Facebook :Travel @ Manager

ใกล้วันหยุดเข้ามาทีไรเป็นต้องหาสถานที่ท่องเที่ยวออกไปพักผ่อนหย่อนใจกันเสียหน่อย อย่างคราวนี้เราขอพามาที่ “หอภาพยนตร์” (องค์การมหาชน) แถวถนนพุทธมณฑล สาย 5 จ.นครปฐม ซึ่งถือเป็นแหล่งเรียนรู้เกี่ยวกับภาพยนตร์ไทยแห่งเดียวในประเทศที่รวบรวมข้อมูลและข้าวของเครื่องใช้ต่างๆ ของวงการภาพยนตร์ไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันมาไว้ให้คนรุ่นหลังได้ชมกัน

“หอภาพยนตร์” (องค์การมหาชน)เป็นองค์การมหาชนของประเทศไทย จัดตั้งขึ้นตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งหอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน) พ.ศ. 2552 เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2552 ภายในหอภาพยนตร์จัดแสดงเป็นเมืองจำลองประวัติศาสตร์ ชื่อว่า “เมืองมายา” จัดเป็นนิทรรศการกลางแจ้งที่รวมฉาก สถานที่ ที่สำคัญในประวัติศาสตร์ภาพยนตร์ไทยและภาพยนตร์โลกไว้
เริ่มแรกเมื่อเข้ามาจะพบกับ “มงคลบริษัท” ที่เป็นอาคารไม้สีแดง ภายในจำลองเป็น “มายาพาณิชย์” เป็นที่ติดต่อสอบถามข้อมูล ลงทะเบียนเข้าเยี่ยมชมสถานที่ และขายสินค้าที่ระลึก จำลองอุปกรณ์การถ่ายหนัง ใกล้กันนั้นจะเป็น “ประตูสามยอด” ในย่านชุมชนการค้าสมัยรัชกาลที่ ๕ สถานที่อันเป็นหลักหมายเริ่มต้นของประวัติศาสตร์ภาพยนตร์ในประเทศไทย


ถัดมาอีกไม่ไกลจะเป็น “ร้านถ้ำมอง คิเนโตสโคป” ที่จำลองร้านจัดแสดงประดิษฐกรรมภาพยนตร์ “คิเนโตสโคป” ภาพยนตร์แบบตู้ถ้ำมองของโทมัส เอดิสัน ส่วนมุมตึกมีรูปหล่อจำลองผู้ชายและเด็กชาย ยืนซุ่มแอบอยู่ที่มุมตึก

ส่วนอาคารสีเหลืองหลังต่อมาก็คือ ฉากตึกสไตล์ยุโรปเป็น “โรงแรม HOTEL SCRIBE” ซึ่งเป็นนิทรรศการจัดแสดงสถานที่กำเนิดภาพยนตร์ครั้งแรกในโลก ณ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส และเป็นส่วนของ “กร็องด์ คาเฟ่” อีกหนึ่งจุดนั่งพักผ่อนกินอะไรคลายร้อนในร้านกาแฟ ส่วนอาคารต่อมาก็คือ “โรงหนังตังค์แดง” ที่เป็นโรงหนังยุคแรกๆ ของโลกที่แทรกตัวอยู่ในตึกรามของมหานครนิวยอร์ก


จากนั้นจะพบกับอาคารสีเหลืองขนาดใหญ่ ซึ่งก็คือ “พิพิธภัณฑ์ภาพยนตร์ไทย” ที่เป็นพิพิธภัณฑ์แห่งแรกและแห่งเดียวในไทย ที่รวบรวมวัตถุที่เกี่ยวกับภาพยนตร์ที่หาดูได้ยากและมีคุณค่า ซึ่งหอภาพยนตร์ได้อนุรักษ์ไว้และนำมาจัดแสดงใน 3 หัวเรื่องได้แก่ นิทรรศการหนึ่งศตวรรษภาพยนตร์ไทย หอเกียรติยศ และขบวนการผลิตภาพยนตร์ บริเวณด้านหน้าอาคารจะมีรูปหล่อจำลอง “พระบิดาแห่งภาพยนตร์สยาม” พระเจ้าบรมวงศ์เธอพระองค์เจ้าทองแถมถวัลยวงศ์ กรมหลวงสรรพสาตรศุภกิจ

ส่วนต่อมาคือ “โรงถ่ายแบล็คมารีอา” ที่เป็นนิทรรศการกลางแจ้งจำลองโรงถ่ายภาพยนตร์แห่งแรกของโลก “แบล็คมารีอา” ของโทมัส เอดิสัน ที่สร้างขึ้นเพื่อผลิตภาพยนตร์เพื่อป้อนฉายในร้านถ้ำมอง คิเนโตสโคป นั่นเอง ซึ่งในบริเวณเดียวกันจะมีรูปหล่อของ “จอร์จ อีสต์แมน และ โทมัส เอดิสัน” ตั้งอยู่


เดินตามทางเดินและเลี้ยวมาทางซ้ายจะพบกับ “ลานดารา” ลานเกียรติยศดาราไทย จัดทำขึ้นเพื่อเชิดชูเกียรติแก่ดาราภาพยนตร์ไทย โดยเชิญมาประทับรอยมือรอยเท้า และจารึกชื่อไว้ซึ่งมีต้นแบบมาจาก Chinese Theatres ฮอลลีวูด ซึ่งลานดารานี้จะอยู่หน้า “โรงภาพยนตร์ศรีศาลายา” โรงหนังชุมชนขนาด 121 ที่นั่ง ซึ่งภายในจัดฉายภาพยนตร์ทั้งที่หอภาพยนตร์อนุรักษ์อยู่และภาพยนตร์จากทั่วโลก


จากนั้นเดินต่อมาจะพบกับ “ห้องสมุดและโสตทัศนสถาน เชิด ทรงศรี” ที่ให้บริการค้นคว้าเกี่ยวกับสื่อภาพยนตร์ และถัดมาจะเป็นส่วนของนิทรรศการกลางแจ้งเริ่มที่ “รถหนังขายยา” ที่ในอดีต “หนังขายยา” ถือเป็นมหรสพยอดนิยมของชาวบ้านในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 แต่ในปัจจุบันได้สูญพันธุ์ไปแล้ว ถัดมาจะเป็น “หนังกระโปรง” ซึ่งเป็นหนังเร่ประเภทหนึ่ง มีลักษณะฉายหนังเข้าตู้ให้ผู้ชมส่องดูตามช่อง เป็นตัวอย่างของวิถีการชมมรหรสพแบบ “ถ้ำมอง” นั่นเอง


ต่อมาจะพบกับ “สถานีรถไฟศีนิมา” ที่จำลองสถานนีรถไฟสมัยรัชกาลที่ ๗ ในสถานีมีรถไฟสายภาพยนตร์ ที่เป็นรถจักรไอน้ำ C56 ของญี่ปุ่นจอบเทียบอยู่ ใกล้กับสถานีรถไฟศีนิมามีบ่อน้ำขนาดเล็ก ภายในบ่อน้ำมีรูปปั้นของเหล่าบรรดาช่างภาพ และคุณมานี สุมนนัฏ หรือฉวีวรรณ ดอกไม้งาม ดาราสาวชั้นนำชาวไทยอยู่ด้วย

หากใครที่สนใจเรื่องราวเกี่ยวกับภาพยนตร์สามารถชมได้ที่ “หอภาพยนตร์” (องค์การมหาชน) ตั้งอยู่ถนนพุทธมณฑล สาย 5 ต.ศาลายา อ.พุทธมณฑล จ.นครปฐม ใกล้มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดบริการทุกวัน จันทร์-ศุกร์ เวลา 8.30-17.30 น. วันเสาร์-อาทิตย์ เวลา 10.00-17.30 น. เข้าชมฟรี สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ 0-2482-2013 และ 0-2482-2014 หรือที่ Facebook : หอภาพยนตร์ Thai Film Archive
สามารถส่งข้อมูลข่าวสารด้านการท่องเที่ยว-อาหารมาได้ที่ กอง บก.ข่าวท่องเที่ยว แฟกซ์ 0-2629-4467 อีเมล์ travel_astvmgr@hotmail.com หรือติดตามเพิ่มเติมได้ที่ Facebook :Travel @ Manager
ใกล้วันหยุดเข้ามาทีไรเป็นต้องหาสถานที่ท่องเที่ยวออกไปพักผ่อนหย่อนใจกันเสียหน่อย อย่างคราวนี้เราขอพามาที่ “หอภาพยนตร์” (องค์การมหาชน) แถวถนนพุทธมณฑล สาย 5 จ.นครปฐม ซึ่งถือเป็นแหล่งเรียนรู้เกี่ยวกับภาพยนตร์ไทยแห่งเดียวในประเทศที่รวบรวมข้อมูลและข้าวของเครื่องใช้ต่างๆ ของวงการภาพยนตร์ไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันมาไว้ให้คนรุ่นหลังได้ชมกัน
“หอภาพยนตร์” (องค์การมหาชน)เป็นองค์การมหาชนของประเทศไทย จัดตั้งขึ้นตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งหอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน) พ.ศ. 2552 เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2552 ภายในหอภาพยนตร์จัดแสดงเป็นเมืองจำลองประวัติศาสตร์ ชื่อว่า “เมืองมายา” จัดเป็นนิทรรศการกลางแจ้งที่รวมฉาก สถานที่ ที่สำคัญในประวัติศาสตร์ภาพยนตร์ไทยและภาพยนตร์โลกไว้
เริ่มแรกเมื่อเข้ามาจะพบกับ “มงคลบริษัท” ที่เป็นอาคารไม้สีแดง ภายในจำลองเป็น “มายาพาณิชย์” เป็นที่ติดต่อสอบถามข้อมูล ลงทะเบียนเข้าเยี่ยมชมสถานที่ และขายสินค้าที่ระลึก จำลองอุปกรณ์การถ่ายหนัง ใกล้กันนั้นจะเป็น “ประตูสามยอด” ในย่านชุมชนการค้าสมัยรัชกาลที่ ๕ สถานที่อันเป็นหลักหมายเริ่มต้นของประวัติศาสตร์ภาพยนตร์ในประเทศไทย
ถัดมาอีกไม่ไกลจะเป็น “ร้านถ้ำมอง คิเนโตสโคป” ที่จำลองร้านจัดแสดงประดิษฐกรรมภาพยนตร์ “คิเนโตสโคป” ภาพยนตร์แบบตู้ถ้ำมองของโทมัส เอดิสัน ส่วนมุมตึกมีรูปหล่อจำลองผู้ชายและเด็กชาย ยืนซุ่มแอบอยู่ที่มุมตึก
ส่วนอาคารสีเหลืองหลังต่อมาก็คือ ฉากตึกสไตล์ยุโรปเป็น “โรงแรม HOTEL SCRIBE” ซึ่งเป็นนิทรรศการจัดแสดงสถานที่กำเนิดภาพยนตร์ครั้งแรกในโลก ณ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส และเป็นส่วนของ “กร็องด์ คาเฟ่” อีกหนึ่งจุดนั่งพักผ่อนกินอะไรคลายร้อนในร้านกาแฟ ส่วนอาคารต่อมาก็คือ “โรงหนังตังค์แดง” ที่เป็นโรงหนังยุคแรกๆ ของโลกที่แทรกตัวอยู่ในตึกรามของมหานครนิวยอร์ก
จากนั้นจะพบกับอาคารสีเหลืองขนาดใหญ่ ซึ่งก็คือ “พิพิธภัณฑ์ภาพยนตร์ไทย” ที่เป็นพิพิธภัณฑ์แห่งแรกและแห่งเดียวในไทย ที่รวบรวมวัตถุที่เกี่ยวกับภาพยนตร์ที่หาดูได้ยากและมีคุณค่า ซึ่งหอภาพยนตร์ได้อนุรักษ์ไว้และนำมาจัดแสดงใน 3 หัวเรื่องได้แก่ นิทรรศการหนึ่งศตวรรษภาพยนตร์ไทย หอเกียรติยศ และขบวนการผลิตภาพยนตร์ บริเวณด้านหน้าอาคารจะมีรูปหล่อจำลอง “พระบิดาแห่งภาพยนตร์สยาม” พระเจ้าบรมวงศ์เธอพระองค์เจ้าทองแถมถวัลยวงศ์ กรมหลวงสรรพสาตรศุภกิจ
ส่วนต่อมาคือ “โรงถ่ายแบล็คมารีอา” ที่เป็นนิทรรศการกลางแจ้งจำลองโรงถ่ายภาพยนตร์แห่งแรกของโลก “แบล็คมารีอา” ของโทมัส เอดิสัน ที่สร้างขึ้นเพื่อผลิตภาพยนตร์เพื่อป้อนฉายในร้านถ้ำมอง คิเนโตสโคป นั่นเอง ซึ่งในบริเวณเดียวกันจะมีรูปหล่อของ “จอร์จ อีสต์แมน และ โทมัส เอดิสัน” ตั้งอยู่
เดินตามทางเดินและเลี้ยวมาทางซ้ายจะพบกับ “ลานดารา” ลานเกียรติยศดาราไทย จัดทำขึ้นเพื่อเชิดชูเกียรติแก่ดาราภาพยนตร์ไทย โดยเชิญมาประทับรอยมือรอยเท้า และจารึกชื่อไว้ซึ่งมีต้นแบบมาจาก Chinese Theatres ฮอลลีวูด ซึ่งลานดารานี้จะอยู่หน้า “โรงภาพยนตร์ศรีศาลายา” โรงหนังชุมชนขนาด 121 ที่นั่ง ซึ่งภายในจัดฉายภาพยนตร์ทั้งที่หอภาพยนตร์อนุรักษ์อยู่และภาพยนตร์จากทั่วโลก
จากนั้นเดินต่อมาจะพบกับ “ห้องสมุดและโสตทัศนสถาน เชิด ทรงศรี” ที่ให้บริการค้นคว้าเกี่ยวกับสื่อภาพยนตร์ และถัดมาจะเป็นส่วนของนิทรรศการกลางแจ้งเริ่มที่ “รถหนังขายยา” ที่ในอดีต “หนังขายยา” ถือเป็นมหรสพยอดนิยมของชาวบ้านในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 แต่ในปัจจุบันได้สูญพันธุ์ไปแล้ว ถัดมาจะเป็น “หนังกระโปรง” ซึ่งเป็นหนังเร่ประเภทหนึ่ง มีลักษณะฉายหนังเข้าตู้ให้ผู้ชมส่องดูตามช่อง เป็นตัวอย่างของวิถีการชมมรหรสพแบบ “ถ้ำมอง” นั่นเอง
ต่อมาจะพบกับ “สถานีรถไฟศีนิมา” ที่จำลองสถานนีรถไฟสมัยรัชกาลที่ ๗ ในสถานีมีรถไฟสายภาพยนตร์ ที่เป็นรถจักรไอน้ำ C56 ของญี่ปุ่นจอบเทียบอยู่ ใกล้กับสถานีรถไฟศีนิมามีบ่อน้ำขนาดเล็ก ภายในบ่อน้ำมีรูปปั้นของเหล่าบรรดาช่างภาพ และคุณมานี สุมนนัฏ หรือฉวีวรรณ ดอกไม้งาม ดาราสาวชั้นนำชาวไทยอยู่ด้วย
หากใครที่สนใจเรื่องราวเกี่ยวกับภาพยนตร์สามารถชมได้ที่ “หอภาพยนตร์” (องค์การมหาชน) ตั้งอยู่ถนนพุทธมณฑล สาย 5 ต.ศาลายา อ.พุทธมณฑล จ.นครปฐม ใกล้มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดบริการทุกวัน จันทร์-ศุกร์ เวลา 8.30-17.30 น. วันเสาร์-อาทิตย์ เวลา 10.00-17.30 น. เข้าชมฟรี สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ 0-2482-2013 และ 0-2482-2014 หรือที่ Facebook : หอภาพยนตร์ Thai Film Archive
สามารถส่งข้อมูลข่าวสารด้านการท่องเที่ยว-อาหารมาได้ที่ กอง บก.ข่าวท่องเที่ยว แฟกซ์ 0-2629-4467 อีเมล์ travel_astvmgr@hotmail.com หรือติดตามเพิ่มเติมได้ที่ Facebook :Travel @ Manager