Facebook :Travel @ Manager

“มานิ” เป็นชนพื้นเมืองดั้งเดิม อาศัยอยู่ร่วมกันเป็นกลุ่มย่อยประมาณ 20-30 คน อาศัยอยู่ในบริเวณเทือกเขาบรรทัดที่เชื่อมต่อระหว่างตรัง พัทลุง สตูล อพยพไปตามความสมบูรณ์ของการหาอาหารในป่า ในอุทยานธรณีสตูลมักพบเห็นชาวมานิได้บ่อยในเขต ต.ปาล์มพัฒนา ใกล้ถ้ำภูผาเพชร

คำเรียกว่า “มานิ” ฟังแล้วอาจไม่ค่อยคุ้นหูเท่าไรนัก แต่ถ้าได้ยินว่า “ซาไก” ก็จะคุ้นหูมากกว่า “ซาไก” ในภาษามลายู หมายถึง ทาส จึงเป็นคำเรียกที่ไม่สุภาพและไม่ควรใช้ กลุ่มนี้เองมักจะเรียกตัวเองว่า “มานิ” ซึ่งมีความหมายว่า มนุษย์ นั่นเอง ส่วนภาษาในการสื่อสารที่ใช้พูดคุยกันจะเป็นภาษามานิ ซึ่งมีมานิบางคนเท่านั้นที่สามารถสื่อสารด้วยภาษาใต้ได้


กลุ่มมานิ เป็นกลุ่มคนที่มีวิถีชีวิตผูกพันอยู่กับป่ามาอย่างยาวนาน ไม่มีถิ่นที่อยู่เป็นหลักแหล่ง มีการอพยพโยกย้ายไปตามความสมบูรณ์ของอาหาร โดยจะหาเผือก หามัน จากในป่านำมาเผากิน บ้างก็ล่าสัตว์ ลิง ค่าง กระรอก หมูป่า โดยใช้ลูกดอกอาบยาพิษจากธรรมชาติ แล้วนำเนื้อสัตว์เหล่านั้นมาต้ม ปิ้ง หรือย่าง ปรุงอาหารแบบง่ายๆ โดยภาชนะที่ใช้ในการทำอาหารก็จะถูกดัดแปลงจากสิ่งของในป่า

ด้วยความที่ผูกพันและอาศัยอยู่ในป่ามายาวนาน กลุ่มมานิก็ได้เรียนรู้คุณค่าของสมุนไพรต่างๆ หลากหลายชนิด ที่ขึ้นอยู่ในป่าตามธรรมชาติ บ้างก็นำมากิน บ้างก็นำมารักษาโรค และหากใครที่ออกไปหาอาหาร เมื่อได้อาหารหรือสัตว์ป่ามาแล้ว เขาจะมีน้ำใจมาแบ่งปันให้กับคนในกลุ่มได้กินอย่างเท่าๆ กันด้วย

ปัจจุบันมีหน่วยงานปกครองในท้องถิ่น เช่น องค์การบริหารส่วนตำบลปาล์มพัฒนา ได้ให้การดูแลสารทุกข์สุกดิบ เข้ามาเยี่ยมเยือน นำอาหารมาให้บ้างในบางครั้ง เมื่อยามเจ็บไข้ได้ป่วยก็พาไปหาหมอที่โรงพยาบาล

นางณัฐกานต์ เดชณรงค์ เจ้าพนักงานส่งเสริมการท่องเที่ยว องค์การบริหารส่วนตำบลปาล์มพัฒนา เล่าให้ฟังว่า คำเรียกว่า “มานิ” เป็นคำที่สุภาพ กลุ่มมานินี้มีการใช้ชีวิตแบบเรียบง่าย อาศัยหาเผือก หามัน ล่าสัตว์ เพื่อมาประทังชีวิต แต่ด้วยแหล่งที่หาอาหารลดลงทำให้วิธีชีวิตเขาปรับเปลี่ยนไปบ้าง แต่ความเป็นมานิยังคงอยู่ โดยมานิกลุ่มนี้อาศัยอยู่รวมกัน 20-30 คน เนื่องจากอาศัยอยู่ในป่าจึงไม่ได้เรียนหนังสือ และจะไม่รู้ วัน เดือน ปี และไม่รู้จักอายุตัวเอง

สำหรับที่พักอาศัยกลุ่มมานิจะเรียกว่า ฮายะ (ภาษามานิ) หรือชาวบ้านในพื้นที่จะเรียกว่าทับ โดยจะใช้ใบไม้ที่หาได้ในป่า นำมาเรียงสุมกันเป็นหลังคา ไม่มีโครงสร้างแบบบ้านเรือนทั่วไป ส่วนที่นอนจะใช้ไม้ไผ่ปูเอียงแล้วนอนอยู่ใกล้ริมกองไฟ เพื่อสามารถทำได้ทั้งอาหาร ให้ความอบอุ่น และป้องกันจากสัตว์อย่าง แมลงหรือมด

กลุ่มมานิดำรงชีวิตอยู่ด้วยความยากลำบาก เพราะพื้นที่ป่าถูกจับจองทำเป็นพื้นที่การเกษตร ความอุดมสมบูรณ์ของป่าถดถอย เหลือพื้นที่ป่าสมบูรณ์เฉพาะในเขตป่าอนุรักษ์ที่พอให้ชาวมานิอาศัยอยู่ได้บ้าง ชาวมานิจึงได้มีการติดต่อกับคนภายนอก โดยนำสมุนไพรที่เก็บได้มาแลกเปลี่ยนอาหาร บ้างก็เป็นสื้อผ้าเครื่องนุ่งหุ่ม ปัจจุบันมานิมีสถานภาพแบบคนไร้รัฐ ไม่มีบัตรประชาชน ทำให้ไม่ได้รับการบริการของรัฐ เช่น การรักษาพยาบาล

จากการอาศัยของกลุ่มมานิในพื้นที่อุทยานธรณีสตูล ทำให้พื้นที่อุทยานทางธรณีแห่งนี้ มีมิติทางความหลากหลายของชาติพันธุ์และวัฒนธรรมที่น่าเรียนรู้ หากใครมีโอกาสไปเที่ยวในอุทยานธรณีสตูลและอยากพบเจอมานิ ลองติดต่อสอบถามกับทางเจ้าหน้าที่อุทยานธรณีสตูล หรืออบต.ปาล์มพัฒนา และที่สำคัญเมื่อเราได้พบกับกลุ่มมานิแล้ว ก็ควรให้เกียรติเขาเพราะเขามีสิทธิ์เท่าเทียมกับเราเหมือนกัน
สามารถส่งข้อมูลข่าวสารด้านการท่องเที่ยว-อาหารมาได้ที่ กอง บก.ข่าวท่องเที่ยว แฟกซ์ 0-2629-4467 อีเมล์ travel_astvmgr@hotmail.com หรือติดตามเพิ่มเติมได้ที่ Facebook :Travel @ Manager
“มานิ” เป็นชนพื้นเมืองดั้งเดิม อาศัยอยู่ร่วมกันเป็นกลุ่มย่อยประมาณ 20-30 คน อาศัยอยู่ในบริเวณเทือกเขาบรรทัดที่เชื่อมต่อระหว่างตรัง พัทลุง สตูล อพยพไปตามความสมบูรณ์ของการหาอาหารในป่า ในอุทยานธรณีสตูลมักพบเห็นชาวมานิได้บ่อยในเขต ต.ปาล์มพัฒนา ใกล้ถ้ำภูผาเพชร
คำเรียกว่า “มานิ” ฟังแล้วอาจไม่ค่อยคุ้นหูเท่าไรนัก แต่ถ้าได้ยินว่า “ซาไก” ก็จะคุ้นหูมากกว่า “ซาไก” ในภาษามลายู หมายถึง ทาส จึงเป็นคำเรียกที่ไม่สุภาพและไม่ควรใช้ กลุ่มนี้เองมักจะเรียกตัวเองว่า “มานิ” ซึ่งมีความหมายว่า มนุษย์ นั่นเอง ส่วนภาษาในการสื่อสารที่ใช้พูดคุยกันจะเป็นภาษามานิ ซึ่งมีมานิบางคนเท่านั้นที่สามารถสื่อสารด้วยภาษาใต้ได้
กลุ่มมานิ เป็นกลุ่มคนที่มีวิถีชีวิตผูกพันอยู่กับป่ามาอย่างยาวนาน ไม่มีถิ่นที่อยู่เป็นหลักแหล่ง มีการอพยพโยกย้ายไปตามความสมบูรณ์ของอาหาร โดยจะหาเผือก หามัน จากในป่านำมาเผากิน บ้างก็ล่าสัตว์ ลิง ค่าง กระรอก หมูป่า โดยใช้ลูกดอกอาบยาพิษจากธรรมชาติ แล้วนำเนื้อสัตว์เหล่านั้นมาต้ม ปิ้ง หรือย่าง ปรุงอาหารแบบง่ายๆ โดยภาชนะที่ใช้ในการทำอาหารก็จะถูกดัดแปลงจากสิ่งของในป่า
ด้วยความที่ผูกพันและอาศัยอยู่ในป่ามายาวนาน กลุ่มมานิก็ได้เรียนรู้คุณค่าของสมุนไพรต่างๆ หลากหลายชนิด ที่ขึ้นอยู่ในป่าตามธรรมชาติ บ้างก็นำมากิน บ้างก็นำมารักษาโรค และหากใครที่ออกไปหาอาหาร เมื่อได้อาหารหรือสัตว์ป่ามาแล้ว เขาจะมีน้ำใจมาแบ่งปันให้กับคนในกลุ่มได้กินอย่างเท่าๆ กันด้วย
ปัจจุบันมีหน่วยงานปกครองในท้องถิ่น เช่น องค์การบริหารส่วนตำบลปาล์มพัฒนา ได้ให้การดูแลสารทุกข์สุกดิบ เข้ามาเยี่ยมเยือน นำอาหารมาให้บ้างในบางครั้ง เมื่อยามเจ็บไข้ได้ป่วยก็พาไปหาหมอที่โรงพยาบาล
นางณัฐกานต์ เดชณรงค์ เจ้าพนักงานส่งเสริมการท่องเที่ยว องค์การบริหารส่วนตำบลปาล์มพัฒนา เล่าให้ฟังว่า คำเรียกว่า “มานิ” เป็นคำที่สุภาพ กลุ่มมานินี้มีการใช้ชีวิตแบบเรียบง่าย อาศัยหาเผือก หามัน ล่าสัตว์ เพื่อมาประทังชีวิต แต่ด้วยแหล่งที่หาอาหารลดลงทำให้วิธีชีวิตเขาปรับเปลี่ยนไปบ้าง แต่ความเป็นมานิยังคงอยู่ โดยมานิกลุ่มนี้อาศัยอยู่รวมกัน 20-30 คน เนื่องจากอาศัยอยู่ในป่าจึงไม่ได้เรียนหนังสือ และจะไม่รู้ วัน เดือน ปี และไม่รู้จักอายุตัวเอง
สำหรับที่พักอาศัยกลุ่มมานิจะเรียกว่า ฮายะ (ภาษามานิ) หรือชาวบ้านในพื้นที่จะเรียกว่าทับ โดยจะใช้ใบไม้ที่หาได้ในป่า นำมาเรียงสุมกันเป็นหลังคา ไม่มีโครงสร้างแบบบ้านเรือนทั่วไป ส่วนที่นอนจะใช้ไม้ไผ่ปูเอียงแล้วนอนอยู่ใกล้ริมกองไฟ เพื่อสามารถทำได้ทั้งอาหาร ให้ความอบอุ่น และป้องกันจากสัตว์อย่าง แมลงหรือมด
กลุ่มมานิดำรงชีวิตอยู่ด้วยความยากลำบาก เพราะพื้นที่ป่าถูกจับจองทำเป็นพื้นที่การเกษตร ความอุดมสมบูรณ์ของป่าถดถอย เหลือพื้นที่ป่าสมบูรณ์เฉพาะในเขตป่าอนุรักษ์ที่พอให้ชาวมานิอาศัยอยู่ได้บ้าง ชาวมานิจึงได้มีการติดต่อกับคนภายนอก โดยนำสมุนไพรที่เก็บได้มาแลกเปลี่ยนอาหาร บ้างก็เป็นสื้อผ้าเครื่องนุ่งหุ่ม ปัจจุบันมานิมีสถานภาพแบบคนไร้รัฐ ไม่มีบัตรประชาชน ทำให้ไม่ได้รับการบริการของรัฐ เช่น การรักษาพยาบาล
จากการอาศัยของกลุ่มมานิในพื้นที่อุทยานธรณีสตูล ทำให้พื้นที่อุทยานทางธรณีแห่งนี้ มีมิติทางความหลากหลายของชาติพันธุ์และวัฒนธรรมที่น่าเรียนรู้ หากใครมีโอกาสไปเที่ยวในอุทยานธรณีสตูลและอยากพบเจอมานิ ลองติดต่อสอบถามกับทางเจ้าหน้าที่อุทยานธรณีสตูล หรืออบต.ปาล์มพัฒนา และที่สำคัญเมื่อเราได้พบกับกลุ่มมานิแล้ว ก็ควรให้เกียรติเขาเพราะเขามีสิทธิ์เท่าเทียมกับเราเหมือนกัน
สามารถส่งข้อมูลข่าวสารด้านการท่องเที่ยว-อาหารมาได้ที่ กอง บก.ข่าวท่องเที่ยว แฟกซ์ 0-2629-4467 อีเมล์ travel_astvmgr@hotmail.com หรือติดตามเพิ่มเติมได้ที่ Facebook :Travel @ Manager