Facebook :Travel @ Manager

จังหวัดศรีสะเกษ เป็นอีกหนึ่งทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ที่มีผู้คนจากหลากหลายวัฒนธรรมอยู่ร่วมกัน อย่างที่ ชุมชน “บ้านตระกวน” ชุมชนเรียบง่ายของชาวเขมร ที่มีวิถีชีวิตความเป็นอยู่ วัฒนธรรม และประเพณีมากมายให้นักท่องเที่ยวได้ไปสัมผัสกัน

ชุมชน “บ้านตระกวน” เป็นชุมชนเล็กๆ ใน อ.ศรีรัตนะ จ.ศรีสะเกษ ชาวบ้านที่นี่เป็นชาวอพยพจากหลายพื้นถิ่น แต่โดยมากจะเป็นชาวเขมร ซึ่งคำว่า “ตระกวน” ในภาษาเขมรจะหมายถึง “ผักบุ้ง” และเหตุที่ชุมชนนี้ชื่อบ้านตระกวนก็เพราะว่า แต่เดิมบริเวณนี้มีผักบุ้งขึ้นอยู่มากนั่นเอง

เมื่อมาถึงที่ชุมชนนี้แล้ว ชาวบ้านจะต้อนรับด้วยการแสดงพื้นบ้าน และการทำ “พิธีบายศรีสู่ขวัญ” ตามประเพณีดั้งเดิมเพื่อเรียกขวัญและสิ่งดีๆ ให้กับผู้ที่ได้มาเยือน โดยของที่ใช้ในพิธีจะมีทั้งพานบายศรีที่ชาวบ้านทำกันเอง ธูปเทียน กล้วย น้ำมะพร้าว ไข่ต้ม ข้าวสารและดอกไม้ สำหรับใช้โปรยหลังเสร็จพิธี
การทำพิธีบายศรีสู่ขวัญจะเริ่มด้วยให้ผู้มาเยือนการนั่งล้อมวงเข้ากับพานบายศรี และหันหน้าไปในทิศมงคล จากนั้นจะให้พ่อครูเป็นผู้สวดเรียกขวัญ เมื่อทำพิธีเสร็จแล้วจะโปรยข้าวสารและดอกไม้แทนการพรมน้ำมนต์ ต่อด้วยการกินของไหว้ทั้งกล้วย น้ำมะพร้าว และไข่ต้ม ชาวบ้านเชื่อว่าเป็นของมงคลกินแล้วจะดี

นอกจากนั้นลักษณะของ “ไข่ต้ม” ที่ปอกเปลือกออกมาแล้ว ยังให้ความหมายต่างๆ ได้ด้วย อย่างเช่น ถ้าเนื้อไข่ขาวหนาสวย จะแปลว่าจะมีแต่สิ่งดีๆ นั่นเอง สุดท้ายในพิธีบายศรีสู่ขวัญก็คือ ให้ผู้ใหญ่ในหมู่บ้านผูกข้อไม้ข้อมือให้พรเป็นสิริมงคล


จากนั้นก็จะมานั่งล้อมวงขันโตกกินข้าวกัน โดยอาหารที่ชาวบ้านนำมาให้กินนั้น ล้วนแต่เป็นอาหารพื้นบ้านที่ทำกินกันอยู่แล้ว เช่น แกงกล้วยไก่บ้าน น้ำพริกปลาร้าและผักพื้นบ้าน จิ้งหรีดทอด ผัดผักบุ้ง ลาบปลาดุก ส้มตำปลาร้า

ท้องอิ่มแล้วก็ถึงเวลาเดินเที่ยวชมในชุมชน ซึ่งมีหลากหลายให้ฐานด้วยกัน เริ่มที่ ฐานการเรียนรู้การเลี้ยงหม่อนไหมเพื่อนำมาทอผ้า, ฐานการเรียนรู้การทอเสื้อกก, ฐานการเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งจะได้เห็นทั้งขั้นตอนการเพาะเห็ด เลี้ยงจิ้งหรีด การทำบ่อปลาดุก ฯลฯ



ส่วนใครที่ชอบการกินต้องไม่พลาดกับฐานการเรียนรู้การทำขนมกลิ่นรัญจวน หรือที่หลายคนคุ้นหูว่า “ขนมตดหมา” ซึ่งจะนำผงเครือตดหมา มะพร้าวทึนทึกขูด น้ำตาลอ้อย น้ำตาลทรายแดง น้ำใบเตย เกลือ แป้งข้าวเหนียว ผสมให้เข้ากันและนำใบตองมาห่อ จากนั้นนำไปปิ้งให้สุกเป็นอันได้ที่

อีกหนึ่งฐานที่น่าสนใจก็คือ ฐานการเรียนรู้ปั้นดินให้เป็นดาว เรียกง่ายๆ ก็คือการทำเครื่องปั้นดินเผานั่นเอง ฐานนี้นักท่องเที่ยวสามารถลงมือปั้นกระถางได้ด้วยตนเอง จากนั้นชาวบ้านจะเผาให้ และเราสามารถนำกลับไปเป็นของที่ระลึกได้ด้วย

นอกจากฐานการเรียนรู้ที่ได้กล่าวไปแล้ว ที่ชุมชนบ้านตระกวนแห่งนี้ก็ยังมีกิจกรรมที่น่าสนใจให้ทำอีกมากมาย ได้แก่ ฐานการเรียนรู้สมุนไพร, ฐานการเรียนรู้ธนาคารต้นไม้, ฐานการเรียนรู้การทำไซดักทรัพย์
*********************************
ชุมชน “บ้านตระกวน” ตั้งอยู่ที่ ต.พิงพวย อ.ศรีรัตนะ จ.ศรีสะเกษ ห่างจากอำเภอศรีรัตนะ ประมาณ 7 กิโลเมตร สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ ชุมชนบ้านตระกวน 09-1834-1195 หรือที่การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สำนักงานสุรินทร์ โทร. 0-4451-4447 และ 0-4451-4448
สามารถส่งข้อมูลข่าวสารด้านการท่องเที่ยว-อาหารมาได้ที่ กอง บก.ข่าวท่องเที่ยว แฟกซ์ 0-2629-4467 อีเมล์ travel_astvmgr@hotmail.com หรือติดตามเพิ่มเติมได้ที่ Facebook :Travel @ Manager
จังหวัดศรีสะเกษ เป็นอีกหนึ่งทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ที่มีผู้คนจากหลากหลายวัฒนธรรมอยู่ร่วมกัน อย่างที่ ชุมชน “บ้านตระกวน” ชุมชนเรียบง่ายของชาวเขมร ที่มีวิถีชีวิตความเป็นอยู่ วัฒนธรรม และประเพณีมากมายให้นักท่องเที่ยวได้ไปสัมผัสกัน
ชุมชน “บ้านตระกวน” เป็นชุมชนเล็กๆ ใน อ.ศรีรัตนะ จ.ศรีสะเกษ ชาวบ้านที่นี่เป็นชาวอพยพจากหลายพื้นถิ่น แต่โดยมากจะเป็นชาวเขมร ซึ่งคำว่า “ตระกวน” ในภาษาเขมรจะหมายถึง “ผักบุ้ง” และเหตุที่ชุมชนนี้ชื่อบ้านตระกวนก็เพราะว่า แต่เดิมบริเวณนี้มีผักบุ้งขึ้นอยู่มากนั่นเอง
เมื่อมาถึงที่ชุมชนนี้แล้ว ชาวบ้านจะต้อนรับด้วยการแสดงพื้นบ้าน และการทำ “พิธีบายศรีสู่ขวัญ” ตามประเพณีดั้งเดิมเพื่อเรียกขวัญและสิ่งดีๆ ให้กับผู้ที่ได้มาเยือน โดยของที่ใช้ในพิธีจะมีทั้งพานบายศรีที่ชาวบ้านทำกันเอง ธูปเทียน กล้วย น้ำมะพร้าว ไข่ต้ม ข้าวสารและดอกไม้ สำหรับใช้โปรยหลังเสร็จพิธี
การทำพิธีบายศรีสู่ขวัญจะเริ่มด้วยให้ผู้มาเยือนการนั่งล้อมวงเข้ากับพานบายศรี และหันหน้าไปในทิศมงคล จากนั้นจะให้พ่อครูเป็นผู้สวดเรียกขวัญ เมื่อทำพิธีเสร็จแล้วจะโปรยข้าวสารและดอกไม้แทนการพรมน้ำมนต์ ต่อด้วยการกินของไหว้ทั้งกล้วย น้ำมะพร้าว และไข่ต้ม ชาวบ้านเชื่อว่าเป็นของมงคลกินแล้วจะดี
นอกจากนั้นลักษณะของ “ไข่ต้ม” ที่ปอกเปลือกออกมาแล้ว ยังให้ความหมายต่างๆ ได้ด้วย อย่างเช่น ถ้าเนื้อไข่ขาวหนาสวย จะแปลว่าจะมีแต่สิ่งดีๆ นั่นเอง สุดท้ายในพิธีบายศรีสู่ขวัญก็คือ ให้ผู้ใหญ่ในหมู่บ้านผูกข้อไม้ข้อมือให้พรเป็นสิริมงคล
จากนั้นก็จะมานั่งล้อมวงขันโตกกินข้าวกัน โดยอาหารที่ชาวบ้านนำมาให้กินนั้น ล้วนแต่เป็นอาหารพื้นบ้านที่ทำกินกันอยู่แล้ว เช่น แกงกล้วยไก่บ้าน น้ำพริกปลาร้าและผักพื้นบ้าน จิ้งหรีดทอด ผัดผักบุ้ง ลาบปลาดุก ส้มตำปลาร้า
ท้องอิ่มแล้วก็ถึงเวลาเดินเที่ยวชมในชุมชน ซึ่งมีหลากหลายให้ฐานด้วยกัน เริ่มที่ ฐานการเรียนรู้การเลี้ยงหม่อนไหมเพื่อนำมาทอผ้า, ฐานการเรียนรู้การทอเสื้อกก, ฐานการเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งจะได้เห็นทั้งขั้นตอนการเพาะเห็ด เลี้ยงจิ้งหรีด การทำบ่อปลาดุก ฯลฯ
ส่วนใครที่ชอบการกินต้องไม่พลาดกับฐานการเรียนรู้การทำขนมกลิ่นรัญจวน หรือที่หลายคนคุ้นหูว่า “ขนมตดหมา” ซึ่งจะนำผงเครือตดหมา มะพร้าวทึนทึกขูด น้ำตาลอ้อย น้ำตาลทรายแดง น้ำใบเตย เกลือ แป้งข้าวเหนียว ผสมให้เข้ากันและนำใบตองมาห่อ จากนั้นนำไปปิ้งให้สุกเป็นอันได้ที่
อีกหนึ่งฐานที่น่าสนใจก็คือ ฐานการเรียนรู้ปั้นดินให้เป็นดาว เรียกง่ายๆ ก็คือการทำเครื่องปั้นดินเผานั่นเอง ฐานนี้นักท่องเที่ยวสามารถลงมือปั้นกระถางได้ด้วยตนเอง จากนั้นชาวบ้านจะเผาให้ และเราสามารถนำกลับไปเป็นของที่ระลึกได้ด้วย
นอกจากฐานการเรียนรู้ที่ได้กล่าวไปแล้ว ที่ชุมชนบ้านตระกวนแห่งนี้ก็ยังมีกิจกรรมที่น่าสนใจให้ทำอีกมากมาย ได้แก่ ฐานการเรียนรู้สมุนไพร, ฐานการเรียนรู้ธนาคารต้นไม้, ฐานการเรียนรู้การทำไซดักทรัพย์
*********************************
ชุมชน “บ้านตระกวน” ตั้งอยู่ที่ ต.พิงพวย อ.ศรีรัตนะ จ.ศรีสะเกษ ห่างจากอำเภอศรีรัตนะ ประมาณ 7 กิโลเมตร สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ ชุมชนบ้านตระกวน 09-1834-1195 หรือที่การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สำนักงานสุรินทร์ โทร. 0-4451-4447 และ 0-4451-4448
สามารถส่งข้อมูลข่าวสารด้านการท่องเที่ยว-อาหารมาได้ที่ กอง บก.ข่าวท่องเที่ยว แฟกซ์ 0-2629-4467 อีเมล์ travel_astvmgr@hotmail.com หรือติดตามเพิ่มเติมได้ที่ Facebook :Travel @ Manager