Facebook :Travel @ Manager

“จังหวัดภูเก็ต” เป็นหนึ่งในจังหวัดยอดฮิตของนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ ซึ่งหลายคนคงจะนึกถึงภาพทะเลสวยๆ กันอย่างแน่นอน แต่อีกหนึ่งเสน่ห์ของที่นี่ ก็คือ “ย่านเมืองเก่า” ซึ่งมีทั้งของอร่อยๆ และสถาปัตยกรรมอันงดงามให้ได้ชมกัน และหากใครที่สนใจถึงความเป็นมาของย่านเมืองเก่าแห่งนี้ เราขอแนะนำให้มาที่ “พิพิธภัณฑ์เพอรานากันนิทัศน์” เพราะที่นี่จะเป็นที่ที่ให้ความรู้ได้อย่างสนุกสนาน ไม่เหมือนพิพิธภัณฑ์ที่ไหนแน่นอน

“พิพิธภัณฑ์เพอรานากันนิทัศน์” แต่เดิมคือธนาคารชาร์เตอร์ด สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ.2452 ในสมัยรัชกาลที่ ๕ ในสมัยนั้นพระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี (คอซิมบี้ ณ ระนอง) สมุหเทศาภิบาล สำเร็จราชการมณฑลภูเก็ต เล็งเห็นว่าภูเก็ตมีการค้าขายรุ่งเรืองจึงสมควรให้มีการก่อสร้างธนาคารแห่งแรกขึ้น โดยในเวลาต่อมาธนาคารได้ขอให้มีการก่อสร้างสถานีตำรวจฝั่งตรงข้ามเพื่อรักษาความปลอดภัย ซึ่งปัจจุบันก็คือ “พิพิธภัณฑ์ภูเก็ต” นั่นเอง
ในภายหลังสำนักงานธนารักษ์พื้นที่ภูเก็ตมอบพื้นที่บริเวณนี้ให้เทศบาลนครภูเก็ตปรับปรุงเป็นพิพิธภัณฑ์ เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้และแหล่งท่องเที่ยวในตัวเมือง จนกระทั่งในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2558 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ทรงพระราชทานนามพิพิธภัณฑ์ “พิพิธภัณฑ์เพอรานากันนิทัศน์” และเสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดพิพิธภัณฑ์ฯ อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2560

สำหรับอาคารพิพิธภัณฑ์เพอรานากันนิทัศน์มีลักษณะเป็นอาคาร 2 ชั้น สีเหลืองเด่นสวยงาม ที่นี่ถือเป็นแหล่งเรียนรู้วิถีชีวิตศิลปวัฒนธรรมของชาวพื้นถิ่นภูเก็ต หรือ “ชาวเพอรานากัน” ที่มีรูปแบบการนำเสนอที่ทันสมัยไม่เหมือนพิพิธภัณฑ์ที่อื่น ซึ่งจะจัดแสดงอยู่ตามห้องต่างๆ จำนวน 6 ห้อง โดย 5 ห้องแรกจะอยู่บนชั้นสอง ส่วนห้องที่ 6 จะอยู่ในชั้น 1

เริ่มที่ห้องแรกในชั้นสอง คือ “ห้องพลัดพราก” ที่นำเสนอเรื่องราวกลุ่มชาวจีนฮกเกี้ยนที่อพยพมาจากตอนใต้ของจีนเข้ามาสู่ไทย ซึ่งต้องเดินทางผ่านช่องแคบมะละกาเข้ามาจนถึงเกาะภูเก็ต โดยนำเสนอผ่านทางจอโปรเจกเตอร์แบบภาพและเสียงสมจริง พร้อมทั้งมีพนักงานคอยให้ความรู้เพิ่มเติมไปด้วย

ถัดมาที่ห้องที่ 2 คือ “ห้องรากใหม่” ห้องนี้จะนำเสนอที่มาของคำว่า “เพอรานากัน” ที่มีความหมายว่า “เกิดที่นี่” โดยจะเล่าเรื่องราวว่าหลังจากที่ชาวจีนฮกเกี้ยนเข้ามาที่เกาะภูเก็ตแล้วนั้น จะเริ่มทำงานจากการรับจ้างเป็นกุลี และค่อยๆ ได้ก้าวขึ้นมาเป็นนายเหมืองที่มั่งคั่ง และมีอิทธิพลทางเศรษฐกิจ

ห้องต่อไปคือ “ห้องฉิมแจ้” ซึ่งคำว่าฉิมแจ้ก็คือ “บ่อน้ำกลางบ้าน” นั่นเอง โดยในห้องนี้จะจำลองภาพฉิมแจ้ภายในบ้านของชาวภูเก็ต ที่จะมีการเจาะช่องอากาศกลางตัวบ้านเพื่อให้อากาศถ่ายเทและแสงส่องเข้าได้ ซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมแบบผสมผสานระหว่างตะวันตกและตะวันออก

จากนั้นเข้าสู่ห้องจัดแสดงที่ 4 คือ “ห้องผ้า” ห้องนี้จะฉายภาพลวดลายของผ้าลงบนหุ่น สำหรับเอกลักษณ์การแต่งกายของชาวภูเก็ต จะเรียกว่า “การแต่งกายแบบบาบ๋า-ย่าหยา” ที่จะมีลักษณะเป็นเสื้อผ่าหน้า คอตั้ง ปักลายฉลุลวดลายสวยงาม และนุ่ง “ผ้าปาเต๊ะ” ที่มีลวดลายเป็นดอกไม้หรือสัตว์มงคลนั่นเอง

ห้องสุดท้ายของชั้นบนคือ “ห้องอาหาร” ห้องนี้จะใช้เทคนิคการฉายภาพในการนำเสนอเช่นกัน โดยจะฉายภาพอาหารลงบนภาชนะ ซึ่งอาหารของชาวเพอรานากันในภูเก็ต เป็นอาหารที่เกิดจากการผสมผสานทางวัฒนธรรมของชาวจีนฮกเกี้ยน มลายู และไทยถิ่นใต้ มีการใช้เครื่องเทศแบบท้องถิ่นใต้ ผสมกับเครื่องปรุงรสของอาหารจีนร่วมสมัย จึงทำให้มีรสชาติออกหวานแบบจีนแต่มีรสจัดของเครื่องเทศและคามเผ็ดเหมือนอาหารไทยมลายู โดยอาหารพื้นถิ่นที่นี่จะได้แก่ โอวต้าว ปอเปี๊ยะสด ผัดบังก๊วน ปลาเจี๋ยนตะไคร้ หมี่ฮกเกี้ยน แกงตูมี้ และหมูฮ้อง

จากนั้นเดินลงมาที่ชั้นล่างเพื่อเข้าชมห้องที่ 6 คือ “ห้องมรดก” ห้องนี้จะจัดแสดงเครื่องประดับของชาวเพอรานากัน เป็นสิ่งแสดงถึงฐานะ จะใช้ในงานสำคัญ เช่น งานแต่งงาน หรืองานเลี้ยงสังสรรค์ เป็นต้น เครื่องประดับแต่ละชิ้นจะจับเป็นชุดใช้เฉพาะกับเสื้อผ้าแต่ละชนิด และยังมี “ตู้เซฟเก่า” ของธนาคารชาร์เตอร์ด จัดแสดงให้ได้ชมอีกด้วย


นอกจากชมเรื่องราวต่างๆ ในพิพิธภัณฑ์เพอรานากันนิทัศน์แล้ว เรายังสามารถเดินข้ามถนนไปฝั่งตรงข้ามที่เป็นอาคารสถานีตำรวจเก่า โดยตัวอาคารจะเป็นอาคาร 2 ชั้น สีเหลืองเช่นเดียวกัน และมีหอนาฬิกาขนาดใหญ่อยู่ด้านบน ซึ่งด้านในจะจัดแสดงนิทรรศการหมุนเวียนเปลี่ยนไปเรื่อยๆ อย่างตอนนี้จัดแสดงเรื่อง “ภูเก็ตนครา” (PHUKETNAGARA) ซึ่งจะจัดแสดงไปจนถึงสิ้นปีนี้ (31 ธ.ค. 61)

เมื่อเข้ามาแล้วในชั้น 1 จะพบกับ “นิทรรศการภาพถ่ายภูเก็ตตี 4” ที่จะมีภาพถ่ายที่เกี่ยวกับ วิถีชีวิต วัฒนธรรม สถาปัตยกรรม ในพื้นที่โดยรอบเขตเทศบาลนครภูเก็ตจัดแสดงอยู่ ส่วนที่ชั้น 2 จะเล่าเรื่องราวการกำเนิดของนครภูเก็ต ผ่านพัฒนาการเมือง 4 ยุค (ป่า-เหมือง-เมือง-ท่องเที่ยว) ซึ่งมี “ดีบุก” เป็นส่วนสำคัญในการสร้างเมือง มีผู้คนต่างถิ่น ต่างชาติ ต่างภาษา ต่างมุ่งหน้ามาขุดกันอย่างไม่ขาดสาย โดยจะแบ่งออกเป็น 8 โซน ได้แก่ “โซนภูเก็ตนครา” ที่จะเล่าเรื่องเมือง 4 ยุค (ป่า-เหมือง-เมือง-ท่องเที่ยว) ของนครภูเก็ตในอดีต ผ่านภาพเก่าซึ่งหาชมได้ยาก

ต่อที่ “โซนสถาปนานคร” ที่จะมีพระราชหัตถเลขาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งเป็นหลักฐานสำคัญในการย้ายศูนย์กลางการปกครองของภูเก็ต ใกล้กันนั้นจะเป็น “โซนตำนานนคร” ที่จะบอกเล่าเรื่องราวการเกิดเมืองและเหตุของการย้ายเมือง โดยเรื่องราวที่ว่านี้จะสลักอยู่บนเลียงที่มีลักษณะเป็นภาชนะกลมแบนคล้ายกระทะทำมาจากไม้ เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการร่อนแร่ และเราจะต้องทำการร่อนเลียงนี้เพื่อให้เห็นตัวหนังสือที่สลักไว้นั่นเอง

โซนต่อมาคือ “โซนย้ายนคร” เรื่องราวเกี่ยวกับการย้ายนครสมัยธนบุรี สมัยรัชกาลที่ ๓ สมัยรัชกาลที่ ๔ จนมาอยู่ที่ “นครภูเก็ต” ในปัจจุบัน จะถูกถ่ายทอดผ่านเส้นลวดที่ดัดไปดัดมาจนเป็นเรื่องราว ช่วยให้การเล่าเรื่องมีความเพลิดเพลินมากยิ่งขึ้น จากนั้นจะเป็น “โซนนครบนเหมือง” ที่จะเล่าถึงการปรับปรุงบ้านเมืองครั้งสำคัญด้วยการดำเนินงานของพระยารัษฎานุประดิษฐมหิศรภักดี (คอซิมบี้ ณ ระนอง) สมุหเทศาภิบาลมณฑลภูเก็ต

โซนที่ 6 คือ “โซนนครรุ่งเรือง” ที่จะให้คำตอบว่าทำไม “ดีบุก” จึงเป็นที่ต้องการของโลกในขณะนั้น และผลจากการค้นพบดีบุกใต้ผืนดินได้นำมาซึ่งวัฒนธรรม สถาปัตยกรรม อาหาร และสิ่งต่างๆ มากมาย จากกลุ่มคนที่หลากหลาย ผ่านการนำเสนอที่ชวนค้นหาคำตอบ

อีกมุมหนึ่งไม่ไกลกันจะเป็น “โซนอวสานดีบุก” จะเล่าถึงช่วงของการสิ้นสุดของยุคดีบุกและเริ่มต้นบทบาทใหม่ของนครภูเก็ตจนถึงปัจจุบัน และโซนสุดท้ายคือ “โซนมิวเซียมรีวิว” ที่จะให้ทุกคนได้สนุกสนานกับการค้นหาร้านอร่อยหรือสถานที่น่าสนใจของย่านเมืองเก่าภูเก็ตนั่นเอง และเมื่อได้รู้ความเป็นมาของ “ย่านเมืองเก่า” ผ่านการเล่าเรื่องที่เพลิดเพลินไม่เหมือนใครแล้ว ก็จะทำให้การเที่ยว “ภูเก็ต” สนุกกว่าที่เคยอย่างแน่นอน
*****************************
“พิพิธภัณฑ์เพอรานากันนิทัศน์” (อาคารธนาคารชาร์เตอร์เดิม) ตั้งอยู่ที่ ถ.พังงา ต.ตลาดใหญ่ อ.เมือง จ.ภูเก็ต เปิดให้เข้าชมฟรี ทุกวันอังคาร-วันอาทิตย์ (ปิดวันจันทร์ ) เวลา 09.00 - 16.30 น. สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมโทร. 09-4807-7873
สามารถส่งข้อมูลข่าวสารด้านการท่องเที่ยว-อาหารมาได้ที่ กอง บก.ข่าวท่องเที่ยว แฟกซ์ 0-2629-4467 อีเมล์ travel_astvmgr@hotmail.com หรือติดตามเพิ่มเติมได้ที่ Facebook :Travel @ Manager
“จังหวัดภูเก็ต” เป็นหนึ่งในจังหวัดยอดฮิตของนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ ซึ่งหลายคนคงจะนึกถึงภาพทะเลสวยๆ กันอย่างแน่นอน แต่อีกหนึ่งเสน่ห์ของที่นี่ ก็คือ “ย่านเมืองเก่า” ซึ่งมีทั้งของอร่อยๆ และสถาปัตยกรรมอันงดงามให้ได้ชมกัน และหากใครที่สนใจถึงความเป็นมาของย่านเมืองเก่าแห่งนี้ เราขอแนะนำให้มาที่ “พิพิธภัณฑ์เพอรานากันนิทัศน์” เพราะที่นี่จะเป็นที่ที่ให้ความรู้ได้อย่างสนุกสนาน ไม่เหมือนพิพิธภัณฑ์ที่ไหนแน่นอน
“พิพิธภัณฑ์เพอรานากันนิทัศน์” แต่เดิมคือธนาคารชาร์เตอร์ด สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ.2452 ในสมัยรัชกาลที่ ๕ ในสมัยนั้นพระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี (คอซิมบี้ ณ ระนอง) สมุหเทศาภิบาล สำเร็จราชการมณฑลภูเก็ต เล็งเห็นว่าภูเก็ตมีการค้าขายรุ่งเรืองจึงสมควรให้มีการก่อสร้างธนาคารแห่งแรกขึ้น โดยในเวลาต่อมาธนาคารได้ขอให้มีการก่อสร้างสถานีตำรวจฝั่งตรงข้ามเพื่อรักษาความปลอดภัย ซึ่งปัจจุบันก็คือ “พิพิธภัณฑ์ภูเก็ต” นั่นเอง
ในภายหลังสำนักงานธนารักษ์พื้นที่ภูเก็ตมอบพื้นที่บริเวณนี้ให้เทศบาลนครภูเก็ตปรับปรุงเป็นพิพิธภัณฑ์ เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้และแหล่งท่องเที่ยวในตัวเมือง จนกระทั่งในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2558 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ทรงพระราชทานนามพิพิธภัณฑ์ “พิพิธภัณฑ์เพอรานากันนิทัศน์” และเสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดพิพิธภัณฑ์ฯ อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2560
สำหรับอาคารพิพิธภัณฑ์เพอรานากันนิทัศน์มีลักษณะเป็นอาคาร 2 ชั้น สีเหลืองเด่นสวยงาม ที่นี่ถือเป็นแหล่งเรียนรู้วิถีชีวิตศิลปวัฒนธรรมของชาวพื้นถิ่นภูเก็ต หรือ “ชาวเพอรานากัน” ที่มีรูปแบบการนำเสนอที่ทันสมัยไม่เหมือนพิพิธภัณฑ์ที่อื่น ซึ่งจะจัดแสดงอยู่ตามห้องต่างๆ จำนวน 6 ห้อง โดย 5 ห้องแรกจะอยู่บนชั้นสอง ส่วนห้องที่ 6 จะอยู่ในชั้น 1
เริ่มที่ห้องแรกในชั้นสอง คือ “ห้องพลัดพราก” ที่นำเสนอเรื่องราวกลุ่มชาวจีนฮกเกี้ยนที่อพยพมาจากตอนใต้ของจีนเข้ามาสู่ไทย ซึ่งต้องเดินทางผ่านช่องแคบมะละกาเข้ามาจนถึงเกาะภูเก็ต โดยนำเสนอผ่านทางจอโปรเจกเตอร์แบบภาพและเสียงสมจริง พร้อมทั้งมีพนักงานคอยให้ความรู้เพิ่มเติมไปด้วย
ถัดมาที่ห้องที่ 2 คือ “ห้องรากใหม่” ห้องนี้จะนำเสนอที่มาของคำว่า “เพอรานากัน” ที่มีความหมายว่า “เกิดที่นี่” โดยจะเล่าเรื่องราวว่าหลังจากที่ชาวจีนฮกเกี้ยนเข้ามาที่เกาะภูเก็ตแล้วนั้น จะเริ่มทำงานจากการรับจ้างเป็นกุลี และค่อยๆ ได้ก้าวขึ้นมาเป็นนายเหมืองที่มั่งคั่ง และมีอิทธิพลทางเศรษฐกิจ
ห้องต่อไปคือ “ห้องฉิมแจ้” ซึ่งคำว่าฉิมแจ้ก็คือ “บ่อน้ำกลางบ้าน” นั่นเอง โดยในห้องนี้จะจำลองภาพฉิมแจ้ภายในบ้านของชาวภูเก็ต ที่จะมีการเจาะช่องอากาศกลางตัวบ้านเพื่อให้อากาศถ่ายเทและแสงส่องเข้าได้ ซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมแบบผสมผสานระหว่างตะวันตกและตะวันออก
จากนั้นเข้าสู่ห้องจัดแสดงที่ 4 คือ “ห้องผ้า” ห้องนี้จะฉายภาพลวดลายของผ้าลงบนหุ่น สำหรับเอกลักษณ์การแต่งกายของชาวภูเก็ต จะเรียกว่า “การแต่งกายแบบบาบ๋า-ย่าหยา” ที่จะมีลักษณะเป็นเสื้อผ่าหน้า คอตั้ง ปักลายฉลุลวดลายสวยงาม และนุ่ง “ผ้าปาเต๊ะ” ที่มีลวดลายเป็นดอกไม้หรือสัตว์มงคลนั่นเอง
ห้องสุดท้ายของชั้นบนคือ “ห้องอาหาร” ห้องนี้จะใช้เทคนิคการฉายภาพในการนำเสนอเช่นกัน โดยจะฉายภาพอาหารลงบนภาชนะ ซึ่งอาหารของชาวเพอรานากันในภูเก็ต เป็นอาหารที่เกิดจากการผสมผสานทางวัฒนธรรมของชาวจีนฮกเกี้ยน มลายู และไทยถิ่นใต้ มีการใช้เครื่องเทศแบบท้องถิ่นใต้ ผสมกับเครื่องปรุงรสของอาหารจีนร่วมสมัย จึงทำให้มีรสชาติออกหวานแบบจีนแต่มีรสจัดของเครื่องเทศและคามเผ็ดเหมือนอาหารไทยมลายู โดยอาหารพื้นถิ่นที่นี่จะได้แก่ โอวต้าว ปอเปี๊ยะสด ผัดบังก๊วน ปลาเจี๋ยนตะไคร้ หมี่ฮกเกี้ยน แกงตูมี้ และหมูฮ้อง
จากนั้นเดินลงมาที่ชั้นล่างเพื่อเข้าชมห้องที่ 6 คือ “ห้องมรดก” ห้องนี้จะจัดแสดงเครื่องประดับของชาวเพอรานากัน เป็นสิ่งแสดงถึงฐานะ จะใช้ในงานสำคัญ เช่น งานแต่งงาน หรืองานเลี้ยงสังสรรค์ เป็นต้น เครื่องประดับแต่ละชิ้นจะจับเป็นชุดใช้เฉพาะกับเสื้อผ้าแต่ละชนิด และยังมี “ตู้เซฟเก่า” ของธนาคารชาร์เตอร์ด จัดแสดงให้ได้ชมอีกด้วย
นอกจากชมเรื่องราวต่างๆ ในพิพิธภัณฑ์เพอรานากันนิทัศน์แล้ว เรายังสามารถเดินข้ามถนนไปฝั่งตรงข้ามที่เป็นอาคารสถานีตำรวจเก่า โดยตัวอาคารจะเป็นอาคาร 2 ชั้น สีเหลืองเช่นเดียวกัน และมีหอนาฬิกาขนาดใหญ่อยู่ด้านบน ซึ่งด้านในจะจัดแสดงนิทรรศการหมุนเวียนเปลี่ยนไปเรื่อยๆ อย่างตอนนี้จัดแสดงเรื่อง “ภูเก็ตนครา” (PHUKETNAGARA) ซึ่งจะจัดแสดงไปจนถึงสิ้นปีนี้ (31 ธ.ค. 61)
เมื่อเข้ามาแล้วในชั้น 1 จะพบกับ “นิทรรศการภาพถ่ายภูเก็ตตี 4” ที่จะมีภาพถ่ายที่เกี่ยวกับ วิถีชีวิต วัฒนธรรม สถาปัตยกรรม ในพื้นที่โดยรอบเขตเทศบาลนครภูเก็ตจัดแสดงอยู่ ส่วนที่ชั้น 2 จะเล่าเรื่องราวการกำเนิดของนครภูเก็ต ผ่านพัฒนาการเมือง 4 ยุค (ป่า-เหมือง-เมือง-ท่องเที่ยว) ซึ่งมี “ดีบุก” เป็นส่วนสำคัญในการสร้างเมือง มีผู้คนต่างถิ่น ต่างชาติ ต่างภาษา ต่างมุ่งหน้ามาขุดกันอย่างไม่ขาดสาย โดยจะแบ่งออกเป็น 8 โซน ได้แก่ “โซนภูเก็ตนครา” ที่จะเล่าเรื่องเมือง 4 ยุค (ป่า-เหมือง-เมือง-ท่องเที่ยว) ของนครภูเก็ตในอดีต ผ่านภาพเก่าซึ่งหาชมได้ยาก
ต่อที่ “โซนสถาปนานคร” ที่จะมีพระราชหัตถเลขาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งเป็นหลักฐานสำคัญในการย้ายศูนย์กลางการปกครองของภูเก็ต ใกล้กันนั้นจะเป็น “โซนตำนานนคร” ที่จะบอกเล่าเรื่องราวการเกิดเมืองและเหตุของการย้ายเมือง โดยเรื่องราวที่ว่านี้จะสลักอยู่บนเลียงที่มีลักษณะเป็นภาชนะกลมแบนคล้ายกระทะทำมาจากไม้ เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการร่อนแร่ และเราจะต้องทำการร่อนเลียงนี้เพื่อให้เห็นตัวหนังสือที่สลักไว้นั่นเอง
โซนต่อมาคือ “โซนย้ายนคร” เรื่องราวเกี่ยวกับการย้ายนครสมัยธนบุรี สมัยรัชกาลที่ ๓ สมัยรัชกาลที่ ๔ จนมาอยู่ที่ “นครภูเก็ต” ในปัจจุบัน จะถูกถ่ายทอดผ่านเส้นลวดที่ดัดไปดัดมาจนเป็นเรื่องราว ช่วยให้การเล่าเรื่องมีความเพลิดเพลินมากยิ่งขึ้น จากนั้นจะเป็น “โซนนครบนเหมือง” ที่จะเล่าถึงการปรับปรุงบ้านเมืองครั้งสำคัญด้วยการดำเนินงานของพระยารัษฎานุประดิษฐมหิศรภักดี (คอซิมบี้ ณ ระนอง) สมุหเทศาภิบาลมณฑลภูเก็ต
โซนที่ 6 คือ “โซนนครรุ่งเรือง” ที่จะให้คำตอบว่าทำไม “ดีบุก” จึงเป็นที่ต้องการของโลกในขณะนั้น และผลจากการค้นพบดีบุกใต้ผืนดินได้นำมาซึ่งวัฒนธรรม สถาปัตยกรรม อาหาร และสิ่งต่างๆ มากมาย จากกลุ่มคนที่หลากหลาย ผ่านการนำเสนอที่ชวนค้นหาคำตอบ
อีกมุมหนึ่งไม่ไกลกันจะเป็น “โซนอวสานดีบุก” จะเล่าถึงช่วงของการสิ้นสุดของยุคดีบุกและเริ่มต้นบทบาทใหม่ของนครภูเก็ตจนถึงปัจจุบัน และโซนสุดท้ายคือ “โซนมิวเซียมรีวิว” ที่จะให้ทุกคนได้สนุกสนานกับการค้นหาร้านอร่อยหรือสถานที่น่าสนใจของย่านเมืองเก่าภูเก็ตนั่นเอง และเมื่อได้รู้ความเป็นมาของ “ย่านเมืองเก่า” ผ่านการเล่าเรื่องที่เพลิดเพลินไม่เหมือนใครแล้ว ก็จะทำให้การเที่ยว “ภูเก็ต” สนุกกว่าที่เคยอย่างแน่นอน
*****************************
“พิพิธภัณฑ์เพอรานากันนิทัศน์” (อาคารธนาคารชาร์เตอร์เดิม) ตั้งอยู่ที่ ถ.พังงา ต.ตลาดใหญ่ อ.เมือง จ.ภูเก็ต เปิดให้เข้าชมฟรี ทุกวันอังคาร-วันอาทิตย์ (ปิดวันจันทร์ ) เวลา 09.00 - 16.30 น. สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมโทร. 09-4807-7873
สามารถส่งข้อมูลข่าวสารด้านการท่องเที่ยว-อาหารมาได้ที่ กอง บก.ข่าวท่องเที่ยว แฟกซ์ 0-2629-4467 อีเมล์ travel_astvmgr@hotmail.com หรือติดตามเพิ่มเติมได้ที่ Facebook :Travel @ Manager