Facebook :Travel @ Manager

“กระบี่ เมืองน่าอยู่ ผู้คนน่ารัก” เป็นคำขวัญสั้นๆ ที่เชิญชวนให้คนชอบเที่ยวอย่าง “ตะลอนเที่ยว” มักจะหาเวลามาเที่ยวยังจังหวัด “กระบี่” อยู่บ่อยครั้ง เพราะว่ามีความหลากหลายของแหล่งท่องเที่ยวทั้งทางบก ทางทะเล และมีเรื่องราวของวัฒนธรรม ประเพณีและวิถีชีวิตของชาวใต้ที่น่าหลงใหล

ว่าแล้วทริปนี้ “ตะลอนเที่ยว” ก็แบกเป้และกล้องคู่กาย พร้อมรองเท้าผ้าใบคู่ใจ ออกเดินทางมาตะลุยกระบี่ และเลือกไปเที่ยวเกาะที่ไม่วุ่นวาย ไปสัมผัสกับวิถีชีวิตของชาวเลทางภาคใต้ที่น่าสนใจ โดยมีจุดมุ่งหมายมาที่ “เกาะลันตา” เป็นเกาะขนาดใหญ่ในทะเลอันดามัน ประกอบไปด้วย เกาะลันตาน้อย และเกาะลันตาใหญ่
เราเลือกที่จะไปเที่ยวยังเกาะลันตาใหญ่ ซึ่งการเดินทางเดี๋ยวนี้ก็แสนจะสะดวกสบาย มีสะพานให้ใช้สัญจรข้ามเชื่อมเกาะลันตาน้อยไปยังเกาะลันตาใหญ่ เพียงแค่ขับรถลงแพข้ามมาที่เกาะลันตาน้อย จากนั้นก็ขับรถวิ่งขึ้นสะพานข้ามมายังเกาะลันตาใหญ่ได้เลย เรียกว่าช่วยย่นระยะเวลาในการเดินทางไปได้พอสมควร ไม่ต้องเสียเวลารอต่อแพข้ามฝั่ง

ทันทีที่มาถึงยังเกาะลันตาใหญ่ เราก็มุ่งหน้ามาสัมผัสเสน่ห์ของชุมชนเก่าแก่บนเกาะลันตา กันที่ “เมืองเก่าลันตา” (Lanta Old Town) เมื่อมาถึงย่านชุมชนเก่าแก่นี้ เราสัมผัสได้ถึงกลิ่นอายของวิถีชีวิตชาวชุมชนแบบดั้งเดิม ซึ่งที่นี่เป็นที่อยู่อาศัยของพี่น้องชาวไทยพุทธ ชาวไทยมุสลิม และชาวไทยเชื้อสายจีน ที่อาศัยอยู่ร่วมกันแบบถ้อยทีถ้อยอาศัย มีความรักใคร่กลมเกลียวกันเป็นอย่างดี อยู่กันอย่างสงบและมีความสันติสุข

ตลอดแนวถนนสั้นๆ ทั้งสองฟากฝั่ง เราได้เห็นบ้านเรือนไม้เก่าแก่ ที่แต่ละหลังทรงคุณค่างดงาม และยังดูมีชีวิตชีวา เพราะว่าชาวบ้านยังคงอยู่อาศัย บางหลังถูกดัดแปลงให้เป็นเกสต์เฮาส์เก๋ๆ ชวนพัก บ้างเป็นร้านกาแฟ ร้านอาหารสวยๆ ตั้งอยู่ริมทะเลชวนกิน บางหลังก็เปิดหน้าบ้านเป็นร้านขายของฝากของที่ระลึกแก่นักท่องเที่ยว แล้วก็ยังมีศาลเจ้าจีนเก่าแก่ประจำชุมชนให้เข้าไปไหว้เจ้าขอพรด้วย

แล้วถ้าหากอยากรู้ประวัติความเป็นมาของชาวเกะลันตา พร้อมกับรู้เรื่องราวประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมประเพณีต่างๆ ที่น่าสนใจของชาวเกาะลันตาก็มาชมกันที่นี่ “พิพิธภัณฑ์ชุมชนชาวเกาะลันตา” เป็นอาคารพิพิธภัณฑ์ที่สวยงามเป็นอย่างมาก เพราะนำเอาอาคารไม้สัก 2 ชั้น ที่เมื่ออดีตเป็นที่ว่าการอำเภอเกาะลันตาหลังเก่า สร้างขึ้นในสมัย ร.5 มีอายุกว่า 100 ปี มาจัดสร้างเป็นพิพิธภัณฑ์ที่ทรงคุณค่า ภายในจัดแสดงข้าวของเครื่องใช้โบราณ ให้ได้รู้เรื่องราวความเป็นมาของชาวเกาะลันตา วิถีชีวิต รวมถึงวัฒนธรรมและประเพณีของชาวเกาะลันตาตั้งแต่อดีต

เราเพลิดเพลิน เดินเที่ยวเมืองเก่าลันตาอยู่สักพัก จากนั้นก็ออกเดินทางไปสัมผัสกับแหล่งท่องเที่ยววิถีชุมชนเชิงนิเวศที่น่าสนใจ นั่นคือ “บ้านทุ่งหยีเพ็ง” เป็นหมู่บ้านชาวประมงดั้งเดิม ตั้งอยู่ด้านชายฝั่งทะเลทิศตะวันออกของเกาะลันตาใหญ่ ชาวบ้านในหมู่บ้านประกอบอาชีพทำประมงและการเกษตรเป็นหลัก ที่นี่มีความอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติ ป่าชายเลน ป่าบก และถูกโอบล้อมไปด้วยผืนป่าอันเขียวขจี กอปรกับชาวบ้านมีหัวใจรักษ์ธรรมชาติ รักผืนป่าชายเลนที่ตัวเองอยู่อาศัยและใช้ดำรงชีพทำมาหากิน จึงร่วมใจกันอนุรักษ์ธรรมชาติอันอุดมสมบูรณ์นี้ไว้เป็นอย่างดี โดยมีนราธร หงษ์ทอง ประธานชุมชนท่องเที่ยวบ้านทุ่งหยีเพ็ง ร่วมกับชาวบ้านพัฒนาหมู่บ้านทุ่งหยีเพ็งขึ้นมาเพื่อรองรับการท่องเที่ยว ให้นักท่องเที่ยวได้เข้ามาเที่ยวชมหมู่บ้าน มาสัมผัสกับธรรมชาติ และเรียนรู้เรื่องราววิถีชีวิตในหมู่บ้านที่ชาวบ้านอยู่ร่วมกับธรรมชาติแบบไม่เบียดเบียน อยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข

เมื่อมาถึงที่หมู่บ้านหยีเพ็ง เราก็ไม่รอช้ารีบลงเรือที่ชาวบ้านเตรียมไว้ พาออกไปชมผืนป่าชายเลนอันอุดมสมบูรณ์ที่อนุรักษ์ไว้ ซึ่งตลอดทางที่เรือแล่นเราก็ได้เห็นป่าโกงกางอันหนาแน่น ร่มครึ้มเขียวขจี มีความอุดมสมบูรณ์จริงๆ มีเจ้าลิงจ๋อออกมาทักทายอยู่เป็นระยะ มีหอย มีปู มีปลา โดยเฉพาะปลาตีนมีให้เห็นมากมาย

การล่องเรือออกมาครั้งนี้ เราได้ร่วมสร้างบ้านปลากับชาวบ้านด้วย บ้านปลานี้คือ ซั้งที่มีขนาดใหญ่ว่าปกติ สร้างโดยเอากิ่งโกงกาง หรือไม้ยืนต้นอื่นๆ มาประกอบกันเป็นโครง แล้วมุงด้วยใบไม้ อาทิ ทางมะพร้าว ใบเต่าร้าง ใบจาก มาประกอบเป็นบ้านปลา สร้างเป็นที่อยู่ของปลา จำลองจากธรรมชาติจริง เพื่อล่อปลามาอาศัย และนำไปปักยึดในลำคลองตามแนวป่าโกงกาง เลือกที่เป็นวัง หรือ แอ่ง มีน้ำท่วมถึงตลอด ปักทิ้งไว้ประมาณ 1-6 เดือน ล่อปลาให้มาอาศัย ปลาที่พบก็มีปลากะพงแดง ปลาเก๋า ปลากระบอก เป็นต้น

หลังจากล่องเรือชมป่าชายเลนและได้สร้างบ้านปลากันแล้ว เรากลับมาที่หมู่บ้านเผื่อมาเดินเส้นทางศึกษาธรรมชาติป่าชุมชนบ้านทุ่งหยีเพ็ง มีเส้นทางให้เดินยาว 770 เมตร เป็นทางเดินคอนกรีตให้เดินลัดเลาะไปตามแนวป่าโกงกางอันร่มครึ้ม ได้สัมผัสและศึกษาธรรมชาติป่าชายเลนอย่างเพลิดเพลิน แล้วได้เห็น “ปูก้ามดาบ” เป็นปูขนาดเล็กเห็นได้ตามป่าชายเลน ป่าโกงกาง มีลักษณะที่โดดเด่นคือ เฉพาะปูตัวผู้เท่านั้น จะมีก้ามใหญ่อยู่ทางข้างซ้าย ก้ามใหญ่นี้จะชูชันสูงอยู่ตลอดเวลา ส่วนปูตัวเมียมีก้ามทั้งคู่เท่ากัน ซึ่งปูก้ามดาบที่พบที่บ้านทุ่งหยีเพ็งมีหลากหลายสีสัน และมีปูก้ามดาบสีสวยต่างจากที่อื่น คือ ปูก้ามดาบสีฟ้าสดใส จนได้ชื่อว่า “ปูสีฟ้า”

สำหรับกิจกรรมที่บ้านทุ่งหยีเพ็งไม่ได้มีเพียงเท่านี้ ยังมีกิจกรรมท่องเที่ยววิถีชุมชนอื่นๆ ที่น่าสนใจอีก ไม่ว่าจะเป็นพายเรือคายัคชมผืนป่าอนุรักษ์ หรือนั่งเรือแจวชมวิวแบบชิลๆ อิ่มอร่อยกับอาหารพื้นบ้าน อาหารทะเลสด ซื้อผลิตภัณฑ์ชุมชนท้องถิ่น อย่างกะปิ ผ้าบาติกผ้ามัดย้อม และของที่ระลึกจากกะลามะพร้าว

เราเดินทางออกมาจากบ้านทุ่งหยีเพ็ง พร้อมโบกมือลาเกาะลันตาใหญ่ เพราะมีโปรแกรมต่อไปที่จะต้องนั่งเรือออกทะเลไปยังแหล่งท่องเที่ยวปีนผา ที่ขึ้นชื่อของ จ.กระบี่ นั่นก็คือ “หาดไร่เลย์” ที่นักปีนผาตัวยงไม่ว่าจะชาวไทยหรือต่างชาติ หรือจะเป็นนักปีนผามือสมัครเล่น (อย่างเรา) ก็พิสมัยอยากจะลองปีนผาที่หาดไร่เลย์กับเขาสักครั้งในชีวิต

ทันทีที่นั่งเรือมาถึงยังหาดไร่เลย์ เวลาไม่คอยท่า ความกล้าไม่รีรอใคร เรามุ่งหน้าไปยังร้านที่ให้บริการปีนเขากับนักท่องเที่ยว ซึ่งมีหลายร้านให้เลือกมากมาย หลังจากเลือกร้านได้แล้ว ก็จะมีครูฝึกที่มีความชำนาญในการปีนผามาช่วยใส่อุปกรณ์สำหรับการปีนผาให้พร้อมสรรพ จากนั้นจึงออกเดินเท้าไปยังจุดที่ปีนผาบริเวณหาดไร่เลย์ตะวันออก ซึ่งตรงนี้เป็นจุดปีนผาสำหรับนักปีนผามือใหม่ทั้งหลาย (รวมเราด้วย)

เมื่อมาถึงยังจุดปีนผา เราก็พบกับบรรดานักปีนผามือสมัครเล่นมากมายส่วนหนึ่งอยู่เบื้องล่างเป็นกองเชียร์ และอีกส่วนก็กำลังปีนป่ายกันอย่างสนุกสนาน เอาล่ะ!! เมื่ออุปกรณ์พร้อม พละกำลังก็พร้อม ใจก็พร้อมแล้ว และฟังคำอธิบายการปีนจากครูฝึกว่าต้องปฏิบัติตัวอย่างไรแล้ว ก็ถึงเวลาของเราที่พร้อมจะพิชิตหน้าผาที่สูงชัน ด้วยการค่อยๆ เกาะเกี่ยวมือไปตามชะง่อนหินผา หาจุดยึดเหนี่ยวตัวขึ้นไป พร้อมกับขาก็ค่อยๆ ก้าวไต่ตามไปเรื่อยๆ

แล้วก็คอยฟังครูฝึกที่อยู่ข้างล่างคอยบอกไกด์ไลน์ ว่าควรจะปีนป่ายไปทิศทางไหน เพราะว่าเมื่อปีนขึ้นไปบนหน้าผาหินที่สูงชันแล้ว สิ่งเดียวที่เราทำได้คือมองไปเบื้องหน้า และสายตาก็คอยมองหาชะง่อนหินที่สามารถให้เราเกาะเกี่ยวและเหนี่ยวตัวขึ้นไปให้จงได้ เรียกว่าเมื่อพอขึ้นไปถึงยังจุดสุดท้ายของหน้าผาที่ครูฝึกกำหนดไว้ได้ ก็ทำเอาหายใจหายคอแบบโล่งปอด ได้สูดอากาศบริสุทธิ์จากมุมสูงสักพักให้พอหายเหนื่อย จากนั้นก็ค่อยๆ โรยตัวลงมายังพื้นด้านล่าง พอถึงพื้นแล้วเรียกว่าเกิดอาการขาสั่นแบบไม่รู้เนื้อรู้ตัวกันเลย และ “ตะลอนเที่ยว” ก็ต้องขอปิดฉากทริปเที่ยวกระบี่แต่เพียงเท่านี้ อยากบอกว่า “กระบี่” มีดี มาเที่ยวกี่ทีไม่รู้เบื่อเลย

* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *
สามารถสอบถามข้อมูลการท่องเที่ยวใน จ.กระบี่ ได้ที่การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สำนักงานกระบี่ โทร. 0-7562-2163, 0-7561-2811-2 และติดต่อท่องเที่ยวบ้านทุ่งหยีเพ็ง ได้ที่ คุณนราธร หงษ์ทอง โทร. 08-9590-9173
สามารถส่งข้อมูลข่าวสารด้านการท่องเที่ยว-อาหารมาได้ที่ กอง บก.ข่าวท่องเที่ยว แฟกซ์ 0-2629-4467 อีเมล์ travel_astvmgr@hotmail.com หรือติดตามเพิ่มเติมได้ที่ Facebook :Travel @ Manager
“กระบี่ เมืองน่าอยู่ ผู้คนน่ารัก” เป็นคำขวัญสั้นๆ ที่เชิญชวนให้คนชอบเที่ยวอย่าง “ตะลอนเที่ยว” มักจะหาเวลามาเที่ยวยังจังหวัด “กระบี่” อยู่บ่อยครั้ง เพราะว่ามีความหลากหลายของแหล่งท่องเที่ยวทั้งทางบก ทางทะเล และมีเรื่องราวของวัฒนธรรม ประเพณีและวิถีชีวิตของชาวใต้ที่น่าหลงใหล
ว่าแล้วทริปนี้ “ตะลอนเที่ยว” ก็แบกเป้และกล้องคู่กาย พร้อมรองเท้าผ้าใบคู่ใจ ออกเดินทางมาตะลุยกระบี่ และเลือกไปเที่ยวเกาะที่ไม่วุ่นวาย ไปสัมผัสกับวิถีชีวิตของชาวเลทางภาคใต้ที่น่าสนใจ โดยมีจุดมุ่งหมายมาที่ “เกาะลันตา” เป็นเกาะขนาดใหญ่ในทะเลอันดามัน ประกอบไปด้วย เกาะลันตาน้อย และเกาะลันตาใหญ่
เราเลือกที่จะไปเที่ยวยังเกาะลันตาใหญ่ ซึ่งการเดินทางเดี๋ยวนี้ก็แสนจะสะดวกสบาย มีสะพานให้ใช้สัญจรข้ามเชื่อมเกาะลันตาน้อยไปยังเกาะลันตาใหญ่ เพียงแค่ขับรถลงแพข้ามมาที่เกาะลันตาน้อย จากนั้นก็ขับรถวิ่งขึ้นสะพานข้ามมายังเกาะลันตาใหญ่ได้เลย เรียกว่าช่วยย่นระยะเวลาในการเดินทางไปได้พอสมควร ไม่ต้องเสียเวลารอต่อแพข้ามฝั่ง
ทันทีที่มาถึงยังเกาะลันตาใหญ่ เราก็มุ่งหน้ามาสัมผัสเสน่ห์ของชุมชนเก่าแก่บนเกาะลันตา กันที่ “เมืองเก่าลันตา” (Lanta Old Town) เมื่อมาถึงย่านชุมชนเก่าแก่นี้ เราสัมผัสได้ถึงกลิ่นอายของวิถีชีวิตชาวชุมชนแบบดั้งเดิม ซึ่งที่นี่เป็นที่อยู่อาศัยของพี่น้องชาวไทยพุทธ ชาวไทยมุสลิม และชาวไทยเชื้อสายจีน ที่อาศัยอยู่ร่วมกันแบบถ้อยทีถ้อยอาศัย มีความรักใคร่กลมเกลียวกันเป็นอย่างดี อยู่กันอย่างสงบและมีความสันติสุข
ตลอดแนวถนนสั้นๆ ทั้งสองฟากฝั่ง เราได้เห็นบ้านเรือนไม้เก่าแก่ ที่แต่ละหลังทรงคุณค่างดงาม และยังดูมีชีวิตชีวา เพราะว่าชาวบ้านยังคงอยู่อาศัย บางหลังถูกดัดแปลงให้เป็นเกสต์เฮาส์เก๋ๆ ชวนพัก บ้างเป็นร้านกาแฟ ร้านอาหารสวยๆ ตั้งอยู่ริมทะเลชวนกิน บางหลังก็เปิดหน้าบ้านเป็นร้านขายของฝากของที่ระลึกแก่นักท่องเที่ยว แล้วก็ยังมีศาลเจ้าจีนเก่าแก่ประจำชุมชนให้เข้าไปไหว้เจ้าขอพรด้วย
แล้วถ้าหากอยากรู้ประวัติความเป็นมาของชาวเกะลันตา พร้อมกับรู้เรื่องราวประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมประเพณีต่างๆ ที่น่าสนใจของชาวเกาะลันตาก็มาชมกันที่นี่ “พิพิธภัณฑ์ชุมชนชาวเกาะลันตา” เป็นอาคารพิพิธภัณฑ์ที่สวยงามเป็นอย่างมาก เพราะนำเอาอาคารไม้สัก 2 ชั้น ที่เมื่ออดีตเป็นที่ว่าการอำเภอเกาะลันตาหลังเก่า สร้างขึ้นในสมัย ร.5 มีอายุกว่า 100 ปี มาจัดสร้างเป็นพิพิธภัณฑ์ที่ทรงคุณค่า ภายในจัดแสดงข้าวของเครื่องใช้โบราณ ให้ได้รู้เรื่องราวความเป็นมาของชาวเกาะลันตา วิถีชีวิต รวมถึงวัฒนธรรมและประเพณีของชาวเกาะลันตาตั้งแต่อดีต
เราเพลิดเพลิน เดินเที่ยวเมืองเก่าลันตาอยู่สักพัก จากนั้นก็ออกเดินทางไปสัมผัสกับแหล่งท่องเที่ยววิถีชุมชนเชิงนิเวศที่น่าสนใจ นั่นคือ “บ้านทุ่งหยีเพ็ง” เป็นหมู่บ้านชาวประมงดั้งเดิม ตั้งอยู่ด้านชายฝั่งทะเลทิศตะวันออกของเกาะลันตาใหญ่ ชาวบ้านในหมู่บ้านประกอบอาชีพทำประมงและการเกษตรเป็นหลัก ที่นี่มีความอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติ ป่าชายเลน ป่าบก และถูกโอบล้อมไปด้วยผืนป่าอันเขียวขจี กอปรกับชาวบ้านมีหัวใจรักษ์ธรรมชาติ รักผืนป่าชายเลนที่ตัวเองอยู่อาศัยและใช้ดำรงชีพทำมาหากิน จึงร่วมใจกันอนุรักษ์ธรรมชาติอันอุดมสมบูรณ์นี้ไว้เป็นอย่างดี โดยมีนราธร หงษ์ทอง ประธานชุมชนท่องเที่ยวบ้านทุ่งหยีเพ็ง ร่วมกับชาวบ้านพัฒนาหมู่บ้านทุ่งหยีเพ็งขึ้นมาเพื่อรองรับการท่องเที่ยว ให้นักท่องเที่ยวได้เข้ามาเที่ยวชมหมู่บ้าน มาสัมผัสกับธรรมชาติ และเรียนรู้เรื่องราววิถีชีวิตในหมู่บ้านที่ชาวบ้านอยู่ร่วมกับธรรมชาติแบบไม่เบียดเบียน อยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข
เมื่อมาถึงที่หมู่บ้านหยีเพ็ง เราก็ไม่รอช้ารีบลงเรือที่ชาวบ้านเตรียมไว้ พาออกไปชมผืนป่าชายเลนอันอุดมสมบูรณ์ที่อนุรักษ์ไว้ ซึ่งตลอดทางที่เรือแล่นเราก็ได้เห็นป่าโกงกางอันหนาแน่น ร่มครึ้มเขียวขจี มีความอุดมสมบูรณ์จริงๆ มีเจ้าลิงจ๋อออกมาทักทายอยู่เป็นระยะ มีหอย มีปู มีปลา โดยเฉพาะปลาตีนมีให้เห็นมากมาย
การล่องเรือออกมาครั้งนี้ เราได้ร่วมสร้างบ้านปลากับชาวบ้านด้วย บ้านปลานี้คือ ซั้งที่มีขนาดใหญ่ว่าปกติ สร้างโดยเอากิ่งโกงกาง หรือไม้ยืนต้นอื่นๆ มาประกอบกันเป็นโครง แล้วมุงด้วยใบไม้ อาทิ ทางมะพร้าว ใบเต่าร้าง ใบจาก มาประกอบเป็นบ้านปลา สร้างเป็นที่อยู่ของปลา จำลองจากธรรมชาติจริง เพื่อล่อปลามาอาศัย และนำไปปักยึดในลำคลองตามแนวป่าโกงกาง เลือกที่เป็นวัง หรือ แอ่ง มีน้ำท่วมถึงตลอด ปักทิ้งไว้ประมาณ 1-6 เดือน ล่อปลาให้มาอาศัย ปลาที่พบก็มีปลากะพงแดง ปลาเก๋า ปลากระบอก เป็นต้น
หลังจากล่องเรือชมป่าชายเลนและได้สร้างบ้านปลากันแล้ว เรากลับมาที่หมู่บ้านเผื่อมาเดินเส้นทางศึกษาธรรมชาติป่าชุมชนบ้านทุ่งหยีเพ็ง มีเส้นทางให้เดินยาว 770 เมตร เป็นทางเดินคอนกรีตให้เดินลัดเลาะไปตามแนวป่าโกงกางอันร่มครึ้ม ได้สัมผัสและศึกษาธรรมชาติป่าชายเลนอย่างเพลิดเพลิน แล้วได้เห็น “ปูก้ามดาบ” เป็นปูขนาดเล็กเห็นได้ตามป่าชายเลน ป่าโกงกาง มีลักษณะที่โดดเด่นคือ เฉพาะปูตัวผู้เท่านั้น จะมีก้ามใหญ่อยู่ทางข้างซ้าย ก้ามใหญ่นี้จะชูชันสูงอยู่ตลอดเวลา ส่วนปูตัวเมียมีก้ามทั้งคู่เท่ากัน ซึ่งปูก้ามดาบที่พบที่บ้านทุ่งหยีเพ็งมีหลากหลายสีสัน และมีปูก้ามดาบสีสวยต่างจากที่อื่น คือ ปูก้ามดาบสีฟ้าสดใส จนได้ชื่อว่า “ปูสีฟ้า”
สำหรับกิจกรรมที่บ้านทุ่งหยีเพ็งไม่ได้มีเพียงเท่านี้ ยังมีกิจกรรมท่องเที่ยววิถีชุมชนอื่นๆ ที่น่าสนใจอีก ไม่ว่าจะเป็นพายเรือคายัคชมผืนป่าอนุรักษ์ หรือนั่งเรือแจวชมวิวแบบชิลๆ อิ่มอร่อยกับอาหารพื้นบ้าน อาหารทะเลสด ซื้อผลิตภัณฑ์ชุมชนท้องถิ่น อย่างกะปิ ผ้าบาติกผ้ามัดย้อม และของที่ระลึกจากกะลามะพร้าว
เราเดินทางออกมาจากบ้านทุ่งหยีเพ็ง พร้อมโบกมือลาเกาะลันตาใหญ่ เพราะมีโปรแกรมต่อไปที่จะต้องนั่งเรือออกทะเลไปยังแหล่งท่องเที่ยวปีนผา ที่ขึ้นชื่อของ จ.กระบี่ นั่นก็คือ “หาดไร่เลย์” ที่นักปีนผาตัวยงไม่ว่าจะชาวไทยหรือต่างชาติ หรือจะเป็นนักปีนผามือสมัครเล่น (อย่างเรา) ก็พิสมัยอยากจะลองปีนผาที่หาดไร่เลย์กับเขาสักครั้งในชีวิต
ทันทีที่นั่งเรือมาถึงยังหาดไร่เลย์ เวลาไม่คอยท่า ความกล้าไม่รีรอใคร เรามุ่งหน้าไปยังร้านที่ให้บริการปีนเขากับนักท่องเที่ยว ซึ่งมีหลายร้านให้เลือกมากมาย หลังจากเลือกร้านได้แล้ว ก็จะมีครูฝึกที่มีความชำนาญในการปีนผามาช่วยใส่อุปกรณ์สำหรับการปีนผาให้พร้อมสรรพ จากนั้นจึงออกเดินเท้าไปยังจุดที่ปีนผาบริเวณหาดไร่เลย์ตะวันออก ซึ่งตรงนี้เป็นจุดปีนผาสำหรับนักปีนผามือใหม่ทั้งหลาย (รวมเราด้วย)
เมื่อมาถึงยังจุดปีนผา เราก็พบกับบรรดานักปีนผามือสมัครเล่นมากมายส่วนหนึ่งอยู่เบื้องล่างเป็นกองเชียร์ และอีกส่วนก็กำลังปีนป่ายกันอย่างสนุกสนาน เอาล่ะ!! เมื่ออุปกรณ์พร้อม พละกำลังก็พร้อม ใจก็พร้อมแล้ว และฟังคำอธิบายการปีนจากครูฝึกว่าต้องปฏิบัติตัวอย่างไรแล้ว ก็ถึงเวลาของเราที่พร้อมจะพิชิตหน้าผาที่สูงชัน ด้วยการค่อยๆ เกาะเกี่ยวมือไปตามชะง่อนหินผา หาจุดยึดเหนี่ยวตัวขึ้นไป พร้อมกับขาก็ค่อยๆ ก้าวไต่ตามไปเรื่อยๆ
แล้วก็คอยฟังครูฝึกที่อยู่ข้างล่างคอยบอกไกด์ไลน์ ว่าควรจะปีนป่ายไปทิศทางไหน เพราะว่าเมื่อปีนขึ้นไปบนหน้าผาหินที่สูงชันแล้ว สิ่งเดียวที่เราทำได้คือมองไปเบื้องหน้า และสายตาก็คอยมองหาชะง่อนหินที่สามารถให้เราเกาะเกี่ยวและเหนี่ยวตัวขึ้นไปให้จงได้ เรียกว่าเมื่อพอขึ้นไปถึงยังจุดสุดท้ายของหน้าผาที่ครูฝึกกำหนดไว้ได้ ก็ทำเอาหายใจหายคอแบบโล่งปอด ได้สูดอากาศบริสุทธิ์จากมุมสูงสักพักให้พอหายเหนื่อย จากนั้นก็ค่อยๆ โรยตัวลงมายังพื้นด้านล่าง พอถึงพื้นแล้วเรียกว่าเกิดอาการขาสั่นแบบไม่รู้เนื้อรู้ตัวกันเลย และ “ตะลอนเที่ยว” ก็ต้องขอปิดฉากทริปเที่ยวกระบี่แต่เพียงเท่านี้ อยากบอกว่า “กระบี่” มีดี มาเที่ยวกี่ทีไม่รู้เบื่อเลย
* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *
สามารถสอบถามข้อมูลการท่องเที่ยวใน จ.กระบี่ ได้ที่การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สำนักงานกระบี่ โทร. 0-7562-2163, 0-7561-2811-2 และติดต่อท่องเที่ยวบ้านทุ่งหยีเพ็ง ได้ที่ คุณนราธร หงษ์ทอง โทร. 08-9590-9173
สามารถส่งข้อมูลข่าวสารด้านการท่องเที่ยว-อาหารมาได้ที่ กอง บก.ข่าวท่องเที่ยว แฟกซ์ 0-2629-4467 อีเมล์ travel_astvmgr@hotmail.com หรือติดตามเพิ่มเติมได้ที่ Facebook :Travel @ Manager