Facebook :Travel @ Manager

“บ้านวังน้ำมอก” เป็นหมู่บ้านท่องเที่ยวเรียนรู้วัฒนธรรมวิถีชีวิตซึ่งตั้งอยู่ในพื้นที่ของตำบลพระพุทธบาท อำเภอศรีเชียงใหม่ จังหวัดหนองคาย เป็นหมู่บ้านในภาคอีสานแต่กลับมีทั้งวัฒนธรรมของล้านนาเชียงใหม่ และล้านช้างผสมผสานกัน
ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น? เนื่องจากอดีตดั้งเดิมพื้นที่บริเวณนี้เคยเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรล้านช้าง เป็นลักษณะของเมืองอกแตกที่มีแม่น้ำโขงไหลผ่านกลาง ในราว พ.ศ.2078 รัชสมัยพระเจ้าโพธิสารราชแห่งล้านช้าง ทรงสู่ขอเจ้าหญิงยอดคำทิพย์ พระราชธิดาของพระเจ้าเกษเกล้าแห่งล้านนาเชียงใหม่ ในครั้งนั้นมีข้าบริวารติดตามขบวนเจ้าสาวมาเป็นจำนวนมาก ทางล้านช้างก็แต่งขบวนขันหมากต้อนรับใหญ่โต มีหมากพร้าว (มะพร้าว) พืชมงคลสมรสใส่พานใหญ่ ดังนั้นเวียงจันฝั่งขวาจึงถูกเรียกว่า “เมืองพานพร้าว” สืบมา

ต่อมาพระโอรสของพระเจ้าโพธิสารราช หรือพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชซึ่งมีสิทธิในราชบัลลังก์ทั้งทางล้านช้างและล้านนา ได้ขึ้นครองราชย์ที่เชียงใหม่ในราวปี พ.ศ.2092 และต่อมาเมื่อพระราชบิดาสวรรคตจึงได้เสด็จกลับเวียงจันทน์และทรงอัญเชิญพระแก้วมรกตกลับมาเวียงจันทน์ด้วย โดยได้นำมาประดิษฐานชั่วคราวที่เมืองพานพร้าว
ในครั้งนั้นชาวเชียงใหม่ได้ตามมายังเมืองพานพร้าวอีกเป็นจำนวนมากเพื่อเป็น “ข้าพระแก้ว” หรือผู้ดูแลรักษาพระแก้วมรกต และต่อมาก็ได้ตั้งรกรากถิ่นฐานถาวรอยู่ที่นี่ โดยยังรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีแบบชาวล้านนาสืบต่อมา ทั้งสำเนียงการพูด การแต่งกาย อาหาร เป็นต้น
ชื่อของ “ศรีเชียงใหม่” จึงไม่เพียงพ้องกับเวียงเชียงใหม่ แต่ยังมีผู้คนและวัฒนธรรมที่มาหลอมรวมกับชาวเวียงจันทน์ จนกลายทำให้ศรีเชียงใหม่กลายเป็นเมืองสองล้านสองเวียง มีบรรยากาศของความเป็นล้านนาทั้งการแต่งกาย สำเนียงการพูด และยังรวมไปถึงการตกแต่งบรรยากาศสถานที่ด้วย

และหากอยากมาเรียนรู้วัฒนธรรมสองล้านสองเวียง ก็ต้องมาที่ “บ้านวังน้ำมอก” ซึ่งมีศูนย์ประสานงานท่องเที่ยวและวัฒนธรรมบ้านวังน้ำมอก ที่เป็นทั้งศูนย์กลางการเรียนรู้และมีโฮมสเตย์ให้นักท่องเที่ยวได้มาพักในบรรยากาศที่แสนชิล ด้วยความที่มีลำธารธรรมชาติ “ห้วยถ่อน” ไหลผ่านกลางหมู่บ้าน และด้วยพื้นที่ของหมู่บ้านที่เป็นแอ่งกะทะ มีน้ำ มีป่าไม้ มีความชื้น จนมีหมอกปกคลุมพื้นที่หมู่บ้านในยามเช้าอยู่เสมอๆ จนเป็นที่มาของชื่อ “วังน้ำหมอก” และเพี้ยนมาเป็น “วังน้ำมอก” อย่างในปัจจุบัน
มาเยือนโฮมสเตย์บ้านวังน้ำมอกครั้งนี้เราได้พักค้างที่นี่หนึ่งคืนเพื่อจะได้ทำกิจกรรมต่างๆ ได้ครบถ้วน โดยได้พบกับ พี่หน่อย ติณณภพ สุพันธะ ประธานศูนย์ประสานงานท่องเที่ยวและวัฒนธรรมบ้านวังน้ำมอก เป็นผู้มาต้อนรับพวกเราผู้มาเยือน พร้อมทั้งอธิบายถึงกิจกรรมต่างๆ ที่เราจะได้ร่วมทำกันในคอนเซ็ปต์ “กินข้าวเซาเฮือน เยือนถิ่นสองล้าน...สองเวียง”


เริ่มจากมาเรียนรู้การทำงานหัตถกรรมทำงานฝีมือต่างๆ ที่ยังมองเห็นความเป็นล้านนาผ่านงานหัตถกรรมนี้ นั่นก็คือการทำ “โคมไฟพาแลง” โคมไฟที่ใช้แขวนประดับตกแต่งสถานที่ โดยเฉพาะที่ต้อนรับแขกบ้านแขกเมือง อย่างเช่นที่บ้านวังน้ำมอกก็นำโคมไฟพาแลงมาประดับที่ศูนย์ประสานงานฯ ซึ่งเป็นสถานที่รวมตัวพูดคุยทำกิจกรรมในชุมชน โดยโคมไฟพาแลงนี้ประกอบไปด้วย “พาข้าวหย่อง” ซึ่งเป็นภาชนะใส่ข้าวตอกดอกไม้บูชาพระ ใช้ทำเป็นตัวโคม แล้วประดับตกแต่งด้วย “ผ้าฝ้ายลายดอกแก้วน้อย” ซึ่งเป็นลายขิดมงคล ตกแต่งด้วย “ดอกกฐิน” หรือฝ้ายที่มัดรวมกันหลายๆ เส้นแล้วนำมาตัดแต่งให้เป็นลูกกลมคล้ายดอกกระถิน ซึ่งพ้องเสียงกับคำว่ากฐิน ไว้ใช้ตกแต่งในงานบุญกฐินและบุญประเพณีต่างๆ นอกจากนั้นก็ยังมี “เส้นฝ้ายสายบุญ” หรือเส้นฝ้ายสายสิญจน์ห้อยเป็นพู่เพิ่มความงดงามและความเป็นสิริมงคลยิ่งขึ้นไปอีก


อีกหนึ่งกิจกรรมที่จะได้ทำเมื่อมาเยือนที่หมู่บ้านแห่งนี้ ก็คือการทดลองทำและชิมอาหารพื้นถิ่นของบ้านวังน้ำมอก ซึ่งการทำกับข้าวนี้ไม่เพียงได้ช่วยหั่นช่วยปรุงเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงการไปหาวัตถุดิบในหมู่บ้านมาทำอาหารด้วย เราได้ไปเก็บไข่ไก่จากเล้าไก่ในหมู่บ้าน เก็บผักที่จำเป็นต้องใช้ เดินแวะบ้านนู้นบ้านนี่ ได้บรรยากาศของการไปเยี่ยมบ้านญาติพี่น้อง ซึ่งนอกจากจะทำให้เรารู้ว่าที่มาของอาหารนั้นมาจากไหน เราก็ยังได้เดินเล่นชมบรรยากาศของหมู่บ้านไปพร้อมๆ กันด้วย

หลังจากนั้นก็มาช่วยกันทำกับข้าว ซึ่งก็มีเมนูท้องถิ่นให้เราได้ลองทำกันอย่าง “อั่วปลาดอกแค” และ “ไก่บั้ง” สำหรับอั่วปลานั้นก็เป็นการนำเนื้อปลามาปรุงรสกับเครื่องแกงและสมุนไพรต่างๆ จากนั้นนำไปยัดไส้ในดอกแค เสร็จแล้วนำไปนึ่ง ออกมาเป็นอั่วปลาหอมๆ เป็นเมนูคลีนที่ได้สุขภาพทั้งจากเนื้อปลา เครื่องสมุนไพร และดอกแคอีกด้วย ส่วนไก่บั้งนั้นเป็นเนื้อไก่หั่นเป็นชิ้นๆ แล้วนำไปหมักกับเครื่องปรุง จากนั้นเอาไปหลามในกระบอกไม้ไผ่ ได้เป็นไก่บั้งแบบท้องถิ่นรสชาติดี


ได้ทดลองทำอาหารและส่งต่อหน้าที่ให้แม่ครัวตัวจริงแล้ว พวกเราแยกย้ายกันเข้าที่พักเพื่อพักผ่อนและอาบน้ำรอออกมากินข้าวเย็น บางคนออกไปเดินถ่ายรูปบรรยากาศยามเย็น บ้านพักที่นี่มีหลายหลัง ตั้งอยู่ริมห้วย เป็นบ้านไม้ยกพื้นสูงพร้อมระเบียงหน้าบ้านให้นั่งเล่นพูดคุยกันได้ชิลๆ พร้อมทั้งชมบรรยากาศของห้วยถ่อนไปด้วย เสียดายที่ช่วงที่เรามาเป็นช่วงแล้งน้ำแห้ง ถ้าอยากมาตรงกับช่วงที่น้ำมากไหลแรงชุ่มฉ่ำต้องมาช่วงหน้าฝน ยิ่งปลายฝนต้นหนาวยิ่งอากาศดี ประมาณเดือนสิงหาคม-ตุลาคมนั่นเอง


จากนั้นเมื่อใกล้ถึงเวลาอาหารเย็น ก่อนจะมากินข้าวพวกเราไปเปลี่ยนชุดเป็นเครื่องแต่งกายท้องถิ่นแบบชาวศรีเชียงใหม่ให้เข้ากับบรรยากาศของสถานที่ และในยามพลบค่ำที่บริเวณศูนย์ประสานงานการท่องเที่ยวฯ ซึ่งตกแต่งด้วยโคมไฟพาแลงก็ได้เปิดไฟสีเหลืองอมส้มสว่างไสวไปทั่ว เป็นมุมถ่ายภาพที่สวยงามยิ่งนัก ทุกคนจึงไม่พลาดที่จะไปยืนแอ็คท่าเป็นชาวศรีเชียงใหม่ถ่ายรูปกันอย่างสนุกสนาน

จากนั้นจึงเป็นพิธีการสำคัญ เมื่อผู้เฒ่าผู้แก่ผู้หลักผู้ใหญ่ในหมู่บ้านมาทำพิธีบายศรีสู่ขวัญ เพื่อเป็นการต้อนรับนักท่องเที่ยวและเพื่อเป็นการอำนวยอวยพรให้ทุกๆ คนมีแต่ความสุขความเจริญ เมื่อสวดเรียกขวัญแล้วก็ผูกข้อต่อแขน หรือผูกสายสิญจน์สิริมงคลกันอย่างอบอุ่น แล้วจึงล้อมวงกินข้าวซึ่งมีอาหารที่พวกเราช่วยกันทำเมื่อช่วงเย็น ซึ่งก็อร่อยไปเสียทุกอย่าง ในระหว่างนั้นพี่หน่อยก็เล่าเรื่องราวของความเป็นมาของศรีเชียงใหม่และบ้านวังน้ำมอกให้เราฟังอย่างเพลิดเพลิน ก่อนจะแยกย้ายกันเข้านอนหลับฝันดี

ตื่นมาตอนรุ่งเช้าอย่างสดใส พร้อมที่จะออกไปเตรียมใส่บาตรพระสงฆ์ที่จะเดินบิณฑบาตผ่านหมู่บ้าน คนที่นี่ตักบาตรเฉพาะข้าวเหนียว โดยเตรียมกระติ๊บข้าวแล้วจกข้าวเหนียวเป็นก้อนเล็กๆ ใส่บาตรพระ ส่วนกับข้าวนั้นจะตามไปถวายที่วัดในภายหลัง


จากนั้นจึงกลับไปกินข้าวเช้ากัน ซึ่งก็มีทั้งข้าวจี่ร้อนๆ หอมๆ กาแฟหอมกรุ่นที่ปลูกเอง และกับข้าวง่ายๆ อีกสองสามอย่าง แล้วจึงถึงเวลาทำกิจกรรมสำคัญอีกอย่างหนึ่งนั่นก็คือการทำ “ขันคู่ปี” ซึ่งเป็นเหมือนการทำบุญสืบต่อดวงชะตา จะทำปีละครั้งเท่านั้น โดยขันคู่ปีจะประกอบด้วยขันหมากเบ็ง (พานพุ่ม) และคู่ปี หรือกรวยดอกไม้ ซึ่งมีเทียน 2 เล่มธูป 2 ดอก และดอกไม้ต่างๆ ตามชอบ โดยคู่ปีนี้จะทำกี่อันก็ตามแต่อายุของแต่ละคนแล้วบวกหนึ่ง เช่น อายุ 30 ปี ก็ต้องทำคู่ปี 31 อัน เป็นต้น
เราทำคู่ปีตามอายุแล้วนำมาเสียบไว้ในขันหมากเบ็ง อยากรู้ว่าใครอายุมากน้อยก็ดูจากจำนวนคู่ปีนี่แหละ

นอกจากนั้นดอกไม้แต่ละดอกที่อยู่ในขันคู่ปีก็แล้วแต่มีความหมายมงคล อาทิ ดอกดาวเรือง-ความรุ่งเรือง ดอกอัญชัญ-สุขภาพแข็งแรง ดอกบานบุรี-บ้านเมืองเจริญรุ่งเรือง ดอกพุด-สืบสานคุณค่าพุทธศาสนา ดอกเข็ม-เฉลียวฉลาดหลักแหลม ดอกโป๊ยเซียน-เทวดาคุ้มครอง ดอกมังกรคาบแก้ว-ทรัพย์สมบัติมากมาย ดอกเบญจมาศ-อำนาจบุญบารมี
จากนั้นก็แต่งตัวสวยงามตามแบบฉบับชามศรีเชียงใหม่อีกครั้งเพื่อนำขันคู่ปีไปที่วัดเทสรังสี เพื่อถวายแด่ "พระเจ้าล้านทอง" พระพุทธรูปคู่วัดศิลปะล้านนาผสมล้านช้าง และเพื่อให้พระสงฆ์ทำพิธีอีกครั้ง เราไหว้พระอธิษฐานขอสิ่งดีๆ ที่เป็นมงคล เป็นการปิดท้ายการมาท่องเที่ยววิถีชีวิตที่บ้านวังน้ำมอกอย่างน่าประทับใจ
สอบถามรายละเอียดเกี่ยวกับการท่องเที่ยว ที่กิน ที่พัก ในจังหวัดหนองคายได้ที่ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สำนักงานอุดรธานี (รับผิดชอบพื้นที่ อุดรธานี หนองคาย บึงกาฬ) โทร. 0 4232 5406-7
สามารถส่งข้อมูลข่าวสารด้านการท่องเที่ยว-อาหารมาได้ที่ กอง บก.ข่าวท่องเที่ยว แฟกซ์ 0-2629-4467 อีเมล์ travel_astvmgr@hotmail.com หรือติดตามเพิ่มเติมได้ที่ Facebook :Travel @ Manager
“บ้านวังน้ำมอก” เป็นหมู่บ้านท่องเที่ยวเรียนรู้วัฒนธรรมวิถีชีวิตซึ่งตั้งอยู่ในพื้นที่ของตำบลพระพุทธบาท อำเภอศรีเชียงใหม่ จังหวัดหนองคาย เป็นหมู่บ้านในภาคอีสานแต่กลับมีทั้งวัฒนธรรมของล้านนาเชียงใหม่ และล้านช้างผสมผสานกัน
ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น? เนื่องจากอดีตดั้งเดิมพื้นที่บริเวณนี้เคยเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรล้านช้าง เป็นลักษณะของเมืองอกแตกที่มีแม่น้ำโขงไหลผ่านกลาง ในราว พ.ศ.2078 รัชสมัยพระเจ้าโพธิสารราชแห่งล้านช้าง ทรงสู่ขอเจ้าหญิงยอดคำทิพย์ พระราชธิดาของพระเจ้าเกษเกล้าแห่งล้านนาเชียงใหม่ ในครั้งนั้นมีข้าบริวารติดตามขบวนเจ้าสาวมาเป็นจำนวนมาก ทางล้านช้างก็แต่งขบวนขันหมากต้อนรับใหญ่โต มีหมากพร้าว (มะพร้าว) พืชมงคลสมรสใส่พานใหญ่ ดังนั้นเวียงจันฝั่งขวาจึงถูกเรียกว่า “เมืองพานพร้าว” สืบมา
ต่อมาพระโอรสของพระเจ้าโพธิสารราช หรือพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชซึ่งมีสิทธิในราชบัลลังก์ทั้งทางล้านช้างและล้านนา ได้ขึ้นครองราชย์ที่เชียงใหม่ในราวปี พ.ศ.2092 และต่อมาเมื่อพระราชบิดาสวรรคตจึงได้เสด็จกลับเวียงจันทน์และทรงอัญเชิญพระแก้วมรกตกลับมาเวียงจันทน์ด้วย โดยได้นำมาประดิษฐานชั่วคราวที่เมืองพานพร้าว
ในครั้งนั้นชาวเชียงใหม่ได้ตามมายังเมืองพานพร้าวอีกเป็นจำนวนมากเพื่อเป็น “ข้าพระแก้ว” หรือผู้ดูแลรักษาพระแก้วมรกต และต่อมาก็ได้ตั้งรกรากถิ่นฐานถาวรอยู่ที่นี่ โดยยังรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีแบบชาวล้านนาสืบต่อมา ทั้งสำเนียงการพูด การแต่งกาย อาหาร เป็นต้น
ชื่อของ “ศรีเชียงใหม่” จึงไม่เพียงพ้องกับเวียงเชียงใหม่ แต่ยังมีผู้คนและวัฒนธรรมที่มาหลอมรวมกับชาวเวียงจันทน์ จนกลายทำให้ศรีเชียงใหม่กลายเป็นเมืองสองล้านสองเวียง มีบรรยากาศของความเป็นล้านนาทั้งการแต่งกาย สำเนียงการพูด และยังรวมไปถึงการตกแต่งบรรยากาศสถานที่ด้วย
และหากอยากมาเรียนรู้วัฒนธรรมสองล้านสองเวียง ก็ต้องมาที่ “บ้านวังน้ำมอก” ซึ่งมีศูนย์ประสานงานท่องเที่ยวและวัฒนธรรมบ้านวังน้ำมอก ที่เป็นทั้งศูนย์กลางการเรียนรู้และมีโฮมสเตย์ให้นักท่องเที่ยวได้มาพักในบรรยากาศที่แสนชิล ด้วยความที่มีลำธารธรรมชาติ “ห้วยถ่อน” ไหลผ่านกลางหมู่บ้าน และด้วยพื้นที่ของหมู่บ้านที่เป็นแอ่งกะทะ มีน้ำ มีป่าไม้ มีความชื้น จนมีหมอกปกคลุมพื้นที่หมู่บ้านในยามเช้าอยู่เสมอๆ จนเป็นที่มาของชื่อ “วังน้ำหมอก” และเพี้ยนมาเป็น “วังน้ำมอก” อย่างในปัจจุบัน
มาเยือนโฮมสเตย์บ้านวังน้ำมอกครั้งนี้เราได้พักค้างที่นี่หนึ่งคืนเพื่อจะได้ทำกิจกรรมต่างๆ ได้ครบถ้วน โดยได้พบกับ พี่หน่อย ติณณภพ สุพันธะ ประธานศูนย์ประสานงานท่องเที่ยวและวัฒนธรรมบ้านวังน้ำมอก เป็นผู้มาต้อนรับพวกเราผู้มาเยือน พร้อมทั้งอธิบายถึงกิจกรรมต่างๆ ที่เราจะได้ร่วมทำกันในคอนเซ็ปต์ “กินข้าวเซาเฮือน เยือนถิ่นสองล้าน...สองเวียง”
เริ่มจากมาเรียนรู้การทำงานหัตถกรรมทำงานฝีมือต่างๆ ที่ยังมองเห็นความเป็นล้านนาผ่านงานหัตถกรรมนี้ นั่นก็คือการทำ “โคมไฟพาแลง” โคมไฟที่ใช้แขวนประดับตกแต่งสถานที่ โดยเฉพาะที่ต้อนรับแขกบ้านแขกเมือง อย่างเช่นที่บ้านวังน้ำมอกก็นำโคมไฟพาแลงมาประดับที่ศูนย์ประสานงานฯ ซึ่งเป็นสถานที่รวมตัวพูดคุยทำกิจกรรมในชุมชน โดยโคมไฟพาแลงนี้ประกอบไปด้วย “พาข้าวหย่อง” ซึ่งเป็นภาชนะใส่ข้าวตอกดอกไม้บูชาพระ ใช้ทำเป็นตัวโคม แล้วประดับตกแต่งด้วย “ผ้าฝ้ายลายดอกแก้วน้อย” ซึ่งเป็นลายขิดมงคล ตกแต่งด้วย “ดอกกฐิน” หรือฝ้ายที่มัดรวมกันหลายๆ เส้นแล้วนำมาตัดแต่งให้เป็นลูกกลมคล้ายดอกกระถิน ซึ่งพ้องเสียงกับคำว่ากฐิน ไว้ใช้ตกแต่งในงานบุญกฐินและบุญประเพณีต่างๆ นอกจากนั้นก็ยังมี “เส้นฝ้ายสายบุญ” หรือเส้นฝ้ายสายสิญจน์ห้อยเป็นพู่เพิ่มความงดงามและความเป็นสิริมงคลยิ่งขึ้นไปอีก
อีกหนึ่งกิจกรรมที่จะได้ทำเมื่อมาเยือนที่หมู่บ้านแห่งนี้ ก็คือการทดลองทำและชิมอาหารพื้นถิ่นของบ้านวังน้ำมอก ซึ่งการทำกับข้าวนี้ไม่เพียงได้ช่วยหั่นช่วยปรุงเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงการไปหาวัตถุดิบในหมู่บ้านมาทำอาหารด้วย เราได้ไปเก็บไข่ไก่จากเล้าไก่ในหมู่บ้าน เก็บผักที่จำเป็นต้องใช้ เดินแวะบ้านนู้นบ้านนี่ ได้บรรยากาศของการไปเยี่ยมบ้านญาติพี่น้อง ซึ่งนอกจากจะทำให้เรารู้ว่าที่มาของอาหารนั้นมาจากไหน เราก็ยังได้เดินเล่นชมบรรยากาศของหมู่บ้านไปพร้อมๆ กันด้วย
หลังจากนั้นก็มาช่วยกันทำกับข้าว ซึ่งก็มีเมนูท้องถิ่นให้เราได้ลองทำกันอย่าง “อั่วปลาดอกแค” และ “ไก่บั้ง” สำหรับอั่วปลานั้นก็เป็นการนำเนื้อปลามาปรุงรสกับเครื่องแกงและสมุนไพรต่างๆ จากนั้นนำไปยัดไส้ในดอกแค เสร็จแล้วนำไปนึ่ง ออกมาเป็นอั่วปลาหอมๆ เป็นเมนูคลีนที่ได้สุขภาพทั้งจากเนื้อปลา เครื่องสมุนไพร และดอกแคอีกด้วย ส่วนไก่บั้งนั้นเป็นเนื้อไก่หั่นเป็นชิ้นๆ แล้วนำไปหมักกับเครื่องปรุง จากนั้นเอาไปหลามในกระบอกไม้ไผ่ ได้เป็นไก่บั้งแบบท้องถิ่นรสชาติดี
ได้ทดลองทำอาหารและส่งต่อหน้าที่ให้แม่ครัวตัวจริงแล้ว พวกเราแยกย้ายกันเข้าที่พักเพื่อพักผ่อนและอาบน้ำรอออกมากินข้าวเย็น บางคนออกไปเดินถ่ายรูปบรรยากาศยามเย็น บ้านพักที่นี่มีหลายหลัง ตั้งอยู่ริมห้วย เป็นบ้านไม้ยกพื้นสูงพร้อมระเบียงหน้าบ้านให้นั่งเล่นพูดคุยกันได้ชิลๆ พร้อมทั้งชมบรรยากาศของห้วยถ่อนไปด้วย เสียดายที่ช่วงที่เรามาเป็นช่วงแล้งน้ำแห้ง ถ้าอยากมาตรงกับช่วงที่น้ำมากไหลแรงชุ่มฉ่ำต้องมาช่วงหน้าฝน ยิ่งปลายฝนต้นหนาวยิ่งอากาศดี ประมาณเดือนสิงหาคม-ตุลาคมนั่นเอง
จากนั้นเมื่อใกล้ถึงเวลาอาหารเย็น ก่อนจะมากินข้าวพวกเราไปเปลี่ยนชุดเป็นเครื่องแต่งกายท้องถิ่นแบบชาวศรีเชียงใหม่ให้เข้ากับบรรยากาศของสถานที่ และในยามพลบค่ำที่บริเวณศูนย์ประสานงานการท่องเที่ยวฯ ซึ่งตกแต่งด้วยโคมไฟพาแลงก็ได้เปิดไฟสีเหลืองอมส้มสว่างไสวไปทั่ว เป็นมุมถ่ายภาพที่สวยงามยิ่งนัก ทุกคนจึงไม่พลาดที่จะไปยืนแอ็คท่าเป็นชาวศรีเชียงใหม่ถ่ายรูปกันอย่างสนุกสนาน
จากนั้นจึงเป็นพิธีการสำคัญ เมื่อผู้เฒ่าผู้แก่ผู้หลักผู้ใหญ่ในหมู่บ้านมาทำพิธีบายศรีสู่ขวัญ เพื่อเป็นการต้อนรับนักท่องเที่ยวและเพื่อเป็นการอำนวยอวยพรให้ทุกๆ คนมีแต่ความสุขความเจริญ เมื่อสวดเรียกขวัญแล้วก็ผูกข้อต่อแขน หรือผูกสายสิญจน์สิริมงคลกันอย่างอบอุ่น แล้วจึงล้อมวงกินข้าวซึ่งมีอาหารที่พวกเราช่วยกันทำเมื่อช่วงเย็น ซึ่งก็อร่อยไปเสียทุกอย่าง ในระหว่างนั้นพี่หน่อยก็เล่าเรื่องราวของความเป็นมาของศรีเชียงใหม่และบ้านวังน้ำมอกให้เราฟังอย่างเพลิดเพลิน ก่อนจะแยกย้ายกันเข้านอนหลับฝันดี
ตื่นมาตอนรุ่งเช้าอย่างสดใส พร้อมที่จะออกไปเตรียมใส่บาตรพระสงฆ์ที่จะเดินบิณฑบาตผ่านหมู่บ้าน คนที่นี่ตักบาตรเฉพาะข้าวเหนียว โดยเตรียมกระติ๊บข้าวแล้วจกข้าวเหนียวเป็นก้อนเล็กๆ ใส่บาตรพระ ส่วนกับข้าวนั้นจะตามไปถวายที่วัดในภายหลัง
จากนั้นจึงกลับไปกินข้าวเช้ากัน ซึ่งก็มีทั้งข้าวจี่ร้อนๆ หอมๆ กาแฟหอมกรุ่นที่ปลูกเอง และกับข้าวง่ายๆ อีกสองสามอย่าง แล้วจึงถึงเวลาทำกิจกรรมสำคัญอีกอย่างหนึ่งนั่นก็คือการทำ “ขันคู่ปี” ซึ่งเป็นเหมือนการทำบุญสืบต่อดวงชะตา จะทำปีละครั้งเท่านั้น โดยขันคู่ปีจะประกอบด้วยขันหมากเบ็ง (พานพุ่ม) และคู่ปี หรือกรวยดอกไม้ ซึ่งมีเทียน 2 เล่มธูป 2 ดอก และดอกไม้ต่างๆ ตามชอบ โดยคู่ปีนี้จะทำกี่อันก็ตามแต่อายุของแต่ละคนแล้วบวกหนึ่ง เช่น อายุ 30 ปี ก็ต้องทำคู่ปี 31 อัน เป็นต้น
เราทำคู่ปีตามอายุแล้วนำมาเสียบไว้ในขันหมากเบ็ง อยากรู้ว่าใครอายุมากน้อยก็ดูจากจำนวนคู่ปีนี่แหละ
นอกจากนั้นดอกไม้แต่ละดอกที่อยู่ในขันคู่ปีก็แล้วแต่มีความหมายมงคล อาทิ ดอกดาวเรือง-ความรุ่งเรือง ดอกอัญชัญ-สุขภาพแข็งแรง ดอกบานบุรี-บ้านเมืองเจริญรุ่งเรือง ดอกพุด-สืบสานคุณค่าพุทธศาสนา ดอกเข็ม-เฉลียวฉลาดหลักแหลม ดอกโป๊ยเซียน-เทวดาคุ้มครอง ดอกมังกรคาบแก้ว-ทรัพย์สมบัติมากมาย ดอกเบญจมาศ-อำนาจบุญบารมี
จากนั้นก็แต่งตัวสวยงามตามแบบฉบับชามศรีเชียงใหม่อีกครั้งเพื่อนำขันคู่ปีไปที่วัดเทสรังสี เพื่อถวายแด่ "พระเจ้าล้านทอง" พระพุทธรูปคู่วัดศิลปะล้านนาผสมล้านช้าง และเพื่อให้พระสงฆ์ทำพิธีอีกครั้ง เราไหว้พระอธิษฐานขอสิ่งดีๆ ที่เป็นมงคล เป็นการปิดท้ายการมาท่องเที่ยววิถีชีวิตที่บ้านวังน้ำมอกอย่างน่าประทับใจ
สอบถามรายละเอียดเกี่ยวกับการท่องเที่ยว ที่กิน ที่พัก ในจังหวัดหนองคายได้ที่ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สำนักงานอุดรธานี (รับผิดชอบพื้นที่ อุดรธานี หนองคาย บึงกาฬ) โทร. 0 4232 5406-7
สามารถส่งข้อมูลข่าวสารด้านการท่องเที่ยว-อาหารมาได้ที่ กอง บก.ข่าวท่องเที่ยว แฟกซ์ 0-2629-4467 อีเมล์ travel_astvmgr@hotmail.com หรือติดตามเพิ่มเติมได้ที่ Facebook :Travel @ Manager