Facebook :Travel @ Manager

ไปเที่ยวทั้งที ก็ต้องลองลิ้มอาหารท้องถิ่นจึงจะถือว่ามาถึงที่แล้ว อย่างถ้าใครแวะไปเที่ยวที่ อ.เมือง จ.ตาก ก็อย่าลืมมองหาอาหารท้องถิ่นแสนอร่อยไปลองชิม เมนูอร่อยที่เมืองตากก็มีเอกลักษณ์ไม่เหมือนที่ไหน อย่างเช่น 7 เมนูเด็ด ที่เราแนะนำในคราวนี้
ข้าวต้มผงกะหรี่
ต้มข้าวต้มโดยผสมข้าวเจ้ากับข้าวเหนียวลงไป ต้มจนเมล็ดข้าวนุ่ม แล้วปล่อยทิ้งไว้ให้เย็นตัวลงเล้กน้อยค่อยใส่ใบเตยลงไปเพิ่มความหอม ส่วนเครื่องผงกะหรี่ ก็นำผงกะหรี่ลงไปผัดกับน้ำมัน ใส่พริกไทย และหมูบด ผัดให้หอม ปรุงรสให้ถูกปาก เวลากินก็ตักข้าวต้มใส่ชาม ราดด้วยหมูสับผัดผงกะหรี่ โรยหน้าด้วยหอมเจียว ผักชีฝรั่งซอย และเกี๊ยวกรอบ รสชาติก็คล้ายข้าวต้มหมูทั่วไป แต่จะมีความหอมของผงกะหรี่ที่ชวนกิน

แกงมะแฮะ
“แกงมะแฮะ” ทำจากถั่วชนิดหนึ่งที่เรียกว่า “ถั่วมะแฮะ” ซึ่งปลูกอยู่ในจังหวัดตาก หน้าตาและรสชาติจะคล้ายๆ ถั่วลันเตา ฝักถั่วที่ได้จะแกะเอาแต่เม็ดด้านใน นำไปตากให้แห้ง แล้วเก็บใส่ตู้เย็น เมื่อจะใช้ต้มต้องนำมาแช่น้ำทิ้งไว้ข้ามคืน แล้วต้มในน้ำเดือดอีกประมาณ 4-5 ชั่วโมง จนเปื่อย
เวลาแกง จะใส่เครื่องแกงที่คล้ายๆ แกงส้ม ใส่มะเขือส้ม ส้มป่อย ใบมะขาม ชะอม และหมูสามชั้น รสชาติของแกงก็จะคล้ายๆ แกงส้ม แต่ได้ความหอมมันจากถั่วมะแฮะ นิยมกินคู่กับข้าวเกรียบทอด
ถั่วมะแฮะจะมีผลผลิตในช่วงเดือนกุมภาพันธ์-เมษายน เมื่อเก็บเกี่ยวผลผลิตก็จะนำไปตากแห้ง แล้วเก็บแช่ตู้เย็นไว้ พอถึงช่วงสงกรานต์ที่ลูกหลานกลับมาบ้านเกิด ก็จะนิยมแกงให้ลูกหลานกินกัน



ข้าวเกรียบ
มีส่วนผสมของแป้งข้าวเจ้า ใส่งา แล้วละเลงลงบนผ้าขาวบางที่ขึงอยู่บนปากหม้อที่มีน้ำเดือด เมื่อแป้งสุกแล้วก็แซะขึ้นมา นำมาตากแดดจนแห้ง ใช้เวลาไม่นานนักหากมีแดดจัด โดยข้าวเกรียบนี้สามารถกินได้เลย หรือจะนำไปเป็นส่วนผสมของเมนูพื้นบ้านอื่นๆ ก็ได้



ยำข้าวเกรียบ
ใช้ข้าวเกรียบที่ตากแห้งแล้ว นำมาฉีกเป็นชิ้นเล็กๆ ก่อนจะนำไปบำกับน้ำพริกเผา น้ำพริกกุ้ง ถั่วลิสง หอมแดง แครอท ถั่วฝักยาว ปรุงรสชาติตามชอบ ความอร่อยจะอยู่ที่น้ำพริกเผาและน้ำพริกกุ้งที่ใช้เป็นเครื่องปรุงเป็นยำรสชาติจัดจ้าน กินแกล้มกับแคบหมูและใบชะพลูก็ยิ่งอร่อย



ไส้เมี่ยง
มีส่วนผสมของมะพร้าวแก่ขูดเป็นเส้นๆ ถั่วลิสง น้ำตาลทราย เกลือ กระเทียม ขิง ทั้งหมดผสมกันแล้วนำลงไปทอดในน้ำมันร้อนๆ ทอดไปเรื่อยๆ จนมะพร้าวเป็นสีเหลืองทองได้ที่ แล้วตักขึ้นพักไว้ให้สะเด็ดน้ำมันและเย็นตัวลง ก่อนจะบรรจุถุง เป็นไส้เมี่ยงที่พร้อมกินได้ทันที รสชาติจะออกหวานๆ มันๆ หอมมะพร้าว



เมี่ยงเต้าเจี้ยว
“เมี่ยงเต้าเจี้ยว” หรือ “เมี่ยงจอมพล” เมี่ยงชนิดนี้มี “เต้าเจี้ยว” เป็นน้ำเมี่ยง โดยเต้าเจี้ยวที่ใช้นั้นจะเป็นเต้าเจี้ยวที่หมักเอง แตกต่างจากที่อื่นคือ เต้าเจี้ยวทั่วไปจะมีรสชาติเค็มมากกว่า ส่วนเต้าเจี้ยวของที่นี่จะเค็มน้อยกว่า และปรุงให้มีรสเปรี้ยวนิดๆ เค็ม และหวานหน่อยๆ
เครื่องเคียงก็จะมี ตะไคร้ ขิงสด มะนาว กระเทียม ถั่วลิสงคั่ว มะพร้าวขูด ข้าวพอง นำมาห่อเข้ากับข้าวเกรียบงาดำ หรือ ใบชะพลู ก็ได้ตามชอบ เวลากินก็ใส่ทุกอย่างรวมกัน ห่อเป็นกรวย แล้วราดด้วยเต้าเจี้ยว (ใครที่ชอบรสหวาน สามารถใส่น้ำตาลทรายลงไปเพิ่มในเต้าเจี้ยวได้) กินเคียงกับพริกขี้หนูสด พริกแห้ง และมะเขือพวง

เมี่ยงแคบหมู
ส่วนผสมจะมีใบเมี่ยง (ใบชา) ที่หมักแล้ว จากนั้นนำมาคลี่ออกจากก้อน ล้างน้ำให้หายฝาด แล้วค่อยนำมาหมักกับน้ำส้มสายชู (หรือน้ำมะนาว) ขิงซอย และตัดรสด้วยน้ำตาลทรายให้กลมกล่อมมากขึ้น หมักทิ้งไว้สักครู่ แล้วนำมาห่อเป็นคำๆ
ส่วนไส้เมี่ยงจะประกอบด้วยแคบหมู ถั่วลิสง ขิงซอย เกลือ น้ำตาล ผสมกัน แยกไว้อีกห่อ เวลากินก็นำไส้เมี่ยงไปห่อเข้ากับใบเมี่ยงหมัก เคี้ยวแล้วอร่อยเพลินๆ ใบเมี่ยงได้รสเปรี้ยวๆ หวานๆ ฝาดนิดๆ หอมมันแคบหมูและถั่วลิสง
สามารถส่งข้อมูลข่าวสารด้านการท่องเที่ยว-อาหารมาได้ที่ กอง บก.ข่าวท่องเที่ยว แฟกซ์ 0-2629-4467 อีเมล์ travel_astvmgr@hotmail.com หรือติดตามเพิ่มเติมได้ที่ Facebook :Travel @ Manager
ไปเที่ยวทั้งที ก็ต้องลองลิ้มอาหารท้องถิ่นจึงจะถือว่ามาถึงที่แล้ว อย่างถ้าใครแวะไปเที่ยวที่ อ.เมือง จ.ตาก ก็อย่าลืมมองหาอาหารท้องถิ่นแสนอร่อยไปลองชิม เมนูอร่อยที่เมืองตากก็มีเอกลักษณ์ไม่เหมือนที่ไหน อย่างเช่น 7 เมนูเด็ด ที่เราแนะนำในคราวนี้
ข้าวต้มผงกะหรี่
ต้มข้าวต้มโดยผสมข้าวเจ้ากับข้าวเหนียวลงไป ต้มจนเมล็ดข้าวนุ่ม แล้วปล่อยทิ้งไว้ให้เย็นตัวลงเล้กน้อยค่อยใส่ใบเตยลงไปเพิ่มความหอม ส่วนเครื่องผงกะหรี่ ก็นำผงกะหรี่ลงไปผัดกับน้ำมัน ใส่พริกไทย และหมูบด ผัดให้หอม ปรุงรสให้ถูกปาก เวลากินก็ตักข้าวต้มใส่ชาม ราดด้วยหมูสับผัดผงกะหรี่ โรยหน้าด้วยหอมเจียว ผักชีฝรั่งซอย และเกี๊ยวกรอบ รสชาติก็คล้ายข้าวต้มหมูทั่วไป แต่จะมีความหอมของผงกะหรี่ที่ชวนกิน
แกงมะแฮะ
“แกงมะแฮะ” ทำจากถั่วชนิดหนึ่งที่เรียกว่า “ถั่วมะแฮะ” ซึ่งปลูกอยู่ในจังหวัดตาก หน้าตาและรสชาติจะคล้ายๆ ถั่วลันเตา ฝักถั่วที่ได้จะแกะเอาแต่เม็ดด้านใน นำไปตากให้แห้ง แล้วเก็บใส่ตู้เย็น เมื่อจะใช้ต้มต้องนำมาแช่น้ำทิ้งไว้ข้ามคืน แล้วต้มในน้ำเดือดอีกประมาณ 4-5 ชั่วโมง จนเปื่อย
เวลาแกง จะใส่เครื่องแกงที่คล้ายๆ แกงส้ม ใส่มะเขือส้ม ส้มป่อย ใบมะขาม ชะอม และหมูสามชั้น รสชาติของแกงก็จะคล้ายๆ แกงส้ม แต่ได้ความหอมมันจากถั่วมะแฮะ นิยมกินคู่กับข้าวเกรียบทอด
ถั่วมะแฮะจะมีผลผลิตในช่วงเดือนกุมภาพันธ์-เมษายน เมื่อเก็บเกี่ยวผลผลิตก็จะนำไปตากแห้ง แล้วเก็บแช่ตู้เย็นไว้ พอถึงช่วงสงกรานต์ที่ลูกหลานกลับมาบ้านเกิด ก็จะนิยมแกงให้ลูกหลานกินกัน
ข้าวเกรียบ
มีส่วนผสมของแป้งข้าวเจ้า ใส่งา แล้วละเลงลงบนผ้าขาวบางที่ขึงอยู่บนปากหม้อที่มีน้ำเดือด เมื่อแป้งสุกแล้วก็แซะขึ้นมา นำมาตากแดดจนแห้ง ใช้เวลาไม่นานนักหากมีแดดจัด โดยข้าวเกรียบนี้สามารถกินได้เลย หรือจะนำไปเป็นส่วนผสมของเมนูพื้นบ้านอื่นๆ ก็ได้
ยำข้าวเกรียบ
ใช้ข้าวเกรียบที่ตากแห้งแล้ว นำมาฉีกเป็นชิ้นเล็กๆ ก่อนจะนำไปบำกับน้ำพริกเผา น้ำพริกกุ้ง ถั่วลิสง หอมแดง แครอท ถั่วฝักยาว ปรุงรสชาติตามชอบ ความอร่อยจะอยู่ที่น้ำพริกเผาและน้ำพริกกุ้งที่ใช้เป็นเครื่องปรุงเป็นยำรสชาติจัดจ้าน กินแกล้มกับแคบหมูและใบชะพลูก็ยิ่งอร่อย
ไส้เมี่ยง
มีส่วนผสมของมะพร้าวแก่ขูดเป็นเส้นๆ ถั่วลิสง น้ำตาลทราย เกลือ กระเทียม ขิง ทั้งหมดผสมกันแล้วนำลงไปทอดในน้ำมันร้อนๆ ทอดไปเรื่อยๆ จนมะพร้าวเป็นสีเหลืองทองได้ที่ แล้วตักขึ้นพักไว้ให้สะเด็ดน้ำมันและเย็นตัวลง ก่อนจะบรรจุถุง เป็นไส้เมี่ยงที่พร้อมกินได้ทันที รสชาติจะออกหวานๆ มันๆ หอมมะพร้าว
เมี่ยงเต้าเจี้ยว
“เมี่ยงเต้าเจี้ยว” หรือ “เมี่ยงจอมพล” เมี่ยงชนิดนี้มี “เต้าเจี้ยว” เป็นน้ำเมี่ยง โดยเต้าเจี้ยวที่ใช้นั้นจะเป็นเต้าเจี้ยวที่หมักเอง แตกต่างจากที่อื่นคือ เต้าเจี้ยวทั่วไปจะมีรสชาติเค็มมากกว่า ส่วนเต้าเจี้ยวของที่นี่จะเค็มน้อยกว่า และปรุงให้มีรสเปรี้ยวนิดๆ เค็ม และหวานหน่อยๆ
เครื่องเคียงก็จะมี ตะไคร้ ขิงสด มะนาว กระเทียม ถั่วลิสงคั่ว มะพร้าวขูด ข้าวพอง นำมาห่อเข้ากับข้าวเกรียบงาดำ หรือ ใบชะพลู ก็ได้ตามชอบ เวลากินก็ใส่ทุกอย่างรวมกัน ห่อเป็นกรวย แล้วราดด้วยเต้าเจี้ยว (ใครที่ชอบรสหวาน สามารถใส่น้ำตาลทรายลงไปเพิ่มในเต้าเจี้ยวได้) กินเคียงกับพริกขี้หนูสด พริกแห้ง และมะเขือพวง
เมี่ยงแคบหมู
ส่วนผสมจะมีใบเมี่ยง (ใบชา) ที่หมักแล้ว จากนั้นนำมาคลี่ออกจากก้อน ล้างน้ำให้หายฝาด แล้วค่อยนำมาหมักกับน้ำส้มสายชู (หรือน้ำมะนาว) ขิงซอย และตัดรสด้วยน้ำตาลทรายให้กลมกล่อมมากขึ้น หมักทิ้งไว้สักครู่ แล้วนำมาห่อเป็นคำๆ
ส่วนไส้เมี่ยงจะประกอบด้วยแคบหมู ถั่วลิสง ขิงซอย เกลือ น้ำตาล ผสมกัน แยกไว้อีกห่อ เวลากินก็นำไส้เมี่ยงไปห่อเข้ากับใบเมี่ยงหมัก เคี้ยวแล้วอร่อยเพลินๆ ใบเมี่ยงได้รสเปรี้ยวๆ หวานๆ ฝาดนิดๆ หอมมันแคบหมูและถั่วลิสง
สามารถส่งข้อมูลข่าวสารด้านการท่องเที่ยว-อาหารมาได้ที่ กอง บก.ข่าวท่องเที่ยว แฟกซ์ 0-2629-4467 อีเมล์ travel_astvmgr@hotmail.com หรือติดตามเพิ่มเติมได้ที่ Facebook :Travel @ Manager