Facebook :Travel @ Manager
คำว่า “เรื่องกิน เรื่องใหญ่” ยังคงใช้ได้กับชนทุกชาติ ทุกเชื้อสายตลอดกาล อย่างชาวเผ่าที่ “บ้านแม่แอบ” อ.เชียงแสน จ.เชียงราย ที่เป็นชุมชนที่รวมชาวเขาถึง 5 ชนเผ่าเข้าไว้ด้วยกัน ซึ่งแน่นอนว่าแต่ละชนเผ่านั้นย่อมต้องมีของอร่อยที่เมนูเด็ดไว้ให้นักท่องเที่ยวที่มาเยือนที่นี่ได้ลิ้มลองกัน
เริ่มที่ชนเผ่าแรกคือ “ชาวอาข่า” หรือ “ชาวอีก้อ” ในสมัยก่อนชาวอาข่าอยู่บนที่สูงวัตถุดิบ การที่เด็กๆ จะหาขนมกินนั้นจึงเป็นเรื่องยาก พวกเขาจึงทำขนมขึ้นมากินเอง นั่นคือ “ขนมจาแล” ซึ่งจะนำข้าวเหนียวและแป้ง มาตำจนเป็นเนื้อเดียวกัน แล้วปั้นเป็นก้อนกลมๆ ชิ้นพอดีคำ และนำไปต้มจนสุก จากนั้นจึงตักขึ้นมาคลุกกับงาดำที่ตำจะละเอียด เป็นการเพิ่มความหอมและทำให้ตัวแป้งไม่ติดกัน ซึ่งขนมจาแลนี้มักจะทำไว้กินเล่นหรือทำกินช่วงปีใหม่ เพื่อความโชคดี และสื่อถึงความเหนียวแน่นของครอบครัว
สำหรับของกินของชนเผ่าที่สองคือ “ชาวจีนยูนนาน” ที่ไม่ว่าใครได้มาเยือนก็ต้องถูกใจในรสชาตินั่นก็คือ “น้ำเต้าหู้สด” ซึ่งคนที่นี่เขาทำเองตั้งแต่ปลูกถั่วเหลืองไปจนถึงขั้นตอนสุดท้าย โดยรสชาติน้ำเต้าหู้ที่นี่จะเข้มข้น หอมหวานธรรมชาติ (แทบจะไม่ใส่น้ำตาล) กินคู่กับ “เค้กขนมไข่” ที่ทำเองเช่นกันเข้ากันดีอย่าบอกใคร
นอกจากนั้นยังมีอาหารพื้นถิ่นอีกหลายอย่างที่น่าลิ้มลอง อย่างเช่น บะหมี่เหลืองกินคู่กับเต้าหู้ทรงเครื่อง (คล้ายน้ำพริกอ่อง แต่ใช่เต้าหู้แทนหมูสับ) ข้าวแรมฟืน ฯลฯ ซึ่งชาวจีนยูนนานที่นี่มักจะไม่นำเนื้อสัตว์มาประกอบอาหาร หรือเป็นมังสวิรัตินั่นเอง
ชนเผ่าต่อมาคือ “ชาวไตใหญ่” (ไทยใหญ่) เมื่อแวะมาที่ชนเผ่านี้จะได้ลองกิน “ข้าวแคบ” ซึ่งเป็นขนมของชาวไตใหญ่ที่ทำจากแป้ง นำมานึ่งคล้ายกับข้าวเกรียบปากหม้อ และนำไปตากจนแห้ง ก่อนนำไปทอดกรอบเหมือนข้าวเกรียบ และยังมีอาหารพื้นเมืองอย่าง “น้ำพริกผัก” (คล้ายน้ำพริกหนุ่ม) ให้ได้ลองลิ้มชิมรสกันอีกด้วย
ชนเผ่าที่สี่คือ “ชาวลัวะ” ที่มีเมนูห้ามพลาดคือ “ข้าวซอยเทื้อ” หรือ “พิซซ่าลัวะ” ที่ทำจากแป้งข้าวเจ้า ปรุงรสด้วยเกลือ ซีอิ๊วดำ น้ำตาล ใส่เครื่องต่างๆ เช่น ยอดถั่วลันเตา กะหล่ำปลี ถั่วลิสง หอมเจียว แล้วนำไปร่อนในถาดเหล็กวงกลมและไปลอยในน้ำเดือดจนสุกใช้เวลาประมาณ 5 นาที ก่อนกินอาจจะพับลักษณะคล้ายพิซซ่าหรือกินเป็นถาด ก็อร่อยกลมกล่อมแถมประโยชน์เยอะอีกด้วย
อีกเมนูที่น่าลองก็คือ “ข้าวซอยน้อย” ซึ่งตัวแป้งก็ทำจากข้าวเจ้าแล้วนำไปลอยน้ำเช่นกัน แต่จะไม่ใส่เครื่องเหมือนข้าวซอยเทื้อ และจะกินคู่กับน้ำพริก ที่ทำจากกระเทียม หอมเจียว หอมแดง น้ำตาล พริกป่น ผัดให้เข้ากัน ใส่มะเขือเทศลงไปกวน ให้แห้ง ใส่ถั่วลิสงแทนการใส่เนื้อสัตว์
ชนเผ่าสุดท้ายคือ “ชาวลาหู่” ที่นี่จะมี “ข้าวปุ๊ก” ที่เป็นขนมทำจากข้าวเหนียวนึ่งสุก แล้วนำมาตำให้เป็นเนื้อเดียวกัน และนำไปปิ้งบนเตาถ่าน เมื่อสุกแล้วจิ้มกินกับน้ำผึ้งป่ารสหวานหอม หรือจะเพิ่มความอร่อยโดยใส่งาขาวผสมน้ำตาลไว้ตรงกลางแผ่นแป้ง แล้วพับครึ่งคล้ายกะหรี่ปั๊บ จากนั้นนำไปปิ้ง กินคู่กับ “ชาลาหู่” อร่อยถูกใจ
ที่ “บ้านแม่แอบ” นอกจากจะมีของกินอร่อยๆ ของแต่ละชนเผ่าให้ได้ลิ้มลองแล้ว ยังมีอีกหลายอย่างที่น่าสนใจอย่างเช่น ได้มาศึกษาวิถีชีวิตความเป็นอยู่ หรือได้มาสัมผัสวัฒนธรรมที่แตกต่างเหล่านั้น ก็ถือเป็นอีกหนึ่งเสน่ห์ของที่นี่เช่นกัน
สามารถส่งข้อมูลข่าวสารด้านการท่องเที่ยว-อาหารมาได้ที่ กอง บก.ข่าวท่องเที่ยว แฟกซ์ 0-2629-4467 อีเมล์ travel_astvmgr@hotmail.com หรือติดตามเพิ่มเติมได้ที่ Facebook :Travel @ Manager
คำว่า “เรื่องกิน เรื่องใหญ่” ยังคงใช้ได้กับชนทุกชาติ ทุกเชื้อสายตลอดกาล อย่างชาวเผ่าที่ “บ้านแม่แอบ” อ.เชียงแสน จ.เชียงราย ที่เป็นชุมชนที่รวมชาวเขาถึง 5 ชนเผ่าเข้าไว้ด้วยกัน ซึ่งแน่นอนว่าแต่ละชนเผ่านั้นย่อมต้องมีของอร่อยที่เมนูเด็ดไว้ให้นักท่องเที่ยวที่มาเยือนที่นี่ได้ลิ้มลองกัน
เริ่มที่ชนเผ่าแรกคือ “ชาวอาข่า” หรือ “ชาวอีก้อ” ในสมัยก่อนชาวอาข่าอยู่บนที่สูงวัตถุดิบ การที่เด็กๆ จะหาขนมกินนั้นจึงเป็นเรื่องยาก พวกเขาจึงทำขนมขึ้นมากินเอง นั่นคือ “ขนมจาแล” ซึ่งจะนำข้าวเหนียวและแป้ง มาตำจนเป็นเนื้อเดียวกัน แล้วปั้นเป็นก้อนกลมๆ ชิ้นพอดีคำ และนำไปต้มจนสุก จากนั้นจึงตักขึ้นมาคลุกกับงาดำที่ตำจะละเอียด เป็นการเพิ่มความหอมและทำให้ตัวแป้งไม่ติดกัน ซึ่งขนมจาแลนี้มักจะทำไว้กินเล่นหรือทำกินช่วงปีใหม่ เพื่อความโชคดี และสื่อถึงความเหนียวแน่นของครอบครัว
สำหรับของกินของชนเผ่าที่สองคือ “ชาวจีนยูนนาน” ที่ไม่ว่าใครได้มาเยือนก็ต้องถูกใจในรสชาตินั่นก็คือ “น้ำเต้าหู้สด” ซึ่งคนที่นี่เขาทำเองตั้งแต่ปลูกถั่วเหลืองไปจนถึงขั้นตอนสุดท้าย โดยรสชาติน้ำเต้าหู้ที่นี่จะเข้มข้น หอมหวานธรรมชาติ (แทบจะไม่ใส่น้ำตาล) กินคู่กับ “เค้กขนมไข่” ที่ทำเองเช่นกันเข้ากันดีอย่าบอกใคร
นอกจากนั้นยังมีอาหารพื้นถิ่นอีกหลายอย่างที่น่าลิ้มลอง อย่างเช่น บะหมี่เหลืองกินคู่กับเต้าหู้ทรงเครื่อง (คล้ายน้ำพริกอ่อง แต่ใช่เต้าหู้แทนหมูสับ) ข้าวแรมฟืน ฯลฯ ซึ่งชาวจีนยูนนานที่นี่มักจะไม่นำเนื้อสัตว์มาประกอบอาหาร หรือเป็นมังสวิรัตินั่นเอง
ชนเผ่าต่อมาคือ “ชาวไตใหญ่” (ไทยใหญ่) เมื่อแวะมาที่ชนเผ่านี้จะได้ลองกิน “ข้าวแคบ” ซึ่งเป็นขนมของชาวไตใหญ่ที่ทำจากแป้ง นำมานึ่งคล้ายกับข้าวเกรียบปากหม้อ และนำไปตากจนแห้ง ก่อนนำไปทอดกรอบเหมือนข้าวเกรียบ และยังมีอาหารพื้นเมืองอย่าง “น้ำพริกผัก” (คล้ายน้ำพริกหนุ่ม) ให้ได้ลองลิ้มชิมรสกันอีกด้วย
ชนเผ่าที่สี่คือ “ชาวลัวะ” ที่มีเมนูห้ามพลาดคือ “ข้าวซอยเทื้อ” หรือ “พิซซ่าลัวะ” ที่ทำจากแป้งข้าวเจ้า ปรุงรสด้วยเกลือ ซีอิ๊วดำ น้ำตาล ใส่เครื่องต่างๆ เช่น ยอดถั่วลันเตา กะหล่ำปลี ถั่วลิสง หอมเจียว แล้วนำไปร่อนในถาดเหล็กวงกลมและไปลอยในน้ำเดือดจนสุกใช้เวลาประมาณ 5 นาที ก่อนกินอาจจะพับลักษณะคล้ายพิซซ่าหรือกินเป็นถาด ก็อร่อยกลมกล่อมแถมประโยชน์เยอะอีกด้วย
อีกเมนูที่น่าลองก็คือ “ข้าวซอยน้อย” ซึ่งตัวแป้งก็ทำจากข้าวเจ้าแล้วนำไปลอยน้ำเช่นกัน แต่จะไม่ใส่เครื่องเหมือนข้าวซอยเทื้อ และจะกินคู่กับน้ำพริก ที่ทำจากกระเทียม หอมเจียว หอมแดง น้ำตาล พริกป่น ผัดให้เข้ากัน ใส่มะเขือเทศลงไปกวน ให้แห้ง ใส่ถั่วลิสงแทนการใส่เนื้อสัตว์
ชนเผ่าสุดท้ายคือ “ชาวลาหู่” ที่นี่จะมี “ข้าวปุ๊ก” ที่เป็นขนมทำจากข้าวเหนียวนึ่งสุก แล้วนำมาตำให้เป็นเนื้อเดียวกัน และนำไปปิ้งบนเตาถ่าน เมื่อสุกแล้วจิ้มกินกับน้ำผึ้งป่ารสหวานหอม หรือจะเพิ่มความอร่อยโดยใส่งาขาวผสมน้ำตาลไว้ตรงกลางแผ่นแป้ง แล้วพับครึ่งคล้ายกะหรี่ปั๊บ จากนั้นนำไปปิ้ง กินคู่กับ “ชาลาหู่” อร่อยถูกใจ
ที่ “บ้านแม่แอบ” นอกจากจะมีของกินอร่อยๆ ของแต่ละชนเผ่าให้ได้ลิ้มลองแล้ว ยังมีอีกหลายอย่างที่น่าสนใจอย่างเช่น ได้มาศึกษาวิถีชีวิตความเป็นอยู่ หรือได้มาสัมผัสวัฒนธรรมที่แตกต่างเหล่านั้น ก็ถือเป็นอีกหนึ่งเสน่ห์ของที่นี่เช่นกัน
สามารถส่งข้อมูลข่าวสารด้านการท่องเที่ยว-อาหารมาได้ที่ กอง บก.ข่าวท่องเที่ยว แฟกซ์ 0-2629-4467 อีเมล์ travel_astvmgr@hotmail.com หรือติดตามเพิ่มเติมได้ที่ Facebook :Travel @ Manager