Facebook :Travel @ Manager

10 ธันวาคม ของทุกปี เป็น“วันรัฐธรรมนูญ” ซึ่งเป็นอีกหนึ่งวันสำคัญทางประวัติศาสตร์ของชาติไทย
วันรัฐธรรมนูญในประเทศไทย หรือ วันพระราชทานรัฐธรรมนูญ เป็นวันที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว หรือ รัชกาลที่ 7 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2475 เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475 เป็นรัฐธรรมนูญถาวรฉบับแรกของประเทศไทย เพื่อเป็นหลักในการปกครองของประเทศให้แก่ประชาชนชาวไทย หลังจากได้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์เดิม มาเป็นระบอบประชาธิปไตย ที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญอันเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ
สำหรับสัญลักษณ์แห่งการเปลี่ยนแปลงการปกครองของประเทศไทย และสัญลักษณ์ของวันรัฐธรรมนูญนั้นก็คือ “อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย” ที่ตั้งอยู่ใจกลางวงเวียนระหว่างถนนราชดำเนินกับถนนดินสอ นับเป็นสถานที่ที่มีความสวยงามและสำคัญแห่งหนึ่งในประเทศไทย

อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย สร้างขึ้นในสมัยของรัฐบาล จอมพล ป. พิบูลสงคราม เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2482 หลังจากเจ็ดปีให้หลังจากที่มีเปลี่ยนแปลงการปกครอง
อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย เป็นผลงานการออกแบบของหม่อมหลวงปุ่ม มาลากุล ซึ่งได้ออกแบบโดยการนำสถาปัตยกรรมแบบไทยมาผสมผสานเข้าด้วยกัน และควบคุมการก่อสร้างจนแล้วเสร็จโดยศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี บิดาแห่งศิลปะร่วมสมัยของไทย โดยประติมากรรมที่ถูกสร้างขึ้นในสถานที่แห่งนี้นั้น ทุกสัดส่วนล้วนมีความหมายนัยแฝงทั้งสิ้น

อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยเป็นรูปหล่อลอยตัว ทุกสิ่งที่ออกแบบนั้นล้วนมีความหมายในเชิงสัญลักษณ์ทั้งสิ้น โดยเริ่มจาก ปีกทั้ง สี่ด้าน แสดงถึงบุคคลในคณะราษฎร ประกอบด้วย ทหาร ตำรวจ พ่อค้า และประชาชน แต่ละปีกนั้นจะมีความสูงจากแท่นพื้น 24 เมตร หมายถึง วันที่เปลี่ยนแปลงการปกครอง ตรงกับวันที่ 24 มิถุนายน 2475 ส่วนฐานของปีกทั้ง 4 ด้านจะมีรูปปั้นลายนูนสูง เน้นถึงเรื่องราวความเป็นมาของคณะราษฎร
ตรงกลางเป็นสมุดไทยที่สื่อถึงรัฐธรรมนูญประดิษฐานบนพานแว่นฟ้า ตัวอนุสาวรีย์มีความสูง 3 เมตร หนัก 3 ตัน หมายถึง เดือน 3 หรือ เดือนมิถุนายน นับตามแบบปฏิทินไทย ซึ่งตรงกับเดือนที่มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองในสมัยนั้น นอกจากนั้นยังรวมหมายถึง อำนาจอธิปไตย ทั้ง 3 ภายใต้รัฐธรรมนูญ ได้แก่ นิติบัญญัติ บริหาร ตุลาการ อีกด้วย

ส่วนกระบอกปืนใหญ่จำนวน 75 กระบอก ที่ปากกระบอกปืนฝังลงดิน ล้อมรอบอนุสาวรีย์มีโซ่ร้อยเรียงไว้ หมายถึง ปีที่ได้ทำการเปลี่ยนแปลง โดยเลข 75 นั้นเป็นเลขท้ายสองตัวหลัง ของปี พ.ศ. 2475 ส่วนโซ่ ที่ร้อยเรียงไว้ ก็หมายความถึง ความสามัคคีการร่วมมือร่วมใจพร้อมเพรียงของคณะปฏิวัติ ส่วนพระขรรค์ที่ประตูทั้ง 6 เล่ม นั้นก็หมายถึง หลักการบริหารประเทศ 6 ประการของคณะราษฎร นั่นเอง
นอกจากนั้นอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยเป็นในรูปแบบสัญลักษณ์ทางการเมืองแล้ว ในด้านทางคมนาคมยังถูกใช้เป็นหลักกิโลเมตรที่ 0 ของกรุงเทพมหานคร เป็นจุดเริ่มต้นนับระยะทางไปยัง จังหวัด อำเภอ หรือสถานที่ต่างๆ ในประเทศไทยอีกด้วย

ตลอดเวลาที่ผ่านมาอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยจึงกลายเป็นพื้นที่สำคัญของการชุมนุมทางการเมือง แสดงออกเชิงสัญลักษณ์เพื่อเรียกร้องประชาธิปไตยอยู่หลายครั้ง อาทิ การชุมนุมของประชาชนและนักศึกษาใน เหตุการณ์ 14 ตุลา, การชุมนุมของประชาชนในเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ ,การชุมนุมของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ พ.ศ. 2553, การชุมนุมคัดค้านร่างพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมฯ พ.ศ. 2556 เป็นต้น
อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย จึงนับว่าเป็นพื้นที่ประวัติศาสตร์และมรดกที่ทรงคุณค่าแห่งหนึ่งในประเทศไทย

....................................................................................................
สามารถส่งข้อมูลข่าวสารด้านการท่องเที่ยว-อาหารมาได้ที่ กอง บก.ข่าวท่องเที่ยว แฟกซ์ 0-2629-4467 อีเมล์ travel_astvmgr@hotmail.com หรือติดตามเพิ่มเติมได้ที่ Facebook :Travel @ Manager
10 ธันวาคม ของทุกปี เป็น“วันรัฐธรรมนูญ” ซึ่งเป็นอีกหนึ่งวันสำคัญทางประวัติศาสตร์ของชาติไทย
วันรัฐธรรมนูญในประเทศไทย หรือ วันพระราชทานรัฐธรรมนูญ เป็นวันที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว หรือ รัชกาลที่ 7 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2475 เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475 เป็นรัฐธรรมนูญถาวรฉบับแรกของประเทศไทย เพื่อเป็นหลักในการปกครองของประเทศให้แก่ประชาชนชาวไทย หลังจากได้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์เดิม มาเป็นระบอบประชาธิปไตย ที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญอันเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ
สำหรับสัญลักษณ์แห่งการเปลี่ยนแปลงการปกครองของประเทศไทย และสัญลักษณ์ของวันรัฐธรรมนูญนั้นก็คือ “อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย” ที่ตั้งอยู่ใจกลางวงเวียนระหว่างถนนราชดำเนินกับถนนดินสอ นับเป็นสถานที่ที่มีความสวยงามและสำคัญแห่งหนึ่งในประเทศไทย
อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย สร้างขึ้นในสมัยของรัฐบาล จอมพล ป. พิบูลสงคราม เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2482 หลังจากเจ็ดปีให้หลังจากที่มีเปลี่ยนแปลงการปกครอง
อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย เป็นผลงานการออกแบบของหม่อมหลวงปุ่ม มาลากุล ซึ่งได้ออกแบบโดยการนำสถาปัตยกรรมแบบไทยมาผสมผสานเข้าด้วยกัน และควบคุมการก่อสร้างจนแล้วเสร็จโดยศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี บิดาแห่งศิลปะร่วมสมัยของไทย โดยประติมากรรมที่ถูกสร้างขึ้นในสถานที่แห่งนี้นั้น ทุกสัดส่วนล้วนมีความหมายนัยแฝงทั้งสิ้น
อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยเป็นรูปหล่อลอยตัว ทุกสิ่งที่ออกแบบนั้นล้วนมีความหมายในเชิงสัญลักษณ์ทั้งสิ้น โดยเริ่มจาก ปีกทั้ง สี่ด้าน แสดงถึงบุคคลในคณะราษฎร ประกอบด้วย ทหาร ตำรวจ พ่อค้า และประชาชน แต่ละปีกนั้นจะมีความสูงจากแท่นพื้น 24 เมตร หมายถึง วันที่เปลี่ยนแปลงการปกครอง ตรงกับวันที่ 24 มิถุนายน 2475 ส่วนฐานของปีกทั้ง 4 ด้านจะมีรูปปั้นลายนูนสูง เน้นถึงเรื่องราวความเป็นมาของคณะราษฎร
ตรงกลางเป็นสมุดไทยที่สื่อถึงรัฐธรรมนูญประดิษฐานบนพานแว่นฟ้า ตัวอนุสาวรีย์มีความสูง 3 เมตร หนัก 3 ตัน หมายถึง เดือน 3 หรือ เดือนมิถุนายน นับตามแบบปฏิทินไทย ซึ่งตรงกับเดือนที่มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองในสมัยนั้น นอกจากนั้นยังรวมหมายถึง อำนาจอธิปไตย ทั้ง 3 ภายใต้รัฐธรรมนูญ ได้แก่ นิติบัญญัติ บริหาร ตุลาการ อีกด้วย
ส่วนกระบอกปืนใหญ่จำนวน 75 กระบอก ที่ปากกระบอกปืนฝังลงดิน ล้อมรอบอนุสาวรีย์มีโซ่ร้อยเรียงไว้ หมายถึง ปีที่ได้ทำการเปลี่ยนแปลง โดยเลข 75 นั้นเป็นเลขท้ายสองตัวหลัง ของปี พ.ศ. 2475 ส่วนโซ่ ที่ร้อยเรียงไว้ ก็หมายความถึง ความสามัคคีการร่วมมือร่วมใจพร้อมเพรียงของคณะปฏิวัติ ส่วนพระขรรค์ที่ประตูทั้ง 6 เล่ม นั้นก็หมายถึง หลักการบริหารประเทศ 6 ประการของคณะราษฎร นั่นเอง
นอกจากนั้นอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยเป็นในรูปแบบสัญลักษณ์ทางการเมืองแล้ว ในด้านทางคมนาคมยังถูกใช้เป็นหลักกิโลเมตรที่ 0 ของกรุงเทพมหานคร เป็นจุดเริ่มต้นนับระยะทางไปยัง จังหวัด อำเภอ หรือสถานที่ต่างๆ ในประเทศไทยอีกด้วย
ตลอดเวลาที่ผ่านมาอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยจึงกลายเป็นพื้นที่สำคัญของการชุมนุมทางการเมือง แสดงออกเชิงสัญลักษณ์เพื่อเรียกร้องประชาธิปไตยอยู่หลายครั้ง อาทิ การชุมนุมของประชาชนและนักศึกษาใน เหตุการณ์ 14 ตุลา, การชุมนุมของประชาชนในเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ ,การชุมนุมของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ พ.ศ. 2553, การชุมนุมคัดค้านร่างพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมฯ พ.ศ. 2556 เป็นต้น
อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย จึงนับว่าเป็นพื้นที่ประวัติศาสตร์และมรดกที่ทรงคุณค่าแห่งหนึ่งในประเทศไทย
....................................................................................................
สามารถส่งข้อมูลข่าวสารด้านการท่องเที่ยว-อาหารมาได้ที่ กอง บก.ข่าวท่องเที่ยว แฟกซ์ 0-2629-4467 อีเมล์ travel_astvmgr@hotmail.com หรือติดตามเพิ่มเติมได้ที่ Facebook :Travel @ Manager