Facebook :Travel @ Manager

“พิจิตร” แปลว่า “งาม” ถ้าพูดถึงเมืองพิจิตรก็จะมีความว่า “เมืองงาม” และเป็นเมืองที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ โดยเป็นเมืองที่ประสูติของพระเจ้าเสือ หรือสมเด็จพระศรีสรรเพชญ์ที่ 8 พระเจ้าแผ่นดินแห่งกรุงศรีอยุธยา และเป็นเมืองที่ให้กำเนิดนักปราชญ์ราชบัณฑิต คือ พระโหราธิบดี บิดาของศรีปราชญ์
ปัจจุบันเมืองพิจิตรมีการเดินทางที่สะดวก ทั้งสถานีขนส่ง สถานีรถไฟ ห้างสรรพสินค้า มีห้องพักหลากหลายแห่ง รวมทั้งยังมีแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติและวัฒนธรรม ตามแบบฉบับ จังหวัดพิจิตร เมืองเล็กแต่น่ารัก

หากใครที่ชื่นชอบสถานที่ท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ เมืองเล็กแห่งนี้ถือเป็นอีกหนึ่งจุดหมายการเดินทางที่น่าสนใจ เพราะมีเรื่องราวความเป็นมาในอดีตให้เรียนรู้มากมาย อย่างเช่นที่ “วัดโพธิ์ประทับช้าง” มีการเล่าขานตำนานพระเจ้าเสือไว้ว่า ในสมัยพระนารายณ์มหาราช พระองค์ได้เสด็จไปนมัสการพระพุทธชินราช ระหว่างทางนางสนมเกิดเจ็บครรภ์และคลอดทารกเพศชายตรงลานระหว่างต้นโพธิ์กับต้นมะเดื่อ ทรงให้นำรกเด็กน้อยไปฝังไว้ที่ใต้ต้นมะเดื่อ และทรงพระนามว่า “พระเจ้าดอกเดื่อ” ตามชื่อต้นไม้

ต่อมาในปีพ.ศ.2246 พระเจ้าดอกเดื่อได้ถูกปราบดาภิเษกขึ้นเป็นกษัตริย์ รู้จักกันต่อมาว่าพระเจ้าเสือ ได้สร้างวัดขึ้นข้างต้นโพธิ์ใหญ่และพระราชนามวัดนี้ว่า “วัดโพธิ์ประทับช้าง” โดยสร้างขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์ว่าบริเวณนี้เป็นสถานที่ประสูติของพระองค์
วัดโพธิ์ประทับช้าง ตั้งอยู่ที่ อ.โพธิ์ประทับช้าง ถือว่าเป็นโบราณสถานเก่าแก่ที่มีอายุมากกว่า 300 ปี โดยสร้างขึ้นประมาณปีพ.ศ. 2244 หรือในสมัยกรุงศรีอยุธยา ปัจจุบันได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถาน ถ้าใครได้มาเยี่ยมชมที่วัดนี้จะได้สัมผัสกับแหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ที่สวยงามและมีความน่าสนใจแก่การเรียนรู้

ภายในวัดโพธิ์ประทับช้างมีสิ่งสำคัญคือ พระอุโบสถ โครงสร้างก่ออิฐถือปูน มีกำแพงล้อมรอบ 2 ชั้น เป็นศิลปะแบบอยุธยาตอนปลาย ด้านหน้าพระอุโบสถมีเฉลียงยื่นออกมา แสดงให้เห็นว่าเป็นวัดหลวง มีการสร้างมุขเด็จไว้สำหรับพระมหากษัตริย์ยามเมื่อเสด็จประพาสมายังที่วัดแห่งนี้ก็จะออกมาพบปะประชาชนบริเวณมุขเด็จนั่นเอง

ก่อนจะเข้าไปชมภายในพระอุโบสถจะมองเห็นพระปรางค์ที่ยังหลงเหลืออยู่ให้เห็น มีลักษณะฐานสี่เหลี่ยมย่อมุม 28 ตั้งอยู่บนฐาน ทั้งสี่ด้านเจาะช่องรูปกลีบบัว ถัดขึ้นไปเป็นชุดฐานบัวลูกแก้วอกไก่ ส่วนเรือนธาตุจะรองรับส่วนยอดของพระปรางค์ที่ซ้อนลดหลั่นกันขึ้นไป

ด้านนอกพระอุโบสถประดิษฐานแท่นเสมาพร้อมใบเสมาทั้ง 8 ทิศ ใบเสมาจำหลักจากหินทรายเป็นตัวเหงากนกเปลว มีแถบเส้นขนาดใหญ่เท่าของเสมา ตกแต่งด้วยรูปขนมเปียกปูนบริเวณกลางใบเสมา ภายในพระอุโบสถมีพระพุทธรูปหลวงพ่อโต เป็นพระพุทธรูปปูนปั้นสมัยอยุธยา เป็นพระประธานประจำพระอุโบสถ

ถัดจากวัดโพธิ์ประทับช้างจะมี “ศาลสมเด็จพระเจ้าเสือ” ภายในประดิษฐานรูปปั้นของพระเจ้าเสือ ซึ่งเป็นที่เคารพบูชาของชาวอำเภอโพธิ์ประทับช้าง นอกจากนี้ทางอำเภอจะจัดงานประเพณีบวงสรวงดวงพระวิญญาณขึ้นในระหว่างวันที่ 10-12 กุมภาพันธ์ เป็นประจำทุกปี โดยมีการเล่นไก่ชน ชกมวย รำแม่ไม้มวยไทยถวายศาล เพื่อแสดงความจงรักภักดีต่อพระองค์


จากนั้นมาต่อกันที่ “พิพิธภัณฑ์บ้านดงโฮจิมินห์” ตั้งอยู่ที่ตำบลป่ามะคาบ อำเภอเมือง พิพิธภัณฑ์แห่งนี้มีการเล่าเรื่องราวเหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์ความสัมพันธ์ไทย-เวียดนาม เมื่อได้เข้ามาภายในจะได้สัมผัสกับพิพิธภัณฑ์ที่มีชีวิต และเรื่องราวของประธานโฮจิมินห์ บุคคลตัวอย่างของโลก ขณะที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย


พิพิธภัณฑ์แห่งนี้ เป็นอาคาร 2 ชั้น ภายในแบ่งการจัดแสดงออกเป็น 9 โซน ได้แก่ โซนสายสัมพันธ์ไทย – เวียดนาม โซนบ้านดงในอดีต โซนโฮจิมินห์ ผู้ปลดแอกเวียดนาม โซนภูมิศาสตร์บ้านดง จังหวัดพิจิตร โซนชุมชนบ้านดง โซนภารกิจลับที่บ้านดง โซนการเคลื่อนไหวในสยาม โซนบากบั่นปลดแอก โซนวีรบุรุษ รวมทั้งยังมีบ้านจำลองของประธานโฮจิมินห์ โดยตั้งอยู่ด้านนอกอาคารให้ได้ชมกันด้วย

ถ้าใครมาท่องเที่ยวที่เมืองพิจิตรแล้ว ก็อย่าลืมแวะมาสัมผัสกับวิถีชุมชนท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ที่ย่านเก่าวังกรด ตั้งอยู่ริมแม่น้ำน่าน ไม่ไกลจากตัวเมืองพิจิตร เดิมชื่อวันวังกลมและเปลี่ยนเป็นวังกรด ตามชื่อสถานีรถไฟ ตลาดวังกรดเป็นตลาดที่เกิดจากการเป็นชุมทางของการเดินทางที่สำคัญ ในปีพ.ศ.2451 ได้มีการสร้างตลาดขึ้นเป็นชุมชนค้าขายโดยหลวงประเทืองคดี จากนั้นวังกรดจึงกลายเป็นศูนย์กลางการค้าแหล่งใหญ่ของจังหวัดพิจิตร

หลังจากที่ได้มาสัมผัสชุมชนโบราณวังกรดกันแล้ว จากนั้นไปเยี่ยมชม “บ้านหลวงประเทืองคดี” เป็นบ้านตึกสองชั้นหลังแรกของชุมชนวังกรด ตัวอาคารเก่าแก่ที่มีอายุยาวนานกว่า 80 ปี ผู้เป็นเจ้าของคือ หลวงประเทืองคดี อดีตคหบดีที่รับราชการเป็นอัยการ ภายในบ้านหลังนี้มีข้าวของเครื่องใช้ในสมัยก่อน อาทิ ชุดเก้าอี้ โต๊ะกินข้าว ตู้หนังสือ กรอบรูปเรียงรายอยู่เหนือผนังห้อง ปัจจุบันทายาทของบ้านหลวงประเทืองคดีได้ยกบ้านหลังนี้ให้เป็นสมบัติของเทศบาลวังกรด และเปิดให้นักท่องเที่ยวได้เข้ามาชม

สำหรับใครที่ชื่นชอบงานสถาปัตยกรรม จะต้องไม่พลาดมาชม “สถานีรถไฟพิจิตร” เป็นสถานีรถไฟที่สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 เป็นรูปแบบสถาปัตยกรรมนีโอคลาสสิค รูปแบบตัวอาคารสง่างาม มั่นคงและแข็งแรง เป็นอาคารก่ออิฐฉาบปูน 2 ชั้น หลังคาทรงจั่ว ไม่มีชายคาและกันสาด มีการตกแต่งอาคารด้วยลวดปูน โค้งบริเวณเหนือบานประตู หน้าต่าง ชายคา และหน้าจั่ว เน้นการใช้สอยในเชิงโครงสร้าง มี 2 แห่งในประเทศไทย คือที่สถานีรถไฟพิจิตร และสถานีรถไฟกรุงเทพฯ


จากนั้นมาชมอีกหนึ่งวัดที่มีความสำคัญของจังหวัดพิจิตร ก็คือ “วัดท่าหลวง” อยู่ริมฝั่งแม่น้ำน่านฝั่งตะวันตก ใกล้ศาลากลางจังหวัด วัดนี้สร้างขึ้นประมาณ พ.ศ. 2388 ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ภายในพระอุโบสถเป็นที่ประดิษฐานหลวงพ่อเพชร ซึ่งเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยสมัยเชียงแสน หล่อด้วยทองสัมฤทธิ์ มีพุทธลักษณะงดงามมาก เป็นพระพุทธรูปสำคัญคู่เมืองพิจิตร

หลวงพ่อเพชร เป็นพระพุทธรูปมีพระพุทธลักษณะที่งดงาม เมื่อใครได้ไปเที่ยวเมืองพิจิตรจะต้องไปนมัสการหลวงพ่อเพชร เพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ตนเอง และเป็นพระพุทธรูปที่มีประชาชนนับถืออย่างมาก โดยมีความเชื่อกันว่าเมื่อใครมีเรื่องเดือดร้อน เช่น ของหาย หรือมีความทุกข์ยาก จะบนบานศาลกล่าวขออำนาจหลวงพ่อเพชรให้ช่วยปกป้องรักษา หรือปัดเป่าความทุกข์ยากให้หมดไป เมื่อผู้นั้นพ้นทุกข์ก็จะนำหัวหมู เป็ด ไก่ ขนม นำมาถวายแด่หลวงพ่อเพชรที่พระอุโบสถ

อีกหนึ่งเอกลักษณ์เมื่อมาที่เมืองพิจิตร ก็คือมาชมการทอผ้าที่มีลวดลายเฉพาะของจังหวัดนี้ โดยแวะมาที่ “ผ้าทอห้วยแก้ว” อ.บึงนาราง เป็นชุมชนที่อพยพมาจากทางภาคอีสานในหลายจังหวัด ลายเอกลักษณ์ของจังหวัดก็คือ “ผ้าทอลายดอกบุนนาค” ซึ่งมีสีเขียวจัดว่าเป็นลวดลายเฉพาะซึ่งจะไม่เหมือนจังหวัดอื่น จะสังเกตจากเทคนิคในการมัดลายผ้าและเนื้อผ้า ซึ่งลายจะมีดอกลอยและเห็นได้ชัดเจน
สอบถามข้อมูลการท่องเที่ยวจังหวัดพิจิตรได้ที่ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานนครสวรรค์ (ดูแลนครสวรรค์ พิจิตร) โทร. 0-5622-1811-2
Facebook :Travel @ Manager
“พิจิตร” แปลว่า “งาม” ถ้าพูดถึงเมืองพิจิตรก็จะมีความว่า “เมืองงาม” และเป็นเมืองที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ โดยเป็นเมืองที่ประสูติของพระเจ้าเสือ หรือสมเด็จพระศรีสรรเพชญ์ที่ 8 พระเจ้าแผ่นดินแห่งกรุงศรีอยุธยา และเป็นเมืองที่ให้กำเนิดนักปราชญ์ราชบัณฑิต คือ พระโหราธิบดี บิดาของศรีปราชญ์
ปัจจุบันเมืองพิจิตรมีการเดินทางที่สะดวก ทั้งสถานีขนส่ง สถานีรถไฟ ห้างสรรพสินค้า มีห้องพักหลากหลายแห่ง รวมทั้งยังมีแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติและวัฒนธรรม ตามแบบฉบับ จังหวัดพิจิตร เมืองเล็กแต่น่ารัก
หากใครที่ชื่นชอบสถานที่ท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ เมืองเล็กแห่งนี้ถือเป็นอีกหนึ่งจุดหมายการเดินทางที่น่าสนใจ เพราะมีเรื่องราวความเป็นมาในอดีตให้เรียนรู้มากมาย อย่างเช่นที่ “วัดโพธิ์ประทับช้าง” มีการเล่าขานตำนานพระเจ้าเสือไว้ว่า ในสมัยพระนารายณ์มหาราช พระองค์ได้เสด็จไปนมัสการพระพุทธชินราช ระหว่างทางนางสนมเกิดเจ็บครรภ์และคลอดทารกเพศชายตรงลานระหว่างต้นโพธิ์กับต้นมะเดื่อ ทรงให้นำรกเด็กน้อยไปฝังไว้ที่ใต้ต้นมะเดื่อ และทรงพระนามว่า “พระเจ้าดอกเดื่อ” ตามชื่อต้นไม้
ต่อมาในปีพ.ศ.2246 พระเจ้าดอกเดื่อได้ถูกปราบดาภิเษกขึ้นเป็นกษัตริย์ รู้จักกันต่อมาว่าพระเจ้าเสือ ได้สร้างวัดขึ้นข้างต้นโพธิ์ใหญ่และพระราชนามวัดนี้ว่า “วัดโพธิ์ประทับช้าง” โดยสร้างขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์ว่าบริเวณนี้เป็นสถานที่ประสูติของพระองค์
วัดโพธิ์ประทับช้าง ตั้งอยู่ที่ อ.โพธิ์ประทับช้าง ถือว่าเป็นโบราณสถานเก่าแก่ที่มีอายุมากกว่า 300 ปี โดยสร้างขึ้นประมาณปีพ.ศ. 2244 หรือในสมัยกรุงศรีอยุธยา ปัจจุบันได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถาน ถ้าใครได้มาเยี่ยมชมที่วัดนี้จะได้สัมผัสกับแหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ที่สวยงามและมีความน่าสนใจแก่การเรียนรู้
ภายในวัดโพธิ์ประทับช้างมีสิ่งสำคัญคือ พระอุโบสถ โครงสร้างก่ออิฐถือปูน มีกำแพงล้อมรอบ 2 ชั้น เป็นศิลปะแบบอยุธยาตอนปลาย ด้านหน้าพระอุโบสถมีเฉลียงยื่นออกมา แสดงให้เห็นว่าเป็นวัดหลวง มีการสร้างมุขเด็จไว้สำหรับพระมหากษัตริย์ยามเมื่อเสด็จประพาสมายังที่วัดแห่งนี้ก็จะออกมาพบปะประชาชนบริเวณมุขเด็จนั่นเอง
ก่อนจะเข้าไปชมภายในพระอุโบสถจะมองเห็นพระปรางค์ที่ยังหลงเหลืออยู่ให้เห็น มีลักษณะฐานสี่เหลี่ยมย่อมุม 28 ตั้งอยู่บนฐาน ทั้งสี่ด้านเจาะช่องรูปกลีบบัว ถัดขึ้นไปเป็นชุดฐานบัวลูกแก้วอกไก่ ส่วนเรือนธาตุจะรองรับส่วนยอดของพระปรางค์ที่ซ้อนลดหลั่นกันขึ้นไป
ด้านนอกพระอุโบสถประดิษฐานแท่นเสมาพร้อมใบเสมาทั้ง 8 ทิศ ใบเสมาจำหลักจากหินทรายเป็นตัวเหงากนกเปลว มีแถบเส้นขนาดใหญ่เท่าของเสมา ตกแต่งด้วยรูปขนมเปียกปูนบริเวณกลางใบเสมา ภายในพระอุโบสถมีพระพุทธรูปหลวงพ่อโต เป็นพระพุทธรูปปูนปั้นสมัยอยุธยา เป็นพระประธานประจำพระอุโบสถ
ถัดจากวัดโพธิ์ประทับช้างจะมี “ศาลสมเด็จพระเจ้าเสือ” ภายในประดิษฐานรูปปั้นของพระเจ้าเสือ ซึ่งเป็นที่เคารพบูชาของชาวอำเภอโพธิ์ประทับช้าง นอกจากนี้ทางอำเภอจะจัดงานประเพณีบวงสรวงดวงพระวิญญาณขึ้นในระหว่างวันที่ 10-12 กุมภาพันธ์ เป็นประจำทุกปี โดยมีการเล่นไก่ชน ชกมวย รำแม่ไม้มวยไทยถวายศาล เพื่อแสดงความจงรักภักดีต่อพระองค์
จากนั้นมาต่อกันที่ “พิพิธภัณฑ์บ้านดงโฮจิมินห์” ตั้งอยู่ที่ตำบลป่ามะคาบ อำเภอเมือง พิพิธภัณฑ์แห่งนี้มีการเล่าเรื่องราวเหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์ความสัมพันธ์ไทย-เวียดนาม เมื่อได้เข้ามาภายในจะได้สัมผัสกับพิพิธภัณฑ์ที่มีชีวิต และเรื่องราวของประธานโฮจิมินห์ บุคคลตัวอย่างของโลก ขณะที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย
พิพิธภัณฑ์แห่งนี้ เป็นอาคาร 2 ชั้น ภายในแบ่งการจัดแสดงออกเป็น 9 โซน ได้แก่ โซนสายสัมพันธ์ไทย – เวียดนาม โซนบ้านดงในอดีต โซนโฮจิมินห์ ผู้ปลดแอกเวียดนาม โซนภูมิศาสตร์บ้านดง จังหวัดพิจิตร โซนชุมชนบ้านดง โซนภารกิจลับที่บ้านดง โซนการเคลื่อนไหวในสยาม โซนบากบั่นปลดแอก โซนวีรบุรุษ รวมทั้งยังมีบ้านจำลองของประธานโฮจิมินห์ โดยตั้งอยู่ด้านนอกอาคารให้ได้ชมกันด้วย
ถ้าใครมาท่องเที่ยวที่เมืองพิจิตรแล้ว ก็อย่าลืมแวะมาสัมผัสกับวิถีชุมชนท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ที่ย่านเก่าวังกรด ตั้งอยู่ริมแม่น้ำน่าน ไม่ไกลจากตัวเมืองพิจิตร เดิมชื่อวันวังกลมและเปลี่ยนเป็นวังกรด ตามชื่อสถานีรถไฟ ตลาดวังกรดเป็นตลาดที่เกิดจากการเป็นชุมทางของการเดินทางที่สำคัญ ในปีพ.ศ.2451 ได้มีการสร้างตลาดขึ้นเป็นชุมชนค้าขายโดยหลวงประเทืองคดี จากนั้นวังกรดจึงกลายเป็นศูนย์กลางการค้าแหล่งใหญ่ของจังหวัดพิจิตร
หลังจากที่ได้มาสัมผัสชุมชนโบราณวังกรดกันแล้ว จากนั้นไปเยี่ยมชม “บ้านหลวงประเทืองคดี” เป็นบ้านตึกสองชั้นหลังแรกของชุมชนวังกรด ตัวอาคารเก่าแก่ที่มีอายุยาวนานกว่า 80 ปี ผู้เป็นเจ้าของคือ หลวงประเทืองคดี อดีตคหบดีที่รับราชการเป็นอัยการ ภายในบ้านหลังนี้มีข้าวของเครื่องใช้ในสมัยก่อน อาทิ ชุดเก้าอี้ โต๊ะกินข้าว ตู้หนังสือ กรอบรูปเรียงรายอยู่เหนือผนังห้อง ปัจจุบันทายาทของบ้านหลวงประเทืองคดีได้ยกบ้านหลังนี้ให้เป็นสมบัติของเทศบาลวังกรด และเปิดให้นักท่องเที่ยวได้เข้ามาชม
สำหรับใครที่ชื่นชอบงานสถาปัตยกรรม จะต้องไม่พลาดมาชม “สถานีรถไฟพิจิตร” เป็นสถานีรถไฟที่สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 เป็นรูปแบบสถาปัตยกรรมนีโอคลาสสิค รูปแบบตัวอาคารสง่างาม มั่นคงและแข็งแรง เป็นอาคารก่ออิฐฉาบปูน 2 ชั้น หลังคาทรงจั่ว ไม่มีชายคาและกันสาด มีการตกแต่งอาคารด้วยลวดปูน โค้งบริเวณเหนือบานประตู หน้าต่าง ชายคา และหน้าจั่ว เน้นการใช้สอยในเชิงโครงสร้าง มี 2 แห่งในประเทศไทย คือที่สถานีรถไฟพิจิตร และสถานีรถไฟกรุงเทพฯ
จากนั้นมาชมอีกหนึ่งวัดที่มีความสำคัญของจังหวัดพิจิตร ก็คือ “วัดท่าหลวง” อยู่ริมฝั่งแม่น้ำน่านฝั่งตะวันตก ใกล้ศาลากลางจังหวัด วัดนี้สร้างขึ้นประมาณ พ.ศ. 2388 ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ภายในพระอุโบสถเป็นที่ประดิษฐานหลวงพ่อเพชร ซึ่งเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยสมัยเชียงแสน หล่อด้วยทองสัมฤทธิ์ มีพุทธลักษณะงดงามมาก เป็นพระพุทธรูปสำคัญคู่เมืองพิจิตร
หลวงพ่อเพชร เป็นพระพุทธรูปมีพระพุทธลักษณะที่งดงาม เมื่อใครได้ไปเที่ยวเมืองพิจิตรจะต้องไปนมัสการหลวงพ่อเพชร เพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ตนเอง และเป็นพระพุทธรูปที่มีประชาชนนับถืออย่างมาก โดยมีความเชื่อกันว่าเมื่อใครมีเรื่องเดือดร้อน เช่น ของหาย หรือมีความทุกข์ยาก จะบนบานศาลกล่าวขออำนาจหลวงพ่อเพชรให้ช่วยปกป้องรักษา หรือปัดเป่าความทุกข์ยากให้หมดไป เมื่อผู้นั้นพ้นทุกข์ก็จะนำหัวหมู เป็ด ไก่ ขนม นำมาถวายแด่หลวงพ่อเพชรที่พระอุโบสถ
อีกหนึ่งเอกลักษณ์เมื่อมาที่เมืองพิจิตร ก็คือมาชมการทอผ้าที่มีลวดลายเฉพาะของจังหวัดนี้ โดยแวะมาที่ “ผ้าทอห้วยแก้ว” อ.บึงนาราง เป็นชุมชนที่อพยพมาจากทางภาคอีสานในหลายจังหวัด ลายเอกลักษณ์ของจังหวัดก็คือ “ผ้าทอลายดอกบุนนาค” ซึ่งมีสีเขียวจัดว่าเป็นลวดลายเฉพาะซึ่งจะไม่เหมือนจังหวัดอื่น จะสังเกตจากเทคนิคในการมัดลายผ้าและเนื้อผ้า ซึ่งลายจะมีดอกลอยและเห็นได้ชัดเจน
สอบถามข้อมูลการท่องเที่ยวจังหวัดพิจิตรได้ที่ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานนครสวรรค์ (ดูแลนครสวรรค์ พิจิตร) โทร. 0-5622-1811-2
Facebook :Travel @ Manager