Facebook :Travel @ Manager

เสน่ห์ของการท่องเที่ยวไม่ได้จำกัดอยู่เฉพาะทิวทัศน์อันงดงามที่ชวนให้เข้าไปพบพานและผ่านไป แต่ผู้คนและประสบการณ์ระหว่างทางที่พบเจอในสถานที่นั้นๆ ต่างหากที่จะทำให้การเดินทางท่องเที่ยวในแต่ละครั้งกลายเป็นความทรงจำที่แสนประทับใจ “การท่องเที่ยวชุมชน” จึงเป็นอีกหนึ่งรูปแบบการท่องเที่ยวที่ตอบโจทย์ เพราะได้ทั้งสัมผัสความงดงามของแหล่งท่องเที่ยว ได้เข้าไปมีส่วนร่วมเรียนรู้และเข้าถึงวิถีชีวิตของคนในที่นั้นๆ ซึ่งอาจเป็นการเปิดโลกในมุมมองใหม่ที่เรายังไม่เคยรู้จัก และทำให้เรียกได้ว่าเดินทางไป “ถึง” สถานที่นั้นแล้วจริงๆ
ในเมืองไทยมีแหล่งท่องเที่ยวชุมชนหลากหลายที่ต่างมีอัตลักษณ์โดดเด่นชวนให้ไปสัมผัส และมีหลายแห่งที่ได้รับ “รางวัลอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทย” (Thailand Tourism Awards) หรือที่รู้จักกันในชื่อ “รางวัลกินรี” ที่การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ตั้งใจมอบให้แก่ผู้ประกอบการ ชุมชน หรือหน่วยงานที่บริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวได้อย่างดีเยี่ยม เพื่อเป็นการการันตีว่าแหล่งท่องเที่ยวแห่งนั้นมีคุณภาพและมีความเหมาะสม พร้อมจะรองรับและส่งต่อความสุขให้กับนักท่องเที่ยว โดยใช้สัญลักษณ์ “กินรี” เป็นเครื่องหมายรับรองคุณภาพ จนถึงปัจจุบันได้จัดพิธีมอบรางวัลแล้ว 11 ครั้ง เมื่อปี 2560
เราจึงขอนำเสนอแหล่งท่องเที่ยวชุมชนที่ได้รับรางวัลอุตสาหกรรมท่องเที่ยวครั้งที่ 11 ประจำปี 2560 มาชักชวนให้คนที่อยากเรียนรู้ประสบการณ์ใหม่ๆ ได้ออกเดินทางไปสัมผัสความประทับใจ ด้วยความมั่นใจว่าชุมชนแต่ละแห่งก็พร้อมที่จะพาเราไปรู้จักกับบ้านของเขาเช่นกัน

ชุมชนวิถีพุทธคลองแดน จ.สงขลา - รางวัลยอดเยี่ยม ประเภทองค์กรสนับสนุนและส่งเสริมการท่องเที่ยว (ภาคเอกชน)
ชุมชนวิถีพุทธคลองแดน (ต.คลองแดน อ.ระโนด จ.สงขลา) เป็นการท่องเที่ยวที่เกิดขึ้นโดยความร่วมมือของชุมชนที่นำเอาสิ่งที่น่าสนใจในชุมชนของตนมาพัฒนาและบริหารจัดการเพื่อให้เกิดการท่องเที่ยวที่ยั่งยืน
ที่นี่มี “ตลาดริมน้ำคลองแดน” หรือตลาดสามคลอง สองเมือง เป็นจุดท่องเที่ยวชูโรง ตัวตลาดตั้งอยู่ที่จุดบรรจบของคลองสามสายคือ คลองระโนด คลองชะอวดและคลองปากพนัง และเป็นเส้นแบ่งเขตแดน 2 จังหวัด คือ ต.คลองแดน อ.ระโนด จ.สงขลา และ ต.รามแก้ว อ.หัวไทร จ.นครศรีธรรมราช นอกจากนี้ คลองทั้งสามสายยังเป็นเส้นทางที่เชื่อมออกสู่เส้นทางการค้าขายทางทะเลอ่าวไทย และเชื่อมต่อสู่พื้นที่ลุ่มน้ำทะเลสาบ


ในอดีตเมื่อการคมนาคมทางน้ำเริ่มซบเซา พื้นที่แถบนี้ก็ไม่คึกคักเหมือนดังเดิม จนกระทั่งคนในท้องถิ่นร่วมมือกันปรับปรุงพื้นที่ อนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น และฟื้นฟูวิถีประเพณีของชุมชน พัฒนาจนกลายมาเป็นตลาดริมน้ำคลองแดนน่าเที่ยวอย่างในปัจจุบัน
หากใครได้มาเดินเล่นที่ตลาดก็จะได้ชมบรรยากาศของทางเดินไม้ริมน้ำที่ทอดตัวยาวไปตามสองฝั่งคลองให้นักท่องเที่ยวได้เดินเลือกซื้อสินค้าไปพร้อมๆ กับเดินชมบ้านไม้เก่าแบบพื้นถิ่นภาคใต้อายุกว่าร้อยปีที่ปลูกเรียงรายริมคลอง และอย่าพลาดการชิมอาหารท้องถิ่นที่ชุมชนส่งเสริมให้แม่ค้าพ่อค้านำอาหารพื้นบ้านที่หากินได้ยากมาวางขายเพื่อให้นักท่องเที่ยวได้ลองลิ้มและเพื่อไม่ให้อาหารพื้นบ้านนั้นสูญหายไปตามกาลเวลา อาทิ ปลาทอดทรงเครื่อง แป้งแดง ข้าวยำ ข้าวมันแกงไก่ เต้าคั่ว ขนมกอ ขนมจาก ขนมลูกโดน ขนมโค ขนมปำจี ขนมค่อม เป็นต้น


ชุมชนบ้านน้ำเชี่ยว จ.ตราด - รางวัลดีเด่น ประเภทแหล่งท่องเที่ยวชุมชน
ชุมชนบ้านน้ำเชี่ยว (ต.น้ำเชี่ยว อ.แหลมงอบ จ.ตราด) เป็นชุมชนเล็กๆ เงียบสงบซึ่งมีคลองน้ำเชี่ยวไหลผ่านกลางหมู่บ้าน ความโดดเด่นของชุมชนแห่งนี้คือการเป็นจุดรวมของ 2 ศาสนา 3 วัฒนธรรม คือมีทั้งชาวไทยพุทธและไทยมุสลิมอยู่ร่วมกัน และยังเป็นจุดรวมของวัฒนธรรมไทย จีน และอิสลาม เห็นได้จากการที่มีวัด ศาลเจ้าจีน และมัสยิดอยู่ในละแวกเดียวกัน ผู้คนอาศัยอยู่ร่วมกันอย่างกลมกลืน ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพประมง ทำสวนยางพาราและสวนผลไม้

นักท่องเที่ยวที่มาเยือนชุมชนน้ำเชี่ยวสามารถเที่ยวชม “วัดน้ำเชี่ยว” ซึ่งเป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวไทยพุทธ ชม “มัสยิดอัลกุบรอ” มัสยิดเก่าแก่ของชาวมุสลิมที่สร้างในสมัยรัชกาลที่ ๓ แวะกราบ “ศาลเจ้าพ่อน้ำเชี่ยว” และเจ้าแม่กวนอิม ก่อนจะไปเดินเล่นบน “สะพานข้ามคลองน้ำเชี่ยว” สะพานข้ามคลองที่สูงที่สุดในเมืองไทยที่สามารถชมทิวทัศน์ของชุมชนน้ำเชี่ยวได้กว้างไกล มองเห็นแนวป่าชายเลนอันอุดมสมบูรณ์ เห็นโค้งน้ำของคลองน้ำเชี่ยวและเรือประมงสีสันสดใสน่าชม

นอกจากนั้นแล้ว การเดินชมบรรยากาศของป่าชายเลนที่ศูนย์ศึกษาธรรมชาติระบบนิเวศป่าชายเลนก็เป็นอีกหนึ่งกิจกรรมที่ไม่ควรพลาด เพราะจะได้เห็นความอุดมสมบูรณ์ของป่าชายเลนบ้านน้ำเชี่ยว และยังสามารถขึ้นไปชมนกและสัตว์ท้องถิ่นต่างๆ บนหอดูนกได้อีกด้วย
ก่อนกลับหากอยากได้ของฝากติดไม้ติดมือกลับบ้าน ให้ลองมองหา “งอบน้ำเชี่ยว” ซึ่งทำจากใบจาก เป็นงานหัตถกรรมพื้นบ้านอันมีเอกลักษณ์ที่ชาวบ้านน้ำเชี่ยวสืบทอดกันมาช้านาน


ชุมชนพระบาทห้วยต้ม จ.ลำพูน - รางวัลดีเด่น ประเภทแหล่งท่องเที่ยวชุมชน
ชาวบ้านห้วยต้ม (ต.นาทราย อ.ลี้ จ.ลำพูน) ส่วนใหญ่เป็นชาวปกาเกอะญอที่ติดตามหลวงปู่ครูบาชัยยะวงศาพัฒนาหรือครูบาวงศ์ พระเกจิที่เป็นดังศูนย์รวมจิตใจของชาวปกาเกอะญอ (มรณภาพเมื่อปี 2543) เข้ามาอาศัยอยู่ที่บ้านห้วยต้ม
สิ่งหนึ่งที่หลวงปู่ครูบาวงศ์ได้สั่งสอนและชาวบ้านยังคงยึดถือปฏิบัติตามกันสืบมาก็คือการสอนให้ชาวบ้านกินมังสวิรัติโดยไม่ต้องเบียดเบียนชีวิตใคร ชาวบ้านห้วยต้มจึงกินมังสวิรัติกันทั้งหมู่บ้านจนกลายเป็นวิถีชีวิต และเกิดเป็นประเพณีตักบาตรผักและถวายสังฆทานผักในวันพระสืบเนื่องมาจนทุกวันนี้

เมื่อมาท่องเที่ยวที่ชุมชนพระบาทห้วยต้ม เราสามารถมาสักการะสรีระของหลวงปู่ครูบาวงศ์ที่บรรจุไว้ในโลงแก้วภายในวิหารพระเมืองแก้ว ในวัดพระบาทห้วยต้ม มาสักการะรอยพระพุทธบาทห้วยต้ม ชมพระเจดีย์ 84,000 พระธรรมขันธ์ และสามารถไปชม “พระมหาธาตุเจดีย์ศรีเวียงชัย” เจดีย์ขนาดใหญ่สีทองงามอร่ามที่อยู่ห่างจากตัววัดไปประมาณ 1 ก.ม.
รวมถึงสามารถเข้าไปเที่ยวชมความเป็นอยู่ของชาวปกาเกอะญอที่ “ชุมชนน้ำบ่อน้อย” ที่มีชาวบ้านชาวปกาเกอะญออาศัยอยู่ 50 หลังคาเรือน ส่วนใหญ่มีอาชีพทำนาและปลูกพืชผัก คนในชุมชนยังใช้ชีวิตแบบเรียบง่ายโดยไม่พึ่งไฟฟ้าและน้ำประปา


และหากอยากสนับสนุนสินค้าในชุมชนต้องมาที่ “ศูนย์หัตถกรรมบ้านห้วยต้ม” ที่จำหน่ายผลงานแฮนด์เมดไม่ว่าจะเป็นผ้าทอมือ ชุดปกาเกอะญอ ผ้าพันคอ เครื่องเงิน เครื่องประดับต่างๆ ให้เลือกชมเลือกซื้อเป็นที่ระลึกกันได้

ชุมชนบ้านหนองขาว จ.กาญจนบุรี - รางวัลดีเด่น ประเภทแหล่งท่องเที่ยวชุมชน
มานั่งรถอีแต๋นชมทุ่งนาเขียวขจีสดชื่นและเรียนรู้วิถีชีวิตสังคมเกษตรที่อยู่อย่างสงบเรียบง่ายใน “หมู่บ้านหนองขาว” (ต.หนองขาว อ.ท่าม่วง จ.กาญจนบุรี) ซึ่งชาวชุมชนที่นี่ส่วนใหญ่ยังคงประกอบอาชีพเป็นชาวนา และมีวิถีวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับการเกษตร เช่น พิธีทำขวัญข้าว พิธีสำคัญในอดีตของชาวนาเพื่อแสดงความเคารพและระลึกถึงบุญคุณของแม่โพสพ และเพื่อให้แม่โพสพบันดาลให้ข้าวที่ปลูกออกรวงงามสมบูรณ์ ในปัจจุบันมีเกษตรกรน้อยรายยังคงทำพิธีนี้อยู่ แต่ที่บ้านหนองขาวยังคงสืบทอดพิธีอันแสดงถึงความกตัญญูนี้ไว้

ที่นี่เรายังจะได้เห็นการสาธิตการตำข้าว การทำขนมแบบโบราณ การปีนต้นตาล การทำน้ำตาลสด-น้ำตาลปึก การร้องเพลงเหย่ย-เพลงพวงมาลัย อันเป็นวิถีที่สืบต่อกันมาแต่โบราณ และมาเลือกซื้อ “ผ้าขาวม้าร้อยสี” ผ้าขาวม้าสีสันสดใสลวดลายสะดุดตาที่ทอจากกี่กระตุกซึ่งมีคุณภาพสูงและมีชื่อเสียงอย่างมากของกาญจนบุรี ผ้าขาวม้าสวยทนทาน ใช้งานได้ยาวนาน เหมาะที่จะซื้อหาเป็นของฝาก


ชุมชนเกาะเกิด จ.พระนครศรีอยุธยา รางวัลดีเด่น ประเภทองค์กรสนับสนุนและส่งเสริมการท่องเที่ยว (ภาคเอกชน)
“ชุมชนเกาะเกิด” เป็นชุมชนริมแม่น้ำเจ้าพระยา อยู่ใน อ.บางปะอิน จ.พระนครศรีอยุธยา ที่มาของชื่อเกาะเกิดเล่าต่อๆ กันมาว่า ในสมัยอยุธยามีเรือสำเภาจีนที่มาค้าขายตามในแม่น้ำแล้วเกิดพายุพัดจนเรือล่มตรงบริเวณหน้าวัดเชิงท่า (อ.บางปะอิน) เวลาผ่านไปกระแสน้ำได้พัดพาดินตะกอนมาทับถมจนเกิดเป็นเกาะกลางน้ำ ชาวบ้านจึงเรียกบริเวณนี้ว่า “เกาะเกิด”
ชาวชุมชนเกาะเกิดร่วมแรงกันพัฒนาชุมชนจนกลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวเรียนรู้วิถีชุมชน ซึ่งมีกิจกรรมหลากหลายรองรับนักท่องเที่ยว ไม่ว่าจะเป็นการเที่ยวชมวิถีชีวิตของชาวบ้านชุมชนเกาะเกิดที่ดำรงตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวงรัชกาลที่ ๙ ศูนย์เรียนรู้เกี่ยวกับขนมไทยที่ขึ้นชื่อและสร้างชื่อเสียงให้กับชุมชน เช่น บ้านป้าสละและลุงสมนึกที่จะทำขนมไทยสลับสับเปลี่ยนกันไปในแต่ละวัน ไม่ว่าจะเป็นขนมสามเกลอ ขนมกง ขนมต้ม ขนมตะโก้ ขนมเปียกปูน เป็นต้น


นอกจากนั้นนักท่องเที่ยวยังสามารถนั่งเรือเที่ยวล่องจากชุมชนเกาะเกิดไปยังวัดนิเวศธรรมประวัติซึ่งตั้งอยู่บนเกาะกลางแม่น้ำฝั่งตรงข้ามพระราชวังบางปะอิน และใครอยากสัมผัสบรรยากาศของชุมชนเกาะเกิดให้มากกว่านั้น ในชุมชนก็ยังมีโฮมสเตย์ไว้บริการกว่า 10 หลัง ในบรรยากาศสวนและบรรยากาศริมน้ำเจ้าพระยาไว้รองรับนักท่องเที่ยวอีกด้วย

ไม่เพียงชุมชนทั้ง 5 ที่กล่าวมานี้เท่านั้น ยังมีชุมชนน่าเที่ยวอีกหลายแห่งทั่วทุกภาคของประเทศที่มี “รางวัลกินรี” การันตีคุณภาพ อาทิ ชุมชนบ้านริมคลองโฮมสเตย์ จ.สมุทรสงคราม ชุมชนบ่อสวก จ.น่าน ชุมชนกู่กาสิงห์ จ.ร้อยเอ็ด โฮมสเตย์เชิงอนุรักษ์วัฒนธรรมบ้านเชียง จ.อุดรธานี หมู่บ้านท่องเที่ยวทะเลน้อย จ.ระยอง ซึ่งชุมชนเหล่านี้กำลังรอนักท่องเที่ยวให้มาเยือนและรับความประทับใจกลับไป
ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.tourismthailand.org/tourismawards
www.facebook.com/thailandtourismawards
สามารถส่งข้อมูลข่าวสารด้านการท่องเที่ยว-อาหารมาได้ที่ กอง บก.ข่าวท่องเที่ยว แฟกซ์ 0-2629-4467 อีเมล์ travel_astvmgr@hotmail.com หรือติดตามเพิ่มเติมได้ที่ Facebook :Travel @ Manager
เสน่ห์ของการท่องเที่ยวไม่ได้จำกัดอยู่เฉพาะทิวทัศน์อันงดงามที่ชวนให้เข้าไปพบพานและผ่านไป แต่ผู้คนและประสบการณ์ระหว่างทางที่พบเจอในสถานที่นั้นๆ ต่างหากที่จะทำให้การเดินทางท่องเที่ยวในแต่ละครั้งกลายเป็นความทรงจำที่แสนประทับใจ “การท่องเที่ยวชุมชน” จึงเป็นอีกหนึ่งรูปแบบการท่องเที่ยวที่ตอบโจทย์ เพราะได้ทั้งสัมผัสความงดงามของแหล่งท่องเที่ยว ได้เข้าไปมีส่วนร่วมเรียนรู้และเข้าถึงวิถีชีวิตของคนในที่นั้นๆ ซึ่งอาจเป็นการเปิดโลกในมุมมองใหม่ที่เรายังไม่เคยรู้จัก และทำให้เรียกได้ว่าเดินทางไป “ถึง” สถานที่นั้นแล้วจริงๆ
ในเมืองไทยมีแหล่งท่องเที่ยวชุมชนหลากหลายที่ต่างมีอัตลักษณ์โดดเด่นชวนให้ไปสัมผัส และมีหลายแห่งที่ได้รับ “รางวัลอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทย” (Thailand Tourism Awards) หรือที่รู้จักกันในชื่อ “รางวัลกินรี” ที่การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ตั้งใจมอบให้แก่ผู้ประกอบการ ชุมชน หรือหน่วยงานที่บริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวได้อย่างดีเยี่ยม เพื่อเป็นการการันตีว่าแหล่งท่องเที่ยวแห่งนั้นมีคุณภาพและมีความเหมาะสม พร้อมจะรองรับและส่งต่อความสุขให้กับนักท่องเที่ยว โดยใช้สัญลักษณ์ “กินรี” เป็นเครื่องหมายรับรองคุณภาพ จนถึงปัจจุบันได้จัดพิธีมอบรางวัลแล้ว 11 ครั้ง เมื่อปี 2560
เราจึงขอนำเสนอแหล่งท่องเที่ยวชุมชนที่ได้รับรางวัลอุตสาหกรรมท่องเที่ยวครั้งที่ 11 ประจำปี 2560 มาชักชวนให้คนที่อยากเรียนรู้ประสบการณ์ใหม่ๆ ได้ออกเดินทางไปสัมผัสความประทับใจ ด้วยความมั่นใจว่าชุมชนแต่ละแห่งก็พร้อมที่จะพาเราไปรู้จักกับบ้านของเขาเช่นกัน
ชุมชนวิถีพุทธคลองแดน จ.สงขลา - รางวัลยอดเยี่ยม ประเภทองค์กรสนับสนุนและส่งเสริมการท่องเที่ยว (ภาคเอกชน)
ชุมชนวิถีพุทธคลองแดน (ต.คลองแดน อ.ระโนด จ.สงขลา) เป็นการท่องเที่ยวที่เกิดขึ้นโดยความร่วมมือของชุมชนที่นำเอาสิ่งที่น่าสนใจในชุมชนของตนมาพัฒนาและบริหารจัดการเพื่อให้เกิดการท่องเที่ยวที่ยั่งยืน
ที่นี่มี “ตลาดริมน้ำคลองแดน” หรือตลาดสามคลอง สองเมือง เป็นจุดท่องเที่ยวชูโรง ตัวตลาดตั้งอยู่ที่จุดบรรจบของคลองสามสายคือ คลองระโนด คลองชะอวดและคลองปากพนัง และเป็นเส้นแบ่งเขตแดน 2 จังหวัด คือ ต.คลองแดน อ.ระโนด จ.สงขลา และ ต.รามแก้ว อ.หัวไทร จ.นครศรีธรรมราช นอกจากนี้ คลองทั้งสามสายยังเป็นเส้นทางที่เชื่อมออกสู่เส้นทางการค้าขายทางทะเลอ่าวไทย และเชื่อมต่อสู่พื้นที่ลุ่มน้ำทะเลสาบ
ในอดีตเมื่อการคมนาคมทางน้ำเริ่มซบเซา พื้นที่แถบนี้ก็ไม่คึกคักเหมือนดังเดิม จนกระทั่งคนในท้องถิ่นร่วมมือกันปรับปรุงพื้นที่ อนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น และฟื้นฟูวิถีประเพณีของชุมชน พัฒนาจนกลายมาเป็นตลาดริมน้ำคลองแดนน่าเที่ยวอย่างในปัจจุบัน
หากใครได้มาเดินเล่นที่ตลาดก็จะได้ชมบรรยากาศของทางเดินไม้ริมน้ำที่ทอดตัวยาวไปตามสองฝั่งคลองให้นักท่องเที่ยวได้เดินเลือกซื้อสินค้าไปพร้อมๆ กับเดินชมบ้านไม้เก่าแบบพื้นถิ่นภาคใต้อายุกว่าร้อยปีที่ปลูกเรียงรายริมคลอง และอย่าพลาดการชิมอาหารท้องถิ่นที่ชุมชนส่งเสริมให้แม่ค้าพ่อค้านำอาหารพื้นบ้านที่หากินได้ยากมาวางขายเพื่อให้นักท่องเที่ยวได้ลองลิ้มและเพื่อไม่ให้อาหารพื้นบ้านนั้นสูญหายไปตามกาลเวลา อาทิ ปลาทอดทรงเครื่อง แป้งแดง ข้าวยำ ข้าวมันแกงไก่ เต้าคั่ว ขนมกอ ขนมจาก ขนมลูกโดน ขนมโค ขนมปำจี ขนมค่อม เป็นต้น
ชุมชนบ้านน้ำเชี่ยว จ.ตราด - รางวัลดีเด่น ประเภทแหล่งท่องเที่ยวชุมชน
ชุมชนบ้านน้ำเชี่ยว (ต.น้ำเชี่ยว อ.แหลมงอบ จ.ตราด) เป็นชุมชนเล็กๆ เงียบสงบซึ่งมีคลองน้ำเชี่ยวไหลผ่านกลางหมู่บ้าน ความโดดเด่นของชุมชนแห่งนี้คือการเป็นจุดรวมของ 2 ศาสนา 3 วัฒนธรรม คือมีทั้งชาวไทยพุทธและไทยมุสลิมอยู่ร่วมกัน และยังเป็นจุดรวมของวัฒนธรรมไทย จีน และอิสลาม เห็นได้จากการที่มีวัด ศาลเจ้าจีน และมัสยิดอยู่ในละแวกเดียวกัน ผู้คนอาศัยอยู่ร่วมกันอย่างกลมกลืน ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพประมง ทำสวนยางพาราและสวนผลไม้
นักท่องเที่ยวที่มาเยือนชุมชนน้ำเชี่ยวสามารถเที่ยวชม “วัดน้ำเชี่ยว” ซึ่งเป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวไทยพุทธ ชม “มัสยิดอัลกุบรอ” มัสยิดเก่าแก่ของชาวมุสลิมที่สร้างในสมัยรัชกาลที่ ๓ แวะกราบ “ศาลเจ้าพ่อน้ำเชี่ยว” และเจ้าแม่กวนอิม ก่อนจะไปเดินเล่นบน “สะพานข้ามคลองน้ำเชี่ยว” สะพานข้ามคลองที่สูงที่สุดในเมืองไทยที่สามารถชมทิวทัศน์ของชุมชนน้ำเชี่ยวได้กว้างไกล มองเห็นแนวป่าชายเลนอันอุดมสมบูรณ์ เห็นโค้งน้ำของคลองน้ำเชี่ยวและเรือประมงสีสันสดใสน่าชม
นอกจากนั้นแล้ว การเดินชมบรรยากาศของป่าชายเลนที่ศูนย์ศึกษาธรรมชาติระบบนิเวศป่าชายเลนก็เป็นอีกหนึ่งกิจกรรมที่ไม่ควรพลาด เพราะจะได้เห็นความอุดมสมบูรณ์ของป่าชายเลนบ้านน้ำเชี่ยว และยังสามารถขึ้นไปชมนกและสัตว์ท้องถิ่นต่างๆ บนหอดูนกได้อีกด้วย
ก่อนกลับหากอยากได้ของฝากติดไม้ติดมือกลับบ้าน ให้ลองมองหา “งอบน้ำเชี่ยว” ซึ่งทำจากใบจาก เป็นงานหัตถกรรมพื้นบ้านอันมีเอกลักษณ์ที่ชาวบ้านน้ำเชี่ยวสืบทอดกันมาช้านาน
ชุมชนพระบาทห้วยต้ม จ.ลำพูน - รางวัลดีเด่น ประเภทแหล่งท่องเที่ยวชุมชน
ชาวบ้านห้วยต้ม (ต.นาทราย อ.ลี้ จ.ลำพูน) ส่วนใหญ่เป็นชาวปกาเกอะญอที่ติดตามหลวงปู่ครูบาชัยยะวงศาพัฒนาหรือครูบาวงศ์ พระเกจิที่เป็นดังศูนย์รวมจิตใจของชาวปกาเกอะญอ (มรณภาพเมื่อปี 2543) เข้ามาอาศัยอยู่ที่บ้านห้วยต้ม
สิ่งหนึ่งที่หลวงปู่ครูบาวงศ์ได้สั่งสอนและชาวบ้านยังคงยึดถือปฏิบัติตามกันสืบมาก็คือการสอนให้ชาวบ้านกินมังสวิรัติโดยไม่ต้องเบียดเบียนชีวิตใคร ชาวบ้านห้วยต้มจึงกินมังสวิรัติกันทั้งหมู่บ้านจนกลายเป็นวิถีชีวิต และเกิดเป็นประเพณีตักบาตรผักและถวายสังฆทานผักในวันพระสืบเนื่องมาจนทุกวันนี้
เมื่อมาท่องเที่ยวที่ชุมชนพระบาทห้วยต้ม เราสามารถมาสักการะสรีระของหลวงปู่ครูบาวงศ์ที่บรรจุไว้ในโลงแก้วภายในวิหารพระเมืองแก้ว ในวัดพระบาทห้วยต้ม มาสักการะรอยพระพุทธบาทห้วยต้ม ชมพระเจดีย์ 84,000 พระธรรมขันธ์ และสามารถไปชม “พระมหาธาตุเจดีย์ศรีเวียงชัย” เจดีย์ขนาดใหญ่สีทองงามอร่ามที่อยู่ห่างจากตัววัดไปประมาณ 1 ก.ม.
รวมถึงสามารถเข้าไปเที่ยวชมความเป็นอยู่ของชาวปกาเกอะญอที่ “ชุมชนน้ำบ่อน้อย” ที่มีชาวบ้านชาวปกาเกอะญออาศัยอยู่ 50 หลังคาเรือน ส่วนใหญ่มีอาชีพทำนาและปลูกพืชผัก คนในชุมชนยังใช้ชีวิตแบบเรียบง่ายโดยไม่พึ่งไฟฟ้าและน้ำประปา
และหากอยากสนับสนุนสินค้าในชุมชนต้องมาที่ “ศูนย์หัตถกรรมบ้านห้วยต้ม” ที่จำหน่ายผลงานแฮนด์เมดไม่ว่าจะเป็นผ้าทอมือ ชุดปกาเกอะญอ ผ้าพันคอ เครื่องเงิน เครื่องประดับต่างๆ ให้เลือกชมเลือกซื้อเป็นที่ระลึกกันได้
ชุมชนบ้านหนองขาว จ.กาญจนบุรี - รางวัลดีเด่น ประเภทแหล่งท่องเที่ยวชุมชน
มานั่งรถอีแต๋นชมทุ่งนาเขียวขจีสดชื่นและเรียนรู้วิถีชีวิตสังคมเกษตรที่อยู่อย่างสงบเรียบง่ายใน “หมู่บ้านหนองขาว” (ต.หนองขาว อ.ท่าม่วง จ.กาญจนบุรี) ซึ่งชาวชุมชนที่นี่ส่วนใหญ่ยังคงประกอบอาชีพเป็นชาวนา และมีวิถีวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับการเกษตร เช่น พิธีทำขวัญข้าว พิธีสำคัญในอดีตของชาวนาเพื่อแสดงความเคารพและระลึกถึงบุญคุณของแม่โพสพ และเพื่อให้แม่โพสพบันดาลให้ข้าวที่ปลูกออกรวงงามสมบูรณ์ ในปัจจุบันมีเกษตรกรน้อยรายยังคงทำพิธีนี้อยู่ แต่ที่บ้านหนองขาวยังคงสืบทอดพิธีอันแสดงถึงความกตัญญูนี้ไว้
ที่นี่เรายังจะได้เห็นการสาธิตการตำข้าว การทำขนมแบบโบราณ การปีนต้นตาล การทำน้ำตาลสด-น้ำตาลปึก การร้องเพลงเหย่ย-เพลงพวงมาลัย อันเป็นวิถีที่สืบต่อกันมาแต่โบราณ และมาเลือกซื้อ “ผ้าขาวม้าร้อยสี” ผ้าขาวม้าสีสันสดใสลวดลายสะดุดตาที่ทอจากกี่กระตุกซึ่งมีคุณภาพสูงและมีชื่อเสียงอย่างมากของกาญจนบุรี ผ้าขาวม้าสวยทนทาน ใช้งานได้ยาวนาน เหมาะที่จะซื้อหาเป็นของฝาก
ชุมชนเกาะเกิด จ.พระนครศรีอยุธยา รางวัลดีเด่น ประเภทองค์กรสนับสนุนและส่งเสริมการท่องเที่ยว (ภาคเอกชน)
“ชุมชนเกาะเกิด” เป็นชุมชนริมแม่น้ำเจ้าพระยา อยู่ใน อ.บางปะอิน จ.พระนครศรีอยุธยา ที่มาของชื่อเกาะเกิดเล่าต่อๆ กันมาว่า ในสมัยอยุธยามีเรือสำเภาจีนที่มาค้าขายตามในแม่น้ำแล้วเกิดพายุพัดจนเรือล่มตรงบริเวณหน้าวัดเชิงท่า (อ.บางปะอิน) เวลาผ่านไปกระแสน้ำได้พัดพาดินตะกอนมาทับถมจนเกิดเป็นเกาะกลางน้ำ ชาวบ้านจึงเรียกบริเวณนี้ว่า “เกาะเกิด”
ชาวชุมชนเกาะเกิดร่วมแรงกันพัฒนาชุมชนจนกลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวเรียนรู้วิถีชุมชน ซึ่งมีกิจกรรมหลากหลายรองรับนักท่องเที่ยว ไม่ว่าจะเป็นการเที่ยวชมวิถีชีวิตของชาวบ้านชุมชนเกาะเกิดที่ดำรงตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวงรัชกาลที่ ๙ ศูนย์เรียนรู้เกี่ยวกับขนมไทยที่ขึ้นชื่อและสร้างชื่อเสียงให้กับชุมชน เช่น บ้านป้าสละและลุงสมนึกที่จะทำขนมไทยสลับสับเปลี่ยนกันไปในแต่ละวัน ไม่ว่าจะเป็นขนมสามเกลอ ขนมกง ขนมต้ม ขนมตะโก้ ขนมเปียกปูน เป็นต้น
นอกจากนั้นนักท่องเที่ยวยังสามารถนั่งเรือเที่ยวล่องจากชุมชนเกาะเกิดไปยังวัดนิเวศธรรมประวัติซึ่งตั้งอยู่บนเกาะกลางแม่น้ำฝั่งตรงข้ามพระราชวังบางปะอิน และใครอยากสัมผัสบรรยากาศของชุมชนเกาะเกิดให้มากกว่านั้น ในชุมชนก็ยังมีโฮมสเตย์ไว้บริการกว่า 10 หลัง ในบรรยากาศสวนและบรรยากาศริมน้ำเจ้าพระยาไว้รองรับนักท่องเที่ยวอีกด้วย
ไม่เพียงชุมชนทั้ง 5 ที่กล่าวมานี้เท่านั้น ยังมีชุมชนน่าเที่ยวอีกหลายแห่งทั่วทุกภาคของประเทศที่มี “รางวัลกินรี” การันตีคุณภาพ อาทิ ชุมชนบ้านริมคลองโฮมสเตย์ จ.สมุทรสงคราม ชุมชนบ่อสวก จ.น่าน ชุมชนกู่กาสิงห์ จ.ร้อยเอ็ด โฮมสเตย์เชิงอนุรักษ์วัฒนธรรมบ้านเชียง จ.อุดรธานี หมู่บ้านท่องเที่ยวทะเลน้อย จ.ระยอง ซึ่งชุมชนเหล่านี้กำลังรอนักท่องเที่ยวให้มาเยือนและรับความประทับใจกลับไป
ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.tourismthailand.org/tourismawards
www.facebook.com/thailandtourismawards
สามารถส่งข้อมูลข่าวสารด้านการท่องเที่ยว-อาหารมาได้ที่ กอง บก.ข่าวท่องเที่ยว แฟกซ์ 0-2629-4467 อีเมล์ travel_astvmgr@hotmail.com หรือติดตามเพิ่มเติมได้ที่ Facebook :Travel @ Manager