Facebook :Travel @ Manager

“จังหวัดขอนแก่น” ได้ชื่อว่าเป็น “ศูนย์รวมผ้าไหม” ซึ่งแต่ละหมู่บ้านก็จะมีลายที่เป็นเอกลักษณ์ที่น่าสนใจและสวยงามแตกต่างกันไป อย่างที่ “ชุมชนบ้านหนองบัวน้อย” ใน อ.เมืองพล ก็มีผ้าไหมฮีตสิบสองและผ้าไหมลายแคนแก่นคูณเป็นของขึ้นชื่อ นอกจากนั้นที่นี่ยังเป็นชุมชนท่องเที่ยวที่มีกิจกรรมที่น่าสนใจมากมายรอต้อนรับนักท่องเที่ยวอยู่ด้วย

“ชุมชนบ้านหนองบัวน้อย” ตั้งอยู่ใน ต.โสกนกเต็น อ.พล จ.ขอนแก่น ถือเป็นชุมชน OTOP นวัตวิถี ที่ขึ้นชื่อในเรื่องของการผ้าทอไหมและการเป็นชุมชนท่องเที่ยว ซึ่งเมื่อมาถึงที่ชุมชนแล้วชาวบ้านจะฟ้อนรำและขับร้องเพลงเป็นการต้อนรับ โดยเพลงที่ร้องจะมีเนื้อหาเกี่ยวกับชุมชนแห่งนี้นั่นเอง หลังจากการเพลิดเพลินไปกับดนตรีแล้ว ชาวบ้านจะพาขึ้นนั่งซาเล้ง (มอเตอร์ไซค์พ่วงข้าง) เพื่อไปชมสิ่งที่น่าสนใจตามจุดต่างๆ ถือเป็นอีกเสน่ห์น่ารักของชุมชนนี้

แต่ละจุดที่ซาเล้งพาไปจะอยู่ไม่ไกลกันนัก เริ่มจากการพามาชม “ผ้าไหมฮีตสิบสอง” ที่ถือเป็นของขึ้นชื่อของที่นี่ ซึ่งคำว่า “ฮีต” นั้น มาจากคำว่า “จารีต” ที่หมายถึงสิ่งที่ปฏิบัติสืบต่อกันมา โดยในแต่ละเดือนชาวบ้านก็จะมีจารีตที่ทำกันในเดือนนั้นๆ อย่างเช่น งานบุญเข้าพรรษา งานบุญกฐิน เป็นต้น จนเกิดเป็นคำว่า “ฮีตสิบสอง” ขึ้นมา และในการออกงานแต่ละครั้งก็จะต้องมีการนำผ้าไหมมานุ่งห่ม ดังนั้นจึงเกิดการทอผ้าเป็นลวดลายเฉพาะสำหรับงานบุญประจำเดือนนั้นๆ เรียกว่า “ผ้าไหมฮีตสิบสอง” นั่นเอง
สำหรับผ้าไหมแต่ละลายจะมีชื่อเรียกและลวดลายแตกต่างกันไปตามงานบุญสำคัญในแต่ละเดือน ได้แก่ เดือนอ้าย “บุญเข้ากรรม” ลายข้าวหลามตัด, เดือนยี่ “บุญคูนลาน” ลายขันบักเบ็งน้อย, เดือนสาม “บุญข้าวจี่” ลายนกกระยางขาว, เดือนสี่ “บุญผะเหวด” ลายขันบักเบ็งใหญ่, เดือนห้า “บุญสงกรานต์” ลายขาเปีย, เดือนหก “บุญบั้งไฟ” ลายดอกแก้ว, เดือนเจ็ด “บุญซำฮะ” ลายฟันหวี, เดือนแปด “บุญเข้าพรรษา” ลายบักจับหยุม, เดือนเก้า “บุญข้าวประดับดิน” ลายกาหลง, เดือนสิบ “บุญข้าวสาก” ลายขอก่องข้าว, เดือนสิบเอ็ด “บุญออกพรรษา” ลายหมี่ล่าย และเดือนสิบสอง “บุญกฐิน” ลายโซ่ตาข่าย

อีกหนึ่งลายผ้าไหมที่มีความสำคัญก็คือ “ผ้าไหมมัดหมี่ลายแคนแก่นคูณ” ที่เป็นลายผ้าประจำจังหวัดขอนแก่น ซึ่งผ้าลายนี้ผูกลายและทอผืนแรกโดยศิลปินช่างไหมของบ้านหนองบัวน้อยแห่งนี้ จะประกอบไปด้วยลายผ้าทั้งหมด 7 ลาย ได้แก่ ลายแคน หมายถึง สัญลักษณ์แทนความเจริญและสนุกสนาน, ลายดอกคูณ หมายถึง ดอกไม้ประจำจังหวัดขอนแก่น, ลายพานบายศรี หมายถึง มิตรภาพ ประเพณีการผูกเสี่ยว, ลายขอ หมายถึง ความอุดมสมบูรณ์ของขอนแก่น, ลายโคม หมายถึงภูมิปัญญา วัฒนธรรมของชาวขอนแก่น, ลายกง หมายถึง อาณาเขตที่ได้รับการรักษาให้มั่นคง ปลอดภัย และลายหมากจับ หมายถึง ความรัก ความสามัคคี ของชาวขอนแก่น มารวมเป็นลายเดียวกัน


จากนั้นไปชม “กี่ทอผ้าโบราณ” ที่สร้างขึ้นตั้งแต่ พ.ศ.2431 อายุกว่า 130 ปี สร้างจากไม้จิกทั้งต้น โดยกี่โบราณนี้จะไม่ใช้ตะปูในการยึดไม้ แต่จะวางไม้ให้ขัดกันแทน ซึ่งปัจจุบันนี้กี่หลังนี้ยังคงใช้ทอผ้าอยู่ และนอกจากชมกี่โบราณแล้ว ที่หมู่บ้านแห่งนี้ยังเป็นเหมือนศูนย์การเรียนในเรื่องของผ้าไหม เริ่มตั้งแต่พาไปชมสวนหม่อน วิธีการเลี้ยงตัวไหม การสาวไหม จนกระทั่งทอออกมาเป็นผืนนั่นเอง





นอกจากนั้นยังมี “บ้านช่างสาน” เป็นอีกจุดที่น่าสนใจ ที่นี่จะมีกลุ่มชาวบ้านให้ความรู้เรื่องงานสาน รวมถึงมีของที่ระลึกงานสานราคาไม่แพงให้ได้เลือกช้อปเป็นของฝากสวยๆ ติดไม้ติดมือกลับไปอีกด้วย ไม่ไกลกับจุดบ้านช่างสานจะมี “บ้านโบราณ” อายุเกือบ 90 ปี ที่สร้างตั้งแต่ พ.ศ. 2472 โดยด้านบนจัดเป็นเหมือนพิพิธภัณฑ์จัดแสดงของเก่าและจำลองมุมต่างๆ ของบ้านตามแบบโบราณให้ชมอีกด้วย




อีกหนึ่งไฮไลต์ของบ้านหนองบัวน้อยแห่งนี้ก็คือ “โสกผีดิบ” ที่มีลักษณะเป็นกลุ่มหินทรายที่พุงพังและถูกกัดกร่อนจนกลายเป็นลานหินตะปุ่มตะป่ำ และถูกน้ำกัดเซาะจนกลายเป็นแอ่ง ลักษณะโสกหรือโตรกธารน้ำไหล รูปร่างแปลกตา ซึ่งที่เรียกว่า “โสกผีดิบ” ก็เพราะที่นี่มีตำนานเรื่องเล่ากันว่าเมื่อปี พ.ศ. 2484 เกิดโรคระบาด ผู้คนล้มตายเป็นจำนวนมาก รวมไปถึงพระสงฆ์ ทำให้คนที่ยังมีชีวิตอยู่ไม่สามารถประกอบพิธีกรรมส่งวิญญาณได้ จึงนำศพมาทิ้งที่โสกลึกแห่งนี้นั่นเอง

www.facebook.com/nongbuanoiphonkhonkaen
Facebook :Travel @ Manager
“จังหวัดขอนแก่น” ได้ชื่อว่าเป็น “ศูนย์รวมผ้าไหม” ซึ่งแต่ละหมู่บ้านก็จะมีลายที่เป็นเอกลักษณ์ที่น่าสนใจและสวยงามแตกต่างกันไป อย่างที่ “ชุมชนบ้านหนองบัวน้อย” ใน อ.เมืองพล ก็มีผ้าไหมฮีตสิบสองและผ้าไหมลายแคนแก่นคูณเป็นของขึ้นชื่อ นอกจากนั้นที่นี่ยังเป็นชุมชนท่องเที่ยวที่มีกิจกรรมที่น่าสนใจมากมายรอต้อนรับนักท่องเที่ยวอยู่ด้วย
“ชุมชนบ้านหนองบัวน้อย” ตั้งอยู่ใน ต.โสกนกเต็น อ.พล จ.ขอนแก่น ถือเป็นชุมชน OTOP นวัตวิถี ที่ขึ้นชื่อในเรื่องของการผ้าทอไหมและการเป็นชุมชนท่องเที่ยว ซึ่งเมื่อมาถึงที่ชุมชนแล้วชาวบ้านจะฟ้อนรำและขับร้องเพลงเป็นการต้อนรับ โดยเพลงที่ร้องจะมีเนื้อหาเกี่ยวกับชุมชนแห่งนี้นั่นเอง หลังจากการเพลิดเพลินไปกับดนตรีแล้ว ชาวบ้านจะพาขึ้นนั่งซาเล้ง (มอเตอร์ไซค์พ่วงข้าง) เพื่อไปชมสิ่งที่น่าสนใจตามจุดต่างๆ ถือเป็นอีกเสน่ห์น่ารักของชุมชนนี้
แต่ละจุดที่ซาเล้งพาไปจะอยู่ไม่ไกลกันนัก เริ่มจากการพามาชม “ผ้าไหมฮีตสิบสอง” ที่ถือเป็นของขึ้นชื่อของที่นี่ ซึ่งคำว่า “ฮีต” นั้น มาจากคำว่า “จารีต” ที่หมายถึงสิ่งที่ปฏิบัติสืบต่อกันมา โดยในแต่ละเดือนชาวบ้านก็จะมีจารีตที่ทำกันในเดือนนั้นๆ อย่างเช่น งานบุญเข้าพรรษา งานบุญกฐิน เป็นต้น จนเกิดเป็นคำว่า “ฮีตสิบสอง” ขึ้นมา และในการออกงานแต่ละครั้งก็จะต้องมีการนำผ้าไหมมานุ่งห่ม ดังนั้นจึงเกิดการทอผ้าเป็นลวดลายเฉพาะสำหรับงานบุญประจำเดือนนั้นๆ เรียกว่า “ผ้าไหมฮีตสิบสอง” นั่นเอง
สำหรับผ้าไหมแต่ละลายจะมีชื่อเรียกและลวดลายแตกต่างกันไปตามงานบุญสำคัญในแต่ละเดือน ได้แก่ เดือนอ้าย “บุญเข้ากรรม” ลายข้าวหลามตัด, เดือนยี่ “บุญคูนลาน” ลายขันบักเบ็งน้อย, เดือนสาม “บุญข้าวจี่” ลายนกกระยางขาว, เดือนสี่ “บุญผะเหวด” ลายขันบักเบ็งใหญ่, เดือนห้า “บุญสงกรานต์” ลายขาเปีย, เดือนหก “บุญบั้งไฟ” ลายดอกแก้ว, เดือนเจ็ด “บุญซำฮะ” ลายฟันหวี, เดือนแปด “บุญเข้าพรรษา” ลายบักจับหยุม, เดือนเก้า “บุญข้าวประดับดิน” ลายกาหลง, เดือนสิบ “บุญข้าวสาก” ลายขอก่องข้าว, เดือนสิบเอ็ด “บุญออกพรรษา” ลายหมี่ล่าย และเดือนสิบสอง “บุญกฐิน” ลายโซ่ตาข่าย
อีกหนึ่งลายผ้าไหมที่มีความสำคัญก็คือ “ผ้าไหมมัดหมี่ลายแคนแก่นคูณ” ที่เป็นลายผ้าประจำจังหวัดขอนแก่น ซึ่งผ้าลายนี้ผูกลายและทอผืนแรกโดยศิลปินช่างไหมของบ้านหนองบัวน้อยแห่งนี้ จะประกอบไปด้วยลายผ้าทั้งหมด 7 ลาย ได้แก่ ลายแคน หมายถึง สัญลักษณ์แทนความเจริญและสนุกสนาน, ลายดอกคูณ หมายถึง ดอกไม้ประจำจังหวัดขอนแก่น, ลายพานบายศรี หมายถึง มิตรภาพ ประเพณีการผูกเสี่ยว, ลายขอ หมายถึง ความอุดมสมบูรณ์ของขอนแก่น, ลายโคม หมายถึงภูมิปัญญา วัฒนธรรมของชาวขอนแก่น, ลายกง หมายถึง อาณาเขตที่ได้รับการรักษาให้มั่นคง ปลอดภัย และลายหมากจับ หมายถึง ความรัก ความสามัคคี ของชาวขอนแก่น มารวมเป็นลายเดียวกัน
จากนั้นไปชม “กี่ทอผ้าโบราณ” ที่สร้างขึ้นตั้งแต่ พ.ศ.2431 อายุกว่า 130 ปี สร้างจากไม้จิกทั้งต้น โดยกี่โบราณนี้จะไม่ใช้ตะปูในการยึดไม้ แต่จะวางไม้ให้ขัดกันแทน ซึ่งปัจจุบันนี้กี่หลังนี้ยังคงใช้ทอผ้าอยู่ และนอกจากชมกี่โบราณแล้ว ที่หมู่บ้านแห่งนี้ยังเป็นเหมือนศูนย์การเรียนในเรื่องของผ้าไหม เริ่มตั้งแต่พาไปชมสวนหม่อน วิธีการเลี้ยงตัวไหม การสาวไหม จนกระทั่งทอออกมาเป็นผืนนั่นเอง
นอกจากนั้นยังมี “บ้านช่างสาน” เป็นอีกจุดที่น่าสนใจ ที่นี่จะมีกลุ่มชาวบ้านให้ความรู้เรื่องงานสาน รวมถึงมีของที่ระลึกงานสานราคาไม่แพงให้ได้เลือกช้อปเป็นของฝากสวยๆ ติดไม้ติดมือกลับไปอีกด้วย ไม่ไกลกับจุดบ้านช่างสานจะมี “บ้านโบราณ” อายุเกือบ 90 ปี ที่สร้างตั้งแต่ พ.ศ. 2472 โดยด้านบนจัดเป็นเหมือนพิพิธภัณฑ์จัดแสดงของเก่าและจำลองมุมต่างๆ ของบ้านตามแบบโบราณให้ชมอีกด้วย
อีกหนึ่งไฮไลต์ของบ้านหนองบัวน้อยแห่งนี้ก็คือ “โสกผีดิบ” ที่มีลักษณะเป็นกลุ่มหินทรายที่พุงพังและถูกกัดกร่อนจนกลายเป็นลานหินตะปุ่มตะป่ำ และถูกน้ำกัดเซาะจนกลายเป็นแอ่ง ลักษณะโสกหรือโตรกธารน้ำไหล รูปร่างแปลกตา ซึ่งที่เรียกว่า “โสกผีดิบ” ก็เพราะที่นี่มีตำนานเรื่องเล่ากันว่าเมื่อปี พ.ศ. 2484 เกิดโรคระบาด ผู้คนล้มตายเป็นจำนวนมาก รวมไปถึงพระสงฆ์ ทำให้คนที่ยังมีชีวิตอยู่ไม่สามารถประกอบพิธีกรรมส่งวิญญาณได้ จึงนำศพมาทิ้งที่โสกลึกแห่งนี้นั่นเอง
www.facebook.com/nongbuanoiphonkhonkaen
Facebook :Travel @ Manager