Facebook :Travel @ Manager

ถ้าพูดถึง “เพชรบูรณ์” ในฐานะเมืองท่องเที่ยว ก็ต้องนึกถึงอากาศเย็นสบายท่ามกลางขุนเขา มีสายหมอกไหลเอื่อยๆ ให้ได้ชื่นชมบรรยากาศเสมือนฝัน อย่างที่เขาค้อ ภูทับเบิก หรือน้ำหนาว
แต่ต้องบอกเลยว่าเพชรบูรณ์มีอะไรน่าสนใจมากกว่านั้น ทำให้ “ตะลอนเที่ยว” ต้องเดินทางมาเยือนในครั้งนี้


มาถึงเพชรบูรณ์แล้ว อยากแรกเลยที่คิดถึงก็คือ “มะขามหวาน” เพราะที่นี่ขึ้นชื่อเรื่องมะขามหวาน จนกลายมาเป็นสมญานามประจำจังหวัด และแน่นอนว่าหากอยากลองชิมมะขามหวานอันเป็นของฝากขึ้นชื่อของเมืองนี้ ก็ต้องมาที่ “สารัช” ที่ อ.หล่มเก่า ที่นี่เป็นต้นตำรับการแปรรูปมะขามของเพชรบูรณ์ เนื่องจากปัญหามะขามสดที่แตกบ้าง มีราบ้าง จึงนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ
โดยกระบวนการผลิตก็เริ่มจากการรับมะขามมาจากเกษตรกร นำมาคัดแยก แกะเอาแต่เนื้อ เอาเมล็ดออก อบเพื่อไล่ความชื้น แล้วจึงนำไปแปรรูปเป็นแบบต่างๆ อาทิ มะขามสามรส มะขามคลุกบ๊วย มะขามจี๊ดจ๊าด แล้วก็ยังมีมะขามหวานสดที่แกะเมล็ดออกแล้วให้กินกันแบบง่ายๆ ด้วย โดยผลิตภัณฑ์เหล่านี้สามารถหาซื้อได้จากหน้าร้านของสารัช และร้านสะดวกซื้อทั่วไป

ถัดจากมะขามหวานของอร่อยแล้ว ก็มุ่งหน้ามาที่ อ.หล่มสัก ที่นี่ก็มีจุดที่น่าสนใจอีกหลายแห่ง แต่ถ้าจะให้ดีต้องมาเริ่มกันที่ “พิพิธภัณฑ์หล่มศักดิ์” ที่บอกเล่าเรื่องราวของของเมืองหล่มสัก (เมืองลุ่ม หรือ เมืองหล่ม) ที่เดิมเป็นเมืองเล็กๆ ในบริเวณที่ราบลุ่ม มีเทืองเขาล้อมขนาบทั้งสามด้าน เมืองหล่มสักแห่งนี้เคยถูกยกฐานะขึ้นเป็นจังหวัด ในช่วงการปกครองระบอบเทศาภิบาลในสมัยรัชกาลที่ 5 แล้วก็ถูกยุบกลายมาเป็นอำเภอจนถึงในปัจจุบัน นอกจากนี้ ในช่วงรัฐบาลจอมพล ป.พิบูลสงคราม ยังเคยมีแผนที่จะย้ายเมืองหลวงมาที่ จ.เพชรบูรณ์ และใช้พื้นที่เมืองหล่มสักนี้เป็นที่ตั้งของศูนย์ราชการอีกด้วย

ภายในพิพิธภัณฑ์แบ่งการจัดแสดงออกเป็น 10 ห้อง เริ่มตั้งแต่ห้องประชาสัมพันธ์ ห้องภาพยนตร์ ห้องเมืองหล่มสักในอดีต ห้องเสน่ห์เมืองหล่มสัก ห้องหล่มสักเมื่อวันวาน ห้องจังหวัดหล่มศักดิ์ ห้องวัฒนธรรมล้านช้าง ห้องของกินบ้านเฮา และ ห้องเฮ็ดเวียดเฮ็ดงาน โดยพิพิธภัณฑ์นี้เปิดให้เข้าชมฟรี วันละ 4 รอบ ในวันพุธ-ศุกร์ ส่วนวันเสาร์ เปิดให้ชมในช่วงเย็นเท่านั้น


หากว่ามาที่หล่มสักในวันเสาร์ ชมพิพิธภัณฑ์กันเสร็จแล้ว อย่าลืมแวะมาเดิน “ถนนคนเดินไทหล่ม“ ที่อยู่ในเขตเทศบาลเมืองหล่มสัก บริเวณหอนาฬิกาใจกลางเมือง ซึ่งทั้งสองข้างทางก็ยังเป็นบ้านเรือนไม้สองชั้นเรียงรายกันไปตลอดถนน ในตลาดก็ขายทั้งของกิน ของใช้ ของฝาก แล้วยังมีอาหารท้องถิ่นให้ลองชิม มีการสาธิตตีมีดแบบโบราณให้ชมด้วย
ส่วนบริเวณริมแม่น้ำป่าสัก ติดกับถนนคนเดิน ก็จะเป็น “ตลาดริมน้ำไทหล่ม” ก็มีของอร่อยให้เลือกชิมมากมาย มานั่งกินข้าวริมแม่น้ำยามเย็น รับลมกันได้สบายๆ


และจากที่เดินชมพิพิธภัณฑ์หล่มศักดิ์ ก็จะเห็นว่าที่นี่มีความเป็นมายาวนาน มีวัฒนธรรมและเอกลักษณ์เป็นของตัวเอง อีกอย่างหนึ่งที่โดดเด่นมากๆ ก็คือ “ซิ่นหัวแดงตีนก่าน” ซึ่งเป็นผ้าไหมมัดหมี่ไทหล่มตามแบบภูมิปัญญาพื้นถิ่น ใครที่อยากเห็นการทอผ้าลายแบบดั้งเดิม ต้องมาที่ “กลุ่มทอผ้าไทหล่มบ้านหวาย” อ.หล่มสัก เพราะที่นี่ยังมีการอนุรักษ์การทอผ้าซิ่นหัวแดงตีนก่านเอาไว้
สำหรับซิ่นหัวแดงตีนก่านของไทหล่ม จะมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวคือลายหมี่จะเล็ก ซึ่งผืนหนึ่งจะมีหลายลาย เช่น ลายหอปราสาท ลายนาค ลายกระจับ เป็นต้น ถ้ามองผิวเผินจะคล้ายกับซิ่นของทางภาคอีสาน แต่ของที่นี่ หัวซิ่นจะเป็นผ้าสีแดงที่นำมาต่อกับตัวซิ่น ส่วนตีนซิ่นจะเป็นลวดลายแนวขวาง ปัจจุบัน ชาวบ้านก็ยังนิยมนุ่งกันอยู่ โดยมีการประยุกต์มาตัดเป็นผ้าถุงแบบสำเร็จรูป เพื่อให้สวมใส่ได้ง่ายมากขึ้น

ไม่ไกลจากกลุ่มทอผ้า ก็เป็นที่ตั้งของ “อนุสรณ์สถานเมืองราด” เมืองโบราณตั้งแต่สมัยก่อตั้งกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี โดยปัจจุบันก็คือพื้นที่บ้านหวายแห่งนี้ ภายในอนุสรณ์สถาน มีอนุสาวรีย์พ่อขุนผาเมือง เจ้าเมืองราด ให้ได้ไปสักการะ ส่วนด้านหลังเป็นพิพิธภัณฑ์เล็กๆ จัดแสดงประวัติของเมืองราด ข้าวของเครื่องใช้โบราณ และข้อมูลโบราณสถานต่างๆ

ของดีอีกอย่างของเมืองหล่มสักก็คือ การตีมีดแบบโบราณ ณ “ชุมชนบ้านใหม่” โดยชาวบ้านที่นี่มีการรวมกลุ่มกันสืบทอดภูมิปัญญาจากบรรพบุรุษจากรุ่นสู่รุ่น การตีมีดแต่ละเล่มต้องอาศัยฝีมือเฉพาะตัว เรียกได้ว่าเป็นงานแฮนด์เมดอย่างแท้จริง แล้วก็จะมีการสลักชื่อของช่างไว้ที่มีดด้วย ซึ่งมีดของที่นี่มีทั้งมีดดาบ มีดทำครัว มีดทำการเกษตร และมีดแบบโบราณสำหรับนักสะสม โดยปัจจุบันกลุ่มตีมีดของชุมชนบ้านใหม่จะรับตีมีดตามออร์เดอร์ที่ลูกค้าสั่งมา

เที่ยวหล่มสักกันมาหลายที่แล้ว กลับเข้ามาที่ตัวเมืองเพชรบูรณ์กันบ้าง โดยที่นี่มีการจัดทำเส้นทางท่องเที่ยว “14 จุดสุดประทับใจ เที่ยวในเมืองเพชรบูรณ์” โดยสถานที่ท่องเที่ยวแต่ละแห่งนั้นตั้งอยู่ในเขต อ.เมือง มีรถรางให้บริการนำชม (ให้บริการเป็นหมู่คณะ วันจันทร์-ศุกร์ สอบถามได้ที่ ศูนย์บริการท่องเที่ยวเทศบาลเมืองเพชรบูรณ์ โทร. 0-5672-1523) โดยเริ่มจุดแรกที่หอโบราณคดีเพชรบูรณ์อินทราชัย
“หอโบราณคดีเพชรบูรณ์อินทราชัย” ที่นี่เป็นศาลากลางจังหวัดเพชรบูรณ์หลังเก่า แล้วปรับปรุงมาให้เป็นหอโบราณคดีที่จัดแสดงเรื่องราวทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีของเพชรบูรณ์ มีตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ สมัยสุโขทัย อยุธยา และรัตนโกสินทร์ แล้วก็ยังมีการจัดแสดงด้านวัฒนธรรมและชาติพันธุ์ต่างๆ ที่อยู่ในเพชรบูรณ์ด้วย

ซึ่งในเส้นทางท่องเที่ยว 14 จุดสุดประทับใจ ยังมีสถานที่ท่องเที่ยวอื่นๆ อีก ได้แก่ หอภูมิปัญญาและวิถีชาวบ้านเพชรบูรณ์ หอวัฒนธรรมนครบาลเพชรบูรณ์ วัดมหาธาตุ วัดไตรภูมิ หอนิทรรศกำแพงเมือง ประติมากรรมมะขามหวาน ศาลเจ้าพ่อหลักเมืองเพชรบูรณ์ หอเกียรติยศเพชบุระ วัดเพชรวราราม วงเวียนอนุสรณ์นครบาลเพชรบูรณ์ หอนาฬิกาแชมป์โลกคู่แฝด พุทธอุทยานเพชบุระ และ สวนสาธารณะหนองนารี


ออกจากตัวเมืองเพชรบูรณ์ ก็มาที่ “วัดธรรมยาน” ใน อ.หนองไผ่ ซึ่งที่วัดแห่งนี้โดดเด่นด้วยพระอุโบสถที่งดงาม ด้านหน้ามีพญานาคพ่นน้ำ หันหน้าเข้าหากัน คนที่เดินผ่านบริเวณนี้ก่อนเข้าไปในพระอุโบสถ ก็จะได้รับละอองน้ำที่เย็นชุ่มชื่น เหมือนได้รับน้ำมนต์ให้สบายใจ
ส่วนด้านในพระอุโบสถมีพระพุทธรูปประดิษฐานเป็นพระประธาน องค์ใหญ่คือสมเด็จองค์ปฐม องค์รองลงมาคือสมเด็จองค์ปัจจุบัน พระสมณโคดม สามารถเข้ามาสักการะเพื่อความเป็นสิริมงคลกันได้

สำหรับใครที่ชื่นชอบด้านประวัติศาสตร์ ต้องห้ามพลาดการมาเยือนที่ “อุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ” อ.ศรีเทพ ซึ่งจุดเริ่มต้นของการมาชมอุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ ก็ต้องเริ่มที่ “ศูนย์บริการข้อมูลนักท่องเที่ยว”เพราะที่นี่จะมีนิทรรศการให้ความรู้พื้นฐานของเมืองโบราณศรีเทพ โบราณสถานสำคัญต่างๆ และยังมีศิลปะวัตถุจัดแสดงไว้ด้วย

พื้นที่ของอุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพนั้นจะแบ่งออกเป็นเมืองใน และ เมืองนอก ในส่วนของ “เมืองใน”นั้นมีโบราณสถานขนาดใหญ่หลงเหลือให้ชมอยู่หลายแห่ง ได้แก่ “ปรางค์ศรีเทพ” ที่มีลักษณะสถาปัตยกรรมแบบศิลปะเขมร สันนิษฐานว่าโบราณสถานแห่งนี้สร้างขึ้นเพื่อเป็นเทวาลัยในศาสนาฮินดู ราวพุทธศตวรรษ 16-17 และได้รับการซ่อมแซมให้เป็นพุทธสถานแบบมหายานในราวต้นพุทธศตวรรษ 18 แต่ไม่แล้วเสร็จ “เขาคลังใน” ศาสนสถานในพุทธศาสนา ซึ่งชื่อของเขาคลังในมีมาจากความเชื่อของคนท้องถิ่นที่เชื่อกันว่า เป็นคลังเก็บของที่มีค่าหรือคลังอาวุธสมัยโบราณ ที่น่าสนใจคือบริเวณฐาน จะมีรูปปั้นนูนต่ำเป็นรูปคนแคระกำลังแบกเขาคลังในอยู่ โดยคนแคระนั้นจะมีศีรษะเป็นทั้งคนและสัตว์ต่างๆ

“ปรางค์สองพี่น้อง” ปราสาทประธานก่อด้วยอิฐแบบศิลปะเขมร มีปราสาทขนาดเล็กตั้งอยู่ทางทิศใต้ซึ่งสร้างขึ้นเพิ่มเติมอยู่บนฐานเดียวกัน จึงเป็นที่มาของชื่อปรางค์สองพี่น้อง โดยที่ปรางค์องค์น้องนี้ จะมีทับหลังรูปพระอิศวรอุ้มนางปารวตีประทับนั่งอยู่เหนือโคนนทิ ส่วนในปรางค์องค์พี่นั้นพบแท่นสำหรับตั้งศิวลึงค์ตั้งอยู่
นอกจากนี้ภายในเมืองในยังพบโบราณสถานขนาดเล็กอีกหลายแห่ง รวมถึงสระน้ำและหนองน้ำที่กระจายอยู่ในพื้นที่เมืองใน ส่วนที่ “เมืองนอก” ก็มีโบราณสถานสำคัญคือ เขาคลังนอก ปรางค์ฤาษี และ ถ้ำเขาถมอรัตน์
ทั้งหมดนี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งของเส้นทางการท่องเที่ยวในจังหวัดเพชรบูรณ์ ที่ได้สัมผัสทั้งประวัติศาสตร์ ธรรมชาติ และวิถีชีวิตอันเป็นเอกลักษณ์ ผู้ที่สนใจสามารถเดินทางตามเส้นทางนี้ หรือจะแวะเที่ยวสถานที่ท่องเที่ยวอื่นๆ ในเพชรบูรณ์เพิ่มเติมก็น่าสนุกไม่น้อย

* * * * * * * * * * * * * * * * *
สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สำนักงานพิษณุโลก(ดูแลพิษณุโลก, เพชรบูรณ์) โทร.0-5525-2742-3, 0-5525-9907 และสามารถสอบถามรายละเอียดของแหล่งท่องเที่ยวเชื่อมโยง ที่พัก ร้านอาหารได้กับทาง ททท. ด้วยเช่นกัน
สามารถส่งข้อมูลข่าวสารด้านการท่องเที่ยว-อาหารมาได้ที่ กอง บก.ข่าวท่องเที่ยว แฟกซ์ 0-2629-4467 อีเมล์ travel_astvmgr@hotmail.com หรือติดตามเพิ่มเติมได้ที่ Facebook :Travel @ Manager
ถ้าพูดถึง “เพชรบูรณ์” ในฐานะเมืองท่องเที่ยว ก็ต้องนึกถึงอากาศเย็นสบายท่ามกลางขุนเขา มีสายหมอกไหลเอื่อยๆ ให้ได้ชื่นชมบรรยากาศเสมือนฝัน อย่างที่เขาค้อ ภูทับเบิก หรือน้ำหนาว
แต่ต้องบอกเลยว่าเพชรบูรณ์มีอะไรน่าสนใจมากกว่านั้น ทำให้ “ตะลอนเที่ยว” ต้องเดินทางมาเยือนในครั้งนี้
มาถึงเพชรบูรณ์แล้ว อยากแรกเลยที่คิดถึงก็คือ “มะขามหวาน” เพราะที่นี่ขึ้นชื่อเรื่องมะขามหวาน จนกลายมาเป็นสมญานามประจำจังหวัด และแน่นอนว่าหากอยากลองชิมมะขามหวานอันเป็นของฝากขึ้นชื่อของเมืองนี้ ก็ต้องมาที่ “สารัช” ที่ อ.หล่มเก่า ที่นี่เป็นต้นตำรับการแปรรูปมะขามของเพชรบูรณ์ เนื่องจากปัญหามะขามสดที่แตกบ้าง มีราบ้าง จึงนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ
โดยกระบวนการผลิตก็เริ่มจากการรับมะขามมาจากเกษตรกร นำมาคัดแยก แกะเอาแต่เนื้อ เอาเมล็ดออก อบเพื่อไล่ความชื้น แล้วจึงนำไปแปรรูปเป็นแบบต่างๆ อาทิ มะขามสามรส มะขามคลุกบ๊วย มะขามจี๊ดจ๊าด แล้วก็ยังมีมะขามหวานสดที่แกะเมล็ดออกแล้วให้กินกันแบบง่ายๆ ด้วย โดยผลิตภัณฑ์เหล่านี้สามารถหาซื้อได้จากหน้าร้านของสารัช และร้านสะดวกซื้อทั่วไป
ถัดจากมะขามหวานของอร่อยแล้ว ก็มุ่งหน้ามาที่ อ.หล่มสัก ที่นี่ก็มีจุดที่น่าสนใจอีกหลายแห่ง แต่ถ้าจะให้ดีต้องมาเริ่มกันที่ “พิพิธภัณฑ์หล่มศักดิ์” ที่บอกเล่าเรื่องราวของของเมืองหล่มสัก (เมืองลุ่ม หรือ เมืองหล่ม) ที่เดิมเป็นเมืองเล็กๆ ในบริเวณที่ราบลุ่ม มีเทืองเขาล้อมขนาบทั้งสามด้าน เมืองหล่มสักแห่งนี้เคยถูกยกฐานะขึ้นเป็นจังหวัด ในช่วงการปกครองระบอบเทศาภิบาลในสมัยรัชกาลที่ 5 แล้วก็ถูกยุบกลายมาเป็นอำเภอจนถึงในปัจจุบัน นอกจากนี้ ในช่วงรัฐบาลจอมพล ป.พิบูลสงคราม ยังเคยมีแผนที่จะย้ายเมืองหลวงมาที่ จ.เพชรบูรณ์ และใช้พื้นที่เมืองหล่มสักนี้เป็นที่ตั้งของศูนย์ราชการอีกด้วย
ภายในพิพิธภัณฑ์แบ่งการจัดแสดงออกเป็น 10 ห้อง เริ่มตั้งแต่ห้องประชาสัมพันธ์ ห้องภาพยนตร์ ห้องเมืองหล่มสักในอดีต ห้องเสน่ห์เมืองหล่มสัก ห้องหล่มสักเมื่อวันวาน ห้องจังหวัดหล่มศักดิ์ ห้องวัฒนธรรมล้านช้าง ห้องของกินบ้านเฮา และ ห้องเฮ็ดเวียดเฮ็ดงาน โดยพิพิธภัณฑ์นี้เปิดให้เข้าชมฟรี วันละ 4 รอบ ในวันพุธ-ศุกร์ ส่วนวันเสาร์ เปิดให้ชมในช่วงเย็นเท่านั้น
หากว่ามาที่หล่มสักในวันเสาร์ ชมพิพิธภัณฑ์กันเสร็จแล้ว อย่าลืมแวะมาเดิน “ถนนคนเดินไทหล่ม“ ที่อยู่ในเขตเทศบาลเมืองหล่มสัก บริเวณหอนาฬิกาใจกลางเมือง ซึ่งทั้งสองข้างทางก็ยังเป็นบ้านเรือนไม้สองชั้นเรียงรายกันไปตลอดถนน ในตลาดก็ขายทั้งของกิน ของใช้ ของฝาก แล้วยังมีอาหารท้องถิ่นให้ลองชิม มีการสาธิตตีมีดแบบโบราณให้ชมด้วย
ส่วนบริเวณริมแม่น้ำป่าสัก ติดกับถนนคนเดิน ก็จะเป็น “ตลาดริมน้ำไทหล่ม” ก็มีของอร่อยให้เลือกชิมมากมาย มานั่งกินข้าวริมแม่น้ำยามเย็น รับลมกันได้สบายๆ
และจากที่เดินชมพิพิธภัณฑ์หล่มศักดิ์ ก็จะเห็นว่าที่นี่มีความเป็นมายาวนาน มีวัฒนธรรมและเอกลักษณ์เป็นของตัวเอง อีกอย่างหนึ่งที่โดดเด่นมากๆ ก็คือ “ซิ่นหัวแดงตีนก่าน” ซึ่งเป็นผ้าไหมมัดหมี่ไทหล่มตามแบบภูมิปัญญาพื้นถิ่น ใครที่อยากเห็นการทอผ้าลายแบบดั้งเดิม ต้องมาที่ “กลุ่มทอผ้าไทหล่มบ้านหวาย” อ.หล่มสัก เพราะที่นี่ยังมีการอนุรักษ์การทอผ้าซิ่นหัวแดงตีนก่านเอาไว้
สำหรับซิ่นหัวแดงตีนก่านของไทหล่ม จะมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวคือลายหมี่จะเล็ก ซึ่งผืนหนึ่งจะมีหลายลาย เช่น ลายหอปราสาท ลายนาค ลายกระจับ เป็นต้น ถ้ามองผิวเผินจะคล้ายกับซิ่นของทางภาคอีสาน แต่ของที่นี่ หัวซิ่นจะเป็นผ้าสีแดงที่นำมาต่อกับตัวซิ่น ส่วนตีนซิ่นจะเป็นลวดลายแนวขวาง ปัจจุบัน ชาวบ้านก็ยังนิยมนุ่งกันอยู่ โดยมีการประยุกต์มาตัดเป็นผ้าถุงแบบสำเร็จรูป เพื่อให้สวมใส่ได้ง่ายมากขึ้น
ไม่ไกลจากกลุ่มทอผ้า ก็เป็นที่ตั้งของ “อนุสรณ์สถานเมืองราด” เมืองโบราณตั้งแต่สมัยก่อตั้งกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี โดยปัจจุบันก็คือพื้นที่บ้านหวายแห่งนี้ ภายในอนุสรณ์สถาน มีอนุสาวรีย์พ่อขุนผาเมือง เจ้าเมืองราด ให้ได้ไปสักการะ ส่วนด้านหลังเป็นพิพิธภัณฑ์เล็กๆ จัดแสดงประวัติของเมืองราด ข้าวของเครื่องใช้โบราณ และข้อมูลโบราณสถานต่างๆ
ของดีอีกอย่างของเมืองหล่มสักก็คือ การตีมีดแบบโบราณ ณ “ชุมชนบ้านใหม่” โดยชาวบ้านที่นี่มีการรวมกลุ่มกันสืบทอดภูมิปัญญาจากบรรพบุรุษจากรุ่นสู่รุ่น การตีมีดแต่ละเล่มต้องอาศัยฝีมือเฉพาะตัว เรียกได้ว่าเป็นงานแฮนด์เมดอย่างแท้จริง แล้วก็จะมีการสลักชื่อของช่างไว้ที่มีดด้วย ซึ่งมีดของที่นี่มีทั้งมีดดาบ มีดทำครัว มีดทำการเกษตร และมีดแบบโบราณสำหรับนักสะสม โดยปัจจุบันกลุ่มตีมีดของชุมชนบ้านใหม่จะรับตีมีดตามออร์เดอร์ที่ลูกค้าสั่งมา
เที่ยวหล่มสักกันมาหลายที่แล้ว กลับเข้ามาที่ตัวเมืองเพชรบูรณ์กันบ้าง โดยที่นี่มีการจัดทำเส้นทางท่องเที่ยว “14 จุดสุดประทับใจ เที่ยวในเมืองเพชรบูรณ์” โดยสถานที่ท่องเที่ยวแต่ละแห่งนั้นตั้งอยู่ในเขต อ.เมือง มีรถรางให้บริการนำชม (ให้บริการเป็นหมู่คณะ วันจันทร์-ศุกร์ สอบถามได้ที่ ศูนย์บริการท่องเที่ยวเทศบาลเมืองเพชรบูรณ์ โทร. 0-5672-1523) โดยเริ่มจุดแรกที่หอโบราณคดีเพชรบูรณ์อินทราชัย
“หอโบราณคดีเพชรบูรณ์อินทราชัย” ที่นี่เป็นศาลากลางจังหวัดเพชรบูรณ์หลังเก่า แล้วปรับปรุงมาให้เป็นหอโบราณคดีที่จัดแสดงเรื่องราวทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีของเพชรบูรณ์ มีตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ สมัยสุโขทัย อยุธยา และรัตนโกสินทร์ แล้วก็ยังมีการจัดแสดงด้านวัฒนธรรมและชาติพันธุ์ต่างๆ ที่อยู่ในเพชรบูรณ์ด้วย
ซึ่งในเส้นทางท่องเที่ยว 14 จุดสุดประทับใจ ยังมีสถานที่ท่องเที่ยวอื่นๆ อีก ได้แก่ หอภูมิปัญญาและวิถีชาวบ้านเพชรบูรณ์ หอวัฒนธรรมนครบาลเพชรบูรณ์ วัดมหาธาตุ วัดไตรภูมิ หอนิทรรศกำแพงเมือง ประติมากรรมมะขามหวาน ศาลเจ้าพ่อหลักเมืองเพชรบูรณ์ หอเกียรติยศเพชบุระ วัดเพชรวราราม วงเวียนอนุสรณ์นครบาลเพชรบูรณ์ หอนาฬิกาแชมป์โลกคู่แฝด พุทธอุทยานเพชบุระ และ สวนสาธารณะหนองนารี
ออกจากตัวเมืองเพชรบูรณ์ ก็มาที่ “วัดธรรมยาน” ใน อ.หนองไผ่ ซึ่งที่วัดแห่งนี้โดดเด่นด้วยพระอุโบสถที่งดงาม ด้านหน้ามีพญานาคพ่นน้ำ หันหน้าเข้าหากัน คนที่เดินผ่านบริเวณนี้ก่อนเข้าไปในพระอุโบสถ ก็จะได้รับละอองน้ำที่เย็นชุ่มชื่น เหมือนได้รับน้ำมนต์ให้สบายใจ
ส่วนด้านในพระอุโบสถมีพระพุทธรูปประดิษฐานเป็นพระประธาน องค์ใหญ่คือสมเด็จองค์ปฐม องค์รองลงมาคือสมเด็จองค์ปัจจุบัน พระสมณโคดม สามารถเข้ามาสักการะเพื่อความเป็นสิริมงคลกันได้
สำหรับใครที่ชื่นชอบด้านประวัติศาสตร์ ต้องห้ามพลาดการมาเยือนที่ “อุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ” อ.ศรีเทพ ซึ่งจุดเริ่มต้นของการมาชมอุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ ก็ต้องเริ่มที่ “ศูนย์บริการข้อมูลนักท่องเที่ยว”เพราะที่นี่จะมีนิทรรศการให้ความรู้พื้นฐานของเมืองโบราณศรีเทพ โบราณสถานสำคัญต่างๆ และยังมีศิลปะวัตถุจัดแสดงไว้ด้วย
พื้นที่ของอุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพนั้นจะแบ่งออกเป็นเมืองใน และ เมืองนอก ในส่วนของ “เมืองใน”นั้นมีโบราณสถานขนาดใหญ่หลงเหลือให้ชมอยู่หลายแห่ง ได้แก่ “ปรางค์ศรีเทพ” ที่มีลักษณะสถาปัตยกรรมแบบศิลปะเขมร สันนิษฐานว่าโบราณสถานแห่งนี้สร้างขึ้นเพื่อเป็นเทวาลัยในศาสนาฮินดู ราวพุทธศตวรรษ 16-17 และได้รับการซ่อมแซมให้เป็นพุทธสถานแบบมหายานในราวต้นพุทธศตวรรษ 18 แต่ไม่แล้วเสร็จ “เขาคลังใน” ศาสนสถานในพุทธศาสนา ซึ่งชื่อของเขาคลังในมีมาจากความเชื่อของคนท้องถิ่นที่เชื่อกันว่า เป็นคลังเก็บของที่มีค่าหรือคลังอาวุธสมัยโบราณ ที่น่าสนใจคือบริเวณฐาน จะมีรูปปั้นนูนต่ำเป็นรูปคนแคระกำลังแบกเขาคลังในอยู่ โดยคนแคระนั้นจะมีศีรษะเป็นทั้งคนและสัตว์ต่างๆ
“ปรางค์สองพี่น้อง” ปราสาทประธานก่อด้วยอิฐแบบศิลปะเขมร มีปราสาทขนาดเล็กตั้งอยู่ทางทิศใต้ซึ่งสร้างขึ้นเพิ่มเติมอยู่บนฐานเดียวกัน จึงเป็นที่มาของชื่อปรางค์สองพี่น้อง โดยที่ปรางค์องค์น้องนี้ จะมีทับหลังรูปพระอิศวรอุ้มนางปารวตีประทับนั่งอยู่เหนือโคนนทิ ส่วนในปรางค์องค์พี่นั้นพบแท่นสำหรับตั้งศิวลึงค์ตั้งอยู่
นอกจากนี้ภายในเมืองในยังพบโบราณสถานขนาดเล็กอีกหลายแห่ง รวมถึงสระน้ำและหนองน้ำที่กระจายอยู่ในพื้นที่เมืองใน ส่วนที่ “เมืองนอก” ก็มีโบราณสถานสำคัญคือ เขาคลังนอก ปรางค์ฤาษี และ ถ้ำเขาถมอรัตน์
ทั้งหมดนี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งของเส้นทางการท่องเที่ยวในจังหวัดเพชรบูรณ์ ที่ได้สัมผัสทั้งประวัติศาสตร์ ธรรมชาติ และวิถีชีวิตอันเป็นเอกลักษณ์ ผู้ที่สนใจสามารถเดินทางตามเส้นทางนี้ หรือจะแวะเที่ยวสถานที่ท่องเที่ยวอื่นๆ ในเพชรบูรณ์เพิ่มเติมก็น่าสนุกไม่น้อย
* * * * * * * * * * * * * * * * *
สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สำนักงานพิษณุโลก(ดูแลพิษณุโลก, เพชรบูรณ์) โทร.0-5525-2742-3, 0-5525-9907 และสามารถสอบถามรายละเอียดของแหล่งท่องเที่ยวเชื่อมโยง ที่พัก ร้านอาหารได้กับทาง ททท. ด้วยเช่นกัน
สามารถส่งข้อมูลข่าวสารด้านการท่องเที่ยว-อาหารมาได้ที่ กอง บก.ข่าวท่องเที่ยว แฟกซ์ 0-2629-4467 อีเมล์ travel_astvmgr@hotmail.com หรือติดตามเพิ่มเติมได้ที่ Facebook :Travel @ Manager