Facebook :Travel @ Manager

“ตรัง” เป็นอีกหนึ่งจังหวัดที่มีความน่าสนใจของภาคใต้ เพราะเป็นจังหวัดที่มีพื้นที่ติดทะเล มีชายหาดและเกาะที่สวยงาม รวมถึงมีของกินเลิศรสหลากหลาย ทำให้นักท่องเที่ยวต่างแวะเวียนไปอยู่เสมอ ครั้งนี้จึงอยากพาไปรู้จักกับแหล่งท่องเที่ยวที่หลายคนอาจยังไม่รู้จักในบริเวณลุ่มน้ำปะเหลียน
เส้นทางบริเวณชุมชนลุ่มน้ำปะเหลียนมีต้นทุนเรื่องแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจ ทางมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย (มทร.ศรีวิชัย) ได้ร่วมมือกับภาครัฐ ผู้ประกอบการ และคนในชุมชน ร่วมทำวิจัยศึกษาศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวในเขตลุ่มน้ำปะเหลียน โดยการสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) พัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ที่สามารถสนองตอบความต้องการของนักท่องเที่ยว โดยไม่กระทบกับวิถีชีวิตดั้งเดิมของคนในชุมชน และช่วยหนุนเสริมความหลากหลายและอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรแห่งลุ่มปะเหลียน

การท่องเที่ยวบริเวณลุ่มน้ำปะเหลียนในครั้งนี้ จะต้องลงเรือเพื่อไปชมความงดงามของสถานที่ต่างๆ โดยเริ่มต้นกันที่จุดแรกนั่นก็คือ “เกาะหอไหร” หรือ เกาะหอไร้ เป็นเกาะที่อยู่กลางทะเล มีลักษณะพื้นที่เป็นหาดทรายที่มีต้นโกงกางอยู่ประปราย และมีลักษณะรากตะปุ่มตะป่ำของต้นโกงกางโผล่อยู่ตามพื้นทรายมากมายรอบๆ ของเกาะ หอไหรเป็นแหล่งของหอยตลับ ซึ่งชาวบ้านในพื้นที่จะเรียกว่า “หอยปะ” เป็นหอยที่มีมากมายในเขตของลุ่มน้ำปะเหลียน
และพื้นที่ของเกาะหอไหรเป็นพื้นที่กลางที่เชื่อมระหว่าง 3 หมู่บ้าน ได้แก่ บ้านแหลม บ้านหินคอกควาย และบ้านทุ่งตะเซะ ตามข้อสันนิษฐานที่มาของชื่อ “เกาะหอไหร” คำว่า “ไหร” เป็นภาษาถิ่นใต้แปลว่า “ไม่มี” เช่นเดียวกับคำว่า “ไร้” ที่มีความหมายว่า “ไม่มี” ซึ่งในพื้นที่ของเกาะหอไหร เป็นพื้นที่กลางที่ไม่มีหมู่บ้านใดดูแลจึงเรียกว่า “เกาะหอไหร” โดยกิจกรรมสำคัญที่นักท่องเที่ยวไม่ควรพลาดคือ การเก็บหอยตลับและการศึกษาดูวิถีของปูเสฉวน ปูก้ามดาบ ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่อย่างมากมาย

อีกหนึ่งจุดไฮไลท์ที่สำคัญของลุ่มน้ำปะเหลียนก็คือ “สันหลังลูกมังกร” เป็นลักษณะสันดอนหาดทรายที่ปรากฏตัวขึ้นมาเมื่อเวลาน้ำลง มีลักษณะเป็นสันดอนหาดทรายคดเคี้ยว มีความสวยงามตามธรรมชาติ นักท่องเที่ยวสามารถลงเดินได้ตลอดแนวและยังเดินเก็บหอยตลับในพื้นที่หาดทรายได้อย่างสนุกสนาน ซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่หากได้ไปแล้วจะเข้าใจคำว่า “มนต์เสน่ห์ แห่งลุ่มน้ำปะเหลียน” ได้อย่างชัดเจน

จากนั้นไปชมบ้านหินคอกควาย ในอดีตเป็นหมู่บ้านที่มีครัวเรือนอาศัยทั้งสิ้น 363 ครัวเรือน มีการนับถือทั้งศาสนาพุทธ และศาสนาอิสลาม มีอาชีพทำการประมงและทำสวนยางพาราเป็นหลัก จุดเด่นของบ้านหินคอกควายคือ ความหลากหลายของเชื้อชาติและศาสนาที่นับถือ นอกจากนี้ยังมีวัฒนธรรมที่ผสมผสานระหว่างไทย-พุทธ ไทย-มุสลิมและไทย-จีน จนถูกขนานนามว่า “ชุมชนมนตรา แห่งลุ่มน้ำปะเหลียน” อีกด้วย
ต่อมาบ้านหินคอกควายถูกเรียกว่า “หินคอกควาย” เพราะดูจากลักษณะพื้นที่ หากเดินทางมาทางน้ำก่อนถึงบ้านหินคอกควายจะพบกับก้อนหินที่ล้อมรอบเป็นวงกลมคล้ายกับคอกเลี้ยงสัตว์ และถ้าเดินทางไปในเวลาน้ำลงจะเห็นทรายอยู่ภายในหินล้อมเหล่านี้ได้อย่างชัดเจน
นอกจากนี้บ้านหินคอกควายยังมีเส้นทางศึกษาธรรมชาติ เป็นเส้นทางศึกษาพรรณไม้ป่าชายเลน มีทั้งหมด 3 จุดโดยสามารถเดินเลียบชายทะเล เพื่อศึกษาพรรณไม้ป่าชายเลนในเขตพื้นบ้านหินคอกควาย เช่น ต้นโกงกางใบใหญ่ ต้นโกงกางใบเล็ก ต้นพายทะเล เป็นต้น

หลังจากนั้นเรานั่งเรือไปยัง “ศาลเจ้าพระร้อยแปดร้อยเก้า” โดยมีประวัติความเป็นมาว่า มีชาวจีนไหหลำ ชื่อนายกิ้ม แซ่เอียบ ได้อพยพมาอยู่หมู่บ้านหินคอกคลาย ได้ทำอาชีพทำโป๊ะดักปลา บริเวณปากแม่น้ำอำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง ก่อนปี พ.ศ.2348 มีบุตร 9 คน คือ นายลิ้ม แซ่เอียบ นางย้วน แซ่เอียบ นายเหมา แซ่เอียบ นายซ้าย แซ่เอียบ นายหยน แซ่เอียบ นางดี แซ่เอียบ นางด้าย แซ่เอียบ และนางเห๊ว แซ่เอียบ
ต่อมานายกิ้ม ได้ออกไปจับปลาที่โป๊ะปลา และได้สังเกตเห็นว่าบริเวณโป๊ะปลาที่ทำจากไม้ไผ่ปรากฏไม้ท่อนยาวติดอยู่ นายกิ้มจึงได้ลากไม้ท่อนดังกล่าวโยนทิ้งไป แต่ท่อนไม้ก็ลอยกับมาติดใหม่ เป็นอย่างนี้ถึง 3 วัน ทำให้นายกิ้มรู้สึกผิดสังเกต เลยตัดสินใจยกไม้ท่อนดังกล่าวใส่ในเรือ แล้วกรรเชียงเรือกลับบ้าน หลังจากนั้นไม่นาน ลูกๆ ของนายกิ้มเจ็บป่วยโดยไม่ทราบสาเหตุ และได้ประทับทรงที่นายกิ้ม บอกภรรยาและลูกๆ ว่า องค์ที่มาประทับทรงนี้นามว่า “ยี่ก๋งดั๋ว” โดยขอให้มีการสร้างที่พักเล็กๆ ไว้สำหรับเป็นที่พักของวิญญาณ นามว่าศาลเจ้าพระร้อยแปดบ้านหินคอกควาย และให้นำไม้ท่อนมาแกะลายหนังสือจีนภาษาไหหลำเป็นป้ายวิญญาณ หลังจากสร้างที่พักแล้วเสร็จ ปรากฏว่าลูกๆ ของนายกิ้ม ก็หายจากอาการป่วย โดยองค์ที่มาประทับตรงที่นายกิ้ม แซ่เอียบ (ยี่ก๋งดั๋ว)

จากนั้นไม่นานเกิดโรคอีสุกอีใสขึ้นในหมู่บ้านหินคอกควาย ชาวบ้านต่างก็พากันมารักษาที่ศาลเจ้าพระร้อยแปด นายกิ้มก็ได้ประทับทรง และเก็บยาสมุนไพรมาต้มให้ลูกหลานที่เจ็บป่วยได้กินและหายจากอาการโรคอีสุกอีใสกันทุกคน ลูกหลายชาวหินคอกควายเกิดความเลื่อมใส ศรัทธาในองค์ยี่ก๋งดั๋วที่ประทับทรงที่ตัวนายกิ้ม เป็นอย่างมาก โดยมีการขยายศาลเจ้าให้ใหญ่ขึ้นจนกลายเป็นศาลเจ้าในปัจจุบัน

ไม่เพียงแต่แหล่งท่องเที่ยวในเขตลุ่มน้ำปะเหลียน มทร.ศรีวิชัย ยังใช้งานวิจัยช่วยกลุ่มวิสาหกิจชุมชนจักสานก้านจากบ้านนายอดทอง ตำบลวังวน อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง ผลิต “ตู้อบแห้งใช้จากพลังแสงอาทิตย์” ให้คนในชุนชนใช้ผลิต “ติหมา” ให้เพียงพอกับความต้องการของตลาดมากถึง 2 เท่า รวมทั้งสร้างงานสร้างอาชีพให้คนในชุมชน ได้เป็นอย่างดี
“ติหมา” เป็นภูมิปัญญาจักสานของคนในภาคใต้ ที่นำส่วนยอดของใบจากอ่อน ซึ่งเป็นส่วนเหลือทิ้งจากกระบวนการทำใบจาก โดยทำส่วนหัวมาตากแดดให้แห้งแล้วนำมาสานในรูปแบบที่สวยงามสามารถใช้แทนแก้วน้ำ กระบวยตักน้ำได้ ปัจจุบันมียอดการสั่งซื้อจำนวนมาก ทำให้ชาวบ้านไม่สามารถเพิ่มกำลังการผลิตได้ทัน เนื่องจากใบจากที่จะนำมาเป็นวัตถุดิบนั้นต้องเป็นใบจากที่แห้งแล้วเท่านั้นจึงนำมาจักสานได้

ซึ่งก่อนหน้านี้ ทางชุมชนใช้ภูมิปัญญาดั้งเดิมคือการตากแดด หากแดดจัดสามารถตากให้แห้งภายใน 1 วัน แต่หากแดดอ่อนหรือต้องใช้เวลาตากมากกว่านั้นจะเกิดปัญหาในเรื่องสีของใบจากที่อาจผิดเพี้ยนไป ประกอบกับภาคใต้จะมี ฝนตกชุกเกือบตลอดทั้งปี ทำให้ไม่สามารถผลิตได้ทัน
นอกจากงานวิจัยชุดนี้จะช่วยทำให้เกิดการจ้างงานในชุมชนทำให้แต่ละครัวเรือนมีรายได้เสริมแล้ว หากมองในมุมของการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม อาชีพจักสาน โดยเฉพาะในส่วนของติหมาถือเป็นการช่วยแก้ปัญหาของเหลือทิ้งจากก้านจากที่ทำใบยาสูบได้อีกทางหนึ่งด้วย ซึ่งงานวิจัยถือเป็นการเติมเต็มหนุนเสริมกำลังการผลิตของชาวบ้านให้มีประสิทธิภาพ

สำหรับในส่วนของชุมชนบ้านแหลม ต.วังวน อ.กันตัง จ.ตรัง เป็นพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์ทางทรัพยากรธรรมชาติ ชาวบ้านในชุมชนส่วนใหญ่มีอาชีพประมงพื้นบ้าน มทร.ศรีวิชัย จึงนำทรัพยากรในท้องถิ่นนำมาแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่าจะสร้างความยั่งยืนในอาชีพและสร้างสินค้าให้ชุมชนในระยะยาว ซึ่งพบว่าในชุมชนมีหอยตลับหรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าหอยปะ ซึ่งเป็นหอยประจำถิ่นที่มีจำนวนมาก จึงพัฒนาแปรรูปหอยตลับรวมทั้งปรุงรสชาติให้มีมูลค่ามากยิ่งขึ้น




สามารถส่งข้อมูลข่าวสารด้านการท่องเที่ยว-อาหารมาได้ที่ กอง บก.ข่าวท่องเที่ยว แฟกซ์ 0-2629-4467 อีเมล์ travel_astvmgr@hotmail.com หรือติดตามเพิ่มเติมได้ที่ Facebook :Travel @ Manager
“ตรัง” เป็นอีกหนึ่งจังหวัดที่มีความน่าสนใจของภาคใต้ เพราะเป็นจังหวัดที่มีพื้นที่ติดทะเล มีชายหาดและเกาะที่สวยงาม รวมถึงมีของกินเลิศรสหลากหลาย ทำให้นักท่องเที่ยวต่างแวะเวียนไปอยู่เสมอ ครั้งนี้จึงอยากพาไปรู้จักกับแหล่งท่องเที่ยวที่หลายคนอาจยังไม่รู้จักในบริเวณลุ่มน้ำปะเหลียน
เส้นทางบริเวณชุมชนลุ่มน้ำปะเหลียนมีต้นทุนเรื่องแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจ ทางมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย (มทร.ศรีวิชัย) ได้ร่วมมือกับภาครัฐ ผู้ประกอบการ และคนในชุมชน ร่วมทำวิจัยศึกษาศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวในเขตลุ่มน้ำปะเหลียน โดยการสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) พัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ที่สามารถสนองตอบความต้องการของนักท่องเที่ยว โดยไม่กระทบกับวิถีชีวิตดั้งเดิมของคนในชุมชน และช่วยหนุนเสริมความหลากหลายและอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรแห่งลุ่มปะเหลียน
การท่องเที่ยวบริเวณลุ่มน้ำปะเหลียนในครั้งนี้ จะต้องลงเรือเพื่อไปชมความงดงามของสถานที่ต่างๆ โดยเริ่มต้นกันที่จุดแรกนั่นก็คือ “เกาะหอไหร” หรือ เกาะหอไร้ เป็นเกาะที่อยู่กลางทะเล มีลักษณะพื้นที่เป็นหาดทรายที่มีต้นโกงกางอยู่ประปราย และมีลักษณะรากตะปุ่มตะป่ำของต้นโกงกางโผล่อยู่ตามพื้นทรายมากมายรอบๆ ของเกาะ หอไหรเป็นแหล่งของหอยตลับ ซึ่งชาวบ้านในพื้นที่จะเรียกว่า “หอยปะ” เป็นหอยที่มีมากมายในเขตของลุ่มน้ำปะเหลียน
และพื้นที่ของเกาะหอไหรเป็นพื้นที่กลางที่เชื่อมระหว่าง 3 หมู่บ้าน ได้แก่ บ้านแหลม บ้านหินคอกควาย และบ้านทุ่งตะเซะ ตามข้อสันนิษฐานที่มาของชื่อ “เกาะหอไหร” คำว่า “ไหร” เป็นภาษาถิ่นใต้แปลว่า “ไม่มี” เช่นเดียวกับคำว่า “ไร้” ที่มีความหมายว่า “ไม่มี” ซึ่งในพื้นที่ของเกาะหอไหร เป็นพื้นที่กลางที่ไม่มีหมู่บ้านใดดูแลจึงเรียกว่า “เกาะหอไหร” โดยกิจกรรมสำคัญที่นักท่องเที่ยวไม่ควรพลาดคือ การเก็บหอยตลับและการศึกษาดูวิถีของปูเสฉวน ปูก้ามดาบ ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่อย่างมากมาย
อีกหนึ่งจุดไฮไลท์ที่สำคัญของลุ่มน้ำปะเหลียนก็คือ “สันหลังลูกมังกร” เป็นลักษณะสันดอนหาดทรายที่ปรากฏตัวขึ้นมาเมื่อเวลาน้ำลง มีลักษณะเป็นสันดอนหาดทรายคดเคี้ยว มีความสวยงามตามธรรมชาติ นักท่องเที่ยวสามารถลงเดินได้ตลอดแนวและยังเดินเก็บหอยตลับในพื้นที่หาดทรายได้อย่างสนุกสนาน ซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่หากได้ไปแล้วจะเข้าใจคำว่า “มนต์เสน่ห์ แห่งลุ่มน้ำปะเหลียน” ได้อย่างชัดเจน
จากนั้นไปชมบ้านหินคอกควาย ในอดีตเป็นหมู่บ้านที่มีครัวเรือนอาศัยทั้งสิ้น 363 ครัวเรือน มีการนับถือทั้งศาสนาพุทธ และศาสนาอิสลาม มีอาชีพทำการประมงและทำสวนยางพาราเป็นหลัก จุดเด่นของบ้านหินคอกควายคือ ความหลากหลายของเชื้อชาติและศาสนาที่นับถือ นอกจากนี้ยังมีวัฒนธรรมที่ผสมผสานระหว่างไทย-พุทธ ไทย-มุสลิมและไทย-จีน จนถูกขนานนามว่า “ชุมชนมนตรา แห่งลุ่มน้ำปะเหลียน” อีกด้วย
ต่อมาบ้านหินคอกควายถูกเรียกว่า “หินคอกควาย” เพราะดูจากลักษณะพื้นที่ หากเดินทางมาทางน้ำก่อนถึงบ้านหินคอกควายจะพบกับก้อนหินที่ล้อมรอบเป็นวงกลมคล้ายกับคอกเลี้ยงสัตว์ และถ้าเดินทางไปในเวลาน้ำลงจะเห็นทรายอยู่ภายในหินล้อมเหล่านี้ได้อย่างชัดเจน
นอกจากนี้บ้านหินคอกควายยังมีเส้นทางศึกษาธรรมชาติ เป็นเส้นทางศึกษาพรรณไม้ป่าชายเลน มีทั้งหมด 3 จุดโดยสามารถเดินเลียบชายทะเล เพื่อศึกษาพรรณไม้ป่าชายเลนในเขตพื้นบ้านหินคอกควาย เช่น ต้นโกงกางใบใหญ่ ต้นโกงกางใบเล็ก ต้นพายทะเล เป็นต้น
หลังจากนั้นเรานั่งเรือไปยัง “ศาลเจ้าพระร้อยแปดร้อยเก้า” โดยมีประวัติความเป็นมาว่า มีชาวจีนไหหลำ ชื่อนายกิ้ม แซ่เอียบ ได้อพยพมาอยู่หมู่บ้านหินคอกคลาย ได้ทำอาชีพทำโป๊ะดักปลา บริเวณปากแม่น้ำอำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง ก่อนปี พ.ศ.2348 มีบุตร 9 คน คือ นายลิ้ม แซ่เอียบ นางย้วน แซ่เอียบ นายเหมา แซ่เอียบ นายซ้าย แซ่เอียบ นายหยน แซ่เอียบ นางดี แซ่เอียบ นางด้าย แซ่เอียบ และนางเห๊ว แซ่เอียบ
ต่อมานายกิ้ม ได้ออกไปจับปลาที่โป๊ะปลา และได้สังเกตเห็นว่าบริเวณโป๊ะปลาที่ทำจากไม้ไผ่ปรากฏไม้ท่อนยาวติดอยู่ นายกิ้มจึงได้ลากไม้ท่อนดังกล่าวโยนทิ้งไป แต่ท่อนไม้ก็ลอยกับมาติดใหม่ เป็นอย่างนี้ถึง 3 วัน ทำให้นายกิ้มรู้สึกผิดสังเกต เลยตัดสินใจยกไม้ท่อนดังกล่าวใส่ในเรือ แล้วกรรเชียงเรือกลับบ้าน หลังจากนั้นไม่นาน ลูกๆ ของนายกิ้มเจ็บป่วยโดยไม่ทราบสาเหตุ และได้ประทับทรงที่นายกิ้ม บอกภรรยาและลูกๆ ว่า องค์ที่มาประทับทรงนี้นามว่า “ยี่ก๋งดั๋ว” โดยขอให้มีการสร้างที่พักเล็กๆ ไว้สำหรับเป็นที่พักของวิญญาณ นามว่าศาลเจ้าพระร้อยแปดบ้านหินคอกควาย และให้นำไม้ท่อนมาแกะลายหนังสือจีนภาษาไหหลำเป็นป้ายวิญญาณ หลังจากสร้างที่พักแล้วเสร็จ ปรากฏว่าลูกๆ ของนายกิ้ม ก็หายจากอาการป่วย โดยองค์ที่มาประทับตรงที่นายกิ้ม แซ่เอียบ (ยี่ก๋งดั๋ว)
จากนั้นไม่นานเกิดโรคอีสุกอีใสขึ้นในหมู่บ้านหินคอกควาย ชาวบ้านต่างก็พากันมารักษาที่ศาลเจ้าพระร้อยแปด นายกิ้มก็ได้ประทับทรง และเก็บยาสมุนไพรมาต้มให้ลูกหลานที่เจ็บป่วยได้กินและหายจากอาการโรคอีสุกอีใสกันทุกคน ลูกหลายชาวหินคอกควายเกิดความเลื่อมใส ศรัทธาในองค์ยี่ก๋งดั๋วที่ประทับทรงที่ตัวนายกิ้ม เป็นอย่างมาก โดยมีการขยายศาลเจ้าให้ใหญ่ขึ้นจนกลายเป็นศาลเจ้าในปัจจุบัน
ไม่เพียงแต่แหล่งท่องเที่ยวในเขตลุ่มน้ำปะเหลียน มทร.ศรีวิชัย ยังใช้งานวิจัยช่วยกลุ่มวิสาหกิจชุมชนจักสานก้านจากบ้านนายอดทอง ตำบลวังวน อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง ผลิต “ตู้อบแห้งใช้จากพลังแสงอาทิตย์” ให้คนในชุนชนใช้ผลิต “ติหมา” ให้เพียงพอกับความต้องการของตลาดมากถึง 2 เท่า รวมทั้งสร้างงานสร้างอาชีพให้คนในชุมชน ได้เป็นอย่างดี
“ติหมา” เป็นภูมิปัญญาจักสานของคนในภาคใต้ ที่นำส่วนยอดของใบจากอ่อน ซึ่งเป็นส่วนเหลือทิ้งจากกระบวนการทำใบจาก โดยทำส่วนหัวมาตากแดดให้แห้งแล้วนำมาสานในรูปแบบที่สวยงามสามารถใช้แทนแก้วน้ำ กระบวยตักน้ำได้ ปัจจุบันมียอดการสั่งซื้อจำนวนมาก ทำให้ชาวบ้านไม่สามารถเพิ่มกำลังการผลิตได้ทัน เนื่องจากใบจากที่จะนำมาเป็นวัตถุดิบนั้นต้องเป็นใบจากที่แห้งแล้วเท่านั้นจึงนำมาจักสานได้
ซึ่งก่อนหน้านี้ ทางชุมชนใช้ภูมิปัญญาดั้งเดิมคือการตากแดด หากแดดจัดสามารถตากให้แห้งภายใน 1 วัน แต่หากแดดอ่อนหรือต้องใช้เวลาตากมากกว่านั้นจะเกิดปัญหาในเรื่องสีของใบจากที่อาจผิดเพี้ยนไป ประกอบกับภาคใต้จะมี ฝนตกชุกเกือบตลอดทั้งปี ทำให้ไม่สามารถผลิตได้ทัน
นอกจากงานวิจัยชุดนี้จะช่วยทำให้เกิดการจ้างงานในชุมชนทำให้แต่ละครัวเรือนมีรายได้เสริมแล้ว หากมองในมุมของการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม อาชีพจักสาน โดยเฉพาะในส่วนของติหมาถือเป็นการช่วยแก้ปัญหาของเหลือทิ้งจากก้านจากที่ทำใบยาสูบได้อีกทางหนึ่งด้วย ซึ่งงานวิจัยถือเป็นการเติมเต็มหนุนเสริมกำลังการผลิตของชาวบ้านให้มีประสิทธิภาพ
สำหรับในส่วนของชุมชนบ้านแหลม ต.วังวน อ.กันตัง จ.ตรัง เป็นพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์ทางทรัพยากรธรรมชาติ ชาวบ้านในชุมชนส่วนใหญ่มีอาชีพประมงพื้นบ้าน มทร.ศรีวิชัย จึงนำทรัพยากรในท้องถิ่นนำมาแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่าจะสร้างความยั่งยืนในอาชีพและสร้างสินค้าให้ชุมชนในระยะยาว ซึ่งพบว่าในชุมชนมีหอยตลับหรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าหอยปะ ซึ่งเป็นหอยประจำถิ่นที่มีจำนวนมาก จึงพัฒนาแปรรูปหอยตลับรวมทั้งปรุงรสชาติให้มีมูลค่ามากยิ่งขึ้น
สามารถส่งข้อมูลข่าวสารด้านการท่องเที่ยว-อาหารมาได้ที่ กอง บก.ข่าวท่องเที่ยว แฟกซ์ 0-2629-4467 อีเมล์ travel_astvmgr@hotmail.com หรือติดตามเพิ่มเติมได้ที่ Facebook :Travel @ Manager