักษณะอันโดดเด่นเป็นสะพานแขวนที่ทั้งรูปแบบ รูปทรง สีสัน และองค์ประกอบต่างๆ ดูสวยงามคลาสสิกลงตัว สะพานหิรัญนฤมิตจึงถือเป็นจุดเด่นแห่งใหม่ในอำเภอชุมแสง ที่ผู้ผ่านไป-มามักนิยมมาเซลฟี่ถ่ายรูปคู่กับสะพานแห่งนี้เป็นจำนวนมาก
ด้านใครที่เป็นผู้พิสมัยในการกิน ชุมแสงถือว่ามากไปด้วยอาหารการกินอร่อยๆ มากหลาย ไม่ว่าจะเป็น “ราดหน้านายโก๊ะ” กับราดหน้าอร่อยระดับรับแขกบ้านแขกเมือง ”ร้านยายแกลบ” กับเมนูปลาและอาหารไทยรสจัดจ้าน “ขนมเปี๊ยะคุณยาย” ขนมเปี๊ยะแป้งนุ่มบาง ไส้เยอะหวานหอมกลมกล่อม ขณะที่อาหารการกินเด่นๆ อื่นๆ นั้นก็มี ไอศกรีมโบราณข้างสถานีรถไฟ ก๋วยเตี๋ยวเนื้อตุ๋น เย็นตาโฟเจ๊วรรณ กวยจั๊บโบราณเจ๊ฮุง ลูกชิ้นปลากรายเจ๊เตียง รวมไปถึงผลิตภัณฑ์ต่างๆจากตาลโตนด ทั้งน้ำตลาดสด น้ำตาลปึก และลอนตาล เป็นต้น
ที่นี่เหมาะสำหรับคนชอบปั่นจักรยานที่สามารถปั่นในเส้นทางเลาะริมน้ำเที่ยวชมบ้านเรือนเก่า สะพานหิรัญนฤมิต อนุสาวรีย์พระเจ้าตากสินฯ ศาลเจ้าพ่อ-เจ้าแม่ ชมบรรยากาศยามเย็นริมฝั่งแม่น้ำน่านที่วันนี้ยังมีปั๊มน้ำมันลอยน้ำเก่าแก่ (เลิกใช้แล้ว) ตั้งเด่นอยู่ริมน้ำชวนให้รำลึกถึงอดีตอันรุ่งโรจน์ หรือใครจะปั่นชิลชิลออกกำลังกายไปในตัว ซอกแซกไปในตลาด ย่านการค้า สัมผัสวิถีชาวบ้าน พูดคุยกับชาวชุมชน แวะกินโน่นกินนี่ ช่วยกระจายรายได้ก็นับว่าเก๋ไก๋ดีทีเดียว
หลังจากละครเรื่องกรงกรรมออกฉาย ก็เชื่อแน่ว่า "ชุมแสง" จะกลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้งเพราะมีผู้คนไปเยี่ยมเยือนมากขึ้น ซึ่งหากใครได้ไปเยือนก็เชื่อว่าจะได้สัมผัสวิถีชุมชน บ้านเรือนเก่า และสถานที่สำคัญต่างๆ อีกทั้งจะได้พบรอยยิ้มและมิตรไมตรีของชาวชุมแสงนับเป็นสิ่งสำคัญที่สร้างความประทับใจ ช่วยเพิ่มเสน่ห์ให้ชุมชนแห่งนี้น่าสัมผัสเที่ยวชมมากขึ้น
คลิกอ่าน “ขนมเปี๊ยะคุณยาย” ของดีเมืองชุมแสง แป้งบาง-ไส้เนียน กินเพลิน ได้ที่นี่
สามารถส่งข้อมูลข่าวสารด้านการท่องเที่ยว-อาหารมาได้ที่ กอง บก.ข่าวท่องเที่ยว อีเมล์ travel_astvmgr@hotmail.com หรือติดตามเพิ่มเติมได้ที่ Facebook :Travel @ Manager