Facebook :Travel @ Manager
ควายน้ำ ไม่ใช่สัตว์พันธุ์ใหม่ แต่เป็นควายเลี้ยงปกติที่มีโลก 2 ใบในการหากิน ถือเป็นการปรับตัวอันน่าทึ่งของเหล่าฝูงควายที่อยู่ในบริเวณทะเลน้อยและทะเลสาบสงขลา ซึ่งวันนี้พวกมันได้กลายอีกหนึ่งไฮไลท์ทางการท่องเที่ยวของ“ทะเลน้อย” สถานที่ท่องเที่ยวชื่อดังของจังหวัดพัทลุงไปแล้ว
3 ไฮไลท์แห่งทะเลน้อย
ทะเลน้อย ตั้งอยู่ใน อ.ควนขนุน จ.พัทลุง เป็นพื้นที่ที่มีความหลากหลายทางชีวภาพสูงมาก จนได้รับการประกาศให้เป็นเขตพื้นที่ชุ่มน้ำโลก หรือ “แรมซาร์ ไซด์” (Ramsar Site) แห่งแรกในเมืองไทย เมื่อวันที่ 13 ก.ย. 2541
สำหรับกิจกรรมท่องเที่ยวสำคัญในพื้นที่ทะเลน้อยก็คือการล่องเรือชมทะเลน้อย ซึ่งหากไปในช่วงปลายเดือนกุมภาพันธ์-เมษายน ก็จะได้สัมผัสกับความงดงามของ“ดอกบัวสาย” หรือ “ดอกบัวแดง” ที่พากันออกดอกบานสะพรั่งดุจดัง“ทะเลบัว”สีชมพูสดใสเต็มท้องน้ำ
ส่วนอีกหนึ่งไฮไลท์ที่จะได้พบเจอไปตลอดการล่องเรือก็คือ บรรดานกน้ำจำนวนมาก ทั้งนกประจำถิ่น นกอพยพ ที่มีรวมกันไม่ต่ำกว่า 150 ชนิด(บางข้อมูลระบุว่ามีมากถึง กว่า 287 ชนิด) และมีจำนวนไม่ต่ำกว่า 100,000 ตัว นำโดยนกที่หาชมได้ไม่ยาก อย่างเช่น นกอีโก้ง นกกาน้ำ นกยาง นกเป็ดผี นกเป็ดแดง นกนางแอ่น นกนางนวล นกเป็ดคับแค นกกระสา อีกา เหยี่ยว เป็นต้น
ขณะที่นกหายากและนกใกล้สูญพันธุ์ในทะเลน้อยนั้นก็มี นกกาบบัว นกช้อนหอย นกกระสานวล นกฟินฟุท นกอ้ายงั่ว นกปากซ่อมพง เป็นต้น
นอกจากนี้ทะเลน้อยยังมี“ควายน้ำ” เป็นอีกหนึ่งสิ่งชูโรงสำหรับผู้มาเยือนทะเลน้อยแห่งนี้ที่ไม่ควรพลาดด้วยประการทั้งปวง
รู้จักควายน้ำ
ควายน้ำ ไม่ใช่สัตว์พันธุ์ใหม่ แต่เป็นการปรับตัวอันน่าทึ่งของเหล่าฝูงควายที่อยู่ในบริเวณทะเลน้อยและทะเลสาบสงขลา โดยจากเดิมที่เป็น ควายเลี้ยงหรือควายบ้านธรรมดา ไม่ได้มีรูปร่างหน้าตาแปลกไปจากควายปกติแต่อย่างใด
แต่เหตุที่ถูกเรียกว่า“ควายน้ำ”นั้น ก็เนื่องมาจากมันเป็นความที่มีโลก 2 ใบในการดำรงชีวิตหากิน
โลกใบแรก เมื่อยามที่น้ำในทะเลน้อยลดต่ำไปจนถึงแห้งขอดในบางช่วง จนเกิดสันดอนพื้นดินโผล่ มีทุ่งหญ้าขึ้น เจ้าควายพวกนี้มันก็จะขึ้นมาและเล็มหญ้ากินบนบกเป็น “ควายบก”ใช้ชีวิตปกติเหมือนควายทั่ว ๆ ไป
ส่วนโลกใบที่สอง เมื่อถึงฤดูน้ำหลากน้ำในทะเลน้อยมีปริมาณน้ำสูง ท่วมทุ่งหญ้าท่วมแหล่งหากินของควาย ควายเหล่านี้จึงมีการปรับตัวเปลี่ยนมากินพืชน้ำอย่างสายบัว ใบบัว หรือสาหร่ายแทน ทำให้พวกมันได้รับการเรียกขานว่าเป็น “ควายน้ำ” ซึ่งถือเป็นอีกหนึ่งความอเมซิ่งของควายใจที่กลายเป็นหนึ่งในไฮไลท์ของผู้ที่มาเที่ยวชมทะเลน้อย
สำหรับควายน้ำเหล่านี้จะอยู่รวมกันเป็นฝูง ส่วนวิธีการหากินในน้ำของควายน้ำเหล่านี้คือ มันจะดำน้ำลงไปกัดกินพืชน้ำต่างๆ จึงทำให้ได้เห็นการดำน้ำของควายน้ำครั้งแล้วครั้งเล่าอย่างใกล้ชิด และควายน้ำเหล่านี้สามารถอยู่ในน้ำเพื่อใช้ชีวิตได้ทั้งวัน
หลายคนที่ได้เห็นอาจสงสัยว่ามันว่ายน้ำได้ด้วยหรือ อันที่จริงคือที่ทะเลน้อยแห่งนี้เป็นทะเลสาบที่มีระดับน้ำลึกเพียง 1-2 เมตรเท่านั้น ควายเหล่านี้เพียงเดินใต้น้ำไปเรื่อยๆ ได้เท่าที่พวกมันต้องการ
การได้มาชมชีวิตของควายน้ำที่ทะเลน้อยจึงถือเป็นประสบการณ์ที่น่าประทับใจในความน่ารักของเจ้าควายพวกนี้ อีกทั้งยังมีความน่าอะเมซิ่งในการสามารถปรับตัวเพื่อหากินให้เข้ากับสภาพแวดล้อมได้อย่างดีเยี่ยม
....................................................................................................
สามารถส่งข้อมูลข่าวสารด้านการท่องเที่ยว-อาหารมาได้ที่ กอง บก.ข่าวท่องเที่ยว แฟกซ์ 0-2629-4467 อีเมล์ travel_astvmgr@hotmail.com หรือติดตามเพิ่มเติมได้ที่ Facebook :Travel @ Manager
ควายน้ำ ไม่ใช่สัตว์พันธุ์ใหม่ แต่เป็นควายเลี้ยงปกติที่มีโลก 2 ใบในการหากิน ถือเป็นการปรับตัวอันน่าทึ่งของเหล่าฝูงควายที่อยู่ในบริเวณทะเลน้อยและทะเลสาบสงขลา ซึ่งวันนี้พวกมันได้กลายอีกหนึ่งไฮไลท์ทางการท่องเที่ยวของ“ทะเลน้อย” สถานที่ท่องเที่ยวชื่อดังของจังหวัดพัทลุงไปแล้ว
3 ไฮไลท์แห่งทะเลน้อย
ทะเลน้อย ตั้งอยู่ใน อ.ควนขนุน จ.พัทลุง เป็นพื้นที่ที่มีความหลากหลายทางชีวภาพสูงมาก จนได้รับการประกาศให้เป็นเขตพื้นที่ชุ่มน้ำโลก หรือ “แรมซาร์ ไซด์” (Ramsar Site) แห่งแรกในเมืองไทย เมื่อวันที่ 13 ก.ย. 2541
สำหรับกิจกรรมท่องเที่ยวสำคัญในพื้นที่ทะเลน้อยก็คือการล่องเรือชมทะเลน้อย ซึ่งหากไปในช่วงปลายเดือนกุมภาพันธ์-เมษายน ก็จะได้สัมผัสกับความงดงามของ“ดอกบัวสาย” หรือ “ดอกบัวแดง” ที่พากันออกดอกบานสะพรั่งดุจดัง“ทะเลบัว”สีชมพูสดใสเต็มท้องน้ำ
ส่วนอีกหนึ่งไฮไลท์ที่จะได้พบเจอไปตลอดการล่องเรือก็คือ บรรดานกน้ำจำนวนมาก ทั้งนกประจำถิ่น นกอพยพ ที่มีรวมกันไม่ต่ำกว่า 150 ชนิด(บางข้อมูลระบุว่ามีมากถึง กว่า 287 ชนิด) และมีจำนวนไม่ต่ำกว่า 100,000 ตัว นำโดยนกที่หาชมได้ไม่ยาก อย่างเช่น นกอีโก้ง นกกาน้ำ นกยาง นกเป็ดผี นกเป็ดแดง นกนางแอ่น นกนางนวล นกเป็ดคับแค นกกระสา อีกา เหยี่ยว เป็นต้น
ขณะที่นกหายากและนกใกล้สูญพันธุ์ในทะเลน้อยนั้นก็มี นกกาบบัว นกช้อนหอย นกกระสานวล นกฟินฟุท นกอ้ายงั่ว นกปากซ่อมพง เป็นต้น
นอกจากนี้ทะเลน้อยยังมี“ควายน้ำ” เป็นอีกหนึ่งสิ่งชูโรงสำหรับผู้มาเยือนทะเลน้อยแห่งนี้ที่ไม่ควรพลาดด้วยประการทั้งปวง
รู้จักควายน้ำ
ควายน้ำ ไม่ใช่สัตว์พันธุ์ใหม่ แต่เป็นการปรับตัวอันน่าทึ่งของเหล่าฝูงควายที่อยู่ในบริเวณทะเลน้อยและทะเลสาบสงขลา โดยจากเดิมที่เป็น ควายเลี้ยงหรือควายบ้านธรรมดา ไม่ได้มีรูปร่างหน้าตาแปลกไปจากควายปกติแต่อย่างใด
แต่เหตุที่ถูกเรียกว่า“ควายน้ำ”นั้น ก็เนื่องมาจากมันเป็นความที่มีโลก 2 ใบในการดำรงชีวิตหากิน
โลกใบแรก เมื่อยามที่น้ำในทะเลน้อยลดต่ำไปจนถึงแห้งขอดในบางช่วง จนเกิดสันดอนพื้นดินโผล่ มีทุ่งหญ้าขึ้น เจ้าควายพวกนี้มันก็จะขึ้นมาและเล็มหญ้ากินบนบกเป็น “ควายบก”ใช้ชีวิตปกติเหมือนควายทั่ว ๆ ไป
ส่วนโลกใบที่สอง เมื่อถึงฤดูน้ำหลากน้ำในทะเลน้อยมีปริมาณน้ำสูง ท่วมทุ่งหญ้าท่วมแหล่งหากินของควาย ควายเหล่านี้จึงมีการปรับตัวเปลี่ยนมากินพืชน้ำอย่างสายบัว ใบบัว หรือสาหร่ายแทน ทำให้พวกมันได้รับการเรียกขานว่าเป็น “ควายน้ำ” ซึ่งถือเป็นอีกหนึ่งความอเมซิ่งของควายใจที่กลายเป็นหนึ่งในไฮไลท์ของผู้ที่มาเที่ยวชมทะเลน้อย
สำหรับควายน้ำเหล่านี้จะอยู่รวมกันเป็นฝูง ส่วนวิธีการหากินในน้ำของควายน้ำเหล่านี้คือ มันจะดำน้ำลงไปกัดกินพืชน้ำต่างๆ จึงทำให้ได้เห็นการดำน้ำของควายน้ำครั้งแล้วครั้งเล่าอย่างใกล้ชิด และควายน้ำเหล่านี้สามารถอยู่ในน้ำเพื่อใช้ชีวิตได้ทั้งวัน
หลายคนที่ได้เห็นอาจสงสัยว่ามันว่ายน้ำได้ด้วยหรือ อันที่จริงคือที่ทะเลน้อยแห่งนี้เป็นทะเลสาบที่มีระดับน้ำลึกเพียง 1-2 เมตรเท่านั้น ควายเหล่านี้เพียงเดินใต้น้ำไปเรื่อยๆ ได้เท่าที่พวกมันต้องการ
การได้มาชมชีวิตของควายน้ำที่ทะเลน้อยจึงถือเป็นประสบการณ์ที่น่าประทับใจในความน่ารักของเจ้าควายพวกนี้ อีกทั้งยังมีความน่าอะเมซิ่งในการสามารถปรับตัวเพื่อหากินให้เข้ากับสภาพแวดล้อมได้อย่างดีเยี่ยม
....................................................................................................
สามารถส่งข้อมูลข่าวสารด้านการท่องเที่ยว-อาหารมาได้ที่ กอง บก.ข่าวท่องเที่ยว แฟกซ์ 0-2629-4467 อีเมล์ travel_astvmgr@hotmail.com หรือติดตามเพิ่มเติมได้ที่ Facebook :Travel @ Manager