Facebook :Travel @ Manager
ฉันได้ยินมาว่าแถวย่านคลองสาน ในฝั่งธนฯ มีวัดไทยที่มีสถาปัตยกรรมสไตล์จีนผสมอยู่ ส่วนภายในวัดยังมีสิ่งศักดิ์สิทธิ์สำคัญอยู่ถึง 11 สิ่ง แถมยังมีองค์พระปรางค์งดงาม และภาพสลักเรื่องราวสามก๊กหนึ่งเดียวในไทยด้วย วัดที่ฉันกำลังพูดถึงนี้ก็คือ "วัดพิชยญาติการาม" หรือที่ชาวบ้านเรียกกันแบบสะดวกปากว่า “วัดพิชัยญาติ” นั่นเอง
ก่อนที่ฉันจะพาไปชมความงามของวัดนี้ ฉันขอเท้าความย้อนไปถึงเมื่อสมัยแผ่นดินของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ ก่อน ซึ่งหลายๆ คนคงจะทราบว่า วัดส่วนมากที่สร้างหรือบูรณปฏิสังขรณ์ขึ้นในช่วงนี้ มักจะมีลักษณะรายละเอียดสถาปัตยกรรมที่ออกไปในแนวจีนๆ มากสักหน่อย เพราะถือเป็นพระราชนิยมของรัชกาลที่ ๓
วัดพิชัยญาติก็เช่นเดียวกัน แต่เดิมวัดนี้เป็นวัดร้าง และสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิชัยญาติ หรือสมเด็จเจ้าพระยาองค์น้อยได้บูรณะขึ้นใน พ.ศ.2384 แล้วถวายให้เป็นพระอารามหลวงในสมัยรัชกาลที่ ๓ ส่วนชื่อวัดพิชยญาติการามนี้รัชกาลที่ ๔ ทรงตั้งให้ในภายหลัง
เมื่อแรกที่เดินผ่านประตูวัดเข้าไป ก็รู้สึกถึงความเป็นจีนได้ทันทีจากรูปทรงของหลังคาพระอุโบสถ ซึ่งมีลักษณะเหมือนเก๋งจีน ไม่มีช่อฟ้าใบระกา หน้าบันเป็นลายปูนปั้นรูปมังกรประดับกระเบื้องสี และด้านหน้าพระอุโบสถก็ยังมีการประดับเสาแบบจีน มีลวดลายมังกรและลายต้นกัลปพฤกษ์แสดงถึงสิ่งที่เป็นสิริมงคล และที่ขาดไม่ได้คือตุ๊กตาศิลาจีนที่ยืนคุมเชิงอยู่สองข้างประตูทางเข้าโบสถ์
ส่วนที่ตรงฐานอุโบสถด้านนอก ระหว่างเสาพาไลแต่ละต้นก็จะมี “ภาพสลักหินเรื่องสามก๊ก” อยู่รวมทั้งหมด 22 ภาพ ด้วยกัน ซึ่งเป็นจุดที่แปลกตาแตกต่างจากวัดในศาสนาพุทธทั่วไป ที่ส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องราวยอดนิยมอย่างพุทธชาดกหรือรามเกียรติ์
ทั้ง 22 ภาพที่ว่านั้นไม่ได้เป็นเรื่องราวที่ต่อกัน แต่เป็นการยกเรื่องราวเด่นๆ ในแต่ละตอนมาแกะสลักไว้ อย่างเช่น ตอนขงเบ้งดีดพิณลวงสุมาอี้ ตอนเล่าปี่ กวนอู เตียวหุย สู้รบกับลิโป้ ตอนจูล่งฝ่าทัพรับอาเต๊า ตอนกวนอูปล่อยโจโฉ หรือตอนม้าเฉียวแตกทัพโจโฉ เป็นต้น แต่ภาพบางตอนนั้นก็สึกกร่อนไปตามกาลเวลา ทำให้บอกไม่ได้ว่าเป็นเรื่องราวที่อยู่จากตอนไหนกันแน่
เท่าที่ฉันหาข้อมูลมานั้น ก็ไม่ปรากฏหลักฐานว่าภาพสลักเหล่านี้สร้างขึ้นมาเมื่อไหร่ แต่ก็มีคนสันนิษฐานไว้ว่าน่าจะทำขึ้นทางตอนใต้ของประเทศจีน เรื่องนี้ยังไม่มีใครชี้ชัดได้ แต่ที่แน่ๆ ก็คือภาพแกะสลักหินเหล่านี้นับว่าเป็นศิลปะชิ้นเอกที่สำคัญและมีเพียงแห่งเดียวในประเทศไทย
เดินชมด้านนอกเพลินๆ แล้ว ฉันจึงเข้าไปภายในอุโบสถเป็นที่ประดิษฐานสิ่งศักดิ์สิทธิ์แรกที่ฉันได้เกริ่นไปในตอนต้น นั่นก็คือองค์พระประธานที่มีนามว่า "พระสิทธารถ" พระพุทธรูปเก่าแก่สมัยสุโขทัยที่อัญเชิญมาจากเมืองพิษณุโลก ชาวบ้านนิยมเรียกท่านว่า "หลวงพ่อสมปรารถนา" แสดงว่าน่าจะมีคนที่เคยมากราบขอพรจากท่านแล้วสมหวังกลับไปหลายรายทีเดียว
ส่วนสิ่งศักดิ์จุดที่ 2 และ 3 นั่น จะอยู่ภายใน “เจดีย์คู่” ทางด้านหน้าสุดใกล้กับประตูทางเข้าวัด นั่นก็คือ “หลวงพ่อเงิน” ในเจดีย์ด้านทิศตะวันออก และ “หลวงพ่อทอง” ในเจดีย์ด้านทิศตะวันตก สำหรับเจดีย์คู่นี้เป็นเจดีย์ทรงสถูปแบบลังกา แต่ละองค์วัดโดยรอบฐาน 23 วา สูง 11 วาเศษ มีลักษณะคล้ายกับเจดีย์บรมธาตุ จ.นครศรีธรรมราช แต่ขนาดไม่เท่ากัน
ใกล้กับเจดีย์คู่จะมีศาลารายที่ประดิษฐาน “พระอสีติมหาสาวก 80 องค์” เรียงรายอยู่โดยรอบวัด ฉันจึงเดินตักบาตรพระอสีติมหาสาวก และขอพรเพื่อความเป็นสิริมงคล เพราะจุดนี้ถือเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์จุดที่ 4 ของที่วัดนี้
ส่วนด้านหลังของเจดีย์คู่จะเป็นพระอุโบสถที่ฉันได้เล่าให้ฟังในตอนแรกแล้ว บริเวณก่อนทางเข้าพระอุโบสถทางด้านขวาจะมี “พระสังกัจจายน์” สมัยต้นรัตนโกสินทร์ และ “พระแม่ธรณี” เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์จุดที่ 5 และ 6 ให้ได้สักการะขอพรด้วย
จากนั้นฉันเดินไปทางข้างหลังอุโบสถต่อ ก็จะถึง “ลานพระบรมสารีริกธาตุ” ที่บริเวณกลางลานจะมี “พระสารีริกธาตุ” สิ่งศักดิ์สิทธิ์จุดที่ 7 ส่วนบริเวณด้านข้างจะเป็นที่ประดิษฐานของรูปหล่อ “3 กษัตริย์” อันได้แก่สมเด็จพระนเรศวรมหาราช สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช และสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ร.๕) สิ่งศักดิ์สิทธิ์จุดที่ 8 นั่นเอง
และแล้วฉันก็เดินมาถึงอีกหนึ่งจุดไฮไลต์ของที่วัดนี้ นั่นก็คือ “พระปรางค์ 3 ยอด” องค์สูงใหญ่ที่ตั้งตระหง่านเป็นสง่าอยู่เบื้องหลังของที่วัด องค์พระปรางค์มีความสูง 21 วาเศษ หรือประมาณ 40 กว่าเมตรเลยทีเดียว แม้จะมีความสูงไม่เท่ากับพระปรางค์วัดอรุณ แต่ก็ได้เปรียบกว่าตรงที่มีสามยอด ซึ่งแต่ละองค์พระปรางค์จะเป็นที่ประดิษฐานของสิ่งศักดิ์สิทธิ์จุดที่ 9, 10 และ 1
โดยภายในพระปรางค์องค์ใหญ่ซึ่งอยู่ตรงกลางนั้นประดิษฐาน “พระพุทธเจ้า 4 พระองค์” ไว้ คือพระกกุสันธะพุทธเจ้า พระโกนาคมนะพุทธเจ้า พระกัสสปะพุทธเจ้า พระโคตมะพุทธเจ้า ประดิษฐานไว้ในลักษณะที่ทั้งสี่องค์นั่งหันหลังชนกันหันหน้าออกไปด้านนอกทั้งสี่ทิศ
ส่วนพระปรางค์องค์เล็กทางซ้าย ประดิษฐาน “พระพุทธเมตเตยยะพุทธเจ้า” หรือ “พระศรีอาริยเมตไตร” ส่วนทางขวาประดิษฐาน “พระพุทธบาทจำลอง 4 รอย” ผู้มีจิตศรัทธาส่วนมากก็จะหย่อนเงินลงไปเพื่อร่วมทำบุญกับทางวัด
หลังจากสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ครบทั้ง 11 สิ่งเรียบร้อยแล้ว ฉันก็ขอเดินหลบแดดคลายร้อนใต้ร่มเงาของพระปรางค์ ตากลมเย็นๆ ที่พัดมาตลอดเวลา ช่วยทำให้ร่างกายผ่อนคลายความร้อนไปได้ และไม่ใช่แค่เพียงร่างกายเท่านั้นที่เย็นลง เพราะการที่ได้มากราบพระในบรรยากาศเงียบสงบแบบนี้ก็ช่วยให้จิตใจไม่ร้อนไปตามอากาศได้ดีทีเดียว ใครอยากจะลองมาหาความสงบทั้งกายทั้งใจ และได้มาชมสิ่งที่น่าสนใจทั้งหลายเหมือนฉันละก็ ขอเชิญที่วัดพิชัยญาติแห่งนี้ได้
******************************
วัดพิชยญาติการามวรวิหาร ตั้งอยู่ที่ 685 ถนนประชาธิปก แขวงสมเด็จเจ้าพระยา เขตคลองสาน กรุงเทพมหานคร 10600 เมื่อลงจากสะพานพระปกเกล้าฯ มาแล้วให้เลี้ยวซ้ายเข้าถนนสมเด็จเจ้าพระยา เข้าไปประมาณ 100 เมตร วัดจะอยู่ทางฝั่งขวามือ สอบถามรายละเอียดโทร. 08-8565-1915, 09-3915-3995
สามารถส่งข้อมูลข่าวสารด้านการท่องเที่ยว-อาหารมาได้ที่ กอง บก.ข่าวท่องเที่ยว แฟกซ์ 0-2629-4467 อีเมล์ travel_astvmgr@hotmail.com หรือติดตามเพิ่มเติมได้ที่ Facebook :Travel @ Manager
ฉันได้ยินมาว่าแถวย่านคลองสาน ในฝั่งธนฯ มีวัดไทยที่มีสถาปัตยกรรมสไตล์จีนผสมอยู่ ส่วนภายในวัดยังมีสิ่งศักดิ์สิทธิ์สำคัญอยู่ถึง 11 สิ่ง แถมยังมีองค์พระปรางค์งดงาม และภาพสลักเรื่องราวสามก๊กหนึ่งเดียวในไทยด้วย วัดที่ฉันกำลังพูดถึงนี้ก็คือ "วัดพิชยญาติการาม" หรือที่ชาวบ้านเรียกกันแบบสะดวกปากว่า “วัดพิชัยญาติ” นั่นเอง
ก่อนที่ฉันจะพาไปชมความงามของวัดนี้ ฉันขอเท้าความย้อนไปถึงเมื่อสมัยแผ่นดินของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ ก่อน ซึ่งหลายๆ คนคงจะทราบว่า วัดส่วนมากที่สร้างหรือบูรณปฏิสังขรณ์ขึ้นในช่วงนี้ มักจะมีลักษณะรายละเอียดสถาปัตยกรรมที่ออกไปในแนวจีนๆ มากสักหน่อย เพราะถือเป็นพระราชนิยมของรัชกาลที่ ๓
วัดพิชัยญาติก็เช่นเดียวกัน แต่เดิมวัดนี้เป็นวัดร้าง และสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิชัยญาติ หรือสมเด็จเจ้าพระยาองค์น้อยได้บูรณะขึ้นใน พ.ศ.2384 แล้วถวายให้เป็นพระอารามหลวงในสมัยรัชกาลที่ ๓ ส่วนชื่อวัดพิชยญาติการามนี้รัชกาลที่ ๔ ทรงตั้งให้ในภายหลัง
เมื่อแรกที่เดินผ่านประตูวัดเข้าไป ก็รู้สึกถึงความเป็นจีนได้ทันทีจากรูปทรงของหลังคาพระอุโบสถ ซึ่งมีลักษณะเหมือนเก๋งจีน ไม่มีช่อฟ้าใบระกา หน้าบันเป็นลายปูนปั้นรูปมังกรประดับกระเบื้องสี และด้านหน้าพระอุโบสถก็ยังมีการประดับเสาแบบจีน มีลวดลายมังกรและลายต้นกัลปพฤกษ์แสดงถึงสิ่งที่เป็นสิริมงคล และที่ขาดไม่ได้คือตุ๊กตาศิลาจีนที่ยืนคุมเชิงอยู่สองข้างประตูทางเข้าโบสถ์
ส่วนที่ตรงฐานอุโบสถด้านนอก ระหว่างเสาพาไลแต่ละต้นก็จะมี “ภาพสลักหินเรื่องสามก๊ก” อยู่รวมทั้งหมด 22 ภาพ ด้วยกัน ซึ่งเป็นจุดที่แปลกตาแตกต่างจากวัดในศาสนาพุทธทั่วไป ที่ส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องราวยอดนิยมอย่างพุทธชาดกหรือรามเกียรติ์
ทั้ง 22 ภาพที่ว่านั้นไม่ได้เป็นเรื่องราวที่ต่อกัน แต่เป็นการยกเรื่องราวเด่นๆ ในแต่ละตอนมาแกะสลักไว้ อย่างเช่น ตอนขงเบ้งดีดพิณลวงสุมาอี้ ตอนเล่าปี่ กวนอู เตียวหุย สู้รบกับลิโป้ ตอนจูล่งฝ่าทัพรับอาเต๊า ตอนกวนอูปล่อยโจโฉ หรือตอนม้าเฉียวแตกทัพโจโฉ เป็นต้น แต่ภาพบางตอนนั้นก็สึกกร่อนไปตามกาลเวลา ทำให้บอกไม่ได้ว่าเป็นเรื่องราวที่อยู่จากตอนไหนกันแน่
เท่าที่ฉันหาข้อมูลมานั้น ก็ไม่ปรากฏหลักฐานว่าภาพสลักเหล่านี้สร้างขึ้นมาเมื่อไหร่ แต่ก็มีคนสันนิษฐานไว้ว่าน่าจะทำขึ้นทางตอนใต้ของประเทศจีน เรื่องนี้ยังไม่มีใครชี้ชัดได้ แต่ที่แน่ๆ ก็คือภาพแกะสลักหินเหล่านี้นับว่าเป็นศิลปะชิ้นเอกที่สำคัญและมีเพียงแห่งเดียวในประเทศไทย
เดินชมด้านนอกเพลินๆ แล้ว ฉันจึงเข้าไปภายในอุโบสถเป็นที่ประดิษฐานสิ่งศักดิ์สิทธิ์แรกที่ฉันได้เกริ่นไปในตอนต้น นั่นก็คือองค์พระประธานที่มีนามว่า "พระสิทธารถ" พระพุทธรูปเก่าแก่สมัยสุโขทัยที่อัญเชิญมาจากเมืองพิษณุโลก ชาวบ้านนิยมเรียกท่านว่า "หลวงพ่อสมปรารถนา" แสดงว่าน่าจะมีคนที่เคยมากราบขอพรจากท่านแล้วสมหวังกลับไปหลายรายทีเดียว
ส่วนสิ่งศักดิ์จุดที่ 2 และ 3 นั่น จะอยู่ภายใน “เจดีย์คู่” ทางด้านหน้าสุดใกล้กับประตูทางเข้าวัด นั่นก็คือ “หลวงพ่อเงิน” ในเจดีย์ด้านทิศตะวันออก และ “หลวงพ่อทอง” ในเจดีย์ด้านทิศตะวันตก สำหรับเจดีย์คู่นี้เป็นเจดีย์ทรงสถูปแบบลังกา แต่ละองค์วัดโดยรอบฐาน 23 วา สูง 11 วาเศษ มีลักษณะคล้ายกับเจดีย์บรมธาตุ จ.นครศรีธรรมราช แต่ขนาดไม่เท่ากัน
ใกล้กับเจดีย์คู่จะมีศาลารายที่ประดิษฐาน “พระอสีติมหาสาวก 80 องค์” เรียงรายอยู่โดยรอบวัด ฉันจึงเดินตักบาตรพระอสีติมหาสาวก และขอพรเพื่อความเป็นสิริมงคล เพราะจุดนี้ถือเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์จุดที่ 4 ของที่วัดนี้
ส่วนด้านหลังของเจดีย์คู่จะเป็นพระอุโบสถที่ฉันได้เล่าให้ฟังในตอนแรกแล้ว บริเวณก่อนทางเข้าพระอุโบสถทางด้านขวาจะมี “พระสังกัจจายน์” สมัยต้นรัตนโกสินทร์ และ “พระแม่ธรณี” เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์จุดที่ 5 และ 6 ให้ได้สักการะขอพรด้วย
จากนั้นฉันเดินไปทางข้างหลังอุโบสถต่อ ก็จะถึง “ลานพระบรมสารีริกธาตุ” ที่บริเวณกลางลานจะมี “พระสารีริกธาตุ” สิ่งศักดิ์สิทธิ์จุดที่ 7 ส่วนบริเวณด้านข้างจะเป็นที่ประดิษฐานของรูปหล่อ “3 กษัตริย์” อันได้แก่สมเด็จพระนเรศวรมหาราช สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช และสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ร.๕) สิ่งศักดิ์สิทธิ์จุดที่ 8 นั่นเอง
และแล้วฉันก็เดินมาถึงอีกหนึ่งจุดไฮไลต์ของที่วัดนี้ นั่นก็คือ “พระปรางค์ 3 ยอด” องค์สูงใหญ่ที่ตั้งตระหง่านเป็นสง่าอยู่เบื้องหลังของที่วัด องค์พระปรางค์มีความสูง 21 วาเศษ หรือประมาณ 40 กว่าเมตรเลยทีเดียว แม้จะมีความสูงไม่เท่ากับพระปรางค์วัดอรุณ แต่ก็ได้เปรียบกว่าตรงที่มีสามยอด ซึ่งแต่ละองค์พระปรางค์จะเป็นที่ประดิษฐานของสิ่งศักดิ์สิทธิ์จุดที่ 9, 10 และ 1
โดยภายในพระปรางค์องค์ใหญ่ซึ่งอยู่ตรงกลางนั้นประดิษฐาน “พระพุทธเจ้า 4 พระองค์” ไว้ คือพระกกุสันธะพุทธเจ้า พระโกนาคมนะพุทธเจ้า พระกัสสปะพุทธเจ้า พระโคตมะพุทธเจ้า ประดิษฐานไว้ในลักษณะที่ทั้งสี่องค์นั่งหันหลังชนกันหันหน้าออกไปด้านนอกทั้งสี่ทิศ
ส่วนพระปรางค์องค์เล็กทางซ้าย ประดิษฐาน “พระพุทธเมตเตยยะพุทธเจ้า” หรือ “พระศรีอาริยเมตไตร” ส่วนทางขวาประดิษฐาน “พระพุทธบาทจำลอง 4 รอย” ผู้มีจิตศรัทธาส่วนมากก็จะหย่อนเงินลงไปเพื่อร่วมทำบุญกับทางวัด
หลังจากสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ครบทั้ง 11 สิ่งเรียบร้อยแล้ว ฉันก็ขอเดินหลบแดดคลายร้อนใต้ร่มเงาของพระปรางค์ ตากลมเย็นๆ ที่พัดมาตลอดเวลา ช่วยทำให้ร่างกายผ่อนคลายความร้อนไปได้ และไม่ใช่แค่เพียงร่างกายเท่านั้นที่เย็นลง เพราะการที่ได้มากราบพระในบรรยากาศเงียบสงบแบบนี้ก็ช่วยให้จิตใจไม่ร้อนไปตามอากาศได้ดีทีเดียว ใครอยากจะลองมาหาความสงบทั้งกายทั้งใจ และได้มาชมสิ่งที่น่าสนใจทั้งหลายเหมือนฉันละก็ ขอเชิญที่วัดพิชัยญาติแห่งนี้ได้
******************************
วัดพิชยญาติการามวรวิหาร ตั้งอยู่ที่ 685 ถนนประชาธิปก แขวงสมเด็จเจ้าพระยา เขตคลองสาน กรุงเทพมหานคร 10600 เมื่อลงจากสะพานพระปกเกล้าฯ มาแล้วให้เลี้ยวซ้ายเข้าถนนสมเด็จเจ้าพระยา เข้าไปประมาณ 100 เมตร วัดจะอยู่ทางฝั่งขวามือ สอบถามรายละเอียดโทร. 08-8565-1915, 09-3915-3995
สามารถส่งข้อมูลข่าวสารด้านการท่องเที่ยว-อาหารมาได้ที่ กอง บก.ข่าวท่องเที่ยว แฟกซ์ 0-2629-4467 อีเมล์ travel_astvmgr@hotmail.com หรือติดตามเพิ่มเติมได้ที่ Facebook :Travel @ Manager