Facebook :Travel @ Manager

หากใครที่กำลังมองหาแหล่งของกิน พร้อมมาฟินกับบรรยากาศสบายๆ ผ่อนคลายอารมณ์ให้ไหลไปกับสายน้ำแล้วล่ะก็ ฉันอยากชวนมามาชิลล์ในวันหยุดพักผ่อน มาหากิจกรรมยามว่างร่วมกับครอบครัว หรือกลุ่มเพื่อนฝูง แบบไม่ต้องขับรถไปไกล แถมยังหาของอร่อยกินในราคาสบายกระเป๋า


สถานที่ฉันจะมาแนะนำในครั้งนี้ตั้งอยู่แถวๆ คลองบางกอกน้อยนี่เอง การเดินทางแสนสะดวกสบาย โดยขับรถมุ่งหน้ามายังซอยจรัญสนิทวงศ์ 32 ถนนจรัญสนิทวงศ์ กรุงเทพฯ เพื่อมาเดินรับลมชมวิวริมน้ำกันที่ “ตลาดน้ำบางกอกน้อย” ซึ่งตลาดน้ำแห่งนี้ตั้งอยู่บริเวณ “วัดสุวรรณารามราชวรวิหาร” หรือชาวบ้านแถวนี้เรียกกันว่า “วัดทอง”


ตลาดน้ำบางกอกน้อย เป็นสถานที่ท่องเที่ยวแห่งหนึ่ง ที่เหมาะสำหรับนักท่องเที่ยวที่ชื่นชอบและรักการชิม ชอป และยังได้เพลิดเพลินกับบรรยากาศริมคลอง ตลาดน้ำแห่งนี้เป็นตลาดน้ำแห่งนี้จะตั้งวางขายของอยู่บนบก ไม่ได้มีชาวบ้านมาพายเรือขายของเหมือนกับตลาดน้ำทั่วไป แต่สินค้า ของกิน ของใช้ ที่นำมาขายก็มาจากชาวบ้านที่อยู่บริเวณนี้เอง โดยมีทั้งอาหารคาว หวาน ผลไม้ ให้เลือกสรรกันตามใจชอบ แม้อาหารอาจจะดูธรรมดา แต่มีความอร่อยแบบชาวบ้านๆ ทำให้กินแล้วต้องติดใจ



หลังจากเลือกซื้อของกินที่ถูกอกถูกใจเรียบร้อยแล้ว ที่นี่ก็จะมีที่นั่งไม้ไผ่ตั้งอยู่ริมน้ำไว้บริการ หากได้กินอาหารอร่อยควบคู่ไปกับการนั่งชมทัศนียภาพสวยๆ ก็สามารถเพิ่มอรรถรสในการทานอาหารได้มากขึ้น นอกจากนี้ยังมีการแสดงโขนพร้อมมีดนตรีไทยบรรเลงเพิ่มความครื้นเครงอีกด้วย


เมื่ออิ่มหนำสำราญใจกับของอร่อยที่ตลาดน้ำกันแล้ว ก็อยากจะชวนมาเดินชมความงดงามของ “วัดสุวรรณารามราชวรวิหาร” หรือ “วัดทอง” ภายในมีพระอุโบสถที่ตั้งหันหน้าเข้าสู่คลองบางกอกน้อย ตามประวัติวัดระบุว่าพระอุโบสถหลังนี้สร้างขึ้นใหม่ในรัชกาลที่ 1 ความสำคัญของพระอุโบสถหลังนี้ คือ ความสมบูรณ์ ความงามของสัดส่วน ปละลวดลายประดับที่ยังคงรักษาไว้ค่อนข้างดี มีลักษณะเป็นอาคารทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีเฉลียงทางด้านหน้าและด้านหลัง ฐานแอ่นโค้งเล็กน้อยคล้ายเรือสำเภา

ด้านในของพระอุโบสถมีภาพจิตรกรรมฝาผนังที่งดงาม โดยช่างรัตนโกสินทร์ที่มีชื่อเสียงคือ ครูทองอยู่และครูคงแป๊ะ เป็นรูปที่วาดโดยอิงเรื่องราววิถีชีวิตในสมัยก่อน เช่น การปีนต้นตาล เพื่อเก็บลูกตาล หลังองค์พระประธานเป็นเรื่องโลกสัณฐาน จิตรกรรมด้านหน้าพระพุทธประธานเป็นฉากมารผจญ เหนือช่องหน้าต่างเป็นภาพเทพชุมนุมและระหว่างหน้าต่างเป็นภาพเรื่องทศชาติชาดก ประดิษฐานหลวงพ่อศาสดาเป็นประธานของอุโบสถ พระพุทธรูปมีลักษณะประทับนั่งขัดสมาธิปางมารวิชัย โดยเป็นแบบศิลปะสมัยสุโขทัย โดยสังเกตจากเปลวอุษณีษะและปลายจีวรเขี้ยวตะขาบ ซึ่งองค์หลวงพ่อศาสดานี้ได้มีข้อสันนิษฐานว่าเป็นพระที่รัชกาลที่ 1 ได้ทรงอัญเชิญลงมาจากสุโขทัย มีความเชื่อในปัจจุบันว่าหากขอพรจากหลวงพ่อแล้วสมหวัง ให้แก้บนด้วยการวิ่งม้า


บริเวณด้านข้างของพระอุโบสถจะมีพระวิหาร โดยสร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 4 เป็นอาคารทรงไทยประเพณี โดยมีมุขขวางอยู่ 2 ข้าง ทั้งทางด้านหน้าและด้านหลัง ที่ฐานอาคารเป็นฐานบัวรองรับตัวอาคาร ด้านข้างอาคารแบบออกเป็น 5 ห้อง ตรงทางขึ้นบันไดมีการวางประติมากรรมจีนทั้ง 4 ด้าน ด้านหน้าทางเข้ามุมขวางมีเสาสีเหลี่ยมตามแบบพระราชนิยมในสมัยรัชกาลที่ 4

นอกจากนี้ภายในวัดยังมีหอระฆัง ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของอาหารพระอุโบสถและพระวิหาร หอระฆังนี้เป็นศิลปกรรมสมัยรัชกาลที่ 3 ซึ่งมีรูปแบบคล้ายศิลปะจีนที่ได้รับอิทธิพลและตามพระราชนิยมของพระองค์ด้วย โดยมีการก่อสร้างทั้งหมด 3 ชั้น โดยระฆังแขวนอยู่บนชั้น 3 และแต่ละด้านของผนังอาคารถูกเจาะช่องซุ้มให้มีลักษณะคล้ายประตูเข้าไปได้ ชั้นแรกมีด้านละ 4 ช่อง ชั้นที่ 2 มีด้านละ 3 ช่อง และชั้นบนสุดมีด้านละ 1 ช่อง

นอกจากนี้บริเวณตลาดวัดทองแห่งนี้ เคยมีตลาดโบราณชื่อว่า “ตลาดไร้คาน” ที่มีอายุกว่าร้อยปีมาก่อน และเคยเป็นศูนย์กลางการค้าขายของชุมชนบ้านบุ ชุมชนใกล้กับวัดสุวรรณารามมาเป็นเวลานาน จวบมาจนวันนี้ตลาดไร้คานได้สูญหายไปตามกาลเวลาแล้ว
เมื่อมาเดินเที่ยวตลาดน้ำ และไหว้พระพร้อมชมความงดงามของวัดสุวรรณารามกันไปแล้ว ฉันก็ไม่อยากให้เสียเที่ยว อยากจะแนะนำให้ไปเดินชม "ชุมชนบ้านบุ" ชุมชนเก่าแก่ริมคลองบางกอกน้อยที่มีมาตั้งแต่ต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ชุมชนแห่งนี้เป็นชุมชนเก่าแก่ที่ยังคงหลงเหลือบรรยากาศในอดีตตกค้างมาให้คนปัจจุบันได้สัมผัสกัน

โดยชาวบ้านกลุ่มแรกๆ ที่เข้ามาอาศัยในบริเวณนี้ก็คือกลุ่มช่างฝีมือที่อพยพหนีภัยสงครามมาในสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์หลังจากที่เสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 ซึ่งชาวบ้านที่อพยพมานั้นก็ได้นำเอาวิชาการทำเครื่องทองลงหินติดตัวมาด้วย จึงเป็นที่มาของชื่อชุมชนบ้านบุ เพราะคำว่า “บุ” นั้นก็หมายถึงขึ้นรูปชิ้นโลหะด้วยการตี และบีบอัดเนื้อโลหะให้เป็นรูปร่างตามที่ต้องการเป็นภาชนะต่างๆ
ในอดีตคนในชุมชนบ้านบุแทบทุกครัวเรือนจะทำขันลงหินกันเป็นอาชีพ แต่ละบ้านจะมีเตาหลอมโลหะ มีเสียงตีเหล็กดังอยู่ทั่วทั้งชุมชน แต่มาจนถึงวันนี้คงหลงเหลือบ้านเพียงหลังเดียวในชุมชนบ้านบุที่ยังประกอบอาชีพทำขันลงหินอยู่ นั่นก็คือ "ขันลงหินบ้านบุ เจียม แสงสัจจา" ที่หากใครอยากแวะเวียนไปชมหรือสนใจอยากรู้รายละเอียดของงานประณีตศิลป์ที่สืบทอดกันมายาวนาน
ตลาดน้ำคลองบางกอกน้อย เปิดทุกวันเสาร์-อาทิตย์ ตั้งแต่เวลา 08.00 -15.30 น.
การเดินทางมายัง “วัดสุวรรณารามราชวรวิหาร” หรือ “วัดทอง” มีรถประจำทางสาย 40, 42, 57, 68, 79, 80, 108, 146 ผ่านบริเวณซอยจรัญสนิทวงศ์ 32 ต้องเดินเท้าเข้ามาอีกประมาณ 500 เมตรก็จะถึงวัด และสามารถเดินต่อมายังตัวตลาดได้
สามารถส่งข้อมูลข่าวสารด้านการท่องเที่ยว-อาหารมาได้ที่ กอง บก.ข่าวท่องเที่ยว แฟกซ์ 0-2629-4467 อีเมล์ travel_astvmgr@hotmail.com หรือติดตามเพิ่มเติมได้ที่ Facebook :Travel @ Manager
หากใครที่กำลังมองหาแหล่งของกิน พร้อมมาฟินกับบรรยากาศสบายๆ ผ่อนคลายอารมณ์ให้ไหลไปกับสายน้ำแล้วล่ะก็ ฉันอยากชวนมามาชิลล์ในวันหยุดพักผ่อน มาหากิจกรรมยามว่างร่วมกับครอบครัว หรือกลุ่มเพื่อนฝูง แบบไม่ต้องขับรถไปไกล แถมยังหาของอร่อยกินในราคาสบายกระเป๋า
สถานที่ฉันจะมาแนะนำในครั้งนี้ตั้งอยู่แถวๆ คลองบางกอกน้อยนี่เอง การเดินทางแสนสะดวกสบาย โดยขับรถมุ่งหน้ามายังซอยจรัญสนิทวงศ์ 32 ถนนจรัญสนิทวงศ์ กรุงเทพฯ เพื่อมาเดินรับลมชมวิวริมน้ำกันที่ “ตลาดน้ำบางกอกน้อย” ซึ่งตลาดน้ำแห่งนี้ตั้งอยู่บริเวณ “วัดสุวรรณารามราชวรวิหาร” หรือชาวบ้านแถวนี้เรียกกันว่า “วัดทอง”
ตลาดน้ำบางกอกน้อย เป็นสถานที่ท่องเที่ยวแห่งหนึ่ง ที่เหมาะสำหรับนักท่องเที่ยวที่ชื่นชอบและรักการชิม ชอป และยังได้เพลิดเพลินกับบรรยากาศริมคลอง ตลาดน้ำแห่งนี้เป็นตลาดน้ำแห่งนี้จะตั้งวางขายของอยู่บนบก ไม่ได้มีชาวบ้านมาพายเรือขายของเหมือนกับตลาดน้ำทั่วไป แต่สินค้า ของกิน ของใช้ ที่นำมาขายก็มาจากชาวบ้านที่อยู่บริเวณนี้เอง โดยมีทั้งอาหารคาว หวาน ผลไม้ ให้เลือกสรรกันตามใจชอบ แม้อาหารอาจจะดูธรรมดา แต่มีความอร่อยแบบชาวบ้านๆ ทำให้กินแล้วต้องติดใจ
หลังจากเลือกซื้อของกินที่ถูกอกถูกใจเรียบร้อยแล้ว ที่นี่ก็จะมีที่นั่งไม้ไผ่ตั้งอยู่ริมน้ำไว้บริการ หากได้กินอาหารอร่อยควบคู่ไปกับการนั่งชมทัศนียภาพสวยๆ ก็สามารถเพิ่มอรรถรสในการทานอาหารได้มากขึ้น นอกจากนี้ยังมีการแสดงโขนพร้อมมีดนตรีไทยบรรเลงเพิ่มความครื้นเครงอีกด้วย
เมื่ออิ่มหนำสำราญใจกับของอร่อยที่ตลาดน้ำกันแล้ว ก็อยากจะชวนมาเดินชมความงดงามของ “วัดสุวรรณารามราชวรวิหาร” หรือ “วัดทอง” ภายในมีพระอุโบสถที่ตั้งหันหน้าเข้าสู่คลองบางกอกน้อย ตามประวัติวัดระบุว่าพระอุโบสถหลังนี้สร้างขึ้นใหม่ในรัชกาลที่ 1 ความสำคัญของพระอุโบสถหลังนี้ คือ ความสมบูรณ์ ความงามของสัดส่วน ปละลวดลายประดับที่ยังคงรักษาไว้ค่อนข้างดี มีลักษณะเป็นอาคารทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีเฉลียงทางด้านหน้าและด้านหลัง ฐานแอ่นโค้งเล็กน้อยคล้ายเรือสำเภา
ด้านในของพระอุโบสถมีภาพจิตรกรรมฝาผนังที่งดงาม โดยช่างรัตนโกสินทร์ที่มีชื่อเสียงคือ ครูทองอยู่และครูคงแป๊ะ เป็นรูปที่วาดโดยอิงเรื่องราววิถีชีวิตในสมัยก่อน เช่น การปีนต้นตาล เพื่อเก็บลูกตาล หลังองค์พระประธานเป็นเรื่องโลกสัณฐาน จิตรกรรมด้านหน้าพระพุทธประธานเป็นฉากมารผจญ เหนือช่องหน้าต่างเป็นภาพเทพชุมนุมและระหว่างหน้าต่างเป็นภาพเรื่องทศชาติชาดก ประดิษฐานหลวงพ่อศาสดาเป็นประธานของอุโบสถ พระพุทธรูปมีลักษณะประทับนั่งขัดสมาธิปางมารวิชัย โดยเป็นแบบศิลปะสมัยสุโขทัย โดยสังเกตจากเปลวอุษณีษะและปลายจีวรเขี้ยวตะขาบ ซึ่งองค์หลวงพ่อศาสดานี้ได้มีข้อสันนิษฐานว่าเป็นพระที่รัชกาลที่ 1 ได้ทรงอัญเชิญลงมาจากสุโขทัย มีความเชื่อในปัจจุบันว่าหากขอพรจากหลวงพ่อแล้วสมหวัง ให้แก้บนด้วยการวิ่งม้า
บริเวณด้านข้างของพระอุโบสถจะมีพระวิหาร โดยสร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 4 เป็นอาคารทรงไทยประเพณี โดยมีมุขขวางอยู่ 2 ข้าง ทั้งทางด้านหน้าและด้านหลัง ที่ฐานอาคารเป็นฐานบัวรองรับตัวอาคาร ด้านข้างอาคารแบบออกเป็น 5 ห้อง ตรงทางขึ้นบันไดมีการวางประติมากรรมจีนทั้ง 4 ด้าน ด้านหน้าทางเข้ามุมขวางมีเสาสีเหลี่ยมตามแบบพระราชนิยมในสมัยรัชกาลที่ 4
นอกจากนี้ภายในวัดยังมีหอระฆัง ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของอาหารพระอุโบสถและพระวิหาร หอระฆังนี้เป็นศิลปกรรมสมัยรัชกาลที่ 3 ซึ่งมีรูปแบบคล้ายศิลปะจีนที่ได้รับอิทธิพลและตามพระราชนิยมของพระองค์ด้วย โดยมีการก่อสร้างทั้งหมด 3 ชั้น โดยระฆังแขวนอยู่บนชั้น 3 และแต่ละด้านของผนังอาคารถูกเจาะช่องซุ้มให้มีลักษณะคล้ายประตูเข้าไปได้ ชั้นแรกมีด้านละ 4 ช่อง ชั้นที่ 2 มีด้านละ 3 ช่อง และชั้นบนสุดมีด้านละ 1 ช่อง
นอกจากนี้บริเวณตลาดวัดทองแห่งนี้ เคยมีตลาดโบราณชื่อว่า “ตลาดไร้คาน” ที่มีอายุกว่าร้อยปีมาก่อน และเคยเป็นศูนย์กลางการค้าขายของชุมชนบ้านบุ ชุมชนใกล้กับวัดสุวรรณารามมาเป็นเวลานาน จวบมาจนวันนี้ตลาดไร้คานได้สูญหายไปตามกาลเวลาแล้ว
เมื่อมาเดินเที่ยวตลาดน้ำ และไหว้พระพร้อมชมความงดงามของวัดสุวรรณารามกันไปแล้ว ฉันก็ไม่อยากให้เสียเที่ยว อยากจะแนะนำให้ไปเดินชม "ชุมชนบ้านบุ" ชุมชนเก่าแก่ริมคลองบางกอกน้อยที่มีมาตั้งแต่ต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ชุมชนแห่งนี้เป็นชุมชนเก่าแก่ที่ยังคงหลงเหลือบรรยากาศในอดีตตกค้างมาให้คนปัจจุบันได้สัมผัสกัน
โดยชาวบ้านกลุ่มแรกๆ ที่เข้ามาอาศัยในบริเวณนี้ก็คือกลุ่มช่างฝีมือที่อพยพหนีภัยสงครามมาในสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์หลังจากที่เสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 ซึ่งชาวบ้านที่อพยพมานั้นก็ได้นำเอาวิชาการทำเครื่องทองลงหินติดตัวมาด้วย จึงเป็นที่มาของชื่อชุมชนบ้านบุ เพราะคำว่า “บุ” นั้นก็หมายถึงขึ้นรูปชิ้นโลหะด้วยการตี และบีบอัดเนื้อโลหะให้เป็นรูปร่างตามที่ต้องการเป็นภาชนะต่างๆ
ในอดีตคนในชุมชนบ้านบุแทบทุกครัวเรือนจะทำขันลงหินกันเป็นอาชีพ แต่ละบ้านจะมีเตาหลอมโลหะ มีเสียงตีเหล็กดังอยู่ทั่วทั้งชุมชน แต่มาจนถึงวันนี้คงหลงเหลือบ้านเพียงหลังเดียวในชุมชนบ้านบุที่ยังประกอบอาชีพทำขันลงหินอยู่ นั่นก็คือ "ขันลงหินบ้านบุ เจียม แสงสัจจา" ที่หากใครอยากแวะเวียนไปชมหรือสนใจอยากรู้รายละเอียดของงานประณีตศิลป์ที่สืบทอดกันมายาวนาน
ตลาดน้ำคลองบางกอกน้อย เปิดทุกวันเสาร์-อาทิตย์ ตั้งแต่เวลา 08.00 -15.30 น.
การเดินทางมายัง “วัดสุวรรณารามราชวรวิหาร” หรือ “วัดทอง” มีรถประจำทางสาย 40, 42, 57, 68, 79, 80, 108, 146 ผ่านบริเวณซอยจรัญสนิทวงศ์ 32 ต้องเดินเท้าเข้ามาอีกประมาณ 500 เมตรก็จะถึงวัด และสามารถเดินต่อมายังตัวตลาดได้
สามารถส่งข้อมูลข่าวสารด้านการท่องเที่ยว-อาหารมาได้ที่ กอง บก.ข่าวท่องเที่ยว แฟกซ์ 0-2629-4467 อีเมล์ travel_astvmgr@hotmail.com หรือติดตามเพิ่มเติมได้ที่ Facebook :Travel @ Manager