Facebook :Travel @ Manager

หากพูดถึงสกุล “บุนนาค” พวกเราหลายคนน่าจะคุ้นหูกันเป็นอย่างดี เพราะสกุลนี้มีบทบาทอย่างมากในสมัยรัตนโกสินทร์ช่วงรัชกาลที่ ๓ และรัชกาลที่ ๔ ทั้งในเรื่องของการทำสนธิสัญญาทางการทูตและการค้า ด้านการทหาร การเมืองการปกครอง และอีกมากมาย ซึ่งทำให้ฐานะทางเศรษฐกิจของประเทศและประชาชนมีการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น

ในครั้งนี้เราจึงขอพามา “ย้อนกาลเก่า เล่ารัตนโกสินทร์ ยินผ่านวรรณกรรม” ซึ่งเป็นกิจกรรมที่ทาง “เคทีซี” หรือ บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ได้จัดขึ้น โดยมีอาจารย์จุลภัสสร พนมวัน ณ อยุธยา ผู้เชี่ยวชาญด้านศิลปวัฒนธรรมร่วมเป็นผู้ให้ความรู้และพามายังวัดและสถานที่สำคัญในย่านฝั่งธนบุรี ที่มีเรื่องราวเกี่ยวกับสกุล “บุนนาค” โดยเริ่มจากที่ "วัดพิชยญาติการาม" หรือที่ชาวบ้านเรียกกันแบบสะดวกปากว่า “วัดพิชัยญาติ” เป็นที่แรก

แต่เดิมวัดนี้เป็นวัดร้าง ไม่มีภิกษุสามเณรอยู่จำพรรษา และไม่มีหลักฐานชัดเจนว่าสร้างขึ้นมาในสมัยใด ต่อมาสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิชัยญาติ (ทัต บุนนาค) หรือสมเด็จเจ้าพระยาองค์น้อย เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งเป็นพระยาศรีพิพัฒน์ (พระยาศรีพิพัฒน์รัตนศาธิบดี) ได้บูรณะขึ้นใหม่ทั้งวัด แล้วถวายให้เป็นพระอารามหลวงในสมัยรัชกาลที่ ๓ ส่วนชื่อวัดพิชยญาติการามนี้รัชกาลที่ ๔ ทรงตั้งให้ในภายหลัง

สำหรับสิ่งที่น่าสนใจที่วัดนี้มีมากมายอาทิ “พระอุโบสถ” ซึ่งมีลักษณะเหมือนเก๋งจีน ไม่มีช่อฟ้าใบระกา และด้านหน้าพระอุโบสถก็ยังมีการประดับเสาแบบจีน และมีตุ๊กตาศิลาจีนที่ยืนคุมเชิงอยู่สองข้างประตูทางเข้าโบสถ์ ส่วนที่ตรงฐานอุโบสถด้านนอก ระหว่างเสาพาไลแต่ละต้นก็จะมี “ภาพสลักหินเรื่องสามก๊ก” อยู่รวมทั้งหมด 22 ภาพ ด้วยกัน ส่วนภายในพระอุโบสถเป็นที่ประดิษฐานองค์พระประธานที่มีนามว่า "พระสิทธารถ" พระพุทธรูปเก่าแก่สมัยสุโขทัยที่อัญเชิญมาจากเมืองพิษณุโลก ชาวบ้านนิยมเรียกท่านว่า "หลวงพ่อสมปรารถนา"


อีกหนึ่งจุดไฮไลต์ของที่วัดนี้ นั่นก็คือ “พระปรางค์ 3 ยอด” องค์สูงใหญ่ที่ตั้งตระหง่านเป็นสง่าอยู่เบื้องหลังของที่วัด โดยภายในพระปรางค์องค์ใหญ่ซึ่งอยู่ตรงกลางนั้นประดิษฐาน “พระพุทธเจ้า 4 พระองค์” ไว้ คือพระกกุสันธะพุทธเจ้า พระโกนาคมนะพุทธเจ้า พระกัสสปะพุทธเจ้า พระโคตมะพุทธเจ้า ประดิษฐานไว้ในลักษณะที่ทั้งสี่องค์นั่งหันหลังชนกันหันหน้าออกไปด้านนอกทั้งสี่ทิศ และบริเวณผนังขององค์พระปรางค์นี้ยังเป็นที่เก็บอัฐิของบรรพบุรุษสกุล “บุนนาค” อีกด้วย ส่วนพระปรางค์องค์เล็กทางซ้าย ประดิษฐาน “พระพุทธเมตเตยยะพุทธเจ้า” หรือ “พระศรีอาริยเมตไตร” ส่วนทางขวาประดิษฐาน “พระพุทธบาทจำลอง 4 รอย”

จากที่วัดพิชัยญาติ เราเดินข้ามถนนมาแล้วเข้ามาในซอยสมเด็จเจ้าพระยา 3 จนสุดซอยจะเจอ “อุทยานเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี” หรือที่เราเรียกกันว่า “อุทยานฯ สมเด็จย่า” แต่เดิมที่นี้เป็นบ้านเดิมของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี หรือสมเด็จย่า เมื่อยังทรงพระเยาว์ เหตุที่สร้างที่นี่ขึ้นเกิดจากกระแสพระราชดำริของรัชกาลที่ ๙ ที่ทรงมีพระราชประสงค์ให้อนุรักษ์อาคารเก่าในย่านนิวาสถานเดิมที่พระบรมราชชนนีเคยพำนักอยู่ไว้ เมื่อนายแดง นานา และนายเล็ก นานา ทราบว่ารัชกาลที่ ๙ มีพระราชกระแสให้หาบ้านของสมเด็จย่า จึงน้อมเกล้าฯ ถวายที่ดินจำนวน 4 ไร่ ในบริเวณชุมชนหลังวัดอนงคารามให้เป็นสวนสาธารณะของชุมชน

ซึ่งแรกเริ่มเดิมทีที่ดินบริเวณนี้นั้นเคยเป็นบ้านและที่ดินในหมู่ตึกที่อาศัยของเจ้าพระยาศรีพิพัฒน์รัตนราชโกษาธิบดี (แพ บุนนาค) อธิบดีกรมพระคลังสินค้า ซึ่งภายหลังหมู่ตึกเหล่านั้นได้รื้อออกไป เหลือไว้เพียงโครงสร้างบางส่วนของ “อาคารทิมบริวาร” ที่เป็นที่อยู่อาศัยของข้าทาสบริวารเจ้าพระยาศรีพิพัฒน์รัตนราชโกษาธิบดี (แพ บุนนาค) รวมถึง “บ่อน้ำโบราณ” ที่ใช้ถังน้ำจ้วงน้ำและฉุดขึ้นโดยสาวเชือกที่ผูกติดกับถังน้ำ และซุ้มประตูเก่าบางส่วนที่ยังมีให้เห็น



ส่วนภายในสวนส่วนใน โปรดเกล้าฯ ให้จำลอง "บ้านเดิม" ของสมเด็จย่า ที่มีตกแต่งภายในตามหนังสือ "แม่เล่าให้ฟัง" พระนิพนธ์ในสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ โดยบ้านเช่าในสมัยก่อนจะมีเพียงโครงบ้านที่ทำจากอิฐและหลังคาที่ทำจากกระเบื้องให้เท่านั้น ผู้เช่าจะต้องต่อเติมไม้ขึ้นเอง ซึ่งบ้านที่สมเด็จย่าเคยประทับอยู่นั้นจะมีประตูทางเข้าบ้านด้านหน้าทางเดียว และใช้ไม้ปิดแบ่งห้องเป็น 3 ตอน ได้แก่ ห้องพระและห้องทำทอง ถัดไปเป็นห้องนอน ด้านหลังเป็นห้องครัว

เสร็จจากเดินชมบ้านจำลองและพักผ่อนในสวนแล้ว เราออกเดินทางต่อไปยัง “วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร” ที่ถือเป็นอีกหนึ่งเป็นวัดสำคัญในฝั่งธนบุรี และยังคงเกี่ยวข้องกับสกุลบุนนาคเช่นกัน โดยวัดนี้สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์ (ดิศ บุนนาค) หรือสมเด็จเจ้าพระยาองค์ใหญ่เป็นผู้สร้าง และถวายเป็นพระอารามหลวงในสมัยรัชกาลที่ ๓

ชาวบ้านนิยมเรียกว่า "วัดรั้วเหล็ก" เพราะมีรั้วเหล็กเป็นกำแพงวัดอยู่เป็นบางตอน รั้วเหล็กนี้สูงประมาณ 3 ศอกเศษ ทำเป็นรูปอาวุธคือ หอก ดาบ และขวาน (ขวานสามหมื่น ปืนสามกระบอก หอกสามแสน) มีเรื่องเล่าว่ารั้วเหล็กนี้ เดิมสมเด็จเจ้าพระยาองค์ใหญ่สั่งเข้ามาจากประเทศอังกฤษเพื่อทูลเกล้าฯ ถวายแด่รัชกาลที่ ๓ ใช้ล้อมเป็นกำแพงในพระราชวัง แต่พระองค์ทรงไม่โปรด สมเด็จเจ้าพระยาองค์ใหญ่จึงขอรับพระราชทานมาใช้ล้อมเป็นกำแพงในวัด โดยใช้น้ำตาลทรายแลกเอา หนักต่อหนัก คือเหล็กหนักเท่าใด น้ำตาลทรายก็หนักเท่านั้น

ภายในวัดมีพระบรมธาตุมหาเจดีย์เป็นเจดีย์องค์ใหญ่ทรงกลม สัณฐานรูปโอคว่ำ สูง 60.525 เมตร และมีพระเจดีย์องค์เล็ก 18 องค์เรียงรายรอบเจดีย์องค์ใหญ่ พระบรมธาตุมหาเจดีย์นี้เป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ โดยสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์ เป็นผู้เริ่มสร้างพระเจดีย์องค์ใหญ่นี้ขึ้น แต่หลังสร้างวัดแล้วพระเจดีย์ยังไม่ทันแล้วเสร็จ ผู้สร้างก็ถึงแก่พิราลัยเสียก่อน ต่อมาสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุญนาค) ได้สร้างพระเจดีย์ต่อจนเสร็จสมบูรณ์ ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่๔

ภายในเจดีย์นี้ มี “เสาแกนกลาง” หรือ “เสาครู” ขนาดใหญ่หนักถึง 144 ตัน ก่อด้วยอิฐโบราณ สอด้วยปูนหมักน้ำอ้อยและกาวหนัง เสาแกนกลางดังกล่าวใช้เป็นศูนย์กลางรัศมีวงกลมของเจดีย์ และเป็นเสาหลักสำหรับวางพาดไม้นั่งร้านในขณะก่อสร้าง อีกทั้งยังเป็นเสาค้ำบัลลังก์ปลียอดเจดีย์ ซึ่งเจดีย์ที่มีเสาอิฐเป็นแกนกลางเช่นนี้นับเป็นหนึ่งเดียวของเจดีย์ในยุครัตนโกสินทร์ และโครงการอนุรักษ์เจดีย์พระประธานของวัดประยุรวงศาวาสวรวิหารยังได้รับรางวัลยอดเยี่ยม อันดับ 1 หรือ Award of Excellence จากองค์การยูเนสโกอีกด้วย

ภายในวัดยังมี “เขามอ” ภูเขาจำลองขนาดเล็ก ก่อด้วยศิลาตั้งอยู่กลางสระน้ำบริเวณหน้าวัด ซึ่งสมเด็จเจ้าพระยาองค์ใหญ่เป็นผู้สร้างขึ้น โดยได้แนวคิดเกี่ยวกับเค้าโครงของภูเขาจำลองมาจาก "หยดเทียนขี้ผึ้ง" ที่รัชกาลที่ ๓ ได้พระราชทานให้ หยดเทียนขี้ผึ้งนี้เกิดจากน้ำตาเทียนที่รัชกาลที่ ๓ ทรงจุดขณะเมื่อประทับอยู่ในห้องลงพระบังคนหนัก น้ำตาเทียนหยดทับถมกันเป็นเวลาหลายปีจนก่อรูปเหมือนภูเขา สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์ จึงนำเค้าโครงของหยดเทียนขี้ผึ้งนี้มาเป็นแบบสำหรับสร้างภูเขาจำลองนั่นเอง
นี่เป็นเพียงส่วนหนึ่งของวัดและสถานที่สำคัญที่มีเรื่องราวเกี่ยวกับสกุล “บุนนาค” ให้เราได้เรียนรู้กัน และในโอกาสที่ใกล้จะถึงช่วงวันอาสาฬหบูชาและวันเข้าพรรษาที่ถือเป็นวันสำคัญของศาสนาพุทธแล้ว เราเลยอยากเชิญชวนให้มาร่วมตามรอยสกุล “บุนนาค” และไหว้พระทำบุญกันด้วยเลย
สามารถส่งข้อมูลข่าวสารด้านการท่องเที่ยว-อาหารมาได้ที่ กอง บก.ข่าวท่องเที่ยว แฟกซ์ 0-2629-4467 อีเมล์ travel_astvmgr@hotmail.com หรือติดตามเพิ่มเติมได้ที่ Facebook :Travel @ Manager
หากพูดถึงสกุล “บุนนาค” พวกเราหลายคนน่าจะคุ้นหูกันเป็นอย่างดี เพราะสกุลนี้มีบทบาทอย่างมากในสมัยรัตนโกสินทร์ช่วงรัชกาลที่ ๓ และรัชกาลที่ ๔ ทั้งในเรื่องของการทำสนธิสัญญาทางการทูตและการค้า ด้านการทหาร การเมืองการปกครอง และอีกมากมาย ซึ่งทำให้ฐานะทางเศรษฐกิจของประเทศและประชาชนมีการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น
ในครั้งนี้เราจึงขอพามา “ย้อนกาลเก่า เล่ารัตนโกสินทร์ ยินผ่านวรรณกรรม” ซึ่งเป็นกิจกรรมที่ทาง “เคทีซี” หรือ บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ได้จัดขึ้น โดยมีอาจารย์จุลภัสสร พนมวัน ณ อยุธยา ผู้เชี่ยวชาญด้านศิลปวัฒนธรรมร่วมเป็นผู้ให้ความรู้และพามายังวัดและสถานที่สำคัญในย่านฝั่งธนบุรี ที่มีเรื่องราวเกี่ยวกับสกุล “บุนนาค” โดยเริ่มจากที่ "วัดพิชยญาติการาม" หรือที่ชาวบ้านเรียกกันแบบสะดวกปากว่า “วัดพิชัยญาติ” เป็นที่แรก
แต่เดิมวัดนี้เป็นวัดร้าง ไม่มีภิกษุสามเณรอยู่จำพรรษา และไม่มีหลักฐานชัดเจนว่าสร้างขึ้นมาในสมัยใด ต่อมาสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิชัยญาติ (ทัต บุนนาค) หรือสมเด็จเจ้าพระยาองค์น้อย เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งเป็นพระยาศรีพิพัฒน์ (พระยาศรีพิพัฒน์รัตนศาธิบดี) ได้บูรณะขึ้นใหม่ทั้งวัด แล้วถวายให้เป็นพระอารามหลวงในสมัยรัชกาลที่ ๓ ส่วนชื่อวัดพิชยญาติการามนี้รัชกาลที่ ๔ ทรงตั้งให้ในภายหลัง
สำหรับสิ่งที่น่าสนใจที่วัดนี้มีมากมายอาทิ “พระอุโบสถ” ซึ่งมีลักษณะเหมือนเก๋งจีน ไม่มีช่อฟ้าใบระกา และด้านหน้าพระอุโบสถก็ยังมีการประดับเสาแบบจีน และมีตุ๊กตาศิลาจีนที่ยืนคุมเชิงอยู่สองข้างประตูทางเข้าโบสถ์ ส่วนที่ตรงฐานอุโบสถด้านนอก ระหว่างเสาพาไลแต่ละต้นก็จะมี “ภาพสลักหินเรื่องสามก๊ก” อยู่รวมทั้งหมด 22 ภาพ ด้วยกัน ส่วนภายในพระอุโบสถเป็นที่ประดิษฐานองค์พระประธานที่มีนามว่า "พระสิทธารถ" พระพุทธรูปเก่าแก่สมัยสุโขทัยที่อัญเชิญมาจากเมืองพิษณุโลก ชาวบ้านนิยมเรียกท่านว่า "หลวงพ่อสมปรารถนา"
อีกหนึ่งจุดไฮไลต์ของที่วัดนี้ นั่นก็คือ “พระปรางค์ 3 ยอด” องค์สูงใหญ่ที่ตั้งตระหง่านเป็นสง่าอยู่เบื้องหลังของที่วัด โดยภายในพระปรางค์องค์ใหญ่ซึ่งอยู่ตรงกลางนั้นประดิษฐาน “พระพุทธเจ้า 4 พระองค์” ไว้ คือพระกกุสันธะพุทธเจ้า พระโกนาคมนะพุทธเจ้า พระกัสสปะพุทธเจ้า พระโคตมะพุทธเจ้า ประดิษฐานไว้ในลักษณะที่ทั้งสี่องค์นั่งหันหลังชนกันหันหน้าออกไปด้านนอกทั้งสี่ทิศ และบริเวณผนังขององค์พระปรางค์นี้ยังเป็นที่เก็บอัฐิของบรรพบุรุษสกุล “บุนนาค” อีกด้วย ส่วนพระปรางค์องค์เล็กทางซ้าย ประดิษฐาน “พระพุทธเมตเตยยะพุทธเจ้า” หรือ “พระศรีอาริยเมตไตร” ส่วนทางขวาประดิษฐาน “พระพุทธบาทจำลอง 4 รอย”
จากที่วัดพิชัยญาติ เราเดินข้ามถนนมาแล้วเข้ามาในซอยสมเด็จเจ้าพระยา 3 จนสุดซอยจะเจอ “อุทยานเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี” หรือที่เราเรียกกันว่า “อุทยานฯ สมเด็จย่า” แต่เดิมที่นี้เป็นบ้านเดิมของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี หรือสมเด็จย่า เมื่อยังทรงพระเยาว์ เหตุที่สร้างที่นี่ขึ้นเกิดจากกระแสพระราชดำริของรัชกาลที่ ๙ ที่ทรงมีพระราชประสงค์ให้อนุรักษ์อาคารเก่าในย่านนิวาสถานเดิมที่พระบรมราชชนนีเคยพำนักอยู่ไว้ เมื่อนายแดง นานา และนายเล็ก นานา ทราบว่ารัชกาลที่ ๙ มีพระราชกระแสให้หาบ้านของสมเด็จย่า จึงน้อมเกล้าฯ ถวายที่ดินจำนวน 4 ไร่ ในบริเวณชุมชนหลังวัดอนงคารามให้เป็นสวนสาธารณะของชุมชน
ซึ่งแรกเริ่มเดิมทีที่ดินบริเวณนี้นั้นเคยเป็นบ้านและที่ดินในหมู่ตึกที่อาศัยของเจ้าพระยาศรีพิพัฒน์รัตนราชโกษาธิบดี (แพ บุนนาค) อธิบดีกรมพระคลังสินค้า ซึ่งภายหลังหมู่ตึกเหล่านั้นได้รื้อออกไป เหลือไว้เพียงโครงสร้างบางส่วนของ “อาคารทิมบริวาร” ที่เป็นที่อยู่อาศัยของข้าทาสบริวารเจ้าพระยาศรีพิพัฒน์รัตนราชโกษาธิบดี (แพ บุนนาค) รวมถึง “บ่อน้ำโบราณ” ที่ใช้ถังน้ำจ้วงน้ำและฉุดขึ้นโดยสาวเชือกที่ผูกติดกับถังน้ำ และซุ้มประตูเก่าบางส่วนที่ยังมีให้เห็น
ส่วนภายในสวนส่วนใน โปรดเกล้าฯ ให้จำลอง "บ้านเดิม" ของสมเด็จย่า ที่มีตกแต่งภายในตามหนังสือ "แม่เล่าให้ฟัง" พระนิพนธ์ในสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ โดยบ้านเช่าในสมัยก่อนจะมีเพียงโครงบ้านที่ทำจากอิฐและหลังคาที่ทำจากกระเบื้องให้เท่านั้น ผู้เช่าจะต้องต่อเติมไม้ขึ้นเอง ซึ่งบ้านที่สมเด็จย่าเคยประทับอยู่นั้นจะมีประตูทางเข้าบ้านด้านหน้าทางเดียว และใช้ไม้ปิดแบ่งห้องเป็น 3 ตอน ได้แก่ ห้องพระและห้องทำทอง ถัดไปเป็นห้องนอน ด้านหลังเป็นห้องครัว
เสร็จจากเดินชมบ้านจำลองและพักผ่อนในสวนแล้ว เราออกเดินทางต่อไปยัง “วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร” ที่ถือเป็นอีกหนึ่งเป็นวัดสำคัญในฝั่งธนบุรี และยังคงเกี่ยวข้องกับสกุลบุนนาคเช่นกัน โดยวัดนี้สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์ (ดิศ บุนนาค) หรือสมเด็จเจ้าพระยาองค์ใหญ่เป็นผู้สร้าง และถวายเป็นพระอารามหลวงในสมัยรัชกาลที่ ๓
ชาวบ้านนิยมเรียกว่า "วัดรั้วเหล็ก" เพราะมีรั้วเหล็กเป็นกำแพงวัดอยู่เป็นบางตอน รั้วเหล็กนี้สูงประมาณ 3 ศอกเศษ ทำเป็นรูปอาวุธคือ หอก ดาบ และขวาน (ขวานสามหมื่น ปืนสามกระบอก หอกสามแสน) มีเรื่องเล่าว่ารั้วเหล็กนี้ เดิมสมเด็จเจ้าพระยาองค์ใหญ่สั่งเข้ามาจากประเทศอังกฤษเพื่อทูลเกล้าฯ ถวายแด่รัชกาลที่ ๓ ใช้ล้อมเป็นกำแพงในพระราชวัง แต่พระองค์ทรงไม่โปรด สมเด็จเจ้าพระยาองค์ใหญ่จึงขอรับพระราชทานมาใช้ล้อมเป็นกำแพงในวัด โดยใช้น้ำตาลทรายแลกเอา หนักต่อหนัก คือเหล็กหนักเท่าใด น้ำตาลทรายก็หนักเท่านั้น
ภายในวัดมีพระบรมธาตุมหาเจดีย์เป็นเจดีย์องค์ใหญ่ทรงกลม สัณฐานรูปโอคว่ำ สูง 60.525 เมตร และมีพระเจดีย์องค์เล็ก 18 องค์เรียงรายรอบเจดีย์องค์ใหญ่ พระบรมธาตุมหาเจดีย์นี้เป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ โดยสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์ เป็นผู้เริ่มสร้างพระเจดีย์องค์ใหญ่นี้ขึ้น แต่หลังสร้างวัดแล้วพระเจดีย์ยังไม่ทันแล้วเสร็จ ผู้สร้างก็ถึงแก่พิราลัยเสียก่อน ต่อมาสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุญนาค) ได้สร้างพระเจดีย์ต่อจนเสร็จสมบูรณ์ ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่๔
ภายในเจดีย์นี้ มี “เสาแกนกลาง” หรือ “เสาครู” ขนาดใหญ่หนักถึง 144 ตัน ก่อด้วยอิฐโบราณ สอด้วยปูนหมักน้ำอ้อยและกาวหนัง เสาแกนกลางดังกล่าวใช้เป็นศูนย์กลางรัศมีวงกลมของเจดีย์ และเป็นเสาหลักสำหรับวางพาดไม้นั่งร้านในขณะก่อสร้าง อีกทั้งยังเป็นเสาค้ำบัลลังก์ปลียอดเจดีย์ ซึ่งเจดีย์ที่มีเสาอิฐเป็นแกนกลางเช่นนี้นับเป็นหนึ่งเดียวของเจดีย์ในยุครัตนโกสินทร์ และโครงการอนุรักษ์เจดีย์พระประธานของวัดประยุรวงศาวาสวรวิหารยังได้รับรางวัลยอดเยี่ยม อันดับ 1 หรือ Award of Excellence จากองค์การยูเนสโกอีกด้วย
ภายในวัดยังมี “เขามอ” ภูเขาจำลองขนาดเล็ก ก่อด้วยศิลาตั้งอยู่กลางสระน้ำบริเวณหน้าวัด ซึ่งสมเด็จเจ้าพระยาองค์ใหญ่เป็นผู้สร้างขึ้น โดยได้แนวคิดเกี่ยวกับเค้าโครงของภูเขาจำลองมาจาก "หยดเทียนขี้ผึ้ง" ที่รัชกาลที่ ๓ ได้พระราชทานให้ หยดเทียนขี้ผึ้งนี้เกิดจากน้ำตาเทียนที่รัชกาลที่ ๓ ทรงจุดขณะเมื่อประทับอยู่ในห้องลงพระบังคนหนัก น้ำตาเทียนหยดทับถมกันเป็นเวลาหลายปีจนก่อรูปเหมือนภูเขา สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์ จึงนำเค้าโครงของหยดเทียนขี้ผึ้งนี้มาเป็นแบบสำหรับสร้างภูเขาจำลองนั่นเอง
นี่เป็นเพียงส่วนหนึ่งของวัดและสถานที่สำคัญที่มีเรื่องราวเกี่ยวกับสกุล “บุนนาค” ให้เราได้เรียนรู้กัน และในโอกาสที่ใกล้จะถึงช่วงวันอาสาฬหบูชาและวันเข้าพรรษาที่ถือเป็นวันสำคัญของศาสนาพุทธแล้ว เราเลยอยากเชิญชวนให้มาร่วมตามรอยสกุล “บุนนาค” และไหว้พระทำบุญกันด้วยเลย
สามารถส่งข้อมูลข่าวสารด้านการท่องเที่ยว-อาหารมาได้ที่ กอง บก.ข่าวท่องเที่ยว แฟกซ์ 0-2629-4467 อีเมล์ travel_astvmgr@hotmail.com หรือติดตามเพิ่มเติมได้ที่ Facebook :Travel @ Manager