Facebook :Travel @ Manager

“เมืองงามสามวัฒนธรรม ศูนย์ฮาลาลเลิศล้ำ ชนน้อมนำศรัทธา ถิ่นธรรมชาติงามตา ปัตตานีสันติสุขแดนใต้” คือคำขวัญประจำจังหวัดปัตตานี ที่ “ตะลอนเที่ยว” จะชวนไปในครั้งนี้นั่นเอง
“ปัตตานี” เป็นจังหวัดที่อยู่ 1 ใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ ที่มีแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจอยู่มากมาย ทั้งทางด้านวัฒนธรรม ศาสนา ภาษา และวิถีชีวิตความเป็นอยู่ รวมถึงมีธรรมชาติอันงดงาม ถือเป็นอีกหนึ่งมนต์เสน่ห์ที่น่าสัมผัสของปลายด้ามขวานไทย

สถานที่แรกที่มีความน่าสนใจของเมืองปัตตานีก็คือ “มัสยิดกลางปัตตานี” นับเป็นมัสยิดที่สวยงามและใหญ่ที่สุดในประเทศไทย เป็นศูนย์รวมจิตใจ ความศรัทธา และเป็นสถานที่ประกอบศาสนกิจของผู้นับถือศาสนาอิสลามในภาคใต้ที่สำคัญที่สุดแห่งหนึ่งของเมืองไทย มัสยิดแห่งนี้มีประวัติความเป็นมาว่าได้สร้างขึ้นในปี 2497 และมีพิธีเปิดอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2506 โดยมีต้นแบบมาจากทัชมาฮาล มียอดโดมสีเขียวขนาดใหญ่กลางอาคาร และโดมขนาดเล็กลงไปล้อมรอบ 4 ด้าน ด้านข้างมีหออะซาน และมีสระน้ำเบื้องหน้าส่องสะท้อนแสงเงาของมัสยิดอย่างงดงาม


อีกหนึ่งจุดที่ได้รับความสนใจเป็นอย่างมากในเมืองปัตตานีก็คือ “ศาลเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว” หรือ “ศาลเจ้าเล่งจูเกียง” ที่นี่เป็นศาลเจ้าเก่าแก่คู่บ้านคู่เมืองปัตตานีมาแต่โบราณ ภายในประดิษฐานรูปแกะสลักของเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว เจ้าแม่ทับทิม และองค์พระอื่นๆ ในทุกๆ วันก็จะมีประชาชนเข้ามาสักการะขอพรองค์เจ้าแม่และองค์พระต่างๆ กันอยู่ไม่ขาดสาย
ตำนานของเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยวที่เล่าขานต่อกันมานั้นมีหลากหลาย แต่ที่คุ้นเคยกันที่สุดก็คือเรื่องที่เจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยวเมื่อครั้งยังอยู่ที่เมืองจีน ได้ออกมาตามหาพี่ชายที่หลบหนีการถูกใส่ร้ายมาตั้งรกรากอยู่ที่ปัตตานี ด้วยความกตัญญู เจ้าแม่จึงออกติดตามหาพี่ชายเพื่อให้เดินทางกลับไปเยี่ยมมารดาที่ล้มป่วย และได้ลั่นวาจาไว้ว่า หากพี่ชายไม่ยอมกลับมาหามารดา ตนก็จะไม่ขอมีชีวิตอยู่อีกต่อไป

ทางด้านของพี่ชายนั้น เมื่อเข้ามาตั้งรกรากอยู่ที่เมืองปัตตานี ก็ได้รับมอบหมายให้ก่อสร้างมัสยิดกรือเซะ จึงไม่สามารถกลับไปเมืองจีนเพื่อเยี่ยมเยียนมารดาได้ ทำให้ลิ้มกอเหนี่ยวเกิดความโกรธและน้อยใจในตัวพี่ชาย พยายามอ้อนวอนพี่ชายให้เห็นแก่มารดาก็ไม่สำเร็จ จึงได้สาบแช่งไว้ว่า “แม้พี่ชายจะมีความสามารถในการก่อสร้างเพียงใดก็ตาม แต่ขอให้สร้างมัสยิดนี้ไม่สำเร็จ” และแอบไปผูกคอตายที่ต้นมะม่วงหิมพานต์ด้านข้างมัสยิดที่กำลังก่อสร้าง
ภายหลังจากเสียชีวิต จึงได้มีการจัดการศพตามประเพณี พร้อมกับสร้างฮวงซุ้ยขึ้นที่หมู่บ้านกรือเซะ เล่ากันว่า ลิ้มกอเหนี่ยว ได้สำแดงความศักดิ์สิทธิ์ให้เป็นที่ประจักษ์แก่ชาวเรือและผู้สัญจรไปมาในแถบนั้นเสมอ จนเป็นที่เลืองลือไปทั่ว เป็นเหตุให้ประชาชนที่เลื่อมใสศรัทธาได้นำกิ่งต้นมะม่วงหิมพานต์ที่นางใช้ผูกคอตายมาแกะสลักเป็นรูปบูชาไว้สักการะและสร้างศาลให้เป็นที่ประดิษฐานรูปบูชา พร้อมกับขนานนามว่า“ศาลเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว”

ปรากฏว่าเมื่อตั้งศาลแล้ว ก็มีผู้คนหลั่งไหลไปกราบไหว้กันมากมาย ใครมีเรื่องเดือดร้อนก็ไปบนบานให้เจ้าแม่ช่วย บ้างก็กราบไหว้ขอให้ทำมาค้าขายเจริญ แล้วก็บังเกิดผลตามความปรารถนาแทบทุกคน ทำให้ความศักดิ์สิทธิ์ของเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยวเลื่องลือไปยังเมืองต่างๆ
ต่อมา พระจีนคณานุรักษ์ (ตันจูล่าย ต้นสกุล “คณานุรักษ์”) เห็นว่าศาลเจ้าแม่ตั้งอยู่ที่บ้านกรือเซะ ไม่สะดวกในการประกอบพิธี จึงทำการบูรณะศาลเจ้าซูก๋ง บนถนนอาเนาะรู ในตัวเมืองปัตตานี และได้อัญเชิญองค์เจ้าแม่ลิ้มก่อเหนี่ยวมาประดิษฐาน ภายหลังมีชื่อว่า “ศาลเจ้าเล่งจูเกียง” (ศาลเทพเจ้าแห่งความเมตตา) หรือที่ชาวบ้านเรียกกันว่า “ศาลเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว” มากระทั่งทุกวันนี้

ใครที่อยากรู้เรื่องราวประวัติความเป็นของเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยวอย่างละเอียด สามารถเดินไปชมกันได้ที่ “หอนิทรรศน์สานอารยธรรม จังหวัดปัตตานี” หรือ “พิพิธภัณฑ์เจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว” ที่ตั้งอยู่ติดกับศาลเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว

พิพิธภัณฑ์เจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว เป็นอาคารสถาปัตยกรรมแบบจีน ด้านหน้าโดดเด่นไปด้วยประติมากรรม 18 อรหันต์จากเมืองจีนที่ช่างแกะสลักได้อย่างมีชีวิตชีวา ภายในมีการแบ่งออกเป็น 9 โซนหลัก จัดแสดงเรื่องราวน่าสนใจต่าง ๆได้แก่ ส่วนจัดแสดงประวัติปัตตานี และชุมชนจีน(จุดเปลี่ยนแห่งยุคสมัย), เรื่องราวประวัติพระหมอเชงจุ้ยโจวซือกง, เรื่องราวการเดินทางข้ามแผ่นดิน, เรื่องราวประวัติเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว, ส่วนจัดแสดงเกี้ยว และงานพิธีสมโภชเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว, ส่วนจัดแสดงมัลติมีเดีย 1 หรือห้องบรรยาย, ห้องคนรักปัตตานี, ห้องรำลึกมหาราชา และ ห้องตลาดจีนเมืองปัตตานี

พิพิธภัณฑ์เจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว ถือเป็นพิพิธภัณฑ์ที่มีการจัดแสดงที่ดีและน่าสนใจมากอีกแห่งหนึ่ง หากใครที่มาสักการะองค์เจ้าลิ้มกอเหนี่ยวแล้ว ก็ไม่ควรพลาดการเข้าไปเที่ยวชมในพิพิธภัณฑ์แห่งนี้

จากนั้นชวนไปชมอีกหนึ่งมัสยิดที่มีความเก่าแก่ก็คือ “มัสยิดกรือเซะ” หรือ “มัสยิดปินตูกรือบัน” ตั้งอยู่ที่จังหวัดปัตตานี กรือเซะ มีความหมายว่า ทรายสีขาวใสดั่งไข่มุกเนื่องจากหาดทรายขาวสะอาด ในสมัยก่อนชาวอาหรับแล่นเรือมาถึงที่ชายหาดแห่งนี้ ชาวอาหรับเรียกชื่อชายหาดแห่งนี้ว่า ลุ ลุ ซึ่งหมายถึง ไขมุก ในภาษามลายู ปัจจุบันพื้นที่แห่งนี้ถูกเรียกว่า ตันหยงลูโล๊ะ และมีชื่ออย่างเป็นทางการคือ มัสยิดสุลต่านมูซัฟฟาร์ ซาห์ เป็นมัสยิดแห่งแรกในอาเซียนที่ถูกสร้างขึ้นด้วยอิฐแดง ที่ผลิตขึ้นในหมู่บ้านกะมิยอ จังหวัดปัตตานี

ปัจจุบันมัสยิดกรือเซะ เป็นมัสยิดโบราณอายุกว่า 300 ปี มีลักษณะโดดเด่นด้วยสถาปัตยกรรมเชิงช่างผสมผสานศิลปะแห่งอาหรับ ด้วยรูปทรงโค้งแหลมเสาทรงกลม สร้างขึ้นในสมัยที่สุลต่านมูซัฟฟาร์ ซาร์ เป็นเจ้าเมืองปัตตานี (ปี 2073-2107) และเมื่อปี 2478 กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานและมีการบูรณะในปี 2500 และปี 2525 เพื่อให้มัสยิดกรือเซะเป็นโบราณสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ของเมืองปัตตานี


จากการขุดทางโบราณคดี พบว่า ฐานมัสยิดกรือเซะมีแผนผังเป็นรูปสีเหลี่ยมผืนผ้า มีขนาดกว้าง 15 เมตร ยาว 29.60 เมตร มีลักษณะเป็นฐานแอ่นโค้งสำเภาที่เป็นขุดฐานบัวลูกแก้วสร้างด้วยอิฐถือปูน ส่วนตัวอาคารมัสยิดชั้นเดียวขนาด 5 ห้อง ก่ออิฐถือปูน ตัวอาคารหันหน้าไปทางทิศตะวันออก หน้าอาคารเป็นลานอิฐยกพื้น ภายในอาคารมีระเบียงล้อมรอบห้องประกอบพิธีทางศาสนา ประตูและหน้าต่างเป็นทรงโค้งแหลมและโค้งมนรองรับน้ำหนักเครื่องบนด้วยเสากลมขนาดใหญ่

ในช่วงยามเย็นชาวปัตตานีก็จะมานั่งผ่อนคลายหรือออกกำลังกายกันบริเวณสวนสมเด็จเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนากรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ หรือสวนแม่ สวนลูก ม.6 ต.รูสะมิแล อ.เมืองปัตตานี ใกล้กันนั้นจะมี “สกายวอล์ค” (Skywalk) หรือ “ปัตตานี แอนเวนเจอร์ พาร์ค” (Pattani Adventure Park) ตั้งอยู่ภายในบริเวณนั้น

สกายวอล์ค สวนแม่ ลูก เป็นทางเดินชมวิวทิวทัศน์ ชมธรรมชาติเหนือยอดไม้ป่าชายเลน มีความสูง 12 เมตร เป็นสะพานโครงสร้างเหล็ก มีความยาว 400 เมตร มีบันไดขึ้น-ลง 2 จุด มีจุดพัก 5 จุด ในเส้นทาง เมื่อขึ้นไปเดินบนนั้นจะได้สัมผัสกับวิวทิวทัศน์ของผืนป่าชายเลนบริเวณสวนแม่ ลูก และวิวทิวทัศน์ของท้องทะเลอ่าวปัตตานี(ฝั่งอ่าวไทย)และแหลมตาชี ทางฝั่งทิศตะวันตก ส่วนเมื่อมองไปทางฝั่งทิศตะวันออกจะเห็นวิวทิวทัศน์ของเขาทรายขาวหรือเขารังเกียบ


นอกจากนี้ในเส้นทางสกายวอล์ค ยังมีเส้นทางเดินเชื่อมกับเส้นทางศึกษาธรรมชาติป่าชายเลนเบื้องล่าง(รวมระยะทางประมาณ 1 กม.กว่าๆ) ซึ่งนักท่องเที่ยวสามารถเดินเที่ยวชมวิวทิวทัศน์ในมุมสูงเชื่อมโยงกับการเดินศึกษาธรรมชาติที่ผืนป่าชายเลนในเบื้องล่างได้ อีกด้วย

อีกหนึ่งเส้นทางท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ที่น่าสนใจของปัตตานีอีกแห่งหนึ่งก็คือ “ชุมชนบางปู” โดยที่นี่จะมีกิจกรรมการล่องเรือชมอุโมงค์ต้นโกงกางที่เลื่องชื่อ ชมวิถีชาวประมงพร้อมกับวัฒนธรรมของชาวอิสลามกับชุมชนบางปู สัมผัสกับความร่มรื่นของธรรมชาติและความมหัศจรรย์ของป่าชายเลนนี้ ทั้งกิจกรรมเก็บหอย ล่องชมวิถีชีวิตประมงพื้นบ้านในพื้นที่มุ่งหน้าไปที่ลานโกงกาง ซึ่งเป็นลานไม้ไผ่สร้างเพื่อเป็นจุดชมวิวภายในอ่าวปัตตานี

สามารถส่งข้อมูลข่าวสารด้านการท่องเที่ยว-อาหารมาได้ที่ กอง บก.ข่าวท่องเที่ยว แฟกซ์ 0-2629-4467 อีเมล์ travel_astvmgr@hotmail.com หรือติดตามเพิ่มเติมได้ที่ Facebook :Travel @ Manager
“เมืองงามสามวัฒนธรรม ศูนย์ฮาลาลเลิศล้ำ ชนน้อมนำศรัทธา ถิ่นธรรมชาติงามตา ปัตตานีสันติสุขแดนใต้” คือคำขวัญประจำจังหวัดปัตตานี ที่ “ตะลอนเที่ยว” จะชวนไปในครั้งนี้นั่นเอง
“ปัตตานี” เป็นจังหวัดที่อยู่ 1 ใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ ที่มีแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจอยู่มากมาย ทั้งทางด้านวัฒนธรรม ศาสนา ภาษา และวิถีชีวิตความเป็นอยู่ รวมถึงมีธรรมชาติอันงดงาม ถือเป็นอีกหนึ่งมนต์เสน่ห์ที่น่าสัมผัสของปลายด้ามขวานไทย
สถานที่แรกที่มีความน่าสนใจของเมืองปัตตานีก็คือ “มัสยิดกลางปัตตานี” นับเป็นมัสยิดที่สวยงามและใหญ่ที่สุดในประเทศไทย เป็นศูนย์รวมจิตใจ ความศรัทธา และเป็นสถานที่ประกอบศาสนกิจของผู้นับถือศาสนาอิสลามในภาคใต้ที่สำคัญที่สุดแห่งหนึ่งของเมืองไทย มัสยิดแห่งนี้มีประวัติความเป็นมาว่าได้สร้างขึ้นในปี 2497 และมีพิธีเปิดอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2506 โดยมีต้นแบบมาจากทัชมาฮาล มียอดโดมสีเขียวขนาดใหญ่กลางอาคาร และโดมขนาดเล็กลงไปล้อมรอบ 4 ด้าน ด้านข้างมีหออะซาน และมีสระน้ำเบื้องหน้าส่องสะท้อนแสงเงาของมัสยิดอย่างงดงาม
อีกหนึ่งจุดที่ได้รับความสนใจเป็นอย่างมากในเมืองปัตตานีก็คือ “ศาลเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว” หรือ “ศาลเจ้าเล่งจูเกียง” ที่นี่เป็นศาลเจ้าเก่าแก่คู่บ้านคู่เมืองปัตตานีมาแต่โบราณ ภายในประดิษฐานรูปแกะสลักของเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว เจ้าแม่ทับทิม และองค์พระอื่นๆ ในทุกๆ วันก็จะมีประชาชนเข้ามาสักการะขอพรองค์เจ้าแม่และองค์พระต่างๆ กันอยู่ไม่ขาดสาย
ตำนานของเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยวที่เล่าขานต่อกันมานั้นมีหลากหลาย แต่ที่คุ้นเคยกันที่สุดก็คือเรื่องที่เจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยวเมื่อครั้งยังอยู่ที่เมืองจีน ได้ออกมาตามหาพี่ชายที่หลบหนีการถูกใส่ร้ายมาตั้งรกรากอยู่ที่ปัตตานี ด้วยความกตัญญู เจ้าแม่จึงออกติดตามหาพี่ชายเพื่อให้เดินทางกลับไปเยี่ยมมารดาที่ล้มป่วย และได้ลั่นวาจาไว้ว่า หากพี่ชายไม่ยอมกลับมาหามารดา ตนก็จะไม่ขอมีชีวิตอยู่อีกต่อไป
ทางด้านของพี่ชายนั้น เมื่อเข้ามาตั้งรกรากอยู่ที่เมืองปัตตานี ก็ได้รับมอบหมายให้ก่อสร้างมัสยิดกรือเซะ จึงไม่สามารถกลับไปเมืองจีนเพื่อเยี่ยมเยียนมารดาได้ ทำให้ลิ้มกอเหนี่ยวเกิดความโกรธและน้อยใจในตัวพี่ชาย พยายามอ้อนวอนพี่ชายให้เห็นแก่มารดาก็ไม่สำเร็จ จึงได้สาบแช่งไว้ว่า “แม้พี่ชายจะมีความสามารถในการก่อสร้างเพียงใดก็ตาม แต่ขอให้สร้างมัสยิดนี้ไม่สำเร็จ” และแอบไปผูกคอตายที่ต้นมะม่วงหิมพานต์ด้านข้างมัสยิดที่กำลังก่อสร้าง
ภายหลังจากเสียชีวิต จึงได้มีการจัดการศพตามประเพณี พร้อมกับสร้างฮวงซุ้ยขึ้นที่หมู่บ้านกรือเซะ เล่ากันว่า ลิ้มกอเหนี่ยว ได้สำแดงความศักดิ์สิทธิ์ให้เป็นที่ประจักษ์แก่ชาวเรือและผู้สัญจรไปมาในแถบนั้นเสมอ จนเป็นที่เลืองลือไปทั่ว เป็นเหตุให้ประชาชนที่เลื่อมใสศรัทธาได้นำกิ่งต้นมะม่วงหิมพานต์ที่นางใช้ผูกคอตายมาแกะสลักเป็นรูปบูชาไว้สักการะและสร้างศาลให้เป็นที่ประดิษฐานรูปบูชา พร้อมกับขนานนามว่า“ศาลเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว”
ปรากฏว่าเมื่อตั้งศาลแล้ว ก็มีผู้คนหลั่งไหลไปกราบไหว้กันมากมาย ใครมีเรื่องเดือดร้อนก็ไปบนบานให้เจ้าแม่ช่วย บ้างก็กราบไหว้ขอให้ทำมาค้าขายเจริญ แล้วก็บังเกิดผลตามความปรารถนาแทบทุกคน ทำให้ความศักดิ์สิทธิ์ของเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยวเลื่องลือไปยังเมืองต่างๆ
ต่อมา พระจีนคณานุรักษ์ (ตันจูล่าย ต้นสกุล “คณานุรักษ์”) เห็นว่าศาลเจ้าแม่ตั้งอยู่ที่บ้านกรือเซะ ไม่สะดวกในการประกอบพิธี จึงทำการบูรณะศาลเจ้าซูก๋ง บนถนนอาเนาะรู ในตัวเมืองปัตตานี และได้อัญเชิญองค์เจ้าแม่ลิ้มก่อเหนี่ยวมาประดิษฐาน ภายหลังมีชื่อว่า “ศาลเจ้าเล่งจูเกียง” (ศาลเทพเจ้าแห่งความเมตตา) หรือที่ชาวบ้านเรียกกันว่า “ศาลเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว” มากระทั่งทุกวันนี้
ใครที่อยากรู้เรื่องราวประวัติความเป็นของเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยวอย่างละเอียด สามารถเดินไปชมกันได้ที่ “หอนิทรรศน์สานอารยธรรม จังหวัดปัตตานี” หรือ “พิพิธภัณฑ์เจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว” ที่ตั้งอยู่ติดกับศาลเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว
พิพิธภัณฑ์เจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว เป็นอาคารสถาปัตยกรรมแบบจีน ด้านหน้าโดดเด่นไปด้วยประติมากรรม 18 อรหันต์จากเมืองจีนที่ช่างแกะสลักได้อย่างมีชีวิตชีวา ภายในมีการแบ่งออกเป็น 9 โซนหลัก จัดแสดงเรื่องราวน่าสนใจต่าง ๆได้แก่ ส่วนจัดแสดงประวัติปัตตานี และชุมชนจีน(จุดเปลี่ยนแห่งยุคสมัย), เรื่องราวประวัติพระหมอเชงจุ้ยโจวซือกง, เรื่องราวการเดินทางข้ามแผ่นดิน, เรื่องราวประวัติเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว, ส่วนจัดแสดงเกี้ยว และงานพิธีสมโภชเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว, ส่วนจัดแสดงมัลติมีเดีย 1 หรือห้องบรรยาย, ห้องคนรักปัตตานี, ห้องรำลึกมหาราชา และ ห้องตลาดจีนเมืองปัตตานี
พิพิธภัณฑ์เจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว ถือเป็นพิพิธภัณฑ์ที่มีการจัดแสดงที่ดีและน่าสนใจมากอีกแห่งหนึ่ง หากใครที่มาสักการะองค์เจ้าลิ้มกอเหนี่ยวแล้ว ก็ไม่ควรพลาดการเข้าไปเที่ยวชมในพิพิธภัณฑ์แห่งนี้
จากนั้นชวนไปชมอีกหนึ่งมัสยิดที่มีความเก่าแก่ก็คือ “มัสยิดกรือเซะ” หรือ “มัสยิดปินตูกรือบัน” ตั้งอยู่ที่จังหวัดปัตตานี กรือเซะ มีความหมายว่า ทรายสีขาวใสดั่งไข่มุกเนื่องจากหาดทรายขาวสะอาด ในสมัยก่อนชาวอาหรับแล่นเรือมาถึงที่ชายหาดแห่งนี้ ชาวอาหรับเรียกชื่อชายหาดแห่งนี้ว่า ลุ ลุ ซึ่งหมายถึง ไขมุก ในภาษามลายู ปัจจุบันพื้นที่แห่งนี้ถูกเรียกว่า ตันหยงลูโล๊ะ และมีชื่ออย่างเป็นทางการคือ มัสยิดสุลต่านมูซัฟฟาร์ ซาห์ เป็นมัสยิดแห่งแรกในอาเซียนที่ถูกสร้างขึ้นด้วยอิฐแดง ที่ผลิตขึ้นในหมู่บ้านกะมิยอ จังหวัดปัตตานี
ปัจจุบันมัสยิดกรือเซะ เป็นมัสยิดโบราณอายุกว่า 300 ปี มีลักษณะโดดเด่นด้วยสถาปัตยกรรมเชิงช่างผสมผสานศิลปะแห่งอาหรับ ด้วยรูปทรงโค้งแหลมเสาทรงกลม สร้างขึ้นในสมัยที่สุลต่านมูซัฟฟาร์ ซาร์ เป็นเจ้าเมืองปัตตานี (ปี 2073-2107) และเมื่อปี 2478 กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานและมีการบูรณะในปี 2500 และปี 2525 เพื่อให้มัสยิดกรือเซะเป็นโบราณสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ของเมืองปัตตานี
จากการขุดทางโบราณคดี พบว่า ฐานมัสยิดกรือเซะมีแผนผังเป็นรูปสีเหลี่ยมผืนผ้า มีขนาดกว้าง 15 เมตร ยาว 29.60 เมตร มีลักษณะเป็นฐานแอ่นโค้งสำเภาที่เป็นขุดฐานบัวลูกแก้วสร้างด้วยอิฐถือปูน ส่วนตัวอาคารมัสยิดชั้นเดียวขนาด 5 ห้อง ก่ออิฐถือปูน ตัวอาคารหันหน้าไปทางทิศตะวันออก หน้าอาคารเป็นลานอิฐยกพื้น ภายในอาคารมีระเบียงล้อมรอบห้องประกอบพิธีทางศาสนา ประตูและหน้าต่างเป็นทรงโค้งแหลมและโค้งมนรองรับน้ำหนักเครื่องบนด้วยเสากลมขนาดใหญ่
ในช่วงยามเย็นชาวปัตตานีก็จะมานั่งผ่อนคลายหรือออกกำลังกายกันบริเวณสวนสมเด็จเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนากรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ หรือสวนแม่ สวนลูก ม.6 ต.รูสะมิแล อ.เมืองปัตตานี ใกล้กันนั้นจะมี “สกายวอล์ค” (Skywalk) หรือ “ปัตตานี แอนเวนเจอร์ พาร์ค” (Pattani Adventure Park) ตั้งอยู่ภายในบริเวณนั้น
สกายวอล์ค สวนแม่ ลูก เป็นทางเดินชมวิวทิวทัศน์ ชมธรรมชาติเหนือยอดไม้ป่าชายเลน มีความสูง 12 เมตร เป็นสะพานโครงสร้างเหล็ก มีความยาว 400 เมตร มีบันไดขึ้น-ลง 2 จุด มีจุดพัก 5 จุด ในเส้นทาง เมื่อขึ้นไปเดินบนนั้นจะได้สัมผัสกับวิวทิวทัศน์ของผืนป่าชายเลนบริเวณสวนแม่ ลูก และวิวทิวทัศน์ของท้องทะเลอ่าวปัตตานี(ฝั่งอ่าวไทย)และแหลมตาชี ทางฝั่งทิศตะวันตก ส่วนเมื่อมองไปทางฝั่งทิศตะวันออกจะเห็นวิวทิวทัศน์ของเขาทรายขาวหรือเขารังเกียบ
นอกจากนี้ในเส้นทางสกายวอล์ค ยังมีเส้นทางเดินเชื่อมกับเส้นทางศึกษาธรรมชาติป่าชายเลนเบื้องล่าง(รวมระยะทางประมาณ 1 กม.กว่าๆ) ซึ่งนักท่องเที่ยวสามารถเดินเที่ยวชมวิวทิวทัศน์ในมุมสูงเชื่อมโยงกับการเดินศึกษาธรรมชาติที่ผืนป่าชายเลนในเบื้องล่างได้ อีกด้วย
อีกหนึ่งเส้นทางท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ที่น่าสนใจของปัตตานีอีกแห่งหนึ่งก็คือ “ชุมชนบางปู” โดยที่นี่จะมีกิจกรรมการล่องเรือชมอุโมงค์ต้นโกงกางที่เลื่องชื่อ ชมวิถีชาวประมงพร้อมกับวัฒนธรรมของชาวอิสลามกับชุมชนบางปู สัมผัสกับความร่มรื่นของธรรมชาติและความมหัศจรรย์ของป่าชายเลนนี้ ทั้งกิจกรรมเก็บหอย ล่องชมวิถีชีวิตประมงพื้นบ้านในพื้นที่มุ่งหน้าไปที่ลานโกงกาง ซึ่งเป็นลานไม้ไผ่สร้างเพื่อเป็นจุดชมวิวภายในอ่าวปัตตานี
สามารถส่งข้อมูลข่าวสารด้านการท่องเที่ยว-อาหารมาได้ที่ กอง บก.ข่าวท่องเที่ยว แฟกซ์ 0-2629-4467 อีเมล์ travel_astvmgr@hotmail.com หรือติดตามเพิ่มเติมได้ที่ Facebook :Travel @ Manager